|
การวิเคราะห์องค์กร 7'S + PEST
บทที่ 4 ผลการศึกษา
1. ผลการวิเคราะห์องค์กร จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กรโดยใช้แนวคิด 7S และวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกโดยใช้แนวคิด E-PEST Model ได้ผลการศึกษาดังนี้
1.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ตารางที่ 1 แสดงการวิเคราะห์ปัจจัยภายในโดยใช้แนวคิด 7S Model ของ สสอ. พระประแดง องค์ประกอบการประเมิน จุดแข็ง จุดอ่อน Structure S1 โครงสร้างองค์กรชัดเจน บทบาทหน้าที่ชัดเจน เอื้อต่อการปฏิบัติงาน System S 2 มีการวางระบบการทำงานภายใน สสอ. ครอบคลุม ชัดเจน ทุกภารกิจ มีระบบการเงินงบประมาณและการติดตามที่เอื้อต่อการดำเนินงาน S 3 มีระบบการบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน (มี รพ. เอกชนร่วมดำเนินงานทำให้ประชาชนได้รับบริการทั่วถึง) W 1 การมีระบบบริหารจัดการเครือข่าย 3 รูปแบบ ทำให้ระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารไม่ครอบคลุมทุกภารกิจ ขาดการวิเคราะห์เชื่อมโยง ทำให้ไม่ทราบสถานการณ์ที่เป็นจริง เช่น สถานการณ์โรคระบาด วัณโรค W 2 ระบบการส่งต่อไม่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการของประชาชน
Style S 4 ผู้บริหารบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในรูปคณะกรรมการ มีการทำงานเป็นทีม S 5 ผู้บริหารมีภาวะผู้นำสูง Staff S 6 บุคลากรมีความคิดเชิงบวกในการทำงาน รักงาน รักองค์กร W 3 บุคลากรระดับปฏิบัติการยังไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติราชการ W 4 ระบบการประเมินบุคลากรเพื่อพิจารณาความดีความชอบเป็นการประเมินผลจากบนลงล่างทำให้บุคลากรไม่มีส่วนร่วมในการประเมินผลงานตนเอง
ตารางที่ 1 (ต่อ) องค์ประกอบ จุดแข็ง จุดอ่อน W 5 บุคลากร 4 สายงานหลักไม่เพียงพอ มีอัตราส่วนต่อประชากรไม่เป็นไปตามเกณฑ์ GIS และภาระงานทำให้มีภาระงานมาก ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการทำงาน W 6 บุคลากรอัตราจ้าง ขาดความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการย้ายงานบ่อย Skill S7 บุคลากรทุกระดับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการจัดอบรม ฟื้นฟูวิชาการทุกกลุ่มอาชีพ S8 มีทีมวิทยากรกระบวนการกลุ่มที่เอื้อต่อการดำเนินงานการดูแลสุขภาพในชุมชน Strategy S 9 สสอ. มีการจัดทำแผนกลยุทธ์โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน S 10 มีนวัตกรรมในการทำงานเชิงรุกในชุมชน เช่น การบูรณาการ 3 อ 6 อ ร่วมกับงานคุณธรรมจริยธรรม S11 PCU ทุกแห่งมีมาตรฐานการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ HCA Share values S 12 มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี มีค่านิยมร่วมขององค์กรชัดเจน เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม
1.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ตารางที่ 2 แสดงการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกโดยใช้แนวคิด E-PEST Model ของ สสอ. พระประแดง องค์ประกอบการประเมิน โอกาส คุกคาม Policy O1 มีนโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้เอื้อต่อการทำงานโดยเฉพาะการจัดการด้านงบประมาณ O 2 มีกฎหมายที่เอื้อต่อการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ เช่น พรบ. บุหรี่ สุรา O 3 นโยบายการกระจายอำนาจทำให้ อปท .ให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณสุข T 1 การเมืองท้องถิ่นแทรกแซงแกนนำที่ทำงานในชุมชน เช่น อสม. ทำให้มีปัญหาการประสานงานเพื่อดำเนินงานร่วมกัน T 2 นโยบายการลดอัตรากำลังคนภาคราชการทำให้มีบุคลากรน้อย ทำให้มีภาระงานหนัก ตารางที่ 2 (ต่อ) องค์ประกอบ โอกาส คุกคาม Economic O 4 รายได้ต่อหัวประชากรสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศทำให้ประชาชนแสวงหาการบริการที่ง่าย สะดวก และมีคุณภาพ T 3 การมีรายได้ดีทำให้ประชาชนไม่สนใจสร้างสุขภาพ เน้นการซ่อมสุขภาพมากกว่าสร้างสุขภาพ T 4 รายได้สูงทำให้ต้องการการบริการที่มีมาตรฐานสูง T 5 สังคมอุตสาหกรรม ประชาชนทำงานผลัดเปลี่ยนเวรตลอด 24 ชม. ทำให้มีปัญหาการทำงานเชิงรุกในชุมชน Social O 5 มีการบูรณาการการแก้ปัญหาของพื้นที่ของทุกภาคส่วนราชการ O 6 มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเป็นศูนย์รวมการรวมกลุ่มของประชาชน O 7 มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ เช่น นวดแผนไทย เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน O 8 มีเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน/ภาคเอกชนในการสนับสนุนการทำงานการดูแลสุขภาพประชาชน (โรงพยาบาลเอกชน โรงไฟฟ้า อสม. กสค.) T 6 ประชากรแฝง ทำให้มีปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้เพิ่มภาระงานให้กับบุคลากร T 7 สังคมเมือง ทำให้มีข้อจำกัดในการทำงานเชิงรุกในชุมชน T 8 มีชุมชนแออัด ทำให้มีปัญหาในการควบคุมโรคและปัญหายาเสพติด
Environment O 9 มีสวนสุขภาพที่ร่มรื่นและสวนสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน T 9 โรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางทำให้เกิดมลพิษทางน้ำและทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ T 10 สภาพภูมิศาสตร์มีแม่น้ำไหลผ่าน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดระบบบริการและการเข้าถึงบริการของประชาชน T11 พื้นที่ติดแม่น้ำ มีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ เป็นแหล่งก่อให้เกิดโรค T12 มีปัญหาขยะตกค้างเนื่องจากมีจำนวนประชากรหนาแน่น เป็นแหล่งก่อโรค Technology O 10 มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดูแลสุขภาพ เช่น internet หอกระจายข่าวไร้สาย T 13 มีร้าน internet คาเฟ่ ร้านเกมส์ ทำให้เด็กติดเกมส์ ส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพเด็ก 2. การกำหนดกลยุทธ์ ตารางที่ 3 แสดงการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน โดยใช้หลักการ Internal Factor Evaluation (IFE) Matrix ของ สสอ. พระประแดง ด้านปัจจัยภายใน(S-W) น้ำหนัก (Weight) การประเมิน (Rating) คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Score) S 1 โครงสร้างองค์กรชัดเจน บทบาทหน้าที่ชัดเจน เอื้อต่อการปฏิบัติงาน 2 4 8 S 2 มีการวางระบบการทำงานภายใน สสอ. ชัดเจน ครอบคลุมทุกภารกิจ มีระบบการเงินงบประมาณและการติดตามที่เอื้อต่อการดำเนินงาน 3 4 12 S 3 มีระบบการบริหารจัดการเครือข่ายบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน (มี รพ. เอกชนร่วมดำเนินงานทำให้ประชาชนได้รับบริการทั่วถึง) 4 5 20 S 4 ผู้บริหารบริหารงานแบบมีส่วนร่วมในรูปคณะกรรมการ มีการทำงานเป็นทีม 5 5 25 S 5 ผู้บริหารมีภาวะผู้นำสูง 4 4 16 S 6 บุคลากรมีความคิดเชิงบวกในการทำงาน รักงาน รักองค์กร 7 5 35 S 7 บุคลากรทุกระดับมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการจัดอบรม ฟื้นฟูวิชาการทุกกลุ่มอาชีพ 4 4 16 S 8 มีทีมวิทยากรกระบวนการกลุ่มที่เอื้อต่อการดำเนินงานการดูแลสุขภาพในชุมชน 4 5 20 S 9 สสอ. มีการจัดทำกลยุทธ์โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 5 4 20 S 10 มีนวัตกรรมในการทำงานเชิงรุกในชุมชน เช่น การบูรณาการ 3 อ 6 อ ร่วมกับงานคุณธรรมจริยธรรม 5 5 25 S 11 PCU ทุกแห่งมีมาตรฐานการดำเนินงาน ผ่านเกณฑ์ HCA 4 4 16 S 12 มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี มีค่านิยมร่วมขององค์กรชัดเจน เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม 3 5 15 รวม 50 228
ตารางที่ 3 (ต่อ) ด้านปัจจัยภายใน(S-W) น้ำหนัก (Weight) การประเมิน (Rating) คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Score) W 1 การมีระบบการบริหารจัดการเครือข่าย 3 รูปแบบ ทำให้ระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารไม่ครอบคลุมทุกภารกิจ ขาดการวิเคราะห์ เชื่อมโยง ทำให้ไม่ทราบสถานการณ์ที่เป็นจริง เช่นสถานการณ์โรคระบาด วัณโรค 10 1 10 W 2 การจัดระบบการส่งต่อไม่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการของประชาชน 8 2 16 W 3 บุคลากรระดับปฏิบัติการไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติราชการ 6 4 24 W 4 ระบบการประเมินบุคลากรเพื่อพิจารณาความดีความชอบเป็นการประเมินผลจากบนลงล่าง ทำให้บุคลากรไม่มีส่วนร่วมในการประเมินผลงานตนเอง 8 3 24 W 5 บุคลากร 4 สายงานหลักไม่เพียงพอ มีอัตราส่วนต่อประชากรไม่เป็นไปตามเกณฑ์ GIS และภาระงานมาก ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการทำงาน 10 2 20 W 6 บุคลากรอัตราจ้าง ขาดความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการย้ายงานบ่อย 8 2 16 รวม 50 110
สำหรับการ วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ใช้หลักการ External Factor Evaluation (EFE) Matrix ซึ่งวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่สำคัญ (Critical External Factors) ทั้งโอกาสและอุปสรรค น้ำหนัก (Weight) เป็นการกำหนดช่วงน้ำหนักของแต่ละปัจจัยจาก 1 50 โดยที่ คะแนนน้ำหนักรวมของทุกปัจจัยมีค่าเท่ากับ 50 การประเมินค่า (Rating) ใช้เกณฑ์ 1 5 หมายถึง การประเมินระดับโอกาสและอุปสรรค โดยระดับคะแนนโอกาสมาก-ไปอุปสรรคมาก ให้คะแนน 5 4 3 2 1 คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Score) น้ำหนักของแต่ละปัจจัยที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับตัวแปร ค่ารวมของคะแนน เป็นคะแนนรวมจากคะแนนถ่วงน้ำหนักทั้งหมดของทุกตัวแปร โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตารางที่ 4 แสดงการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกโดยใช้หลักการExternal Factor Evaluation (EFE) Matrix สสอ. พระประแดง ด้านปัจจัยภายนอก (O-T) น้ำหนัก (Weight) การประเมิน (Rating) คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Score) O 1 มีนโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้เอื้อต่อการทำงาน โดยเฉพาะด้านการจัดการด้านงบประมาณ 7 4 28 O 2 มีกฎหมายที่เอื้อต่อการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ เช่น พรบ. บุหรี่ สุรา 4 3 12 O 3 นโยบายการกระจายอำนาจทำให้ อปท. ให้การสนับสนุนการดำเนินงานด้านสาธารณสุข 3 4 12 O 4 รายได้ต่อหัวประชากรสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศทำให้ประชาชนมีอำนาจในการแสวงหาการบริการที่ง่าย สะดวก มีคุณภาพ 3 2 6 O 5 มีการบูรณาการการแก้ปัญหาของพื้นที่จากทุกภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 9 4 36 O 6 มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเป็นศูนย์รวมการรวมกลุ่มของประชาชน 3 2 6 O 7 มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ เช่น นวดแผนไทย ที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน 3 2 6 O 8 มีเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน/ภาคเอกชน ในการสนับสนุนการทำงานการดูแลสุขภาพประชาชน (โรงพยาบาลเอกชน โรงไฟฟ้า อสม. กสค.) 11 4 44 O 9 มีสวนสุขภาพและสวนสาธารณะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน 3 3 9 O 10 มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดูแลสุขภาพ เช่น internet หอกระจายข่าวไร้สาย 4 3 12 รวม 50 171 T 1 การเมืองท้องถิ่นแทรกแซงแกนนำที่ทำงานในชุมชน เช่น อสม. ทำให้มีปัญหาการประสานงานเพื่อดำเนินงานร่วมกัน 2 4 8 T 2 นโยบายการลดอัตรากำลังคนภาคราชการทำให้มีบุคลากรน้อย ทำให้มีภาระงานหนัก 3 1 3 T 3 รายได้สูงทำให้ประชาชนไม่สนใจสร้างสุขภาพ เน้นการซ่อมสุขภาพมากกว่าสร้างสุขภาพ 5 2 10 ตารางที่ 4 (ต่อ) ด้านปัจจัยภายนอก (O-T) น้ำหนัก (Weight) การประเมิน (Rating) คะแนนถ่วงน้ำหนัก (Weighted Score) T 4 รายได้สูงทำให้ประชาชนมีความต้องการการบริการที่มีมาตรฐานสูง 2 4 8 T 5 สังคมอุตสาหกรรม ประชาชนทำงานผลัดเปลี่ยนเวรตลอด 24 ชม. ทำให้มีปัญหาการทำงานเชิงรุกในชุมชน 4 2 8 T 6 ประชากรแฝง ทำให้มีปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้เพิ่มภาระงานให้กับบุคลากร 9 1 9 T 7 สังคมเมือง ทำให้มีข้อจำกัดในการทำงานเชิงรุกในชุมชน 6 2 12 T 8 มีชุมชนแออัด ทำให้มีปัญหาในการควบคุมโรคและปัญหายาเสพติด 6 2 12 T 9 โรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางทำให้เกิดมลพิษทางน้ำและทางอากาศส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ 5 1 5 T 10 สภาพภูมิศาสตร์มีแม่น้ำไหลผ่าน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดระบบบริการและการเข้าถึงบริการของประชาชน 1 3 3 T 11 พื้นที่ติดแม่น้ำ มีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ เป็นแหล่งก่อโรค 1 4 4 T12 มีปัญหาขยะตกค้างเนื่องจากมีจำนวนประชากรหนาแน่นทำให้เป็นแหล่งก่อโรค 5 2 10 T13 มีร้าน internet คาเฟ่ ร้านเกมส์ ทำให้เด็กติดเกมส์ ส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพเด็ก 1 4 4 รวม 50 96
ตารางที่ 5 แสดงผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร Strength Weaknesse S+W S+W/100 228 110 338 3.38
ตารางที่ 6 แสดงผลการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก Opportunities Threats O+T O+T/100 171 96 267 2.67 กราฟแสดง TOWS Matrix
5 1 3.38
2.67
1 หมายถึง : สถานการณ์ภายในองค์กร เป็น จุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน และสิ่งแวดล้อมภายนอก มีสถานะเป็น อุปสรรคมากกว่าโอกาส
ตารางที่ 7 SWOT/TOWS (Matrix) ปัจจัยภายใน Internal Factor
ปัจจัยภายนอก External Factor จุดแข็ง Strenght S 1 โครงสร้างองค์กรชัดเจน S 2 ระบบการทำงานภายใน สสอ. ชัดเจน S 3 มีระบบการบริหารจัดการเครือข่ายสอดคล้องกับบริบทของชุมชน S 4 ผู้บริหารบริหารงานแบบมีส่วนร่วม S 5 ผู้บริหารมีภาวะผู้นำสูง S 6 บุคลากรมีความคิดเชิงบวกในการทำงาน S 7 บุคลากรทุกระดับมีการพัฒนาตนเอง S 8 มีทีมวิทยากรกระบวนการกลุ่ม S 9 จัดทำกลยุทธ์โดยการมีส่วนร่วม S 10 มีนวัตกรรมในการทำงานเชิงรุก S 11 PCU ทุกแห่งมีมาตรฐานการดำเนินงานตาม HCA. S 12 มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี จุดอ่อน Weakness W 1 ระบบการจัดการข้อมูลข่าวสารไม่ครอบคลุมทุกภารกิจ W 2 การจัดระบบการส่งต่อไม่เอื้อต่อการเข้าถึงบริการของประชาชน W 3 บุคลากรไม่มีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ประเมินผลการปฏิบัติงาน W 4 ระบบการประเมินบุคลากรเป็นการประเมินผลจากบนลงล่าง W 5 บุคลากร 4 สายงานหลักไม่เพียงพอ โอกาส O1 นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า O2 กฎหมายที่เอื้อต่อการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ O3 นโยบายการกระจายอำนาจ O4 รายได้ต่อหัวประชากรสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ O5 มีการบูรณาการ การแก้ปัญหาของพื้นที่จากทุกภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง O6 มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามเป็นศูนย์รวมการรวมกลุ่มของประชาชน O7 มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน O8 มีเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน/ภาคเอกชน ในการสนับสนุนการทำงานการดูแลสุขภาพประชาชน O 9 มีสวนสุขภาพ / สวนสาธารณะที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน O 10 มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย กลยุทธ์ SO 1. เสริมสร้างศักยภาพการจัดระบบบริการของเครือข่ายสุขภาพ (S1, S3, S4, S8 , S10, O1, O2, O3, O4, O10) 2. สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการเครือข่ายสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน(S2, S4, S9, S11, O5, O8) กลยุทธ์ WO 1. พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร (W1, W10) 2. พัฒนาระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล (W3, W4)
ภาวะคุกคาม กลยุทธ์ ST กลยุทธ์ WT T 1 การเมืองท้องถิ่นแทรกแซงแกนนำ ในชุมชนทำให้ยากต่อการประสานงาน T 2 นโยบายการลดอัตรากำลังคนภาคราชการทำให้ภาระงานมาก T 3 รายได้สูงทำให้ประชาชนไม่สนใจการสร้างเสริมสุขภาพ T 4 รายได้สูงทำให้ประชาชนมีความต้องการการบริการที่มีมาตรฐานสูง T 5 สังคมอุตสาหกรรม ประชาชนทำงานผลัดเปลี่ยนเวรตลอด 24 ชม. ทำให้มีปัญหาการทำงานเชิงรุกในชุมชน T 6 ประชากรแฝงมาก ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ทำให้เพิ่มภาระการทำงานกับบุคลากร T 7 สังคมเมือง ทำให้มีข้อจำกัดในการทำงานเชิงรุกในชุมชน T 8 มีชุมชนแออัด ทำให้มีปัญหาในการควบคุมโรคและปัญหายาเสพติด T 9 โรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางก่อ ให้เกิดมลพิษทางน้ำและทางอากาศส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ T 10 สภาพภูมิศาสตร์มีแม่น้ำไหลผ่ากลาง พื้นที่ทำให้ยากต่อการจัดบริการ T 11 พื้นที่ติดแม่น้ำ มีน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ทำให้เป็นแหล่งก่อโรค T12 ปัญหาขยะตกค้างจากการมีประชากรหนาแน่นทำให้เป็นแหล่งก่อโรค T13 มีร้าน internet คาเฟ่ ร้านเกมส์ ทำให้เด็กติดเกมส์ ส่งผลต่อพัฒนาการและสุขภาพเด็ก พัฒนาเครือข่ายการดูแลสุขภาพ (S8, S9, T5, T6, T 8. T 9, T 11, T12, T 13) ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเน้นการให้บริการสุขภาพเชิงรุก (W2, T3, T5, T6, T7)
วิสัยทัศน์ระบบสุขภาพ อำเภอพระประแดง บริการดี มีมาตรฐาน ประสานงานร่วมองค์กร บุคลากรมีคุณภาพ สร้างสุขภาพดีด้วยชุมชน พัฒนาคนพระประแดงแข็งแรงแบบยั่งยืน พันธกิจตามกฎหมายของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพระประแดง 1. จัดทำยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่อำเภอ 2. ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับสาธารณสุขในอำเภอ 3. กำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีอนามัยในสังกัด 4. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีอนามัย พันธกิจตามวิสัยทัศน์ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพระประแดง 1. จัดทำยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพในเขตพื้นที่อำเภอ 2. ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับสาธารณสุขในอำเภอ 3. กำกับ ดูแล ประเมินผล และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีอนามัยในสังกัด 4. ปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีอนามัย 5. ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาวิชาการ บุคลากร คุณภาพบริการ 6. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคีสุขภาพให้เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพ ค่านิยมร่วมของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพระประแดง สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณภาพ วัฒนธรรมองค์กร ไปลามาไหว้ ย ว ท ยิ้ม ไหว้ ทักทาย ประเด็นยุทธศาสตร์ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอพระประแดง 1. การพัฒนาระบบบริหารจัดการสุขภาพ 2. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 3. การส่งเสริมการดูแลตนเองของประชาชน 4. การพัฒนาภาคีสุขภาพให้มีความเข้มแข็ง เป้าประสงค์ 1. ประชาชนอำเภอพระประแดงมีสุขภาวะที่ดี 2. เครือข่ายภาคีสุขภาพมีความเข้มแข็ง
Create Date : 17 กันยายน 2552 |
Last Update : 18 กันยายน 2552 13:06:31 น. |
|
9 comments
|
Counter : 4784 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ปรีชา IP: 203.158.4.65 วันที่: 26 มีนาคม 2553 เวลา:14:33:46 น. |
|
|
|
โดย: เชิดชาย IP: 125.26.68.197 วันที่: 27 กันยายน 2553 เวลา:5:39:09 น. |
|
|
|
โดย: ชัชวาล IP: 61.19.66.239 วันที่: 2 ตุลาคม 2553 เวลา:19:30:03 น. |
|
|
|
โดย: ลำไพร IP: 1.46.16.214 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:09:58 น. |
|
|
|
โดย: วิไลลักษณ์ IP: 125.26.240.7 วันที่: 15 ธันวาคม 2553 เวลา:0:30:15 น. |
|
|
|
โดย: พรรณวดี IP: 1.46.80.5 วันที่: 18 ธันวาคม 2553 เวลา:15:41:51 น. |
|
|
|
โดย: เจต IP: 110.164.147.131 วันที่: 28 ธันวาคม 2553 เวลา:13:46:46 น. |
|
|
|
โดย: สุขฤทัย IP: 125.25.208.27 วันที่: 4 มกราคม 2554 เวลา:11:40:52 น. |
|
|
|
โดย: แอร์ IP: 125.24.15.91 วันที่: 23 มกราคม 2554 เวลา:14:53:18 น. |
|
|
|
| |
|
|