|
เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์กับเจ้านายและลูกน้อง
การสร้างความสัมพันธ์กับเจ้านาย ง่ายๆ............ 1.ไม่ควรรบกวนผู้บังคับบัญชาในเรื่องเล็กๆน้อยๆ 2.ห้ามนินทาเจ้านาย 3.ทำงานให้ดี ประจบเจ้านายด้วยผลงาน 4.นำความคิดของนายมาทำให้ประสบผลสำเร็จ 5.หาโอกาสเข้าพบนายบ้าง แม้อาจฝืนความรู้สึก 6.อย่าบ่นถึงความยากลำบากในการทำงาน การสร้างความสัมพันธ์กับลูกน้อง ยากๆ.....ดังนี้ 1.สั่งงานให้ชัดเจนอาจต้องบันทึก 2.ยกย่องชมเชยต่อหน้าสาธารณชน 3.ตำหนิเบาๆตัวต่อตัว 4.จัดประชุมบ้าง 5.ถ้าความคิดของลูกน้องผิดให้รับไว้ก่อน 6.สนใจความก้าวหน้าของลูกน้อง 7.ห้ามลำเอียง อย่ามีคนโปรด
Create Date : 30 กันยายน 2553 | | |
Last Update : 30 กันยายน 2553 10:31:45 น. |
Counter : 958 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
เคล็ดลับ 10 วิธี ระงับอารมณ์ร้อน
1. นับหนึ่งให้ถึงสิบ
เริ่มจากวิธีพื้นฐานอย่างนับเลขในใจ เวลาที่เราโกรธใครให้ลองนับหนึ่งถึงสิบ หรือจะนับถึงร้อยถึงพันก็คงไม่มีใครว่า เพราะการนับเลขจะส่งผลให้เรามีสมาธิ และยังได้มีเวลาไตร่ตรองคิดถึงสิ่งที่ผู้อื่นทำกับเรา และสิ่งที่เรากำลังคิดจะทำด้วย
2. ปล่อยวาง ไม่ยึดติด
ปัญหาที่เกิดขึ้นนทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะคนเรามีอัตตามากเกินไป หากเราลองเปลี่ยนความคิด ไม่ยึดติดกับตัวตน แล้วลองคิดว่าสุดท้ายวันหนึ่งเราก็ต้องแตกดับ และสลายไป วนเวียนเป็นวัฏจักรเช่นนี้เรื่อยไป เพราะฉะนั้นถ้าเรายอมรับกับวัฏจักรแห่งการเกิด-ดับนี้แล้ว ไม่ว่าเรื่องใดๆ ก็คงเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น
3. เข้าหูซ้ายทะลุหุขวา
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับ เพราะปกติแล้ว คำว่า "ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา" นั้นเขาใช้เปรียบเปรยคนที่ฟังอะไรแล้วไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ไม่รับความคิดใหม่ๆ เข้ามา แต่ตอนนี้ผมกำลังหมายถึง ถ้าเป็นเรื่องไม่เป็นเรื่องแล้ว การฟังแบบเข้าหูซ้ายทะลุหูขวานั้นนับเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้เราไม่ใส่ใจกับสิ่งที่ใครกล่าวมา
4. คิดมากไปหรือเปล่า
อาการคิดมากเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเครียดได้ ยิ่งอากาศร้อนๆ ยิ่งเหตุการณ์อะไรๆ ก็ไม่เป็นใจด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ร้อนรน เมื่อเกิดเรื่องก็จะยิ่งเก็บมาคิด จนไม่เป็นอันกินอันนอน ลองเปลี่ยนจากความคิดเรื่องแย่ ๆ เปลี่ยนเป็นคิดเรื่องดีๆ บ้างสิครับ เพราะความคิดนั้นเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของเรา ไม่เชื่อลองทำดู คิดดี ทำดี เท่านี้พอ
5. ฝึกสมาธิ
การฝึกสมาธิให้ใจสงบนั้นมีหลายรูปแบบ จะนั่งสมาธิหรือเดินสมาธิก็ได้ อย่างที่ผมเคยเขียนในเล่มก่อนๆ ว่าเมื่อมีสมาธิก็มีสติ เมื่อมีสติก็เกิดปัญญา เวลาเกิดปัญหาก็จะมีทางแก้ไข
6. รู้เขารู้เรา
บางครั้งแค่เราลองมองใส่ใจนิสัยของคนรอบข้างบ้าง ก็สามารถที่จะทำให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างไม่ยากเย็น แต่เราจะต้องรู้จักระงับสติอารมณ์ของเราด้วย เพราะเมื่อเราทราบแล้วว่าเขาเป็นคนแบบนี้ หากเรารับนิสัยเขาไม่ได้ ก็ให้อยู่ห่างๆ เข้าไว้เป็นดีที่สุด จะได้ไม่ต้องมีเรื่องมีราวกัน
7. ขอโทษ คำนี้พูดได้ตาย
หากเราทำผิด การใช้คำว่าขอโทษนั้นถือเป็นเรื่องธรรมดาที่สุด ไม่ใช่เรื่องยากเลย ถ้าเราจะต้องเอ่ยคำขอโทษ เพราะคำๆ นี้ไม่ได้ทำให้ศักดิ์ศรีของเราตกต่ำลงหากแต่เป็นการรู้จักยอมรับในสิ่งที่ตน เองผิดต่างหาก อีกทั้งยังจะทำให้สถานการณ์ที่เลวร้ายคลี่คลายลงได้อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรใช้คำขอโทษอย่างพร่ำเพรื่อเพราะจะทำให้ติดเป็นนิสัยที่ไม่ดี ทำอะไรก็ไม่ระมัดระวัง
8. ยิ้มแห่งสยาม
รอยยิ้มสร้างโลกนี้ให้สดใสได้ เหมือนดังคำที่บอกว่า "ถ้าคุณยิ้ม โลกก็จะยิ้มให้คุณ" เพียงแค่คุณไปไหนแล้วมีแต่รอยยิ้มให้คนรอบข้าง คนรอบข้างก็จะอารมณ์ดีขึ้นไปด้วย
9. หายใจเข้า-ออกลึกๆ
การหายใจเข้าออกลึกๆ นานๆ จะทำให้เราได้มีสติยั้งคิดถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น และทำให้ร่างกายเราได้รับการผ่อนคลายจากลมหายใจที่รับเข้าและส่งออก ดังนั้นก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไปในช่วงเวลาที่มีอารมณ์โกรธ ลองหายใจลึกๆ เข้า ออก อย่างช้าๆ จะช่วยให้สถานการณ์รอบข้างดีขึ้น
10. ไม่หนีแต่ไม่ประทะ
หากเราไม่สามารถจะทำอะไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้ แต่จะเก็บเอาไว้ก็กลัวจะกลายเป็นคนเก็บกดจะเดินหนีก็จะกลายเป็นคนไม่ยอมรับ ความจริง หากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ คงต้องใช้สติที่รอบคอบตัดสินใจในการแก้ปัญหา รับฟังสิ่งที่ผู้อื่นว่ามา แล้วก็นำไปปรับปรุงในส่วนที่ไม่ดี หากแต่เป็นสิ่งที่เขาพูดพร่ำเพรื่อก็ไม่ต้องกังวลให้เสียเวลา เลิกคิดไปเลย ไม่จำเป็นต้องไปต่อปากต่อคำด้วย เพราะการทำเช่นนั้น ไม่ได้ส่งผลดีอะไรขึ้นมาเลย
Create Date : 16 มีนาคม 2553 | | |
Last Update : 16 มีนาคม 2553 14:02:49 น. |
Counter : 593 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
5 เคล็ดลับทำใจให้เป็นกลาง
เรื่องทำใจให้เป็นกลาง อาจดูเหมือนพูดง่ายแต่ทำยาก เพราะแต่ละคนย่อมมีพื้นฐานที่ต่างกัน มีประสบการณ์การรับรู้ที่ต่างกัน และที่สำคัญ ทุกคนก็ยังอยู่ในกลุ่มผลประโยชน์ ไม่ในสถานการณ์ใดก็สถานการณ์หนึ่ง แต่มิได้หมายความว่าฝึกไม่ได้ ทุกอย่างอยู่ที่ใจ หากเราควบคุมจิตใจตนเองได้ก็นับได้ว่าชนะไปมากกว่าครึ่ง และนี่คือเคล็ดลับ 5 ประการ ที่จะฝึกทำใจให้เป็นกลาง
1. อย่ามองตัวเองเป็นศูนย์กลาง นี่คือเคล็ดลับสำคัญที่สุด เพราะถ้ามองปัญหาต่างๆ จากมุมมองฝ่ายเดียว ใจย่อมไม่เป็นกลาง เพราะเราจะไม่มอง ไม่พยายามเข้าใจเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัดของผู้อื่น
2. เอาใจเขามาใส่ใจเรา เพื่อให้เรามองเห็นภาพแบบองค์รวม ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย ความหมายก็คือ ต้องลองคิดดูว่าถ้าเราเป็นเขา อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบเขา มีข้อจำกัดแบบเขา เราจะคิดตัดสินใจเช่นไร
3. มองอย่างเจาะลึกหลายชั้น อย่าเอาอาการมาเป็นสาเหตุ บ่อยครั้งที่ปัญหาความขัดแย้งไม่อาจแก้ไขได้ เพราะมองตื้นเขินเกินไป เอาอาการมาเป็นสาเหตุ จึงควรมองอย่างเจาะลึกเพื่อค้นหาเหตุที่แท้จริง จะได้แก้ไขตรงจุด ถูกประเด็น
4. มองไปที่อนาคตเพื่อ "อยู่" ไม่ใช่ "แยก" เพราะการมองเช่นนี้เพื่อให้ทุกฝ่ายยังคงดำรงอยู่ได้ มิใช่แก้ไขเพื่อให้ต้องตายกันไปข้างใดข้างหนึ่ง เป็นการมองทางออกในทัศนคติที่เป็นบวกต่อทุกฝ่าย
5. หาทางออกว่าจะทำอย่างไรให้ "อยู่ร่วมกัน" ต่อไปได้ การมีทัศนคติที่เป็นบวกยังไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้าย แต่ต้องหาข้อสรุปในทางเทคนิคหรือวิธีการที่สอดรับกับ "ใจที่เป็นกลาง" ด้วย ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาบ่อยครั้งก็มาพลาดท่าตรงนี้เอง เพราะผู้รับช่วงต่อใจยังไม่เป็นกลางพอ ยังคิดแบ่งพรรคแบ่งพวก เจ้าโกรธเจ้าแค้น
Create Date : 16 มีนาคม 2553 | | |
Last Update : 16 มีนาคม 2553 14:01:03 น. |
Counter : 502 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
ปลูกต้นไม้ตามปีเกิด
เสริมโชคชะตารับปีใหม่
สำหรับคนที่มีเนื้อที่บ้านน้อยหรืออยู่ตามคอนโด ซึ่งไม่สามารถปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ได้ สามารถนำแผ่นโปสเตอร์หรือแบบจำลองของต้นไม้ที่ถูกโฉลกมาวางไว้บริเวณทิศที่เหมาะสมของบ้านแทนกันได้ ขณะเดียวกันต้นไม้ที่มีหนามไม่ควรปลูกไว้หน้าบ้าน เพราะจะส่งผลเกี่ยวกับโชคลาภ
"ไม้มงคล จัดเป็นความเชื่อที่อยู่กับคนไทยมาช้านาน ในการปลูกต้นไม้ตระกูลนี้ไว้ในบ้านแล้วจะทำให้ครอบครัวเป็นสุขร่มเย็น สำหรับปีใหม่นี้การซื้อหา ไม้มงคลตามปีเกิด ย่อมทำให้เกิดความสุขกายสบายใจทั้งผู้ให้และผู้รับ ตลอดจน ยังช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ กับโลกใบนี้อีกด้วย คนไทยมีความเชื่อเรื่องแม่ซื้อที่เป็นเทวดาประจำตัวของเด็กหรือเทวดาที่มาเลี้ยงดูเด็ก เมื่อมีหลักคิดนี้เกิดขึ้นจึงต้องมีที่สิง สถิตของเทวดาประจำตัวของคนเกิดในแต่ละปี ซึ่งมาจากตำราพรหมชาติโบราณที่นำมาจากเขมรรวบรวมไว้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต้นไม้จึงมีความเกี่ยวพันกับคนเกิดแต่ละปีนักษัตร อ.คฑา ชินบัญชร นักพยากรณ์ไพ่ยิปซีและฮวงจุ้ย เล่าถึงที่มาของความเชื่อพร้อมเปิดประเด็นต้นไม้มงคลของคนแต่ละปี ปีชวด เชื่อกันว่า เทวดานางฟ้าประจำตัวสถิตอยู่ที่ ต้นกล้วย จึงควรปลูกต้นกล้วยและต้นไม้ที่มีผล ซึ่งมีลักษณะเป็นเมล็ด เช่น ถั่วต่าง ๆ และผลไม้ที่สามารถสุกแล้วรับประทานได้ อาทิ ส้ม, กล้วย ทิศที่เหมาะสมในการปลูกคือ ทิศเหนือหรือตะวันออก คนไทยเชื่อกันว่า ต้นไม้เป็นการนำพลังจากพื้นดิน เมื่อต้นไม้เติบโตขึ้นมาเป็นการนำเอาพลังชีวิตทั้งหมดของโลกขึ้นมาสู่พื้นดิน ขณะเดียวกัน ต้นไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ต้นที่มีหนามหรือต้นไม้ที่เป็นกอแล้วมีหนาม เช่น ต้นเต่าร้าง ปีฉลู เทวดานางฟ้าประจำอยู่ที่ต้นตาล ไม่นิยมปลูกในบ้าน แต่จะปลูกในสวน ไร่นา หากไม่มีพื้นที่ในการปลูกสามารถใส่บาตรด้วยขนมตาล ลูกตาล จาวตาล น้ำตาลสด หรือปลูกต้นไม้ที่ใบรับประทานได้ในบ้าน โดยไม่เป็นพิษ ตลอดจนตกแต่งต้นไม้ในบ้านให้มีพื้นที่โล่ง และมีมุมของพันธุ์ไม้ที่เป็นมุมในการตกแต่ง ซึ่ง ควรปลูกทางทิศใต้หรือทิศตะวันออก ปีขาล เชื่อว่าเทวดานางฟ้าสถิตอยู่ที่ต้นขนุน คนสมัยก่อนเชื่อว่า ต้นขนุนต้องปลูกหลังบ้าน แต่จริง ๆ แล้วต้องปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน ขณะเดียวกันอาจใส่บาตรด้วยเนื้อขนุน เม็ดขนุนต้ม ขณะเดียวกันถ้ามีเนื้อที่ในบ้านควรปลูกต้นไม้ที่มีกิ่งก้านสาขาแตกแขนง ออกไปมาก ๆ เช่น ต้นชัย พฤกษ์ ต้นมะม่วง เป็นต้น ปีเถาะ ควรปลูกมะพร้าว หรือผลไม้ตระกูลหมาก เช่น หมากผู้หมากเมีย หมากหอม ควรปลูกทางทิศเหนือ หรือตะวันออก ขณะเดียวกันควรปลูกต้นแสงจันทร์จะทำให้คนเกิดปีเถาะมีอารมณ์ดี ปรับอารมณ์ให้มีความสุข เมื่อเห็นต้นแสงจันทร์ซึ่งเป็นแสงสีนวลและใบนวลสวยเย็นตาจะนำความสงบ สมาธิ และสติมาให้คนเกิดปีเถาะ ต้นไม้ที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ไม้พุ่มเตี้ยที่มีหนามหรือใบที่มีหนามแหลมคม เช่น ต้นกระบองเพชร ว่านหางจระเข้ นอกจากนี้ควรปลูกดอกไม้ที่มีสีสันสวยงามมีลักษณะเป็นไม้เลื้อย เช่น แพรเซี่ยงไฮ้ คุณนายตื่นสาย โดยพื้นที่ปลูกควรมีลักษณะค่อนข้างโล่งและเป็นเนิน โดยเฉพาะเนินทางด้านทิศตะวันออกหรือซ้ายมือของบ้าน ปีมะโรง ควรปลูกต้นไผ่ ที่เป็นไม้มงคลของไทยและจีน เชื่อกันว่าไผ่ออกขึ้นมาเป็นกอ หมายถึงความสามัคคีของคนในบ้านที่รักใคร่กลมเกลียวกัน ไผ่เป็นไม้ที่โอนอ่อนตามลม หมายถึง ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความรักใคร่ปรองดองกันของคนใน ครอบครัว ถ้อยทีถ้อยอาศัย ไผ่คนจีนถือเป็นไม้กวาดสวรรค์ ปัดกวาดสิ่งชั่วร้ายและนำสิ่งดี ๆ เข้ามาสู่บ้านเป็นโชคลาภ และ ควรมีไม้ที่อยู่ในน้ำ หรือริมน้ำ เช่น พุทธรักษา ขณะเดียวกัน ควรขุดบ่อ เพื่อที่จะส่งผลให้คนเกิดปีมะโรงมีพลังชีวิตที่ดีควรปลูกทางทิศเหนือหรือตะวันออกของบ้าน ส่วนต้นไม้ที่ไม่ถูกโฉลก คือ ต้นไม้สูงใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากเกินไป และไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ที่บดบังไม่ให้ต้นไผ่สามารถเจริญเติบโตได้ ปีมะเส็ง เทวดาประจำตัวอยู่ที่ต้นโพธิ์ แต่ไม่นิยมปลูกในบ้าน จึงอาจปลูกพิกุลหรือพิกุลทองแทน ขณะเดียวกันสามารถแก้เคล็ดโดยนำดินปุ๋ยและน้ำไปรดที่ต้นโพธิ์ในวัด หรือมีโอกาสปลูกต้นโพธิ์ในวัดแทนกันได้ ซึ่งจะเป็นการดูแลทำนุบำรุงพระศาสนา ต้นไม้ที่ไม่ควรปลูกคือ ต้นไม้ที่มีใบหนา หยาบ คม เช่น ใบข่า ต้นจาก ตลอดจน ควรจัดสวนให้มีไม้พุ่มที่มีความงดงามของทรง เช่น เฟิน ต่าง ๆ ปีมะเมีย ควรปลูกต้นกล้วยและต้นไม้ที่มีผล มีลักษณะเป็นเมล็ดเช่น ถั่วต่างๆ และผลไม้ที่สามารถสุกแล้วรับประทานได้อาทิ ส้ม กล้วย ทิศที่เหมาะสมในการปลูกคือ ทิศเหนือหรือตะวันออก ขณะเดียวกันต้นไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ต้นที่มีหนามหรือต้นไม้ที่เป็นกอแล้วมีหนาม เช่น ต้นเต่าร้าง ปีมะแม ควรปลูกต้นไผ่ และควรมีไม้ที่อยู่ในน้ำหรือริมน้ำ เช่น พุทธรักษา ขณะเดียวกันควรขุดบ่อ เพื่อที่จะส่งผลให้มีพลังชีวิตที่ดี ควรปลูกทางทิศเหนือหรือตะวันออกของบ้าน ส่วนต้นไม้ที่ไม่ถูกโฉลกคือ ต้นไม้สูงใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากเกินไป และไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ที่บดบังไม่ให้ต้นไผ่สามารถเจริญเติบโตได้ ปีวอก ต้นขนุน ควรปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน สามารถใส่บาตรด้วยเนื้อขนุน เม็ดขนุนต้ม ขณะเดียวกันถ้ามีเนื้อที่ในบ้านเอื้ออำนวยควรปลูกต้นไม้ที่มีกิ่งก้านสาขาแตกแขนงออกไปมาก ๆ เช่น ต้นชัยพฤกษ์ ต้นมะม่วง เป็นต้น ปีระกา ควรปลูกต้นกุ่มหรือต้นฝ้าย หากปลูกต้นฝ้ายไม่ได้อาจบริจาคเสื้อผ้าให้เด็กยากจน คนยากไร้ หรือผ้าไตรแก่พระภิกษุสงฆ์ เพราะทำจากผลิตภัณฑ์ที่เกิดมาจากผ้าฝ้าย ควรปลูกทิศเหนือหรือทิศใต้ของบ้าน ต้นไม้ไม่ถูกโฉลกคือ ต้นที่มี กลิ่นฉุนเช่น โหระพา กะเพรา ตะไคร้ เป็นต้น ปีจอ ควรปลูกใบบัวบก หรือต้นสำโรง ถ้าหาไม่ได้ก็อาจใช้บัวหลวง ควรปลูกทางทิศเหนือหรือตะวันตก หรือบูชาพระด้วยดอกบัว ถ้ามีพื้นที่ควรทำสนามหญ้าทางทิศเหนือหรือตะวันออก จะส่งผลดีกับพลังชีวิต ต้นไม้ ที่ไม่เหมาะสมคือ ต้นไม้ที่มีดอกก้านหรือกิ่งที่มีหนาม เช่น ดอกกุหลาบ ดอกเฟื่องฟ้า ปีกุน เทวดานางฟ้าประจำตัวอยู่ที่กอบัว โดยเฉพาะบัวหลวง ซึ่งควรปลูกทางทิศเหนือและทิศตะวันตก ไม่ควรปลูกมะไฟ และอีกต้น คือ มะรุม เพราะชื่อบอกว่ามะรุมมะตุ้มจะมีเรื่องวุ่นวาย อ.คฑา ย้ำว่า สำหรับคนที่มีเนื้อที่บ้านน้อยหรืออยู่ตามคอนโดฯ ซึ่งไม่สามารถปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ได้ สามารถนำแผ่นโปสเตอร์หรือแบบจำลองของต้นไม้ที่ถูกโฉลกมาวางไว้บริเวณทิศที่เหมาะสมของบ้านแทนกันได้ ขณะเดียวกันต้นไม้ที่มีหนามไม่ควรปลูกไว้หน้าบ้านเพราะจะส่งผลเกี่ยวกับโชคลาภ ถ้าปลูกต้นไม้หน้าประตูบ้านบริเวณทางเข้าบ้านหรือหน้าประตูรั้ว ควรหลีกเลี่ยงการปลูกไม้ยืนต้นสูงเพียงต้นเดียว เพราะตามความเชื่อเรียกว่า ธูปก้านเดียวเอาไว้ไหว้ผี จะทำให้บ้านหลังนั้นไม่มีความเป็นมงคล ดังนั้นอย่าให้มีต้นไม้หนึ่งต้น เสาไฟ อยู่หน้าประตูบ้าน ส่วนไม้มงคลที่ควรปลูกคือ ทองหลาง แปลว่าจะมีทองเต็มบ้าน อ.คฑา กล่าว การปลูกต้นไม้ในบ้าน นอกจากได้บรรยากาศที่ร่มรื่น ยังสามารถนำพืชผลมาแจกจ่ายให้คนในบ้านและเพื่อนบ้านได้อีกด้วย.
ปลูกต้นไม้ 8 ทิศ สริมฮวงจุ้ย
ทิศเหนือ ปลูกมะตูม ทุเรียน หัวว่านต่าง ๆ เสริมในเรื่องบารมี ความก้าวหน้า ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปลูกทุเรียน ไม้ดอกสีสันสดใส แดงชมพูส้ม ดอกมะลิ หมายถึง ความสุข ร่มเย็น ทิศตะวันออก ปลูกต้นสารภีและมะพร้าว จะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีเรื่องทุกข์ใจ ต้นทับทิมหรือไม้ดอกสีแดงจะนำพลังที่ดีมาให้ และหมายถึงลูกหลานหรือบริวารที่ดี ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกต้นไผ่ ทำให้มีลาภยศ หรือการเลื่อนตำแหน่ง การ มีเกียรติยศ การปลูกต้นยอ หรือสารภี ก็เป็นมงคล ทิศใต้ ควรปลูกมะม่วง มะปราง หมายถึง ความรุ่งเรือง มั่งคั่ง ทรัพย์สิน ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ปลูกราชพฤกษ์ ต้นคูน ต้นขนุน ต้นพิกุล หรือต้นสะเดา จะไกลจากอบายมุขและสิ่งชั่วร้าย กันตนและลูกหลานไม่ให้ติดยาเสพติด มัวเมากับการพนัน ทิศตะวันตก ปลูกมะยม ความเชื่อของคนที่บอกว่ามะยมปลูกหน้าบ้านเป็นความเชื่อที่ผิด รวมไปถึงมะขาม ซึ่งมะยม ไม่ได้หมายถึง คนจะมานิยม แต่จะกันเสนียดจัญไร กันเรื่องของคดีความ กันเรื่องความอื้อฉาว และกันคนนำของเข้าบ้าน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะกรูด มะนาว ส้มโอ ส้มจี๊ด ส้มป่อย ดีในเรื่องของให้คนเอ็นดู รักใคร่ คนจะชอบพอเรา เพราะฉะนั้นถ้าเราปลูกแบบนี้ทั้งบ้าน บริเวณสวนรอบบ้าน แล้วจัดสวนให้สวยโดยมีไม้มงคลเหล่านี้เป็นหลัก ก็จะส่งผลให้ชีวิตเรามีความสุข ====ขอบคุณ เดลินิวส์วาไรตี้====
Create Date : 05 มกราคม 2553 | | |
Last Update : 5 มกราคม 2553 11:57:48 น. |
Counter : 497 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
สุนทรียสนทนา(Dialogue)
Dialogue หรือ สุนทรียสนทนา ฟังชื่อแล้วหลายท่านคงคิดถึงการพูดแบบมีศิลปะอะไรซักอย่าง แต่เมื่อได้เรียนรู้และทำความเข้าใจจริงๆแล้ว ไม่ใช่อย่างที่คิด เพราะสุนทรียสนทนา เน้นการฟังมากว่าพูด โดยอาจารย์มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร วิทยากรผู้เชี่ยวชาญเรื่องสุนทรียสนทนา ท่านได้พยายามอธิบายอย่างเข้าใจยากว่า สุนทรียสนทนา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ ฟัง ไตร่ตรอง ซักถาม และนำเสนอความคิด ทั้งนี้องค์ประกอบที่ต้องให้ความสำคัญและให้เวลามากที่สุด คือ ฟัง และต้องเป็นการฟังอย่างตั้งใจ ฟังให้ได้ยินที่ภาษาอังกฤษเขาใช้คำว่า Deep Listening โดยเทคนิคของการฟังแบบนี้ ต้องมีสมาธิตลอดระยะเวลาที่ฟัง วางชุดความรู้ของตัวเองที่เคยมีเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังฟังลง เปิดใจฟังอย่างเต็มที่ ฟังแล้วคิด ไตร่ตรอง ซักถาม จนเต็มอิ่มและตกผลึกเป็นชุดความรู้ใหม่ ที่อาจารย์ใช้คำว่า Reframe แล้ว จึงค่อยพูดให้คนอื่นฟัง ด้วยน้ำเสียงที่เรียบ แต่ทุกคำพูดเป็นคำพูดที่สร้างสรรค์ ไม่ขัดแย้งกับใคร ไม่สรุปว่าคำพูดของใครผิด ถูก ดี ไม่ดี แต่สรุปด้วยเวลาที่ตกลงกันไว้ก่อนที่จะเริ่มวงสุนทรียสนทนา ว่าประเด็นที่เราเปิดวงสุนทรียสนทนาครั้งนี้ เป็นเรื่องอะไร และจะใช้เวลานานเท่าไหร่ แต่ส่วนใหญ่ไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ ถ้ายังเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจ อาจเปิดวงสุนทรียสนทนาใหม่ได้ ไม่จำกัดครั้ง หรือ หากมีประเด็นที่ต้องการสรุป หรือตัดสินใจดำเนินการใดๆ อาจใช้วิธีพูดคุย หรือประชุมตกลงกันในแบบอื่นๆได้อีก ด้วยเหตุนี้เองเครื่องมือการพัฒนาองค์กรที่เรียกว่าสุนทรียสนทนานี้ จึงไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา หรือพัฒนาองค์กรในระยะสั้นๆ และไม่ควรคาดหวังผลในการดำเนินการ หากแต่ควรใช้เมื่อต้องการพัฒนาองค์กรในระยะยาว เพราะผลผลิตของสุนทรีนสนทนาจะค่อยๆปรากฎชัดขึ้นๆ จนกลายเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อดีที่น่าทึ่งอีกอย่าง ก็คือ เป็นการพัฒนาที่ไม่แยกงานออกจากคน แต่ทำไปพร้อมๆกัน โดยเชื่อว่าเมื่อคนพัฒนา งานและองค์กรจะพัฒนาตามเป็น Self Organize คือ องค์กรสามารถทำงานเองโดยอัตโนมัติ และพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ในที่สุด ข้าพเจ้า ได้อ่านทบทวนเรื่องเล่าทั้งหมดแล้ว เห็นเป็นนามธรรมอยู่มาก อาจเป็นการยากที่จะทำให้ผู้อ่านได้รู้จัก และเข้าใจสุนทรียสนทนาจนนำไปทดลองปฏิบัติ ในฐานะเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยให้เกิดการพัฒนาคนและองค์กรได้ ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงขอสอดแทรกข้อสรุปเกี่ยวกับ Dialogue หรือ สุนทรียสนทนา ไว้ท้ายเรื่องเล่า ให้ได้ทบทวน ทำความเข้าใจ ด้วยรูปธรรมที่จะทำให้เข้าใจได้ชัดเจนขึ้น ดังนี้ 1. สุนทรียสนทนา หมายถึง การสื่อสารภายในองค์กร ที่มีลักษณะของการเปิดประเด็นสนทนา โดยกลุ่มคน เกิดเป็นวงสนทนา ที่กำหนดกฎ กติกา มารยาทในการสนทนาไว้เพื่อสร้างกระบวนการคิดร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีบทสรุป เกิดการพัฒนากระบวนการคิด เพื่อสร้างความเข้าใจในระดับที่หยั่งลึก ทำให้มีการไหลของความหมายที่เรียกว่า Meaning Flow ตกผลึกจนเกิดเป็นชุดความรู้ใหม่ในตัวคนที่ลุ่มลึกกว่าชุดความรู้เดิมที่เคยมี 2. การที่วงสนทนาธรรมดาวงหนึ่ง จะกลายเป็นวงสุนทรียสนทนาได้ ต้องพิจารณาจากการเกิดการไหลของความหมาย หรือ Meaning Flow เป็นหลัก โดยการไหลของความหมาย คือ การที่ทุกคนพูดในประเด็นเดียวกัน ต่อเนื่องกัน จนเกิดความหมายที่ลึกซึ้ง และการจะเกิดการไหลของความหมายได้ มีเทคนิคอยู่ที่การใช้สมาธิในการฟังอย่างเต็มที่ ไม่กังวลและเตรียมคำพูดสำหรับตัวเอง เมื่อถึงคราวต้องนำเสนอความคิด และให้เชื่อมั่นว่า ทำแบบนี้แล้ว ถึงเวลาต้องนำเสนอ จะสามารถนำเสนอได้ และนำเสนอได้ดีด้วย หากทำสำเร็จ ผลพวงที่สำคัญ คือ สมาธิ ปัญญา และการบรรลุถึงการปล่อยวาง 3. กลุ่มคนที่เหมาะจะเข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา อยู่ระหว่าง 10-50 คน ถ้ากลุ่มใหญ่เกินไปอาจใช้เวลานานมาก กลุ่มเล็กเกินไป ในระยะแรกๆ ความหมายอาจไม่ลื่นไหล 4. หัวข้อ หรือประเด็นการเปิดวงสุนทรียสนทนา เลือกเรื่องอะไรก็ได้ ที่กลุ่มสนใจร่วมกัน กำหนดกว้างๆ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนที่กว้างขวาง และลึกลงไปในเรื่องที่ทุกคนสนใจได้มากเท่าที่จะมีการไหลของความหมายได้ ในเวลาที่กำหนด 5. หลักสำคัญของวงสุนทรียสนทนาที่ทุกคนต้องยึดถือร่วมกัน เป็นกติกาพื้นฐาน คือ - ไม่เปิดเสียงโทรศัพท์มือถือขณะอยู่ในวงสนทนา - ไม่มีจุดมุ่งหมายในการหาข้อสรุป หรือแก้ปัญหาเรื่องใด เรื่องหนึ่งร่วมกัน - เปิดโอกาสให้ทุกคนได้นำเสนอความคิดโดยเท่าเทียมกัน ในลักษณะของการเปิดพื้นที่ ให้มีที่ว่างสำหรับทุกคน - ไม่พูดนอกประเด็น พูดแทรกระหว่างคนอื่นพูดยังไม่จบ - ไม่ตัดสิน ไม่สรุป - ดำรงความเงียบไว้ได้ ตราบที่ทุกคนยังอยู่ในกระบวนการไตร่ตรอง และวางสมมุติฐานของตนเอง บทส่งท้าย ขอให้ทุกท่านเปิดใจรับสุนทรียสนทนา และเชื่อไว้ก่อนว่า... สุนทรียสนทนาจะทำให้คนรู้จัก และเห็นคุณค่าของการฟังกันมากขึ้น ช่วยลดปัญหา และความขัดแย้งในการพูดที่ไม่สร้างสรรค์ สร้างกระบวนการเรียนรู้หยั่งลึกร่วมกัน เกิดการกระตุ้น จนฟอร์มเป็นรูปร่างของการสนใจ ใฝ่รู้ พูดดี ฟังเป็น คิดสร้างสรรค์ แบ่งปันประสบการณ์ สานวัฒนธรรมองค์กร ย้อนสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ โดยยึดคนเป็นศูนย์กลาง แล้วลองฝึกปฏิบัติดูก่อน ถ้าไม่เป็นจริงตามสมมุติฐาน จะเลิกทำเมื่อไหร่ก็ได้ ง่ายจะตายไป.. อ้างอิง:รัตติยา จันทร์ฉวี
Create Date : 10 พฤศจิกายน 2552 | | |
Last Update : 10 พฤศจิกายน 2552 15:56:05 น. |
Counter : 15815 Pageviews. |
| |
|
|
|
|
| |
|
|