ผมชื่อ เด็กชายออมบุญครับ
 
อยากให้ลูกฉลาด พ่อแม่ต้องหย่าขาดจากการ “ขี้ชม” by sunday_female

อยากให้ลูกฉลาด พ่อแม่ต้องหย่าขาดจากการ “ขี้ชม”

 

 

จากคุณ : sunday_female

 

เขียนเมื่อ : 16 เม.ย. 55 21:09:33

 

 

สวัสดีค่ะเพื่อนๆสมาชิกชานเรือนทุกท่าน วันนี้จขกท อยากนำบทความเกี่ยวกับการชมลูกที่ได้เรียบเรียงไว้มาแบ่งปันให้พ่อแม่ในห้อง นี้ได้อ่านกัน สำหรับเพื่อนสมาชิกชมรมครูพ่อแม่นั้น คงได้อ่านบทความนี้กันแล้ว แต่จขกทคิดว่า บทความนี้มีประโยชน์และอยากให้พ่อแม่หลายๆท่านได้อ่านกันค่ะ

 

//kroopohmae.com/group/early-learning/forum/topics/praise

 

--------------------------------------------------------------

 

แม่ แอ๋วได้มีโอกาสอ่านบทความที่น่าสนใจเรื่องการเลี้ยงลูกให้ฉลาด และวิธีชมลูกอย่างไรให้ถูกวิธี พอได้อ่านบทความแล้ว ถึงกับอึ้ง และต้องกลับไปอ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะไม่นึกมาก่อนเลยว่า ตัวแม่แอ๋วเองจะเป็นแม่ “ขี้ชม” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า praise junkies แถมไม่ใช่เป็นขี้ชมธรรมดานะคะ เป็นหนักมากค่ะ และไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า การที่เราบอกลูกทุกวันว่า “Good job! หรือ เก่งจังเลยลูก!” นั้นเป็นการบั่นทอนความมั่นใจของลูกในทางอ้อม และอาจจะส่งผลเสียต่อลูกได้ในระยะยาว
 
จากบทความ
How Not to Talk to your Kid ของ Po Bronson
เขาได้ยกตัวอย่างเด็กชายโธมัส ซึ่งเป็นเด็กมีพรสวรรค์ เกิดมาสมองดี สอบติดอันดับต้นๆของโรงเรียนสำหรับเด็กปัญญาเลิศ ในเมืองนิวยอร์ค ตั้งแต่จำความได้ เด็กชายโธมัสก็ได้ยินคนรอบข้าง ทั้งพ่อแม่ ผู้ใหญ่ ชมเชยเขาอยู่เสมอว่าเขาเป็นเด็กฉลาดหัวดี แต่ความฉลาดของเขานี้ไม่ได้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเด็กชายโธมัสเลย ตรงกันข้ามคือ เขาจะเลือกทำแต่สิ่งที่เขาทำได้ ส่วนอะไรก็ตามที่ทำไม่ได้ ก็จะไม่ยอมทำ พ่อแม่ก็พยายามบอกโธมัสว่า “ถึงลูกจะเกิดมาหัวดี ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกไม่ต้องใช้ความพยายามนี่น่า” พ่อแม่ต้องคอยเคี่ยวเข็ญให้เขาทำการบ้านวิชาที่ไม่ถนัดหรือไม่ชอบ หรือเขาจะยอมทำก็ต่อเมื่อโดนครูทวงแล้วนั่นแหละ ถึงจะยอมทำ น่าแปลกใจใช่ไหมคะ ทำไมเด็กที่หัวดีมาตั้งแต่เกิดถึงได้กลัวความท้าทาย ถึงได้ไม่อยากทำสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัดเอาซะเลย
 
Bronson เขียนไว้ว่า กรณีของเด็กชายโธมัสนี่ไม่ใช่กรณีแปลกใหม่ มีเด็กที่เกิดมาสมองดีหลายคนมองข้ามความสำคัญของความสามารถของตัวเองไป ความรู้สึกเช่นนี้จะทำให้เด็กไม่มีความคาดหวังและมุ่งมัน ไม่ให้ความสำคัญกับความพยายามทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ และเด็กเลือกที่จะให้ความสำคัญกับการขอความช่วยเหลือจากพ่อแม่ผู้ปกครองแทน ที่จะลองทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง การที่เราบอกลูกเราอยู่ทุกวันว่า “ลูกเก่งจัง” “ลูกฉลาดจัง” นั้นเป็นการติดฉลากให้ลูกว่าเขาเป็นเด็กฉลาด และการทำแบบนี้ก็ไม่ได้ช่วยให้ลูกเราเรียนดีหรือทำอะไรได้ดี แต่กลับเป็นสาเหตุให้ลูกเรามีความพยายามน้อยลงและในที่สุดก็จะเกิดปัญหาด้าน การเรียน
 
Carol Dweck นักจิตวิทยา และทีมงานจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (ตอนนี้ Carol Dweck อยู่ที่มหาวิทยาลัยแสตนด์ฟอร์ด) ทำงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของคำชมเชย โดยกลุ่มเด็กทดลอง ซึ่งเป็นเด็กเกรด 5 จำนวน 400 คน จากโรงเรียนในนิวยอร์ค ทีมงานของ Dweck ได้แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็นสองกลุ่ม
 
การทดลองครั้ง ที่หนึ่ง เด็กทั้งสองกลุ่มจะต่อพัสเซิลชุดที่ง่ายมาก และเด็กทุกคนสามารถทำได้แบบสบายๆ เด็กกลุ่มแรกจะได้รับคำชมว่า “หนูฉลาดมาก” ส่วนกลุ่มที่สองจะได้รับคำชมว่า “หนูมีความพยายามมากเลย”
 
การทดลอง ครั้งที่สอง ทีมงานได้นำพัสเซิลสองชุดมาให้เด็กทั้งสองกลุ่มเลือก ชุดแรกง่ายพอๆกับชุดที่ได้ทำไปครั้งแรก ชุดที่สองเป็นพัสเซิลที่ยากขึ้นมาอีก และผลที่ได้คือ 90% ของเด็กที่ได้รับคำชมว่ามีความพยายาม เลือกต่อพัสเซิลที่ยากขึ้น ส่วนเด็กที่ได้รับคำชมว่าฉลาด ส่วนใหญ่เลือกต่อพัสเซิลที่ง่ายเหมือนเดิม
 
รอบ ต่อมา เด็กๆทุกคนต้องต่อพัสเซิลชุดเดียวกัน ซึ่งเป็นชุดที่ยากมาก และเหมาะสำหรับเด็กที่โตกว่าสองระดับชั้น และก็เป็นไปตามความคาดหมายคือ เด็กทุกคนต่อพัสเซิลชุดนี้ไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจนระหว่างเด็กที่ได้รับคำชมว่าฉลาด กับเด็กที่ได้รับคำชมว่ามีความพยายามคือ เด็กที่มีความพยายามจะอดทน พยายามต่อพัสเซิล สนุกสนาน และเห็นพัสเซิลชุดนี้เป็นเกมที่ท้าทาย พยายามแก้และต่อให้ได้ ถึงต่อไม่ได้ก็ยังอารมณ์ชื่นบาน และชอบการทดสอบชุดนี้ของทีมงานมาก ในกรณีกลับกัน เด็กที่ถูกชมว่าฉลาดนั้น ก็นั่งต่อพัสเซิลไป ปาดเหงื่อไป เครียด และเริ่มเกิดความคิดที่ว่า ที่ต่อพัสเซิลไม่ได้นั้น เป็นเพราะตัวเองไม่ได้ฉลาดอย่างที่ใครๆบอก
 
การ ทดสอบรอบสุดท้ายนั้น ทีมงานได้ใช้พัสเซิลที่ได้รับการออกแบบมาให้ง่ายพอๆกับพัสเซิลที่ใช้ในการ ทดสอบชุดแรกที่เด็กทุกคนทำได้ เด็กที่ได้รับคำชมว่ามีความพยายาม ทำคะแนนได้มากขึ้นถึง 30% ส่วนเด็กที่ได้รับคำชมว่าเป็นเด็กฉลาดนั้น ทำคะแนนได้ต่ำกว่าคะแนนที่ได้จากชุดแรกถึง 20%
 
และ Dweck ได้สรุปไว้ในงานวิจัยว่า
 1.คน จำนวนมากคิดว่า การมีสติปัญญาดีคือกุญแจสู่ความสำเร็จ แต่หลังจากที่ได้ทำการค้นคว้ามากว่า 30 ปี ได้แสดงให้เห็นว่า ความฉลาด ความมีสติปัญญาดีหรือ พรสวรรค์นั้น เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิดและเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คนเราไม่มีภูมิคุ้มกันต่อความล้มเหลว กลัวความท้าทาย และไม่มีความกระตือรือร้นในการอยากรู้อยากเรียนเพิ่มเติม
 2.การสอนให้ เด็กมีความเชื่อว่าทุกสิ่งเป็นไปได้หากมีความพยายาม และให้ความสำคัญกับความพยายามมากกว่าความฉลาด หรือพรสวรรค์ จะทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน และในชีวิต
 3.พ่อแม่และครูสามารถ ช่วยสร้างทัศนคติที่ว่าทุกสิ่งเป็นไปได้หากมีความพยายามได้โดยการชมว่าเด็ก มีความพยายาม ไม่ท้อถอย (แทนที่จะชมว่าเด็กฉลาด หรือเก่ง) การเล่าเรื่องราวต่างๆที่เน้นความไม่ย้อท้อและความรักในการเรียนรู้ให้เด็ก ฟัง และการสอนให้เด็กเข้าใจว่าสมองเป็นเหมือนเครื่องยนต์แห่งการเรียนรู้ชนิด หนึ่ง หากได้รับการฝึกฝนอยู่เสมอ ก็จะทำงานได้ดี
 
หลังจากได้อ่านบท ความแล้ว แม่แอ๋วก็มานั่งคิดว่า นี่ฉันจะเลิกเป็นแม่ขี้ชมได้อย่างไรหนอ Bronson กล่าวไว้ในบทความของเขาว่า อาการขี้ชมก็เหมือนกับขี้เหล้า ติดงอมแงม จะให้มาเลิกชมลูกกันทันทีนั้นคงทำได้ยาก แม่แอ๋วเห็นด้วยมากๆเพราะตัวแม่แอ๋วเอง ตั้งแต่ได้อ่านบทความ ก็พยายามที่จะเลิกชมว่าลูกเก่ง แต่มาเน้นชมว่าลูกทำอะไรได้บ้าง ชมความพยายามของลูกแทน แต่มันก็มีหลุดบ้าง เพราะได้ชมกันมานมนานมาก จนติดปากและเป็นนิสัยไปแล้ว และพอพาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน จะไม่ชมลูกก็ยังไงๆอยู่ เพราะใครๆก็ชมลูกกันทั้งนั้น ลูกก็จะเหวอ (หรือเปล่า) ว่าทำไมแม่ไม่ชมหนูมั่งเลย เราก็เลยค่อยๆปรับตัวจากแม่ขี้ชมเป็น แม่ที่ชมเฉพาะเวลา “เข้าสังคม” และหวังว่าจะเลิกชม (ว่าลูกเก่ง) ได้อย่างเด็ดขาดในที่สุด
 
จากบทความเรื่อง
Five Reasons to Stop Saying “Good Job”ของ Alfie Kohn
ได้เสนอวิธีชมลูกอย่างถูกวิธีให้พ่อแม่ได้ลองนำไปทำดูค่ะ
 
 
 1.ไม่ชมเลย เช่นถ้าชมเพราะมันเป็นคำพูดติดปาก ชมเพราะคิดว่าเด็กทำได้เพราะบังเอิญ หรือชมแบบไม่ตั้งใจจะชม ก็อย่าชมเลยดีกว่า
 2.ชม ในสิ่งที่เห็น เช่นเห็นลูกใส่รองเท้าเองได้ แทนที่จะบอกว่า เก่งจังเลยลูก เราก็อาจจะบอกว่า “หนูใส่รองเท้าเอง”หรือ “หนูทำได้” อีกกรณีหนึ่งคือ หากลูกแบ่งของให้เพื่อน แทนที่เราจะชมลูกว่า “หนูใจดีจังที่แบ่งของให้เพื่อน” เราก็อาจจะเลือกที่จะชมว่า “เห็นหน้าเพื่อนหนูไหม เขาดีใจมากเลยที่หนูแบ่งของให้” การชมแบบนี้ เด็กจะเห็นผลว่าสิ่งที่เขาทำ ทำให้เพื่อนดีใจ และจะทำให้เด็กอยากแบ่งของให้เพื่อนอีก
 3.ชมน้อยลง ถามมากขึ้น เช่นลูกกำลังวาดรูปอยู่ แทนที่จะชมว่า “ลูกวาดรูปได้สวยจังเลย” เราก็อาจจะถามลูกว่า ส่วนไหนของรูปที่วาดยากที่สุด และทำไมลูกถึงรู้ว่าต้นไม้ต้องเป็นสีเขียว เป็นต้น
 
 
 
อย่าง ไรก็ดี นี่ไม่ได้หมายความว่า การชมเชย การขอบคุณ และการแสดงความชื่นชมยินดีเป็นสิ่งไม่ดีไปทั้งหมดนะคะ เราต้องดูด้วยว่าจุดประสงค์ของการชมคืออะไร และเพราะอะไรเราถึงชมลูก การแสดงสีหน้าท่าทางชื่นชมยินดี และดีใจนั้น ดีกว่าการชมเพราะคิดว่าลูกจะทำในสิ่งที่เราต้องการหากเราชมลูกบ่อยๆ อันตรายของการชมโดยทั่วไปคือ มันจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำสิ่งต่างๆเพราะอยากให้คนชม และแรงจูงใจแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน จะเป็นผลเสียกับลูกเรามากกว่าผลดี แทนที่จะชมว่าลูกเก่งหรือฉลาด ให้หันมาชมว่าลูกมีความพยายามกันดีค่ะ และอย่าลืมปลูกฝังความคิดที่ว่า สมองลูกเป็นกล้ามเนื้อชนิดหนึ่ง หากมีการออกกำลังอยู่เสมอ ก็จะเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงและล่ำบึ๊กในที่สุด
 
แม่แอ๋ว
 
บทความนี้เรียบเรียงมาจาก
 
How Not to Talk to Your Kids โดย Po Bronson
 
//nymag.com/news/features/27840/
 
Five Reasons to Stop Saying “Good Job” โดย Alfie Kohn
 
//www.alfiekohn.org/parenting/gj.htm
 
และ Raising an Intelligent Child โดย Carol Dweck  ดาวน์โหลดไฟล์ PDF ซึ่งเป็นงานวิจัยของ Carol Dweck ได้ที่ลิีงค์บทความของชมรมครูพ่อแม่ค่ะ

 

//kroopohmae.com/group/early-learning/forum/topics/praise

 

 

 

ที่มา:  //www.pantip.com/cafe/family/topic/N11968457/N11968457.html#

 

 




Create Date : 10 พฤษภาคม 2555
Last Update : 10 พฤษภาคม 2555 10:40:45 น. 1 comments
Counter : 781 Pageviews.  
 
 
 
 
ขอบคุณค่ะ เป็นประโยชน์มากค่ะ ชมตลอดเหมือนกันค่ะ ^^
 
 

โดย: มี๊เก๋&ซีทะเล (kae+aoe ) วันที่: 10 พฤษภาคม 2555 เวลา:12:34:43 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

น้องออมบุญ
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add น้องออมบุญ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com