Group Blog
 
All Blogs
 

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย 2

จากพระบรมราชธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของพระองค์ว่า ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีการปกครองตามระบอบรัฐสภา พระองค์จึงไม่ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองให้มีรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ก็ทรงยอมรับว่า การปกครองของประเทศจะต้องเปลี่ยนไปในทางที่จะมีรัฐสภาและรัฐธรรมนูญในภายหน้า ถึงกับมีพระราชดำรัสในที่ประชุมเสนาบดีว่า “ ฉันจะให้ลูกวชิราวุธมอบของขวัญให้แก่พลเมืองไทยทันทีที่ขึ้นสู่ราชบัลลังก์กล่าวคือ ฉันจะให้เขามีปาลิเมนต์และคอนสติติวชั่น

ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มกบฎ ร.ศ.103

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พ.ศ. 2453 นั้นกลุ่มปัญญาชนต่างก็มุ่งหวังว่า พระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และคงได้ทรงเตรียมพระองค์ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสไว้ แต่ปรากฎว่ายังไม่มีพระราชดำริในเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด ในเวลาเดียวกันประเทศจีนมีการปฏิวัติล้มล้างราชวงศ์แมนจู เปลี่ยนการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นผลสำเร็จ ทำให้ความคิดอยากจะได้ประชาธิปไตยมีมากขึ้น ประกอบกับความไม่พอใจในพระราชจริยาวัตรบางประการของพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาที่จะล้มล้างระบอบการปกครอง

ดังนั้น เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็คือ พวกนายทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน รวมประมาณ 100 คน เรียกตัวเองว่า คณะ ร.ศ.130 ได้วางแผนการปฎิวัติการปกครองหวังให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แกปวงชนชาวไทยคณะ ร.ศ. 130 นั้น ถ้าจะพิจารณารายชื่อกันแล้วส่วนใหญ่เป็นนายทหารบก ทหารเรือและพลเรือน รวมประมาณ 100 คน เรียกตัวเองว่า คณะ ณ.ศ. 130 ได้วางแผนการปฏิวัติการปกครอง หวังให้พระมหากษัตริย์พระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ปวงชนชาวไทยคณะ ร.ศ. 130 นั้น ถ้าจะพิจารณารายชื่อกันแล้วส่วนใหญ่เป็นนายทหารบก อายุน้อย เพิ่งสำเร็จการศึกษาใน ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2451) หัวหน้าคณะได้แก่ นายร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)อายุ 28 ปี อายุคนอื่นๆ เช่น นายร้อยตรีเหรียญ ศรีจันทร์ เพียง 18 ปี หายร้อยตรีเนตร พูนวิวัฒน์ อายุ 19 ปี เป็นต้น คณะ ร.ศ. 130 ได้กำหนดวันปฏิวัติเป็นวันที่ 1 เมษายน พ.ษ. 2455 อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยสมัยนั้น ซึ่งจะมีพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่คณะก่อการคณะนี้ได้ถูกจับกุมเสียก่อนเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2454 เพราะผู้ร่วมงานคนหนึ่งคือนายร้อยเอก หลวงสินาคโยธารักษ์ นำความลับไปทูลหม่อนเจ้า พันธุประวัติผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งก็ได้กราบทูลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถให้ทรงทราบและดำเนินการจับกุมด้วยพระองค์เอง คณะ ร.ศ. 130 ถูกศาลทหารพิพากษาให้ประหารชีวิต 3 คน จำคุกคุกตลอดชีพ 20 คน และจำคุกนานลดหลั่นกันตามความผิด โทษที่น้อยคือจำคุกมีกำหนด 12 ปี ในข้อหาว่าจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครองของพระราชอาณาจักรและทำการกบฎประทุษร้ายพระเจ้าแผ่นดิน แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ความผิดของพวกเขาเหล่านี้มี “ข้อสำคัญที่จะกระทำร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทอาฆาตมาดร้ายต่อพวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐานกรุณา ซึ่งเป็นอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินจะยกให้ได้ ดังนั้น ผู้ที่มีชื่อถูกประหารชีวิต 3 คน จึงได้รับการลดโทษลงมาเป็นจำคุกตลอดชีวิต และผู้ที่มี่ชื่อถูกจำคุกตลอดชีวิต 20 คนให้ลดโทษลงมาเหลือจำคุก 20 ปี อีก 68 คนซึ่งมีโทษจำคุกต่างๆ กันนั้น ให้รอการลงอาญาไว้ (ใน พ.ศ. 2467 นักโทษการเมืองทั้ง 23 คนได้ถูกปล่อยตัวหมด)

สาเหตุของการคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นเพียงขบวนเล็กน้อย คือในปลาย พ.ศ. 2452 ได้มีการโบยหลังนายทหารสัญญาบัตรกลางสนามหญ้า ภายในกระทรวงกลาโหมท่ามกลางวงล้อมของนายทหารกองทัพบก ด้วยการบัญชาการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฎราชกุมาร ทั้งนี้เพราะนายร้อยเอกโสม ได้ตามไปตีมหาดเล็กของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ที่มาทะเลาะวิวาทกับทหารบกที่หน้ากรมทหาร การโบยหลังนายร้อยเอกโสม ทำให้เกิดปฏิกิริยาเกิดขึ้นในหมู่ทหารบก และโดยเฉพาะนักเรียนนายร้อยทหารบก ครันต่อมา ใน พ.ศ. 2453 – 2454 นายทหารรุ่นที่จบจากโรงเรียนนายทหารบกในปลาย ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2452) ได้เข้ารับราชการประจำกรมกองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักรแล้ว มีหลายคนที่เกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างแรงกล้าจากการตั้ง “ กองเสือป่า “ คิดว่าพระเจ้าแผ่นดินไม่ทรงสนับสนุนกิจการทหารบก และคิดต่อไปว่าการที่ประเทศไทยไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะเป็นการแหครองด้วยคนคนเดียว นายทหารบกกลุ่มนี้คิดเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มการปฏิรูปประเทศพร้อมๆ กัน แต่เหตุใดประเทศญี่ปุ่นจึงเจริญเกินหน้าประเทศไทยไปไกล คำตอบที่นายทหารบกกลุ่ม ร.ศ. 130คิดได้คือประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบรูณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใต้กฎหมาย ทั้งยังปลูกฝังให้พลเมืองรู้จักรักชาติ รักวัฒนธรรม รัฐบาลรู้จักประหยัดการใช้จ่ายในไม่ช้าก็มีการค้าไปทั่วโลก มีผลิตผลจากโรงงานอุตสาหกรรมของตนอง มีการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางบกภายในประเทศและนอกประเทศ และแผ่อิทธิพลทางการเมือง การทหาร การสังคมและวัฒนธรรมไปทั่วโลกได้อีกด้วย แต่ประเทศไทยไม่สามารถจะหยิบยกภาวะอันใดที่เป็ฯความเจริญก้าวหน้ามาเทียบเคียงกับประเทศญี่ปุ่นได้เลย เมื่อคำนึงถึงความล้าหลังของประเทศ และคิดว่าไม่ควรที่อำนาจการปกครองประเทศชาติจะอยู่ในมือของคนคนเดียว จึงทำให้นายทหารบกคิดปฏิวัติ

แผนการปฏิวัตินั้น จะขอเพียงว่าให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเล้าเจ้าอยุ่หัวทรงยอมบดตำแหน่งมาอยู่ให้กฎหมายสูงสุดคือ รัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น และได้วางแผนกันต่อมา ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงยินยอม ก็จะทูลเชิญเจ้านายในพระราชวงศ์จักรีขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐไทย บรรดานายทหารบกคิดจะทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถทรงเป็นประธานาธิบดี พวกทหารเรือก็คิดว่าควรจะเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็นต้น การดำเนินงานตามแผนเน้นจะใช้เวลาถึง 10 ปีเพื่อใจได้มีเวลาสอนทหารเกณฑ์ทุกรุ่นในช่วงเวลานั้น รอให้ทหารเกณฑ์ได้แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพตามภูมิลำเนาทั่วประเทศ และได้อบรมสั่งสอนลูกหลานในทำนองเดียวกัน อีกประการหนึ่งก็เพื่อให้ผู้คิดเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีวัยวุฒิ และคุณวุฒิเพิ่มขึ้น คือมีอายุ และตำแหน่งในหน้าที่การงานสูงขึ้น ความสามารถและความสุจริตจะได้เป็นหลักประกันความมั่นคงของชาติให้มหาชนเชื่อถือได้

อุดมการณ์ของคณะ ร.ศ. 130 เป็นอุดมการณ์ของคนหนุ่มซึ่งส่วนมากเพิ่งสำเร็จการศึกษามีความห่วงใยในอนาคตของประเทศชาติ แต่ก็นับว่าเป็นผลผลิตของการศึกษาแผนใหม่แบบตะวันตกซึ่งเริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกนักเรียนนายร้อยทหารบกได้รับการสั่งสอนเรื่องระบอบการปกครองและลัทธิจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) และได้วิพากษ์วิจารณ์กันในห้องเรียนถึงลัทธิที่ดีและไม่ดี ถึงแม้ว่าคณะ ร.ศ. 130 จะประสบความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ตามแต่ก็นับได้ว่าเป็นกลุ่มหนึ่งที่มีส่วนในการริเริ่ม และวางรากฐานความคิดที่จะมีการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งต่อมาการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 ได้กระทำสำเร็จก็เป็นคณะปฏิวัติที่มาจากทหารบกอีกเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าเป็นอิทธิพลทางความคิดที่ต่อเนื่องกัน

แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความต้องการของกลุ่มปัญญาชนทั้งข้าราชการและประชาชนที่ต้องการปกครองในแนวประชาธิปไตย พระราชดำริของพระองค์เกี่ยวกับประชาธิปไตยได้ปรากฎในจดหมายเหตุรายวัน ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีข้อดีในการที่อำนาจการปกครองประเทศไม่ตกอยู่กับบุคคลคนเดียว แต่ถ้าจะนำมาใช้ก็มีข้อจำกัด คือประชาชนไม่มีความรู้พอที่จะปกครองตนเองได้ ถ้าให้อำนาจในการตัดสินใจแทนผู้ปกครองแประเทศก็อาจจะเกิดผลร้ายต่อชาติ นอกจากนี้ในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรก็ไม่แน่เสมอไปว่า จะได้คนดีมีความรู้ความสามารถ เนื่องจากประชาชนไม่มีเวลามากพอที่จะพิจารณาอย่างถี่ถ้วนนอกจากนั้นพระองค์ยังทรงมีพระราชวิจารณ์เกี่ยวกับระบบพรรคการเมืองว่า พรรคการเมืองใดทุนมากก็อาจจะล่อใจให้ประชาชนเลือกพรรคของตน อำนาจจึงตกเป็นของคนกลุ่มน้อย แทนที่จะอยู่ในมือของประชาชน และการที่พรรคการเมืองผลัดกันเข้ามาบริหารประเทศ ทำให้การดำเนินนโยบายต่างๆ ไม่ติดต่อกัน การงานล่าช้า และชะงักงัน

สรุปว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วยกับการปกครองระบบประชาธิปไตยที่จะมีมาในขณะนั้น ดังนั้นพระองค์จึงทรงสอดแทรกแนวพระราชดำริเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมของประชาธิปไตยต่อสังคมไทยทุกโอกาส เช่น พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นักเรียนไทยในยุโรป เมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2468 ตอนหนึ่งว่า ก่อนที่จะรับลัทธิการปกครองใดๆ ว่าเป็นสิ่งดีและน่านิยม ควรจะพิจารณาว่าลัดทธหรือวิธีการนั้นจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปหรือไม่ สภาพบ้านเมืองของยุโรปกับประเทศไทยไม่เหมือนกัน สิ่งที่เป็นคุณสำหรับยุโรปอาจเป็นโทษสำหรับประเทศไทยได้

สิ่งที่พระองค์ทรงทำได้ในขณะนั้นก็คือทรงใช้วิธีการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้ประชาชนมีความสามัคคี รักชาติ และจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์ ด้วยการพระราชนิพนธ์ต่างๆ เป็นบทความลงหนังสือพิมพ์ บทละครทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง และพระราชดำรัสในวโรกาสต่างๆ เน้นถึงความเหมาะสมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อสภาพของเมืองไทย

ใน พ.ศ. 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดโครงการเมืองทดลองเรียกว่า ดุสิตธานี ซึ่งมีลักษณะเป็นเมืองตุ๊กตา มีบ้านเล็กๆ และถนนที่ย่อส่วน แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เลือกมหาดเล็กและข้าราชการเป็นเจ้าของบ้านสมมุติในดุสิตธานี ดุสิตธานีอยู่ในบริเวณสนามเนื้อที่สองไร่ครึ่งระหว่างพระที่นี่งอุดรและอ่างหยกในบริเวณพระราชวังดุสิต พระราชดำริที่จะให้ดุสิตธานีเป็นก้าวแรกของการเตรียมตัวเพื่อการปกครองเองของราษฎร ดังพระราชดำรัสในวันเปิดศาลารัฐบาลของดุสิตธานีว่า

การงานฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนคราภิบาลก็ถ่ายแบบมาจากของจริง

ทั้งนั้น วิธีการที่ดำเนินไปนี้ เป็นการทดลองว่าจะเป็นประโยชน์

เพียงใด เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับธานีให้แน่ชัดเสียก่อน วิธีการ

ดำเนินการในธานีเล็กๆ ของเราเป็นเช่นไร ก็ตั้งใจว่าจะให้ประเทศ

สยามได้ทำเช่นเดียวกัน แต่จะให้เป็นการสำเร็จรวดเร็วทันใจดัง

ธานีเล็กนี้ก็ยังทำไปทีเดียวยังไม่ได้ โดยมีอุปสรรคบางอย่าง …

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกาศธรรมนูญลักษณะการปกครองคณะนครภิบาลของดุสิตธานี มีการดำเนินการในรูปแบบของการปกครอง มีวาระ 1 ปี ต่อมามีการตั้งตำแหน่งกรรมการในนคราภิบาลสภาขึ้นอีกเรียกว่า เชษฐบุรุษ คือผู้แทนทวยนาครในอำเภอ

การปกครองของดุสิตธานี ไม่ได้นำมาเกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศไทยในส่วนรวมเลย ดุสิตธานีจึงเป็นเพียงเมืองสมมุติเท่านั้น อย่างไรก็ดี พระยาราชนกุล (อวบ เปาโรหิต) ปลัดทูลฉลองกระทวงหมาดไทยได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตนำพระบรมราโชบายและวิธีการของดุสิตธานีไปทดลองตามจังหวัดต่างๆ กำหนดทดลองใช้ที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นแห่งแรก โดยใช้พระยาสุนทรพิพิธเป็นผู้ดำเนินการ แต่ปรากฏว่าเรื่องเงียบไปจนสิ้นรัชกาล

อีกประการหนึ่ง มีบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องรายงานการประชุมปาลิเมนต์สยาม เป็น “ ปฏิกิริยา “ ที่พระองค์ทรงมีต่อข้อเรียกร้องของเทียนวรรณที่จะให้ประเทศไทยมีรัฐสภาเหมือนกับชาติอื่นๆ เทียนวรรณได้เขียนบทความโดยอ้างว่าได้ฝันไปหรือได้ฝันทั้งๆ ที่กำลังตื่นอยู่ ดังนั้นพระราชนิพนธ์รายงานการประชุมปาลิเมนต์สยามจึงเป็นบทความบ้อเลียนเทียนวรรณคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุบินไปว่า ประเทศไทยมีรัฐสภาแล้ว มีสมาชิกรัฐสภา 2 ท่าน ชื่อ นายเกศร์ ซึ่งอาจเป็น ก.ศ.ร กุหลาบและนายทวน คงจะเป็นเทียนวรรณเสนอความเห็นในรัฐสภา แล้วเป็นการพูดนอกประเด็น

ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงเห็นด้วยในการที่ประเทศไทยจะมีการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย

แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2468 โดยไม่ได้ทรงคาดคิดมาก่อน เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นพระราชอนุชาองค์เล็กที่สุด และมีพระเชษฐาหลายพระองค์ระหว่างพระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระองค์ แต่เมื่อต้องทรงรับหน้าที่เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ก็ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทรงทำนุบำรุงให้ราษฎรอยู่เป็นสุขโดยทั่วหน้า

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ใหม่ๆ มีผู้ใช้นามว่านายภักดีกับนายไทย ถวายฎิกาขอให้พระองค์พระราชทานรัฐธรรมนูญ และในขฯะนั้นหนังสือพิมพ์จำนวนหนึ่งมีบทความเกี่ยวกับแง่คิดหรือปัญหาบ้านเมืองลงพิมพ์อยู่เนื่องๆ เสียงเรียกร้องเหล่านี้อาจเป็นแรงกระตุ้นให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มแสวงหาแนวทางการปกครองที่เหมาะสม

แนวพระราชดำริเรื่องประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้อย่างเด่นชัดเมื่อ ดร. ฟรานซีส บีแซร์ หรือพระยากัลยาณไมตรี อดีตที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศของไทยมาเยือนประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชบันทึกปรึกษาพระยากัลยาณไมตรีว่า ประเทศไทยควรมีรัฐบาลในรูปแบบใดประเทศไทยจะมีการปกครองในระบบรัฐสภาได้หรือไม่ในอนาคต ระบบรัฐสภาแบบอังกฤษจะเหมาะสมกับชาวตะวันออกหรือไม่ ส่วนพระองค์เองทรงมีความเห็นว่าในเวลานั้นประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีการปกครองแบบมีผู้แทน คำกราบบัลคมทูลของพระยากัลยสณไมตรีเป็นไปในลักษณะสนับสนุนแนวพระราชดำริที่ว่าเมืองไทยยังไม่พร้อมที่จะมีรัฐสภามีมาจากประชาชนโดยตรง ระบบรัฐสภาที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมาจากการเลือกตั้งอย่างใช้สติปัญญาของผู้มีสิทธิเลือกผู้แทน มิฉะนั้นจะกลายเป็นเผด็จการทางรัฐสภา ฉะนั้นจึงควรรอให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาสูงขึ้นก่อน

สภากรรมการองคมนตรี

สภากรรมการองคมนตรีเป็นพระราชกรณียกจประการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชดำริที่จะต้องเตรียมการให้ประชาชนรู้เรื่องประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถ้าประชาชนใช้รัฐธรรมนูญไม่เป็น ก็จะเกิดปัญหายุ่งนาก พระราชดำรินี้อยู่ในพระราชบันทึก เรื่อง “Democracy in Siam” ว่า

เราต้องเรียนรู้และทดลองเพื่อที่จะมีความคิดว่า ระบอบการ

ปกครองแบบรัฐสภาจะเป็นไปได้อย่างไรในสยาม เขาต้องพยายามให้

การศึกษาแก่ประชาชนให้มีความสำนึกทางการเมือง ถ้าเราจะต้อง

มีรัฐสภา เราต้องสอนประชาชนว่าจะออกเสียงอย่างไร และจะเลือก

ผู้แทนอย่างไร ที่จะมีจิตใจฝักใฝ่กับผลประโยชน์ของพวกเขาอย่างแท้จริง

ดังนั้น พระองค์จึงทรงปรับปรุงสภาองคมนตรี ซึ่งเป็นสภาที่ปรึกษาราชการในพระองค์ที่มีมาแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีสมาชิกอยู่ 277 คน ด้วยการออกพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช 2470 ให้มีสภากรรมการองคมนตรี ทรงคัดเลือกผู้ที่มีคุณวุฒิและความสามารถพิเศษ จำนวน 40 คนจากองคมนตรีเข้าเป็นสมาชิกสภากรรมการองคมนตรีมีหน้าที่ประชุมปรึกษาข้อราชการตามแตจะโปรดเกล้าฯ พระราชทานลงมาให้ปรึกษา แต่พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยุ่หัวทรงมีมากกว่านั้น พิจารณาได้จากกระแสพระราชดำรัสในการเปิดประชุมสภากรรมการองคมนตรีครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 ตอนหนึ่งว่า

เราขอให้ท่านเข้าใจว่า สภากรรมการขององคมนตรีที่เรา

ตั้งขึ้น ต้องเป็นไปตามสภาพที่เหมาะแก่ประเทศเรา กล่าวคือ เรา

มีความประสงค์ที่จะทดลองและปลูกฝังการศึกษาในวิธีการศึกษาโต้เถียง

ให้สำเร็จเป็นมติตามแบบอย่างที่ประชุมใหญ่ ถ้าหากถึงเวลาอันควร

ที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองประเทศต่อไป ก็จะได้ทำได้โดยสะดวก

การที่เราได้เลือกท่านเป็นกรรมการองคมนตรีนั้น ควรเห็นว่าเป็น

หน้าที่สำคัญอย่างยิ่ง และท่านทั้งหลายพึงเข้าใจว่า เรามิได้เลือกท่าน

มาเป็นผู้แทนชนคณะใดหรือเหล่าใดโดยเฉพาะ ท่านทั้งหลายจงออก

ความเห็นโดยระลึกถึงประโยชน์ส่วนรวมส่วนใหญ่ของแผ่นดิน และ

ประชาชนชาวสยามโดยทั่วไปเป็นสำคัญ เราเชื่อว่าท่านคงจะดำเนิน

การประชุมให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง แม้มีสิ่งไรที่ท่านเห็นว่าจะ

ยังความผาสุกให้บังเกิดขึ้นแก่ประชาชน ก็ให้ท่านถวายความเห็นได้

ทุกเมื่อ เรายินดีที่จะพังเหรอ

จะเห็นได้ว่า การจัดตั้งสภากรรมการองคมนตรี ตลอดจนวิธีการประชุมมีลักษณะคล้าย สภาผู้แทนราษฎรในระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่จะไม่ได้รับการเลือกตั้งจากราษฎรโดยตรง ในทางปฏิบัติ สภากรรมการองคมนตรีประสบความล้มเหลวที่จะเข้ามามีบทบาททางการเมืองตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว ผลงานของสภามีเพียงพิจารณมร่างพระราชบัญญัติตามพระบรมราชโองการเท่านั้น และเวลาในการที่จะประชุมถกเถียงกันก็มีน้อย สมาชิกขาดประชุมและไม่กระตือรือร้นในการปฏิบัติงานเท่าที่ควร

ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังทรงแสวงหาแนวทางอยู่นั้น การแสดงความคิดเห็นในหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องประชาธิปไตยมีมากขึ้น เช่นในบางกอกการเมือง ผู้ใช้นามว่า พระจันทร เขียนว่าไทยเป็นประเทสเดียวในโลกที่ยังคงใช้การปกครองในระบอบพระราชาอยู่เหนือกฏหมาย ราษฎรไม่มีเสียงเลยในการปกครองซึ่งทำให้คนมีเงินได้เปรียบคนจน แล้วยกตัวอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาว่ามีการปกครองแบบรีปับลิค ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองอยางรวดเร็วจนเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง

ส่วนหนังสือพิมพ์ สยามรีวิว ได้ลงพิมพ์บทความเรื่อง “ราษฎรตื่นแล้ว”โดยเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้ความรุนแรง และยกตัวอย่างกรณีพระเจ้าชาร์นิโคลาสแห่งรัสเซียถูกปลงพระชนม์ รัฐบาลสมัยนั้นได้ทำการสอบสวนหนังสือพิมพ์ สยามรีวิว และก็สั่งปิดหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น

หนังสือพิมพ์ราษฎร ลงบทความเห็นว่าจ้าวเป็นลูกถ่วงความเจริญ ยกตัวอย่างการปฏิวัติจีนที่ซุนยัดเซ็นล้มจักรพรรดิจีน และสถาปนาระบบสาธารณรัฐขึ้นแทน เสนอแนวคิดว่า การที่จะสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่าเก่าได้นั้นจะต้องทำลายสังคมเดิมลงไปก่อน ถ้าจะให้สังคมเสมอภาคก็ต้องทำเหมือนเครื่องบดยา ก่อนถูกบดให้ละเอียดนั้นเครื่องยาย่อมมีขนาดไม่เสมอกัน เมื่อบดละเอียดแล้วจึงมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน หรือประเทศใดที่เกิดศึกสงครามมาก ประเทศนั้นย่อมเจริญมาก ไฟไหม้ที่ใดที่นั้นจะสวยงามขึ้น เป็นต้น

ความกดดันจากหนังสือพิมพ์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะให้เตรียมตัวประชาชนทั่วไปให้มีความรู้พอสมควรที่จะมีระบอบรัฐสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพพระราชดำริของพระองค์ คือให้มี “Municipal Council”(สภาเทศบาล) “Local Government” (การปกครองท้องถิ่น) เป็นการสสอนให้ประชาชนรู้จักการปกครองตนเองตั้งแต่ระดับท้องถิ่น นับเป็นการเตรียมการในการปูพื้นฐานประชาธิปไตยระดับฐานราก เรื่องนี้ได้มีกรรมการร่างพระราชบัญญัติเทศบาลเสร็จในปี พ.ศ. 2473 แต่ก็มิได้มีผลในทางปฏิบัติการแต่อย่างใด

ต่อมาพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือเตรียมการจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนชาวไทย จึงทรงมอบหมายให้กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย เสนาบดีว่าการกระทรวงการตางประเทศให้ศึกษาระบบการปกครองแบบมีผู้แทนที่ประเทศเนเธอร์แลนด็จัดในชวาในคราวที่กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัยตามเสด็จประพาสขวาใน พ.ศ.2472 ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ.2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อรักษาพระเนตร นักข่าวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทม์ชื่อ นายแฮโรลด็ เคนนี ได้รับพระราชทานโอกาสให้สัมภาษณ์ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2474 มีข้อความว่า พระองค์จะทรงจัดให้มีการปกครองระดับท้องถิ่นก่อนเพื่อเป็นการให้การสึกษาและฝึกการปกครองในระบบผู้แทนในระดับรากฐาน

หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จนิวัติกลับสู่พระนครแล้ว ในเดือนตุลาคม 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ปลัดทูลฉลองกระทรวงต่างประเทศ ผู้สำเร็จเนติบัณฑิตจากประเทศอังกฤษ และนายเรมอนด็ บีสตีเวนส์ ( Raymond B. Stevens) ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ ผู้สำเร็จวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เคยเป็นผู้แทนราษฎรรัฐนิวแโมเชียร์ สังกัดพรรคดีโมแครท รองประฑานการเดินเรือแห่งสหรัฐและเป็นผุ้แทนอเมริกันในสภาการขนส่งทางทะเลของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้ง 2 ท่านนี้เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

พระยาศรีวิศาลวาจา และนายเรมอนด์ บี. สตีเวนส์ ร่างรัฐธรรมนูญเสด็จในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2474 ร่างเป็นภาษอังกฤษใช้ชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form of Government” ได้กำหนดรูปแบบการปกครองสัมพันธ์ระหว่างอำนาจบริหารและนิติบัญญัติตลอดจนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผุ้แทนราฎรไว้ด้วย

การเตรียมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนั้น แรกทีเดียวมีพระราชดำริว่า จะพระราชทานในวาระที่มีงานพระราชพิธีฉลองกรุงเทพมหานคร ครบรอบ 150 ปีในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งเอกสารร่างรัฐธรรมนูญไปให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพื่อนำเข้าประชุมอภิรัฐมนตรีสภา พร้อมบันทึกความเห็นของนายสตีเวนส์และพระยาศรีวิศาลวาจา ซึ่งมีความเห็นว่ายังไม่ควรใช้ระบอบการปกครองโดยรัฐสภาในตอนนั้นเนื่องจากประชาชนยังไม่พร้อม

ไม่ปรากฏเอกสารรายงานการประชุมอภิรัฐมนตรีครั้งนั้น แต่หลักฐานของอุปทูตอังกฤษกล่าวว่า อภิรัฐมนตรีสภาไม่เห็นด้วยทีจะให้มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราดำริไว้ ดังนั้นร่างรัฐธรรมนูญที่ได้เตรียมการไว้ ก็ยังไม่ถึงประชาชนในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 และในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2475 คณะราษฎรก็ก่อการปฏิวัติ

สรุปและวิเคราะห์

ประเทศไทยมีการปกครองแบบสมบรูณาญาสิทธิราชย์มาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลตอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มข้าราชการและประชาชนให้มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ความคิดที่จะให้มีการปกครองในแนวประชาธิปไตยนี้ ได้รับอิทธิพลจากชาวตะวันตก สือเนื่องจากประเทศไทยได้มีการติดต่อกับชาวตะวันตกตั้งแตั่ชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมา

การติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทางยุโรป นับว่าเป็นความจำเป็นมหาอำนาจตะวันตกได้แข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของไทยได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส ดังนั้น พระบรมวิเทโศบายของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเน้นหนักไปในทางผูกมิตรกับมหาอำนาจตะวันตกและประเทศในยุโรปอื่นๆ พร้อมกับเร่งศึกษาวิทยาการของชาวตะวันตก เพื่อจะได้ปรับปรุงประเทศให้เป็นแบบอารยประเทศ จากการได้ศึกษาวิทยาการของชาวตะวันตก ทำให้กลุ่มข้าราชการและประชาชนได้รู้เรื่อง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ด้วยความรักชาติและประสงค์จะให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองเหมือนประเทศที่ได้ปรับปรุงการบริหารประเทศแล้ว เช่น ประเทศญี่ปุ่น กลุ่มข้าราชการ และประชาชนที่ได้รับการศึกษาหรือได้ไปศึกษาดูงานวิทยาการแบบตะวันตก จึงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลตอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายปกครองประเทศ นอกจากข้อเสนอคำกราบบังคมทูลของกลุ่มเจ้านาย ข้าราชการ ใน ร.ศ. 103 แล้ว ยังมีนักหนังสือพิมพ์คือ เทียนวรรณ ได้เสนอความคิดและอุดมการณ์ประชาธิปไตย ในหน้าหนังสือพิมพ์ เห็นว่าควรมีรัฐสภา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริเห็นด้วยกับการที่จะมีการปกครองแบบรัฐสภา และมีรัฐธรรมนูญแต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเรื่องรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ แม้แต่ข้าราชการขของพระองค์บางกลุ่มก็ยังไม่ได้แสดงว่าเข้าใจในระบอบการปกครองประชาธิปไตยนั้น ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจาอยู่หัว ยังทรงปกครองพระเทศชาติด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็ได้ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินสอดคล้องกับการบริหาราชการแผ่นดินของประเทศในยุโรป

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีแนวพระราชดำริในเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เหมือนกับสมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงเป็นเหตุให้กลุ่มนายทหารบกชั้นผู้น้อยทำการปฏิวัติการปกครอง แต่ไม่สำเร็จ จึงได้รับสมญานามว่า กบฎ ร.ศ. 103 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชบายเน้นหนักทางลัทธิชาตินิยม ให้รักชาติ มีความสามัคคี โดยเฉพาะเน้นในเรื่องการจงรักภักดีต่อองค์พระมหากษัตริย์

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ว่าพระองค์จะยังไม่ทรงเห็นด้วยที่จะให้ประชาชนมีการปกครองตนเองตามระบอบรัฐธรรมนูญ แต่พระองค์ทรงทราบในพระราชหฤทัยดีว่า ถึงเวลาที่จะต้องพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่เป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยขึ้น หนังสือพิมพ์ใช้ถ้วยคำรุนแรงเมื่อพูดถึงเจ้าซึ่งมีฐานะเหนือประชาชนธรรมดาพระองค์จึงทรงเตรียมการให้ผู้ที่มีความสามารถต่างรัฐธรรมนูญและทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าจะพระราชทานรัฐธรรมนูญแต่ประชาชนชาวไทยในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2475 ซึ่งเป็นวัครบรอบ150 ปี ของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี จากการที่คณะอภิรัฐมนตรีเห็นว่าควรยืดระยะเวลาการพระราชทานรัฐธรรมนูญออกไปอีก เพราะประชาชนยังไม่พร้อมที่จะอยู่ในการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงยับยั้งการพระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ การที่พระองค์ทรงลังเลพระราชหฤทัย จึงทำให้คณะราษฎรซึ่งได้เตรียมการไว้แล้วปฏิวัติยึดอำนาจปกครองในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2475

ที่มา : 60 ปีการเมืองไทย / แจ่มจันทร์ ทองเสริม




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2550    
Last Update : 23 สิงหาคม 2550 17:29:25 น.
Counter : 407 Pageviews.  

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

การปกครองของประเทศไทย นับแต่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ต่อมาถึงกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแกนกลาง เป็นศูนย์อำนาจ เรียกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันการเมืองการปกครองสูงสุดของประเทศมาถึงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนเป็นการปกครองของประเทศ แล้วเปลี่ยนเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เริ่มปรากฏให้เห็นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) และมีเหตุการณ์ อื่นอันเป็นแรงผลักดันมากขึ้น สืบสานความคิดมาเป็นการยึดอำนาจการปกครองของประเทศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีมาจากประชาชนในยุโรป และอเมริกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 การปกครองของอังกฤษซึ่งค่อยๆ ดำเนินไปสู่ระบบรัฐสภาแห่งเสรีประชาธิปไตย โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติเสียเลือดเนื้อ การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของอเมริกาจากอังกฤษใน พ.ศ.2319 (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2332(ค.ศ.1789) หลังจากนั้นความคิดแบบประชาธิปไตยก็แพร่ขยายไปยังประเทศต่างๆ ประเทศไทยก็ได้รับแนวความคิดเรื่องการปกครองประเทศบบประชาธิปไตยด้วยการติดต่อกับประเทศในยุโรปและอเมริกา

การติดต่อกับต่างประเทศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่มีพระราชไมตีทางการค้ากับประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2367 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่พัว ต่อมาพวกมิชชันนารีจากประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาเผยแพร่คริสตศาสนาในประเทศไทย คนไทยเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษ ศึกษาวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ กลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ และกลุ่มขาราชการก็ศึกษาวิชาการต่างๆ ด้วย ดังนั้นสังคมไทยบางกลุ่มจึงได้มีค่านิยมโลกทัศน์ตามวิทยาการตะวันตก

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.2394 นั้นพระองค์ทรงตระหนักว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยอมเปิดสันติภาพกับประเทศตะวันตกในลักษณะใหม่ และปรับปรุงบ้านเมืองให้ก้าวหน้าเยี่ยงอารายประเทศ ทั้งนี้เพราะเพื่อนบ้านกำลังถูกคุกคามด้วยลัทธิจักรวรรดินิยม จึงทรงเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยมาเป็นการยอมทำสนธิสัญญาตามเงื่อนไขของประเทศตะวันตก และพยายามรักษาไมตรีนั้นไว้เพื่อความอยู่รอดของประเทศ

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลตอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะปฎิรูปประเทศไทยให้เจริญทัดเที่ยมกับประเทศตะวันตก ปัจจัยที่จะนำไปสู่จุดหมายได้คือ คน เงิน และการบริหารที่ดี ทรงมีพระราชดำริว่า หนทางแห่งความก้าวหน้าของชาติจะมีมาได้ก็ต้องอาศัยการศึกษาเป็นปัจจัย จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่า เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งของราชวงศ์และบุตรขุนนางจะต้องได้รับการศึกษาอย่างดีกว่ารุ่นพระองค์เอง ในระยะแรกอิทธิพลของประเทศตะวันตกที่มีต่อประเทศไทยคือ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ กับพระยาชัยสุรินทร์ (ม.ร.ว. เทวหนึ่ง สิริวงศ์) ไปเรียนที่ประเทศอังกฤษเป็นพวกแรก นับว่าเป็นครั้งแรกที่ทรงส่งนักเรียนหลวงไปเรียนถึงยุโรป ต่อมาก็ส่งพระราชโอรสและนักศึกษาไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์ก และประเทศรุสเชีย ก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกหม่อนเจ้า 14 คน ไปเรียนหนังสือที่สิงคโปร์ 2 ปี ระหว่าง พ.ศ.2413 - พ.ศ.2415 ในโอกาสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปสิงค์โปร์ในปี พ.ศ.2413 นั่นเป็นการเตรียมคนที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาพระราชภาระในการปรับปรุงประเทศ การเตรียมปัจจับการเงินเป็นการเตรียมพร้อมประการหนึ่ง ถ้าขาดเงินจะดำเนินกิจการใดให้สำเร็จสมความมุ่งหมายคงจะเป็นไปได้ยาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า การจัดการเงินแบบเก่ามีางรั่วไหลมาพวกเจ้าภาษีนายอากรไม่ส่งเงินเข้าพระคลังครบถ้วนตามจำนวนที่ประมูลได้พระองค์จึงทรงจัดการเรื่องการเงินของแผ่นดินหรือการคลังทันทีที่พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินเต็มที่ เริ่มด้วยให้ตราพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ จ.ศ. 1235 (พ.ศ. 2416) มีพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติในปี จ.ศ 1237 (พ.ศ.2418) เพื่อจะได้ใช้จ่ายทุนบำรุงประเทศ ต่อมาทรงให้จัดทำงบประมาณจัดสรรเงินให้แต่กระทรวงต่างๆ เป็นสัดส่วน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงทันได้ปรับปรุงการปกครองประเทศให้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ ก็มีกลุ่มเจ้านายและข้า ราชการทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนเปลงการปกครองราชการแผ่นดินเมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ.2427) ทั้งนี้อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ที่พระองค์ยังไม่ทรงปรับปรุงงบการบริหารประเทศก่อน พ.ศ. 2428 เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ วิกฤติการณ์วังหน้า เมื่อ พ.ศ. 2417 การที่ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ให้รวมเงินมาอยู่ที่เดียวกัน กระทบกระเทือนต่อเจ้านาย เละข้าราชการ โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวร สถานมงคล กรมหมื่นไชยชาญ วิกฤติการณ์วังหน้าเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า แสดงถึงปฏิกิริยาโต้ตอบ การริเริ่มดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือสถาบันกษัตริย์ เห็นได้ชัดเจน ว่าเมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมืนวิไชยชาญ ทิวงคต ในปี พ.ศ.2428 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการบริหารการปกครองส่วนกลางเป็น 12 กรม (ต่อมาเรียกว่า กระทรวง) ในปี พ.ศ.243 2

ความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ได้เริ่มมีมาแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีความเคลื่อนไหวมาตลอดจนถึงวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 แนวความคิดและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้แก่

การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ.103
ร่างรัฐธรรมนูญ แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
บทความเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเทียนวรรณ
ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มกบฏ ร.ศ.130
แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ.103

ร ศ 103 ตรงกับ พ ศ.2427 เป็นปีที่ 17 ของการครองราชย์ชองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีเจ้านายและข้าราชการ จำนวนหนึ่งที่รับราชการ ณ สถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน และกรุงปารีส ได้ร่วมกันลงชื่อในเอกสารกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103 ทูลเกล้าฯ ถวาย ณ วันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือน 2 ปีวอก ฉอศอ ศักราช 124 ตรงกับวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ.2427

เจ้านายและข้าราชการที่จัดทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นครั้งนั้น มีพระนามชื่อปรากฏอยู่ท้ายเอกสาร ได้แก่

1. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ (พระเจ้าบรมวงเธอกรมพระนเรศร์ วรฤทธิ์ )

2. พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าโสณบัณฑิต (พระเจ้าบรมวง เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา)

3. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ (สมเด็จกรมพระสวัสดิ์วัฒน วิศิษฏ์)

4. พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์)

5.นายนกแก้ว คชเสนี {พระยามหาโยธา)

6. หลวงเดชนายเวร(สุ่น สาตราภัย ต่อมาเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอภัยพิพิธ)

7. บุศย์ เพ็ญกุล (จมื่นไวยวรนาถ)

8. ขุนปฏิภาณพิจิตร(หุ่น)

9. หลวงวิเสศสาลี (นาค)

10. นายเปลี่ยน

11. สัปเลฟเตอร์แนนสะอาด

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ได้ทรงมีบันทึกไว้ว่า

...ตกลงกันเป็นอันจะทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นร่วมกันรับผิดชอบ

ด้วยกัน ซึ่งเป็นความเห็นของพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณมากข้อ ข้าพเจ้าเป็น

ผู้เรียบเรียง กรมหมื่นนเรศร์พระองค์โสณบัณฑิตฯ พระองค์สวัสดิ์เป็นผู้

แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมทำ 4 ฉบับ ส่งเข้าไปให้สมาชิก ส โมสรหลวง สุด

แต่จะมีผู้ใด... เต็มใจลงนามร่วมเห็นพ้องด้วย ทูลเกล้าถวาย 1 ฉบับ สำหรับ

พระราชทานลงนาม ทูลเกล้าถวาย 1 สำหรับสำนักทูตทั้ง 2 เมือง

สำนักละฉบับให้นายเสน่ห์ หุ้มแพร นำเข้าไปทูลเกล้าฯ ถวายและ

ชักชวนผู้อื่นให้ลงนามด้วย...

สาระสำคัญของคำกราบบังคมทูล นี้อยู่สามข้อ กล่าวคือ

1. ภัยอันตรายจะมาถึงบ้านเมือง เนืองจากการปกครองในขณะนั้น

2. การที่จะรักษาบ้านเมืองให้พ้นอันตราย ต้องอาศัยความเปลี่ยนแปลงบำรุงรักษาบ้านเมืองแนวเดียวกับที่ญีปุ่นได้ทำตามแนวการปกครองของประเทศในยุโรป

3. การที่จะจัดการตามข้อ 2 ให้สำเร็จ ต้องลงมือจัดให้เป็นจริงทุกประการ

ภัยอันตราย ที่จะมาถึงบ้านเมือง คือ ภัยอันตรายที่จะมีมาจากประเทศที่มีอำนาจมากกว่าประเทศไทย ถ้ามหาอำนาจในยุโรปประสงค์ จะได้เมืองใดเป็นอาณานิคม ก็จะต้องอ้างเหตุผลว่าเป็นภารกิจของชาวผิวขาวที่มีมนุษยชาติ ต้องการให้มนุษย์มีความสุขความเจริญ ได้รับความยุติธรรมเสมอกัน ประเทศที่มีการปกครองแบบเก้านอกจากจะกีดขวางความเจริญของประเทศในเอเชียแล้วยังกีดขวางความเจริญของประเทศที่เจริญรุ่งเรืองแล้วด้วย แล้วสรุปว่า รัฐบาลที่มีการปกครองแบบเก่าจัดการบ้านเมืองไม่เรียบร้อย เกิดอันตรายทำให้อันตรายนั้นมาถึงชาวยุโรป นับว่าเป็นช่องทางที่ชาวยุโรปจะเข้าจัดการให้หมดอันตราย และอีกประการหนึ่ง ถ้าปิดประเทศไม่ค้าขายก็จะเข้ามาเปิดประเทศค้าขายให้เกิดประโยชน์ ทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ประเทศในยุโรปจะยึดเอาเป็นอาณานิคม

การป้องกันอันตรายทีจะบังเกิดขึ้นอยู่หลายทางแต่คิดว่าใช้ไม่ได้คือ

1) การใช้ความอ่อนหวานเพื่อให้มหาอำนาจสงสาร ประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ความอ่อนหวานมานานแล้ว จนเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ จึงได้จัดการเปลี่ยนการบริหารประเทศให้ยุโรป นับถือ จึงเห็นว่าการใช้ความอ่อนหวานนั้นใช้ไม่ได้

2) การต่อสู้ด้วยกำลังทหารซึ่งก็เป็นความคิดที่ถูกต้อง กำลังทหารของไทยมีไม่เพียงพอทั้งยังต้องอาศัยซื้ออาวุธจากต่างประเทศได้รบกันจริง ๆ กับประเทศในยุโรป ประเทศในยุโรปจะยอมแพ้ทั้งประเทศอื่นๆ ที่เป็นมิตรประเทศของคู่สงครามกับประเทศไทยก็จะไม่ขายอาวุธให้ประเทศไทยเป็นแน่

3) การอาศัยประโยชนที่ประเทศไทยมีเขตแดนติดต่อกับประเทศที่เป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสอาจให้ประเทศไทยเป็นรัฐกันชน ( Buffer State) และก็คงให้มีอาณาเขตแดนเพียงเป็นกำแพงกั้นระหว่างอาณานิคมประเทศไทยก็จะเดือดร้อนเพราะเหตุนี้

4) การจัดการบ้านเมืองเพียงเฉพาะเรื่อง ไม่ได้จัดให้เรียบร้อยตั้งแต่ฐานราก ไม่ใช่การแก้ปัญหา

5) สัญญาทางพระราชไมตรีที่ทำไว้กับต่างประเทศ ไม่เป็นหลักประกันว่าจะคุ้มครองประเทศไทยได้ ตัวอย่างที่สหรัฐอเมริกาสัญญาจะช่วยประเทศจีนครั้นมีปัญหาเข้าจริงสหรัฐอเมริกาก็มิได้ช่วย และถ้าประเทศไทยไม่ทำสัญญาให้ผลประโยชน์แกต่างประเทศ ประเทศนั้นๆก็จะเข้ามากดขี่ให้ประเทศไทยทำสัญญาอยู่นั่นเอง

6) การค้าขายและผลประโยชน์ของชาวยุโรปที่มีอยู่ในประเทศไทย ไม่อาจช่วยคุ้มครองประเทศไทยได้ถ้าจะมีชาติที่หวังผลประโยชน์มากขึ้นมาเบียดเบียน

7) คำกล่าวที่ว่า ประเทศไทยรักเอกราชมาได้ก็คงจะรักษาได้อย่างเดิม คำกล่าวอย่างนั้นใช่ไม่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเป็นเวลาที่ประเทศในยุโรปกำลังแสวงหาเมืองขึ้นและประเทศที่ไม่มีความเจริญก็ตกเป็นอาณานิคมไปหมดแล้ว ถ้าประเทศไทยไม่แก้ไขก็อาจจะเป็นไปเหมือนกับประเทศที่กล่าวมา

8) กฎหมายระหว่างประเทศจะคุ้มครองประเทศที่เจริญและมีขนบธรรมเนียมคล้ายคลึงกัน ประเทศญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายให้คล้ายกับยุโรปก็จะได้รับความคุ้มครอง ประเทศไทยต้องปรับปรุงการจัดบ้านเมืองให้เป็นที่ยอมรับเช่นเดียวกับประะทศญี่ปุ่นมิฉะนั้นกฏหมายระหว่างประเทศก็ไม่ช่วยประเทศไทยให้พ้นอันตราย

ในหนังสือกราบบังคมทูล ได้เสนอความเห็นที่เรียกว่าจัดการบ้านเมืองตามแบบยุโรป รวม 7 ข้อ ดังนี้

1) ให้เปลี่ยนการปกครองจากแอบโสลูดโมนากี ให้เป็นการปกครองที่เรียกว่า คอนสติติวชั่นแนลโมนากี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานของบ้านเมือง มีข้าราชการรับสนองพระบรมราชโองการ เหมือนสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทุกพระองค์ในยุโรป ที่มิต้องทรงราชการเองทั่วไปทุกอย่าง

2) การทำนุบำรุงแผนดินต้องมีพวกคาบิเนต รับผิดชอบและต้องมีประราชประเพณีจัดสืบสันตติวงศ์ให้เป็นที่รู้ทั่วกัน เมื่อถึงคราวเปลี่ยนแผนดินจะได้ไม่ยุ่งยาก และป้องกันไม่ให้ผู้ใดคิดหาอำนาจเพื่อตัวเองด้วย

3) ต้องหาทางป้องกันคอรัปชั่นให้ข้าราชการมีเงินเดือนพอใช้ตามฐานานุรูป

4) ต้องให้ประชาซนมีความสุขเสมอกันมีกฎหมายให้ความยุติธรรมแก่ประชาขนทั่วไป

5) ให้เปลี่ยนแปลงแก้ไชขนบธรรมเนียม และกฎหมายที่ใช้ไม่ได้ที่กีดขวางความเจริญ ของบ้านเมือง

6) ให้มีเสรีภาพในทางความคิดเห็น และให้แสดงออกได้ในที่ประชุมหรือในหนังสือพิมพ์ การพูดไม่จริงจะต้องมีโทษตามกฎหมาย

7) ข้าราชการทุกระดับชั้นต้องเลือกเอาคนที่มีความรู้ มีความประพฤติดี อายุ 20 ขึ้นไป ผู้ที่เคยทำชั่วถูกถอดยศศักดิ์ หรือเคยประพฤติผิดกฎหมาย ไม่ควรรับเข้ารับราชการอีก และถ้าได้ ข้าราชการที่รู้ขนบธรรมเนียมยุโรปได้ยิ่งดี

ในข้อเสนอนั้นได้ระบุว่า “ทางที่ข้าพระพุทธเจ้ากราบบังคมทูลพระกรุณาว่าเป็น คอนสติติวชั่นยุโรปนั้นหาได้ประสงค์ที่จะมีปาลิเมนต์ในเวลานี้ไม่หมายความผู้เสนอขอให้มีรัฐธรรมนูญ (Constitution ) ยังไม่ได้ต้องการรัฐสภา (Parliament) เหมือน “ดังกรุงอังกฤษฤาอเมริกn ซึ่งอำนาจและความผิดชอบอยู่ในเนื้อมือราษฎรทั้งสิ้นให้มี “เคาเวอนเมนต์ และกำหนดกฎหมายความยุติธรรมอันแน่นอน” หมายถึงให้มีคณะรัฐบาล(Government) ซึ่งประกอบด้วยเสนาบดีหรือรัฐมนตรีพร้อมทั้งมีกฎหมายที่ให้ความยุติธรรม ่

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสตอบ ความเห็นของคณะที่กราบบังคมทูลจะให้เปลี่ยนแปลงการปกครองว่า พระองค์ทรงตระหนักในอันตรายที่กล่าวมานั้นและไม่ต้องห่วงว่าพระองค์จะทรง “ขัดขวางในการที่จะเสียอำนาจซึ่งเรียกว่า แอบโซลูด พระองค์ทรงกล่าวต่อไปว่าเมื่อพระองค์ทรงครองราชสมบัติใหม่ๆ ทรงไม่มีอำนาจอันใดเลย ขณะพระองค์ทรงมีอำนาจบริบูรณ์ ในเวลาที่ทรงมีอำนาจน้อย ก็มีความลำบาก เวลานี้มีอำนาจมากก็มีความลำบาก พระองค์จึงทรงปรารถนาอำนาจปานกลาง ได้ทรงครองราชย์มาถึง 17-18 ปี ได้ทรงศึกษาเหตุการณ์บ้านเมืองอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่เหมือนคางคกในกะลาครอบหรือทรวอยู่เฉยๆ ไม่ได้ทรงทำอะไรเลย ที่เรียกร้องให้มีรัฐบาล (คอเวอนเมนต์) ก็มีเสนาบดีเป็นรัฐบาลแล้ว แต่ยังไม่ดี สิ่งที่พระองค์ทรงต้องการคือ “คอเวอนเมนตรีฟอม” หมายถึงให้พนักงานของราชการแผ่นดินทุกๆ กรมทำการให้ได้เต็มที่ ให้ได้ประชุมปรึกษากัน ติดต่อกันง่ายและเร็ว อีกประการหนึ่งทรงหาผู้ทำกฎหมายสละที่ปรึกษากฏหมายการกระทำทั้งสองประการต้องได้สำเร็จก่อน การอื่นๆ ก็จะสำเร็จตลอด

แท้จริงแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะทรงปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินมาตั้งแต่พระองค์ทรงมีอำนาจในการปกครองอย่างสมบูรณ์ กล่าวคือ ใน พ.ศ.2417 ได้ทรงสถาปนาสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์เป็นองค์กใหม่ช่วยบริหารประเทศ โดยทรงมีพระราชดำริว่า ราชการบ้านเมืองที่จะเกิดขึ้นใหม่และที่คั่งค้างมาแต่เดิมนั้น ไม่สามารถที่จะทรงจัดการให้สำเร็จโดยลำพังพระองค์เอง” ถ้ามีผู้ช่วยกัน คิดหลายปัญญาแล้ว การที่รกร้างมาแต่เดิม ก็จะปลดเปลื้องไปทีละน้อยๆ ความดีความเจริญก็ยังเกิดแก่บ้านเมือง... สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) มีสมาชิกเป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นพระยา า2 นาย ทำหน้าที่ประชุมปรึกษาข้อราชการและออกพระราชกำหนดกฎหมายตามพระบรมราชโองการ หรืออาจจะกราบบังคมทูลเสนอความคิดเห็นในการออกกฎหมายใหม่ ส่วนสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) สมาชิกของสภานี้คือ พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการระดับต่างๆ มี 49 นาย ทำหน้าที่ถวายคำปรึกษาข้อราชการ และเสนอความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งอาจจะนำไป อภิปรายในสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน แต่ปรากฏว่าสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ไม่ได้มีผลงานหรือจะเรียกว่าประสบความล้มเหลว สมาชิกทั้งสองสภาไม่ค่อยได้แสดงความคิดเห็นตามวิถีทางอันควร อาจเป็นเพราะขาดความรู้ความสามารถ และหรือไม่กล้าที่จะออกความคิดเห็นซึ่งไม่ใช่ลักษณะที่เคยทำมาก่อน

เพราะฉะนั้น การเรียกร้องให้มีรัฐบาลและรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครองประเทศตามความหมายของระบอบประชาธิปไตยเป็นไปได้ยาก

รัฐธรรมนูญแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

คำว่ารัฐธรรมนูญตรงกับคำว่า Constitution ได้มีการบัญญัติขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ผู้ที่บัญญัติศัพท์คำนี้คือ พลตรี พระเจ้าวรวงเธอกรมหมี่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ มีความหมายว่า “กฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งกำหนดรูปแบบและหลักการปกครอง ตลอดจนวิธีการดำเนินการปกครองไว้อย่างเป็นระเบียบ รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของประชาชนที่พึงกระทำต่อรัฐกับรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนซึ่งรัฐจะละเมิดมิได้ไว้อีกด้วย

ได้มีผู้สงสัยว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นแบบอารยประเทศ จะไม่ทรงมีพรกระแสพระราชดำริเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ หรือคำกราบบังคมทูลของกลุ่มบุคคลใน ร.ศ.103 ไม่บังเกิดผลแต่อย่างไร ต่อมานายปรีดา ศรีชลาลัย ได้เล่าเรื่องการค้นพบ “ร่างรัฐธรรมนูญแผ่นดินของสมเด็จพระปิยมหาราช” ว่า

บังเอิญงานค้นคว้าทางประวัติศาสตร์เป็นผลให้ข้าพเจ้าได้พบสำเนา

ร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งรัชกาลที่ 5 ในร่างนั้นมีระบุถึงประธานาธิบดีแต่ไม่ใช่

ประธานาธิบดีแห่งมหาชนรัฐ ข้อความบ่งให้ทราบว่าได้ร่างขึ้นก่อน ร.ศ 112

(คือก่อนพ.ศ.2436 ) แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ร่าง ครั้นต่อมาได้พบสำเนาจดหมาย

ของท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี กราบบังคมทูลพระกรุณาท้าวความถึงสมเด็จ

กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ...สมเด็จกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ได้ทรงทราบ

จดหมายของท่านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีตลอดแล้ว จึงลงลายพระหัตถ์เป็น

การชี้แจงตอบ... ล้วนแต่เกี่ยวกับการเมืองอย่างสำคัญๆ ในระหว่างนั้นและ

โดยเฉพาะราชการของที่ประชุมร่างกฎหมายและกฎข้อบ้งคับ ประสบอุปสรรค

ต่างๆ เพราะเหตุไร ในส่วนพระองค์ท่าน...ทำการร่างกฎหมายสำคัญไปแล้วมีอะไร

บ้าง เช่น (1) ราชประเพณี (ได้แก่ที่เรียกในปัจจุบันนี้ว่า รัฐธรรมนูญ) (2) พระราช

กฤษฎีกาสำหรับที่ชุมนุมทั้งปวงปรึกษากันในสภา ฯลฯ เป็นอันทราบได้จากสำเนา

ลายพระหัตถ์ดังกล่าวมานี้ว่า ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่าราชประเพณี

สมเด็จพรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการทรงร่างเสด็จ ก่อนวันที่ 9 สิงหาคม

พ.ศ.2432 (คือเมื่อก่อน60 ปีมานี้ หรือก่อนสิ้นรัชกาลที่ 5 เป็นเวลา 20 ปีเต็ม)

“ราชประเพณี” ที่กล่าวถึง ชื่อว่า “ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ 1 ว่าด้วยราชประเพณีกรุงสยาม” เป็นร่างกฎหมาย 20 มาตรา กำหนดพระบรมเดชานุภาพ ราชสดมภ์คือ (1) รัฐมนตรีสภาหรือลูกขุน ณ ศาลหลวง คือผู้ซึ่งทรงเลือกสรรให้คิดร่างกฎหมาย และคอยระวังไม่ให้เสนาบดีสภาทำผิดพระราชกำหนดกฎหมาย (2) องคมนตรีสภา เป็นผู้ทรงเลือกสรรไว้ต่างพระเนตรพระกรรณ (3) เสนาบดีสภา หรือลูกขุน ณ ศาลา เป็นผู้ซึ่งทรงเลือกสรรไว้ทนุบำรุงแผ่นดินตามพระบรมราโชบายและตามพระราชกำหนดกฎหมาย ในราชประเพณียังกล่าวถึงการสืบสันตติวงศ์ ผู้รั้งราชการ การประชุม คำวินิจฉัยตกลงเป็นมาตราสุดท้าย

ร่างรัฐธรรมนูญในรัชการที่ 5 มีความสำคัญที่จะได้เปรียบเทียบว่า ความมุ่งหมายของคนในสมัชนั้นกับความมุ่งหมายของคนในปัจจุบัน แตกต่างกันอย่างไร ส่วนไหนเป็นประโยชน์และความต้องการของฝ่ายปกครอง และส่วนไหนราษฎรจะได้ผลดีบ้าง ร่างรัฐธรรมนูญในรัชกาลที่ 5 ไม่ได้ปรากฎว่านำมาใช้แต่อยางไรบทความเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเทียนวรรณ เทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส วัณณาโภ เกิดใน พ.ศ. 2358 หลังจากสึกจากสมณเพศใน พ.ศ.2411 ได้ลงเรือไปกับผรั่งท่องเที่ยวในเอเชียและหมุ่เกาะแปซิฟิกเป็นเวลาหลายปี เทียนวรรณเคยถวายหนังสือที่เขาพิมพ์ขึ้นพร้อมกับขอรับราชการเมื่อ ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) เทียนวรรณเป็นที่ปรึกษาของหนังสือพิมพ์สยามออฟเซอรเวอร์ ต่อมาได้ออกหนังสือรายปักษ์ชื่อ ตุลวิภาคพจนกิจ ได้ล้มเลิกเมือ พ.ศ. 24498 แล้วออกหนังสือเล่มใหม่ชื่อ ศิริพจนภาค เป็นรายเดือนในปี พ.ศ. 2451 เทียนวรรณตกลงใจเขียนสิ่งที่จนคิดออกเผยแพร่ วิจารณ์สภาพการณ์ที่เขาเห็นว่าควรมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงด้วยความรักชาติ ด้วยความบริสิทธิ์ใจ

เรื่องที่เทียนวรรณวิจารณ์รุนแรงที่สุด จนเป็นเหตุให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต้องทรงโต้ตอบก็คือ เรื่องว่าด้วยกำลังใหญ่ 3 ประการของบ้านเมือง กล่าวคือต้องมีปัญญาและมีความรู้มาทั่วกัน ทั้งเจ้านาย ขุนนาง และราษฎร มีโภคทรัพย์สมบัติมาก และบ่อเกิดของทรัพย์เกิดจากปัญญาและวิชาความเพียรของรัฐบาลและราษฎร มีทหารและพลเมืองมากและกล่าวว่า ชาวยุโรปได้เอาใจใส่ปกครองชาติ ราษฏรมีโอกาสอันดีด้วยความสามัคคีเป็นใหญ่ พูดถึงญี่ปุ่นใช้เวลา 60 ปี ก็เจริญโดยเร็วทั้งมีความรู้ยิ่ง ประเทศอังกฤษยอมให้คนบังคับอังกฤษรับอำนาจศาลวินิจฉัยของศาลญี่ปุ่นตามแต่ญี่ปุ่นจะพิพากษา

ในเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตย เทียมวรรณเสนอความคิดในข้อเขียนเรื่อง “ว่าด้วยความฝันละเมอแต่มิใช่นอนหลับ” ในข้อที่ 28 กล่าวไว้ว่า

จะตั้งปาลิเมนต์ อนุญาตให้มีหัวหน้าราษฎรมาพูดธุระชี้แจงของตนแก่

รัฐบาลได้ ในข้อที่มีคุณและมีโทษทางความเจริญและไม่เจริญนั้นๆ ได้

ตามเวลาที่กำหนดอนุญาตไว้

ในความฝันที่เราฝันมานี้ ในชั้นต้นจะโหวตเลือกผู้มีสติปัญญาเป็น

ชั้นแรกคราวแรกที่เริ่มจัด ให้ประจำการในกระทรวงทุกอย่างไปก่อน

กว่าจะได้ดำเนินให้เป็นปรกติเรียบร้อยได้

ต่อมาเทียนวรรณได้เขียนกลอนให้เห็นว่า ราษฎรจำเป็นต้องมีผู้แทน มีรัฐสภา ซึ่งเทียนวรรณใช้คำทับศัพท์ว่า ปาลิเมนต์

ไพร่เป็นพื้นยืนร้องทำนองชอบ ตามระบอบปาลิเมนต์ประเด็นขำ

แม้นนิ่งช้าล้าหลังยังมิทำ จะตกต่ำน้อยหน้าเวลาสาย

ขอให้เป็นเช่นเราผู้เฒ่าทก บำรุงรักษาชาติสะอาดศรี

ทั้งเจ้านายฝ่ายพหลและมนตรี จะเป็นศิวิไลซ์จริงอย่านิ่งนาน

ให้รีบหาปาลิเมนต์ขึ้นเป็นหลัก จะได้ชักน้อมใจไพร่สมาน

เร่งเป็นฟรีปรีดาอย่าช้ากล รักษาบ้านเมืองเราช่วยเจ้านาย

จะเห็นว่าข้อเสนอของเทียนวรรณ ก้าวหน้าไปกว่าคำกราบบังคมทูลของกลุ่มเจ้านาย และข้าราชการใน ร.ศ. 103 เพราะได้เรียกร้องให้มีรัฐสภาซึ่งมาจากราษฎร

การเรียกร้องให้มีการปกครองแบบรัฐสภา ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอนเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระบรมราชาธิบายว่าด้วยความสามัคคีแก้ความในคาถาที่มีโนอามแผ่นดิน” ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอธิบายแนวความคิดอันเป็นพื้นฐานของพระราโชบายของพระองค์เกี่ยวกับการปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง ทั้งเป้นการชี้แจงด้วยว่าเหตุใดพระองค์จึงยังไม่ทรงจัดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทยให้เป็นไปตามแบบฉบับของประเทศในยุโรปโดยทันที่เช่น

เพราะฉะนั้นจะป่วยการกล่าวไปถึงความคิดที่จะตั้งปาลิเมนต์

ขึ้นในหมู่คนซึ่งไม่มีความรู้พอที่จะคิดราชการ และไม่เป็นความต้องการ

ของคนทั้งปวง นอกจากที่อยากจะเอาอย่างประเทศยุโรปเพียงสี่ห้าคน

เท่านั้น … ถ้าจะจัดตั้งปาลิเมนต์ หรือให้เกิดมีโปลิติกัลปาตีขึ้นใน

เวลาที่บ้านเมืองยังไม่ต้องการดังนี้ ก็จะมีแต่ข้อทุ่มเถียงกันจนการอันใด

ไม่สำเร็จไปได้ เป็นเครื่องถ่วงให้บ้านเมืองมีความเจริญช้า… ส่วน

เมืองเราราษฎรไม่มีความปรารถนาอยากจะเปลี่ยนแปลงอันใด …

การที่อยากเปลี่ยนแปลงนั้นกลับเป็นของผู้ปกครองบ้านเมืองอยาก

เปลี่ยนแปลง… ถ้าจะตั้งปาลิเมนต์ขึ้นในเมืองไทย เอาความคิดราษฎร

เป็นประมารในเวลานี้แล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่าจะไม่ได้จัดการอันใดได้

สักสิ่งหนึ่งเป็นแน่แท้ที่เดียว คงจะเถียงกันป่นปี้ไปเท่านั้น




 

Create Date : 23 สิงหาคม 2550    
Last Update : 23 สิงหาคม 2550 17:28:30 น.
Counter : 305 Pageviews.  

ในปีมงคลนี้ รวบรวมพระราชทรัพย์มาแสดงไว้เพื่อร่วมกันชื่นชมพระบารมี

ราชพาหนะคันล่าสุด MAYBACH 62

สัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยทั่วประเทศมีความสุขที่ได้ร่วมแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และปลาบปลื้มกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 8-13 มิถุนายน 2549 นี้ ในขณะเดียวกัน ก็ได้พบเห็นข้าราชบริพารใกล้ชิด ที่ถวายงานให้กับองค์พระประมุขสูงสุดของชาติ ในพระราชพิธีสำคัญหลายต่อหลายครั้ง นั่นคือ ราชพาหนะคันล่าสุด มายบัค 62 (MAYBACH 62)


มายบัค เป็นรถระดับอัครอลังการแห่งความหรูหรา ที่ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของเยอรมันอย่างเดมเลอร์ไครสเลอร์ บรรจงสร้างสรรค์ขึ้นมาจากตำนานในอดีตของตัวเองมาเสกสรรปั้นแต่งใหม่อีกครั้ง ให้กลับมาสู่ความยิ่งใหญ่และเหนือชั้นกว่า โรลสรอยซ์ ค่ายรถหรูสัญชาติอังกฤษ โดยมายบัค ผลิตออกมาคำสั่งซื้อเท่านั้น ซึ่งเดมเลอร์ไครสเลอร์(ประเทศไทย)เคยนำมายบัคมาโชว์ตัวที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ เมื่อกลางปี 2548 ที่ผ่านมาแล้ว โดยกำหนดราคาเบื้องต้นกว่า 100 ล้านบาท มายบัคมีให้เลือกได้สองแบบ รุ่นท็อปสุด มายบัค 62 ที่มีความยาว 6.17 เมตร โอ่อ่ากว้างขวางสุดหรูหรา ตามด้วยรุ่น มายบัค 57 ที่มีความยาว 5.73 เมตร


คุณค่าและความยิ่งใหญ่ของมายบัคอยู่ที่ความเลิศหรู อลังการและความหรูหราของห้องโดยสารที่กว้างขวาง สง่างาม เและนุ่มสบายตลอดการเดินทางของบุคคลระดับที่มีความสำคัญสูงสุด หรูหรา อลังการ ตั้งแต่ด้านหน้าสุดจนถึงเอนพนักเก้าอี้ลงจนสุดด้านหลัง ในรุ่นมายบัค 57 ให้ความยาวของห้องโดยสาร 2245 มิลลิเมตรและรุ่นมายบัค 62 ให้ความยาวระดับคฤหาสน์คลื่อนที่ 2682 มิลลิเมตร เก้าอี้ผู้โดยสาร หลังมีพื้นเหยียดเท้าถึง 1570 มิลลิเมตร ห้องสัมภาระท้ายรถ สามารถบรรจุกระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ 5 ใบในรุ่น มายบัค 62 สามารถปรับเอนเก้าอี้ได้สบายอย่างเหนือชั้น เช่นเดียวกับที่นั่งชั้นหนึ่งของเครื่องบินโดยสารยุคปัจจุบัน ผู้โดยสารเพียงแต่ใช้ปุ่มปรับเก้าอี้แบบสัมผัส จากนั้นเก้าอี้จะเลื่อนอย่างช้าๆ ไปยังตำแหน่งที่ได้ปรับตั้งและเก็บไว้ในหน่วยความจำ โดยเลื่อนปรับได้สูงสุดถึง 47 องศา ในขณะเดียวกัน แผงรองขาและที่วางเท้าจะยื่นออกจากใต้เก้าอี้ออกไปข้างหน้าเพื่อรองรับ จากนั้นผู้โดยสารจะสามารถนั่งเอนได้ด้วยความสะดวกสบายที่สุด


ด้วยความสุขสบายสุดยอดนี้ เก้าอี้ของ มายบัค 62 ยังได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูงสุดในทุกตำแหน่ง ระบบยึดรั้งของลูกรอกสายเข็มขัด ชุดจำกัดแรงรัดเข็มขัดและถุงลมด้านข้างได้รวมไว้กับพนักพิงหลัง มั่นใจได้ว่าผู้โดยสารตอนหลังจะได้รับการปกป้องจากภยันตรายเมื่อปรับเอนเก้าอี้นั่ง


มายบัค 62 ยังสามารถดัดแปลงให้เป็นสำนักงานเคลื่อนที่ได้ด้วย ด้วยเหตุนี้วิศวกรรมใน Sindelfingen ได้พัฒนาโต๊ะพับทำด้วยอลูมินั่มสำหรับเก้าอี้หลังแต่ละคู่ พื้นโต๊ะแต่ละตัวแยกออกเป็นสองส่วน ขอบโต๊ะตกแต่งด้วยไม้ประดับคุณภาพสูง โต๊ะพับ ( เป็นอุปกรณ์มาตรฐานของ Maybach 62 ) มีช่องเก็บที่คอนโซลหลังแต่ละด้านเพื่อประหยัดเนื้อที่และสามารถดึงออกมาด้วยห่วงหนังเพียงใช้แรงเล็กน้อยเท่านั้น


นอกจากนี้ ที่ช่องเก็บตัวกลางของด้านหลังเป็นจุดรวมแหล่งบันเทิงที่วิศวกร ได้ออกแบบไว้สำหรับผู้โดยสารใช้เพื่อความบันเทิงขณะเดินทาง อันประกอบด้วยเครื่องเล่น DVD ชุด CD 6 แผ่น โทรศัพท์สองชุด ช่องแช่เย็นทำงานด้วยคอมเพรสเซอร์ของตัวเอง ชุดวางขวดแชมเปญและแก้วแชมเปญที่อยู่ในตำแหน่งอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ แผงหน้าปัดโค้งบนเพดานเพื่อให้ผู้โดยสารตอนหลังทราบข้อมูลความเร็วรถขณะนั้น


ไฮไลต์ของมายบัค 62 ที่สร้างความหรูหราอลังการ คือ หลังคาแบบพาราโนรามิคที่สามารถปรับความโปร่งแสงด้วยไฟฟ้า โดยปรับระดับความสว่างที่ส่องเข้าห้องโดยสารนี้จะอาศัยการควบคุมผลึกเหลวให้เรียงตัว การควบคุมแสงสว่างนี้มีติดตั้งใน มายบัค เป็นรุ่นแรกของโลกยานยนต์


ขุมพลังของมายบัค 62 เป็นสุดยอดแห่งเครื่องยนต์ คือ เครื่องยนต์ 12 สูบ เทอร์โบคู่ ขนาด 5.5 ลิตร ขับพลังงาน 405 กิโลวัตต์ / 550 แรงม้าด้วยแรงบิดสูงสุด 900 นิวตันเมตร ทำให้เครื่องยนต์ \\\" Type 12 \\\" เป็นขุมพลังงานทรงพลังด้วยแรงม้าและแรงบิดไร้เทียมทาน

ข้อมูลทางเทคนิค Maybach 62
เครื่องยนต์ 12 สูบ วางเป็นรูปตัว V 3 วาล์วต่อสูบ
ปริมาตรกระบอกสูบ 5513 ซีซี.
ความกว้าง x ช่วงชัก 82.0 x 87.0 มม.
กำลังสูงสุด 550 แรงม้าที่ 5250 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 900 นิวตันเมตร ที่ 2300-3000 รอบ/นาที
อัตราส่วนกำลังอัด 9.0 : 1
ระบบถ่ายทอดกำลัง เกียร์ อัตโนมัติ 5-สปีด
ราคา ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท

มายบัคได้กลับมาสร้างรถยนต์หรูหราอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การดูแลของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ โดยได้เริ่มออกมา 2 รุ่นได้แก่ มายบัค 57 และ มายบัค 62 มีลักษณะเหมือนกันแตกต่างกันตรงความยาวของตัวถังรถ รถมายบัคถือว่าเป็นรถในระดับหรูหรา ซึ่งราคาใกล้เคียงกับรถบริษัทอื่นเช่น เบนลีย์ หรือ โรลส์-รอยศ์ ในปี พ.ศ. 2548 มายบัคได้ออกรถยนต์รุ่น 57S มีลักษณะเป็นรถสปอร์ต โดยมีเครื่องยนต์ 6 ลิตร V12 เทอร์โบคู่ ผลิตแรงม้าได้สูงถึง 604 แรงม้า และ ทอร์กได้สูงถึง 737 ปอนด์/ฟุต

รถยนต์พระที่นั่ง

1. มายบัค 62 เลขทะเบียน ร.ย.ล.1 รถยนต์พระที่นั่งทรงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
2. มายบัค 62 เลขทะเบียน 1ด-1992 รถยนต์พระที่นั่งสำรองในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
3. มายบัค 62 เลขทะเบียน 1ด-1991 รถยนต์พระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

รายการราชพาหนะ ไม่รวมรถตามเสด็จ

รถยนต์พระที่นั่งในพิธีการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
1. มายบัค 62 เลขทะเบียน ร.ย.ล.1 ทรงใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งทรงในปัจจุบัน
2. มายบัค 62 เลขทะเบียน 1ด-1992 ทรงใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งสำรองในปัจจุบัน
3. เมอร์ซิเดส เบนซ์ เอส 600 แอล เลขทะเบียน ร.ย.ล.901 ทรงใช้ในราชการประจำพระองค์ในปัจจุบัน
4. คาดิลแลค ดีทีเอส เลขทะเบียน ร.ย.ล.960 ทรงใช้ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ โดยรถพระที่นั่งองค์นี้ เป็นรถที่ได้รับการดัดแปลง โดยนำมาตัดหลังคา ให้เป็นรถเปิดประทุน

รถยนต์พระที่นั่งในพิธีการ - แปรพระราชฐานต่างจังหวัด และรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์
ทรงเก็บไว้ที่ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต

5. มายบัค 62 สีน้ำเงิน-ทอง เลขทะเบียน 1ด-1991
6. บีเอ็มดับเบิลยู 760Li สีครีม เลขทะเบียน 1ด-1993
7. โตโยต้า คัมรี่ 2.4V Navigator สีครีม
8. ฮอนด้า แอคคอร์ด 2.4 i-Vtec EL สีดำ
9. นิสสัน เทียน่า 200JK สีครีม
10. มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ซีเดีย 1.8 SEi สีบรอนซ์ฟ้า เลขทะเบียน 1ด-4477

ทรงเก็บไว้ที่ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน

11. โตโยต้า วีออส 1.5G Limited สีดำ
12. โตโยต้า ยาริส 1.5G Limited สีแดง
13. เล็กซัส LS460L สีครีม
14. โตโยต้า อินโนว่า 2.0 สีทอง
15. โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ เอ็กเซ็กคลูทีฟ สีขาวมุก

ทรงเก็บไว้ที่ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เชียงใหม่

16. เล็กซัส LS460L สีครีม
17. โตโยต้า อินโนว่า 2.0 สีทอง
18. โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ เอ็กเซ็กคลูทีฟ สีขาวมุก

ทรงเก็บไว้ที่ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ นราธิวาส

19. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S600 LWB W220 เลขทะเบียน ร.ย.ล.100
20. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S600 LWB W220 เลขทะเบียน ร.ย.ล.100
21. โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ เอ็กเซ็กคลูทีฟ สีขาวมุก

ทรงเก็บไว้ที่ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร

22. เล็กซัส LS460L สีครีม
23. โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ เอ็กเซ็กคลูทีฟ สีขาวมุก

รถยนต์ซึงจัดซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งได้พระราชทานให้หน่วยงานหรือข้าราชบริพารใช้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงมีรถยนต์มากมายเกินกว่าที่จะนับได้ รถส่วนหนึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ข้าราชบริพารใช้ จะมีทะเบียนเป็น ดส-xxxx โดยรถจำพวกนี้ที่ประชาชนเห็นบ่อยๆ มีดังนี้

24. ฟอร์ด โฟกัส GHIA 1.8L 4Dr. พระราชทานให้เป็นรถทดลองเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ใน พระราชดำริ โดยร่วมมือกับ บริษัท ฟอร์ด เซลล์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน
25. ฟอร์ด เรนเจอร์ โอเพ้นแค็บไฮไรเดอร์ พระราชทานเป็นรถในโครงการทดลองข้าว โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ในพระราชดำริ
26. โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ Extra-Cab 2.5G D4D พระราชทานให้มูลนิธิชัยพัฒนาใช้
27. โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส 1.6G พระราชทานให้เป็นรถตัวอย่างก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี
28. เมอร์ซิเดส เบนซ์ S600L W220 พระราชทานให้ พลเอก เปรม ติณณสูลานนท์ องคมนตรี ใช้เป็นรถประจำตำแหน่ง
29. เมอร์ซิเดส เบนซ์ E280 W211 พระราชทานให้เป็นรถตามเสด็จ/ขบวนแดง/พระประเทียบ

ข้อมูลจาก "//th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_9".

ในหลวงของไทยครองตำแหน่งนักลงทุนอันดับ1ของประเทศ

โดยวิลเลียม เมลเลอร์ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก
(*บลูมเบิร์กเป็นสำนักข่าวด้านการเงินการลงทุนที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของโลก-ผู้แปล)
-การถือครองสิริราชย์สมบัติผ่านทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กว่า5,000ล้านเหรียญสหรัฐฯ
-ในปัจจุบันพระเจ้าอยู่หัวทรงมีที่ดิน13,000เอเคอร์ ในนั้นกว่า3,000เอเคอร์อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทย โดยพื้นที่บางแห่งมีมูลค่ากว่า30ล้านเหรียญต่อเอเคอร์

ทางด้านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานหุ้นที่ในหลวงของพสกนิกรชาวไทยถืออยู่ในนามของพระองค์ท่านมีดังนี้

1.SAMCO : บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจหมู่บ้านสัมมากร

ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %

1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 197,414,850 43.87

2 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสรา 45,847,050 10.19

3 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 25,000,000 5.56

ที่มา://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=samco&language=th&country=TH

2.TIC : บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เจ้าของบริษัทประกันภัย

ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %

1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 3,526,567 18.56
5 สำนักงานพระคลังข้างที่ บ/ช วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 456,168 2.40

7 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสรา 391,276 2.06

9 สำนักงานพระคลังข้างที่ บ/ช สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ 299,520 1.58

15 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 214,755 1.13

ที่มา://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=tic&language=th&country=TH

3. MINT : บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจพิซซ่า และไอศครีมSWENSEN

ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %

1 บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 503,478,032 17.19

17 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 42,583,274 1.45

27 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 17,300,800 0.59

28 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสรา 16,988,094 0.58

ที่มา: //www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=mint&language=th&country=TH

4.SINGER : บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจจักรเย็บผ้าและตู้เย็นเงินผ่อนSINGER


ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %

1 SINGER ( THAILAND) B.V. 129,600,000 48.00

12 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 1,383,770 0.51

ส่วนหุ้นที่ไม่ได้ถือหุ้นในนามของพระองค์ท่าน แต่ผ่านทางสำนักงานทรัพย์สินฯ ตลาดหลักทรัพย์ก็รายงานไว้ดังนี้

1.DVS : บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจประกันภัย


ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %

1 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 10,475,992 87.30

2 บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด 1,042,200 8.69

3 คณะบุคคลนายวศิน นางกิ่งกาญจน์ โดยนายสมเกียรติ วงศ์รัตน์ 70,460 0.59

ที่มา://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=dvs&language=th&country=TH

2. SCC : บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) เจ้าของธุรกิจปูนซิเมนต์ กระดาษ ปิโตรเคมี และฯลฯ

ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) % หุ้น

1 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 360,000,000 30.00

6 บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด 23,202,000 1.93

7 สำนักงานพระคลังข้างที่
ที่มา://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=SCC&language=th&country=TH

3. SCB : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

1 CHASE NOMINEES LIMITED 42 127,748,066 6.74


5 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 100,265,685 5.29

6 บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด 82,010,000 4.33

9 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 50,000,000 2.64

ที่มา://www.set.or.th/set/companyinfo.do?type=holder&symbol=SCB&language=th&country=TH

ส่วนตรงนี้เป็นการรายงานของสำนักงานทร้พย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ครับ

เดิมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ ในสังกัดสำนักพระราชวัง ต่อมา มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช 2477 เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2478 โดยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ได้แบ่งแยกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ออกเป็น 2 ประเภท


สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีผู้เช่าในความดูแลประมาณ 37,000 สัญญา โดยกระจายอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 25,000 สัญญา ส่วนภูมิภาคซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร ลำปาง ราชบุรี เพชรบุรี สงขลา นครปฐม ฉะเชิงเทรา และชลบุรี รวมประมาณ 12,000 สัญญา

ขอเชิญพสกนิกรชาวไทยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณจองธนบัตรเฉลิมพระเกียรติ80ปี น้อมถวายในหลวง1,000ล้านบาท

ธปท.ออกธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฯ80ปีในหลวง ตั้งเป้าได้ไม่น้อยกว่า1,000ล้านบาททูลเกล้าถวาย

แบงก์ชาติคลอดธนบัตรที่ระลึกฯ80ปี 1 บาท 5 บาท 10 บาท 15 ล้านชุด แบบไม่ตัดแบ่งเปิดจองหมวด 9 หน้า ราคา 300 บาท ที่แบงก์พาณิชย์ แบงก์รัฐทั่วประเทศ 2 ส.ค.นี้ ส่วนหมวดปกติ 100 บาท แลกได้ 28 พ.ย.นี้

นายสมชาย ศฤงคารินกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและสนับสนุนการบริหาร ธปท.กล่าวว่า ถ้าจำหน่ายได้หมด จะมีรายได้ส่วนต่างจากมูลค่าหน้าธนบัตรที่ระลึกฯ หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท

เครื่องบินพระราชพาหนะ ปัจจุบันมีดังนี้

1.โบอิ้ง 737-400 ซึ่งปัจจุบันเป็นเครื่องพระที่นั่งที่ประจำการ
2.Airbus 319-300 เป็นเครื่องพระที่นั่งสำรอง
3.Airbus-ACJ 319 หรือไทยคู่ฟ้าเดิม เป็นเครื่องพระที่นั่งสำรอง

และ ที่มาใหม่ลำนี้
4. โบอิ้ง 737-800 ไม่ทราบราคาจริงๆ เท่าไหร่ แต่งบประมาณที่ตั้งไว้
คือ 3100 ล้านบาท ตั้งตอนปี 2548 สมัยรัฐบาลทักษิณ น่าจะอยู่ในงบ
ปี 49 นะ ยังไม่มีเวลาค้น

เมื่อลำใหม่ 737-800 มาจะมาเป็นเครื่องพระที่นั่งลำหลัก
แล้ว 737-400 อาจจะถูกประจำการกับฝูงบินเดโชชัยของ
สมเด็จพระบรมฯ ครับ




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2550    
Last Update : 21 สิงหาคม 2550 23:12:05 น.
Counter : 592 Pageviews.  

เอกสารประมวลผลการดำเนินงานของรัฐบาล 5 ปี ภายใต้การบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จัดทำโดยสำนัก

เอกสารประมวลผลการดำเนินงานของรัฐบาล 5 ปี ภายใต้การบริหารงานของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ปรากฏว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ประเทศโตขึ้นจาก 4.9 ล้านล้านบาท เมื่อปี 2544 และเมื่อสิ้นสุดปี 2548 เพิ่มเป็น 7.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่มกว่า 40% (แล้วจะให้ใครมาทำให้ว่ะเนี้ยะ หันไปทางไหนก็มีแต่หน้าจริยะระยำทำทั้งนั้น)

ประชาชนไทยมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้น 38.7% จาก 79,100 บาท เมื่อปี 2544 เพิ่มขึ้นมาเป็น 109,700 บาท ในปี 49 (ใบ้แดกเลยเมิง แล้วใครจะมาทำให้คนรากหญ้าได้ละว่ะที่นี้ สมน้ำหน้าอยากไล่กันดีนัก)

ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี เงินสำรองของประเทศมีจำนวน 32,600 ล้านเหรียญสหรัฐ จนมาถึงปี 2548 เพิ่มขึ้นเป็น 53,370 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่ากับสูงขึ้น 63.4% (เป็นไงหล่ะ ถลุงกันใกล้เกลี้ยงหรือยัง)

ก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี หนี้ต่างประเทศอยู่ที่ 79,715 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบัน ลดลงเหลือ 51,588 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลง 33.3% และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดลงจาก 17.9% เหลือ 8.2% (เอ้า....ไปต้มกินบ้างก็ได้นะ สำหรับพวก 2.4 นะ....เพราะข้อมูลพวกเนี้ยะ มันอาจทำให้ต่อมสำนึกดี ทำงานได้เป็นปกติได้)

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น 151.5% มูลค่าตลาดเพิ่มขึ้น 242.0% การจ้างงานเพิ่มขึ้น 12.4% อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 1.8% เส้นความยากจนได้มีการปรับให้เป็น 1,243 บาทต่อเดือน คนจนลดลงเหลือ 7.5 ล้านคน

กล่าวสำหรับ รายได้เกษตรกรต่อคน ต่อปี ตอนต้นปี 2544 เท่ากับ 32,120 บาท ต้นปี 2548 รายได้เกษตรกรต่อคน ต่อปี เท่ากับ 52,320 บาท คิดแล้วเพิ่มขึ้น 62.9% ที่เป็นเช่นนี้ย่อมสัมพันธ์กับราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง (คนจนๆหายไปบานเลย คนที่เป็นคนชั้นกลางกระทบนิดหน่อยแน่ๆเลย กับการกินดีอยู่ดีของพวกเกษตรชาวรากหญ้าแค่นี้ก็อิจฉาแล้วหรือว่ะ)

ต้นปี 2544 ข้าวเปลือกเจ้า 10% กิโลกรัมละ 4.37 บาท ต้นปี 2548 ข้าวเปลือกเจ้า 10% กิโลกรัมละ 6.45 บาท

ต้นปี 2544 ข้าวหอมมะลิ กิโลกรัมละ 6.47 บาท ต้นปี 2548 ข้าวเปลือกเจ้า 10% กิโลกรัมละ 7.63 บาท

ต้นปี 2544 ยางแผ่นดิบชั้น 3 กิโลกรัมละ 21.90 บาท ต้นปี 2548 ยางแผ่นดิบชั้น 3 กิโลกัมละ 65.28 บาท (ตอนนี้เป็นไงหล่ะตายห่ากันหมดหรือยัง)

ขณะเดียวกัน การแบ่งรายได้และ***ส่วนผู้ประกอบการก็มีการเปลี่ยนแปลง
ปี 2543 ส่วนแบ่งรายได้ของคนระดับกลาง เท่ากับ 38.3% มาถึงปี 2547 ส่วนแบ่งรายได้ของคนระดับกลาง เท่ากับ 45.2%

ปี 2543 ส่วนแบ่งรายได้ของคนรายได้น้อย เท่ากับ 4.2% มาถึง 2547 ส่วนแบ่งรายได้ของคนรายได้น้อย เท่ากับ 6.4%

ปี 2543 ส่วนแบ่งรายได้ของคนรายได้สูง เท่ากับ 57.8% มาถึงปี 2547 ส่วนแบ่งรายได้ของคนรายได้สูง เท่ากับ 48.4%

แสดงว่ามาตรการสร้างเสถียรภาพและการฟื้นฟูเศรษฐกิจช่วยสร้างและเพิ่มรายได้ ทำให้จำนวนคนจนลดลงจาก 12.8 ล้านคนในปี 2543 เป็นประมาณ 7.5 ล้านคนในปัจจุบัน มีการกระจายรายได้ที่ดีขึ้นโดยที่คนระดับกลาง (60%) ของประเทศมีส่วนแบ่งรายได้สูงขึ้น

(บทสรุป จาก "สภาพัฒน์" 5 ปี รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร)

ที่มา มติชนรายสัปดาห์




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2550    
Last Update : 21 สิงหาคม 2550 18:12:37 น.
Counter : 342 Pageviews.  

1  2  

thaihypn
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add thaihypn's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.