ก็แค่อยากใช้ชีวิตให้คุ้ม..

รับมา 1 ให้ต่อ 2 พลังการให้ที่จะทวีคูณ



ในที่สุดก็ได้ส่งไปแล้วครับ
โครงการ 10 ยกกำลัง 100

เอาไอเดียจากน้ำใจเพื่อนๆในหว้ากอและห้องบลู ที่มีน้ำใจคอยช่วยตอบคำถาม
ช่วยให้ความรู้ช่วยแนะนำเพื่อนๆคนอื่นที่ไม่มีความรู้ให้ทราบบ่อยๆ

ของผมคิดง่ายๆ รับมา 1 ให้ต่อ 2
เป็นไอเดียเรียบง่ายแบบทวีคูณ รับความช่วยเหลือใครมา 1 ครั้งก็ต้องช่วยคนอื่นต่อไปอย่างน้อย 2 ครั้ง

จากผู้รับความช่วยเหลือเปลี่ยนมาเป็นผู้ช่วยเหลือบ้าง
ส่งต่อความประทับใจของการได้รับความช่วยเหลือกันไปเป็นทอดๆ
ถ้าปกติการขยายไอเดียนี้ทำยาก แต่ถ้าใช้โอกาสจากการที่ google ขยับตัวพอมีหวัง
ด้วยการประชาสัมพันธ์ระดับกูเกิ้ลก็จะเป็นกระแสที่มีผลได้ในระดับ Trend

จาก 1 จากตัวเรา
เริ่มต้นเป็น 2 เป็น 4 เป็น 8 เป็น 16 เป็น 32 เป็น 64 เป็น 128 เป็น 256 เป็น 512 และ 1024
ขยายไปเรื่อยๆ แค่ 10 ลำดับ ก็หลักแสน 10100
หรือถึง 1 ล้าน คน เพียง 20 ลำดับถัดไป

ถ้าเริ่มทำ 100 คน จะได้ผลลัพธ์ต่อเนื่องไปถึง 102400 หรือเท่าไหร่ก็ลองคิดๆดู
ใช้วิธีง่ายๆ แค่เริ่มต้นรับ 1 และให้ 2 นี่แหละไม่ยากไปจนคนทุกคนรู้สึกว่าทำไม่ได้

คงต้องรอทาง google ประกาศผลคัดเลือกก่อนนะครับ
ถ้าชอบไอเดียและผ่านคัดเลือก จะมาอธิบายลึกๆว่าใช้วิธีการปฏิบัติอย่างไร
แต่ขอฝันสักหน่อย อย่างน้อยเราก็เคยคิดเพื่อโลกใบนี้มาแล้วครั้งนึงในชีวิต



ผมน่ะคิดแค่ว่า..
คนเราน่ะถ้าอยู่ในโหมดมีแก่ใจช่วยเหลือคนอื่นแล้ว
มีแต่เรื่องดีดีครับ

เวลาที่ทุกคนมีความสุขกับการทำดี การช่วยเหลือคนอื่นนั้น
ถึงจะเหนื่อยยังไงก็ยิ้มได้อย่างมีความสุข

คนที่รับความช่วยเหลือจากใจจริง ก็จำได้ ประทับใจ
และถ้าตัวเองมีโอกาสให้บ้าง ก็จะช่วยเหลือคนอื่นในวิธีการที่ตนเองทำได้

ถ้าต่างคนต่างทำมันก็เล็กๆ กระจายไป
แต่ถ้าทำให้มันรับรู้ว่ามีคนทุกมุมโลกคิดแบบนี้ และพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรมนี้

ผมว่ามันสั่นสะเทือนโลกใบนี้ได้นะ (คิดไปนั่น...555)

ถ้าฟังแล้วชอบ ก็ขอกำลังใจกันบ้างนะครับ

หรือถ้าดูแล้วมีจุดอ่อนก็บอก
เพราะจะได้คิดอะไรแปลกๆต่อไปอีก
กำหนดหมดเขต 20 ตุลาคมครับ

ผมมีงานอดิเรกชอบทำอะไรแปลกชาวบ้านเขาเรื่อยอยู่แล้ว...555

ลองฝันกับผมหน่อยไหมว่าเราอาจจะได้ทำอะไรที่เขย่าโลกใบนี้ได้
หรือ เพียงแค่ถ้าเราสร้างค่านิยม หรือเปลี่ยนแปลงค่านิยมให้คนรุ่นใหม่ได้
เหมือนยุคที่เลิกสูบบุหรี่ ยุคที่คนใช้ชีวิตเสรี

เทรนของโลกที่นิยมการช่วยเหลือคน
ชีวิตที่จะสนุกและมีความสุขกับการแข่งกันทำความดี สนุกกับการแย่งกันช่วยเหลือคนอื่น
เฮฮา และหัวเราะกับการได้ดื่มด่ำกับความรู้สึกของการให้
ผมว่าโลกแบบนี้มีความสุขดีนะครับ




 

Create Date : 30 กันยายน 2551    
Last Update : 30 กันยายน 2551 3:34:54 น.
Counter : 2749 Pageviews.  

มาคิดเพื่อโลกกันบ้างไหม

โครงการ 10 ยกกำลัง 100

มีโครงการแจ่มๆมาเล่าครับ พวกเรา ใครมีไอเดียดี สร้างสรรค์ เป็นคนจิตใจดี มีเมตตา ต้องการช่วยเหลือผู้คน

ลองมาดูรายละเอียดในโครงการนี้ดู พวกเราส่วนมากไม่ค่อยมองออกมานอกโลกใบเล็กของเรา และอาจไม่มองถึงกิจกรรมระดับโลกแบบนี้ แต่ผมอยากบอกว่าความเก่งของเราไม่ได้อยู่แค่ในกะลา และนี้คือโอกาสพิสูจน์กึ๋นของเรา ที่ไม่ลองไม่รู้ และถ้าลองก็ไม่เสียหลายครับ

//www.project10tothe100.com/intl/TH/how_it_works.html

วิธีการ

โครงการ 10100 (อ่านว่า โครงการ 10 ยกกำลัง 100) เป็นการเปิดรับข้อเสนอความคิดในการเปลี่ยนแปลงโลกโดยการช่วยเหลือผู้คนให้มากที่สุด ต่อไปนี้เป็นวิธีการเข้าร่วม

1. ส่งความคิดของคุณมาให้เราภายในวันที่ 20 ตุลาคม
เพียงกรอก แบบฟอร์มการส่งข้อเสนอความคิด เพื่อส่งความคิดสรุปให้เรา คุณสามารถสนับสนุนข้อเสนอของคุณด้วยวิดีโอความยาว 30 วินาที

2. การลงคะแนนให้กับความคิดจะเริ่มต้นในวันที่ 27 มกราคม
เราจะโพสต์การคัดเลือกหนึ่งร้อยความคิดเพื่อสอบถามคุณและบุคคลทั่วไป เพื่อคัดเลือกเข้าสู่รอบก่อนชิงชนะเลิศ 20 ความคิด จากนั้นคณะกรรมการที่ปรึกษาจะเลือกความคิดที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายสูงสุด 5 แนวคิด ส่งคำเตือนการลงคะแนนให้ฉัน

3. เราจะช่วยทำให้ความคิดนี้เป็นจริง
เราสนับสนุนเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อดำเนินการโครงการเหล่านี้ และเป้าหมายของเราคือต้องการช่วยเหลือผู้คนให้ได้มากที่สุด ดังนั้น โปรดจำว่า เงินอาจช่วยให้เริ่มต้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ความคิดเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญ

ขอให้โชคดี และขอให้ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือมากที่สุดชนะ

โปรดทราบว่า กำหนดเวลาคือวันที่ 20 ตุลาคม

หลักเกณฑ์

เป้าหมายของเราคือกำหนดกฎเกณฑ์ให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม เราขอให้คุณใส่ความคิดลงในหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งต่อไปนี้ และพิจารณาปัจจัยในการประเมินด้านล่าง

หมวดหมู่:
  • ชุมชน: เราจะติดต่อกับผู้อื่น สร้างชุมชน และปกป้องวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ได้อย่างไร
  • โอกาส: เราจะมีส่วนช่วยในการมอบโอกาสที่ดีกว่าให้กับผู้คนและครอบครัวได้อย่างไร
  • พลังงาน: เราจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนโลกของเราด้วยพลังงานที่ปลอดภัย สะอาด และมีราคาไม่แพงได้อย่างไร
  • สิ่งแวดล้อม: เราจะช่วยส่งเสริมให้ระบบนิเวศของโลกสะอาดขึ้นและยั่งยืนขึ้นได้อย่างไร
  • สุขอนามัย เราจะมีส่วนช่วยให้ผู้คนมีสุขภาพดีขึ้นและอายุยืนขึ้นได้อย่างไร
  • การศึกษา: เราจะช่วยให้ผู้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงการศึกษาที่ดีขึ้นได้มากขึ้นได้อย่างไร
  • ที่อยู่อาศัย: เราจะมีส่วนช่วยให้ทุกคนมีสถานที่ที่ปลอดภัยพักอาศัยได้อย่างไร
  • อื่นๆ: บางครั้งความคิดที่ดีที่สุดอาจไม่ตรงกับหมวดหมู่ใดๆ เลย
เกณฑ์:
  • การเข้าถึง: ความคิดของคุณส่งผลต่อผู้คนมากเพียงใด
  • ความลึกซึ้ง: ผู้คนได้รับผลกระทบลึกซึ้งเพียงใด มีความจำเป็นเร่งด่วนเพียงใด
  • ความสามารถในการบรรลุผลสำเร็จ: ความคิดนี้สามารถนำไปปฏิบัติได้ภายในหนึ่งปีหรือสองปี
  • ประสิทธิภาพ: ความคิดของคุณเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพด้านต้นทุนเพียงใด
  • ความยั่งยืน: ผลกระทบของความคิดจะคงอยู่นานเพียงใด




 

Create Date : 27 กันยายน 2551    
Last Update : 27 กันยายน 2551 13:27:47 น.
Counter : 2265 Pageviews.  

สรุป 3 เราจะขาดแคลนน้ำจืด

คุณภาพ​และ​ปริมาณน้ำ​จืด

ผลกระทบระยะสั้นที่สำ​คัญ​และ​เกิดขึ้นทันทีทัน​ใด​จาก​ภาวะน้ำ​ท่วม​ ​อัน​เนื่อง​จาก​การเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​คือ​ ​คุณภาพ​และ​แหล่งน้ำ​จืด​ ​อย่างไรก็ตามผลกระทบ​ใน​ระยะยาว​ ​ว่า​จะ​มีผลกระทบต่อแหล่งน้ำ​ใต้​ดิน​ด้วย​หรือ​ไม่​ ​นั้น​ ​ยัง​ไม่​แน่นอน​ ​แม้ว่า​เป็น​ที่ทราบ​แล้ว​ว่า​ ​การไหล​เข้า​มาของน้ำ​เค็ม​ ​จะ​ก่อ​ให้​เกิดปัญหาที่สำ​คัญ​กับ​เมืองชายฝั่ง​ ​เช่น​ ​เมืองดาการ์​ ​ประ​เทศเซเนกัล​ ​เมืองเซี่ยงไฮ้​ ​ประ​เทศจีน​ ​ส่วน​บนเกาะ​เล็ก​ ​ๆ​ ​ระดับน้ำ​ใต้​ดินที่​โดย​ทั่ว​ไป​เป็น​แหล่งน้ำ​จืด​ ​ที่มี​อยู่​อย่างจำ​กัด​ ​ป้อง​กัน​ได้​ยาก​ ​และ​ง่ายต่อการแทรกซึม​เข้า​ไปของน้ำ​ทะ​เล​ ​การแก้​ไขแหล่งน้ำ​จืด​ ​ที่​เสียหายไป​แล้ว​ตามวิธีการนี้ยากมาก​ ​การรุกไล่ของน้ำ​เค็ม​เข้า​ไป​ใน​แผ่นดิน​ได้​เกิดขึ้น​แล้ว​ ​ใน​ประ​เทศอิสรา​เอล​ ​ทางตอนเหนือของประ​เทศจีน​ ​ทางตอน​ใต้​ของประ​เทศสหรัฐอเมริกา​ ​และ​หมู่​เกาะมาร์​เชล​ ​ใน​มหาสมุทรแปซิฟิก​ ​บนหมู่​เกาะมาร์​เชล​ ​แหล่งน้ำ​ใน​ท้องถิ่นนำ​มา​ใช้​ได้​ไม่​ยั่งยืน​ ​และ​อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร​ ​ที่​อยู่​ใน​ระดับสูง​ ​เป็น​ปัจจัยที่ทำ​ให้​เกิดปัญหามากยิ่งขึ้น​ ​ได้​มีการตั้งใจที่​จะ​ทำ​ให้​น้ำ​หายเค็ม​ ​หากน้ำ​เค็มแทรกซึม​เข้า​มา​ได้​เพียง​ ​เล็ก​น้อยเพื่อ​ใช้​ภาย​ใน​ประ​เทศ​ ​แต่วิธีนี้​ ​เป็น​กระบวนการที่​ต้อง​เสียค่า​ใช้​จ่ายสูงมาก​ ​ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เลที่มีต่อแหล่งน้ำ​จืด​ ​นั้น​ ​ควร​ได้​รับการศึกษา​ให้​กว้างขวางมากยิ่งขึ้น​ ​รวม​ทั้ง​ศักยภาพ​ใน​การปรับตัว​ด้วย

ที่ราบต่ำ​บริ​เวณชายฝั่ง​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​อาจทำ​ให้​ระดับน้ำ​ใต้​ดินสูงขึ้น​ได้​อีก​ด้วย​ ​นำ​ไปสู่การเกิด​ความ​สกปรก​ ​เช่น​ ​เชื้อไวรัส​และ​แบคที​เรีย​ ​จาก​ระบบการบำ​บัดน้ำ​เสีย​ ​ที่อาจหลุด​เข้า​ไป​ใน​ทางน้ำ​ได้​ ​ซึ่ง​จะ​ก่อ​ให้​เกิดอันตรายต่อประชากร​ใน​ท้องถิ่น​ได้​ ​ไม่​โดย​ตรงก็​โดย​อ้อม​ ​ถ้า​หาก​ความ​สกปรกนี้​ ​หลุด​เข้า​ไป​ใน​โซ่อาหาร

โรคที่​ต้อง​มีตัวนำ​โรค

ผล​จาก​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่​จะ​มีต่อการเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายของโรคติดต่อ​ ​เป็น​ไปอย่างสลับซับซ้อน​ ​อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อโรคที่​ต้อง​มีตัวนำ​โรค​ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่งโรคไข้มาลา​เรีย​ ​ส่วน​หนึ่งขึ้น​อยู่​กับ​ปัจจัย​ใน​ท้องถิ่น​ ​เช่น​ ​ลักษณะภูมิประ​เทศชายฝั่ง​ ​และ​ประวัติ​ความ​เป็น​มาทางธรรมชาติ​ ​ของชนิดตัวนำ​เชื้อโรค​ใน​ท้องถิ่น​นั้น​ ​ตัวอย่าง​ ​ใน​ทวีปแอฟริกา​ ​โดย​ทั่ว​ไปตัวนำ​หลักของโรคไข้มาลา​เรีย​ Falciparum ​คือ​ Anopheles gambiae ​ชนิดต่าง​ ​ๆ​ ​แต่การเพิ่มขึ้นของน้ำ​กร่อย​ ​มี​แนวโน้มว่าตัวนำ​โรคที่มีประสิทธิภาพ​ An.gambiae ​และ​ An.arabiensis ​จะ​ถูกแทนที่​โดย​ตัวนำ​เชื้อโรค​ An.melas ​และ​ An.merus ​ซึ่ง​มีประสิทธิภาพ​ใน​การนำ​เชื้อโรคน้อยกว่า​ ​ตัวนำ​เชื้อโรค​ 2 ​ชนิดหลังทนทานน้ำ​เค็ม​ใน​บริ​เวณแอฟริกาตะวันตก​ ​และ​แอฟริกาตะวันออก​ได้​ดี​ ​ดัง​นั้น​ ​การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​น่า​จะ​มี​ส่วน​ทำ​ให้​การแพร่กระจาย​ ​ของโรคไข้มาลา​เรีย​ ​ใน​บริ​เวณชายฝั่งบางแห่งลดน้อยลง

ใน​บริ​เวณ​อื่น​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​น่า​จะ​มีผลทำ​ให้​โรคไข้มาลา​เรียเพิ่มมากขึ้น​ ​ใน​เอเชีย​ใต้​ ​และ​เอเชียตะวันออกเฉียง​ใต้​ ​มียุงที่​เป็น​ตัวนำ​เชื้อโรคไข้มาลา​เรียหลายชนิด​ ​เจริญเติบโต​ได้​ดี​ ​เช่น​ An.sundaicus ​ใน​ประ​เทศอินโดนี​เซีย​ ​มา​เลเซีย​ ​พม่า​ ​และ​ทาง​ใต้​ของประ​เทศบังคลา​เทศ​ ​เป็น​ตัวนำ​โรคไข้มาลา​เรีย​ ​ที่ทน​ความ​เค็ม​ได้​ ​บริ​เวณชายฝั่งที่​เป็น​ดินเหนียว​ใน​ประ​เทศเหล่านี้​ ​เป็น​บริ​เวณที่มีประชากรอาศัย​อยู่​อย่างหนา​แน่น​ ​ดัง​นั้น​ ​ถ้า​ระดับน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ ​ทำ​ให้​น้ำ​เค็มรุกไล่​เข้า​ไป​ใน​แผ่นดิน​ได้​มากขึ้น​ ​ตัวนำ​เชื้อโรค​จะ​มากขึ้น​เป็น​ทวีคูณ​ ​ทำ​ให้​ประชากร​ใน​ท้องถิ่น​ ​เสี่ยงต่อการ​เป็น​โรคไข้มาลา​เรียเพิ่มมากขึ้น​ ​แต่ตัวนำ​โรค​ An.sundaicus ​ใน​ประ​เทศอินโดนี​เซีย​ ​ขยายพันธุ์​ใน​น้ำ​จืด​ ​อาจลดจำ​นวนลงหากน้ำ​เค็มเพิ่มมากขึ้น

แหล่งอาหาร

ประมาณ​ 70% ​ของชนิดปลา​เพื่อการค้าของโลก​ได้​มา​จาก​บริ​เวณชายฝั่ง​ ​เนื่อง​จาก​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ ​และ​แนวปะการัง​เป็น​แหล่งเพาะ​เลี้ยงปลา​ ​และ​สัตว์ที่มี​เปลือกหุ้มหลายชนิด​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​จะ​กระทบต่อผลผลิตอาหารของท้องถิ่น​ ​ผ่านทางผลกระทบที่มีต่อระบบนิ​เวศเหล่า​นั้น​ ​นอก​จาก​นี้​ ​ยัง​กระทบต่อการผลิตอาหาร​ ​ผ่านทางการที่พื้นที่​เกษตรกรรมถูกทำ​ลาย​ ​ถูกน้ำ​ท่วมเพิ่มมากขึ้น​ ​และ​น้ำ​เค็มรุกไล่​เข้า​ไป​ได้​ยัง​แหล่งน้ำ​เพื่อการเกษตร​ ​ประ​เทศเกาะขนาด​เล็ก​ ​จะ​ได้​รับผลกระทบทางลบอย่างมาก​ ​เพราะ​ว่าราคาการนำ​เข้า​อาหาร​จะ​เพิ่มสูงมากขึ้น

ผลผลิตข้าว​เป็น​ไป​ได้​ว่า​จะ​ลดลง​ด้วย​ ​เนื่อง​จาก​ปริมาณข้าวโลกประมาณ​ 8% ​ได้​จาก​บริ​เวณเอเชียตะวันออกเฉียง​ใต้​ ​ซึ่ง​เป็น​บริ​เวณที่น่า​จะ​ได้​รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากที่สุด​ ​จาก​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​บริ​เวณนี้​สามารถ​ผลิตข้าวสำ​หรับเลี้ยงประชากร​ได้​ ​ประมาณ​ 200 ​ล้านคน​ ​ถ้า​ระดับน้ำ​ทะ​เลเพิ่มสูงขึ้นครึ่งเมตร​ ​ใน​ประมาณปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​จะ​มีประชากร​ถึง​ 75 ​ล้านคนที่​ต้อง​สูญเสียแหล่งอาหารหลักไป​ ​ซึ่ง​ประชากร​ ​ที่อาศัย​อยู่​ใน​บริ​เวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​ ​ใน​เอเชีย​ใต้​ ​และ​ ​เอเชียตะวันออกเฉียง​ใต้​ ​จะ​ได้​รับผลกระทบที่รุนแรงมากที่สุด

ประชากรที่​ต้อง​อพยพ

ประชากรที่​จะ​ถูกไล่ที่​เนื่อง​จาก​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​คือ​ ​ประชากรที่อาศัย​อยู่​บนแผ่นดิน​ ​ที่​เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำ​ท่วม​ ​และ​ยากจน​ ​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ใน​เขตชนบท​ ​หรือ​เขตเมืองก็ตาม​ ​เช่น​ ​ใน​ประ​เทศอินโดนี​เซีย​ ​มีประชากรจำ​นวนมากที่​เสี่ยงมากที่สุด​ ​เพราะ​การอพยพ​เข้า​ไปตั้งถิ่นฐานตามบริ​เวณชายฝั่ง​ ​ทำ​ให้​ทั้ง​สังคม​และ​เศรษฐกิจเสื่อมลง​ ​เป็น​พื้นที่​เกษตรกรรมที่​เลว​ ​การตั้งถิ่นฐานแบบโดดเดี่ยวจำ​นวนมาก​ ​ใน​ประ​เทศกำ​ลังพัฒนา​ ​ก็​จะ​ได้​รับผลกระทบ​ด้วย​ ​การตั้งถิ่นฐานเช่นว่านี้​ไม่​มีการวางแผนมาก่อน​ ​และ​ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวด​เร็ว​ ​การตั้งถิ่นฐาน​ใน​ลักษณะนี้จำ​นวนมากที่กลาย​เป็น​เมืองขนาด​ใหญ่​ ​ที่​อยู่​บริ​เวณชายฝั่ง​ ​เช่น​ ​กรุงเทพฯ​ ​บอมเบย์​ ​กัลกัตตา​ ​การาจี​ ​มนิลา​ ​ลากอส​ ​จากา​ร์ตา​ ​ลิมา​ ​และ​ริ​โอเดจา​เนโร​ ​อิทธิพลของการถูกไล่ที่ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์​นั้น​ ​จะ​ขึ้น​อยู่​กับ​อัตราของการถูกไล่ที่​ ​แต่​เป็น​สิ่งที่ประ​เมิน​ได้​ยากมาก​ ​ประชากรที่ถูกไล่ที่​ ​หรือ​ที่​ต้อง​อพยพย้ายถิ่น​ยัง​ ​จะ​ต้อง​ประสบ​กับ​ปัญหา​แหล่งอาหาร​ ​และ​อาหารที่​จะ​ลดลง​ ​การสูญเสียที่ดิน​ ​ได้​รับ​ความ​เสียหาย​จาก​พายุ​ ​เศรษฐกิจถดถอยตามผลกระทบทางลบ​ ​ที่มีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ​ ​เช่น​ ​การจับปลา​ ​การท่องเที่ยว​ ​การพักผ่อนหย่อนใจ​และ​การขนส่ง

มาตรการการป้อง​กัน

ประ​เทศชายฝั่ง​จะ​ต้อง​วางแผนการจัดการชายฝั่งที่รัดกุม​ ​เพื่อ​ให้​ผลกระทบที่​จะ​เกิด​จาก​การเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​เป็น​ไปน้อยที่สุด​ ​ประ​เทศที่พัฒนา​แล้ว​ ​สามารถ​ช่วย​ประ​เทศกำ​ลังพัฒนา​ได้​ ​โดย​การ​ให้​ความ​ช่วย​เหลือด้านวิชาการ​ ​แผนการ​จะ​ต้อง​แน่​ใจว่า​ ​การเสี่ยงของประชากรมีน้อยที่สุด​ ​ระบบนิ​เวศสำ​คัญ​ ​ๆ​ ​ยัง​คง​อยู่​และ​ได้​รับการป้อง​กัน​ ​และ​การพัฒนาบริ​เวณชายฝั่ง​ ​จะ​ต้อง​เป็น​ไปแบบยั่งยืน​ ​นอก​จาก​นี้​ ​รัฐควรกำ​หนดการบริการ​ ​และ​ทรัพยากรเฉพาะที่​จะ​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยง​ ​และ​สร้าง​ ​มาตรการป้อง​กัน​ไว้

มาตรการการป้อง​กัน​ ​แบ่ง​ได้​ 3 ​ขั้นตอน​ ​ดังนี้คือ


  1. การอพยพ​ : ​การละทิ้งพื้นที่ที่มี​ความ​เสี่ยงสูง​และ​สร้างที่​อยู่​ใหม่​ให้​กับ​ประชากร

  2. การปรับตัว​ : ​ยัง​คง​อยู่​และ​ใช้​พื้นที่​เดิมที่มี​ความ​เสี่ยง​ ​โดย​มีการปรับปรุงการ​ใช้​ ​พื้นที่​และ​ ​ทรัพยากร​ให้​เป็น​ไปอย่างเหมาะสม

  3. การป้อง​กัน​ : ​การปกป้องพื้นที่ที่​เสี่ยงสูง​ให้​รอดพ้น​จาก​อันตราย​ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่งศูนย์กลางของประชากร​ ​กิจกรรมทางเศรษฐกิจ​และ​ทรัพยากรธรรมชาติ


การอพยพอาจมีการวางแผน​ไว้​ก่อน​หรือ​อาจ​ไม่​ได้​วางแผน​ไว้​ก่อนก็​ได้​ ​แต่​ใน​หลายสถานการณ์​ ​ที่การอพยพ​จาก​การวางแผน​ไว้​ก่อน​ ​เสียค่า​ใช้​จ่ายน้อยที่สุด




 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2550 18:04:25 น.
Counter : 2237 Pageviews.  

สรุป 2 การประ​เมิน​ความ​อ่อนไหวของบริ​เวณชายฝั่ง​จาก​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล

การประ​เมิน​ความ​อ่อนไหวของบริ​เวณชายฝั่ง​จาก​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล


IPCC ​ได้​สร้างวิธีการ​ทั่ว​ไป​ ​สำ​หรับประ​เมิน​ความ​อ่อนไหวของบริ​เวณชายฝั่ง​ ​ที่​จะ​เกิด​จาก​การเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย​สถานการณ์อ้างอิง​ ​หรือ​สถานการณ์ปัจจุบัน​ ​เกี่ยว​กับ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​รายละ​เอียด​ ​เกี่ยว​กับ​ปัจจัยที่​เกี่ยวข้อง​ ​เช่น​ ​น้ำ​ขึ้น​-​น้ำ​ลงของท้องถิ่น​ ​และ​ความ​ถี่​ ​ของการเกิดคลื่นซัดฝั่ง​ ​ใน​ ​ปี​ ​ค​.​ศ​. 1990 IPCC ​ได้​คาดหมายการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เลระดับต่ำ​ ​และ​ระดับสูง​ไว้​ (คือ​ 0.3 ​เมตร​ ​และ​ 1 ​เมตร​ ​ตามลำ​ดับ​ ​ใน​ประมาณปี​ ​ค​.​ศ​. 2100) ​นำ​ไปปรับ​ให้​เข้า​กับ​แต่ละท้องถิ่น​ได้​ ​ถ้า​รู้การจมตัวลง​ ​หรือ​ยกตัวขึ้นของแผ่นดิน​ ​ความ​ผันแปรของคลื่นซัดฝั่ง​ ​ใน​ท้องถิ่น​ ​และ​เหตุการณ์​อื่น​ ​ๆ​ ​ที่​เกิดขึ้น​ใน​ท้องถิ่น​นั้น​ ​ๆ​ ​วิธีการนี้​ใช้​กัน​อย่างกว้างขวาง​ ​เพื่อกำ​หนดประชากร​ ​และ​ทรัพยากร​ ​ที่​เสี่ยงต่อการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​และ​เพื่อประ​เมิน​ถึง​ค่า​ใช้​จ่ายที่​จะ​เกิดขึ้น​ ​แต่​จาก​การ​ใช้​วิธีการ​ทั่ว​ไปของ​ IPCC ​ใน​ปัจจุบัน​ ​พบว่า​ ​การประ​เมิน​ความ​อ่อนไหว​ ​ต้อง​พิจารณา​ให้​กว้างกว่านี้​ ​คือ​ ​จะ​ต้อง​นำ​เอาค่าของวัฒนธรรม​ ​ชุมชน​ ​และ​ส่วน​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​ความ​งาม​ ​เข้า​มาร่วมพิจารณา​ด้วย

ขั้นตอนแรกของการนำ​วิธีการ​ทั่ว​ไปของ​ IPCC ​ไป​ใช้​ ​คือ​ ​การประ​เมินจุดอ่อนไหว​ ​ของบริ​เวณชายฝั่ง​ ​ถึง​ผลกระทบทางชีวะภูมิศาสตร์​ ​จาก​การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ ​และ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่​จะ​ตามมา​ ​จุดอ่อนไหวนี้​ ​อยู่​ใน​สภาพที่ยืดหยุ่น​ได้​ ​ของระบบท้องถิ่น​นั้น​ ​ซึ่ง​ส่วน​ใหญ่​ ​อยู่​ภาย​ใต้​อิทธิพล​ ​ของปัจจัยต่าง​ ​ๆ​ ​เช่น​ ​จำ​นวนประชากร​ ​และ​อัตราการพัฒนาทางเศรษฐกิจ​ ​ความ​อ่อนไหวของประชากร​ ​หมาย​ถึง​ “​ความ​ไม่​สามารถ​รับมือ​ได้​ ​มาก​หรือ​น้อย​กับ​ผลที่​จะ​เกิดขึ้น​ ​จาก​การเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​และ​อิทธิพลต่าง​ ​ๆ​ ​จาก​การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​” ​ซึ่ง​ปัจจัยที่​เป็น​ตัวกำ​หนด​ ​คือ​ ​สภาพทางสังคม​-​เศรษฐกิจ​ ​ดัง​นั้น​ ​การประ​เมิน​ความ​อ่อนไหว​ ​ประกอบ​ด้วย

  1. การประ​เมินผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลที่มีต่อลักษณะทาง​ ​กายภาพนิ​เวศวิทยา​ ​และ​สังคม​-​เศรษฐกิจ

  2. การประ​เมินการพัฒนาทางสังคมเศรษฐกิจที่​เป็น​ตัวกำ​หนด​ความ​อ่อนไหว

  3. ต้อง​อธิบาย​ให้​ชัดเจน​ถึง​ ​ผลสะท้อนที่​เป็น​ไป​ได้​มากที่สุด​จะ​ทำ​ให้​ความ​อ่อนไหวลดลง​ได้​อย่างไร​ ​หรือ​ผลกระทบลดลง​ได้​อย่างไร​ ​หรือ​ความ​สามารถ​ใน​การปรับตัวของประชากร​ให้​เข้า​กับ​ผลกระทบ​นั้น​ ​ได้​อย่างไร

  4. การประ​เมินขีด​ความ​สามารถ​แห่งชาติ​ ​ใน​การกำ​หนดมาตรการต่าง​ ​ๆ


ใน​การศึกษาตามวิธีการนี้​ ​ได้​สมมติ​ให้​ความ​สัมพันธ์ระหว่าง​ ​ระบบชายฝั่ง​กับ​ผลสะท้อนทางกายภาพ​ ​และ​ผลสะท้อนทางมนุษย์​ ​เป็น​ไป​ใน​เชิงเส้นตรง​ ​จึง​เป็น​วิธีการที่ง่าย​ ​ดัง​นั้น​ใน​การศึกษา​ใน​อนาคต​ ​จะ​ต้อง​ศึกษา​ความ​สัมพันธ์​ ​ที่สลับซับซ้อนเหล่านี้​ ​ใน​เชิงที่​ไม่​ใช่​เส้นตรง​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​ ​แม้ว่าประชากร​ ​จะ​เสี่ยงต่อภาวะน้ำ​ท่วม​ ​แต่ผลกระทบของ​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์​ ​ก็​ยัง​ไม่​ได้​รับการกล่าว​ถึง​ใน​วิธีการนี้​ ​การวิ​เคราะห์​ความ​อ่อนไหว​ใน​อนาคต​ ​จะ​ต้อง​ขยาย​ให้​ครอบคลุม​ ​ถึง​ผลกระทบที่​เป็น​ไป​ได้​ ​ที่​จะ​มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์​ด้วย​ ​การวิ​เคราะห์​ ​โดย​ใช้​วิธีการ​ทั่ว​ไปของ​ IPCC ​นั้น​ ​ใช้​เป็น​ข้อมูลพื้นฐาน​ ​ให้​กับ​ผู้​มีอำ​นาจตัดสินใจ​ ​ใน​การกำ​หนดนโยบาย​ ​ถึง​การประ​เมินว่า​ ​จะ​มี​ความ​อ่อนไหวของบริ​เวณชายฝั่งขึ้น​ ​ทำ​ให้​สามารถ​วิ​เคราะห์​เบื้องต้น​ ​เพื่อนำ​ไปสู่การกำ​หนดมาตรการที่​เป็น​ไป​ได้

การประ​เมิน​ความ​อ่อนไหว​ใน​ระดับโลก


ได้​มีการสร้างแบบจำ​ลองเพื่อประ​เมิน​ความ​อ่อนไหว​ใน​ระดับโลก​ ​ที่​จะ​เกิดขึ้น​จาก​การเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ซึ่ง​มีลักษณะคล้ายคลึง​ ​กับ​วิธีการ​ทั่ว​ไปของ​ IPCC ​แบบจำ​ลองการประ​เมิน​ความ​อ่อนไหว​ใน​ระดับโลก​ (Global Vulnerability Assessment – GVA) ​ได้​รวมเอา​แผนการคาดหมาย​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ชนิดต่าง​ ​ๆ​ ​เข้า​มาร่วมพิจารณา​ด้วย​ ​รวม​ทั้ง​ที่คาดหมายว่า​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​จะ​สูงขึ้น​ 50 ​เซนติ​เมตร​ใน​ประมาณปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​นอก​จาก​นี้​ ​ยัง​เป็น​วิธีการที่ยืดหยุ่น​ได้​มากกว่า​ ​ใน​การประ​เมินโอกาส​ ​การเกิดภาวะน้ำ​ท่วม​ ​และ​ได้​นำ​เอามาตรการป้อง​กัน​ ​ที่​เป็น​ไป​ได้​เข้า​มาร่วมพิจารณา​ด้วย​ ​แบบจำ​ลอง​ยัง​ได้​พยากรณ์​ ​การกระจายตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์​ ​และ​จำ​นวนประชากร​ ​ที่​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยงอีก​ด้วย

ภาย​ใต้​สภาพภูมิอากาศ​และ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ใน​ปัจจุบัน​ ​มีประชากรที่ประสบ​กับ​ภาวะ​ ​น้ำ​ท่วม​ ​เนื่อง​จาก​คลื่นซัดชายฝั่งปีละ​ 46 ​ล้านคน​ ​จาก​การ​ใช้​จำ​นวนประชากร​ใน​ปี​ ​ค​.​ศ​. 1990 ​ประมาณ​ได้​ว่า​ ​ถ้า​ระบบการป้อง​กัน​ชายฝั่ง​ ​ไม่​ขยายมากไปกว่านี้​ ​ประชากรที่​จะ​เสี่ยงต่อการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ 50 ​เซนติ​เมตร​ ​จะ​สูง​เป็น​ 2 ​เท่า​ (92 ​ล้านคน​/​ปี) ​และ​จะ​สูงเกือบ​ 3 ​เท่า​ (118 ​ล้านคน​/​ปี) ​ถ้า​ระดับน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ 1 ​เมตร​ ​นอก​จาก​นี้​ยัง​ได้​ประ​เมิน​ถึง​จำ​นวนประชากร​ ​ที่มี​โอกาสประสบ​กับ​ภาวะน้ำ​ท่วม​ ​มากกว่าปีละ​ 1 ​ครั้ง​ ​ซึ่ง​ประ​เมิน​ได้​ว่า​ ​ถ้า​ระดับน้ำ​ทะ​เลเพิ่มสูงขึ้น​ 50 ​เซนติ​เมตร​ ​ใน​ประมาณปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​ประชากรที่​เสี่ยงต่อภาวะน้ำ​ท่วม​ ​มากกว่า​ 1 ​ครั้ง​/​ปี​ ​สูง​ถึง​ 80 ​ล้านคน

การคำ​นวณจำ​นวนประชากรที่​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยง​ ​อาจผิดพลาด​ได้​มาก​ ​ตามระดับการป้อง​กัน​ ​เช่น​ ​ใน​ประ​เทศเนเธอร์​แลนด์​ ​ปัจจุบัน​ได้​มีการป้อง​กัน​อย่างดี​ ​ถ้า​ระดับน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ 1 ​เมตร​ ​จะ​มีประชากรที่​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยง​ ​เพียง​ 24,000 ​คน​เท่า​นั้น​ ​แต่​ถ้า​ไม่​มีระบบการป้อง​กัน​ชายฝั่งอย่างดี​แล้ว​ ​ใน​ 100 ​ปีข้างหน้า​ ​ประชากรของประ​เทศเนเธอร์​แลนด์​ ​จะ​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยงสูง​ถึง​มากกว่า​ 3.7 ​ล้านคน​ ​ถ้า​จะ​กล่าว​ใน​รูปของเปอร์​เซนต์​ ​ของประชากร​ทั้ง​ประ​เทศ​ ​ที่​จะ​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยง​แล้ว​ ​ประชากรที่อาศัย​อยู่​ใน​รัฐอิสระ​ ​ที่​เป็น​เกาะ​เล็ก​ ​ๆ​ ​ใน​มหาสมุทรแปซิฟิก​ ​เช่น​ ​กิริบาติ​ ​ซามัว​และ​ตองกา​ ​จะ​มี​เปอร์​เซนต์ประชากร​ ​ที่​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยงสูงมากที่สุด​ ​ตาม​ด้วย​ประ​เทศเกาะ​ใน​มหาสมุทรอินเดีย​ ​และ​ประ​เทศ​ ​ที่ตั้ง​อยู่​แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย​ ​เช่น​ ​ประ​เทศบังคลา​เทศ​และ​สหภาพพม่า

แบบจำ​ลองสำ​หรับการประ​เมิน​ความ​อ่อนไหว​ใน​ระดับโลก​ ​ที่​จะ​เกิด​จาก​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​จะ​ต้อง​นำ​การเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของประชากร​ใน​บริ​เวณพื้นที่ชายฝั่ง​ ​เข้า​มาร่วมพิจารณา​ด้วย​ ​เพราะ​ว่าทำ​ให้​ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เลมีมากยิ่งขึ้น​ ​ที่​จะ​เห็น​ได้​ชัด​ ​เช่น​ ​ถ้า​ประชากรบริ​เวณชายฝั่ง​ ​เพิ่มมากขึ้น​ ​ประชากรที่​จะ​ประสบ​กับ​ความ​อ่อนไหว​ ​ก็มากขึ้น​ด้วย​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​ ​พื้นที่ชายฝั่งเอง​ ​ก็​จะ​อ่อนไหวมากขึ้นเช่น​กัน​ ​เพราะ​ว่าทำ​ให้​มี​แรงกดดัน​ ​ด้านทรัพยากรธรรมชาติ​ ​มากขึ้น​ ​บริ​เวณที่คาดว่า​ ​อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงมาก​ ​คือ​ ​ประ​เทศที่ตั้ง​อยู่​แถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก​ ​ใน​ทวีปแอฟริกา​ ​แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย​ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ ​ประ​เทศบังคลา​เทศ​และ​อินเดีย​ ​และ​เอเชียตะวันออก​ ​ที่​เด่น​ ​คือ​ ​ประ​เทศจีน​ ​ประ​เทศ​อื่น​ ​ๆ​ ​ที่ประชากร​ ​อาศัย​อยู่​ใน​บริ​เวณชายฝั่งจำ​นวนมาก​ ​ที่​จะ​อยู่​ใน​ภาวะที่​เสี่ยง​ ​คือ​ ​เวียดนาม​และ​โมซิมบิก​ ​ใน​ประ​เทศที่พัฒนา​แล้ว​ ​ศูนย์กลางชายฝั่ง​ ​ที่ประชากรอาศัยหนา​แน่น​ ​จะ​มีประชากรที่​อยู่​ใน​ภาวะที่​เสี่ยง​ 15% ​ของประชากร​ ​ที่​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยง​ทั้ง​โลก​ ​อย่างไรก็ตาม​ ​การมีระบบการป้อง​กัน​ ​ที่ค่อนข้างปลอดภัย​ ​หมาย​ถึง​ว่า​ ​จำ​นวนประชากรที่​ ​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยงจริง​ ​ๆ​ ​จะ​น้อยกว่านี้​ ​โดย​ภาพรวมการเพิ่มขึ้นของประชากร​และ​การคาดหมายการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลต่างก็มี​ส่วน​สำ​คัญ​ใน​การคำ​นวณจำ​นวนประชากรที่​จะ​อยู่​ใน​ภาวะ​เสี่ยง

นอก​จาก​นี้​ ​ใน​การศึกษาอิทธิพลการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อมนุษย์​ ​นั้น​ ​แบบจำ​ลอง​ความ​อ่อนไหว​ใน​ระดับโลก​ ​ยัง​ใช้​ใน​การประ​เมิน​ถึง​ ​อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อ​ความ​สูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ​ ​ผลผลิตข้าว​ ​ค่า​ใช้​จ่าย​ใน​การป้อง​กัน​ ​และ​การลงทุน​ ​ใน​สิ่งก่อสร้างบริ​เวณชายฝั่ง​ได้​อีก​ด้วย

ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ใน​ระดับภูมิภาค


ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ใน​ระดับภูมิภาค​ ​หมาย​ถึง​ ​ผลกระทบที่มีต่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์​ 3 ​ลักษณะ​ ​คือ​ ​เกาะขนาด​เล็ก​ ​ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​ ​และ​ชายฝั่งทวีป​หรือ​เกาะขนาด​ใหญ่​ ​ใน​ที่นี้​จะ​กล่าว​ถึง​เฉพาะ​ 2 ​ลักษณะ​แรก​เท่า​นั้น​ ​เพราะ​มี​ความ​อ่อนไหวมากกว่า

เกาะขนาด​เล็ก

การสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ก่อ​ให้​เกิดภาวะการเสี่ยงที่รุนแรงสำ​หรับประชากร​ ​ที่อาศัยบนเกาะขนาด​เล็ก​ ​เพราะ​ว่า​ ​มีที่ดินเหลือ​ให้​ประชากรล่าถอยไป​ได้​น้อย​ ​และ​ทำ​ให้​ ​แหล่งทรัพยากร​ ​ธรรมชาติ​ ​เช่น​ ​แหล่งน้ำ​จืด​ ​ที่​โดย​ทั่ว​ไปมีน้อย​อยู่​แล้ว​ ​เปลี่ยนแปลงไป​ ​ใน​หลายกรณีที่ปัจจัย​ ​ทางสิ่ง​ ​แวดล้อม​ใน​ท้องถิ่น​ ​เช่น​ ​การพัฒนาชายฝั่ง​ ​การขุดทราย​และ​ปะการัง​ ​ที่ควบคุม​ไม่​ได้​ ​ทำ​ให้​ความ​อ่อนไหวเพิ่มสูงขึ้น​ ​ผลกระทบ​จะ​เกิดแตกต่าง​กัน​อย่างชัดเจน​ ​ใน​แต่ละ​เกาะ​ ​ทั้ง​นี้ขึ้น​อยู่​กับ​การมี​ ​หรือ​ไม่​มีการป้อง​กัน​ชายฝั่ง​ ​ตามธรรมชาติ​ ​ตำ​แหน่งที่ตั้งของเกาะ​ ​ว่า​อยู่​ภาย​ใน​ ​หรือ​ภายนอกแถบการเกิดของพายุ

ประ​เทศเกาะ​เล็ก​ ​ๆ​ ​จำ​นวนมาก​จะ​ประสบ​กับ​ปัญหาการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ประ​เทศเกาะ​ ​ที่ถูกกำ​หนด​ให้​เป็น​ประ​เทศที่มีภาวะการเสี่ยงสูงมาก​ ​คือ​ ​หมู่​เกาะมัลดีฟ​ ​หมู่​เกาะมาร์​เชล​ ​หมู่​เกาะกิริบาติ​ ​และ​หมู่​เกาะตองกา​ ​ตัวอย่างหมู่​เกาะมาร์​เชล​ ​ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย​เกาะหินปะการัง​ 29 ​เกาะ​และ​เกาะธรรมดาอีก​ 5 ​เกาะ​ ​มี​ความ​สูง​จาก​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​เฉลี่ยน้อยกว่า​ 2.4 ​เมตร​ ​จาก​การศึกษาที่​เกาะบารู​โจ​ ​ซึ่ง​เป็น​เกาะที่ตั้งของเมืองหลวง​ ​คำ​นวณ​ได้​ว่า​ ​ใน​การป้อง​กัน​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่​จะ​สูงขึ้น​ 0.3 ​เมตร​ ​จะ​ต้อง​เสียค่า​ใช้​จ่ายสูง​ถึง​ 1.5-3 ​เท่า​ ​ของ​ GNP ​ปัจจุบันของ​ทั้ง​หมู่​เกาะ​ ​ใน​กรณีของเกาะตองกาตาฟูที่มีประชากร​ 67,000 ​คน​ (2/3 ​ของประชากร​ทั้ง​หมดของประ​เทศตองกา) ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่​เพิ่มสูงขึ้น​ 1 ​เมตร​ ​จะ​ท่วมบ้านเรือนราษฎร​ถึง​ 10% ​ใน​ปี​ ​ค​.​ศ​. 1982 ​ได้​เกิดภาวะน้ำ​ท่วม​ ​จาก​พายุหมุนเขตร้อน​ใน​พื้นที่​ 23 ​ตารางกิ​โลเมตร​ ​กระทบต่อประชากร​ 1/3 ​ของ​ ​ประชากร​ทั้ง​หมด​ ​ถ้า​รวม​กับ​น้ำ​ทะ​เล​ ​ที่​จะ​สูงขึ้นอีก​ 1 ​เมตร​กับ​พายุหมุน​เข้า​ด้วย​กัน​แล้ว​ ​จะ​ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชากร​ ​สูง​ถึง​ 45%

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​เป็น​บริ​เวณที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ​ ​มัก​เป็น​ที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม​ ​หรือ​เป็น​แหล่ง​ให้​ผลผลิตทางการเกษตรสูง​ ​ตัวอย่างเช่น​ ​ใน​ประ​เทศจีน​ ​กิจกรรมทางการค้า​ ​ตั้ง​อยู่​บริ​เวณชายฝั่งที่​เป็น​ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​ ​มีมูลค่าประมาณ​ 25% ​ของ​ GNP ​บริ​เวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​จำ​นวนมาก​ ​จะ​มีประชากรอาศัย​อยู่​หนา​แน่น​ ​เนื่อง​จาก​อยู่​ใน​ที่ต่ำ​ ​จึง​มีภาวะการเสี่ยงสูงมาก​ ​ต่อการเกิดภาวะน้ำ​ท่วม​ ​เมื่อน้ำ​ทะ​เลมีระดับสูงขึ้น​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​จำ​นวนมาก​ ​ที่ประสบปัญหา​อยู่​แล้ว​ ​เนื่อง​จาก​การจัดการทรัพยากร​ไม่​ดี​ ​และ​การทำ​ลายที่​อยู่​อาศัยที่​อยู่​รอบ​ ​ๆ​ ​และ​ใน​บางกรณี​ได้​มีการสร้างเขื่อน​ ​และ​สิ่งก่อสร้าง​อื่น​ ​ๆ​ ​เพื่อป้อง​กัน​น้ำ​ท่วม​ ​ทำ​ให้​การตกตะกอนลดลง​ ​ทำ​ให้​การชะล้างพังทลายของดิน​ ​และ​การจมตัวลงของแผ่นดิน​ ​ใน​ท้องถิ่น​นั้น​ ​ๆ​ ​ทวี​ความ​รุนแรงขึ้น​ ​การชะล้างพังทลายของดิน​ ​และ​การจมตัวลงของแผ่นดิน​ ​ยัง​เกิด​ได้​จาก​การสูบน้ำ​ใต้​ดินมากเกินไปอีก​ด้วย​ ​ดังเช่นที่​เกิดขึ้น​ใน​เมืองเซี่ยงไฮ้​ ​และ​เทียนสิน​ ​ประ​เทศจีนที่การป้อง​กัน​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​จะ​ต้อง​เสียค่า​ใช้​จ่ายหลายล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา​ ​สำ​หรับประชากร​ 13 ​และ​ 7 ​ล้านคน​ ​ตามลำ​ดับ

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​ที่มี​ความ​อ่อนไหวมากที่สุด​ ​ได้​แก่​ ​ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​คงคา​ - ​พรหมบุตร​ ​ใน​ประ​เทศบังคลา​เทศ​ ​ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​ไนล์​ ​ใน​ประ​เทศอียิปต์​ ​และ​ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​มหานที​ ​แม่น้ำ​คงคา​ ​ที่​อยู่​ทางตะวันตกของอ่าวเบงกอล​ ​ทางตะวันตกของอ่าวเบงกอลนี้​ ​ถ้า​น้ำ​ทะ​เลเพิ่มสูงขึ้น​ 1 ​เมตร​ ​จะ​ทำ​ให้​น้ำ​ท่วมพื้นที่ประมาณ​ 1,700 ​ตารางกิ​โลเมตร​ ​ซึ่ง​จะ​เป็น​พื้นที่ที่ทำ​การเกษตร​ได้​ผลผลิตสูง​ทั้ง​หมด​ ​และ​จะ​ทำ​ให้​ประชากร​ได้​รับ​ความ​เดือดร้อนประมาณ​ 750,000 ​คน​ ​ใน​ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ​ไนเจอร์​ ​ใน​ประ​เทศไนจี​เรีย​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่​จะ​สูงขึ้น​ 1 ​เมตร​ ​ใน​ประมาณปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​จะ​ทำ​ให้​เกิดภาวะน้ำ​ท่วม​ใน​พื้นที่ประมาณ​ 15,000 ​ตารางกิ​โลเมตร​ ​เนื่อง​จาก​การป้อง​กัน​ ​ที่​ได้​ผล​ยัง​กระทำ​ไม่​ได้​ ​ประชากรที่​จะ​ได้​รับ​ความ​เดือดร้อน​ต้อง​หาที่​อยู่​อาศัย​ใหม่​ ​ประมาณครึ่งล้านคน

ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่รุนแรงมาก​ ​ๆ​ ​กับ​ภาวะน้ำ​ท่วมชายฝั่ง


บริ​เวณชายฝั่ง​จะ​ได้​รับผลกระทบทางลบ​จาก​อุณหภูมิ​และ​หยาดน้ำ​ฟ้าที่รุนแรงมาก​ ​ๆ​ ​พายุ​ไซโคลน​ ​และ​คลื่นซัดฝั่ง​ได้​ ​จาก​แบบจำ​ลองภูมิอากาศจำ​นวนมาก​ ​พบว่า​ ​ใน​บริ​เวณที่ภูมิอากาศร้อนกว่า​ ​โอกาสที่​จะ​เกิดฝนตกหนักมีมากขึ้น​ ​อย่างไรก็ตาม​ ​การสร้างแบบจำ​ลองภูมิอากาศโลก​ ​ยัง​คง​อยู่​ใน​ระยะ​เริ่มต้น​ ​และ​การคาดหมายการเปลี่ยนแปลง​ ​ใน​ระยะยาว​ถึง​ความ​ถี่​ ​และ​/​หรือ​ ​ความ​รุนแรงของปรากฏการณ์​ ​ที่รุนแรงมาก​ ​ๆ​ ​ใน​ระดับท้องถิ่น​ยัง​กระทำ​ไม่​ได้​ ​พื้นที่บริ​เวณชายฝั่ง​เป็น​อีกพื้นที่หนึ่งที่​ยัง​มี​ความ​ไม่​แน่นอน​ ​ถึง​ความ​ผันแปรของภูมิอากาศ​ ​ที่​จะ​สัมพันธ์​ซึ่ง​กัน​และ​กัน​กับ​การเพิ่มขึ้นของ​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ใน​แต่ละท้องที่​ ​ว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้าง​ ​ถึง​แม้​จะ​เห็นชัดว่าบริ​เวณที่ต่ำ​แถบชายฝั่ง​ ​เมื่อเกิดฝนตกหนักมากขึ้น​ ​ผนวก​กับ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​น่า​จะ​ทำ​ให้​เกิดภาวะน้ำ​ท่วมมากขึ้น​ ​ซึ่ง​จะ​ทำ​ให้​ประชากรที่อาศัย​ใน​บริ​เวณนี้​ได้​รับบาดเจ็บ​ ​เสียชีวิต​ ​ย้ายที่​อยู่​และ​เสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อเพิ่มมากขึ้น​ ​การเพิ่มมากขึ้นของพายุ​ไซโคลน​ ​เฮอริ​เคน​ ​หรือ​ ​ไต้ฝุ่น​ ​และ​ภาวะน้ำ​ท่วมที่​เกิดตามมา​ ​อาจส่งผลกระทบ​ ​ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์อย่างร้ายแรง​ได้

อย่างไรก็ตาม​ ​ถ้า​หากว่า​ความ​ถี่ของปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ​ ​ที่รุนแรงมาก​ ​ๆ​ ​เปลี่ยนแปลงไป​ ​เพียง​เล็ก​น้อย​ ​แต่ลำ​พังการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ก็​เพียงพอ​ ​ที่​จะ​เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำ​ท่วมชายฝั่ง​ ​เพิ่มมากขึ้น​ ​ผลกระทบทางอ้อม​ ​ของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ได้​แก่​ ​การ​ ​สูญเสียลักษณะการป้อง​กัน​ทางธรรมชาติ​ ​เช่น​ ​สันทราย​และ​ป่าชายเลน​ ​เนื่อง​จาก​การชะล้างพังทลายเพิ่มมากขึ้น​ ​และ​การระบายของน้ำ​ ​จาก​ลำ​ธารชายฝั่งลดลง​ ​เนื่อง​จาก​อิทธิพลการไหลย้อนกลับ​ ​ของน้ำ​เกิดมากขึ้น​ ​การชะล้างพังทลายของดินที่​เพิ่มขึ้น​ ​และ​การระบายน้ำ​ที่ลดลง​ ​ก็ทำ​ให้​เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำ​ท่วมสูงเช่น​กัน​ ​ซึ่ง​ได้​มีการคำ​นวณจำ​นวนประชากร​ ​ที่​จะ​เสี่ยงต่อภาวะน้ำ​ท่วม​ ​อัน​เนื่อง​จาก​การเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ไว้​แล้ว​ ​โดย​ประ​เมินตามพื้นฐาน​ความ​ถี่การเกิดคลื่นซัดฝั่ง​ ​ที่​เป็น​อยู่​ใน​ปัจจุบัน​ ​ประชากรปัจจุบัน​ ​และ​ระดับการป้อง​กัน​อย่างธรรมดา​ ​อย่างไรก็ตาม​ ​ผลกระทบ​จาก​ภาวะน้ำ​ท่วม​ ​ที่​จะ​เกิด​กับ​มนุษย์​ยัง​ขึ้น​อยู่​กับ​ปัจจัย​อื่น​ ​ๆ​ ​อีก​ ​เช่น​ ​ขอบเขต​ ​และ​ประสิทธิภาพของโครงสร้างทางสาธารณสุข​ ​แนวโน้มทางสังคม​ ​และ​ระดับ​ความ​เตรียมพร้อม​ ​ที่​จะ​เผชิญ​กับ​ภัยพิบัติ​ ​แต่การคำ​นวณเชิงปริมาณที่​ ​แน่นอนของปัจจัยต่าง​ ​ๆ​ ​เหล่านี้​ยัง​กระทำ​ไม่​ได้

ดัง​นั้น​ ​ใน​ระหว่าง​นั้น​ควรดำ​เนินการวางแผนป้อง​กัน​ ​เช่น​ ​จะ​ทำ​ให้​แน่​ใจ​ได้​อย่างไรว่า​ ​การเตือนภาวะน้ำ​ท่วมมีประสิทธิภาพ​ ​ซึ่ง​การเตือนภาวะน้ำ​ท่วม​ ​สามารถ​ลดอัตราการเสียชีวิตของประชากรลง​ได้​อย่างมาก​ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ ​ถ้า​ประชากรเหล่า​นั้น​ ​เคยประสบภัยพิบัติมาก่อน​ ​ผลกระทบของภาวะน้ำ​ท่วม​ ​ที่​จะ​มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์​ ​อาจลดลง​ได้​จาก​การออกแบบระบบน้ำ​ประปา​ ​ให้​ใช้​ได้​หลายวิธี​ ​เพื่อว่า​เมื่อระบบ​ใด​ระบบหนึ่ง​ใช้​การ​ไม่​ได้​ ​ก็​ยัง​มีระบบ​อื่น​ที่​ยัง​ใช้​การ​ได้​ ​ไม่​ทำ​ให้​ประชากรขาดน้ำ​อย่างสมบูรณ์​ ​และ​การขนส่งน้ำ​ไป​ยัง​พื้นที่ห่าง​ไกล​ ​ก็​จะ​ต้อง​ได้​รับการประ​กัน​ว่า​ ​ระหว่างการเกิดภัยพิบัติ​ ​จะ​ไม่​ถูกตัดขาด​ ​ซึ่ง​จะ​ต้อง​กำ​หนดเส้นทางการขนส่งน้ำ​ไว้​หลาย​ ​ๆ​ ​เส้นทาง​ ​นอก​จาก​นี้​แนวป้อง​กัน​ชายฝั่งธรรมชาติ​ ​เช่น​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ ​ควร​ได้​รับการป้อง​กัน​ไว้​ด้วย​ ​เพราะ​เป็น​แนว​กัน​ชนพายุ​ได้​เป็น​อย่างดี




 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2550 18:02:33 น.
Counter : 2252 Pageviews.  

สรุปประเด็นน้ำท่วม จากภาวะโลกร้อน ของกรมอุตุ

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลที่มา กรมอุตุวิทยา
บริ​เวณชายฝั่ง​เป็น​บริ​เวณที่มี​ความ​สำ​คัญมากต่อ​ความ​ผาสุกของมนุษย์​ ​ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา​ ​มนุษย์​จะ​ตั้งถิ่นฐาน​ ​ใน​บริ​เวณชายฝั่งทะ​เล​ ​ริมฝั่งแม่น้ำ​ ​และ​ที่ราบลุ่มดินตะกอน​ ​เนื่อง​จาก​เป็น​บริ​เวณ​ ​ที่​เหมาะต่อการทำ​การเกษตร​ ​การประมง​และ​การค้า

มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก​ ​ที่ปัจจุบันนี้อาศัย​อยู่​ ​ห่าง​จาก​ทะ​เล​ไม่​เกิน​ 60 ​กิ​โลเมตร​ ​โดย​ภาพรวม​ ​อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร​ ​แถบชายฝั่ง​จะ​สูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​มี​เมือง​ ​ที่คาดว่า​จะ​มีประชากรเกินกว่า​ 10 ​ล้านคน​ ​ใน​ปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​ตั้ง​อยู่​บริ​เวณชายฝั่งมาก​ถึง​ 16 ​เมือง​ ​ใน​ 23 ​เมือง​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​การเปลี่ยนแปลง​ความ​ถี่​ ​และ​ความ​รุนแรงของปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ​ ​ที่รุนแรงมาก​ ​ๆ​ ​น่า​จะ​เป็น​ปรากฏการณ์ที่สำ​คัญที่สุด​ ​ที่​จะ​เกิดขึ้น​ใน​บริ​เวณนี้​ ​อัน​เนื่อง​จาก​การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

ระหว่าง​ 18,000 ​ปีที่ผ่านมา​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ได้​สูงขึ้น​โดย​รวม​ ​ประมาณ​ 100 ​เมตร​ ​แต่​ ​ทั้ง​หมดนี้​ ​เกิดขึ้น​ใน​ช่วงเวลาการสิ้นสุดยุคน้ำ​แข็งยุคสุดท้าย​ ​เมื่อประมาณ​ 10,000 ​ปีมา​แล้ว​ ​ระหว่างศตวรรษที่ผ่านมา​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้นประมาณ​ 18 ​เซนติ​เมตร​ ​หรือ​โดย​เฉลี่ย​ 1-2.5 ​มิลลิ​เมตร​/​ปี​ ​การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ​เฉลี่ยของโลก​ ​จะ​ทำ​ให้​ระดับน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ ​เนื่อง​จาก​กลไกต่าง​ ​ๆ​ ​หลายชนิด​ ​ซึ่ง​ที่​เด่นชัดมากที่สุดคือ​ ​การขยายตัวของน้ำ​ ​ใน​มหาสมุทร​เนื่อง​จาก​ความ​ร้อน​ ​ตาม​ด้วย​การละลายของธารน้ำ​แข็งแถบภู​เขา​ ​และ​การละลายของแผ่นน้ำ​แข็งแถบขั้วโลก​ ​การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ยัง​เกิดขึ้น​ได้​ ​เนื่อง​จาก​อิทธิพลการเคลื่อนไหวทางธรรมชาติ​ ​เช่น​ ​การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหมุนเวียน​ ​ใน​มหาสมุทร​ ​ลม​และ​ความ​กดอากาศ​ ​ซึ่ง​อิทธิพล​จาก​ความ​ผันแปรเหล่านี้​ ​บาง​ส่วน​มีผลทำ​ให้​เกิด​ความ​ผันแปร​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ใน​ระดับภูมิภาค​ได้

อย่างไรก็ตาม​ ​ตัวชายฝั่งทะ​เลก็​ไม่​คงที่​เนื่อง​จาก​กระบวนการทางธรณีวิทยา​ ​ตาม​ ​ธรรมชาติ​ (การเคลื่อนที่​ ​ของเปลือกโลก​ ​การตอบสนอง​จาก​ธารน้ำ​แข็ง​ ​การตกตะกอน​ ​และ​การจมตัวลงของแผ่นดิน) ​และ​กิจกรรมของมนุษย์​ (การขุดเจาะหาน้ำ​มัน​ ​ก๊าซ​ ​หรือ​ ​น้ำ​ ​และ​การตกตะกอน) ​เป็น​สา​เหตุทำ​ให้​แผ่นดินชายฝั่งเคลื่อนที่​ไป​ ​เมื่อเทียบ​กับ​ระดับของน้ำ​ทะ​เล​ ​เช่น​ ​การสูบน้ำ​ใต้​ดินมา​ใช้​ ​ทำ​ให้​แผ่นดิน​ใน​ท้องถิ่น​นั้น​ ​จมตัวลง​ได้​ ​ซึ่ง​ตั้งแต่ปลายทศวรรษ​ 1920 ​และ​ 1930 ​เป็น​ต้นมา​ ​เมือง​ใหญ่​ ​ๆ​ ​ที่ตั้ง​อยู่​บริ​เวณชายฝั่ง​ ​จำ​นวนมากจมตัวลง​ ​เนื่อง​จาก​การสูบน้ำ​ใต้​ดิน​ ​ขึ้นมา​ใช้​มากเกินไป​ ​เช่น​ ​กรุงโตเกียว​ ​ประ​เทศญี่ปุ่น​ ​จมตัวลง​ 5 ​เมตร​ ​เมืองเซี่ยงไฮ้​ ​ประ​เทศจีน​ ​จมตัวลง​ 2.8 ​เมตร​ ​และ​เมืองโอซากา​ ​ประ​เทศญี่ปุ่น​ ​จมตัวลง​ 2.8 ​เมตร​ ​ปัญหานี้​ยัง​เกิดขึ้นอย่างต่อ​เนื่อง​ ​ใน​เมืองที่​อยู่​ชายฝั่ง​ ​เช่น​ ​เมืองเทียนสิน​ ​ประ​เทศจีน​ ​และ​กรุง​จากา​ร์ตา​ ​ประ​เทศอินโดนี​เซีย​ ​การเปลี่ยนแปลงของแผ่นดิน​ ​และ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ใน​แต่ละท้องถิ่น​ใน​ลักษณะนี้​ ​ปรากฏชัดว่า​ ​ไม่​เกี่ยวข้อง​กับ​สา​เหตุที่​เกิด​จาก​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลของโลกแต่ประการ​ใด​ ​แต่​เมืองต่าง​ ​ๆ​ ​หรือ​แถบชายฝั่งที่ปัจจุบันนี้​ ​ประสบ​กับ​ปัญหาการทรุดลง​ ​ของแผ่นดิน​ ​จะ​มีปัญหา​เพิ่มมากขึ้น​ ​ถ้า​หากน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ ​ซึ่ง​ยากที่​จะ​เอาชนะ​ได้​ ​ดัง​นั้น​ ​บริ​เวณเหล่านี้​ ​จะ​อ่อนไหวต่อระดับน้ำ​ทะ​เลของโลก​ ​ที่​จะ​สูงขึ้น​ใน​อนาคตมากที่สุด

ค่าประมาณที่ดีที่สุดของแบบจำ​ลองมหาสมุทร​และ​ภูมิอากาศปัจจุบัน​ ​คือ​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​จะ​สูงขึ้นประมาณครึ่งเมตร​ ​ใน​ประมาณปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​และ​จะ​สูงขึ้นต่อไปอีก​ ​ภายหลัง​จาก​นั้น​ ​ถ้า​หากการปล่อยออกก๊าซเรือนกระจก​ ​สู่บรรยากาศ​ ​ยัง​เป็น​ไปอย่างสม่ำ​เสมอ​ ​ดัง​นั้น​ ​การประมาณค่าที่ดีที่สุด​ ​ใน​การพยากรณ์อัตราการสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เลกระทำ​ได้​ ​สำ​หรับช่วงระหว่างปัจจุบัน​ ​จน​ถึง​ปี​ ​ค​.​ศ​. 2100 ​เท่า​นั้น​ ​ซึ่ง​จะ​สูงกว่า​ใน​ 100 ​ปีที่ผ่านมา​ถึง​ 2-3 ​เท่า​ ​จาก​รูปที่​ 7 ​แสดง​ให้​เห็นช่วงกว้าง​ ​ของแผนการคาดหมาย​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ใน​อนาคต​ ​ใน​การประ​เมินนี้​ ​ยัง​คงมีสิ่งที่​ไม่​แน่นอนที่สำ​คัญ​ 2 ​ประการ​ ​คือ​ ​ช่วงเวลาที่ล่าช้าออกไป​ ​ใน​การตอบสนองของน้ำ​ใน​มหาสมุทร​ ​ที่มีต่อการร้อนขึ้นของบรรยากาศ​ ​และ​อัตราการละลายของแผ่นน้ำ​แข็ง​ ​แถบขั้วโลก​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​ ​การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ของแต่ละท้องถิ่น​ ​จะ​แตกต่าง​กัน​มาก​ ​จาก​การประมาณค่า​เฉลี่ยของโลก​ ​เนื่อง​จาก​การขยับเลื่อนไป​ ​ของกระ​แสน้ำ​และ​ลมค้า​ ​ที่อาจเกิด​เป็น​แรง​ ​ทำ​ให้​ปริมาตรของน้ำ​เพิ่มมากขึ้น​ ​ตามชายฝั่ง​ได้

อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลที่มีต่อระบบนิ​เวศ


พื้นที่ชายฝั่ง​เป็น​ผล​จาก​การเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์​ซึ่ง​กัน​และ​กัน​ระหว่างแผ่นดิน​และ​ ​น่านน้ำ​ ​จะ​แตกต่าง​กัน​ไป​ ​ตามโครงสร้างทางแร่ธาตุ​ ​และ​ความ​สูงต่ำ​ของแผ่นดินรอบ​ ​ๆ​ ​อัตราการตกตะกอน​ ​และ​การพังทลายที่​เกิด​จาก​กระ​แสน้ำ​ ​คลื่น​ ​น้ำ​ขึ้น​-​น้ำ​ลง​ ​และ​แม่น้ำ​ ​ความ​สัมพันธ์​ซึ่ง​กัน​และ​กัน​นี้​ ​จะ​ต้อง​นำ​เข้า​มาพิจารณา​ ​ใน​การสร้างแบบจำ​ลองผลกระทบ​ ​ของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่คาดหมาย​ได้​ ​ที่​จะ​มีต่อบริ​เวณชายฝั่ง​ ​การขยับเลื่อนไปของขอบเขต​ ​ระหว่างแผ่นดิน​และ​น่านน้ำ​ ​ตามการเพิ่มสูงขึ้น​ใน​แนวดิ่ง​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เลที่คาดหมาย​ได้​ ​ตามธรรมดา​แล้ว​จะ​ดูราว​กับ​ว่า​ ​ไม่​มีการเปลี่ยนแปลงเลย​ ​ซึ่ง​จะ​มอง​ไม่​เห็นผลกระทบที่ชัดเจน​ ​ลักษณะ​ความ​แตกต่าง​ ​และ​ความ​หลากหลายทางระบบนิ​เวศ​ ​ใน​บริ​เวณชายฝั่ง​ ​เช่น​ ​แนวปะการัง​ ​ป่าชายเลน​ ​และ​บึงน้ำ​เค็ม​ ​จะ​ต้อง​นำ​เข้า​มารวม​ ​ใน​แบบจำ​ลองการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ด้วย​ ​เพราะ​ว่าระบบนิ​เวศเหล่านี้​ ​ต่างสะท้อน​ให้​เห็น​ถึง​กระบวนการทางชีวะภูมิศาสตร์​ ​ที่มีผลกระทบต่อชายฝั่ง​ ​ด้วย​เหตุนี้​ ​จะ​เห็นว่าบริ​เวณชายฝั่งมีอิทธิพล​ ​ที่​เคลื่อนไหว​ได้​เกิดขึ้นภาย​ใน​ตัวเอง

ผลกระทบที่น่า​เป็น​ไป​ได้​มากที่สุดอย่างหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อบริ​เวณชายฝั่ง​ ​คือ​ ​การชะล้างพังทลาย​ ​บริ​เวณชายฝั่ง​จะ​เพิ่มมากขึ้น​ ​การชะล้างพังทลายชายฝั่งบางประการ​ ​ปรากฏชัดว่า​ ​เกิด​จาก​กระบวนการทางธรรมชาติ​ ​แต่​จะ​รุนแรงมากขึ้น​ ​จาก​กิจกรรมของมนุษย์​ ​เช่น​ ​การเคลื่อนย้ายของตะกอน​ ​การชะล้างพังทลายชายฝั่ง​ ​ก่อ​ให้​เกิดผลที่ตามมาอย่างรุนแรง​ ​และ​นำ​ไปสู่การสูญเสียลักษณะการป้อง​กัน​ ​ทางธรรมชาติ​ ​เช่น​ ​เนินทราย​ ​และ​ป่าชายเลน​ ​ชายฝั่งของโลกประมาณ​ 20% ​เป็น​หาดทราย​ ​และ​ประมาณ​ 70% ​ของชายฝั่งเหล่านี้​ได้​หดหายไป​ใน​ระหว่าง​ 100 ​ปีที่ผ่านมา​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เลที่ตรวจวัด​ได้​ ​อาจ​เป็น​เพียงปัจจัยหนึ่ง​เท่า​นั้น​ ​ที่มี​ส่วน​ทำ​ให้​เกิดการ​ ​ชะล้างพังทลายชายฝั่ง​ ​แต่อย่างไรก็ตาม​ ​เป็น​ที่ชัดเจนว่า​ ​ระดับน้ำ​ทะ​เลที่​เพิ่มสูงขึ้น​ ​ทำ​ให้​เกิดการชะล้างพังทลาย​ ​ชายฝั่งเพิ่มขึ้น​ ​ใน​หลายพื้นที่​ ​โดย​เฉพาะอย่างยิ่ง​ ​ถ้า​สิ่งแวดล้อมของท้องที่​นั้น​ ​ๆ​ ​ถูกทำ​ลาย​หรือ​เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก่อน​แล้ว​ ​ซึ่ง​ยัง​มี​ความ​ต้อง​การการวิจัย​ใน​ด้านนี้อีกมาก​ ​เพื่อปรับปรุงแบบจำ​ลอง​ ​อิทธิพลของการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อชายฝั่งทะ​เลที่​เป็น​ทราย

นอก​จาก​นี้​ ​การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ยัง​มีผลกระทบทางลบ​ ​ต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ​ใน​บริ​เวณชายฝั่ง​ ​ได้​แก่​ ​หนองบึง​ ​ป่าชายเลน​ ​และ​แนวปะการังอีก​ด้วย​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่งเหล่านี้​ ​มีหน้าที่สำ​คัญมากมาย​ ​เช่น​ ​เป็น​แหล่งขยายพันธุ์​ ​และ​อนุบาลตัวอ่อนของปลา​ ​ด้วย​เหตุนี้​ ​จึง​ได้​รับการพิจารณาว่า​ ​เป็น​บริ​เวณ​ ​ที่มี​ความ​สำ​คัญทางเศรษฐกิจ​ ​เป็น​ตัวการกรองก๊าซไนโตรเจน​ ​และ​ฟอสฟอรัส​ ​และ​เป็น​ที่กักเก็บคาร์บอน​ ​ซึ่ง​เป็น​ตัวการส่งเสริม​ ​ให้​มนุษย์มีสุขภาพดี​ ​สิ่งแวดล้อมสะอาด​ ​หน้าที่ที่มี​ความ​หลากหลายนี้​ ​หมาย​ถึง​ว่า​ ​กลไกทางกายภาพ​ ​ชีวภาพ​และ​เคมี​ ​ของพื้นที่ชุ่มน้ำ​เหล่านี้​ ​อยู่​ใน​สภาพที่สมดุลย์อย่างละ​เอียดอ่อน​ ​เช่น​ ​กระบวนการที่สลับซับซ้อน​ ​ทำ​ให้​เกิดการตกตะกอน​ ​และ​จม​อยู่​ใต้​น้ำ​ได้​ ​ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อพื้นที่ชุ่มน้ำ​ ​จะ​แตกต่าง​กัน​ไป​ ​ขึ้น​กับ​ปัจจัยเฉพาะ​ ​เช่น​ ​ช่วงน้ำ​ขึ้น​-​น้ำ​ลง​ ​การตกตะกอน​ ​และ​การทำ​ลาย​โดย​ตรง​ ​ใน​หลายกรณีที่ผลกระทบทางลบ​ ​จะ​ได้​รับเพิ่มเติม​ ​จาก​กิจกรรมของมนุษย์​ ​เช่น​ ​บริ​เวณดินดอนสามเหลี่ยม​ ​ปากแม่น้ำ​มิสซิสซิปปี​ ​ใน​ประ​เทศสหรัฐอเมริกา​ ​ที่ระบบการตกตะกอน​ ​และ​ระบบน้ำ​จืด​ ​ซึ่ง​เป็น​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ใน​ท้องถิ่น​ ​ถูกรบกวน​จาก​การพัฒนาคลอง​ ​การผันน้ำ​ ​การสร้างกำ​แพงกั้นน้ำ​ ​และ​การสร้างเขื่อนป้อง​กัน​น้ำ​ท่วม​ ​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​จะ​ยิ่งทำ​อันตรายต่อระบบนิ​เวศเหล่านี้​ ​มากยิ่งขึ้นไปอีก

ประมาณว่าพื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่งที่มีคุณค่าทางนิ​เวศวิทยา​ ​และ​เศรษฐกิจ​ทั่ว​โลกมีมากกว่า​ 900,000 ​ตารางกิ​โลเมตร​ ​ถ้า​ระดับน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ 1 ​เมตร​ ​ใน​อีก​ 100 ​ปีข้างหน้า​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​เหล่านี้​ ​จะ​ได้​รับ​ความ​เสียหายมากกว่าครึ่ง​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่ง​ ​ที่​จะ​ได้​รับ​ความ​เสียหายอย่างรุนแรงมาก​ ​คือ​ ​ชายฝั่งทะ​เลเมดิ​เตอร์​เรเนียน​ ​ชายฝั่งสหรัฐอเมริกา​ ​ชายฝั่งด้านมหาสมุทรแอตแลนติก​ ​ใน​ทวีปแอฟริกา​ ​ชายฝั่งประ​เทศออสเตรเลีย​ ​และ​ปาปัวนิวกีนี​ ​และ​ชายฝั่งเอเชียตะวันออก​ ​แต่​เนื่อง​จาก​ปัจจุบันพื้นที่​ ​ชุ่มน้ำ​ชายฝั่ง​ใน​หลาย​ส่วน​ของโลก​ ​กำ​ลัง​ได้​รับการบำ​รุง​ ​ให้​กลับคืนสภาพเดิม​ ​จึง​ยัง​คง​ไม่​แน่นอนว่า​ ​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่งประ​เภท​ใด​บ้าง​ ​ที่​จะ​ยัง​คง​ได้​รับผลกระทบทางลบ​ ​จาก​การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล

โดย​ทั่ว​ไป​แล้ว​ ​แนวปะการัง​ซึ่ง​ถือว่า​อยู่​ใน​พื้นที่ชุ่มน้ำ​ชายฝั่งอย่างหนึ่ง​ ​มีหน้าที่ต่าง​ ​ๆ​ ​มากมาย​ ​และ​ส่วน​มากมี​ความ​สำ​คัญต่อการ​อยู่​รอด​ ​และ​การพัฒนาของมนุษย์​ ​เช่น​ ​เป็น​แนวป้อง​กัน​ ​ชายฝั่ง​ ​เป็น​ที่​อยู่​อาศัย​ ​และ​ขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต​ใน​ทะ​เล​ ​ยิ่งกว่า​นั้น​ ​ใน​ระบบนิ​เวศทางทะ​เล​ด้วย​กัน​ ​ระบบนิ​เวศแนวปะการัง​ ​มี​ความ​หลากหลายทางชีวภาพ​ ​สูงมากที่สุด​ ​เพราะ​ใน​พื้นที่ขนาด​เล็ก​ ​ๆ​ ​จะ​มีสิ่งมีชีวิต​ ​อาศัย​อยู่​รวม​กัน​ได้​มากมาย​ ​ศักยภาพอัตราการเจริญเติบโต​ ​ใน​แนวดิ่งของปะการัง​ ​ที่ประกอบ​ด้วย​สิ่งมีชีวิต​เล็ก​ ​ๆ​ ​ทั้ง​พืช​ ​และ​สัตว์​อยู่​ใน​ช่วงประมาณ​ 1-10 ​มิลลิ​เมตร​/​ปี​ ​ซึ่ง​จะ​เกิดขึ้นพร้อม​ ​ๆ​ ​กัน​กับ​การเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เลที่คาดหมาย​ไว้​ ​ทั้ง​นี้​อยู่​บนข้อสมมติฐานที่ว่า​ ​ไม่​มีปัจจัย​อื่น​ ​ๆ​ ​ที่​จะ​ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของปะการัง​ ​อย่างไรก็ตาม​ ​การจับปลามากเกินไป​ ​การทำ​เหมืองแร่​ ​ภาวะมลพิษ​และ​การตกตะกอน​ ​แน่นอนว่า​จะ​ส่งผลกระทบ​ ​ต่อระบบนิ​เวศแนวปะการัง​ ​อย่างต่อ​เนื่อง​มากที่สุด​ใน​โลก

ภาวะ​โลกร้อน​หรือ​การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ ​สามารถ​ทำ​ลายปะการัง​โดย​ตรง​ได้​ ​จาก​การทำ​ให้​เกิดรอยแตกของปะการัง​ (Coral Bleaching) ​เพิ่มมากขึ้น​ ​ช่วงเวลาสั้น​ ​ๆ​ ​ใน​ฤดูร้อนเพียงแต่อุณหภูมิน้ำ​ทะ​เลสูงขึ้น​ 1? ​ซ​. ​ก็​เพียงพอที่​จะ​ทำ​ให้​ปะการังเกิดรอยแตกขึ้น​ได้​แล้ว​ ​ดัง​นั้น​ ​ถ้า​อุณหภูมิสูงขึ้น​ 3-4? ​ซ​. ​ใน​ช่วงที่ยาวนานเกินกว่า​ 6 ​เดือนที่​จะ​เกิดขึ้น​ ​ตามการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ ​จะ​เป็น​สา​เหตุทำ​ให้​ปะการังเสียชีวิต​เป็น​บริ​เวณกว้าง​ ​ได้​มีการตรวจพบว่า​ ​รอยแตกของปะการังที่​เกิดขึ้น​ใน​ช่วง​ 2-3 ​ทศวรรษที่ผ่านมา​ ​ตรง​กับ​ภาวะการร้อนขึ้น​ ​ของน้ำ​ใน​มหาสมุทร​ทั่ว​โลก​ ​ถึง​แม้ว่า​จะ​มีปัจจัย​อื่น​ ​ๆ​ ​ร่วม​ด้วย​ก็ตาม​ ​การ​จะ​กลับคืนสู่สภาพเดิม​จาก​รอยแตก​ได้​ ​จะ​ต้อง​ใช้​เวลานาน​ ​ใน​แต่ละท้องที่การเกิดรอยแตก​ ​ใน​แนวปะการัง​จะ​แตกต่าง​กัน​ไป​ ​เช่น​ ​ใน​ประ​เทศอินโดนี​เซีย​ ​หมู่​เกาะกาลาปากอส​ ​และ​ทางตะวันออกของประ​เทศปานามา​ ​ระบบปะการังมีรอยแตก​ ​ที่รุนแรงมากตามการร้อนขึ้นของน้ำ​ใน​มหาสมุทร​ ​ระหว่างการเกิดปรากฏการณ์​ ​เอลนี​โญ​ ​ใน​ปี​ ​ค​.​ศ​. 1982-1983 ​และ​กลับคืนสู่สภาพเดิม​ได้​จน​ถึง​ปัจจุบันนี้น้อยมาก​ ​จะ​ต้อง​ใช้​เวลานานนับศตวรรษ​ ​จึง​จะ​ให้​คืนสภาพเดิม​ได้​อย่างสมบูรณ์​ ​นอก​จาก​นี้​ ​แนวปะการังอาจถูกทำ​ลาย​ ​จาก​การเพิ่มขึ้นของระดับรังสีอุลตรา​ไวโอเลต​ ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การลดลงของก๊าซโอโซน​ ​ใน​บรรยากาศชั้นสตรา​โตเฟียร์

จาก​การศึกษาที่ผ่านมา​ไม่​นานเกี่ยว​กับ​ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อเกาะ​ ​ที่​เกิด​จาก​หินปะการัง​ ​พบว่า​ ​ผลกระทบของการเพิ่มสูงขึ้น​ ​ของระดับน้ำ​ทะ​เล​ ​ที่มีต่อปะการัง​นั้น​ ​เป็น​ไป​ใน​ด้านที่ดีกว่า​จาก​การประ​เมินก่อนหน้านี้​ ​แม้กระ​นั้น​ ​แนวปะการังก็​ยัง​คงอ่อนไหวมาก​ ​ต่อ​ ​รูปแบบการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ​ ​ใน​ลักษณะนี้


มีต่อ....ครับ




 

Create Date : 08 พฤศจิกายน 2550    
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2550 18:00:49 น.
Counter : 2330 Pageviews.  

1  2  3  

granun
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add granun's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.