Group Blog
 
All Blogs
 

หมดหนี้ บูโร ครบ 3 ปี กู้รีไฟแนนซ์บ้านผ่านแล้วครับ

  ถ้าเคยได้อ่าน blog เก่าๆของผมจะพบว่าผมได้เคยเป็นหนี้บัตรสูงถึง ล้านกว่าบาท


ตอนนี้ครบรอบสามปีหลังจากชำระหนี้ใบสุดท้ายคือของ KTC เมื่อเดือนธันวาคมปี 2555

ผมสามารถกู้รีไฟแนนซ์บ้านได้กับธนาคารอื่นที่ไม่เคยมีประวัติกันมาก่อน เช่น ธนชาต

ทำให้กระแสเงินสดต่อเดือนของผม ซึ่งแต่ก่อนเคยผ่อนอยู่ 17,000  ลดเป็น 8,000 บาทต่อเดือน


เป็นหนี้อย่าท้อครับ  หมดหนี้ เริ่มต้นชีวิตใหม่กันครับ




 

Create Date : 01 ธันวาคม 2558    
Last Update : 1 ธันวาคม 2558 17:44:37 น.
Counter : 3138 Pageviews.  

ประนอมหนี้ สัญญานรก

“สัญญา_นรก” คืออะไร?

“สัญญา นรก” ก็คือสัญญาที่ทางฝ่ายเจ้าหนี้หยิบยื่นเงือนไขให้กับลูกหนี้ หลังจากที่ลูกหนี้หยุดชำระหนี้บัตรเครดิต หรือหยุดชำระหนี้สินเชื่อ มานานสักระยะหนึ่งแล้ว(หยุดจ่ายประมาณ 2-3 เดือนขึ้นไป) โดยทางเจ้าหนี้จะเสนอให้ทางฝ่ายลูกหนี้กู้เงินก้อนใหม่จากทางเจ้าหนี้ เพื่อไปปิดหนี้ตัวเดิมที่ได้หยุดจ่ายไป แล้วมาผ่อนต่อในสัญญาเงินกู้ตัวใหม่นี้แทน โดยเสนอว่าจะลดดอกเบี้ยให้ และยอดผ่อนจ่ายต่อเดือนน้อยลง แต่ระยะเวลาในการผ่อนจ่ายนานขึ้น(เช่น 4 - 5 ปี)เป็นต้น

เงินกู้ก้อนใหม่ที่ได้มานี้ จะเอาไปใช้ปิดหนี้ที่ค้างชำระของเดิมเลยโดยตรง เงินก้อนนี้จะไม่ผ่านมือของลูกหนี้เลยแม้แต่น้อย

ยกตัวอย่างเช่น นายพอเพียงมียอดหนี้บัตรเครดิตอยู่ 50,000 บาท แล้วนายพอเพียงก็หยุดจ่ายหนี้มานานประมาณ 3 เดือนแล้ว จนยอดหนี้กลายเป็น 56,200 บาท (ยอดหนี้เมื่อสามเดือนก่อน + ดอกเบี้ย + ค่าปรับล่าช้า) แล้วทางเจ้าหนี้ก็เสนอให้นายพอเพียงทำสัญญานรก เพื่อกู้เอาเงิน 56,200 บาท ไปจ่ายปิดหนี้ของบัตรเครดิต แล้วมาผ่อนหนี้กับสัญญานรกตัวนี้แทน ซึ่งคิดดอกเบี้ย 13% ต่อปี และสามารถผ่อนได้ยาวนานถึง 5ปี(60งวด) โดยผ่อนงวดละ 1,546 บาท เป็นต้น

สัญญานรกประเภทนี้ จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป(ขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้แต่ละราย ว่าจะตั้งชื่อเรียกว่าอะไร) เช่น

- สัญญาประนอมหนี้

- สัญญาปรับโครงสร้างหนี้

- สินเชื่อศุภฤกษ์

- สินเชื่อรีไรท์

- สินเชื่อผ่อนสบาย (แต่ไปตายในภายภาคหน้า)...เป็นต้น

ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกเป็นอย่างไรก็ตาม ต่างก็เป็น“สัญญานรก”ทั้งนั้น เพียงแต่เรียกชื่อให้มันฟังดูไพเราะเสนาะหู ก็เท่านั้นเอง


ข้อดี-ข้อเสีย ของการทำ"สัญญา นรก"

ข้อดีก็คือ

- ได้ยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาเดิม และอาจมีการเสนอรวมหนี้ให้ด้วย เช่น มีข้อเสนอว่าจะรวมหนี้ให้ทั้ง บัตรเครดิต+สินเชื่อบุคคล ให้มารวมเป็นยอดหนี้อยู่ในสัญญานรกเดียวกัน(สำหรับเจ้าหนี้รายเดียวกัน) พร้อมกับคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม โดยไม่เกิน 15% ต่อปี เป็นต้น

- เจ้าหนี้ไม่โทรมาทวงหนี้ให้รำคาญ

- เหมาะสำหรับพวกลูกหนี้“หน้าบาง” ที่กลัวคนอื่นจะรู้ว่าตัวเองเป็นหนี้ เพราะกลัวจะอับอายขายขี้หน้า ทั้งๆที่เรื่องหนี้เป็นแค่เรื่องธรรมดา เป็นได้แค่เพียง“คดีแพ่ง” ไม่ได้ติดคุกติดตะราง เหมือนกับคดีของพวกที่ฆ่าคนตายหรือค้ายาบ้า

- เหมาะสำหรับลูกหนี้ที่ชอบปิดบังความจริงเรื่องการเป็นหนี้ กับคนในครอบครัวของตนเอง โดยยอมที่จะซื้อเวลาออกไปอีกสักระยะ และยอมที่จะพบกับสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คิดแต่เพียงแค่ให้ปัญหาหนี้ มันผ่านพ้นเพียงแค่วันนี้ไปก่อน โดยไม่ยอมแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แต่เลือกที่จะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุไปวันๆ
เปรียบเสมือนกับคนที่ป่วยเป็น“ไส้ติ่งอักเสบ” ซึ่งทางรักษาให้หายก็คือ ต้องไปหาหมอเพื่อผ่าตัดเอาไส้ติ่งที่อักเสบออก จึงเป็นการรักษาที่ต้นเหตุ
แต่ถ้าดันไปกลัวหมอ กลัวเข็มฉีดยา กลัวการผ่าตัด กลัวโน่นกลัวนี่สารพัด ก็เลยเลือกที่จะไปซื้อ“ยาแก้ปวด”มากินแก้ปวดไปวันๆ ซึ่งเป็นการบรรเทาอาการป่วยที่ปลายเหตุเฉพาะหน้า ยอมอดทนรอคอยวันที่ไส้ติ่งแตก และเมื่อวันนั้นมาถึงก็อาจสายเกินแก้แล้ว

- วิธีนี้อาจเหมาะสำหรับลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้“เพียงรายเดียว”เท่านั้น และต้องเป็นยอดหนี้ที่ไม่สูงมากนัก
โดยเมื่อคำนวนออกมาแล้ว ตัวลูกหนี้เองต้องมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถผ่อนจ่ายในระยะยาวได้จริงๆ เพราะถ้าหากในอนาคต ลูกหนี้เกิดตกงานหรือขาดรายได้ประจำขึ้นมา ทำให้ไม่สามารถจ่ายตาม“สัญญานรก”ได้ดังเดิม วันนั้นแหละครับ ที่จะได้รู้ว่า“ไส้ติ่งแตก”มันเป็นอย่างไร

223471.jpg



ข้อเสียก็คือ

- เป็นการฉีกสัญญาตามในใบสมัครเดิมทิ้ง แล้วให้มาใช้เงื่อนไขตามใน"สัญญานรก"ฉบับใหม่ทันที

- เป็นการแก้ไข“สัญญาที่ผิดกฏหมาย” เปลี่ยนให้มาเป็น“สัญญาที่ถูกต้องตามกฏหมาย”
เหตุผลเพราะสัญญาฉบับเดิม เป็นสัญญาที่มีการคิด“ดอกเบี้ย”เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด (กฎหมาย ปพพ.ตามรัฐธรรมนูญ ให้คิดอัตราดอกเบี้ยได้สูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี) แต่สัญญาในใบสมัครบัตรเครดิต มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 20% ต่อปี , สัญญาสินเชื่อ/เงินกู้ มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 28% ต่อปี , สัญญาบัตรกดเงินสด มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่ 28% ต่อปี...ซึ่งดอกเบี้ยทั้งหมดทั้งมวลนี้ เกินที่กว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด (เพราะในกฎหมายเขียนเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามคิดดอกเบี้ยเกินกว่า 15% ต่อปี)

แต่“สัญญานรก”ฉบับใหม่นี้ จะมีการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยให้ลงลด ไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดไว้ (ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจาก“ดำ”ให้เป็น“ขาว” / เปลี่ยนจาก“ชั่ว”ให้เป็น“ดี” / เปลี่ยนจาก“ผิด”ให้เป็น“ถูก”)...เพื่อที่เวลาสู้คดีกันที่ชั้นศาล เจ้าหนี้จะได้ชนะคดี โดยสามารถอ้างต่อศาลได้ว่า ในสัญญาคิดดอกเบี้ยไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดแล้ว ลูกหนี้ก็จะแพ้คดีไปโดยปริยาย

- เป็นการทำสัญญาประเภท“คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย”ที่ไม่เป็นธรรม(คิดดอกเบี้ยทบต้น)
ถ้าดูกันเผินๆอาจมองได้ว่า...เออก็ดีนะ กับสัญญานรกตัวใหม่นี้ เพราะดอกเบี้ยถูกลงไปตั้งเยอะเลย เหลือแค่ 13% ต่อปีเท่านั้นเอง...แต่ในความเป็นจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่

เหตุผลจากกรณีตัวอย่างของนายพอเพียง ที่ถูกหลอกให้ทำสัญญานรก โดยเอายอดเงิน 56,200 บาท มาเป็นเงินต้นในสัญญานรก แทนที่จะเอาเงินต้นที่ 50,000 บาทมาเป็นเงินต้นในสัญญา ซึ่งเป็นการโกงโดยใช้วิธี“คิดดอกเบี้ยทบต้น” เพราะเงินจำนวน 56,200 บาทนี้ เกิดจากการเอาเงินต้นเดิมที่ 50,000 บาท + ดอกเบี้ย + ค่าปรับล่าช้า เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงออกมาเป็นจำนวนเงิน 56,200 บาท
ดังนั้นถ้าหากเอาจำนวนเงิน 56,200 บาทนี้ เป็นตัวตั้งของเงินต้นใหม่ในสัญญานรก ก็ถือเป็นการเอาดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตของเดิม(20% ต่อปี) มาทำเป็นเงินต้นด้วย เพราะเงินก้อนนี้มันได้ถูกบวกดอกเบี้ยมาเรียบร้อยแล้ว แล้วยังเอามาทำเป็นเงินต้นก้อนใหม่เพื่อคิดดอกเบี้ยใหม่ซ้ำเข้าไปอีก ในอัตรา 13% ต่อปีตามสัญญานรก

ถ้าหากจะทำให้มันถูกต้องจริงๆ ก็ต้องเอาจำนวนเงิน 50,000 บาท มาทำเป็นเงินต้นสิครับ แล้วค่อยมาคิดดอกเบี้ย 13% ต่อปี จากเงินต้นที่ 50,000 บาท...จึงจะเรียกได้ว่า ไม่เอาดอกเบี้ยเดิมมาทบต้น...จริงไหม?

คุณเคยคิดไหมว่า ตอนที่เรายังเป็น"ลูกหนี้ชั้นดี"อยู่(ยังไม่ได้หยุดจ่าย) ทำไมทางฝ่ายเจ้าหนี้มันถึงไม่คิดดอกเบี้ยกับเราที่ 13% ต่อปี (เสือกคิดดอกเบี้ยกับเราตั้ง 20-28% ต่อปีมาโดยตลอด)
แต่พอเราเป็น"ลูกหนี้ชั้นเลว"(หยุดจ่ายแม่งหลายๆเดือน) กลับมาทำใจดี ลดดอกเบี้ยให้เหลือแค่ 13% ต่อปี แถมยังให้ผ่อนได้อีกตั้ง 5ปี

แล้วทำไมมันถึงไม่คิดดอกเบี้ยกับเราที่ 13% ต่อปี เสียตั้งแต่ทีแรกเลยวะ?

- หากมีหนี้หลายราย แล้วลูกหนี้ดันไปทำสัญญานรกไว้ทุกราย สุดท้ายก็เข้าอีหรอบเดิม ก็คือการจ่ายไม่ไหวเพราะมีหนี้มากราย แล้วก็ต้องหยุดจ่ายอยู่ดี

- หากทำสัญญานรกไปแล้ว แต่จ่ายไม่ไหว จึงต้องจ่ายผ่อนค่างวดน้อยกว่าในสัญญา จ่ายบ้าง-หยุดบ้าง หรือหยุดจ่าย จะถูกฟ้องเร็วมาก
เหตุผลเพราะทางฝ่ายเจ้าหนี้ ได้ทำการแก้ไขสัญญาให้ถูกต้องตามกฏหมาย โดยจะมัดลูกหนี้ให้“ดิ้นไม่หลุด”และไม่มีประเด็นต่อสู้คดีในทางกฏหมายด้วย แล้วเมื่อฟ้องคดี ทางฝ่ายเจ้าหนี้จะใช้สัญญานรกฉบับใหม่นี้ นำฟ้องต่อศาลโดยไม่อ้างถึงสัญญาฉบับเดิมเลยแม้แต่น้อย จึงไม่มีความจำเป็นต้องรอระยะเวลาให้เนิ่นนานออกไปอีก เพราะถึงอย่างไรทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็ชนะคดีอยู่แล้ว

- การขอส่วนลดหนี้ (Hair cut) หลังจากที่ไปทำสัญญานรกไว้แล้ว จะได้ราคา Hair cut ที่ไม่งาม
เหตุผลคล้ายกับที่อธิบายไว้ข้างบน ก็ในเมื่อลูกหนี้ดันพลาดไปทำสัญญานรกเอาไว้แล้ว ทางฝ่ายเจ้าหนี้ก็ได้เปรียบเต็มๆในทางกฏหมาย กล่าวคือหากลูกหนี้หยุดจ่ายเมื่อไหร่ ก็ไปฟ้องศาลเพื่อบีบบังคับลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้เต็มตามจำนวนได้สบายเลย เพราะทางฝ่ายเจ้าหนี้มีโอกาสชนะคดีแบบใสๆ แล้วจะไปยอมขาดทุนโดยให้ส่วนลดหนี้(Hair cut)ให้กับลูกหนี้เยอะๆไปทำไม?

- เป็นการตัดอายุความของหนี้ตัวเดิมทิ้ง แล้วให้เริ่มนับอายุความกันใหม่ หากหยุดจ่ายหนี้ของสัญญานรก
ขอเตือนเพิ่มเติมว่า อายุความของ“สัญญานรก”นั้น...ส่วนใหญ่จะถูกจัดให้เป็นหนี้ประเภทสินเชื่อ(ซึ่งมีอายุความ 5 ปี) แต่ก็มี“สัญญานรก”บางแห่ง แอบเขียนระบุในสัญญาไว้ว่าเป็นหนี้ประเภท“เงินกู้” สัญญานรกพวกนี้ก็จะมีอายุความเทียบเท่ากับ“สัญญาเงินกู้”ทันที(ซึ่งมีอายุความ 10 ปี)

*** สามารถไปอ่านเพิ่มเติมเรื่อง“อายุความ” ได้จากในกระทู้นี้ ***
debtclub.consumerthai.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=7&id=813&Itemid=29


เข้าใจแล้วใช่ไหมครับ

ที่บอกว่า"ผ่อนสบาย"แล้วไปตายในภายภาคหน้า

มันเป็นอย่างไร
.




 

Create Date : 15 กรกฎาคม 2558    
Last Update : 15 กรกฎาคม 2558 5:55:22 น.
Counter : 4252 Pageviews.  

ปลดหนี้บัตรเครดิต 12 ใบใน 7 เดือน

ปลดหนี้บัตรเครดิต 12 ใบใน 7 เดือน
นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างนะครับ

ขอเล่าจากประสบการณ์ตรงนะครับ จัดประเภทหนี้ 12 บัญชีได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. ฟ้องดำเนินคดีเร็วมาก (ได้รับหมายศาล ทำเลื่อนนัดศาล 2 รอบ และตกลงเจราจำนวนเงินเพื่อปิดบัญชี ก่อนศาลพิพากษา)
1.1 บัตรเครดิต KTC
2.2 สินเชื่อ KTC Cash Revolve

2. ฟ้องดำเนินคดีช้ากว่า KTC นิดหน่อย 1-2 เดือน (ได้รับหมายศาล ทำเลื่อนนัดศาล 2 รอบ และตกลง เจราจำนวนเงินเพื่อปิดบัญชี ก่อนศาลพิพากษา โดยเข้าไปเจรจาต่อรองด้วยตนเองที่ สนง.พระราม 7)
2.1 บัตรเครดิตธนชาต
2.2 บัตรกดเงินสดธนชาต Flash

3. เจรจาต่อรองได้ มีจม.จาก สนง.ทนายความ ไม่มีหมายศาล (หนี้บางราย หลายแสน)
3.1 สินเชื่อบุคคล กรุงศรี สไมล์แคช
3.2 สินเชื่อบุคคล กรุงศรี จัสแคช
3.3 บัตรเครดิตกรุงศรี
3.4 สินเชื่อ Speedy Cash ไทยพาณิชย์
3.5 บัตรเครดิต ไทยพาณิชย์
3.6 บัตรเครดิต KBank-Visa
3.7 บัตรเครดิต KBank-Robinson
3.8 บัตรกดเงินสด TMB Ready Cash
ไปอบรมกับชมรมหนี้บัตรเครดิตฯ เมื่อต้นปี 2557 ปัจจุบันเคลียร์หนี้และปิดบัญชีได้แล้ว 11 บัญชี เหลืออีก 1 บัญชี คือ กรุงศรี สไมล์แคช ได้เจรจาต่อรองเรียบร้อยแล้ว สามารถผ่อนชำระ 12 เดือน ซึ่งอยู่ในกระบวนการออกจดหมายืนยันครับ (จะได้รับภายใน สิ้นเดือน มค. 58 นี้)

ขั้นตอนการตั้งรับ

1. แจ้งครอบครัว เรื่องหนี้สิน ว่าเราจัดการได้ และจะมีหมายศาลมาที่บ้าน บอกพ่อแม่พี่น้อง ว่าอย่าตกใจ

2. ทำการโอนทรัพย์สินเป็นชื่อบุคคลในครอบครัว เช่น ผมโอนรถ เป็นชื่อแม่ เป็นการให้โดยเสน่หา เสียภาษีและค่าธรรมเนียม พันกว่าบาท ดีกว่ายอมให้รถโดนยึด แต่ต้องระวังเราต้องโอนก่อนที่จะมีหมายศาลมาที่บ้าน ไม่งั้นจะถือว่าอำพรางทรัพย์

3. ทำการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ผมทำการย้ายหอพัก ไปอยู่ห้องพัดลม รวมค่าน้ำไฟ จ่าย 2,200 จากที่เคยจ่าย 6-7พันบาท จะทำให้มีเงินเหลือตรงส่วนนี้ นำไปรวบรวมเพื่อรอชำระหนี้ได้

4. หางานใหม่ที่ได้เงินเดือนเยอะกว่าเดิม บังเอิญหางาน ที่ได้เงินเดือนกว่าเดิม จึงมีส่วนเหลืออีกยอด

5. เมื่อรวบรวมเงินได้ถึงยอดที่เราคิด ก็ติดต่อ สนง.ทนายความตาม จม.ที่ส่งมา เพื่อขอส่วนลดปิดบัญชี ซึ่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 10-50% ขอหนังสือยืนยันส่วนลด เมื่อชำระแล้ว ขอหนังสือปลดภาระหนี้สิน คำร้องถอนฟ้อง คำแถลงงดบังคับคดี

6.เมื่อได้รับหมายศาล ก็ยังเจรจาต่อรองได้นะครับ อย่างของ KTC คุยจบกันทางโทรศัพท์, ส่วน ธ.ธนชาต ขอทางโทรศัพท์ไม่อนุมัติ ต้องขอเข้าไปพบด้วยตนเองที่ สนง.พระราม 7 อนุมัติด้วยยอดเดียวกันกับที่ขอไปทางโทรศัพท์ (ต้องแสดงให้ธนาคารเห็นความตั้งใจในการชำระหนี้ของเรา)

อย่างไรก็ขอให้เพื่อน ๆ ตั้งใจนะครับ ความรู้ที่ได้จากการอบรมช่วยเราได้เยอะมาก เพียงแต่เราต้องอดทนและมีวินัยมาก ๆ

ขอบคุณครับ
sriparut




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2558    
Last Update : 24 มิถุนายน 2558 6:10:13 น.
Counter : 2008 Pageviews.  

ความหมายของการนัดไปศาลครั้งแรก

าในหมายศาล (หน้าแรก) เขียนเอาไว้ว่า

ให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ยในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558

และให้จำเลยมาศาลเพื่อการสืบพยานโจทก์ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2558

ก็แสดงว่าในหมายศาลที่คุณได้รับนั้น...ได้มีการระบุวันที่ให้คุณไปขึ้นศาลถึง 2 ครั้งด้วยกัน...ไว้อย่างชัดเจน

ซึ่งวันที่ระบุไว้ในครั้งแรกก็คือ วันนัดไกล่เกลี่ย (นัดที่หนึ่ง)
และวันที่ระบุไว้ในครั้งที่สองก็คือ วันนัดสืบพยาน หรือ "วันสู้คดีความ" (นัดที่สอง)

ส่วนสำหรับวันนัดในครั้งสุดท้ายนั้น (นัดมาฟังคำพิพากษา) จะไม่ถูกระบุไว้อยู่ในหมายศาล เนื่องจากยังไมมีผู้ใดสามารถล่วงรู้ได้ว่า คดีนี้จะสิ้นสุดลงเมื่อใด...ก็ต้องรอให้การสืบพยาน (การสู้คดีความ) จนถึงที่สุดแล้วนั่นแหละ ศาลท่านถึงจะบอกนัดอีกทีได้ว่า ให้คู่กรณีทั้งสองมาฟังคำพิพากษาได้ในวันไหน?

ซึ่งโดยปกติแล้ว วันนัดในหมายศาล ตามที่ยกตัวอย่างมาในข้างบนนี้...ในปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีกันแล้ว...หาได้ยากเต็มที (ก็คือมีการระบุถึงวันที่นัดครั้งที่หนึ่ง และระบุถึงวันที่นัดครั้งที่สอง)

เพราะว่าในปัจจุบันนี้ วันนัดที่ระบุไว้ในหมายศาล...ซึ่งส่วนมากศาลท่านมักจะใช้กันเป็นส่วนใหญ่..จะเขียนเป็นดังนี้

เพราะฉะนั้นให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การแก้ข้อหาแห่งคดีและสืบพยาน ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2556

ส่วนใหญ่หมายศาลของ คดีแพ่ง และ คดีผู้บริโภค ในปัจจุบัน มักจะเขียนเป็นอย่างนี้กันเกือบทั้งหมดแล้วครับ

แล้วเขียนแบบนี้มันหมายความว่าอย่างไร?...และมันแตกต่างกันตรงไหนหรือ?...

เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็คือ...ในปัจจุบันนี้ คดีแพ่งต่างๆรวมทั้งคดีผู้บริโภคที่อยู่ในชั้นศาล มีมากมายเสียจนแทบจะเรียกได้ว่า"คดีล้นศาล"...ดังนั้นศาลท่านจึงเห็นว่า สมควรที่จะต้องรีบ"รวบรัด"คดีต่างๆที่ยังมีค้างอยู่ รวมทั้งคดีต่างๆที่จะเข้ามาใหม่ ให้มีระยะเวลาที่ กระชับ , รวดเร็ว , และกระขั้นชิดมากขึ้น โดยพยายามไม่ให้ยืดเยื้อ

ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้อง...รวบเอานัดที่หนึ่ง(นัดไกล่เกลี่ย) และนัดที่สอง(นัดสืบพยาน) โดยนำมารวมให้อยู่ภายในวันเดียวกันเลย เรียกได้ว่าขึ้นศาลวันเดียว"รู้เรื่อง" เพราะทั้งไกล่เกลี่ยและทั้งต่อสู้คดีภายในวันเดียวกันไปเลย

ศาลท่านจึงได้เขียนระบุไว้ที่หน้าหมายศาลว่า "ให้จำเลยมาศาลในวันนัดพิจารณาเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การแก้ข้อหาแห่งคดีและสืบพยาน ในวันที่ xx เดือน xxxxx พ.ศ.2556"...ยังไงล่ะครับ

ถ้าใครที่ถูกฟ้องแล้ว ในหน้าหมายศาลเขียนเอาไว้อย่างที่ผมได้บอกไป (ขอย้ำว่า...ศาลส่วนใหญ่จะเขียนเป็นแบบที่ผมบอก) ก็คือ "การรวบทั้งสองนัด" ไว้ภายในวันเดียว...แต่ฝ่ายลูกหนี้ (จำเลย) อ่านแล้วเข้าใจผิดไปเอง โดยไปคิดเอาเองว่า "เป็นแค่เพียงวันนัดไกล่เกลี่ยเท่านั้น" ดังนั้น ยังไม่ต้องไปศาลในนัดแรกนี้ก็ได้ เดี๋ยวก็ต้องไปใหม่อีกทีในวันสืบพยาน (วันสู้คดี) อยู่ดี

ถ้าคิดเช่นนี้...ก็ฉิบหายเลยครับ

เพราะการที่คุณไม่ได้ไปศาลในวันดังกล่าว เนื่องจากการเข้าใจผิดไปเอง...ก็เท่ากับว่าคุณ "ได้หนีศาลไปถึงสองนัดพร้อมๆกัน" ซึ่งคุณจะถูกศาลท่านพิพากษาทันที ภายในวันนั้นเลย

ดังนั้นจึงใคร่ขอเตือนให้สมาชิกทุกท่าน กรุณาอ่านข้อความ ที่เกี่ยวข้องกับวันนัดในหมายศาลให้ดีนะครับ ว่าเขาเขียนเอาไว้อย่างไร?...นัดให้ไปขึ้นศาลเพื่ออะไร?...จะได้ไม่ต้องมานั่งร้องให้เสียใจในภายหลัง



อนึ่ง...หากลูกหนี้รายใด ได้รับหมายศาลแล้ว ปรากฏว่าใน"วันที่"นัดให้ไปขึ้นศาล มันเป็น"วันเสาร์"ตามในปฎิทิน...ก็ไม่ต้องสงสัยไปนะครับ ว่าวันที่ในนั้นถูกระบุผิดหรือเปล่า? เพราะตามปกติแล้วศาลจะหยุด(ไม่ทำงาน)ในวัน เสาร์-อาทิตย์ มิใช่หรือ?

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ...ตามที่ผมได้เกริ่นไปตั้งแต่แรกแล้วว่า

ในปัจจุบันนี้ คดีแพ่งต่างๆรวมทั้งคดีผู้บริโภคที่อยู่ในชั้นศาล(ซึ่งเป็นคดีที่ฟ้องร้องกันว่าด้วยเรื่อง"หนี้เงิน") มีคดีมากมายเสียจนแทบจะเรียกได้ว่า"คดีล้นศาล"

ดังนั้น ศาลท่านจึงจำเป็นที่จะต้องมาทำงานในวัน เสาร์/อาทิตย์(ซึ่งปกติเป็นวันหยุด)ด้วย เพื่อที่จะช่วยระบายคดีต่างๆที่ยัง"ล้นศาล"นี้ออกไปให้ได้มากที่สุด
จึงเป็นเหตุผลที่ศาลบางแห่ง ที่มีคดี"ล้นศาล"เป็นจำนวนมากๆ ศาลจึงจำเป็นต้องนัดคู่ความตามในคดีฟ้อง (ความแพ่ง) ให้มาขึ้นศาลในวันหยุดดังกล่าวด้วย
โดยในหมายศาลหน้าแรก อาจเขียนเป็นคำสั่งไว้ว่า นัดนอกเวลาทำการ




 

Create Date : 16 เมษายน 2558    
Last Update : 16 เมษายน 2558 20:33:15 น.
Counter : 14495 Pageviews.  

ปิดหนี้บัตรเครดิต 12 ใบ เริ่มต้นชีวิตใหม่เสียที

ตัวอย่างชีวิตของน้องคนนึงรู้จักกันครับ

นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างนะครับ

ขอเล่าจากประสบการณ์ตรงนะครับ จัดประเภทหนี้ 12 บัญชีได้ 3 ประเภท ดังนี้

1. ฟ้องดำเนินคดีเร็วมาก (ได้รับหมายศาล ทำเลื่อนนัดศาล 2 รอบ และตกลงเจราจำนวนเงินเพื่อปิดบัญชี ก่อนศาลพิพากษา)

1.1 บัตรเครดิต KTC

2.2 สินเชื่อ KTC Cash Revolve

2. ฟ้องดำเนินคดีช้ากว่า KTC นิดหน่อย 1-2 เดือน (ได้รับหมายศาล ทำเลื่อนนัดศาล 2 รอบ และตกลง เจราจำนวนเงินเพื่อปิดบัญชี ก่อนศาลพิพากษา โดยเข้าไปเจรจาต่อรองด้วยตนเองที่ สนง.พระราม 7)

2.1 บัตรเครดิตธนชาต

2.2 บัตรกดเงินสดธนชาต Flash

3. เจรจาต่อรองได้ มีจม.จาก สนง.ทนายความ ไม่มีหมายศาล (หนี้บางราย หลายแสน)

3.1 สินเชื่อบุคคล กรุงศรี สไมล์แคช

3.2 สินเชื่อบุคคล กรุงศรี จัสแคช

3.3 บัตรเครดิตกรุงศรี

3.4 สินเชื่อ Speedy Cash ไทยพาณิชย์

3.5 บัตรเครดิต ไทยพาณิชย์

3.6 บัตรเครดิต KBank-Visa

3.7 บัตรเครดิต KBank-Robinson

3.8 บัตรกดเงินสด TMB Ready Cash

ไปอบรมกับชมรมหนี้บัตรเครดิตฯ เมื่อต้นปี 2557 ปัจจุบันเคลียร์หนี้และปิดบัญชีได้แล้ว 11 บัญชี เหลืออีก 1 บัญชี คือ กรุงศรี สไมล์แคช ได้เจรจาต่อรองเรียบร้อยแล้ว สามารถผ่อนชำระ 12 เดือน ซึ่งอยู่ในกระบวนการออกจดหมายืนยันครับ (จะได้รับภายใน สิ้นเดือน มค. 58 นี้)

ขั้นตอนการตั้งรับ

1. แจ้งครอบครัว เรื่องหนี้สิน ว่าเราจัดการได้ และจะมีหมายศาลมาที่บ้าน บอกพ่อแม่พี่น้อง ว่าอย่าตกใจ

2. ทำการโอนทรัพย์สินเป็นชื่อบุคคลในครอบครัว เช่น ผมโอนรถ เป็นชื่อแม่ เป็นการให้โดยเสน่หา เสียภาษีและค่าธรรมเนียม พันกว่าบาท ดีกว่ายอมให้รถโดนยึด แต่ต้องระวังเราต้องโอนก่อนที่จะมีหมายศาลมาที่บ้าน ไม่งั้นจะถือว่าอำพรางทรัพย์

3. ทำการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น ผมทำการย้ายหอพัก ไปอยู่ห้องพัดลม รวมค่าน้ำไฟ จ่าย 2,200 จากที่เคยจ่าย 6-7พันบาท จะทำให้มีเงินเหลือตรงส่วนนี้ นำไปรวบรวมเพื่อรอชำระหนี้ได้

4. หางานใหม่ที่ได้เงินเดือนเยอะกว่าเดิม บังเอิญหางาน ที่ได้เงินเดือนกว่าเดิม จึงมีส่วนเหลืออีกยอด

5. เมื่อรวบรวมเงินได้ถึงยอดที่เราคิด ก็ติดต่อ สนง.ทนายความตาม จม.ที่ส่งมา เพื่อขอส่วนลดปิดบัญชี ซึ่ง ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 10-50% ขอหนังสือยืนยันส่วนลด เมื่อชำระแล้ว ขอหนังสือปลดภาระหนี้สิน คำร้องถอนฟ้อง คำแถลงงดบังคับคดี

6.เมื่อได้รับหมายศาล ก็ยังเจรจาต่อรองได้นะครับ อย่างของ KTC คุยจบกันทางโทรศัพท์, ส่วน ธ.ธนชาต ขอทางโทรศัพท์ไม่อนุมัติ ต้องขอเข้าไปพบด้วยตนเองที่ สนง.พระราม 7 อนุมัติด้วยยอดเดียวกันกับที่ขอไปทางโทรศัพท์ (ต้องแสดงให้ธนาคารเห็นความตั้งใจในการชำระหนี้ของเรา)

อย่างไรก็ขอให้เพื่อน ๆ ตั้งใจนะครับ ความรู้ที่ได้จากการอบรมช่วยเราได้เยอะมาก เพียงแต่เราต้องอดทนและมีวินัยมาก ๆ

ขอบคุณครับ

sriparut




 

Create Date : 26 มกราคม 2558    
Last Update : 26 มกราคม 2558 22:21:11 น.
Counter : 72630 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  

ภูมิพัฒน์
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 35 คน [?]




Friends' blogs
[Add ภูมิพัฒน์'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.