Photobucket
Photobucket Photobucket ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ทำวันพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้ Photobucket Google Search : เมืองนาม......( หนึ่งคำ )........ข้าถึงอย่างง่ายดาย.............ขอเชิญเสนอแนะ...ความคิด...หาทางออกให้กับการเมืองไทย.... ได้ใน.. ...xxxXการเมือง กับเมืองนามXxxx... ในส่วนด้านล่างขวาสุดของ blog ครับ. !. คลิกลิงค์....comment การเมือง กับเมืองนาม .....xxxXการเมือง กับเมืองนามXxxx....
Marketing Management ( Marketing Plan )

Marketing Management ( Marketing Plan )


MARKETING PLAN การวางแผนทางการตลาด
การวางแผนการตลาดช่วยกำหนดรูปแบบยุทธศาสตร์ทางการตลาดให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นโดยช่วยกำหนดนโยบายการตลาดที่จำเพาะเจาะจง และช่วยตีกรอบระยะเวลา แผนการตลาดนี้สามารถกำหนดเป้าหมายทางการตลาด และวิธีการ ที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ โดยปกติแล้ว แผนงานทางการตลาดควรจะถูกกำหนดขึ้นทุกๆปี ปีละ1 ครั้ง ซึ่งผมเห็นว่าการวางแผนการตลาดนั้น เป็นการกำหนดจุดมุ่งหมาย และกลยุทธ์ในการใช้ความพยายามทางการตลาดขององค์การ งานในการวางแผนการตลาด ก็คือ การเตรียมว่าจะดำเนินการตามขั้นตอนการบริหารการตลาดอย่างไรนั่นแหละครับ

กลยุทธ์การตลาด (Marketing Strategy หรือ Marketing Strategic Planning)
ในการกำหนดจุดมุ่งหมายทางการตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย การออกแบบส่วนประสมการตลาด เพื่อสนองความพึงพอใจของตลาด และบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ มีประเด็นสำคัญคือ

1 การกำหนดตลาดเป้าหมาย และพฤติกรรมของตลาดเป้าหมาย

2 การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด

3 การกำหนดกลยุทธ์การตลาด

4 การกำหนดโปรแกรมการตลาด

ซึ่งจะเห็นว่ากลยุทธ์การตลาดและโปรแกรมการตลาดเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการตลาด การขายสินค้าในตลาดไม่ว่าจะเป็นตลาดผู้บริโภค ตลาดอุตสาหกรรม ตลาดผู้ขายต่อ หรือตลาดรัฐบาลจะต้องระลึกว่าโดยทั่วไปบริษัทไม่สามารถบริการลูกค้าในทุกตลาดได้ เนื่องจากลูกค้ามีอยู่จำนวนมาก อยู่กระจัดกระจายกัน และมีความต้องการในการซื้อและวิธีปฏิบัติการซื้อที่แตกต่างกัน ทำให้บริษัทต้องเข้าแข่งขันเฉพาะในตลาดที่มีความชำนาญ


การวางแผนการตลาด ประกอบด้วย Sale Plan กับ marketing Plan
Sale Plan วางแผนว่าจะขายเท่าไหร่ ?

Marketing Plan ขายอะไร ขายใคร จำนวนเท่าไหร่ ?


1. วิเคราะห์สถานการณ์ - เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลภายนอกและภายใน

2. สรุป SWOT

ปัจจัยภายในที่ควบคุมได้
- Strange à จุดแข็ง
- Weakness à จุดอ่อน

ปัจจัยภายนอกที่ควบคุมได้ยาก
- Opportunity à โอกาส
- Threat à อุปสรรค

3. กำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด

4. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ( Target Market ) จะขายใครต้องกำหนด
เป็น Sale by Product
Sale by Customer
Sale by Area ต้องวัดว่า ถึงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่

5. กำหนดเป้าหมาย

6. กลยุทธ์ทางการตลาด

7. ทำตารางปฏิบัติการ ( Action Plan )
ตารางจะเป็นตัวบอกว่าทำอะไรบ้างอย่างไร งบประมาณเท่าไหร่ กำไรหรือขาดทุน นักการตลาดที่ดีต้องรับผิดชอบในส่วนของกำไรขาดทุนด้วย

8. งบประมาณ / งบกำไรขาดทุน

9. การควบคุมและประเมินผล

การตรวจสอบทางการตลาด เพื่อให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ

1. ตรวจสอบยอดขาย เช่น ยอดขายไม่ได้ตามเป้าเพราะอะไร?

2. ตรวจสอบลูกค้า เช่น ลูกค้าชอบหรือไม่ชอบสินค้าของเรา ?

3. กลยุทธ์คู่แข่งขัน ดูว่าคู่แข่งขันทำอะไร ลูกค้าชอบหรือเปล่า ?

4. ผลกระทบจากเศรษฐกิจ ผลกระทบทางเศรษฐกิจจะมีผลกับสินค้าของเราหรือไม่ มากหรือน้อยอย่างไร ?


สรุปหัวข้อที่ต้องจัดทำ การวางแผนการตลาด

วิเคราะห์คู่แข่ง วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร วางกลยุทธ์ทางตลาด กำหนดส่วนผสมทางการตลาด ประมาณการขายประมาณการดำเนินการแยกตามผลิตภัณฑ์ความเชื่อมโยงของการวางแผนการตลาดและการบริหารธุรกิจในด้านต่างๆ

- การวางทิศทางธุรกิจ ด้วยการวางกลยุทธ์ทางการตลาด ที่สอดคล้องกับแผนธุรกิจ
- การจัดการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นในการบรรลุผล
- การวางระบบการบริหารจัดการ การวางแผนการผลิต การเงินและบริการ จากเป้าหมายทางการขาย และการตลาด
- การวางแผนองค์กร ด้านโครงสร้างบุคลากร ทั้งในส่วน CORE BUSINESS และSUPPORTING BUSINESS เพื่อการตอบสนองความพึงพอใจและสร้างสัมพันธภาพอันดีกับลูกค้า
- การวางแผนด้านเทคโนโลยีการบริหารจัดการ และการสื่อสาร เพื่อช่วยในการบริหารจัดการแบบมุ่งเน้นลูกค้า และติดตามความสัมฤทธิ์ผลของโครงการต่างๆ

จาก MARKETING PLAN การวางแผนทางการตลาด เราลองมาเขียนแผนกันและถ้าท่านเป็นเจ้าของธุรกิจหรือเป็นผู้บริหารลองตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การวางแผน เพื่อให้บริษัทท่านดำเนินธุรกิจได้นะครับ ถามต่อไปนี้

- ชนิด/ประเภทของธุรกิจของท่านคือ

- จุดมุ่งหมายของธุรกิจของท่านคือ

- ใครคือลูกค้าเป้าหมาย

- อะไรคือผลิตภัณฑ์/บริการ อันดับ

- ผลิตภัณฑ์/บริการนั้นทำงานอย่างไร

- ลองบอกประโยชน์ 3 ประการของผลิตภัณฑ์/บริการนั้น

- อะไรคือเหตุผลของการคงอยู่ในธุรกิจนี้ของท่าน

- อะไรที่นำท่านสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการของท่าน

- ใครคือคู่แข่งของท่าน(โปรดระบุทั้งคู่แข่งทางตรงและทางอ้อม)

- ผลิตภัณฑ์/บริการของคุณต่างจากคู่แข่งอย่างไร

- ลองบอกวัตถุประสงค์ 3 ประการที่ทำให้ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์/บริการของท่านทันที

- ราคาของท่านเมื่อเทียบกับคู่แข่งเป็นเช่นไร

- คุณได้นำ/จะเสนอผลิตภัณฑ์/บริการของท่านเมื่อไร

- ผลิตภัณฑ์/บริการนี้ใช้เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์/บริการอื่นหรือไม่

- ท่านได้ให้ข้อเสนอพิเศษแก่ผู้จัดจำหน่ายหรือลูกค้าหรือไม่

- ข้อความหรือวลีที่อธิบายธุรกิจของท่าน(หนึ่งประโยค)

- แผนโฆษณาและส่งเสริมการขายของผลิตภัณฑ์/บริการของท่านคือ

- คุณมีข้อมูล โบร์ชัวร์ แผ่นพับ ภาพวาด ภาพถ่ายเกี่ยวกับการเปิดตัวผลิตภัณฑ์/บริการ หรือเอกสารอื่นๆ เกี่ยวข้องหรือไม่

- การตลาดจะช่วยการเติบโตของธุรกิจของท่านได้อย่างไร

- ท่านมีความต้องการชำนาญในด้านการขายและการตลาดเพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณบรรลุ เป้าหมายหรือไม่ (กรุณาใส่ชื่อผู้จัดการฝ่ายตลาด ฝ่ายขาย และคุณสมบัติของเขา)



ทำไมบริษัทจึงจำเป็นต้องมีแผนการตลาด ?

- เพราะการตลาดเป็นสิ่งหนึ่งในแรงผลักดันที่สำคัญของบริษัท เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการขายเพราะการตลาดที่มีประสิทธิผลเป็นกุญแจที่สำคัญของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ จะช่วยให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเข้าใจ และทำงานมุ่งไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้บรรลุตามเป้าประสงค์ขององค์กร

- เพราะการตลาดเป็นองค์ประกอบที่แพง และซับซ้อนในธุรกิจ ความไวในการปรับเปลี่ยนแผนการตลาดจึงเป็นสิ่งสำคัญการวางแผนทางการตลาด การตลาดมีบทบาทสำคัญในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์

-เพราะนักการตลาดควรดำเนินการในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า และการบริหารพันธมิตร การเป็นพันธมิตรกับฝ่ายอื่นในองค์กรก็ดี หรือเป็นพันธมิตรกับบริษัทอื่นในระบบการตลาด จะช่วยสร้างให้มีเครือข่ายการส่งมอบอย่างมีคุณค่า (VALUED DELIVERY-NETWORK)

- การวางแผนการตลาด ช่วยกำหนดทิศทางด้านยุทธศาสตร์กับช่องทางทางการตลาดให้อยู่แนวทางดียวกัน เปรียบเสมือนแผนที่ของธุรกิจ และความสำเร็จทางการตลาดของบริษัท การมีแผนการตลาดอย่างมืออาชีพช่วยกำหนดลำดับความสำคัญก่อนหลังของการตลาด ช่วยประหยัดเวลาประหยัดพลังงาน และยังช่วยไม่ให้เงินลงทุนถูกใช้ไปอย่างเสียเปล่า

ข้อได้เปรียบหลักๆในการที่มีแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ คือ

• มีการพัฒนาแผนการตลาดที่ประสบความสำเร็จให้กับผลิตภัณฑ์และการบริการขององค์กร

• มีแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับโอกาสทางการตลาดเพื่อมีส่วนช่วยเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากขึ้น

• สามารถกำหนดเป้าหมายการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพื่อช่วยเร่งให้เกิดความเจริญเติบโตทางด้านผลกำไร

• สามารถกำหนดกลยุทธ์ชั้นเชิงทางการตลาดแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มยอดการขาย

• สามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนถึงลูกค้าใหม่และลูกค้าที่มีคุณสมบัติอยู่แล้วเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการขายและผลผลิตทางการขาย

• ช่วยเพิ่มผลกำไรจากการลงทุน


การวางแผนการตลาด

การตลาดยุคปัจุบัน ไม่ได้แข่งขันกันแต่ในด้านคุณภาพของสินค้าแต่อย่างเดียวครับ หมดยุคของการทุ่มเงิน คิดค้น นวัตกรรมใหม่ๆ ทางสินค้าเพื่อกระตุ้นยอดขาย หรือ การผูกขาด การเป็นเจ้าตลาด ด้วย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่เพียงอย่างเดียวแล้ว กลุ่มองค์กร และ บริษัทต่างๆ ไม่ว่าองค์กรลักษณะใดก็ตามที่เพิ่งจะก่อตั้งขึ้น หรือเป็นองค์กรขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ การตลาดและการขายถือเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดถึงความสำเร็จของบริษัทนั้น ๆ อย่างไรก็ตามมีบริษัทอยู่จำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ตระหนักถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากโอกาสทางการขายและการตลาดนี้เท่าใดนักบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจขนาดเล็กได้ใช้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งไปกับค่าโฆษณา แต่กลับไม่มีการวางแผนการตลาดและกลยุทธ์ทางการตลาดที่ชัดเจนนัก บางองค์กรยังเกิดความสับสนกับ คำว่า การขาย การส่งเสริมการขาย การตลาด การโฆษณา และโปรโมชั่น จึงส่งผลให้องค์กรสูญเสียเวลา สูญเสียเงิน สูญเสียพลังงานและสูญเสียโอกาสโดยไม่จำเป็น



หมดยุคของการวิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง SWOT แบบ โบราณ การตลาดแบบ inside-out ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
Positioning หรือ การวางตำแน่งสินค้า จึงเกิดขึ้นเพื่อการวางแผนการตลาดที่สอดรับกับลักษณะของตลาดในปัจจุบันมากขึ้น
อย่างประเทศแถวๆ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และไทยเรานี้ ในช่วงเวลาที่ ประชาชนชั้นมีการศึกษา กำลังเบื่อหน่ายกับการเมืองแบบเก่าๆ ของพรรคใหญ่ Presenter ที่ดูน่าเชื่อถือ รุ่นใหม่ และมี วิสัยทัศน์ ( หัวหน้าพรรค ) ที่พยายามจะสร้างภาพ การประชาสัมพันธ์บวกกับระบบการเมือง แบบ IMC โดยเอานโยบายเขามาทำ ซึ่งแต่ก่อนกล่าวโจมตี นั่นแหละครับ และยิ่งทุกวันนี้มีแรงผสมสี เขียวเหลือง ส่งเสริม ความยุติธรรม ที่มีศาลยุติความเป็นธรรม ช่วยให้พรรคใหญ่เก่าแก่ได้เกิด ก็ขอให้ทำงานได้อย่างที่อ้างไว้ละกัน ขอฝากแต่ความชอบธรรมที่จะเกิดขึ้นนะครับ !







รูปแบบการเขียนแผนการตลาด
หน้าปก
สารบัญ

บทสรุปผู้บริหาร
- ให้ข้อมูลโดยสรุป (ไม่ควรเกิน 2 หน้า)
- ให้ภาพรวมของธุรกิจและกรอบเวลาของแผน สถานการณ์ปัจจุบัน ตำแหน่งทางการตลาดปัจจุบัน
- วิเคราะห์ตลาด อธิบายผลิตภัณฑ์ / บริการ และกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์คู่แข่ง วิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร สรุปโอกาส อุปสรรค ระบุ
SWOT
-สรุปจุดมุ่งหมายที่มีต่อตลาดเป้าหมาย กลยุทธ์
- ระบุข้อสมมติฐาน แผนปฏิบัติการและงบประมาณการตลาดซึ่งครอบคลุม การประมาณการยอดขายและกำไร
- ข้อมูลบริษัท ความเป็นมา วิเคราะห์ผลประกอบการในอดีต
- วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ครอบคลุมการวิเคราะห์สภาพตลาด ทั้งจุลภาค ตลาดเป้าหมาย และ มหภาคที่เกี่ยวข้อง


การเขียนแผนธุรกิจ


แผนธุรกิจ เป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับ ผู้ประกอบการที่ริเริ่มจะก่อตั้งกิจการ แผนนี้เป็นผลสรุปหรือผลรวม แห่งกระบวน การคิดพิจารณา และการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนความคิด ของผู้ประกอบการออกมาเป็น โอกาสทางธุรกิจแผนธุรกิจ เปรียบเหมือนแผนที่ใน การเดินทาง ที่จะช่วยชี้แนะ ขั้นตอนต่าง ๆ ทีละขั้นตอนในกระบวนการก่อตั้งกิจการ แผนจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งในเรื่องการตลาด การแข่งขัน กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ การคาดคะเน ทางการเงิน ที่จะชี้นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ หรือชี้ให้เห็นถึง จุดอ่อนและข้อควรระวัง แผนธุรกิจควรมีอะไรบ้าง

แผนธุรกิจที่ดีย่อมช่วยในการวัดถึงความเป็นไปได้ของกิจการที่จะลงทุน ตัวแผนจึงควร ประกอบด้วยการวิเคราะห์ อย่างละเอียดในตัวแปร หรือปัจจัย ดังต่อไปนี้

1. สินค้าหรือบริการที่จะขาย

2. กลุ่มลูกค้าที่คาดหวัง

3. จุดแข็งและจุดอ่อนของกิจการที่จะทำ

4. นโยบายการตลาด

5. วิธีการหรือกระบวนการในการผลิต รวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ต้องใช้

6. ตัวเลขทางการเงิน นับตั้งแต่รายได้ที่คาดว่าจะได้ ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน จำนวนเงินลงทุนที่ต้องการ และกระแสเงินสด ที่คาดว่าจะได้มา หรือใช้ไป

แผนธุรกิจสำคัญอย่างไร

แผนธุรกิจสำคัญในฐานะ


1. ที่จะให้รายละเอียดของการเริ่มต้นธุรกิจ แผนธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการมีเป้าหมายที่ชัดเจน กำหนดแนวทางของ ความคิดและ ช่วยให้ผู้ประกอบการแน่วแน่ต่อการ ใช้ทรัพยากรและกำลังพยายามและ ไปสู่เป้าหมาย

2. เป็นเครื่องมือที่จะแสวงหาเงินทุนจากผู้ร่วมลงทุน จากกองทุนร่วมลงทุน และจากสถาบันการเงินต่างๆ

3. ที่เป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่ให้รายละเอียดของกิจกรรมต่างๆ ทั้งกิจกรรมในการจัดหาเงินทุน กิจกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กิจกรรมการตลาด และอื่นๆ ในการบริหารกิจการใหม่ แผนธุรกิจยังใช้เพื่อกำหนดการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องในอนาคตของกิจการด้วย

ทำไมต้องพิถีพิถันกับการเขียนแผนธุรกิจ
ผู้ที่ริเริ่มจะก่อตั้งธุรกิจใหม่ จำเป็นต้องให้เวลากับการเขียนแผนธุรกิจ เพื่อให้ได้แผนที่ดี ทั้งนี้เพราะ
1. แผนที่ดีเป็นตัวชี้ว่าผู้เขียนมีความสามารถ ไม่ใช่เพียงแค่ความคิดความฝันเท่านั้น แผนที่ดีจะทำให้ผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ให้กู้แน่ใจว่า ผู้ประกอบการใหม่ สามารถทำให้ความคิด ความฝันกลายเป็นความจริงได้

2. แผนที่ดีชี้ให้เห็นว่าผู้เขียนเป็นมืออาชีพ ความสมบูรณ์ครบถ้วนของแผนจะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมี ความสามารถ และความใส่ใจเพียงใด เพราะถ้าแผนขอกู้ยังไม่มีคุณภาพ ย่อมคาดหวังไม่ได้กับคุณภาพการประกอบการในอนาคต

3. แผนที่ดีชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีการเตรียมตัวอย่างดี แผนจะบอกถึงระดับความเตรียมพร้อมในธุรกิจที่จะลงทุน ชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการ มีความรู้เท่าทันในธุรกิจนั้นๆ ขนาดไหน ยิ่งถ้ามีระดับการเตรียมพร้อม และทางหนีทีไล่ มากเท่าไร ยิ่งทำให้ผู้ร่วมลงทุน หรือผู้ให้กู้รู้สึกเสี่ยงน้อยลงเท่านั้น

4. แผนที่ดีเผยให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีวิสัยทัศน์ คือเป็นผู้เล็งการณ์ไกล และมีวิธีจะจัดการกับสิ่งท้าทายในอนาคต

แผนธุรกิจที่ดี เมื่ออ่านแล้วจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ได้

1. การก่อตั้งธุรกิจเป็นรูปร่างชัดเจนขนาดไหน เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยัง

2. ธุรกิจนี้น่าลงทุนหรือไม่

3. ธุรกิจมีแนวโน้มหรือโอกาสที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่เมื่อแรกตั้งมากน้อยขนาดไหน

4. ธุรกิจนี้มีความได้เปรียบหรือความสามารถในการแข่งขันในระยะยาวมากน้อยเพียงใด

5. สินค้าที่จะผลิตมีวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพียงได้

6. สินค้าที่ผลิตสามารถวางตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด

7. วิธีการผลิตและการวางตลาดสินค้านั้น มีทางเลือกอื่น ๆ ที่ประหยัดได้มากกว่าหรือไม่

8. หน้าที่ต่างๆ เช่น การผลิต การจำหน่าย การจัดการทางการเงิน การจัดการคน มีการจัดการที่ดีและเหมาะสมเพียงใด

9. จำนวนและคุณภาพของพนักงานที่ต้องการมีเพียงพอหรือไม่

แผนธุรกิจเป็น สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ซึ่งแผนดังกล่าวจะเป็น ประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ในอนาคตของผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานในองค์กร รวมทั้งเป็นประโยชน์แก่สถาบันการเงิน และ นักลงทุนภายนอก ที่จะเป็นแหล่งเงินทุน ให้แก่กิจการในอนาคตได้ โดยปกติแผนธุรกิจ จะบอกให้เราทราบว่าปัจจุบันเราเดินอยู่ ตรงไหน อนาคตจะไปอยู่ที่ใด ด้วยวิธีการอย่างไร

โดยทั่วไปองค์ประกอบของแผนธุรกิจจะประกอบไปด้วย10 หัวข้อหลัก ดังนี้

1. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

เป็นส่วนที่สรุปใจความสำคัญ ๆ ของแผนธุรกิจทั้งหมด และต้องเป็นเอกสารที่สมบูรณ์ในตัวเอง (Stand alone document) โดยจะชี้ให้เห็นประเด็น ที่มีความสำคัญ คือ จะชี้ให้เห็นว่ามีโอกาสจริงเกิดขึ้นได้ในตลาดสำหรับ ธุรกิจที่กำลังคิดจะทำ และชี้ให้เห็นว่า สินค้าและบริการที่จะทำนั้น สามารถใช้โอกาสในตลาดให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร
ดังนั้นบทสรุปจึงมีความจำเป็นต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อ หนักแน่น มีความเป็นไปได้ เนื่องจากบทสรุปของ ผู้บริหารเป็นเพียง "บทสรุป" จึงต้องเขียนให้สั้น กระชับ และกะทัดรัด (ไม่ควรเกิน 2 - 3 หน้า) และเป็นส่วนสุดท้ายในการเขียนแผนทังหมด

เนื้อหาในบทสรุปของผู้บริหารควรได้กล่าวถึง

• จะทำธุรกิจอะไร มีแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจนั้นอย่างไร โดยอธิบายให้เห็นถึงความสำคัญของสินค้าและ บริการ

• โอกาสและกลยุทธ์ บอกถึงความน่าสนใจ ตลอดจนแนวโน้มของธุรกิจ ที่จะแสดงว่าโอกาสทางการตลาดนั้นเปิดทางให้

• กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อธิบายถึงลักษณะทางการตลาด กลุ่มลูกค้าหลัก การวางแผนการเข้าถึงลูกค้า

• ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของธุรกิจ รวมถึงทางด้านตัวผลิตภัณฑ์ และความได้เปรียบต่อคู่แข่งขัน

• ทีมผู้บริหาร สรุปถึงความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และทักษะ ควรจำกัดไม่เกิน 3 - 5 คน และเป็น ผู้ที่มีผลกระทบต่ออนาคต และ ความสำเร็จของธุรกิจ

• แผนการเงิน/การลงทุนโดยระบุถึงเงินลงทุน จะทำอะไร ผลตอบแทนของการลงทุน จะเป็นเท่าไร

2. ประวัติกิจการ / ภาพรวมของกิจการ

ในส่วนนี้เป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นมาของการก่อตั้ง / จดทะเบียน ตลอดจนแนวคิด และการเล็งเห็นโอกาสทางการตลาด การคิดค้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่จะนำเสนอให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และ ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมาย ในระยะยาวที่ต้องการจะเป็น ในอนาคต

3. การวิเคราะห์สถานการณ์

การวิเคราะห์สถานการณ์ที่เรียกกันว่า “SWOT ANALYSIS” แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

3.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน
เป็นการตรวจสอบความสามารถ ความพร้อมของกิจการในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นในส่วนที่เป็นจุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) ของกิจการ

3.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
เป็นการประเมินสภาพแวดล้อมที่ผู้ประกอบการไม่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ในลักษณะที่เป็นโอกาส (Opportunities) หรืออุปสรรค(Threats)ในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้ประกอบการควร ได้เริ่มวิเคราะห์สถานการณ์ด้วย การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการ ไม่สามารถควบคุมได้
โดยทั่วไปปัจจัยภายนอกที่มีความสำคัญที่ผู้ประกอบการ ควรจะต้องให้ความสนใจ มี 7 ประการ สามารถเรียกง่าย ๆ ว่า “MC-STEPS” โดยมีความหมายพอสรุป ได้ ดังนี้

M = Market คือ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

C = Competition คือ สถานการณ์การแข่งขัน

S = Social คือ ค่านิยมทางวัฒนธรรมของสังคม เช่น การใช้สินค้าที่มียี่ห้อ

T = Technology คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

E = Economic คือ สถานการณ์

P = Political & Legal คือ สถานการณ์ของการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎ ระเบียบต่าง ๆ

S = Suppliers คือ กลุ่มผู้จำหน่ายวัตถุดิบ / กลุ่มผู้ผลิตและเครือข่าย

4. วัตถุประสงค์ และเป้าหมายทางธุรกิจ

เป็นผลลัพธ์ทางธุรกิจที่กิจการต้องการได้รับในช่วงระยะเวลาของการจัดทำแผน โดยทั่วไปเป้าหมาย ธุรกิจแบ่งออกเป็น เป้าหมายโดยรวม ของกิจการ และเป้าหมายเฉพาะด้านในแต่ละแผนก/ลักษณะของงาน นอกจากนี้เป้าหมายทางธุรกิจยังควรแบ่งเป็น

• เป้าหมายระยะสั้น ในช่วงระยะเวลา 1 ปี

• เป้าหมายระยะปานกลาง ระยะเวลา 3 - 5 ปี และ

• เป้าหมายระยะยาว ที่นานกว่า 5 ปี

ลักษณะเป้าหมายธุรกิจที่ดี ประกอบไปด้วย
4.1 ความเป็นไปได้ หมายถึง กิจการมีโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมาย

4.2 สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ ความชัดเจนที่สามารถประเมิน

ได้ว่ากิจการบรรลุตามเป้าหมายแล้วหรือไม่

4.3 เป็นไปในทางเดียวกัน คือ เป้าหมายย่อย ๆ ในแต่ละฝ่าย ควรมีลักษณะที่สอดคล้องกัน

5. แผนการตลาดและการวิจัย

แผนการตลาด
ในการทำธุรกิจนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมุมมองทางด้านการตลาด ผู้ประกอบการจะต้องหาให้ได้ หรือมองให้ออกว่าผู้บริโภคต้องการอะไร แล้วผลิตสินค้า หรือบริการเพื่อสนองความต้องการนั้น กำไรที่เกิดขึ้นนั้นคือผลงาน จากการทำให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจสูงสุด แผนการตลาดเป็นจุดเริ่มต้น ของธุรกิจว่าจะมีความเป็นไปได้แค่ไหน โดยทั่วไปจะเป็นการวิเคราะห์ เพื่อกำหนดแผนการตลาด ดังนี้

5.1 กำหนดขอบเขตธุรกิจหรือขอบเขตการตลาด (Market Definition)

5.2 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industry Analysis) มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
• วิเคราะห์ลูกค้า
• วิเคราะห์คู่แข่ง
• วิเคราะห์ต้นทุน
• วิเคราะห์แนวโน้ม ส่วนใหญ่

5.3 การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) โดยทั่วไปจะนิยมแบ่งส่วนตลาดใน 4 ลักษณะ ดังนี้
• ภูมิศาสตร์
• ประชากรศาสตร์
• จิตวิทยา
• พฤติกรรม
o ภาค
o อายุ
o รูปแบบการดำเนินชีวิต
o โอกาสซื้อบ่อยแค่ไหน
o ในเมืองหรือชนบท
o เพศ
o ชั้นวรรณะ สูง กลาง ต่ำ
o ความภักดีต่อสินค้า
o รายได้

กลยุทธ์ทางการตลาด โดยทั่วไปการวางแผนทางด้านการตลาด มักจะมีขั้นตอนง่าย ๆ เรียกว่า STP&4P' s ดังนี้

1. S มาจาก Segmentation คือ การแบ่งส่วนตลาด ดังได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ 5.3

2. T มาจาก Targeting คือ การกำหนดลูกค้าเป้าหมายว่ากลุ่มไหนที่เราจะเลือก โดยทั่วไปเรา

3. P มาจาก Positioning คือ การสร้างภาพพจน์ในใจของลูกค้า

4. 4 P' s มาจากส่วนผสมที่ลงตัวในโปรแกรมทางการตลาด 4 ตัวเปรียบเสมือนแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ทางการตลาด ดังนี้

• Product คือ สินค้า/บริการ
• Price คือ ราคา
• Place คือ ช่องทางการจำหน่าย
• Promotion คือ การส่งเสริมทางการตลาด

นอกจากส่วนประสมทางการตลาด 4 P' s ที่กล่าวมาแล้ว ยังมี 4 C' s ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนประสม ทางการตลาดยุคใหม่ที่มองทางด้านความต้องการของผู้บริโภคและควรที่จะต้องนำมาใช้ร่วมในแผนปฏิบัติการทาง การตลาดด้วย ดังนี้

5. 4 C' s
• Consumer Need คือ ผลิต/ขายสินค้าตามความต้องการของลูกค้า
• Customer Benefits คือ ผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ
• Convenience คือ เป็นสินค้าที่สะดวก
• Communication คือ การรับรู้ข่าวสารสินค้า

การวิจัย
การวิจัยคือจุดเริ่มต้นสำหรับการตลาด หากไม่ทำวิจัยก่อนก็เหมือนกับบริษัทนั้น ๆ เข้าสู่ตลาดเหมือน คนตาบอด การวิจัย ทำให้บริษัท ตระหนักว่า โดยปกติแล้วผู้ซื้อในตลาดหนึ่งๆ จะมีความต้องการ ความเข้าใจ และความชอบต่างกันไป เช่น ผู้หญิงต้องการรองเท้า ที่ต่างจากผู้ชาย คนอ้วน ต้องการรองเท้าต่าง จากคนผอม และเมื่อแฟชั่นเข้าสู่ตลาดรองเท้า ความชอบก็จะยิ่งขยายวงกว้างออกไป ซึ่งเป็นผลจาก ความแตกต่างด้านรายได้ การศึกษาและรสนิยม

6. แผนการบริหารจัดการและแผนการดำเนินงาน

เป็นการกำหนดโครงสร้างองค์กร และผู้บริหารที่สอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจด้านอื่น ๆ ของ กิจการ มีแผนด้านทรัพยากรบุคคลที่ดี ในส่วนนี้จะประกอบ ไปด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้

• สถานที่ตั้ง
• โครงสร้างองค์กร และทีมผู้บริหาร
• แผนด้านบุคลากร จำนวน เวลาทำงาน ค่าตอบแทน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ
• เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ – ซื้อ เช่า เช่าซื้อ

7. แผนการผลิต/ปฏิบัติการ

แผนการผลิตและปฏิบัติการที่ดีต้องสะท้อนความสามารถขององค์กรใน "การจัดการกระบวนการผลิต และปฏิบัติการ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล" เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยมุ่งเน้นประเด็น การจัดการไปยัง กระบวนการแปลงสภาพ วัตถุดิบและทรัพยากรในการผลิต ในการวางแผนปฏิบัติการ ผู้ประกอบการต้องพิจารณาตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิตตาม ประเด็นที่สำคัญ คือ
• คุณภาพ
• การออกแบบสินค้าและบริการ
• การออกแบบกระบวนการผลิต และการตัดสินใจเรื่องกำลังการผลิต
• การออกแบบผังของสถานประกอบการ
• การออกแบบระบบงาน และวางแผนอัตรากำลังคนในกระบวนการผลิต
โดยการพิจารณาถึงรายละเอียดของระบบงานเป็นการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังในกระบวนการผลิต การใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ และการใช้อัตรากำลังคนที่เหมาะสม สำหรับหน้าที่ต่าง ๆ คุณสมบัติของ พนักงานทั้งทางด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ

8. แผนการเงิน

เมื่อมีการกำหนดแผนการตลาด แผนการบริหารจัดการ และแผนการผลิตได้แล้ว ที่สำคัญที่สุดคือต้อง มีแผนการเงินมารองรับ เนื่องจากในทุกกิจกรรมต้องใช้เงินทั้งนั้น ในท้ายที่สุดของแผนธุรกิจจะต้องมีแผนการเงิน ที่ดี โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้

8.1 สมมุติฐานทางการเงิน เป็นการกำหนดปัจจัยหลัก ๆของการดำเนินงานเพื่อประมาณการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปมีดังนี้
1. ยอดขาย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่มาจากแผนการตลาดที่วางไว้

2. ต้นทุนขาย ควรจะมาจากแผนการผลิตที่วางไว้

3. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารมาจากแผนบุคลากร และกิจกรรมพัฒนาและส่งเสริมการขายต่าง ๆ

4. ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย ประเมินจากอัตราดอกเบี้ย และวงเงินกู้เดิมกับวงเงินกู้ที่จะขอเพิ่มมาใหม่

5. สินทรัพย์และค่าเสื่อม มาจากประมาณการที่จะลงทุนในอนาคต เพื่อขยายกิจการและวิธีการคิดค่าเสื่อม

6. สินค้าคงคลัง ประมาณการระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม

7. ลูกหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาระหว่างการขายสินค้า และการเก็บเงินได้จากการขาย

8. เจ้าหนี้การค้า ประมาณการระยะเวลาสั่งซื้อของ และจ่ายเงินให้เจ้าหนี้

8.2 ประมาณการทางการเงิน เป็นการประมาณการงบการเงินและการวิเคราะห์อัตราส่วนตามสมมุติฐานที่วางไว้ ประกอบไปด้วย
งบกำไรขาดทุน คือ งบที่แสดงถึงผลการดำเนินงานของบริษัทตลอดงวดระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปจะ

กำหนดให้เป็นรอบ 1 ปี หรือราย 6 เดือน งบกำไรขาดทุน ประกอบด้วย รายการหลัก 3 รายการ คือ

1. ยอดขายหรือรายได้

2. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือต้นทุน

3. ผลต่างของตัวเลขดังกล่าว ซึ่งก็คือ กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
งบดุล คือ งบที่แสดงถึงฐานะการเงิน ภาระผูกพันในการชำระหนี้ และจำนวนทุนของบริษัท ณ วันใดวันหนึ่งเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ณ วันสิ้นงวดของรอบระยะเวลาบัญชี งบดุลประกอบด้วยรายการหลัก ๆ 3 รายการ คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน หรือส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด (Cash Flow) คือ งบแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสด โดยจะแสดงถึงรายการได้มาและใช้ไปของเงินสดหรือสิ่งที่เทียบเท่าเงินสดใน 3 กิจกรรมหลัก ๆ คือ
• เงินสดที่ได้จากการดำเนินงาน
• จากการจัดหาเงินทุน
• จากการลงทุน

ดังนั้นความสามารถในการบริหารเงินสดของบริษัท และสภาพคล่องทางการเงิน จะดูได้จากงบกระแส เงินสด โดยงบกระแสเงินสดที่ดีควรเป็น เงินสดที่ไหลเข้ามาจากการลงทุนมากที่สุดรองลงมาจากการดำเนินงาน และจากการจัดหาเงินทุนน้อยที่สุด งบกระแสเงินสดควรจะทำเป็นรายเดือน รายไตรมาส รายปี และอาจจะทำล่วงหน้าไปหลายปี ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมของกิจการเพื่อที่จะทำให้รู้ถึงสถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของกิจการนั้น ๆ

การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. สภาพคล่อง
• อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน
• อัตราส่วนสินทรัพย์คล่องตัว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ) / หนี้สินหมุนเวียน

2. ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์
• อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Receivable Turnover) = ขายเชื่อสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย
• อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover) = ต้นทุนสินค้าขาย / สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
• ระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ (Receivable Turnover Period) = (365 x ลูกหนี้) / ยอดขาย
• ระยะเวลาสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover Period) = (365 x สินค้าคงเหลือ) / ต้นทุนขาย

3. ความสามารถในการบริหารงาน

• อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Assets : ROA ) = (กำไรสุทธิ x 100) / สินทรัพย์ทั้งหมด
• อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity : ROE) = (กำไรสุทธิ x 100) / ส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
• อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Income Margin) = (กำไรจากการดำเนินงาน x 100) / ยอดขาย
• อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) = (กำไรขั้นต้น x 100) / ยอดขาย

4. ความสามารถในการชำระหนี้

• อัตราส่วนแห่งหนี้ (Debt Ratio) = หนี้สินรวม / สินทรัพย์รวม
• อัตราส่วนแหล่งเงินทุน (Debt to Equity Ratio) = หนี้สินทั้งหมด / ส่วนของผู้ถือหุ้น
• อัตราส่วนความสามารถจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) = กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี / ดอกเบี้ยจ่าย

8.3 การประเมิน สถานการณ์การณ์จำลอง
เมื่อจัดทำงบประมาณทางการเงินแล้ว ลำดับต่อไปจะทำการประเมินสถานการณ์จำลองเป็นการ วิเคราะห์ความไวต่อ สถานการณ์เมื่อเกิด มีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นในอนาคต จะขอยกตัวอย่างการประเมิน สถานการณ์อยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้

กรณีที่ดี เช่น ยอดขายเพิ่ม 20 % ค่าใช้จ่ายลด 20 %
กรณีปกติ เช่น ยอดขายเพิ่ม 10 % ค่าใช้จ่ายลด 10 %
กรณีแย่ เช่น ยอดขายลด 20 % ค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20 %
ซึ่งทำให้ทราบถึงผลกระทบของตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปว่าจะมีผลต่อโครงการอย่างไร เช่น จะเกิดอะไรขึ้นถ้ายอดขายลด 20% และ ค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20%

8.4 การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน
บอกถึงสภาพคล่องของโครงการ หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่จะต้องใช้ไปในการที่จะเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ ลงทุนไปนั้นกลับมา เป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง ระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าจะบอกถึงสภาพคล่องที่ดีกว่า และมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า แต่อย่างไรก็ตามเกณฑ์ระยะเวลา คืนทุนนี้ มีจุดอ่อนอยู่ที่การไม่คำนึงถึงค่าของเงินตามเวลาหรือกระแสเงินที่เกิดขึ้นต่างเวลากัน เกณฑ์นี้นำมารวมกันที่หา ระยะเวลาคืนทุนโดยทันที และการไม่นำกระแสเงินสดทุกจำนวนที่เกิดจากโครงการมาพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ จะพิจารณาเฉพาะ กระแสเงินสดที่จำเป็นสำหรับการได้คืนทุนเท่านั้น รวมทั้งเกณฑ์นี้จะไม่เป็นธรรมสำหรับ โครงการ ระยะยาวที่มีผลกำไรหลายปี ในอนาคตจะให้น้ำหนักความสำคัญเป็นพิเศษกับโครงการระยะสั้นเป็นหลัก
ระยะเวลาคืนทุน หมายถึง ระยะเวลาทั้งหมดที่โครงการจะให้กระแสเงินสดสุทธิรวมเท่ากับเงินลงทุนที่จ่ายเริ่มแรกพอดี

8.5 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
การเริ่มต้นธุรกิจใหม่จะต้องทำการวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยการคำนวณหาจุดคุ้มทุนของธุรกิจก่อน ซึ่งการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ส่วนใหญ่จะใช้กำไรส่วนเกิน เป็นหลักในการวิเคราะห์โดย พิจารณาจำนวนสินค้าที่ขายเป็นจำนวนเท่าใด จึงจะมีรายได้ เท่ากับค่าใช้จ่าย
จำนวนหน่วยขาย ณ จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ / (ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

หมายเหตุ
ต้นทุนผันแปร หมายถึง ต้นทุนรวมที่ผันแปรตามจำนวนหน่วยที่ผลิตหรือขายได้

ต้นทุนคงที่ หมายถึง ต้นทุนรวมที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนหน่วยที่ผลิตในระหว่างช่วงการผลิตหรือช่วงการขายช่วงหนึ่ง

8.6 การวิเคราะห์มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)
เป็นการประเมินโดยการนำความสำคัญของค่าของเงินตามเวลาเข้ามาคิดด้วย วิธีการนี้จะหามูลค่า ปัจจุบันของ กระแสเงินสดรับที่เกิดจาก โครงการในแต่ละงวดมารวมกัน แล้วเปรียบเทียบกับมูลค่าปัจจุบันของเงิน ลงทุนโดยกำหนด อัตราส่วนลดหรือผลตอบแทนที่ต้องการ หากมีค่าเท่ากันหรือมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นศูนย์ แสดงว่า โครงการนั้นคุ้มทุนพอดี หากมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเข้ารวมกัน มีมากกว่า มูลค่าปัจจุบันของเงินลงทุน ถือว่าโครงการนั้นให้ผลตอบแทนสูงกว่าที่เราต้องการหรือคาดหวังไว้ ควรจะลงทุนในโครงการนั้น หากไม่แล้ว ก็ควรปฏิเสธไม่ลงทุนในโครงการนั้น

มูลค่าปัจจุบันสุทธิ = มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับ – มูลค่าปัจจุบันของเงินสดจ่าย

8.7 การวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนของการลงทุน (Internal Rate of Return - IRR)

เป็นอัตราส่วนลด/หรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของเงินสดที่คาดว่าจะต้องจ่ายออกไปเท่ากับ มูลค่าปัจจุบันของเงินสด ที่คาดว่าจะได้รับเข้ามา ตลอดอายุของโครงการ หรือ คือการหาส่วนลดหรืออัตราดอกเบี้ยที่ทำ
ให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิ NPV (Net Present Value) เท่ากับ 0
อัตราผลตอบแทนที่ได้จากโครงการ : เป็นอัตราผลตอบแทนที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการ = 0

9. แผนฉุกเฉิน

เป็นการบอกถึงเรื่องถ้าเกิดการผิดพลาด กล่าวคือ ถ้าไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ยังมีแผนอื่นมารองรับที่จะทำอะไรต่อไปได้กับธุรกิจนี้ อาทิเช่น แปรผันธุรกิจ หรือบริการนี้ไปยังธุรกิจอื่นไปยังแหล่งอื่น หรือเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่น เป็นต้น ตัวอย่าง ของประเด็นความเสี่ยง และ การเตรียมความพร้อม ที่ควรระบุไว้ในแผนฉุกเฉิน อาทิเช่น
• ยอดขาย/เก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ตามคาดหมาย ทำให้เงินสดหมุนเวียนขาดสภาพคล่อง และธนาคารไม่ให้วงเงินกู้หรือลดวงเงินกู้
• คู่แข่งตัดราคาหรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องระยะยาว
• มีคู่แข่งรายใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทันสมัยกว่า มีสินค้าครบถ้วนกว่า ราคาถูกกว่า เข้าสู่อุตสาหกรรม หรือมาตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
• สินค้าถูกลอกเลียนแบบและขายในราคาที่ถูกต้อง
• สินค้าผลิตไม่ทันตามคำสั่งซื้อเนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ
• สินค้าผลิตมากจนเกินไป ทำให้มีสินค้าในสต็อกเหลือมาก
• ต้นทุนการผลิต/การจัดการสูงกว่าที่คาดไว้
• เกิดการชะงักการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรม
• มีปัญหากับหุ้นส่วนจนไม่สามารถร่วมงานกันได้

10. ภาคผนวก

อาจเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดของคู่แข่งขันที่มีอยู่ในตลาด ของผู้ประกอบการเดิม มีจำนวนมากน้อยเท่าไร และแสดงให้เห็นถึง โอกาสที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่ง ระบุถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ชัดเจน ทางด้านตัวผลิตภัณฑ์ เน้นถึงจุดแข็งของผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบ กับผลิตภัณฑ์เดิม บริการเดิมในตลาด แสดงให้เห็นถึงโอกาส ความได้เปรียบในด้านต่าง ๆ



ที่เขียนมาทั้งหมดน่าจะช่วยให้ท่านผู้อ่านเข้าใจภาพรวมได้ดีนะครับ ซึ่งรายละเอียดวิธีการจะอยู่ในห้วข้อบทความถัดไปนะครับ

และติดตามได้ที่นี่มีให้โหลด เข้ามาดูเรื่อย ๆ นะครับ เพราะอาจมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ตรงสถาณการณ์ปัจจุบัน ท้ายที่สุด ผมกำลังทำ Casestudy ขอขอบคุณที่ได้รับการติดตามผลงานจากเรา Billy&Chalee



ขอมูลสนับสนุน โหลดไฟล์ได้ที่นี่ คลิ๊ก















และติดตามผลงานต่อไปได้ใน Marketing Management ( 3/11 Executive Summary )












Create Date : 19 ธันวาคม 2551
Last Update : 9 กรกฎาคม 2552 8:52:23 น. 1 comments
Counter : 5904 Pageviews.

 
สุดยอดครับ webblog นี้เนี่ย ยินดีด้วยที่พบคนเสื้อแดงมีความสามารถ ผมก็แดงเหมือนกันครับ สอนหน่อย ทำ Webblog แบบนี้ได้ยังไงบ้าง? แชร์ประสบการณ์ให้หน่อยครับ


โดย: morakotsin วันที่: 19 ธันวาคม 2551 เวลา:13:41:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

billy&chalee
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




แมงมุม เส้นใยแห่งการเชื่อมโยงองค์ความรู้ KM.เขานี้นีเอง !
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add billy&chalee's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.