นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

ยันต์กันเพลี้ย ช่วยเกษตรกรวัดการ้องจังหวัดสุพรรณฯ

พอดีได้ไปเจอข่าวเกี่ยวกับการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้ผ้ายันต์กันเพลี้ย ในตอนแรกก็ไม่คิดอะไรแต่รู้สึกว่าสื่อมวลชนจะเล่นข่าวนี้อยู่นานจนเกิดกระแสที่ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้น จึงอดประหลาดใจไม่ได้ว่ายุคนี้สมัยนี้ผ้ายันต์ที่นอกจากมีไว้เพื่อป้องกันอันตรายจากภูตผีปีศาจแล้ว ยังมีอำนาจบารมีในการปกป้องคุ้มภัยภยันอันตรายจากแมลงได้ด้วยหรือ ไม่น่าเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อเพราะมีชาวบ้านบางส่วนแจ้งว่านำไปใช้แล้วได้ผลจึงเกิดกระแสจนทำให้หลวงพ่อที่ผลิตผ้ายันต์ต้องเดือดร้อนผลิตเพิ่มอีกจำนวนหลายร้อยผืน 

นี่คงเป็นการสะท้อนภาพความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรได้เป็นอย่างดีว่าขาดที่พึ่งในการแก้ปัญหาบรรเทาทุกข์ที่เกิดจากเพลี้ย ทั้งที่ภาครัฐก็มีการรณรงค์ส่งเสริมแก้ไขป้องกันกำจัดอยู่ค่อนข้างมากให้มีการใช้เชื้อบิวเวอร์เรียหรือราข้าวโพดที่เป็นที่รู้จักกันดีในระดับชาวบ้านที่ทราบข้อมูลและเคยผ่านการอบรม หรือข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธุ์ของภาครัฐยังไม่ทั่วถึงมุ่งตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงจึงยังคงทำให้ผู้รับสารซึ่งเป็นเกษตรกรที่กำลังเดือดร้อนทุกข์เข็นจากการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังไม่ทราบ การใช้จุลินทรีย์ชีวภาพหรือเชื้อราบิวเวอร์เรียซึ่งไม่มีสารพิษทำลายสิ่งแวดล้อมสามารถช่วยเรียกระบบนิเวศน์ในแปลงนาให้คงความสมดุลย์กลับมาโดยเร็วด้วยการลดจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มีมากเกินไปให้ลดน้อยลง 

อีกทั้งการส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้และเข้าใจในเรื่องกรดด่างของดินปรับค่าให้อยู่ระหว่าง 5.8-6.3  การใช้พันธุ์ข้าวที่แข็งแรงต้านทานเพลี้ยอย่าง กข31, กข4, ชัยนาท80 และพิษณุโลก2 ใช้ซิลิก้าที่ละลายน้ำได้จากหินแร่ภูเขาไฟ การใช้จุลินทรีย์ที่อยู่ในรูปของผงสปอร์สำเร็จรูปพร้อมใช้งาน ทริปโตฝาจ ของชมรมเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งมีการเสริมประสิทธิภาพด้วยสปอร์ของเชื้อราเมธาไรเซียมเข้าไปด้วยช่วยให้เพลี้ยกระโดดติดเชื้อและตายได้ง่ายขึ้น หรือจะใช้เชื้อสดที่ภาครัฐนำมาแจกให้เพาะเลี้ยงกับข้าวโพดเลี้ยงไว้ 7-10 วันนำมาคั้นและกรองเอากากออกนำไปฉีดพ่นช่วงเย็นแดดอ่อนก็
น่าจะดีกว่าการใช้ผ้ายันต์กันเพลี้ยของเกษตรกรวัดการ้อง จังหวัดสุพรรณบุรีเป็นแน่แท้

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com






 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2555   
Last Update : 9 พฤษภาคม 2555 6:21:59 น.   
Counter : 1335 Pageviews.  

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สาเหตุพาหะนำพาเชื้อราโรคข้าว

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังคงวนเวียนระบาดทำลายต้นข้าวต่อเนื่อง โดยจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอพนมสารคาม นายสมบูรณ์ บูรณะภักดี เกษตรอำเภอพนมสารคาม เป็นประธานมอบสารธรรมชาติ (บิวเวอร์เรีย) แก่เกษตรกรผู้ประสบภัยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด จำนวน 14,585 ซอง เกษตรกร จำนวน 600 ราย (2 พฤษภาคม 2555)โดยในบริเวณนี้เมื่ิอต้นปีก็มีการระบาดไปรอบหนึ่งแล้ว แต่เมื่อเกษตรกรมีการปลูกข้าวหลายรุ่นหลายรอบจึงยังคงมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถกลับมาระบาดได้อีกครั้งเป็นเรื่องปรกติ 

นอกจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะลงทำลายข้าวได้โดยตรงแล้ว กลุ่มแมลงปาดดูดเหล่านี้ซึ่งเป็นปรสีตที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวเตี้ยแคระแกร็นเป็นโรคเขียวเตี้ย เหลืองเตี้ย หรือไม่ก็ถูกซ้ำเติมด้วยเชื้อราจากการที่ต้นข้าวถูกทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจนอ่อนแอ ส่งผลให้ข้าวมีอาการของโรคใบเหลือง ใบดำใบแดง ใบไหม้ได้ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากกลุ่มแมลงปากดูดเหล่านี้ ทั้งเชื้อรา ไวรัสหรือโรคพืชเหล่านี้จะทำลายใบซึ่งเป็นแหล่งสะสมอาหารที่ส่งไปเลี้ยงยังส่วนต่างๆ ของต้นข้าว เมื่อแหล่งสังเคราะห์อาหารถูกทำลาย มีอาหารลดน้อยลง ผลผลิตก็จะลดลง ขายได้น้อยหรือถ้ามีการระบาดอย่างหนักหน่วงรุนแรงก็แทบจะไม่มีผลผลิตเหลือให้ขายได้เลย

ถ้าสามารถทำให้ต้นข้าวแข็งแกร่งโดยการเพิ่มแร่ธาตุซิลิก้าที่ละลายน้ำได้จากหินแร่ภูเขาไฟและพยายามให้แปลงนามีสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียหรือเมธาไรเซียม เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็จะมีการอพยพและเข้าทำลายได้น้อยลง เนื่องจากไม่สามารถดูดกินหรือเจาะทำลายต้นข้าวได้ง่ายๆเหมือนเดิม ก็ถือเป็นวิธีการง่ายแบบธรรมชาติโดยสร้างความสมดุลย์ให้เท่าเทียมกัน มีโรคและศัตรูข้าวมาก ก็ต้องเพิ่มจุลินทรีย์ที่ป้องกันกำจัดโรคให้มากๆตามไปด้วย เพราะตราบใดที่เราปลูกพืชเชิงเดี่ยวก็ย่อมหนีปัญหาในเรื่องเหล่านี้ไม่พ้น จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมพร้อมทำให้ต้นข้าวแข็งแกร่ง เพิ่มจุลินทรีย์ตัวห้ำตัวเบียนที่เป็นมิตรกับธรรมชาติโดยไม่ซ้ำเติมทำลายโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ลองนำไปปฏิบัติกันดูนะครับ ติดขัดสงสัยในขั้นตอนใดสอบถามมาที่ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ 0-2986-1680-2 หรือศึกษาข้อมูลจากเว็บไซต์ //www.thaigreenagro.com

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 04 พฤษภาคม 2555   
Last Update : 4 พฤษภาคม 2555 7:34:05 น.   
Counter : 1163 Pageviews.  

อุทาหรณ์ สอนเรื่องเผาฟาง

เหตุการณ์เผาตอซังฟางข้าวในแปลงนาของเกษตรกรอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จนส่งผลลุกลามเข้าไปในโชว์รูมรถนิสสันและร้านรับซื้อและขายของเก่ามูลค่าความเสียหายหลายล้านบาท มีผู้เชี่ยวชาญทางกฏหมายออกมาวิเคราะห์ว่า ถึงแม้จะเป็นการเผาในพื้นที่ของตนเอง แต่ไม่ระมัดระวังมิให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชีวิตทรัพย์สินของผู้อื่นก็จะมีความผิดในทางอาญาคือถูกจำคุก 7 ปีปรับประมาณ 70,000 บาท (ถ้าจำไม่ผิด) และยังจะต้องรับผิดชอบความเสียหายในทรัพย์สินของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำในครั้งนี้ด้วย ก็รู้สึกเห็นใจทั้งสองฝ่ายนะครับ ที่ต้องผ่านพบกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันในลักษณะนี้

ต้องถือเป็นอุทาหรณ์สอนใจพี่น้องเกษตรกรทั่วทั้งประเทศในการบริหารจัดการแปลงนาจะต้องมีความระมัดระวังรอบคอบมากขึ้น โดยเฉพาะกับสภาพภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าวมีวัสดุที่แห้งกรอบพร้อมติดไฟได้ง่ายอยู่หลายชนิด ต้องตรวจสอบแนวกันไฟและทรัพย์สินมีค่ารอบแปลงนาก่อนที่จะมีการเผาฟาง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือพืชผัก พืชไร่ ของเพื่อนเกษตรกรก็ต้องดูแลระมัดระวังอย่าให้มีการลุกลามเผาไหม้เข้าไปสร้างความเสียหายในทรัพย์สินของผู้อื่น มิฉะนั้นก็จะเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ไม่จบสิ้น สร้างความเสียหายให้กับตนเองและผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ

ความจริงตอซังและฟางข้าวนั้นมีแร่ธาตุและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อข้าวค่อนข้างมากถ้าไม่เผาเราจะได้ปุ๋ยไนโตรเจนเทียบเท่ากับปุ๋ย 16-20-0 หนึ่งกระสอบ, 0-0-60 หนึ่งกระสอบเป็นเงินก็เกือบ 2,000 บาท เพราะเมื่อย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยในแปลงนาแล้วจะได้ในโตรเจนอยู่ 7.6 และโพแทสเซียม 28.4 ต่อฟางข้าวที่ให้ผลผลิต 100 ถังต่อไร่ (IRRI ฟิลิปปินส์). นอกนั้นยังมีแร่ธาตุและสารอาหารอื่นๆอีกมากมายที่ช่วยให้ข้าวเจริญเติบโต ช่วยให้เราประหยัดเงินซื้อปุ๋ยและฮอร์โมนลงไปได้มาก เพราะรากข้าวจะดูดกินอาหารในดินที่ถูกปล่อยออกมาจากการย่อยสลายตั้งแต่เริ่มงอกต่อเนื่องไปตลอดการเจริญเติบโตของอายุข้าว

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 03 พฤษภาคม 2555   
Last Update : 3 พฤษภาคม 2555 7:20:00 น.   
Counter : 921 Pageviews.  

หนอนกระทู้คอรวงหรือหนอนควายพระอินทร์ ก็เป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ

นอกจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่กำลังระบาดสร้างความเสียหายชาวไร่ชาวนาอย่างหนัก จนมีความต้องการใช้เชื้อรา บิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า (Beauveria bassiasna) ที่ภาครัฐส่งเสริมนำมาแจกและสอนให้เกษตรเพาะเลี้ยงกับข้าวโพดหรือเมล็ดธัญพืชอื่นๆ มีชาวบ้านบางพื้นที่เรียก ราขาว บางพื้นที่เรียกราข้าวโพดเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการเนื่องด้วยปริมาณการระบาดมีจำนวนมหาศาล ปัจจุบันจุลินทรีย์กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ใช้เทคโนโลยีการเก็บในรูปผงสปอร์สำเร็จรูปพร้อมใช้งาน "ทริปโตฝาจ" ซึ่งง่ายต่อการนำไปฉีดพ่นและมีราคาประหยัดจำหน่ายให้พี่น้องเกษตรกรและสมาชิกในราคาซองละ 150 บาทฉีดพ่นได้ประมาณ 5 ไร่ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับด้วยเช่นกัน แต่นอกจากเรื่องเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแล้ว ชาวนายังมีปัญหาในเรื่องหนอนที่คอยรบกวนกัดกินคอรวงใบข้าว โดยเฉพาะในช่วงข้าวมีอายุ 85-90 วันนั้นจะมีหนอนกระทู้คอรวงที่คอยทำลายกัดกินอีกด้วย

หนอนกระทู้คอรวงชอบกัดบริเวณคอรวงและทำลายใบข้าว มีลักษณะความเสียหายคล้ายๆกับถูกวัวควายที่ปล่อยเลี้ยงไว้ตามชายทุ่งลงมากัดกินแทะเล็ม แต่เนื่องด้วยจะออกมาทำลายในตอนกลางคืนพอตื่นเช้าขึ้นมาก็พบความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้วแล้วเกษตรกรจึงต่างพากันเรียกว่า "หนอนกระทู้ควายพระอินทร์" ที่ลักลอบหนีออกมาตอนกลางคืน (ผู้เขียน) มักทำลายคอรวงในระยะข้าวออกรวง สามารถทำลายรวงข้าวได้มากถึง 80 % ลักษณะการทำลายคล้ายคลึงกับหนอนกระทู้ข้าวกล้า แต่ทำลายคอรวงข้าว มักจะระบาดมากตอนฝนตกหนักจนน้ำท่วม หนอนจะกัดกินคอรวงที่กำลังจะสุก และอาจกัดกินใบตอนล่างของต้นข้าว หนอนชอบกัดกินระแง้ข้าวหรือกัดตรงคอรวง ทำให้รวงขาดห้อยหรือตกดิน หนอนชอบออกหากินตอนกลางคืนหรือตอนพลบค่ำถึงเช้าตรู่ มักระบาดพร้อมกันหลายท้องที่หรือหลายจังหวัดในระยะเวลาเดียวกัน หนอนจะกัดกินรวงข้าวทุกวันจนกระทั่งเข้าดักแด้จึงจะหยุด (โกวิท โกวิทวที และทนงจิตร วงษ์ศิริ, 2526)

ตัวหนอนรูปร่างค่อนข้างอ้วน มีความยาวประมาณ 35-40 มม. มีสีเขียวปนน้ำตาลอ่อนหรือม่วง และมีลายสีจางพาดตามความยาวของลำตัว ตัวเต็มวัยเมื่อกางปีกออกกว้างประมาณ 45-50 มม. ผีเสื้ออาจวางไข่ได้มากถึง 700 ฟอง โดยวางไข่เป็นกลุ่มๆละประมาณ 50 ฟองที่กาบใบกับลำต้นหรือฐานของใบที่ม้วน อายุไข่ประมาณ 6-8 วัน หนอน 25-30 วัน ดักแด้ 10-12 วันและตัวเต็มวัยมีอายุ 10-15 วัน เมื่อหนอนฟักออกใหม่ๆจะกัดกินใบหญ้าอ่อนๆก่อน จนกระทั่งอายุประมาณ 15 วันจึงเริ่มกัดกินคอรวง เมื่อหนอนโตเต็มที่จะเข้าดักแด้ที่โคนกอข้าวหรือตามรอยแตกระแหงในดิน (วีรวุฒิ กตัญญูกุล และประกอบ เลื่อมแสง, 2527)

การป้องกันกำจัดหนอนชนิดนี้ สามารถกระทำได้ง่ายไร้สารพิษโดยใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดหนอน "บีทีชีวภาพ" วิธีการใช้แบบประหยัดด้วยการนำไปหมักกับน้ำมะพร้าวอ่อน นำมะพร้าวอ่อนเฉาะฝาแง้มเปิดฝาหยอดเชื้อบีทีลงไป 1 ช้อนชา(ประมาณ 5 กรัม) ปิดฝากลับไว้เหมือนเดิมหมักทิ้งไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทประมาณ 24-48 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำไปเทใส่น้ำปริมาณ 20 ลิตรหรือ 1 ปิ๊ปที่เตรียมไว้กวนให้เข้ากันแล้วนำไปฉีดพ่นในช่วงเย็นแดดอ่อนทุก 3 หรือ 7 วัน หนอนจะเลียกินเชื้อที่ฉีดพ่นในตอนกลางคืน พอรุ่งเช้าเริ่มป่วยหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว วันที่สองท้องเริ่มจะเห็นสีดำ วันที่ 3 ก็จะตาย ถ้ามีพื้นที่ไม่มากและมีเวลาจำกัดไม่สะดวกที่จะทำการหมักขยาย สามารถใช้จุลินทรีย์ชีวภาพกำจัดหนอนในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นทันทีในระยะเวลาเดียวกัน

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com
 v




 

Create Date : 11 เมษายน 2555   
Last Update : 11 เมษายน 2555 8:06:47 น.   
Counter : 2287 Pageviews.  

ผลการวิจัยบทบาทของซิลิกอน ช่วยในการดูดกินฟอสฟอรัสและสารอาหารของข้าวและข้าวโพดในดินเปรี้ยว

มีผลการทดลองและวิจัยเกี่ยวกับการใช้หินแร่ภูเขาไฟหรือซิลิคอนในดินเปรี้ยวชุดดินรังสิิตกรดจัดที่ช่วยให้ข้าวและข้าวโพดตอบสนองต่อการดูดกินแร่ธาตุและสารอาหารในดินได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ไนโตรเจนและโพแทเซียม เผยแพร่อยู่ในวารสารดินและปุ๋ย ฉบับวันที่ 23 : 137-147(2544) เรื่องอิทธิพลของซิลิกอนและฟอสฟอรัสต่อการดูดใช้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสของข้าวและข้าวโพดที่ปลูกในดินเปรี้ยวจัดชุดดินรังสิตกรดจัด ทำการวิจัยโดย รัตนชาติ ช่วยบุดดา,พจนีย์ มอญเจริญ จากกองวิเคราะห์ดิน กรมพัฒนาที่ดิน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900, จงรักษ์ จันทร์เจริญสุข จากภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 และเอ็จ สโรบล จากภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โดยมีบทคัดย่อดังนี้

การศึกษาอิทธิพลของซิลิกอนและฟอสฟอรัสต่อการดูดใช้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสของข้าวและข้าวโพดที่ปลูกในดินเปรี้ยวจัดชุดดินรังสิตกรดจัด โดยการทำการทดลองในกระถาง ผลการศึกษาพบว่าการใส่ซิลิกอนร่วมกับฟอสฟอรัสมีผลทำให้ข้าวและข้าวโพดดูดใช้ธาตุอาหารฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นทำให้การเจริญเติบและผลผลิตสูงกว่าการใส่ฟอสฟอรัสเพียงอย่างเดียว การใส่ซิลิกอนร่วมกับฟอสฟอรัสจะส่งเสริมให้จำนวนเมล็ดทั้งหมดของข้าวเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดและเปอร์เซ็นต์ลีบของข้าวลดลง ส่งผลให้ผลผลิตเมล็ดข้าวเพิ่มขึ้นมากกว่าการใส่ฟอสฟอรัสแต่เพียงอย่างเดียว

ในเนื้อหาของการวิจัยยังมีรายละเอียดเรื่องไนโตรเจน และโพแทสเซียมที่ช่วยให้ข้าวและข้าวโพดสามารถดูดกินเพิ่มขึ้นโดยสอดคล้องสัมพันธ์ต่อการใส่หรือเพิ่มปริมาณซิลิกอนด้วย ช่วยทำให้ข้าวและข้าวโพดมีความแข็งแรงสมบูรณ์เพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามสมัครสมาชิกวารสารดินและปุ๋ยได้ที่ สมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ตึกสรสิทธิ์ วัชโรทยาน ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มก.  บางเขน กรุงเทพฯ 10903 โทร. 0-2579-9538 ต่อ 103

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




 

Create Date : 05 เมษายน 2555   
Last Update : 5 เมษายน 2555 5:43:35 น.   
Counter : 1341 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]