ชีวิต คือการเริ่มอย่างไม่เข้าใจ แต่พยายามจบอย่างมีความหมาย +ด.ช.ไม้ดาบ+ KaravaThai.WEBS.COM
Group Blog
 
All Blogs
 

จดหมายถึง ท่านชวน หลีกภัย

From : ชวน หลีกภัย
Sent : Tuesday, May 30, 2006 5:03 AM
To : jinda hanthawichai
Subject : Re: กราบเรียน ท่านชวน หลีกภัย


ขอขอบคุณ คุณจินดา มาก ข้อมูลที่เล่าให้ฟังนับว่าเป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับเด็กวัยอนุบาล ก่อนถึงชั้นประถม และผมก็เคยให้จัดตั้ง"อนุบาลชนบท" ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2528
(ช่วงผมเป็น รมต.กระทรวงศึกษาธิการ) ยังคงมีผลถึงปัจจุบัน และต่อมาก็ให้มีการจัดตั้งงบประมาณให้เด็กอนุบาลและเด็กประถมให้ดื่มนมสดอย่างน้อยคนละกล่อง(หรือถุง) ซึ่งยังคงมีผลมาจนปัจจุบันนี้

แนวความคิดของคุณจินดา ผมจะเสนอให้หัวหน้าพรรคฯ อภิสิทธิ์ รับไปพิจารณาต่อไป

ชวน หลีกภัย





อ้างอิง jinda hanthawichai :

กราบเรียน ท่านชวน หลีกภัย
ดิฉัน จินดา หาญทวิชัย ศิษย์เก่าสถาปัตย์ จุฬาฯ รุ่น ๕๖
ได้มีโอกาสเดินทางมาทำงานด้านออกแบบ เขียนแบบ และเขียนหนังสือสำหรับเด็กเป็นงานอดิเรกในนิวยอร์คกว่า ๗ ปี เนื่องด้วย พี่สาวเป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง จึงให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาเด็ก

ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐจะมีมาตรการการใช้สื่อของรัฐเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
แต่ปัญหาคือ รัฐยังมองไม่เห็นความสำคัญของช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในวัย ๓-๖ ขวบของเด็ก ซึ่งเส้นสมองจะพัฒนาเชื่อมโยงกันถึง ๘๐ เปอเซนต์ของทั้งชีวิต และจะพัฒนาเป็นบุคลิกนิสัยของเด็กเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
และเนื่องจากเด็กไมมีสิทธิ มีเสียง มีพลังที่จะบอกความต้องการพื้นฐานในชีวิตได้เท่าผู้ใหญ
การทํางานจึงต้องเกี่ยวโยงไปถึงพ่อแมผู้ปกครอง และคุณครู เพื่อจะปลุกความเข้าใจในแนวลึกว่า จุดอ่อนหรือจุดแกร่งในชีวิตนั้นขึ้นกับช่วงเวลาในวัยเด็กอนุบาลถึงสี่ในห้าส่วน หากประเทศไทยตั้งใจจะพัฒนาทั้งประเทศไปในแนวทางตะวันตกต้นแบบแล้ว
รัฐบาลหรือองค์กรต่างๆควรเริ่มพัฒนาที่วัยนี้ก่อน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้วัยนี้เป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ก่อนที่เราจะรวมโลกเป็นหนึ่งเดียว

ปัจจุบันดิฉันเห็นรัฐมุ่งเน้นแต่เด็กตั้งแต่ ป.๑ ขึ้นไป ถึงขนาดจะแจกโนตบุ๊คให้คนละเครื่อง ทั้งๆที่ช่วงอายุนั้น บุคลิก คุณภาพ และคุณธรรมในตัวเด็กได้พัฒนาไปเสร็จแล้ว เราได้แต่ให้ความรู้วิชาการเพิ่มเติมเข้าไปเท่านั้น เราจึงมักจะมีคำถามว่า ทำไมเด็กเมืองนอกจึงมีคุณภาพ ความคิดเห็น หลักการณ์ กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล ต่างจากเด็กไทย
ดิฉันมั่นใจว่า เพราะรัฐบาลที่นี่สนับสนุนรายการเด็ก จากช่อง PBS ซึ่งมีรายการสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนโดยตลอดตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงสี่โมงเย็น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่กับพ่อ+แม่

PBS.ORG เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ผลิตรายการสำหรับเด็ก และแพร่ภาพทางช่อง thirteen
ขอเงินสนับสนุนจากผู้ชมทางบ้านผ่านรายการ เป็นองค์กรที่คนอเมริกันทุกคนขอบคุณ ที่ให้เค้าเติบโตขึ้นมาด้วยคุณธรรม

//pbskids.org/everything.html

ดิฉันลองมองภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย นั่นคือเด็กก่อนวัยเรียนมักจะถูกเลี้ยงดูโดยคุณย่า คุณยาย หรือพี่เลี้ยงเด็ก และพระในสถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนของรัฐ ซึ่งท่านเหล่านี้ไม่มีความรู้เรื่องสิ่งที่เด็กควรรับรู้อย่างเป็นมาตรฐาน แต่มีความรักเป็นพื้นฐาน หากรัฐสามารถสร้างรายการที่เป็นมาตรฐานสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนทางสถานีโทรทัศน์ซึ่งเป็นของรัฐ เราจะสามารถช่วยสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้เด็กไทยทั้งประเทศในรุ่นต่อไป

ดิฉันติดตามรายการเด็กของที่นี่มาโดยตลอด เค้ามีการ์ตูนสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน สอนในทีวีตลอดวัน เพราะเค้ารู้ว่านี่เป็นช่วงสำคัญ เด็กอยู่ที่ไหน ยากจน อย่างไร จะดูแลโดยพี่เลี้ยงหรือคุณย่า คุณยาย มีหรือไม่มีความรู้อย่างไร เด็กก็ยังได้รับสื่อการสอนจากทีวีมาตรฐานเดียวกัน แต่เมืองไทยมีช่อง๑๑ กลับไม่เป็นช่องสำหรับเด็ก เป็นรายการผู้ใหญ่ซึ่งดูจากช่องไหนๆก็ได้ ดิฉันจึงพยายามรวบรวมหัวข้อต่างๆของการ์ตูนที่นี่ ซึ่งต่างจากการ์ตูนที่ฉายในทีวีบ้านเราที่ส่วนใหญ่เป็นการ์ตูนประเภทต่อสู้ แพ้-ชนะ โดยไม่ได้ให้ข้อคิดที่แตกต่างกันในแต่ละวัน เห็นโลกที่กว้างใหญ่เหมือนการ์ตูนที่นี่

Concepts - General
Concepts - Alphabet
Concepts - Animal Sounds
Concepts - Colors
Concepts - Counting & Numbers
Concepts - Money
Concepts - Opposites
Concepts - Seasons
Concepts - Senses & Sensation
Concepts - Size & Shape
Concepts - Sounds
Concepts - Time
Concepts - Words


Science & Technology
Science & Technology - Astronomy/Space
Science & Technology - Computers
Science & Technology - Earth Science
Science & Technology - Ecology
Science & Technology - Mathematics


Health & Daily Living - General
Health & Daily Living - Anatomy
Health & Daily Living - Daily Activities
Health & Daily Living - Diseases
Health & Daily Living - Safety
Health & Daily Living - Boys / Men & Girls / Women
Health & Daily Living - Toilet Training
Health & Daily Living - Tooth Loss & Tooth Fairy
Health & Daily Living - Visits to Doctor/Dentist/Hospital

Life Style - Toys, Dolls, & Puppets
Life Style - Animals - Zoos
Life Style – Adventure
Life Style - Comics - Superheroes, Mysteries, Detective, Fairy Tales & Folklore
Life Style - Imagination & Play
Life Style - Art (painting sculpture artists architecture Music Dance etc.)
Life Style - Cooking & Food
Life Style - Holidays & Celebrations

Family - General
Family - Adoption
Family - Marriage & Divorce
Family - Multigenerational
Family - New Baby
Family - Orphans & Foster Homes
Family - Parents
Family - Siblings
Family - Stepfamilies
Family - Vacation


Social Issues - love
Social Issues - Abandonment
Social Issues - Adolescence
Social Issues - Bullying
Social Issues - Community & Neighborhood
Social Issues - Death & Dying
Social Issues - Depression & Mental Illness
Social Issues - Violence
Social Issues - Emotions & Feelings
Social Issues - Friendship
Social Issues - Homelessness & Poverty
Social Issues - Lost & Found
Social Issues - Manners & Etiquette
Social Issues - New Experience
Social Issues - Peer Pressure
Social Issues - Physical & Emotional Abuse
Social Issues - Pregnancy
Social Issues - Prejudice & Racism
Social Issues - Runaways
Social Issues - Self Mutilation
Social Issues - Self-Esteem & Self-Reliance
Social Issues - Special Needs
Social Issues - Values
Social Situations - Moving

School & Education, Books & Libraries, Careers
Sports & Recreation
Religious – Thai & Other, Law & Crime

Transportation - General
Transportation - Airplanes
Transportation - Boats/Underwater
Transportation - Cars/Trucks
Transportation - Motorcycles
Transportation - Trains


Nature & the Natural World - General
Nature & the Natural World - Ecology
Nature & the Natural World - Environment
Nature & the Natural World - Flowers
Nature & the Natural World - Gardening
Nature & the Natural World - Seasons
Nature & the Natural World - Trees
Nature & the Natural World - Weather


People & Places - Country Life & City Life, Thai & Other
Biographical – Thai & Other
Historical - Thai & Other
Royalty (kings queens princes princesses knights etc.)



คำถามมีอยู่ว่า
+ทำไมรัฐจึงไม่มีช่องทีวีสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนโดยเฉพาะเหมือนรายการทีวีที่นี่?
+ทำไมการ์ตูนที่นำเข้าส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นจึงเป็นแค่ประเภทการต่อสู้ ทั้งๆที่เราต่างรู้ว่า เราใส่อะไรให้เด็ก เด็กก็จะชอบแบบนั้นจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทำไมเราไม่เปิดโลกกว้างให้เด็กจากการ์ตูนที่วางผังคุณธรรมไว้ในทุกๆด้าน?

ดิฉันหวังว่า ท่านจะลุกขึ้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันความคิดเห็นเหล่านี้ และสามารถส่งผ่านไปถึงผู้มีอำนาจบริหารรายการทีวีในเมืองไทยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะนี่คืออนาคตของประเทศไทยโดยมวลรวม

ด้วยความเคารพ
จินดา หาญทวิชัย

"ในปฐมวัย เราเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ปั้น ช่วงชีวิตต่อจากนั้น...เราจะปั้น สิ่งที่เราเป็น"




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2549    
Last Update : 9 พฤษภาคม 2553 15:17:18 น.
Counter : 525 Pageviews.  

KID's project

3D BRAIN THEORY

width='450' height='514' border=0

Theory has a number of distinct meanings in different fields of knowledge, depending on the context and their methodologies. In common usage, people use the word "theory" to signify "conjecture", "speculation", or "opinion." In this sense, "theories" are opposed to "facts" — parts of the world, or claims about the world, that are real or true regardless of what people think.
From Wikipedia, the free encyclopedia



กระบวนการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้เปรียบเสมือนการออกแบบกล่องหนึ่งใบ
เราต้องร่างแบบภาพรวมทั้งหมดก่อน ที่จะกำหนดความกว้าง ยาว สูง มิเช่นนั้น เราคงได้กล่องที่บิดเบี้ยว

กระบวนการสร้างคน
มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับ กาย ใจ จิต เป็นมิติแรกทางปัญญา

ในช่วงปฐมวัย เป็นระยะเวลาหกปีแห่งการพัฒนาบุคลิกภาพในมิติที่สอง
IQ Intelligence Quotient ความฉลาดทางปัญญา
EQ Emotional Quotient ความฉลาดทางอารมณ์
MQ Moral Quotient ความฉลาดทางศีลธรรม
เพื่อสั่งสมความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคน
ว่าเด็กจะเป็นคนดี คนเก่ง หรือคนมีความสุข
และเอกลักษณ์นี้จะติดตัวต่อไปตลอดชีวิต

ต่อจากนั้นจึงเป็นการพัฒนาการหยั่งรู้ในมิติที่สาม
< SQ Spirit Quotient ความฉลาดทางวิญญาณ >
เป็นมิติแห่งการฝึกมองให้เห็นภาพรวมของโครงสร้าง
ผู้สามารถเชื่อมต่อแต่ละมิติทางความคิดเข้าด้วยกันได้มากน้อยเพียงใด
ย่อมบ่งบอกถึงความลึกของบุคคลนั้น

เด็กในประเทศที่ระบบการศึกษาไม่ครอบคลุมถึงมิตินี้
เด็กจะทำการลอกหรือเลียนแบบได้เท่านั้น
การออกแบบที่นำมาซึ่งการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้ประเทศจะหยุดชะงักทั้งระบบ


“ การจำแนกคนโดยพิจารณา IQ EQ และ MQ
ระดับเชาวน์ปัญญากับค่า IQ
ค่า IQ / ลำดับความสามารถทางเชาวน์ปัญญา
130 และสูงกว่า ดีเลิศ (Very Superior)
120-129 ดี (Superior)
110-119 ค่อนข้างดี (High Average)
90-109 เฉลี่ย (Average)
80-89 ค่อนข้างด้อย (Low Average)
70-79 คาบเส้น (Borderline)
60 และต่ำกว่า ปัญญาอ่อน (Mentally Deficient)

IQ เป็นตัวเลขบ่งชี้ถึงเชาวน์ปัญญาในเวลาที่มาทดสอบและขณะทดสอบเท่านั้น ว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใดและนำไปเปรียบเทียบกับกลุ่มคนในลักษณะและระดับอายุรุ่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้มาทดสอบไม่ตอบคำถาม อยู่ในอารมณ์โกรธเพราะถูกบังคับให้มาทดสอบ หรือเหนื่อยเพลีย ไม่ร่วมมือในการทดสอบ ผู้ทำการทดสอบใช้เครื่องมือไม่เป็น สภาพแวดล้อมในการทดสอบมีเสียงดังรบกวน ไม่ทำให้มีสมาธิในการทดสอบได้ดี

EQ (Emotional Quotient หรือ Emotional Intelligenge) ซึ่งเขียนโดยแดเนียลโกลแมน ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา ผู้มีปริญญาเอกของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ (New York Times) ในปีพ.ศ.2538
ความฉลาดทางอารมณ์เป็นการพัฒนาอุปนิสัยในด้านต่างๆ คือ ด้านบุคคลคือการรู้จักตนเอง ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นต้น

ด้านสังคมคือ การเข้าใจเห็นใจคนอื่น คือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าเราอยู่ในฐานะผู้ถูกเอาเปรียบ ในฐานะผู้ถูกใส่ร้ายจะแก้ไขอย่างไร จะลดความเครียดอย่างไร

รวมแล้วให้ฝึกเด็กให้มี EQ คือมีการฝึกการอยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ การแก้ปัญหาตามอายุเด็ก ฝึกให้เด็กรู้จักตั้งสติแล้วใช้สตินั้นแก้ไขปัญหาต่อไป เขาก็สามารถดูแลตัวเองด้วยสติคือ รู้จักตัวเอง เห็นใจคนอื่น รู้จักสังคมช่วยเหลือผู้อื่นตามสมควร หัดไม่ให้ถูกคนอื่นหลอกลวง หรือรับของคนอื่นง่ายๆ เช่น ท๊อฟฟี่ หมากฝรั่ง อาจนำมาซึ่งสิ่งเสพย์ติด ต้องฝึกสถานการณ์ให้เด็กรู้จักสังเกตว่าไม่ใช่แต่งตัวดี หล่อสวยจะเป็นคนดีทั้งหมดหรือทำอย่างไรเมื่อถูกลวนลามทางเพศ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องยากมากๆ สังคมขณะนี้จึงต้องฝึกให้เด็ก "แกร่ง" และเก่งด้วย จึงจะเอาตัวรอดมีความสุขและเป็นคนดีในสังคมต่อไป

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของบุคคลประเภทต่างๆ ที่แบ่งตามระดับของลักษณะทั้ง 3 ด้าน คือ IQ/EQ/MQ ซึ่งจะแบ่งได้ 8 ประเภท ดังนี้
แบบที่ 1 เก่ง/สุข/ดี สูง/สูง/สูง ดีเลิศ ยกตัวอย่าง นายอานันท์ ปัญยารชุน
แบบที่ 2 IQ/EQ/MQ สูง/สูง/ต่ำ ฉลาดความรู้ดีแต่ขี้โกง ฉลาดแกมโกง อารมณ์ดี เก็บความรู้สึกเก่ง ไม่คำนึงถึงศีลธรรม เช่น ผู้ร้ายใส่สูท โจรการเมือง ปล้นชาติปล้นแผ่นดินแล้วยังยิ้มหน้าตาเฉย
แบบที่ 3 IQ/EQ/MQ สูง/ต่ำ/สูง มีความรู้ดี แต่อารมณ์อ่อนไหว ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ โกรธง่าย อ่อนไหว แต่เป็นคนซื่อตรงไม่คดโกง ไม่ทำร้ายใคร เข้าตำราปากร้าย ใจดี
แบบที่ 4 IQ/EQ/MQ ต่ำ/สูง/สูง ชาวบ้านทั่วไป ชาวชนบท มีความรู้น้อย แต่ก็สุขุม ควบคุมอารมณ์ได้ ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม
แบบที่ 5 IQ/EQ/MQ ต่ำ/ต่ำ/สูง เป็นคนมีความรู้น้อย ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ขี้โมโห แต่ก็เป็นคนซื่อตรงไม่คดโกง ปากร้ายใจดี
แบบที่ 6 IQ/EQ/MQ ต่ำ/สูง/ต่ำ หายากหน่อยแต่ก็พอมี ยกตัวอย่างได้ยาก ลักษณะเป็นคนที่สติปัญญาค่อนข้างต่ำ เรียนไม่เก่ง คิดไม่ค่อยทันชาวบ้าน มีนิสัยเป็นคนใจเย็น แต่อาจจะทำอะไรโดยขาดเหตุผล และไม่ค่อยใช้ความคิดจึงทำผิดศีลธรรมได้ง่าย เช่น การลักเล็กขโมยน้อย หรืออาจจะเป็นคนปัญญาอ่อน ที่ทำอะไรผิดเพราะขาดความยั้งคิด
แบบที่ 7 IQ/EQ/MQ สูง/ต่ำ/ต่ำ มีความรู้ดี ฉลาด แต่ก็ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้ ทั้งยังไม่คำนึงถึงศีลธรรม เป็นตัวโกงในอุดมคติของลิเกไทย จอมวางแผน ชั่วร้าย
แบบที่ 8 IQ/EQ/MQ ต่ำ/ต่ำ/ต่ำ แบบนี้คงจะหายาก เพราะไม่มีส่วนดีเลย

แนวโน้มทางอาชีพที่ควรทำ

แบบที่ 1 เก่ง/สุข/ดี สูง/สูง/สูง ดีเลิศ ยกตัวอย่าง นายอานันท์ ปัญยารชุน
แบบที่ 2 IQ/EQ/MQ สูง/สูง/ต่ำ ฉลาดความรู้ดีแต่ขี้โกง ฉลาดแกมโกง อารมณ์ดี เก็บความรู้สึกเก่ง ไม่คำนึงถึงศีลธรรม เช่น ผู้ร้ายใส่สูท โจรการเมือง ปล้นชาติปล้นแผ่นดินแล้วยังยิ้มหน้าตาเฉย
แบบที่ 3 IQ/EQ/MQ สูง/ต่ำ/สูง มีความรู้ดี แต่อารมณ์อ่อนไหว ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ โกรธง่าย อ่อนไหว แต่เป็นคนซื่อตรงไม่คดโกง ไม่ทำร้ายใคร เข้าตำราปากร้าย ใจดี
แบบที่ 4 IQ/EQ/MQ ต่ำ/สูง/สูง ชาวบ้านทั่วไป ชาวชนบท มีความรู้น้อย แต่ก็สุขุม ควบคุมอารมณ์ได้ ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม
แบบที่ 5 IQ/EQ/MQ ต่ำ/ต่ำ/สูง เป็นคนมีความรู้น้อย ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ขี้โมโห แต่ก็เป็นคนซื่อตรงไม่คดโกง ปากร้ายใจดี
แบบที่ 6 IQ/EQ/MQ ต่ำ/สูง/ต่ำ หายากหน่อยแต่ก็พอมี ยกตัวอย่างได้ยาก ลักษณะเป็นคนที่สติปัญญาค่อนข้างต่ำ เรียนไม่เก่ง คิดไม่ค่อยทันชาวบ้าน มีนิสัยเป็นคนใจเย็น แต่อาจจะทำอะไรโดยขาดเหตุผล และไม่ค่อยใช้ความคิดจึงทำผิดศีลธรรมได้ง่าย เช่น การลักเล็กขโมยน้อย หรืออาจจะเป็นคนปัญญาอ่อน ที่ทำอะไรผิดเพราะขาดความยั้งคิด
แบบที่ 7 IQ/EQ/MQ สูง/ต่ำ/ต่ำ มีความรู้ดี ฉลาด แต่ก็ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ค่อยได้ ทั้งยังไม่คำนึงถึงศีลธรรม เป็นตัวโกงในอุดมคติของลิเกไทย จอมวางแผน ชั่วร้าย
แบบที่ 8 IQ/EQ/MQ ต่ำ/ต่ำ/ต่ำ แบบนี้คงจะหายาก เพราะไม่มีส่วนดีเลย
ความรู้ การควบคุมอารมณ์ และ ระดับจริยธรรมในใจ อาจจะเป็นคนที่มีปัญหาทางจิตหรือเป็นโรคจิต

แนวคิดในการคัดเลือกบุคคลพลเรือนต่าง ๆ เข้ามาเป็นข้าราชการ ทอ.
การรับ นจอ. นนอ. นพอ. ฯลฯ ต่อไปน่าจะมีการวัด MQ ด้วยซึ่งจะต้องทำเป็นแบบทดสอบเบื้องลึกเพื่อวัดระดับ MQ ควบคู่ไปกับการทดสอบสติปัญญาทางด้านความรู้ความสามารถ (IQ)ด้วย ตลอดจนความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ทัศนคติ และบุคลิกภาพ (EQ)
แต่เดิมหลังจากเราทดสอบภาควิชาการและพละศึกษาแล้ว จึงจะสอบสัมภาษณ์ ซึ่งระบบการสัมภาษณ์ เป็นเพียงดูลักษณะทหาร ท่วงทีวาจา - ทัศนคติ ต่อกองทัพ ฯลฯ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะวัดระดับคุณธรรมจริยธรรมของบุคคลได้ ปัจจุบันยังไม่มีการคิดค้นแบบทดสอบ MQ โดยเฉพาะ มีแต่แบบทดสอบ EQ ซึ่งอาจวัดระดับความสามารถในการควบคุมอารมณ์ และการจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ แต่การวัดระดับ MQ เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งกว่านั้น อาจต้องใช้นักจิตวิทยาเข้าร่วม หรือกำหนดกระบวนการทดสอบอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ทั้งแบบวัด IQ และ แบบวัด EQ ผู้ถูกทดสอบยังพอทำใจยอมรับฟังผลการทดสอบได้ แม้ว่า ผลของ IQ ถ้าได้ไม่สูงมากนัก หมายถึงสติปัญญาไม่ดี ส่วนผลของ EQ ที่ต่ำ ก็จะหมายถึงบุคคลนั้นจิตใจอ่อนไหว โกรธง่าย ใจร้อน หรือ เสียใจง่าย แต่ผลจากการวัด MQ การตีความค่อนข้างจะรุนแรงกว่า ผู้ถูกทดสอบอาจจะยอมรับไม่ได้ เพราะ ผลการทดสอบจะบอกว่าท่านมีระดับจริยธรรมสูง หรือ ต่ำ นั่นหมายถึงท่านถูกตีค่าว่าเป็นคนดีหรือเป็นคนเลวเลยทีเดียว “
ข้อมูลจาก พ.ต.อ.ญ.นพมาศ ชูวรเวช







จุด (การเกิด กาย ใจ จิต)
เส้น (สติปัญญา)
ระนาบ = กว้าง X ยาว (บุคลิกภาพ)
โครงสร้าง = กว้าง X ยาว X ลึก (การหยั่งรู้)

โครงสร้างตัวตน = สติปัญญา X บุคลิกภาพ X การหยั่งรู้


“เรา” เป็นสรรพนามที่บ่งว่ามนุษย์ทำงานด้วย “กาย ใจ จิต”
อย่างอัตโนมัติ อยู่ตลอดเวลา


แปลประโยคนี้เป็นหลักโครงสร้าง

“เรา” มิติที่ ๑
“กาย ใจ จิต” มิติที่ ๒
อย่างอัตโนมัติ (การเชื่อมโยงข้อมูล) อยู่ตลอดเวลา (การเชื่อมโยงเวลา) มิติที่ ๓

จากสูตร โครงสร้างตัวตน = สติปัญญา X บุคลิกภาพ X การหยั่งรู้

โครงสร้างการเรียนรู้ = สัมผัส→สังเกต X จินตนาการ→ตีความ X คิดไตร่ตรอง→นำไปใช้

แนวทางนำไปใช้
วิจัยสาระหลักสูตรที่มีอยู่ในประเทศ และสาระหลักสูตรจากต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาความสมดุลย์ และสังเคราะห์ออกมาเป็นหลักสูตรมาตรฐานกลาง หลังจากประเมินผลหลักสูตรแล้ว จึงจะนำหลักสูตรนี้มาผ่านกระบวนการแปลเป็นสื่อการเรียนการสอน และเผยแพร่เป็นคู่มือการสอนประจำวันในรูปแบบ
“นิทาน เกมการละเล่น และเกมการเรียนรู้”

โดยหลักสูตรนี้
แต่ละวัน เด็กจะได้พัฒนาทั้งกาย หัวใจ และสมอง (มิติที่หนึ่ง - สติปัญญา)
แต่ละสัปดาห์ เด็กได้เรียนรู้ตัวเอง ครอบครัว สังคม (มิติที่สอง - บุคลิกภาพ)
ภายในแต่ละปี เด็กได้มีประสบการณ์กับเรื่องรอบโลก (มิติที่สาม – การหยั่งรู้)

//www.freewebs.com/karavathai/kids%20project.htm

ในปฐมวัย เราเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ปั้น ช่วงชีวิตต่อจากนั้น...เราจะปั้น สิ่งที่เราเป็น

ด.ช.ไม้ดาบ:เขียนคำ+วาดรูป




 

Create Date : 06 มิถุนายน 2549    
Last Update : 9 พฤษภาคม 2553 15:26:16 น.
Counter : 609 Pageviews.  

1  2  

KaravaThai
Location :
นิวยอรฺค United States

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ในปฐมวัย เราเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ปั้น
ช่วงชีวิตต่อจากนั้น...เราจะปั้น สิ่งที่เราเป็น

Unauthorized reproduction any part of this blog is prohibited by federal law, copyright 2005

เนื่องจาก ด.ช.ไม้ดาบ เป็นลิขสิทธิ์แม้จะอยู่ใน Internet ห้ามทำการคัดลอกเพื่อการค้า หากต้องการคัดลอก ขอให้เป้าหมายเพื่อการเผยแพร่ให้ความรู้พร้อมลงชื่อ ด.ช.ไม้ดาบ เท่านั้น
ในปฐมวัย เราเป็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ปั้น ช่วงชีวิตต่อจากนั้น...เราจะปั้น สิ่งที่เราเป็น Unauthorized reproduction any part of this blog FOR COMMERCIAL is prohibited by federal law, copyright 2005 เนื่องจาก ด.ช.ไม้ดาบ เป็นลิขสิทธิ์แม้จะอยู่ใน Internet ห้ามทำการคัดลอกเพื่อการค้า หากต้องการคัดลอก ขอให้เป้าหมายเพื่อการเผยแพร่ให้ความรู้พร้อมลงชื่อ ด.ช.ไม้ดาบ เท่านั้น
Friends' blogs
[Add KaravaThai's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.