Group Blog
 
All Blogs
 

กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)

กฏเกณฑ์ การอายัด(ยึด)ทรัพย์สินภายในบ้านของจำเลย(ลูกหนี้)



- เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ทำการตรวจสอบสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้แล้ว ปรากฎว่าลูกหนี้เป็น “เจ้าบ้าน”

จพค.จะไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามทะเบียนบ้านหลังนั้นๆ หากไปแล้วพบว่าบ้านหลังนั้น ถูกปิดประตู หรือถูก Lock อยู่ จพค.สามารถใช้อำนาจในการเปิดบ้าน เพื่อทำการยึดทรัพย์ตามที่เจ้าหนี้นำชี้ได้ เนื่องจากกฏหมาย ระบุไว้ว่า หากผู้ใดที่มีฐานะเป็น“เจ้าบ้าน”ก็ให้สันนิษฐานว่าทรัพย์สินใดๆที่อยู่ใน บ้านของเจ้าบ้าน เป็นทรัพย์ของเจ้าบ้านเอาไว้ก่อนเป็นหลัก ดังนั้นหากลูกหนี้ตามคำพิพากษามีฐานะเป็น“เจ้าบ้าน”หลังใด ก็สามารถยึดทรัพย์ที่อยู่ภายในบ้านหลังนั้นได้ ถึงแม้นว่าจะถูกปิดประตูอยู่ก็ตาม
โดยอาศัยขั้นตอนให้เจ้าหนี้แถลงความรับผิดชอบ เชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเป็นสักขีพยาน , ตามช่างกุญแจมา ไข/งัด/หรือทุบทำลาย วัสดุที่ใช้ Lock บ้าน , มีการบันทึกภาพถ่ายหรือวีดีโอไว้เป็นหลักฐาน , ลงบันทึกประจำวัน



- เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ตรวจสอบสำเนาทะเบียนบ้านของลูกหนี้แล้ว ปรากฎว่าลูกหนี้เป็นแค่ “ผู้อาศัย”

จพค.จะไปยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามทะเบียนบ้านหลังนั้นๆ เพราะกฎหมายสันนิษฐานว่า หากลูกหนี้อาศัยอยู่ที่ไหน ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ควรอยู่กับลูกหนี้ที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นด้วย แต่ถ้าหากไปแล้วพบว่าบ้านหลังนั้น ถูกปิดประตูหรือ ถูก Lock อยู่ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไม่สามารถ ไข/งัด/หรือทุบทำลาย สิ่งที่ใช้ Lock บ้าน ในการเปิดบ้านเพื่อทำการยึดทรัพย์ ไม่เหมือน กับกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าบ้าน เพราะบุคคลที่อยู่ในฐานะ“เจ้าบ้าน” ก็ได้รับการสันนิษฐานตามกฎหมายว่า เจ้าบ้านก็เป็นเจ้าของทรัพย์สินภายในบ้านเช่นกัน และมีน้ำหนักหลักที่ดีกว่าทางฝ่ายลูกหนี้ ที่เป็นฐานะผู้อาศัยภายในบ้าน

ในกรณีนี้ หาก จพค.จะทำการเข้าไปตรวจสอบหรือยึดทรัพย์ภายในบ้านหลังนั้น จะต้องได้รับการ“อนุญาต”จากผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”เสียก่อน เพราะผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”มิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา แถมยังมีน้ำหนักแห่งความเป็นเจ้าของทรัพย์ภายในบ้าน สูงมากกว่าผู้อาศัย

ดังนั้น...
หากเจ้าบ้านอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าไปในตัวบ้านได้ แล้วหลังจากนั้นมีการโต้แย้งจากทางเจ้าหนี้ว่า ทรัพย์ที่ตรวจพบภายในบ้าน เป็นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีหลักฐานมาแสดงยืนยัน โดยผู้ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านไม่มีหลักฐานโต้แย้งกลับ ก็ให้ทำการยึดทรัพย์นั้นๆ

แต่ถ้าหาก“เจ้าบ้าน”ออกมาแสดงตน พร้อมกับหลักฐานความเป็น“เจ้าบ้าน”ต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ณ.ที่หน้าบ้านของตนเอง พร้อมกับยืนยันว่า ทรัพย์สินทุกอย่างภายในบ้าน เป็นทรัพย์ของเจ้าบ้านแต่เพียงผู้เดียว...“ผู้อาศัย”(ลูกหนี้)ไม่ได้เป็น เจ้าของทรัพย์ภายในบ้านแต่อย่างใด แค่มาอาศัยอยู่เท่านั้น
ให้ถือว่า“เจ้าบ้าน”เป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวตามที่แจ้ง และให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี “งดยึด” แล้วทำรายงานต่อไปยังศาล เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 283 ต่อไป

***หมายเหตุ***
กรณีผู้ที่เป็น“เจ้าบ้าน”(ที่มิได้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา) ยังไม่ได้อนุญาตให้บุคคลภายนอกอื่นใดเข้ามาในตัวบ้าน หากบุคคลภายนอกอื่นใดเข้าไปภายในอาณาบริเวณพื้นที่ครอบครองของ“เจ้าบ้าน” โดยที่ยังไม่ได้รับการ“อนุญาต” อาจมีความผิดในข้อหา“บุกรุกเคหสถาน”ได้





กรณีที่ได้เข้าไปตรวจสอบยึดทรัพย์สินภายใน บ้านแล้ว ถ้าหากลูกหนี้มีทรัพย์สินจำพวก เครื่องนุ่มห่มหลับนอน เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือเครื่องใช้สอยส่วนตัว โดยประมาณราคารวมกันไม่เกิน 50,000 .- บาท จะถูกจัดว่าเป็นทรัพย์ที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดี ให้เจ้าพนักงานบังคับคดี“ไม่ยึด” พร้อมกับรายงานศาลขอปลดเปลื้องความรับผิด ป.วิแพ่ง ม. 283

สรุปความก็คือ เครื่องใช้สอยภายในบ้าน ที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันโดยปกติ ดังนี้

- อุปกรณ์เครื่องนอน เช่น ที่นอน , หมอน , มุ้ง , ผ้าห่ม

- อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น ถ้วย , จาน , ชาม , ช้อน , กระทะ , กะละมัง , ขัน , หม้อ , เตา

- อาภรณ์สวมใส่ เช่น เสื้อ , กางเกง , กระโปรง , ถุงเท้า , รองเท้า , กกน.

- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตทั่วไปที่ควรมี เช่น ถังแก๊สสำหรับใช้ทำอาหารในครัว , หม้อหุงข้าวไฟฟ้าใบเล็กๆ , พัดลมตั้งโต๊ะเก่าๆเอาไว้ใช้คลายร้อน , โทรทัศน์รุ่นเก่าขนาดเล็กๆ + วิทยุเครื่องเล็กๆ เอาไว้ใช้ติดตามฟังข่าวสาร , ตู้เย็นเก่าๆขนาดเล็กๆ เอาไว้ใช่แช่เย็นถนอมอาหาร…เป็นต้น

ตัวอย่างต่างๆเหล่านี้ ถ้าเอาทั้งหมดมากองรวมกัน แล้วประเมินราคารวมกันแล้วไม่เกิน 50,000.-บาท...ก็ไม่ยึด (แต่อย่าลืมนะครับ ว่าการประเมินราคาดังกล่าว จะกระทำโดย จพค.เป็นผู้ประเมิน ดังนั้น อย่าหัวหมอโดยการประเมินราคาเข้าข้างตัวเอง)



กรณีที่เจ้าหนี้ขอยึดเครื่องมือหรือเครื่อง ใช้ที่จำเป็น ในการเลี้ยงชีพหรือประกอบวิชาชีพ ราคารวมกันประมาณไม่เกิน 100,000.- บาท เป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับคดีให้ เจ้าพนักงานบังคับคดี“ไม่ยึด” ตามที่เจ้าหนี้นำชี้ เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับรายงานศาลปลดเปลื้องความรับผิด ป.วิแพ่ง ม. 283

สรุปความก็คือ อุปกรณ์/เครื่องมือ ของลูกหนี้ที่จำเป็นต้องมี เพราะเป็นอาชีพของลูกหนี้มาแต่ดั้งเดิม หากมีมูลค่าไม่เกิน 100,000.-บาท ห้ามยึด เช่น

- สว่านไฟฟ้า , ไขควง , ประแจ , คีม , เครื่องเจียรตัดเหล็ก , ตู้เชื่อมไฟฟ้า(ตู้อ๊อกเหล็ก) , กล่องเครื่องมือช่าง
เครื่องมือเหล่านี้ หากรวมกันแล้วไม่เกิน 100,000.-บาท ก็ไม่ต้องยึด...ถ้าลูกหนี้มีอาชีพเป็น ช่างซ่อมเครื่องยนต์ , ช่างซ่อมรถยนต์ หรือเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือต่างๆเหล่านี้ในการประกอบอาชีพ

- เครื่องถ่ายเอกสารเก่าๆเพียงไม่กี่เครื่อง หากรวมกันแล้วไม่เกิน 100,000.-บาท ก็ไม่ต้องยึด...ถ้าลูกหนี้มีอาชีพรับจ้างถ่ายเอกสาร

- เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงคอมฯ หากรวมกันแล้วไม่เกิน 100,000.-บาท ก็ไม่ต้องยึด...ถ้าลูกหนี้มีอาชีพรับจ้างเขียนโปรแกรมขาย , รับแปลและพิมพ์งานเอกสาร เป็นต้น



อุปกรณ์/เครื่องมือ ของลูกหนี้ ที่จำเป็นต้องมีเพื่อการดำรงชีวิตลูกหนี้ (เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะเกี่ยวข้องกับความอันตราย หรือความ เป็น-ตาย ของลูกหนี้) ห้ามยึด ไม่ว่าจะมีมูลค่าสูงแค่ไหนก็ตาม เช่น เครื่องช่วยหายใจ , เครื่องฟอกไตประจำบ้าน , เครื่องช่วยชีวิต , เครื่องวัดชีพจร , เครื่องวัดความดัน , แขนเทียม , ขาเทียม , รถเข็นสำหรับผู้พิการ...เป็นต้น



คำถาม-คำตอบ ส่งท้าย

ถาม : หากกรณีลูกบ้านเป็นลูกหนี้ แต่ลูกหนี้เป็นคู่สมรส(สามี/ภรรยา)กับเจ้าบ้าน โดยจดทะเบียนสมรสกันถูกต้อง ตามกฏหมายแล้วสามารถยึดทรัพย์สินภายในบ้านได้หรือไม่ ถ้าหากเจ้าบ้าน(สามี/ภรรยา)ไม่ยอมให้ยึด โดยอ้างว่าเจ้าบ้านเป็นผู้ที่ซื้อหาทรัพย์มาเอง

ตอบ : ถ้าเป็นกรณีที่เป็นสามีภรรยาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ให้ถือว่าทรัพย์สินภายในบ้านเป็นสินสมรส โจทก์มีสิทธิ์นำชี้แถลงยืนยันต่อ จพค. พร้อมนำส่งเอกสารประกอบการยึดทรัพย์ได้ หากทรัพย์ภายในบ้านเป็นสินสมรสจริง



*** หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถไปอ่านได้จากในเวปไซด์ของกรมบังคับคดี ***
test.led.go.th/faqn/SARA.ASP?nomod=c
.
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ






 

Create Date : 25 มิถุนายน 2556    
Last Update : 25 มิถุนายน 2556 4:45:46 น.
Counter : 3872 Pageviews.  

หนี้จากการผ่อนสินค้า


เห็นถามกันมาเยอะ...ถามกันจัง...ถามมาตลอดทุกปี...ถามไม่หยุดไม่หย่อน วันนี้ผมจะมาไขปัญหานี้ให้กระจ่างกันไปเลย

คำถามส่วนใหญ่มักจะถามกันว่า

- ผมผ่อน เครื่องซักผ้า ไว้แล้วจ่ายต่อไม่ไหว เขาจะมายึดเอาของคืนไหมครับ

- เคยผ่อน โน๊ตบุ๊ค เอาไว้ แต่ได้เอาไปขายแล้ว แล้วตอนนี้ก็ไม่ได้ผ่อนต่อ ทางเจ้าหนี้บอกว่า เป็นคดีอาญา ต้องติดคุก จริงไหมคะ

- ใช้ชื่อของตัวเองทำสัญญาผ่อน TV ให้กับเพื่อนที่อยู่ข้างๆห้องเช่า แต่ตอนนี้เพื่อนหนีหนี้ไปแล้ว เจ้าหนี้เขาโทรมาทวงเอา TV คืน แต่เพื่อนก็ย้ายห้องพร้อม TV หนีไปไหนก็ไม่รู้ ทางเจ้าหนี้ก็บอกว่าถ้าไม่เอา TV มาคืน จะเอาตำรวจมาจับผม จะทำยังไงดีครับ

- ผ่อนตู้เย็นมาได้ 3 เดือนแล้วค่ะ แต่ตอนนี้ตกงานไม่มีเงินผ่อนต่อ คนโทรมาทวงบอกว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ เขาจำเป็นต้องมายึดเอาของไป ทำได้ด้วยหรือคะ

จะอธิบายให้ฟังละนะ

สัญญาเช่าซื้อ...มีความหมายว่า ลูกค้าไปเอาของๆเขามาใช้ ในลักษณะของการเช่าของ และสัญญาว่าจะจ่ายชำระเงินค่าสินค้านั้นๆ โดยการผ่อนเป็นงวดๆพร้อมด้วยดอกเบี้ยตามข้อตกลง จนกว่าจะครบตามมูลค่าของสินค้านั้นๆ จึงจะสามารถโอนกรรมสิทธิ์ของสินค้านั้นๆ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกค้าหรือผู้เช่าซื้อต่อไปได้...หากลูกค้าหรือผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระ(ไม่จ่าย) เจ้าของสินค้าก็ต้องไปยึดเอาของคืนมา...มันก็เป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว
แต่ถ้าเจ้าของตามไปยึดสินค้าแล้ว กลับไม่มีสินค้าให้ยึด เนื่องจากลูกค้าเอาสินค้าของเขาไป ขาย , จำนำ , หรือยกให้กับคนอื่นต่อ...ผู้ที่เป็นเจ้าของสินค้าเขาก็สามารถฟ้องลูกค้าผู้นั้นให้เป็นคดีอาญา ในข้อหา “ยักยอกทรัพย์ของผู้อื่น” ได้ (ก็เล่นเอาของๆคนอื่น ที่มิใช่ของตนเองไปขายนี่ครับ)

ดังนั้น...การที่จะยึดสินค้าที่กำลังผ่อนชำระอยู่นั้น...ได้...หรือไม่ได้? ก็ต้องให้ไปดูที่ตัว "สัญญา" เป็นหลัก...ว่าเป็น "สัญญาเช่าซื้อ" หรือไม่?
การที่จะใช้คำว่า "สัญญาเช่าซื้อ" ได้นั้น...สินค้านั้นๆจะต้องเป็นทรัพย์สินของเจ้าหนี้มาก่อนตั้งแต่เริ่มแรกๆเลย แล้วหลังจากนั้นลูกหนี้ก็ไปเอาของๆเขามาใช้ โดยตกลงกันว่า ลูกหนี้จะผ่อนชำระมูลค่าของสินค้าพร้อมด้วยดอกเบี้ย คืนให้กับเจ้าของสินค้าเป็นงวดๆไป ตามข้อตกลง…เป็นไปตามที่ผมได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น

แต่ถ้าหากสินค้านั้นๆ ไม่ได้เป็นทรัพย์สินของเจ้าหนี้มาตั้งแต่แรกเริ่ม...แต่ฝ่ายเจ้าหนี้มันดันไปเขียนไว้ที่หัวของสัญญาว่า "สัญญาเช่าซื้อ"...สัญญาฉบับนั้นๆ ก็จะเป็นอันมิชอบด้วยกฏหมาย และจะเป็นโมฆะต่อไปหากเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี...ดังนั้น ทางฝ่ายเจ้าหนี้ทั้งหลายแหล่ที่เป็นผู้ปล่อยสินค้าประเภทเงินผ่อน โดยทั้งๆที่ตัวมันไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้ามาตั้งแต่เริ่มแรก จึงมักเลี่ยงที่จะใช้คำว่า "สัญญาเช่าซื้อ" บนหัวกระดาษของสัญญา แต่มันจะเปลี่ยนไปใช้เป็นคำอื่นๆแทน เช่น
เขียนว่าเป็น “สัญญาเงินกู้เพื่อการผ่อนชำระสินค้า” , “สัญญาผ่อนสินค้าเงินเชื่อ” , “สัญญาผ่อนสินค้าส่วนบุคคล” , “สัญญาสินค้าเงินผ่อน” , ฯลฯ...เป็นต้น

สัญญาเหล่านี้ ไม่ถูกจัดว่าเป็น "สัญญาเช่าซื้อ" ตามกฏหมาย แต่ถูกจัดว่าเป็นสัญญาที่ให้กู้เงิน เพื่อใช้ในการจับจ่ายใช้สอย สำหรับการอุปโภคและบริโภคใดๆ...หรือเรียกง่ายๆก็คือว่า “เป็นการปล่อยเงินกู้ให้กับลูกหนี้ก้อนหนึ่ง แล้วหลังจากนั้น ลูกหนี้จะเอาเงินก้อนนี้ ไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือซื้ออะไรก็ได้ ตามความต้องการของทางลูกหนี้...เชิญตามสบาย”

ดังนั้น หากทางลูกหนี้เกิด “ผิดนัดชำระหนี้” ขึ้นมาเมื่อใด ทางฝ่ายเจ้าหนี้มันก็มีสิทธิ์ทวงได้เฉพาะเงินก้อน ที่มันโยนมาให้ลูกหนี้ไว้ใช้ซื้อของตามที่ลูกหนี้ต้องการเท่านั้น จะมาอ้างทวงเอาของที่ลูกหนี้ซื้อมาแล้วไม่ได้ เพราะลูกหนี้ เป็นผู้ “ติดหนี้เงิน” ไม่ใช่ “ติดหนี้ของ”

และนี่คือที่มาว่า...ทำไม?...ส่วนมาก ไอ้พวกบรรดาเจ้าหนี้สินค้าเงินผ่อนเจ้าเล่ห์ต่างๆ มันมักจะใช้ชื่อของสัญญา ในการผ่อนสินค้าเป็นคำอื่นๆ โดยที่ไม่กล้าใช้คำว่า “สัญญาเช่าซื้อ” (ก็เพราะว่าตัวมันเองไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้านั้นๆมาตั้งแต่เริ่มแรก มันจึงกลัวว่าสัญญาจะเป็นโมฆะหากขึ้นสู่ชั้นพิจาณา ยังไงล่ะ)

แต่ทีเวลาพวกมันทวงหนี้...มันกลับชอบอ้างกับลูกหนี้ว่าเป็นสัญญาประเภท “เช่าซื้อ” ไปซะทุกที และก็ชอบที่จะข่มขู่ว่านี่เป็นคดีอาญานะ หากไม่ส่งมอบคืนสินค้าให้กับมัน...ทั้งที่ความจริงนั้น...มันไม่ใช่เลย
ฉะนั้นพวกที่เป็นลูกหนี้สินค้าประเภทเงินผ่อน จึงจำเป็นที่จะต้องรอบรู้ให้มากๆ เพื่อให้ทันกับเล่ห์เหลี่ยมของพวกมันด้วย

บางคนอาจจะยัง “งง” อยู่กับคำว่า “สินค้านั้นๆจะต้องเป็นทรัพย์สินของเจ้าหนี้มาก่อน ตั้งแต่เริ่มแรกๆเลย” มันหมายความว่าอะไร?

เอาล่ะ...จะอธิบายให้ฟังตามนี้นะ

ตัวอย่างที่ 1
พวกคุณรู้จัก บริษัทที่ชื่อว่า Singer (ซิงเกอร์) ไหมครับ?...บริษัทนี้ทำธุรกิจเกี่ยวกับ เครื่องใช้ไฟฟ้าเงินผ่อนต่างๆ เช่น จักรเย็บผ้าไฟฟ้า , ตู้เย็น , เครื่องซักผ้า , โทรทัศน์ , วิทยุ , เตารีด , ฯลฯ...โดยที่บริษัท Singer นี้ มีโรงงานผลิตและซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้เป็นของตนเอง
เครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อ Singer เหล่านี้ ถูกผลิตออกมาจากโรงงานของ Singer แล้วก็ถูกนำออกมาขายตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อว่า “ร้าน Singer” ผ่านตัวแทนฝ่ายขายของ Singer โดยส่วนใหญ่จะเน้นขายเป็นสินค้าประเภท “เงินผ่อน”

นี่แหละครับ...ตัวอย่างของคำว่า “สินค้านั้นๆ จะต้องเป็นทรัพย์สินของเจ้าหนี้มาก่อน ตั้งแต่เริ่มแรก”

บริษัท Singer เป็นผู้ผลิตสินค้าเอง , ทำการตลาดขายของเอง , ขายแบบเงินผ่อนเอง , เก็บเงินเอง...สรุปก็คือ “Singer เป็นเจ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าเงินผ่อนเหล่านี้ มาตั้งแต่เริ่มแรก” และนำสินค้าของตนเอง มาขายเป็นเงินผ่อนให้กับลูกค้า...ลักษณะเช่นนี้ จึงจัดว่าเป็นนิติกรรม “เช่าซื้อ” โดยถูกต้องตามกฏหมาย

ตัวอย่างที่ 2
นายพอเพียง อยากได้มอเตอร์ไซด์สักคันเพื่อไว้ขี่ไปทำงาน แต่ไม่มีเงินก้อนไปซื้อ นายพอเพียงจึงลองไปถามร้านขายมอเตอร์ไซด์ที่อยู่ใกล้บ้าน ว่าหากต้องการจะซื้อมอเตอร์ไซด์ รุ่น Wave 100 สีแดงคันนี้ จากทางร้าน แบบเงินผ่อน จะต้องทำยังไงบ้าง ***ราคาขายมอเตอร์ไซด์(เงินสด)อยู่ที่ 40,000.-บาท***

ทางร้านก็เลยแนะนำกับนายพอเพียงว่า ให้นายพอเพียงไปทำ “สัญญาเช่าซื้อ” มอเตอร์ไซด์กับ บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) จำกัด ซึ่งทำธุรกิจแบบ ไฟแนนซ์และลิสซิ่งด้วย ก็จะสามารถเอามอเตอร์ไซด์คันนี้ออกไปขับได้เลย ส่วนเรื่องการผ่อนเงินก็ให้นายพอเพียงไปตกลงและผ่อนกับทาง บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) เอาเอง…นายพอเพียงจึงตกลงไปทำ “สัญญาเช่าซื้อ” ตามที่ทางร้านแนะนำ

สำหรับ บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) พอมันรู้ว่านายพอเพียงต้องการซื้อมอเตอร์ไซค์คันนี้แน่ๆ มันก็ให้นายพอเพียงทำ “สัญญาเช่าซื้อ” มอเตอร์ไซค์คันดังกล่าวกับมัน แล้วมันก็โอนเงินจำนวน 40,000.-บาท ให้กับทางร้านขายภายในวันเดียวกันนั้นเลย โดยให้ทางร้านขายออกใบเสร็จรับเงินว่า บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) เป็นผู้ซื้อมอเตอร์ไซด์คันนี้...นายพอเพียงจึงขับมอเตอร์ไซด์คันนี้กลับไปบ้านได้เลย

หลังจากนั้นทาง บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) ก็เอาใบเสร็จการซื้อมอเตอร์ไซด์คันนี้ ไปแจ้งทำสมุดทะเบียนรถมอเตอร์ไซด์ ที่กรมขนส่งทางบก โดยอ้างต่อกรมขนส่งว่ามันเป็นเจ้าของรถ เนื่องจากเป็นผู้ออกเงินซื้อมาเอง ดังนั้นชื่อผู้ที่เป็นเจ้าของรถมอเตอร์ไซด์โดยระบุอยู่ในสมุดทะเบียนรถ จึงเป็นชื่อของ บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) จำกัด มิใช่เป็นชื่อของนายพอเพียง

สถานะของนายพอเพียง จึงเป็นเพียงแค่ “ผู้ครอบครอง” เท่านั้นตามกฏหมาย จนกว่านายพอเพียงจะผ่อนชำระหนี้ตาม “สัญญาเช่าซื้อ” จนครบ ทาง บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) จึงจะทำการโอนรถและสมุดทะเบียน ให้เป็นชื่อของนายพอเพียงเป็นเจ้าของต่อไป (ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า เจ้าของรถที่แท้จริงก็คือ บริษัท ไอ้อ้อน(Teen)...แต่มันได้อนุญาตให้นายพอเพียง นำรถของมันออกไปยืมขับได้ตามใจชอบ ตราบใดที่นายพอเพียงยังผ่อนเงินค่ารถให้กับมันอยู่)

ลักษณะเช่นนี้ ก็ถูกจัดว่าเป็นนิติกรรม “เช่าซื้อ” โดยถูกต้องตามกฏหมาย เช่นเดียวกัน

หากว่าเป็นสัญญาเช่าซื้อ (ที่ใช้บังคับคดีได้ตามกฏหมาย) จะต้องมีรายละเอียดประมาณดังนี้
1. สินค้าที่จะทำเป็น “สัญญาเช่าซื้อ” ได้นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ขายสินค้ามาตั้งแต่เริ่มแรก...ก่อนที่จะเซ็นต์ทำสัญญาเช่าซื้อระหว่างกัน
2. ด้านบนหัวกระดาษของหนังสือสัญญา จะต้องถูกเขียนระบุไว้ว่าเป็น "สัญญาเช่าซื้อ" เท่านั้น...จะเขียนเป็นอย่างอื่นมิได้โดยเด็ดขาด
3. ในหนังสือสัญญา จะต้องมีการระบุรายละเอียดของตัวสินค้าที่จะผ่อนเช่าซื้อ ให้ชัดเจน , ครบถ้วนทุกประการ เช่น

ชื่อ เจ้าของสินค้า/ผู้ให้เช่าซื้อ = บริษัท อีท-สิ-ควาย (มหาชั่ว) จำกัด
ชื่อ ผู้ใช้บริการ/ผู้เช่าซื้อสินค้า = นาย นกกระจอกเทศ กระทืบเจ้าหนี้
หมายเลขบัตรประชาชน = x-xxxx-xxxxx-xx-x
ที่อยู่ของ ผู้ใช้บริการ/ผู้เช่าซื้อสินค้า = เวปไซด์ ชมรมหนี้บัตรเครดิต เครือข่ายมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กทม.
เบอร์โทรศัพท์ = 02-424อ42ม (สี่โทรสี่ อยากสี่โทรมา)

ประเภทสินค้า = เครื่องรับโทรทัศน์ (TV)
ขนาด = 21 นิ้ว
สีของสินค้า = สีดำ
ยี่ห้อ = Sony
รุ่น = Vega 21
หมายเลขประจำเครื่อง (Serial No.) = 000261007TH

ราคาสินค้า = 9,000.-บาท
ระยะเวลาในการผ่อนชำระเงินคืน = 12 งวด
อัตราดอกเบี้ย = 2% ต่อเดือน
ตกลงเป็นจำนวนเงินในการผ่อนชำระงวดละ 930.-บาท เป็นระยะเวลาทั้งหมด 12 เดือน

รายละเอียดของ “สัญญาเช่าซื้อ” จะต้องมีองค์ประกอบประมาณนี้...เป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------

แล้วทำไมผมจึงกล้าบอกว่า สินค้าส่วนใหญ่ ที่บรรดาลูกหนี้ผ่อนอยู่กับสถาบัน Non-Bank ต่างๆทุกวันนี้ ส่วนมากไม่ได้ถูกจัดว่าเป็น “สัญญาเช่าซื้อ” ล่ะ?
คำตอบก็คือ...ก็เพราะว่าพวกมันไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้ามาตั้งแต่เริ่มแรกยังไงล่ะครับ!

ยกตัวอย่างเช่น นายพอเพียงไปผ่อนซื้อโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ Nokia รุ่น N70 มาจากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง (ราคาขายเงินสดอยู่ที่ 7,000.-บาท) โดยนายพอเพียงได้ไปทำ “สัญญาสินค้าเงินผ่อน” ไว้กับ บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) ที่มีการเปิดบริการไว้อยู่ในห้างฯนี้ด้วยเช่นกัน แล้วนายพอเพียงก็ได้โทรศัพท์มือถือมาใช้สมใจอยากภายในวันนั้นเลยจากทางห้างฯ พร้อมกับได้รับใบเสร็จชำระเงินค่าโทรศัพท์(ว่าได้จ่ายเงินค่าเครื่องโทรศัพท์มือแล้ว) พร้อมกับใบรับประกันสินค้าของ Nokia ด้วย

หลังจากนั้น นายพอเพียงก็ผ่อนชำระค่าเครื่องโทรศัพท์มาได้ 3 งวด แล้วก็หยุดจ่าย...ทางบริษัท ไอ้อ้อน(Teen) ก็โทรมาทวงหนี้และทวงสินค้า (เครื่องโทรศัพท์มือถือ) คืนจากนายพอเพียง โดยอ้างว่าหนี้ในครั้งนี้ เป็นหนี้ประเภท “เช่าซื้อ” นะ ถ้าหากนายพอเพียงไม่ยอมคืนโทรศัพท์ Nokia มา จะถูกฟ้องเป็นให้คดีอาญา และจะถูกตำรวจจับด้วย

5555...(ขออนุญาต “ขำ” กับมุขควายๆที่พวกมันชอบใช้หลอกข่มขู่กับลูกหนี้แบบนี้ สักหน่อยนะครับ...แม่_งใช้มาตั้งหลายปีแล้ว แต่ก็ยังคงความเป็น น้ำเน่า และควายๆ อยู่เหมือนเดิม)...เอิ๊ก...เอิ๊ก...

เฮ้อ...เฮ่อ...มาเล่าต่อ...ทำไมผมถึง “ขำ” เหรอครับ...ก็เพราะว่ามันไม่ได้เข้าข่ายเลยสักนิด ด้วยเหตุผลดังนี้ไง

1. บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) มันเป็นเจ้าของโทรศัพท์ Nokia ตั้งแต่เมื่อไหร่กันหว่า?...ผมไม่เคยเห็นหรือเคยได้ยินมาก่อนเลยว่า บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) มันมีโรงงานผลิตโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ Nokia เป็นของตัวมันเองเลย...แล้วโรงงานมันตั้งอยู่ที่ไหนกัน(วะ)
2. สัญญาที่มันเขียนลงบนหัวกระดาษ มันก็ใช้คำว่า “สัญญาสินค้าเงินผ่อน”...ไม่เห็นมีคำว่า “สัญญาเช่าซื้อ” เขียนไว้อยู่ตรงไหนเลย?
3. ใบเสร็จรับเงินค่าเครื่องโทรศัพท์มือถือ ที่นายพอเพียงได้รับมาจากห้างฯ ก็อยู่ที่นายพอเพียงเป็นผู้เก็บไว้ แถมยังมี “ใบรับประกันสินค้า” ที่ระบุว่าซ่อมฟรี 1 ปี หากเครื่องโทรศัพท์มีปัญหา ซึ่งในใบรับประกันสินค้านั้น ก็ยังเขียนไว้ด้วยว่า “ชื่อผู้ซื้อ...ชื่อ นายพอเพียง นามสกุล อยู่ไปวันวัน” โดยชัดเจน...ไม่ได้เขียนเอาไว้ว่า "ชื่อผู้ซื้อ...ชื่อ บริษัท ไอ้อ้อน(Teen) ซะเมื่อไหร่

แล้วมันจะเป็น คดีอาญา ไปได้ยังไง(วะ)เนี่ย…เหอ...เหอ...เหอ...เอิ๊ก...

ถ้ามันยังขืนกล้ามายึดเอาเครื่องโทรศัพท์มือถือตามที่มันขู่แล้วล่ะก็ นายพอเพียงสามารถเอาหลักฐาน “ใบรับประกันสินค้า” ตัวนี้ ไปแจ้งความกับตำรวจเพื่อดำเนินคดีกับมัน ในข้อหา "ข่มขู่กรรโชกทรัพย์" , “ชิงทรัพย์” หรือ “ปล้นทรัพย์” ยังได้เลยด้วยซ้ำ

บางคนอาจจะบอกว่า "ไม่รู้ว่ามันเป็นสัญญาเช่าซื้อจริงๆหรือเปล่าสิคะ เพราะไม่มีหนังสือหนังสือสัญญาค่ะ เนื่องจากตอนที่ไปทำสัญญาเอาไว้ ทางเจ้าหนี้เขาก็ไม่ได้ให้ Copy สัญญากลับมาด้วย" หรือว่า "หนังสือสัญญาหายค่ะ ทิ้งไปแล้วเพราะนึกว่ามันไม่สำคัญ เลยไม่รู้ว่ามันเป็นสัญญาเช่าซื้อหรือเปล่า"

ไม่เป็นไรครับ...ผมบอกแล้วไงว่า เอกสาร"ใบรับประกันสินค้า"นั่นแหละ ที่จะเป็นหลักฐานชี้ชัดได้ว่า "ใครกันแน่ที่เป็นเจ้าของโดยแท้จริง" และถ้ายังไม่เคยกรอกชื่อหรือรายละเอียดใดๆไว้ใน"ใบรับประกันสินค้า"นี้เลย ก็ให้รีบเขียนซะนะ...แล้วเก็บเอาไว้ให้ดี

แต่ถ้ายังมีหน้ามาบอกอีกว่า "ใบรับประกันก็หายเหมือนกันค่ะ ไม่เคยเก็บเอาไว้เหมือนกัน"

เออ...เจริญล่ะ...ไม่รู้จักเก็บอะไรไว้ซักอย่างเลย ไม่รู้จะช่วยยังไงแล้วโว้ยอย่างนี้...ก็จงโดนทวงของต่อไปก็แล้วกัน

แล้วถ้ายังถามต่ออีกว่า...เอ!...แล้วเราจะมีวิธีสังเกตุอื่นๆอีกบ้างไหม? ที่พอจะคาดเดาได้ว่า...สินค้าเงินผ่อนอันไหน?...หรือเจ้าหนี้รายใด?...ที่ตัวเจ้าหนี้มันเป็นเจ้าของทรัพย์มาตั้งเริ่มแรก

โถ...สังเกตุได้ง่ายนิดเดียวครับ...ถ้าเจ้าหนี้มันลงทุนซื้อของเข้ามาขายในร้านหรือในห้างฯของตัวเอง มันก็เป็นเจ้าของยังไงล่ะครับ...ส่วนเจ้าหนี้รายไหนที่มันไม่ลงทุนซื้อของเข้ามาในร้านของตัวเองเลย (หรือเรียกได้ว่า ไม่มีร้านขายของเป็นของตนเอง) แต่แค่อาศัยเอาสติกเกอร์หรือแผ่นป้ายโฆษณา ไปฝากแปะไว้ตามร้านค้าหรือห้างต่างๆ (แบบกาฝาก) ก็แสดงว่าไม่ใช่สินค้าของมันยังไงล่ะครับ
เช่น
ร้านเพาว์เวอร์ควาย , ห้างโลตุ๊ด , ห้างบิ๊กซี๊ เป็นต้น...พวกนี้มันมีห้างหรือร้านค้าเป็นของตัวเอง และลงทุนซื้อสินค้าต่างๆเข้ามาใน ห้าง/ร้าน ของตัวเอง ดังนั้นมันจึงเป็นเจ้าของสินค้าตั้งแต่เริ่มแรก
ส่วน ไอ้พวกยี่ห้อ ไอ้อ้อน(Teen) , อีทสิควาย , เฟริสท์ถ่อย , เคทู่ซี๊ เหล่านี้ มันก็แค่เอาป้ายโฆษณาเงินผ่อนไปฝากแปะไว้ตามห้างฯเท่านั้น แต่สินค้าต่างๆที่อยู่ในห้าง มันไม่ได้เป็นผู้ลงทุนซื้อมาสักชิ้น

เข้าใจหรือยังครับ?

ทีนี้...เรามาลองสมมุติกันอีกสักกรณีหนึ่งนะ (โดยสมมุติว่า...ต่อให้มันเป็น “สัญญาเช่าซื้อ” จริงๆก็ตามที)
แต่ถ้าการทำ “สัญญาเช่าซื้อ” นั้น...มันไม่ได้มีการระบุรายละเอียดของสินค้าไว้โดยละเอียด (ตามตัวอย่างในข้อความตัวอักษรสีแดง ที่ผมยกตัวอย่างให้ดูในด้านบน)...แต่ถูกระบุไว้เพียงแค่ว่า

ประเภทสินค้า = เครื่องรับโทรทัศน์ (เพียงแค่นี้!...เท่านั้น!...แต่รายละเอียดอย่างอื่นไม่ได้มีเขียนบอกอะไรไว้อีกเลย)

หากทางเจ้าหนี้มันจะอ้างว่ามา "ยึดของ"...แล้วมันจะมายึดอะไรล่ะครับ...เข้าใจไหม?

ผมกำลังหมายความว่า...หากลูกหนี้"หยุดจ่าย" แล้วฝ่ายเจ้าหนี้ มันโมเมว่าจะเข้ามายึดเอาของคืน ก็ให้ถามมันไปว่า..."มรึงจะมายึดเอาอะไรจากกรู(วะ)"
ถ้ามันตอบว่า "ก็จะมายึดเอาโทรทัศน์กลับคืนไปน่ะสิวะ"
ก็ให้คุณไปเตรียมซื้อโทรทัศน์เครื่อง เก่าๆ พังๆ ยี่ห้ออะไรก็ได้ รุ่นอะไรก็ได้ จากร้านรับซื้อของเก่า (หรือจะถามจากพวก "ซาเล๊งเก็บขยะ" ก็ได้) โดยเลือกซื้อเอาเครื่องโทรทัศน์ที่ราคาถูกที่สุด ถึงแม้มันจะเหลือเป็นเพียงแค่ โครง ซาก พังๆ เน่าๆ ของเครื่องโทรทัศน์ก็ได้ (ราคาไม่น่าจะเกินร้อยกว่าบาท) แล้วก็เอาไปวางกองไว้ที่หน้าบ้านของคุณเอง
ต่อจากนั้นก็ให้โทรไปบอกกับเจ้าหนี้มันว่า "กรูได้เตรียมโทรทัศน์ไว้คืนให้มรึงเรียบร้อยแล้วนะ ให้มรึงรีบใสหัวมรึงมาเอาไปได้เลย...โดยไว”
แล้วถ้าหากมันมายึดจริงๆ...ก็ชี้ให้มันดูว่า “นั่นยังไงล่ะ โทรทัศน์ของมรึง เชิญมรึงขนเอาไปได้เลย แล้วช่วยเซ็นต์ชื่อมรึงลงในเอกสารรับของคืนแผ่นนี้ซะด้วยนะ ว่ามรึงได้ขนเอาของคืนกลับไปแล้ว...อ้อ...แล้วพอได้ของกลับไปแล้ว...ต่อไปก็อย่า เสือ_โทรมาทวงอีกล่ะ”
พอมันเห็นซากโทรทัศน์ พังๆ เน่าๆ เท่านั้นแหละ...มันก็จะรีบบอกทันทีว่า “เฮ้ย!...ไม่ใช่โทรทัศน์เครื่องนี้นี่หว่า มันต้องเป็นเครื่องอื่นสิ”
ให้คุณบอกมันไปว่า “ถ้ามันไม่ใช่เครื่องนี้ แล้วมันจะเป็นเครื่องไหนล่ะวะ ก็มรึงให้กรูมาแค่เครื่องนี้แหละ...ในสัญญามรึงก็เขียนเอาไว้ว่า ประเภทสินค้าคือ “เครื่องรับโทรทัศน์” มันก็เขียนไว้แค่นี้...ก็นี่ยังไงล่ะเครื่องรับโทรทัศน์...หรือมรึงมองเห็นเป็นตู้เย็นรึไงฟะ...ว่าไง...มรึงจะเอารึไม่เอา ถ้าไม่เอาคืนแล้วเสือ_โทรมาทวงทำไมวะ?"

*** เล่นกับมันอย่างนี้ไปเลยคร๊าบ พี่น้อง...จะไปกลัวอะไรกับมันล่ะ ***

อ่ะแฮ่ม...จะแถมให้อีกสักกรณีละกัน (เป็นกรณีสุดท้าย...แบบทิ้งทวน)

ในครั้งอดีต เคยมีคนตั้งกระทู้ถามในทำนองว่า เอาบัตรเครดิตไปรูดซื้อ TV กับ แอร์ แล้วหลังจากนั้นก็ไม่ได้ผ่อนจ่ายหนี้บัตรเครดิต...ทางเจ้าหนี้มันจะมายึดของคืนไปได้ไหม?

และนี่ก็คือคำถามที่ว่า
การซื้อสินค้าผ่านบัตรเคริตแล้วค้างจ่าย
สวัสดีพี่ๆทุกท่านครับ ที่เข้ามาอ่านข้อสงสัยของกระผม ผมอยากทราบว่าผมได้ซื้อทีวีกับแอร์ โดยชำระผ่านบัตรเครดิต แต่แล้วผมมีปัญหาเรื่องเงินเลยไม่ได้ชำระขั้นต่ำจนปัจจุบันก็หยุดจ่ายแล้ว
ผมอยากทราบว่าทางเจ้าหนี้ธนาคารซึ่งเป็นเจ้าของบัตรเครดิตจะมีสิทธิ์มายึดสินค้าคืนจากเราได้ไหมครับ

ส่วนนี่ก็คือคำตอบจากผม
การนำบัตรเครดิตไปรูดซื้อสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อการ อุปโภค หรือ บริโภค ก็ตาม...ก็คือการขอยืมเงินของทางเจ้าหนี้ ให้สำรองจ่ายแทนเราไปก่อนสำหรับการซื้อสินค้านั้นๆ ซึ่งเงินที่เราได้ยืมมาจากเจ้าหนี้ โดยการใช้บัตรเครดิตไปรูดเช่นนี้ เราจะเอาไปซื้ออะไร มันก็เป็นเรื่องของเรา เป็นสิทธิ์ของเรา เจ้าหนี้มันจะมาอ้างทวงสินค้าที่ถูกซื้อไปไม่ได้ เพราะสินค้านั้นๆ ได้จัดเป็นกรรมสิทธิ์ของเราแล้ว...เพียงแต่เราต้องไปชดใช้หนี้ตามจำนวน "เงิน" ที่เราไปยืมเขามาก็เท่านั้น

ผมขอยกตัวอย่าง "สมมุติ" ให้ดูสักกรณีหนึ่งก็แล้วกัน

สมมุติว่า...คุณไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคารแห่งหนึ่ง โดยในครั้งนั้น คุณได้สั่งอาหารราคาแพงๆมาทานหลายอย่าง อาทิเช่น หูฉลาม , เป็ดปักกิ่ง , ขาแพะอบน้ำแดง , กุ้งลอบสเตอร์อบชีส , สเต็กปลาแซลมอน ราดด้วยไข่ปลาคาร์เวีย...ฯลฯ...เป็นต้น
หลังจากทานจนอิ่มเสร็จแล้ว คุณก็ได้จ่ายชำระ "เงิน" ค่าอาหารทั้งหมด ด้วยการรูดบัตรเครดิตที่ภัตตาคารดังกล่าว
ต่อมา...คุณประสบปัญหาเรื่องสภาพการเงินแบบกระทันหัน และไม่สามารถหาเงินไปจ่ายชำระค่าบัตรเครดิดได้ แม้กระทั่งการจ่ายขั้นต่ำก็ตาม

คุณคิดว่า...ทางเจ้าหนี้มันจะมาทวง "เงินค่าอาหาร" หรือทวง "อาหารที่คุณกินเข้าไป" ล่ะครับ
เพราะถ้ามันจะมาทวงเอา"สินค้า"ที่คุณกินเข้าไป...ซึ่งมันก็ได้ถูกย่อยสลายจนกลายเป็น "ขี้" ไปหมดแล้ว

แล้วคุณคิดว่า ทางเจ้าหนี้...มันจะมายึดเอา "ขี้" ของคุณไปไหมล่ะครับ?

อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
แก้ไขล่าสุด: 1 สัปดาห์, 3 วัน ที่ผ่านมา โดย นกกระจอกเทศ.
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!
สมาชิกที่ถูกใจโพสต์นี้: กอบัว, พี่ลี, Anakin, Angsuu, chaowalert, เหน่งนนท์, HitGirl, ratcha, Hnorth, bad_au, poop42685, ไวแสง, Mickey230
ตอบกลับ: ไขปัญหา "หนี้ที่เกิดจากการผ่อนสิน​ค้า" 1 สัปดาห์, 3 วัน ที่ผ่านมา #33738

นกกระจอกเทศ
( ผู้ดูแลเว็บ )
ออฟไลน์
Administrator
จำนวนโพสต์: 626


หวังว่าทุกท่านที่มีปัญหาเรื่อง “การผ่อนสินค้า” พอได้เข้ามาอ่านในนี้แล้ว...คงจะเข้าใจและเห็นภาพได้มากขึ้นนะครับ

ฝากเพื่อนคณะกรรมการ และเพื่อนสมาชิกทุกท่านด้วยนะครับ หากมีใครเข้ามาถามเกี่ยวกับ เรื่องสินค้าเงินผ่อนหรือเช่าซื้ออีก (พวกที่สักแต่ถามอย่างเดียว แต่ไม่ยอมค้นหาอ่านอะไรเลย) ก็เอากระทู้นี้ไป Link ให้ดูได้เลยนะครับ

ด้วยความปราถนาดีจาก
นกกระจอกเทศ
อนณสุข ปรมาลาภา

ความไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ
กระทู้นี้โดนล็อคเรียบร้อยแล้ว!!




 

Create Date : 01 พฤษภาคม 2556    
Last Update : 1 พฤษภาคม 2556 6:06:39 น.
Counter : 2518 Pageviews.  

ปิดหนี้บัตร KTC แล้ว หมดกันเสียทีหนี้บัตรเครดิต

เมื่อสิ้นปี ได้ฤกษ์ยามงามดี ปิด KTC ไปอีกใบ

หมดหนี้หมดสินสำหรับบัตรเครดิตเสียที
ที่นี่ก็ยังเหลือหนี้ผ่อนรถอีกเดือนละ 8,0000 12 งวด ก็หมดแล้ว

นอกนั้นก็ยังมีหนี้ที่ผ่อนทำบ้านเช่าอยู่อีก 490,000
หนี้ผ่อนที่ดินอีก 600,000
จำนำทองไว้อีก 200,000
เงินกู้ยืมอีก 500,000
สู้กันต่อไป

สักวันต้องหมดหนี้ครับ




 

Create Date : 08 มกราคม 2556    
Last Update : 8 มกราคม 2556 11:50:18 น.
Counter : 2231 Pageviews.  

กิจกรรมอบรมแก้ไขปัญหาหนี้(ฟ​​รี) ที่ มพบ.เดือนมกราคม 2556


เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการเผยแพร่ความรู้ในการแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ให้กับลูกหนี้และบุคคลทั่วไปได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล จึงได้จัดให้มีการอบรมแก้ไขปัญหาหนี้ฯ เป็นประจำทุกสามเดือน

การอบรมดังกล่าวเป็นการอบรมฟรี! ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น!เพียงแต่จะไม่มีบริการอาหารและเครื่องดื่มให้เท่านั้น จำนวนผู้เข้าอบรมไม่เกิน 70 ท่าน

ในแต่ละครั้งจะมีกรรมการชมรมฯ สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่สมาชิก โดยชมรมจะมีการประกาศหน้าบอร์ดให้ทราบว่าในแต่ละครั้งจะมีการอบรมขึ้นในวัน เวลาใด และกรรมการท่านใดเป็นผู้ดูแลการอบรมฯ

การอบรม(ฟรี)ครั้งแรกประจำปี 2556 คือ วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2556

เวลา 09:30 น. - 16:00 น.

สถานที่อบรมคือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (ห้องประชุม ชั้น 2) เลขที่ 4/2 ซอยวัฒนะโยธิน (ราชวิถี 7) แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ(ดูแผนที่ตั้งมูลนิธิอยู่ด้านล่าง)

วิทยากรผู้ดูแลการอบรม(ฟรี) ประจำเดือมกราคม 2556 คือ

คุณ นกกระจอกเทศ (ประธานชมรมฯ)

คุณ batk (กรรมการ)







ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จึงใคร่ขอเรียนเชิญสมาชิกใหม่ที่กำลังคิดจะหยุดจ่าย หรือเพิ่งเริ่มหยุดจ่าย และอยากได้ความรู้นับตั้งแต่ก้าวแรกไปจนสุดทาง

• เริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน(เริ่มหยุดจ่ายใหม่ๆ)...ไปจนถึงขั้นตอนต่อสู้คดีในชั้นศาล และการถูกบังคับคดี (อายัดเงินเดือน , อายัดทรัพย์)

• ใช้การอธิบายด้วยภาษาแบบชาวบ้าน (ภาษาชาว “ยิ้มสู้หนี้”) เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาได้จริง

• ชี้ให้เห็นประเด็นกลโกงของเจ้าหนี้ ทั้ง “ตามข้อกฏหมาย” และ “ช่องโหว่ของกฏหมาย”

• เพื่อนสมาชิกจะได้มีโอกาสพบปะพูดคุย กับ“ชาวยิ้มสู้หนี้”อีกมากมาย (ที่มีหัวอกเดียวกัน เนื่องจากเป็นหนี้เหมือนกัน) และจะได้พบกับกรรมการชมรมฯอีกหลายท่าน ที่ประสบความสำเร็จในการ “ปลดหนี้” โดยใช้แนวทางของชมรมฯ

รวมทั้งสมาชิกเก่าที่ยังมีข้อสงสัย อยากจะฟังเพื่อความเม่นยำ ในรายละเอียดบางเรื่องถึงแม้จะได้อ่านหรือศึกษาข้อมูลในเวปของชมรมฯ บ้างแล้วก็ตาม การอบรมนี้จะช่วยให้ท่านมีความรู้ มีความเข้าใจ มีตัวเลือก และมีทัศนะคติในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของตนเองได้มากขึ้น

เนื่องจากสถานที่ห้องประชุม ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคดังกล่าว มีขนาดห้องที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถรองรับจำนวนสมาชิกที่มาร่วมในงานมิตติ้ง ได้เพียง 70 ท่าน...เท่านั้น (แน่นสุดๆแล้ว)

ดังนั้นชมรมจึงมีความจำเป็นที่ต้องขอ"จำกัด"จำนวนสมาชิกที่จะมาร่วมงานในครั้งนี้ ไว้เพียง 70 ท่าน ตามเหตุผลที่ได้แจ้งไว้ และขอกำหนดเงื่อนไข สำหรับสมาชิกที่สามารถเข้าร่วมในงานนี้ได้ ไว้ดังนี้

• ต้องเป็นบุคคลที่สมัครลงทะเบียน(Register) เป็นสมาชิกไว้กับทางชมรมฯแล้วเท่านั้น และต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว ตามความเป็นจริงให้ถูกต้องครบถ้วน (ขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าร่วมงาน ให้กับเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกของชมรมฯเท่านั้น)

• สมาชิกที่ลงทะเบียนแล้วในแต่ละท่าน สามารถจองสิทธิ์ที่นั่งได้เพียง 1 ที่นั่ง...เท่านั้น

ไม่อนุญาตให้"จองสิทธิ์ที่นั่ง"เผื่อคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิก และไม่ได้ทำการลงทะเบียนให้ถูกต้อง

• ผู้ที่สนใจเข้าร่วมในงาน ให้ใช้ชื่อที่เป็นนามแฝงของตนเอง ตามที่ได้ลงทะเบียนสมัครไว้ (เช่น นกกระจอกเทศ , กอบัว , แก้วจ๋า...เป็นต้น) โดยแจ้งความประสงค์จะขอเข้าร่วมงาน ตามชื่อที่เป็นนามแฝงของตนเอง ลงในกระทู้นี้

• กรุณาอย่าใช้ ชื่อ-นามสกุล จริง ในการแจ้งขอจองที่นั่งผ่านหน้าเวบบอร์ด โดยทางคณะกรรมการของชมรมฯ จะทำการตรวจสอบข้อมูลในการสมัครเป็นสมาชิกของแต่ละท่าน ก่อนที่จะประกาศรายชื่อผู้ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมในงานในครั้งนี้ ให้ทราบต่อไป

• ขอจำกัดจำนวนสมาชิกที่มาเข้าร่วมในงาน เพียง 70 ท่านเท่านั้น...หากครบเต็มตามจำนวนเมื่อใด จะทำการ “ปิดรับสมัคร” ในทันที

• หากสมาชิกท่านใดที่ลงชื่อขอจองที่นั่งแล้ว แต่บังเอิญติดธุระด่วนในภายหลัง ทำให้ไม่สามารถมาร่วมงานในวันดังกล่าวได้ (เพิ่งมารู้ว่า ไม่สามารถไปร่วมงานได้ในทีหลัง)

1. ขอให้แจ้ง “สละสิทธิ์” ลงในกระทู้นี้ ก่อนถึงวันงานอย่างน้อย 3 วัน

2. โทรบอกวิทยากรที่เป็นผู้อบรมในเดือนนั้นๆ บอกถึงเหตุผลที่ไม่สามารถมาร่วมงานได้

3. ส่ง e-mail บอกเหตุผลที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานอบรม ถึงวิทยากรโดยตรง

เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กับสมาชิกท่านอื่นๆ ได้มีโอกาสไปร่วมในงานแทน (กรุณาอย่าใช้สิทธิ์จองที่นั่งเพื่อ “กั๊ก” คนอื่น โดยที่ตนเองไม่ได้ไป)

• หากสมาชิกท่านใด ขอจองที่นั่งแล้ว แต่ไม่สามารถไปร่วมงานได้ (เพิ่งมารู้ทีหลังในตอนใกล้วันงาน ว่าไม่สามารถไปได้) แล้วไม่ยอมแจ้งการ “สละสิทธิ์” เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้ใช้สิทธิ์ไปแทน ทางชมรมฯจะขอ“ตัดสิทธิ์”ของท่านสมาชิกท่านนั้นๆ ในการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมฯในครั้งต่อไป หากชมรมฯมีการจัดกิจกรรมใดๆขึ้นอีกในภายภาคหน้า (ติด Blacklist ในการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมฯ)

การจัดอบรมแก้ไขปัญหาหนี้ในแต่ละครั้ง ถึงแม้จะเป็นการอบรมฟรีก็จริง แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการขออนุญาตใช้สถานที่ของ มพบ. อีกทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ และอื่นๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ มพบ. ที่จะต้องมาอำนวยความสะดวกให้ ทั้งๆที่เป็นวันหยุด โดยไม่มีค่าแรง ไม่มี OT.

ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่เป็นวิทยากร ก็มาด้วยจิตอาสา ไม่มีเงินเดือน ไม่มีค่าแรงเช่นเดียวกัน...แต่มาเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับคนเป็นหนี้ ให้มีทางออก

จึงอยากให้สมาชิกที่มีความประสงค์มาร่วมในงาน กรุณารับผิดชอบในการจองสิทธิ์ดังกล่าว (ยกเว้นมีเหตุด่วน เหตุจำเป็นจริงๆ ช่วยกรุณาแจ้งให้วิทยากรได้รับทราบด้วย)

ผู้ที่ติด Blacklist ของชมรมฯ ในครั้งที่ผ่านๆมา หากมีเหตุผลพอสมควร ทางวิทยากรที่เป็นผู้ดูแล จะเป็นผู้พิจารณาอนุโลมให้เป็นกรณี หรือเป็นรายบุคคลไป หากมีเหตุสุดวิสัยจริงๆ





แก้ไขล่าสุด: 1 วัน, 15 ชั่วโมง ที่ผ่านมา โดย กอบัว. เหตุผล: แก้ภาพ




 

Create Date : 27 ธันวาคม 2555    
Last Update : 27 ธันวาคม 2555 10:42:31 น.
Counter : 1235 Pageviews.  

ปิดหนี้สินเชื่อบุคคล กรุงศรีแล้ว

สวัสดีเดือนสุดท้ายของปี

ยอดหนี้ HSBC จาก กรุงศรี พุ่งไปที่ 295,000 จากยอดหยุด 220,000 หยุดมาปีกับสามเดือนน่าจะได้

ต่อรองกันไป มา ขอจาก 150,000 ธ ไม่ให้ เขยิบไป 170,000 ธ ไม่ให้

ล่าสุด เสนอมา 180,000 จ่ายก่อนวันที่ 20 ธ ค

เก็บทุกอย่างขาย รวมกับเงินโบนัส ขาดอีกนิดหน่อย เอาทองไปจำนำ

ตอบตกลงเขาไปแล้ว

แต่ สนง กฏหมาย ยังต้องไปคุยกับแบงค์ ว่าจะให้จริงๆหรือเปล่า

ก็คอยดูว่ามันจะยังไง

ถ้าไม่ได้จ่ายอันนี้ ก็จะไปปิด KTC อีก 116,000 ก่อน ล่ะนะ

ทางไหนก้ต้องใช้หนี้ก่อน

ใกล้จะถึงปลายทางแล้ว


ตอนนี้ เราขายบ้านไปได้แล้ว เหลือเงินหลังจากหักหนี้แล้วนิดหน่อย กับเงินโบนัส เลยปิดกรุงศรีไปได้ ที่ 184,000 โดยมีส่วนลดจาก 302,500 บาท

เหลือแต่ KTC ที่ต้องผ่อน ยอดหนี้รวม 116,000

ใกล้จะหมดหนี้แล้วจ้า




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2555    
Last Update : 20 ธันวาคม 2555 11:20:31 น.
Counter : 1639 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

ภูมิพัฒน์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Friends' blogs
[Add ภูมิพัฒน์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.