นิดหนึ่งนี้อุทิศแด่ชาวนา ผู้ต่ำต้อยน้อยหน้าเหลือแสน ลำบากยากจนข้นแค้น ไป่แม้นชาวฟ้ามหานคร โดย อ. ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ

หยุดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

การป้องกันกำจัดหรือการปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงนาข้าวปัจจุบันนั้นพี่น้องเกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น เกี่ยวกับเรื่องการดื้อยา ยิ่งใช้ยาฆ่าแมลงที่มีพิษรุนแรง หรือชนิดดูดซึมตกค้างยู่ในระบบนิเวศน์ที่ยาวนาน หรือปนเปื้อนอยู่ในธรรมชาติหลายปี ยิ่งจะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนั้นมีการแปรสภาพกลายพันธุ์เพิ่มจำนวนมากมายหลายชนิด และที่สำคัญคือทราบว่า แท้จริงแล้วนั้นการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่เป็นอันตรายทั้งต่อผู้ใช้และทำให้ผู้บริโภคมีโรคภัยไข้เจ็บแทรกซ้อนตามมาอีกมาย ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลนี้ได้ มิหนำซ้ำทำให้สิ้นเปลืองเงินทองอีกมากมายก่ายกอง จากราคายาฆ่าแมลงที่นำเข้าจากเมืองนอกเมืองนาราคาเป็นร้อยเป็นพัน

ในห้วงช่วงปี 2552 เป็นต้นมา ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต้องยอมสยบให้กับสารชีวภัณฑ์ จุลินทรีย์ชีวภาพ ที่เป็นสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียร่วมด้วยช่วยกันจุลินทรีย์เมธาไรเซียมสายพันธุ์ที่ปราบแมลงศัตรูและโดยเฉพาะเจ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (เนื่องด้วยจุลินทรีย์บิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียมมีมากมายหลายสปีชีส์) จึงทำให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างมากในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช หลังจากที่พี่น้องเกษตรกรได้เริ่มรู้จักการใช้จุลินทรีย์ชีวภาพปราบเพลี้ยอย่างกว้างขวางในปีนี้นี่เอง ทำให้เกิดกระแสการใช้ยาเชื้อชีวภาพหรืออาวุธเชื้อโรคในการปราบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแปลงไร่นาของพี่น้องเกษตรกร มีการแตกกอต่อยอดนำไปประยุกต์ใช้ในการปราบเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งด้วยการใช้ร่วมกับน้ำยาล้างจานหรือสารจับใบ (ม้อยเจอร์แพล้นท์) จึงทำให้ทำลายจุดแข็งของเพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้งซึ่งก็คือผงฝุ่นละอองคล้ายแป้งเด็กและคราบไคลไขมันทำให้เมื่อฉีดพ่นแล้วมักจะไม่ค่อยโดนตัวเพลี้ยหรือแมลงศัตรูพืชมากนัก ทำให้ฉีดพ่นแล้วไม่ได้ผลเพลี้ยและแมลงไม่ตาย

การใช้จุลินทรีย์ "ทริปโตฝาจ" ซึ่งประกอบไปด้วยเชื้อรา บิวเวอร์เรียและเมธาไรเซียม ในอัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนา สามารถฉีดพ่นได้ทุกเวลาทั้งเช้า สาย บ่าย เย็น โดยไม่ต้องกลัวสปอร์ของจุลินทรีย์จะหมดประสิทธิภาพ เพราะสภาพแวดล้อมในแปลงนานั้นมีความหนาแน่นของต้นข้าวและมีความอับชื้นหรือความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมต่อการงอกหรือเจริญเติบโตของเจ้าจุลินทรีย์ทั้งสองชนิดนี้ หลังจากฉีดพ่นไปแล้วสปอร์จะเข้าสู่ระยะปรับ (lag phase). และจะค่อยเพิ่มจำนวนทวีคูณจากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสี จากสี่เป็นหก ไปเรื่อยๆ จนเชื้อสามารถเจริญเติบเต็มแปลงนาและจะคงที่ในห้วงช่วงวันที่สามสี่และห้า (stationary. Phase) และในห้วงช่วงวันที่หกหรือเจ็ดก็จะเริ่มมีจำนวนที่ตายมากกว่าตัวที่เกิด (dead phase). จึงทำให้เราอาจจะต้องฉีดพ่นซ้ำทุกๆเจ็ดวัน แต่ถ้าสามารถกำจัดให้อยู่หมัดในคราวแรกได้ก็ไม่ต้องเสียเวลามาฉีดพ่นซ้ำให้เมื่อยตุ้มครับ

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ //www.thaigreenagro.com




Create Date : 09 กันยายน 2557
Last Update : 9 กันยายน 2557 16:06:48 น. 0 comments
Counter : 386 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

greenagro
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




เกษตรปลอดสารพิษ ชีวิตจะปลอดภัย อายุขัยยืนนาน ลูกหลานรื่นเริง

สวัสดดีครับ สำหรับผู้ที่สนใจการทำเกษตรแบบปลอดสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพ มือสมัครเล่น มือใหม่ มือเก่า ก็เข้าได้ทุกคนครับ ขอเชิญเข้ามาเยี่ยมชมพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ที่นี่เลยนะครับ "ชีวิตจะได้มีสุขกับเกษตร"

ประวัติและผลงาน


ปี ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง / เรียบเรียง จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์
ปี 2535 พนักงานชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ สมุนไพรใช้ในกุ้ง : ลูกใต้ใบ พญายอ ฟ้าทะลายโจร อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2540 ธุรการ/จัดพิมพ์หนังสือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ พืชผักปลอดสารพิษด้วยภูไมท์ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2541 กองบรรณาธิการ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ศิลป์ การใช้ปูนและซีโอไลท์ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 กองบรรณาธิการ มะนาวด่านเกวียนปลอดสารพิษ อ.ดีพร้อม ไชวงศ์เกียรติ ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร อักษรสยามการพิมพ์
ปี 2542 ผู้จัดการชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
ปี 2553 บทความตีพิมพ์ นิตยสารผักเศรษฐกิจ บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก. บ. มิเดีย ออฟ กรีน กรุ๊ฟ จก.
ปี 2554 บทความตีพิมพ์ เทคโนโลยีชาวบ้าน มติชน มติชน
ปี 2554 บทความดีพิมพ์ หลากวิธีการบังคับมะนาวนอกฤดู "เงินล้าน" เล่ม 2 พริ้ม ศรีหานาม บจ. นาคา อินเตอร์มีเดีย นาคา อินเตอร์มิเดีย

ปี 2555 คอลัมน์ประจำ/ไม่ประจำ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ประชาชาติธุรกิจ, ฐานเศรษฐกิจ, ไทยโพสต์ ฯลฯ, นิตยสาร ไม่ลองไม่รู้, ผักเศรษฐกิจ, รักษ์เกษตร, เกษตรวาไรตี้ ฯลฯ

ปี 2556- ปัจจุบัน นักกจัดรายการวิทยุ สถานีวิทยุมก.บางเขน, มก. ขอนแก่น, มก. เชียงใหม่, มก. สงขลา และเครือข่ายสยามชัยเรดิโอ

ปัจจุบัน ประธาน/กรรมการผู้ัจัดการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ/บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด
[Add greenagro's blog to your web]