ฝันอยู่ไกลแค่ไหนฉันจะไปให้ถึง
Group Blog
 
All blogs
 

ธรรมะ

"ปรุงแต่งใจให้เป็นสุข"
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)

ใช้ความสามารถปรุงแต่งสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ภายนอกแล้วอย่าลืมใช้ความสามารถนั้น ปรุงแต่งสร้างสรรค์ความสุขภายในด้วย
พระพุทธศาสนาเปิดเผยความจริงว่าความสุขมีมากมาย ความสุขมีหลายแบบ ความสุขมีหลายชั้นหลายระดับ ทั้งความสุขภายนอกภายใน ทั้งความสุขแบบแบ่งแยกและความสุขแบบประสาน ทั้งความสุขที่อาศัยวัตถุและไม่อาศัยวัตถุ ทั้งความสุขทางร่างกายและความสุขทางจิตใจ ทั้งความสุขระดับจิตและความสุขระดับปัญญา ทั้งความสุขแบบมัวเมาติดจม และความสุขแบบโปร่งโล่งผ่องใส
ความสุขของมนุษย์อย่างหนึ่งคือ ความสามารถในการปรุงแต่งสร้างสรรค์คิดค้น ซึ่งสัตว์อื่นไม่มี การที่มนุษย์เจริญขึ้นมามีเทคโนโลยีมีสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มากมาย ก็เกิดจากความสามารถของมนุษย์ในการปรุงแต่งสร้างสรรค์นี่แหละแต่กว่าจะออกมาเป็นวัตถุปรุงแต่งสร้างสรรค์ได้ ต้นเดิมมันมาจากไหน มันก็มาจากในใจของเรา คือ ใจที่มีสติปัญญาเริ่มด้วยใช้ปัญญาคิดปรุงแต่งข้างในแล้วจึงแสดงออกมาเป็นการปรุงแต่งประดิษฐ์วัตถุ สร้างสรรค์วัตถุข้างนอกได้จนกระทั้งเป็นคอมพิวเตอร์และดาวเทียม ก็เกิดจากความคิดในใจเป็นจุดเริ่ม
ทีนี้ความคิดของเรานี่น่ะ นอกจากปรุงแต่งสร้างสรรค์วัตถุข้างนอกแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็คือปรุงแต่งสุขปรุงแต่งทุกข์ข้างใน เราไม่รู้ตัวหรอกว่าเราใช้ความสามารถนี้ตลอดเวลาด้วยการปรุงแต่งความสุข และปรุงแต่งความทุกข์ จริงไหมว่าที่เราทุกข์เราสุขกันนี้ ส่วนมากเป็นสุขและทุกข์ที่เราปรุงแต่งขึ้นเอง ไม่เหมือนกับสัตว์อื่น
สัตว์อื่นนั้นไม่รู้จักความทุกข์ความสุขมากเหมือนมนุษย์ มันมีความสุขความทุกข์ที่เกิดจากทางกาย ได้กินอาหาร ได้หลับนอนพักผ่อนหรือต่อสู้หนีภัยอะไร ๆ ก็ตามประสา แต่ความสุขความทุกข์ทางใจที่เกิดจากการคิดปรุงแต่งมันไม่มี เราจะเห็นว่าสัตว์กลุ้มใจไม่เป็น สัตว์มันเครียดไม่เป็น เครียดได้แต่เรื่องที่สืบเนื่องจากทางกาย ไม่เหมือนมนุษย์
มนุษย์นี้ปรุงแต่งสุขทุกข์ในใจกันมากมายพิสดารปรุงแต่งทุกข์ให้กลุ้มให้กังวลให้เครียดจนกระทั้งเสียจิตไปเลย สัตว์อื่นปรุงแต่งใจให้เป็นบ้าไม่ได้ แต่มนุษย์ปรุงแต่งจิตใจจนกระทั่งกลายเป็นบ้าไปก็มี มนุษย์มีความสามารถนี้อยู่มากมายนัก แต่น่าเสียดายที่มนุษย์ใช้ความสามารถนี้ไปในการปรุงแต่งทุกข์มากกว่าปรุงแต่งสุข มีอะไรมากระทบตากระทบหู ไม่สบายใจนิดหน่อย ก็เก็บเอามาปรุงแต่งต่อเสียยืดยาวใหญ่โต เวลาอยู่ว่าง ๆ แทนที่จะปรุงแต่งสุข ก็ปรุงแต่งทุกข์ เอาเรื่องที่ไม่ดีมาวาดเป็นภาพ ทำให้เกิดความรู้สึกกลุ้มใจกังวล มีความโกรธเคียดแค้นต่าง ๆ ทำให้มีความทุกข์มากมาย แสดงว่ามนุษย์ส่วนมากใช้ความสามารถไม่ถูกทางจึงเป็นโทษแก่ตนเองทีนี้ถ้ามนุษย์ฝึกตัวให้ใช้ความสามารถนั้นให้ถูก เขาก็จะปรุงแต่งความสุขได้มากมายมหาศาล
ในทางพระพุทธศาสนาท่านแนะนำให้เราปรุงแต่งความสุข
ท่านสอนวิธีทำใจหรือฝึกจิตฝึกใจ และบอกวิธีใช้ปัญญามากมาย อย่างเช่น การบำเพ็ญสมาธิต่าง ๆ ก็คือวิธีปรุงแต่งจิตใจนั่นเอง แต่เป็นการปรุงแต่งให้เป็นสุข ในการมองโลกแม้แต่สิงเดียวกัน ถ้าเรามองไม่เป็น ก็เป็นเรื่องร้ายเกิดทุกข์ แต่ถ้ามองเป็น ก็กลายเป็นดีเกิดสุขได้
ขอเล่าเรื่องพระท่านหนึ่งที่เป็นเพื่อนกันตอนเรียนหนังสือที่มหาจุฬาฯ ในวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ เวลาชั่วโมงว่างไม่ได้เรียนหนังสือ ท่านจะมองไปที่ท่าพระจันทร์ซึ่งมีผู้คนเดินผ่านไปผ่านมาขวักไขว่จำนวนมาก ท่านมองไปมองมาแล้วก็นั่งหัวเราะ อาตมาก็ถามว่าหัวเราะอะไร ไม่เห็นมีอะไร ท่านบอกว่ามองไปเห็นผู้คนเดินไปเดินมา ท่าทาง รูปร่างเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าสีสันต่าง ๆ กัน คนนั้นเดินอย่างนี้ คนนี้เดินอย่างนั้น ดูแล้วขำ ท่านก็เลยหัวเราะ นี่ก็เป็นวิธีมองโลกอย่างหนึ่ง
บางคนมองอะไรก็น่าขำไปทั้งนั้น บางคนมองเห็นอะไรก็รู้สึกขัดหู ดูขัดตาไปทุกอย่าง บางคนไม่มีอะไรก็นั่งกังวลไม่สบายใจ ทุกข์ไปหมด นี้เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ของการปรุงแต่งจิตใจ เราตั้งท่าทีของจิตใจอย่างไรก็สร้างจิตใจให้เป็นอย่างนั้น สุข-ทุกข์ก็เกิดตามมา
ในชีวิตประจำวัน เมื่อทำงานทำการ เราก็มองโลก เราก็มองคนที่พบเห็นมาหาไปหา เช่นเป็นแพทย์เป็นพยาบาลก็มองคนไข้ไปด้วย เราต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนทั่วไป กับผู้ร่วมงาน เราจะต้องหัดมองให้เป็น อย่ามองในแง่ที่กระทบหูกระทบตา
วิธีมองให้ไม่เกิดโทษมีหลายอย่าง อย่างน้อยก็ควรมองเห็นว่าเป็นประสบการณ์แปลก ๆ ในวันหนึ่ง ๆ เราพบเห็นผู้มีกิริยาอาการต่างๆ มากมาย คนนั้นลักษณะอย่างนั้น คนนี้ลักษณะอย่างนี้ เราก็มองในแง่ที่ว่า เป็นสิ่งที่ได้รู้ได้เห็น เป็นประสบการณ์ หลากหลาย เป็นข้อมูลความรู้ อย่าเก็บมาเป็นอารมณ์ เราอาจจะสบายใจหรือพอใจว่านี่เราได้รู้เห็นรู้จักโลกมากขึ้น โลกเป็นอย่างนี้ เมื่อเราทำใจอย่างนี้ สิ่งที่พบเห็นก็ไม่กระทบหูไม่กระทบตา ไม่กระทบใจ เราก็สบายใจ แต่ไม่แค่นั้น ยังดีกว่านั้นอีกคือเราได้ความรู้ด้วย.

ที่มา //www.dhammadelivery.com/teaching-detail.php?tea_id=16




 

Create Date : 07 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2550 13:21:36 น.
Counter : 355 Pageviews.  

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี


การบูชราแบ่งออก เป็น 2 อย่าง

  • อามิสบูชา
  • ปฏิบัติบูชา


    "สะรีรัง อามิสสะ ปะฏิปันนัง ปูชามิ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สรีระนี้กว้างกำมา ยาววา หนาคืบ ย่อมเป็นที่อาศัยของผู้ปฏิบัติ การพลีชีวิตนี้ประพฤติธรรมชื่อว่าปฏิบัติบูชา การบูชาด้วยอามิสมีอาหารและดอกไม้ เป็นต้น ชื่อว่า อามิสบูชา เราสรรเสริญการบูชาทั้งสองนี้ ปฏิบัติบูชานั่นแลประเสริฐ"



    สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี

    คำสอน
    กรรม

    เกี่ยวกับเรื่องกรรมนั้น ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงกรุณาอธิบายให้เข้าใจยิ่งขึ้นอีกว่า
    “กรรมมีอยู่ 12 อย่าง คือ
    1.ทิษฐะธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพนี้
    2.อุปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพหน้า
    3.อปราประเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อไป
    4.อโหสิกรรม กรรมให้ผลแล้ว
    5.ชนกกรรม กรรมให้เกิด
    6.อุปถัมภกกรรม กรรมปรุงกำเนิด
    7.อุปฬกกรรม กรรมตัดรอน
    8.อุปฆาตกรรม กรรมเบียดเบียน
    9.อสัญญกกรรม กรรมใกล้ตาย
    ส่วนกรรมที่หลือนอกนั้นไม่สำคัญอะไร จึงไม่ได้กล่าวไว้ในที่นี้”

    "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี"




     

    Create Date : 21 กรกฎาคม 2550    
    Last Update : 18 สิงหาคม 2550 14:22:09 น.
    Counter : 305 Pageviews.  


ตะวันยิ้มร่า
Location :
ตรัง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ตะวันยังส่องแสง
Friends' blogs
[Add ตะวันยิ้มร่า's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.