Group Blog
 
All blogs
 
ขาโก่ง...ปัญหาของสาวอยากสวย

ขาโก่ง...ปัญหาของสาวอยากสวย




     สาวๆ ที่มีปัญหาขาโก่ง มักมีปัญหากับการตามเทรนด์แฟชั่น นุ่งกางเกงก็เห็นขาโก่งชัดเจน นุ่งกระโปรงสั้นก็อวดขาโก่ง อีกแหละ ปัญหานี้คงมีบางคนที่คิดอยากแก้ไข แต่จะแก้ไขได้หรือไม่นั้นต้องสอบถาม นพ.กรกฎ พานิช ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ และเวชศาสตร์การกีฬา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะมาไขปัญหาให้คนขาโก่งหายข้องใจ ซึ่งคุณหมอกกรกฎอธิบายว่า "ขาโก่งในเด็ก และวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งมีทั้งขาโก่งแบบเป็นโรคและขาโก่งแบบธรรมชาติ"






ขาโก่งตามธรรมชาติ

     ขามักจะโก่งทั้งสองข้าง องศาของการโก่งไม่มากนัก และความโก่งของขาทั้งสองข้างใกล้เคียงกัน มักสังเกตเห็นตอนอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ต่อมาความโก่งจะเริ่มลดลงและรูปร่างเข่าจะดูปกติเมื่ออายุประมาณ 3 ขวบ สำหรับบางคนขาอาจจะโก่งตั้งแต่เด็กจนโตเป็นผู้ใหญ่แต่ไม่มีอาการผิดปกติ




ขาโก่งแบบเป็นโรค

     ในกรณีของเด็กเกิดจากการมีพยาธิสภาพของกระดูกบริเวณรอบหัวเข่า มักเป็นที่เข่าข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้โครงสร้างของเข่าทั้งสองข้างมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด หรืออาจเป็นทั้ง 2 ข้าง แต่มีองศาของความโก่งมากและทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกขาผิดปกติ อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้การเดินมีความผิดปกติ ส่วนผู้ใหญ่หรือคนสูงอายุเกิดจากการใช้งาน (ความเสื่อม) หรืออาจเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุบริเวณขา หรือเข่า




ขาโก่งรักษาได้ไหม

     การรักษาขาโก่งได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะการโก่ง ในเด็กแบ่งเป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มที่โก่งแบบเป็นโรคกับกลุ่มที่โก่งแบบธรรมชาติ

     กลุ่มที่โก่งแบบธรรมชาติ อาจจะรักษาด้วยการสังเกตอาการ และแก้ไขเมื่อมีองศาที่ผิดปกติมากเกินไป

     กลุ่มที่โก่งแบบเป็นโรค อาจจะรักษาด้วย การใช้อุปกรณ์ประคองเข่าในกรณีที่ความโก่งไม่มาก และอาจแก้ไขด้วยการผ่าตัดในกรณีที่มีความโก่งมากหรือมีอาการปวด




ขาโก่งกับคอสเมติก

     การรักษาขาโก่งเพื่อความสวยงามในผู้ใหญ่ (ในกรณีที่ไม่มีความเจ็บปวดจากการใช้ชีวิตประจำวัน) การผ่าตัดทำได้แต่ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะการผ่าตัดอาจเสี่ยงกับภาวะแทรกซ้อน (บางครั้งอาจอันตรายถึงชีวิต) ในเมืองไทยมีการผ่าตัดรักษาขาโก่งเพื่อความสวยงามไม่มากนัก แต่ในต่างประเทศมีการผ่าตัดรักษาขาโก่งเพื่อความสวยงามพอสมควร เช่น ประเทศรัสเซียและยูเครน ส่วนการผ่าตัดขาโก่งในคนไทยนั้น มักเป็นการรักษาคนสูงอายุหรือคนวัยกลางคนที่มีอาการขาโก่งจากการใช้งาน จากอุบัติเหตุ หรือจากการใช้ชีวิตประจำวัน จนส่งผลให้ขาโก่งและมีความเจ็บปวดร่วมด้วย ก็จะมีการผ่าตัดเพื่อแก้ปัญหาขาโก่ง พร้อมกับแก้ปัญหาความปวดด้วย




การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

     มักเน้นเรื่องการบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพื่อให้เนื้อช่วยประคองเข่า อาจไม่ได้ช่วยให้ขาหายโก่ง แต่อาจทำให้อาการปวดลดลง




แบบผ่าตัด

     ในกลุ่มที่ผิดรูปมากจนการลงน้ำหนักแล้วเสียสมดุลจนเกิดความปวด จะผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแนวแกนกระดูก ทั้งนี้การเปลี่ยนแนวแกนกระดูกจะทำให้ขาที่เคยโก่ง (เข่าห่าง) หลังผ่าตัดจะทำให้เข่าชิดกันมากขึ้น




สาวๆ อยากรักษาขาโก่ง?

     สามารถผ่าตัดรักษาได้ ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนก็ถือว่าโชคดี กรณีที่ผ่าตัดเพื่อความสวยงามศัลยแพทย์กระดูกอาจต้องคุยกับคนใช้ให้ละเอียด เพื่อชั่งน้ำหนักความคุ้มค่าของการผ่าตัด เพราะการผ่าตัดมีความเสี่ยงในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนผ่าตัด การเตรียมตัวระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด



     ระยะเวลาพักฟื้น อาจต้องทำทั้งสองข้าง โดยผ่าตัดทีละข้าง หลังผ่าตัดในช่วงแรกยังเดินลงน้ำหนักได้ไม่เต็มที่ การยืนและเดินจะใช้ไม้ค้ำหรือใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงการเดิน ประมาณ 1 ½-2 เดือน จากนั้นจะประเมินกระดูกที่ผ่าตัด ถ้ามีการเชื่อมตัวกันแล้วก็สามารถเพิ่มการลงน้ำหนัก และเพิ่มการใช้งานได้



     ความเสี่ยง ที่อันตรายที่สุดคือ การเสียชีวิต แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ต่ำ บางครั้งขาอาจไม่ได้องศาตามที่ต้องการ อาจมีแผล มีการติดเชื้อและมีการอักเสบ รวมทั้งการหลวมของโลหะที่ดาม นอกจากนี้ก็จะมีแผลเป็นบริเวณใต้เข่าด้านใน ประมาณ 5 เซนติเมตร หรืออาจเกิดแผลคีลอยด์ในบางคน



     การดูแล หลังผ่าตัดการดูแลไม่ต่างจากภาวะกระดูกหัก ในช่วงแรกยังลงน้ำหนักไม่ได้เพราะว่าการผ่าตัดเป็นการตัด ทำให้กระดูกที่ปกติขาดออกจากกัน (ไม่ได้ตัดทิ้ง) จากนั้นจะดัดแนวกระดูกใหม่และเสริมความแข็งแรงด้วยแผ่นโลหะตามกระดูก อาจจะมีความไม่คล่องตัวในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด




Tip :

     ขาโก่งเกิดจากการใช้งานมาก หรือเข่าเสื่อม ถ้าสามารถบริหารให้เนื้อเยื่อมีความยืดหยุ่น และแข็งแรง จะช่วยเรื่องบรรเทาอาการปวดได้ และอาจทำให้อัตราการโก่งช้าลง แต่ไม่สามารถทำให้ขาหายโก่ง

     ในประเทศรัสเซียหรือยูเครน นิยมผ่าตัดรักษาขาโก่งโดยการตัด ตัดกระดูก และเจาะกระดูกเพื่อวางโครงเหล็กตามกระดูกไว้นอกผิวหนัง (external fixation) ส่วนในเมืองไทยนิยมใช้โลหะตามกระดูกไว้ใต้ผิวหนัง (internal fixation)





ที่มา : www.doctorskinhouse.com


Create Date : 05 ตุลาคม 2554
Last Update : 5 ตุลาคม 2554 13:06:37 น. 0 comments
Counter : 603 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

YangJing
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







Friends' blogs
[Add YangJing's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.