สอบเข้าคณะนิติศาสตร์ คลิ๊ก ... http://tutorlawgroup.blogspot.com/
Group Blog
 
All blogs
 
ประเทศอื่นเลียนแบบไทยแห่ทำซีแอล

เอ็นจีโอสหรัฐระบุบริษัทยามะกันกลัวประเทศอื่นเลียนแบบไทยแห่ทำซีแอล

ผู้อำนวยการโครงการผู้บริโภคด้านเทคโนโลยีองค์กรพัฒนาเอกชนจากสหรัฐระบุในสหรัฐมีการใช้มาตรการซีแอลแล้วกว่า 40,000 ครั้ง ผ่าน 3 มาตรการ เหตุที่โจมตีประเทศไทย เพราะบริษัทยาห่วงประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ จะเลียนแบบใช้มาตรการซีแอลเหมือนประเทศไทย นายเบนจามิน โครห์มาล ผู้อำนวยการโครงการผู้บริโภคด้านเทคโนโลยี องค์กรพัฒนาเอกชนจากสหรัฐอเมริกา บรรยายเรื่อง “ความจริงในการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร (ซีแอล)” ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า ในสหรัฐมีการใช้ซีแอลจำนวนมาก โดยมีการประเมินกันว่าตั้งแต่มีระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามาจนถึงปี 2549 สหรัฐได้ใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรไปแล้วไม่ต่ำกว่า 40,000 ครั้ง แต่การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรของสหรัฐมีหลากหลายรูปแบบ และไม่ได้เรียกว่าการใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร หรือซีแอล (Compulsory Licenses) แต่เลี่ยงไปใช้คำอื่น ๆ แทน โดยดำเนินการผ่าน 3 มาตรการ คือ การใช้สิทธิโดยรัฐ การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรโดยกฎหมายการแข่งขันทางการค้า และตามคำพิพากษาของศาลพิเศษด้านทรัพย์สินทางปัญญา

นายเบนจามิน กล่าวว่า ในช่วงปี 2530 สหรัฐได้ตั้งศาลพิเศษด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อดูแลระบบสิทธิบัตรในสหรัฐโดยเฉพาะ ซึ่งหลังจากที่มีการตั้งศาลดังกล่าว ทำให้การบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรในสหรัฐลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาคำพิพากษาของศาลดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนการใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรมากขึ้น จากเดิมที่เน้นเรื่องการคุ้มครองสิทธิบัตร ดังนั้น จึงประเมินได้ว่าจากนี้ไปการบังคับใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรในสหรัฐจะเพิ่มมากขึ้น โดยผ่าน 3 ช่องทางดังกล่าว

นายเบนจามิน กล่าวว่า การใช้ซีแอลของประเทศไทยในยา 3 ตัวคือ ยาเอฟฟาไวเรนซ์ ยาคาเลตราและยาพลาวิกซ์หรือโคลพิโดเกรล ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในสหรัฐ แต่ในขณะเดียวกันในสหรัฐเองก็มีการใช้ซีแอล เช่น ยาโคลพิโดเกรล ซึ่งเป็นยาชื่อสามัญของยาพลาวิกซ์ ของบริษัท ซาโนฟี ในปี 2549 บริษัท อโปเท็กซ์ ซึ่งเป็นบริษัทของแคนาดาได้ขายยาโคลพิโดเกรลในสหรัฐ ได้ยอดขายสูงถึง 36,000 ล้านบาท ทั้งที่ยาดังกล่าวเป็นยาที่ติดสิทธิบัตร และบริษัทซาโนฟี่ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับให้บริษัทอโปเท็กซ์เลิกขายยานี้ในสหรัฐ และศาลตัดสินให้บริษัท ซาโนฟี ชนะ แต่อนุญาตให้บริษัทอโปเท็กซ์ สามารถขายยาโคลพิโดเกรลที่ผลิตออกมาก่อนมีคำตัดสินของศาลในสหรัฐได้

“ยอดขายยาพลาวิกซ์ในประเทศไทยมีเพียง 700 ล้านบาท ในขณะที่บริษัทซาโนฟีสูญเสียรายได้ในสหรัฐไม่ต่ำกว่า 36,000 ล้านบาท แต่กลับมีปฏิกิริยาอย่างมากในการที่ไทยใช้ซีแอล ทั้งที่รายได้จากการขายยาในไทยมีอัตราส่วนเพียง 1 ใน 50 ของยอดขายในสหรัฐ อาจเป็นเพราะว่า เกรงประเทศกำลังพัฒนาจะใช้ซีแอลเหมือนกันกับประเทศไทยหรือซื้อยาชื่อสามัญในตลาดอินเดียมากขึ้นทำให้ราคายิ่งลดลง” นายเบนจามินกล่าว



Create Date : 10 มีนาคม 2551
Last Update : 10 มีนาคม 2551 14:32:13 น. 1 comments
Counter : 332 Pageviews.

 
การมีCL ยามันช่วยผู้ป่วยที่ไม่มีค่ารักษาพยาบาล
ได้ดีจิงๆ

ราคายาถูกลงไปครึ่งต่อครึ่งเลยอะ


โดย: บางส้มเปรี้ยว วันที่: 10 มีนาคม 2551 เวลา:17:31:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

hanayo_boyz
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **

อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์

คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ

ขอบคุณสำหรับ
การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ


หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย

** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **

** hanayolaw@gmail.com **
หรือ
** hanayo_dona@hotmail.com **



** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ

** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
Friends' blogs
[Add hanayo_boyz's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.