ก็แค่อยากใช้ชีวิตให้คุ้ม..
สรุปประเด็นน้ำท่วม จากภาวะโลกร้อน ของกรมอุตุ

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลที่มา กรมอุตุวิทยา
บริ​เวณชายฝั่ง​เป็น​บริ​เวณที่มี​ความ​สำ​คัญมากต่อ​ความ​ผาสุกของมนุษย์​ ​ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา​ ​มนุษย์​จะ​ตั้งถิ่นฐาน​ ​ใน​บริ​เวณชายฝั่งทะ​เล​ ​ริมฝั่งแม่น้ำ​ ​และ​ที่ราบลุ่มดินตะกอน​ ​เนื่อง​จาก​เป็น​บริ​เวณ​ ​ที่​เหมาะต่อการทำ​การเกษตร​ ​การประมง​และ​การค้า

มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก​ ​ที่ปัจจุบันนี้อาศัย​อยู่​ ​ห่าง​จาก​ทะ​เล​ไม่​เกิน​ 60 ​กิ​โลเมตร​ ​โดย​ภาพรวม​ ​อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร​ ​แถบชายฝั่ง​จะ​สูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​มี​เมือง​ ​ที่คาดว่า​จะ​มีประชากรเกินกว่า​ 10 ​ล้านคน​ ​ใน​ปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​ตั้ง​อยู่​บริ​เวณชายฝั่งมาก​ถึง​ 16 ​เมือง​ ​ใน​ 23 ​เมือง​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​การเปลี่ยนแปลง​ความ​ถี่​ ​และ​ความ​รุนแรงของปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ​ ​ที่รุนแรงมาก​ ​ๆ​ ​น่า​จะ​เป็น​ปรากฏการณ์ที่สำ​คัญที่สุด​ ​ที่​จะ​เกิดขึ้น​ใน​บริ​เวณนี้​ ​อัน​เนื่อง​จาก​การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ระหว่าง​ 18,000 ​ปีที่ผ่านมา​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ได้​สูงขึ้น​โดย​รวม​ ​ประมาณ​ 100 ​เมตร​ ​แต่​ ​ทั้ง​หมดนี้​ ​เกิดขึ้น​ใน​ช่วงเวลาการสิ้นสุดยุคน้ำ​แข็งยุคสุดท้าย​ ​เมื่อประมาณ​ 10,000 ​ปีมา​แล้ว​ ​ระหว่างศตวรรษที่ผ่านมา​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้นประมาณ​ 18 ​เซนติ​เมตร​ ​หรือ​โดย​เฉลี่ย​ 1-2.5 ​มิลลิ​เมตร​/​ปี​ ​การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ​เฉลี่ยของโลก​ ​จะ​ทำ​ให้​ระดับน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ ​เนื่อง​จาก​กลไกต่าง​ ​ๆ​ ​หลายชนิด​ ​ซึ่ง​ที่​เด่นชัดมากที่สุดคือ​ ​การขยายตัวของน้ำ​ ​ใน​มหาสมุทร​เนื่อง​จาก​ความ​ร้อน​ ​ตาม​ด้วย​การละลายของธารน้ำ​แข็งแถบภู​เขา​ ​และ​การละลายของแผ่นน้ำ​แข็งแถบขั้วโลก​ ​การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ยัง​เกิดขึ้น​ได้​ ​เนื่อง​จาก​อิทธิพลการเคลื่อนไหวทางธรรมชาติ​ ​เช่น​ ​การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหมุนเวียน​ ​ใน​มหาสมุทร​ ​ลม​และ​ความ​กดอากาศ​ ​ซึ่ง​อิทธิพล​จาก​ความ​ผันแปรเหล่านี้​ ​บาง​ส่วน​มีผลทำ​ให้​เกิด​ความ​ผันแปร​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ใน​ระดับภูมิภาค​ได้

อย่างไรก็ตาม​ ​ตัวชายฝั่งทะ​เลก็​ไม่​คงที่​เนื่อง​จาก​กระบวนการทางธรณีวิทยา​ ​ตาม​ ​ธรรมชาติ​ (การเคลื่อนที่​ ​ของเปลือกโลก​ ​การตอบสนอง​จาก​ธารน้ำ​แข็ง​ ​การตกตะกอน​ ​และ​การจมตัวลงของแผ่นดิน) ​และ​กิจกรรมของมนุษย์​ (การขุดเจาะหาน้ำ​มัน​ ​ก๊าซ​ ​หรือ​ ​น้ำ​ ​และ​การตกตะกอน) ​เป็น​สา​เหตุทำ​ให้​แผ่นดินชายฝั่งเคลื่อนที่​ไป​ ​เมื่อเทียบ​กับ​ระดับของน้ำ​ทะ​เล​ ​เช่น​ ​การสูบน้ำ​ใต้​ดินมา​ใช้​ ​ทำ​ให้​แผ่นดิน​ใน​ท้องถิ่น​นั้น​ ​จมตัวลง​ได้​ ​ซึ่ง​ตั้งแต่ปลายทศวรรษ​ 1920 ​และ​ 1930 ​เป็น​ต้นมา​ ​เมือง​ใหญ่​ ​ๆ​ ​ที่ตั้ง​อยู่​บริ​เวณชายฝั่ง​ ​จำ​นวนมากจมตัวลง​ ​เนื่อง​จาก​การสูบน้ำ​ใต้​ดิน​ ​ขึ้นมา​ใช้​มากเกินไป​ ​เช่น​ ​กรุงโตเกียว​ ​ประ​เทศญี่ปุ่น​ ​จมตัวลง​ 5 ​เมตร​ ​เมืองเซี่ยงไฮ้​ ​ประ​เทศจีน​ ​จมตัวลง​ 2.8 ​เมตร​ ​และ​เมืองโอซากา​ ​ประ​เทศญี่ปุ่น​ ​จมตัวลง​ 2.8 ​เมตร​ ​ปัญหานี้​ยัง​เกิดขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง​ ​ใน​เมืองที่​อยู่​ชายฝั่ง​ ​เช่น​ ​เมืองเทียนสิน​ ​ประ​เทศจีน​ ​และ​กรุง​จากา​ร์ตา​ ​ประ​เทศอินโดนี​เซีย​ ​การเปลี่ยนแปลงของแผ่นดิน​ ​และ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ใน​แต่ละท้องถิ่น​ใน​ลักษณะนี้​ ​ปรากฏชัดว่า​ ​ไม่​เกี่ยวข้อง​กับ​สา​เหตุที่​เกิด​จาก​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลของโลกแต่ประการ​ใด​ ​แต่​เมืองต่าง​ ​ๆ​ ​หรือ​แถบชายฝั่งที่ปัจจุบันนี้​ ​ประสบ​กับ​ปัญหาการทรุดลง​ ​ของแผ่นดิน​ ​จะ​มีปัญหา​เพิ่มมากขึ้น​ ​ถ้า​หากน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ ​ซึ่ง​ยากที่​จะ​เอาชนะ​ได้​ ​ดัง​นั้น​ ​บริ​เวณเหล่านี้​ ​จะ​อ่อนไหวต่อระดับน้ำ​ทะ​เลของโลก​ ​ที่​จะ​สูงขึ้น​ใน​อนาคตมากที่สุด

ค่าประมาณที่ดีที่สุดของแบบจำ​ลองมหาสมุทร​และ​ภูมิอากาศปัจจุบัน​ ​คือ​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​จะ​สูงขึ้นประมาณครึ่งเมตร​ ​ใน​ประมาณปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​และ​จะ​สูงขึ้นต่อไปอีก​ ​ภายหลัง​จาก​นั้น​ ​ถ้า​หากการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก​ ​สู่บรรยากาศ​ ​ยัง​เป็น​ไปอย่างสม่ำ​เสมอ​ ​ดัง​นั้น​ ​การประมาณค่าที่ดีที่สุด​ ​ใน​การพยากรณ์อัตราการสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เลกระทำ​ได้​ ​สำ​หรับช่วงระหว่างปัจจุบัน​ ​จน​ถึง​ปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​เท่า​นั้น​ ​ซึ่ง​จะ​สูงกว่า​ใน​ 100 ​ปีที่ผ่านมา​ถึง​ 2-3 ​เท่า​ ​จาก​รูปที่​ 7 ​แสดง​ให้​เห็นช่วงกว้าง​ ​ของแผนการคาดหมาย​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ใน​อนาคต​ ​ใน​การประ​เมินนี้​ ​ยัง​คงมีสิ่งที่​ไม่​แน่นอนที่สำ​คัญ​ 2 ​ประการ​ ​คือ​ ​ช่วงเวลาที่ล่าช้าออกไป​ ​ใน​การตอบสนองของน้ำ​ใน​มหาสมุทร​ ​ที่มีต่อการร้อนขึ้นของบรรยากาศ​ ​และ​อัตราการละลายของแผ่นน้ำ​แข็ง​ ​แถบขั้วโลก​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​ ​การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ของแต่ละท้องถิ่น​ ​จะ​แตกต่าง​กัน​มาก​ ​จาก​การประมาณค่า​เฉลี่ยของโลก​ ​เนื่อง​จาก​การขยับเลื่อนไป​ ​ของกระ​แสน้ำ​และ​ลมค้า​ ​ที่อาจเกิด​เป็น​แรง​ ​ทำ​ให้​ปริมาตรของน้ำ​เพิ่มมากขึ้น​ ​ตามชายฝั่ง​ได้

อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลที่มีต่อระบบนิ​เวศ


พื้นที่ชายฝั่ง​เป็น​ผล​จาก​การเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์​ซึ่ง​กัน​และ​กัน​ระหว่างแผ่นดิน​และ​ ​น่านน้ำ​ ​จะ​แตกต่าง​กัน​ไป​ ​ตามโครงสร้างทางแร่ธาตุ​ ​และ​ความ​สูงต่ำ​ของแผ่นดินรอบ​ ​ๆ​ ​อัตราการตกตะกอน​ ​และ​การพังทลายที่​เกิด​จาก​กระ​แสน้ำ​ ​คลื่น​ ​น้ำ​ขึ้น​-​น้ำ​ลง​ ​และ​แม่น้ำ​ ​ความ​สัมพันธ์​ซึ่ง​กัน​และ​กัน​นี้​ ​จะ​ต้อง​นำ​เข้า​มาพิจารณา​ ​ใน​การสร้างแบบจำ​ลองผลกระทบ​ ​ของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่คาดหมาย​ได้​ ​ที่​จะ​มีต่อบริ​เวณชายฝั่ง​ ​การขยับเลื่อนไปของขอบเขต​ ​ระหว่างแผ่นดิน​และ​น่านน้ำ​ ​ตามการเพิ่มสูงขึ้น​ใน​แนวดิ่ง​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เลที่คาดหมาย​ได้​ ​ตามธรรมดา​แล้ว​จะ​ดูราว​กับ​ว่า​ ​ไม่​มีการเปลี่ยนแปลงเลย​ ​ซึ่ง​จะ​มอง​ไม่​เห็นผลกระทบที่ชัดเจน​ ​ลักษณะ​ความ​แตกต่าง​ ​และ​ความ​หลากหลายทางระบบนิ​เวศ​ ​ใน​บริ​เวณชายฝั่ง​ ​เช่น​ ​แนวปะการัง​ ​ป่าชายเลน​ ​และ​บึงน้ำ​เค็ม​ ​จะ​ต้อง​นำ​เข้า​มารวม​ ​ใน​แบบจำ​ลองการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ด้วย​ ​เพราะ​ว่าระบบนิ​เวศเหล่านี้​ ​ต่างสะท้อน​ให้​เห็น​ถึง​กระบวนการทางชีวะภูมิศาสตร์​ ​ที่มีผลกระทบต่อชายฝั่ง​ ​ด้วย​เหตุนี้​ ​จะ​เห็นว่าบริ​เวณชายฝั่งมีอิทธิพล​ ​ที่​เคลื่อนไหว​ได้​เกิดขึ้นภาย​ใน​ตัวเอง

ผลกระทบที่น่า​เป็น​ไป​ได้​มากที่สุดอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อบริ​เวณชายฝั่ง​ ​คือ​ ​การชะล้างพังทลาย​ ​บริ​เวณชายฝั่ง​จะ​เพิ่มมากขึ้น​ ​การชะล้างพังทลายชายฝั่งบางประการ​ ​ปรากฏชัดว่า​ ​เกิด​จาก​กระบวนการทางธรรมชาติ​ ​แต่​จะ​รุนแรงมากขึ้น​ ​จาก​กิจกรรมของมนุษย์​ ​เช่น​ ​การเคลื่อนย้ายของตะกอน​ ​การชะล้างพังทลายชายฝั่ง​ ​ก่อ​ให้​เกิดผลที่ตามมาอย่างรุนแรง​ ​และ​นำ​ไปสู่การสูญเสียลักษณะการป้อง​กัน​ ​ทางธรรมชาติ​ ​เช่น​ ​เนินทราย​ ​และ​ป่าชายเลน​ ​ชายฝั่งของโลกประมาณ​ 20% ​เป็น​หาดทราย​ ​และ​ประมาณ​ 70% ​ของชายฝั่งเหล่านี้​ได้​หดหายไป​ใน​ระหว่าง​ 100 ​ปีที่ผ่านมา​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลที่ตรวจวัด​ได้​ ​อาจ​เป็น​เพียงปัจจัยหนึ่ง​เท่า​นั้น​ ​ที่มี​ส่วน​ทำ​ให้​เกิดการ​ ​ชะล้างพังทลายชายฝั่ง​ ​แต่อย่างไรก็ตาม​ ​เป็น​ที่ชัดเจนว่า​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เลที่​เพิ่มสูงขึ้น​ ​ทำ​ให้​เกิดการชะล้างพังทลาย​ ​ชายฝั่งเพิ่มขึ้น​ ​ใน​หลายพื้นที่​ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ ​ถ้า​สิ่งแวดล้อมของท้องที่​นั้น​ ​ๆ​ ​ถูกทำ​ลาย​หรือ​เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก่อน​แล้ว​ ​ซึ่ง​ยัง​มี​ความ​ต้อง​การการวิจัย​ใน​ด้านนี้อีกมาก​ ​เพื่อปรับปรุงแบบจำ​ลอง​ ​อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อชายฝั่งทะ​เลที่​เป็น​ทราย

นอก​จาก​นี้​ ​การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ยัง​มีผลกระทบทางลบ​ ​ต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ​ใน​บริ​เวณชายฝั่ง​ ​ได้​แก่​ ​หนองบึง​ ​ป่าชายเลน​ ​และ​แนวปะการังอีก​ด้วย​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่งเหล่านี้​ ​มีหน้าที่สำ​คัญมากมาย​ ​เช่น​ ​เป็น​แหล่งขยายพันธุ์​ ​และ​อนุบาลตัวอ่อนของปลา​ ​ด้วย​เหตุนี้​ ​จึง​ได้​รับการพิจารณาว่า​ ​เป็น​บริ​เวณ​ ​ที่มี​ความ​สำ​คัญทางเศรษฐกิจ​ ​เป็น​ตัวการกรองก๊าซไนโตรเจน​ ​และ​ฟอสฟอรัส​ ​และ​เป็น​ที่กักเก็บคาร์บอน​ ​ซึ่ง​เป็น​ตัวการส่งเสริม​ ​ให้​มนุษย์มีสุขภาพดี​ ​สิ่งแวดล้อมสะอาด​ ​หน้าที่ที่มี​ความ​หลากหลายนี้​ ​หมาย​ถึง​ว่า​ ​กลไกทางกายภาพ​ ​ชีวภาพ​และ​เคมี​ ​ของพื้นที่ชุ่มน้ำ​เหล่านี้​ ​อยู่​ใน​สภาพที่สมดุลย์อย่างละ​เอียดอ่อน​ ​เช่น​ ​กระบวนการที่สลับซับซ้อน​ ​ทำ​ให้​เกิดการตกตะกอน​ ​และ​จม​อยู่​ใต้​น้ำ​ได้​ ​ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ​ ​จะ​แตกต่าง​กัน​ไป​ ​ขึ้น​กับ​ปัจจัยเฉพาะ​ ​เช่น​ ​ช่วงน้ำ​ขึ้น​-​น้ำ​ลง​ ​การตกตะกอน​ ​และ​การทำ​ลาย​โดย​ตรง​ ​ใน​หลายกรณีที่ผลกระทบทางลบ​ ​จะ​ได้​รับเพิ่มเติม​ ​จาก​กิจกรรมของมนุษย์​ ​เช่น​ ​บริ​เวณดินดอนสามเหลี่ยม​ ​ปากแม่น้ำ​มิสซิสซิปปี​ ​ใน​ประ​เทศสหรัฐอเมริกา​ ​ที่ระบบการตกตะกอน​ ​และ​ระบบน้ำ​จืด​ ​ซึ่ง​เป็น​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ใน​ท้องถิ่น​ ​ถูกรบกวน​จาก​การพัฒนาคลอง​ ​การผันน้ำ​ ​การสร้างกำ​แพงกั้นน้ำ​ ​และ​การสร้างเขื่อนป้อง​กัน​น้ำ​ท่วม​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​จะ​ยิ่งทำ​อันตรายต่อระบบนิ​เวศเหล่านี้​ ​มากยิ่งขึ้นไปอีก

ประมาณว่าพื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่งที่มีคุณค่าทางนิ​เวศวิทยา​ ​และ​เศรษฐกิจ​ทั่ว​โลกมีมากกว่า​ 900,000 ​ตารางกิ​โลเมตร​ ​ถ้า​ระดับน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ 1 ​เมตร​ ​ใน​อีก​ 100 ​ปีข้างหน้า​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​เหล่านี้​ ​จะ​ได้​รับ​ความ​เสียหายมากกว่าครึ่ง​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่ง​ ​ที่​จะ​ได้​รับ​ความ​เสียหายอย่างรุนแรงมาก​ ​คือ​ ​ชายฝั่งทะ​เลเมดิ​เตอร์​เรเนียน​ ​ชายฝั่งสหรัฐอเมริกา​ ​ชายฝั่งด้านมหาสมุทรแอตแลนติก​ ​ใน​ทวีปแอฟริกา​ ​ชายฝั่งประ​เทศออสเตรเลีย​ ​และ​ปาปัวนิวกีนี​ ​และ​ชายฝั่งเอเชียตะวันออก​ ​แต่​เนื่อง​จาก​ปัจจุบันพื้นที่​ ​ชุ่มน้ำ​ชายฝั่ง​ใน​หลาย​ส่วน​ของโลก​ ​กำ​ลัง​ได้​รับการบำ​รุง​ ​ให้​กลับคืนสภาพเดิม​ ​จึง​ยัง​คง​ไม่​แน่นอนว่า​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่งประ​เภท​ใด​บ้าง​ ​ที่​จะ​ยัง​คง​ได้​รับผลกระทบทางลบ​ ​จาก​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล

โดย​ทั่ว​ไป​แล้ว​ ​แนวปะการัง​ซึ่ง​ถือว่า​อยู่​ใน​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่งอย่างหนึ่ง​ ​มีหน้าที่ต่าง​ ​ๆ​ ​มากมาย​ ​และ​ส่วน​มากมี​ความ​สำ​คัญต่อการ​อยู่​รอด​ ​และ​การพัฒนาของมนุษย์​ ​เช่น​ ​เป็น​แนวป้อง​กัน​ ​ชายฝั่ง​ ​เป็น​ที่​อยู่​อาศัย​ ​และ​ขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต​ใน​ทะ​เล​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​ ​ใน​ระบบนิ​เวศทางทะ​เล​ด้วย​กัน​ ​ระบบนิ​เวศแนวปะการัง​ ​มี​ความ​หลากหลายทางชีวภาพ​ ​สูงมากที่สุด​ ​เพราะ​ใน​พื้นที่ขนาด​เล็ก​ ​ๆ​ ​จะ​มีสิ่งมีชีวิต​ ​อาศัย​อยู่​รวม​กัน​ได้​มากมาย​ ​ศักยภาพอัตราการเจริญเติบโต​ ​ใน​แนวดิ่งของปะการัง​ ​ที่ประกอบ​ด้วย​สิ่งมีชีวิต​เล็ก​ ​ๆ​ ​ทั้ง​พืช​ ​และ​สัตว์​อยู่​ใน​ช่วงประมาณ​ 1-10 ​มิลลิ​เมตร​/​ปี​ ​ซึ่ง​จะ​เกิดขึ้นพร้อม​ ​ๆ​ ​กัน​กับ​การเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เลที่คาดหมาย​ไว้​ ​ทั้ง​นี้​อยู่​บนข้อสมมติฐานที่ว่า​ ​ไม่​มีปัจจัย​อื่น​ ​ๆ​ ​ที่​จะ​ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปะการัง​ ​อย่างไรก็ตาม​ ​การจับปลามากเกินไป​ ​การทำ​เหมืองแร่​ ​ภาวะมลพิษ​และ​การตกตะกอน​ ​แน่นอนว่า​จะ​ส่งผลกระทบ​ ​ต่อระบบนิ​เวศแนวปะการัง​ ​อย่างต่อ​เนื่อง​มากที่สุด​ใน​โลก

ภาวะ​โลกร้อน​หรือ​การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ ​สามารถ​ทำ​ลายปะการัง​โดย​ตรง​ได้​ ​จาก​การทำ​ให้​เกิดรอยแตกของปะการัง​ (Coral Bleaching) ​เพิ่มมากขึ้น​ ​ช่วงเวลาสั้น​ ​ๆ​ ​ใน​ฤดูร้อนเพียงแต่อุณหภูมิน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ 1? ​ซ​. ​ก็​เพียงพอที่​จะ​ทำ​ให้​ปะการังเกิดรอยแตกขึ้น​ได้​แล้ว​ ​ดัง​นั้น​ ​ถ้า​อุณหภูมิสูงขึ้น​ 3-4? ​ซ​. ​ใน​ช่วงที่ยาวนานเกินกว่า​ 6 ​เดือนที่​จะ​เกิดขึ้น​ ​ตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ ​จะ​เป็น​สา​เหตุทำ​ให้​ปะการังเสียชีวิต​เป็น​บริ​เวณกว้าง​ ​ได้​มีการตรวจพบว่า​ ​รอยแตกของปะการังที่​เกิดขึ้น​ใน​ช่วง​ 2-3 ​ทศวรรษที่ผ่านมา​ ​ตรง​กับ​ภาวะการร้อนขึ้น​ ​ของน้ำ​ใน​มหาสมุทร​ทั่ว​โลก​ ​ถึง​แม้ว่า​จะ​มีปัจจัย​อื่น​ ​ๆ​ ​ร่วม​ด้วย​ก็ตาม​ ​การ​จะ​กลับคืนสู่สภาพเดิม​จาก​รอยแตก​ได้​ ​จะ​ต้อง​ใช้​เวลานาน​ ​ใน​แต่ละท้องที่การเกิดรอยแตก​ ​ใน​แนวปะการัง​จะ​แตกต่าง​กัน​ไป​ ​เช่น​ ​ใน​ประ​เทศอินโดนี​เซีย​ ​หมู่​เกาะกาลาปากอส​ ​และ​ทางตะวันออกของประ​เทศปานามา​ ​ระบบปะการังมีรอยแตก​ ​ที่รุนแรงมากตามการร้อนขึ้นของน้ำ​ใน​มหาสมุทร​ ​ระหว่างการเกิดปรากฏการณ์​ ​เอลนี​โญ​ ​ใน​ปี​ ​ค​.​ศ​. 1982-1983 ​และ​กลับคืนสู่สภาพเดิม​ได้​จน​ถึง​ปัจจุบันนี้น้อยมาก​ ​จะ​ต้อง​ใช้​เวลานานนับศตวรรษ​ ​จึง​จะ​ให้​คืนสภาพเดิม​ได้​อย่างสมบูรณ์​ ​นอก​จาก​นี้​ ​แนวปะการังอาจถูกทำ​ลาย​ ​จาก​การเพิ่มขึ้นของระดับรังสีอุลตรา​ไวโอเลต​ ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การลดลงของก๊าซโอโซน​ ​ใน​บรรยากาศชั้นสตรา​โตเฟียร์

จาก​การศึกษาที่ผ่านมา​ไม่​นานเกี่ยว​กับ​ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อเกาะ​ ​ที่​เกิด​จาก​หินปะการัง​ ​พบว่า​ ​ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อปะการัง​นั้น​ ​เป็น​ไป​ใน​ด้านที่ดีกว่า​จาก​การประ​เมินก่อนหน้านี้​ ​แม้กระ​นั้น​ ​แนวปะการังก็​ยัง​คงอ่อนไหวมาก​ ​ต่อ​ ​รูปแบบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ ​ใน​ลักษณะนี้


มีต่อ....ครับ


Create Date : 08 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2550 18:00:49 น. 0 comments
Counter : 2332 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

granun
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add granun's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.