พระพุทธศาสนา
Group Blog
 
All Blogs
 
สัมมนานิติปรัชญาแนวพุทธ สัมมนานิติปรัชญาแนวพุทธ

สัมมนานิติปรัชญาแนวพุทธ

                                         สัมมนานิติปรัชญาแนวพุทธ
                                     .............................
บทนำ
                 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ปาฐกถาแสดงธรรมพิเศษ ณ สำนักงานอัยการสูงสุด เมื่อวันที่ ๒๘  มีนาคม   ๒๕๓๙  กล่าวถึง “นิติศาสตร์” และ “พุทธศาสตร์” ที่ยังไม่เคยมีนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ท่านใดได้เคยศึกษาแนวดังกล่าวมาก่อนเลย   (๑)ซึ่ง “นิติศาสตร์แนวพุทธ” เป็นการแสดงความเชื่อมโยงกันระหว่างศาสตร์ทั้งสองอย่างแยบยล  อีกยังอรรถาธิบายถึงที่มาของศัพท์ทางนิติศาสตร์อย่างถ่องแท้และรอบด้าน พร้อมทั้งยกตัวอย่างพุทธพจน์ได้อย่างชัดเจน  ศาสตร์ที่ดูผิวเผินอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อได้พิจารณาตามถ้อยธรรมแล้ว จะเห็นได้ว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ขาดจากกันเสียมิได้  เพราะนิติศาสตร์และกฎหมายอันเป็นสมบัติทางโลกนี้เกิดขึ้นก็เนื่องที่จะสนองความต้องการธรรม
                  สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) มีความประสงค์ที่จะให้ช่วยกันแพร่ขยายความรู้เข้าใจให้เกิดความเจริญธรรมเจริญปัญญา อันจะอำนวยประโยชน์สุขแก่พหูชน ตามคติธรรมแห่งพระพุทธจริยา
                  กล่าวโดยสรุป คือ กฎหมายต้องมาจากธรรม ต้องชอบธรรม และต้องเพื่อธรรม กฎมนุษย์(กฎหมาย) ต้องไม่แปลกแยกจากกฎธรรมชาติ พัฒนาคนให้รู้จักเคารพสิทธิกันและกัน  แต่ต้องรู้ทันว่าที่แท้มนุษย์ไม่มีสิทธิ
บทที่ ๑  ความสำคัญของนิติปรัชญา
            ความสำคัญของนิติปรัชญา
               ต้นศตวรรษที่ ๒๐  เมื่อศาสตราจารย์  James  Barr Ames  ได้กล่าวอบรมคณาจารย์ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลับ Harvard  ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีในเรื่องวิธีการศึกษากฎหมาย  ท่านได้กล่าวว่า”ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกนั้น โดยมากเขาไม่ได้สอนกันแค่ความรู้กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากจะต้องสอนให้ซึมซาบเข้าไปในใจของนักศึกษาถึงดวงจิต หรือวิญญาณของกฎหมายกันด้วย”  คำกล่าวของ Dean Amesนี้ ส่งผลทำให้คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยใหญ่ๆได้นำไปประพฤติปฏิบัติเรื่อยมา  จนได้นำเอาวิชาการที่จะทำให้นักศึกษาเข้าใจซึ้งถึงวิญญาณของกฎหมาย  หรือ วิชานิติปรัชญาไปบรรจุไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งหลาย๒๕  ในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นศึกษาวิชานิติปรัชญาแยกออกมาเป็นเอกเทศจากวิชาธรรมศาสตร์ (Jurisprudence) ในคั้งแรกที่หลักสูตรนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ.๒๕๑๕ โดยศาสตราจารย์ ปรีดี เกษมทรัพย์ ได้บรรจุวิชานี้ไว้  เพื่อวัตถุประสงค์มุ่งแก้ไขข้อตำหนิที่ว่านักกฎหมายเป็นผู้มีความคิดและทัศนคติคับแคบ  โดยคาดหวังว่าเมื่อนักศึกษาได้สึกษาวิชานี้แล้วจะทำให้มีความรอบรู้กฎหมายอย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น  ทำให้มองเห็นสาระแก่นแท้รู้ถึงสถานะและภารกิจของกฎหมายในสงคมอย่างแท้จริงยิ่งขึ้นเช่นเดียวกับโสเครตีส  กล่าวไว้เมื่อสองพันปีก่อนว่า  “ชีวิตที่ไม่มีการคิดทบทวนสำรวจตนเองนั้นเป็นชีวิตที่ไม่พึงจะมี”๒๖ และลบทัศนคติของนักกฎหมายไทย  โดยเฉพาะสาลหรือผู้พิพากษาไทยซึ่งมีแนวความคิดยึดติดอยู่กับสำนักกฎหมายบ้านเมือง หรือLegal positivism ซึ่งแก่นแท้ของแนวคิดนี้อาจพิเคราะห์จากการให้นิยามคำว่ากฎหมายของThomass Hobbs ว่า        “อันว่ากฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์ ใครไม่ปฏิบัติตามมรรคคาต้องโทษ” และกฎหมายกับความยุติธรรมเป็นคนละเรื่องที่แยกต่างหากจากกัน   ซึ่งสืบทอดเจตนารมณ์แนวความคิดจากนักกฎหมายอังกฤษเป็นสำคัญ  เพราะว่านักกฎหมายไทยในอดีตตอรแรกนับแต่พระบิดากฎหมายไทย คือ “กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์”เป็นต้นมา ได้ศึกษากฎหมายจากอังกฤษ  จึงทำให้คำสอนและวิธีการศึกษานี้แพร่หลายออกไป  จึงสังเกตได้ว่า “ศาลไทยยอมรับอำนาจของคณะรัฐประหาร  หรือคณะปฏิรูปการปกครองที่ล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย  ศาลไทยถือว่า ประกาศ คำสั่งของคณะรัฐประหาร คำสั่งของคณะปฏิรูป การปกครองเหล่านี้เป็นกฎหมาย  แม้ไม่ได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติตามครรลองการบัญญัติกฎหมายในระบบประชาธิปไตยก็ตาม”๒๗                                                                  

         ๒๕รองพล เจริญพันธ์,นิติปรัชญา(ภาคหนึ่ง),(กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,๒๕๔๔),หน้า๓.
         ๒๖ปรีดี เกษมทรัพย์,นิติปรัชญา,หน้า๑๘.
         ๒๗ คมกริช วัฒนเสถียร,ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปพิมพ์ครั้งที่๗,(กรุงเทพมหานคร:บัณฑิตไทย,๒๕๕๔,หน้า๔-๕.
                                                                                                                                        
 
 
 
 
 
บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับนิติปรัชญา
                การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย  ในปี พ.ศ.๒๔๔๐ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง “โรงเรียนกฎหมาย”  แห่งแรกของประเทศไทยได้ย้ายเรียนการสอนโดยคราจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ  ต่อมาจึงมีการจัดตั้ง “คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์”ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ หลังจากนั้นเพียง๘เดือน คระนิติศาสตร์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ ได้มีการจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้งในคณะรัฐศาสตร์  ก่อนที่จะพัฒนามาเป็นคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ จนถึงปัจจุบัน มีสถาบันอุดมศึกษาได้เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ในหลายสถาบันทั้งภาครัฐและเอกชนไปสังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง  ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่  ปัจจุบันคือขึ้นในกระทรวงยุติธรรมซึ่งเปิดการ
อนึ่งวิชานิติปรัชญาเป็นวิชาที่ศึกษากฎหมายในเชิงปรัชญา  มีการตั้งคำถามถึงแก่นแท้ของกฎหมายและถือว่ามีความสำคัญมาก  มหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งจึงได้บรรลุให้กลายเป็นวิชาบังคับสำหรับการเรียนการสอนในหลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต ซึ่งการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวจะมุ่งเน้นการทำวิจัยปรับปรุงแก้ไขตัวบทกฎหมายที่มีผลบังคับอยู่ในปัจจุบัน  ซึ่งการมองเห็นปัญหาของกฎหมายที่อยู่ในปัจจุบันดังกล่าว  อาจเป็นการยากต่อนักศึกษาที่เคยศึกษามา แต่ว่าการศึกษากฎหมายแบบนิติศาสตร์โดยแท้  ที่มีการศึกษาแบบยึดหลัก Dogmatic ที่ต้องยอมรับนับถือกันเป็นมูลบทเท่านั้น จึงเป็นการยากที่จะเห็นเป็นข้อบกพร่องของหลักDogmaticดังกล่าว  วิธีการมองข้อบกพร่องทางกฎหมายได้ดีที่สุดวิธีหนึ่งคือวิธีมุมมองภายนอกระบบกฎหมายวึ่งคือมุมมองแบบนิติปรัชญานั่นเอง
๑.๔ วัตถุประสงค์ของนิติปรัชญา
                วัตถุประสงค์ของการศึกษาของวิชานิติปรัชญา  เพื่อให้รู้และเข้าใจแนวความคิดทางปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังกฎหมาย
-เพื่อให้รู้จักมองกำหมายในเชิงปรัชญา
-เพื่อให้เข้าถึงวิญญาณของกฎหมาย เป็นนักกฎหมายที่มีจิตใจเป็นนักกฎหมายอย่างแท้จริง
-เพื่อให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจในบทบาท  หรือความสำคัญของกฎหมายในสังคม
-เพื่อให้ผู้ศึกษารู้จักใช้ดุลยพินิจ  และหาเหตุผลกำกับการใช้ดุลยพินิจ
-เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายคำว่า “ทำนองคลองธรรม”  เข้าใจว่าทำอย่างไรจะได้กฎหมายที่ดีมาใช้ในสังคม ทำอย่างไรจึงจะทำให้สังคมมีความสงบสุขได้ภายใต้กฎหมาย๒๘ ฯลฯ

๒๘ดูรายละเอียดใน สิวลี ศิริไล,ปรัชญญากฎหมาย,(กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหิดล,๒๕๒๕),หน้า๒-๓.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สรุปวิชานิติปรัชญาว่า เป็นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรมเรื่องธรรมชาติของกฎหมายโดยส่วนรวม และนอกจากนั้นยังรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับหลักคุณค่าอื่นๆในสังคม เช่นศีลธรรม อิสรภาพ ความเสมอภาค หลักเรื่องอรรถประโยชน์ หรือประโยชน์สุขของสังคม ซึ่งเป็นการพิจารณาในเชิงมิติทางสังคมของกฎหมาย หรือบริบททางสังคมภายในกฎหมาย ภายในปริมณฑล เกี่ยวกับการศึกษาเชิงปรัชญาดังกล่าว  จึงมีเรื่องราวหรือคำถามหลักๆ ที่ควรคิดมากมาย เช่น กฎหมายคืออะไร
-อะไรคือเงื่อนไขความสมบูรณ์ของกฎหมาย
-กฎหมายกับความยุติธรรมสัมพันธ์กันอย่างไร
-เป็นไปได้ไหมที่กฎหมายจะขัดแย้งกับความยุติธรรม  ถ้าได้ผลจะเป็นอย่างไร
_จริงหรือว่าเราทุกคนต่างล้วนมีหน้าที่ทางศีลธรรมที่จะต้องเคารพเชื่อฟังกฎหมายในทุกกาลเทศะโดยไม่ต้องคำนึงว่ากฎหมายนั้นๆจะมีเนื้อหาสาระที่ชอบธรรมหรือไม่ประการใด
-สิ่งที่เรียกว่า หลักนิติธรรม(The Rule of Law) มีความศักดิ์สิทธิ์  หรือคุณค่าในตัวของมันเองเสมอไปหรือ
-หลักนิติรัฐ คืออะไร มีความหมายในทางลบได้หรือไม่
-กฎหมายมีความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจหรือการเมืองเพียงใด
  เหล่านี้ นับว่าเป็นตัวอย่างคำถามสำคัญที่อาจถือเป็นหัวใจศึกษาในวิชานิติปรัชญาจะได้พฤดกันต่อไป  และการตอบคำถามดังกล่าวต่างมีแง่มุมหรือวิธีการเข้าสู่คำตอบอย่างเป็นระบบต่างๆกันสุดแล้ว แต่แนวคิทฤษฎีความเชื่อถือในสำนักความคิดทางปรัชญากฎหมาย ซึ่งมีกฎหลายทฤษฎีสำนัก  ได้แก่
-สำนักกำหมายธรรมชาติ
-สำนักปฏิฐานนิยม
-สำนักกฎหมายประวัติศาสตร์
-สำนักนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา
-สำนักสัจนิยมทางกฎหมาย
-สำนักมาร์กซิสต์ เป็นต้น
                การศึกษาปรัชญากฎหมาย หรือแนวคิดทางกฎหมายในบทต่อไป  โดยเฉพาะการสึกาเชิงเปรียบเทียบ ความคิด หรือปรัชญากฎหมายของสังคมไทยกับสังคมตะวันตก ซึ่งปรากฏสำนักคิดทางปรัชญา กฎหมายสำนักหนึ่งที่มีอิทธิพลและมีอายุยาวนานมานับพันๆปี ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ  กล่าวคือสำนักกฎหมายธรรมชาติ(Natural Law School) อันเป็นสำนักคิดที่เชื่อว่ามีกฎแห่งธรรมชาติหรือกฎศีลธรรมในธรรมชาติ
๑.๘ ประโยชน์ของการศึกษานิติปรัชญา
                ๑.นิติปรัชญาทำให้เราคิดถึงคุณค่าพื้นฐานในทางกฎหมายมากขึ้นกว่าเดิม มีจิตใจวิพากษ์วิจารณ์(Critical Mind)มากขึ้น เพราะฉะนั้นในแง่นี้  นิติปรัชญาจึงมีประโยชน์ในทางนิตินโยบาย คิดทำให้เราสามารถหาคำตอบได้อย่างมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น
                ตัวอย่างเช่น เราอาจจะเห็นกฎหมายบางฉบับไม่ถุกต้อง  แล้วเราว่ามันควรที่จะต้องปรับแก้ อันนี้เราอาจวิจารณ์มากจากในมุมนิติปรัชญาเพื่อผลักดันให้มันมีการไขตัวกฎหมายเหล่านั้น
๒.นิติปรัชญาทำให้เรามีจิตใจที่กว้างขวางขึ้น ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นได้มากขึ้น อีกนัยหนึ่งประโยชน์ของการศึกษาวิชานิติปรัชญา มีผู้รู้กล่าวอิบายไว้มีหลายประการ ดังนี้
๑.เพื่อให้รู้และเข้าใจแนวความคิดทางปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังกฎหมาย
๒.เพื่อให้รู้จักมองกฎหมายในทางปรัชญา และสามารถจำแนกแนวความคิดของสำนักกฎหมายต่างๆได้
๓.เพื่อให้เข้าถึงวิญญาณของกฎหมาย  เป็นนักกฎหมายที่มีจิตใจเป็นนักกฎหมาย(Legal mind)อย่างแท้จริง
๔.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหรือความสำคัญของกฎหมายในสังคม โดยเข้าใจถึงต้นกำเนิดของแนวความคิดทางนิติปรัชญาและสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง
๕.เพื่อให้ผู้ศึกษารู้จักใช้ดุลยพินิจและหาหาเหตุผลกำกับการใช้ดุลยพินิจ
๖.เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจคำว่า”ทำนองคลองธรรม” ด้วยความเข้าใจที่ว่า อย่างไรจึงจะได้กฎหมายที่ดีมาใช้ในสังคม ทำอย่างไรจึงจะทำให้สังคมมีความสงบสุขภายใต้สังคม
๗.เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในความหมายและขอบเขตปรัชญากฎหมายความเป็นมาของกฎหมาย ลักษณะที่ถูกต้องของกฎหมาย ความยุติธรรม และกฎหมายกับศีลธรรม
๘.เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้จากนิติปรัชญาไปปรับใช้กับการเรียนกฎหมายในวิชาอื่นๆนับว่าการศึกษาวิชานิติปรัชญาเป็นการศึกษาเพื่อก่อให้เกิด


Create Date : 16 กรกฎาคม 2564
Last Update : 16 กรกฎาคม 2564 6:48:34 น. 0 comments
Counter : 432 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 5378236
Location :
ขอนแก่น Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ดี
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5378236's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.