รักนะ.....จุ๊บๆ
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
29 ธันวาคม 2550

วิเคราะห์ระบบป้องันภัยทางอากาศแบบเอส-300แบบถึงแก่น ตอนที่2

Almaz S-300P/PT / SA-10A Grumble A
Зенитный Ракетный Комплекс С-300П/ПT
อัลมาส เอส-300 พี/พีที/เอสเอ-10เอ กรัมเบิ้ลเอ


จุดกำเนิดของระบบอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศแบบเอส-300พี เริ่มต้นเมื่อยุคทศวรรษ60 เมื่อทางวอยส์กาพีวีโอ(กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศของสหภาพโซเวียต) ต้องการระบบอาวุธปล่อยสำหรับป้องกันภัยทางอากาศทดแทน ระบบเดิมที่ใช้อย่างกว้างขวางแต่ประสิทธิภาพไม่น่าพอใจนักอย่าง S-75/SA-2 Guideline และ S-200/SA-5 Gammon ซึ่งทั้งคู่ไม่สามารถต่อกรเครื่องบินไวลด์วีเซิลที่บินระดับต่ำ,เป้าหมายที่มีหน้าตัดเรดาร์ต่ำ ,เครื่องบินสงครามอิเล็คทรอนิคส์ ของสหรัฐฯได้ จุดมุ่งหมายคือ การพัฒนาระบบอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศที่ใช่ได้ทั้ง3เหล่านั่นคือ Voyska-PVO (กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ), Voenno-Morskiy Flot (กองทัพเรือ) and the PVO-SV (หน่วยป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพแดง) แต่เนื่องจากความต้องการการใช้งานที่แตกต่างกัน ทำให้ระบบมีความเหมือนกันเพียง50% กล่าวคือ V-PVO's S-300P ซีรี่ส์ และPVO-SV's S-300V นั้นเป็นระบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง



30N6 / 40V6M Flap Lid A




จุดมุ่งหมายเดิมของการพัฒนาอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศแบบเอส-300พี คือ เป็นอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศสำหรับปกป้องพื้นที่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์อย่างเช่น ที่ทำการรัฐบาล ,นิคมอุตสาหกรรม ,ศูนย์บัญชาการส่วนหน้าและกองบัญชาการ, ค่ายทหาร ,สนามบินและฐานยิงนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีและทางยุทธศาสตร์ โดยเป้าหมายของระบนี้คือการทำลายจรวดAGM-69 SRAM ซึ่งยิงจาก บ.แบบFB-111A และ B-52H และยังรวมไปถึงB-1A ที่ตอนนั้นยังเป็นโครงการอยู่ และเป้าหมายก็เปลี่ยนไปยัง AGM-86B ALCM
การเคลื่นย้ายเพื่อวางกำลังของระบบนี้นั้น ใช้พื้นฐานจากระบบเดิมที่มีอยู่แล้วนั่นคือS-75/SA-2 Guideline และS-200/SA-5 Gammon โดยเป็นรถพ่วงลากจูง ในพ่วงนั้นประกอบไปด้วยเรดาร์ และ ฐานปล่อย/ขนส่งแบบลากจูง{missile Transporter Erector Launchers (TEL)}



อาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศเอส-300พี มีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามาก หลายอย่างเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน
ลูกจรวดยุคแรก คือ V-500/5V55 เป็นจรวดแบบเชื้อเพลิงแข็งท่อนเดียว และแนวความคิดในการบอกแบบลูกจรวดนี้ใกล้เคียงกับระบบของกองทัพสหรัฐอย่าง MIM-104 Patriot ลูกจรวดถูกบรรจุในท่อทรงกลมปิดผนึก โดยการยิงจะใช้ก๊าซแรงดันสูงผลักลูกจรวดออกจากท่อ(หรือถ้าเรียกสั้นๆเรียกว่าCold Launch ในขณะที่จรวดหลายๆแบบของอเมริกาใช้ระบบHot Launch นั่นคือจุดจรวดข้างในท่อยิงเลย ซึ่งระบบยิงเย็น/โคลด์ลันช์ มีข้อได้เปรียบเรื่องความปลอดภัย คือมันจะดีดลูกจรวดออกจากท่อออกไปห่างๆแท่นยิงซึ่งถ้าจรวดเกิดความผิดปกติก็จะไม่ระเบิดคาท่อ ซึ่งต้องแลกมาด้วยขนาดของระบบที่ใหญ่และซับซ้อน แต่ผมว่าคุ้ม เนื่องจากถ้าระเบิดคาท่อ คงดูไม่จืดแน่ๆ แต่ก็ยังไม่เห็นระบบVLSแบบฮอทลันช์ระเบิดคาท่อซักกะที สงสัยว่ารัสเซียกลัวมาตรฐานของมอเตอร์จรวดตัวเองมาก -ผู้แปล) ใน1แท่นยิงจะมี4ท่อยิง ในการจัดกำลังของรัสเซียนั้น ใน1กองร้อยต่อสู้อากาศยาน จะมี 3แท่นยิง 4ท่อยิงต่อแท่นยิง ดังนั้นจะมีทั้งหมด12ลูก ในขณะที่ระบบเดิม(เอสเอ-2) ใน1กองร้อย มีทั้งหมด6ลูก เท่านั้น



30N6 Flap Lid A Engagement Radar (радиолокатор подсвета и наведения)
เรดาร์ควบคุมการยิง(ไม่รู้จะแปลยังไงครับ เรดาร์ต่อตี ก็ดูไม่เพราะ แต่มาดูคำแปลของภาษารัสเซียมันแปลว่าเรดาร์ชี้เป้า/นำวิถี จึงน่าจะเป็นเรดาร์ควบคุมการยิงมากกว่า-ผู้แปล)
30เอ็น6 แฟลปลิด
เรดาร์ควบคุมการยิงแบบ30เอ็น6 นั้นทันสมัยมากในยุคนั้นและเชื่อว่าน่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากเรดาร์แบบ Raytheon MPQ-53 ของระบบอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศMIM-104แพทริออต ซึ่งใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกันคือ “transmissive passive shifter technology phased array-เรดาร์เฟสอาร์เรย์แบบสลับช่องสัญญาณ” เรดาร์แบบแฟลปลิดสามารถพับเก็บได้ โดยจะพับราบไปบนหลังคาของเคบินของตัวเรดาร์เอง โดยตัวเคบินติดตั้งบนแท่นหมุนได้ ซึ่งติดตั้งบนรถพ่วงและลากจูงโดยรถบรรทุกแบบ Ural-357, KrAZ-255 หรือ KrAZ-260






เรดาร์แบบแฟลปลิดนี้ ถือเป็นก้าวกระโดดในเรื่องเรดาร์ของรัสเซีย จากเรดาร์แบบหมุนทางกลแบบแฟนซอง โลว์โบว์ และ สแควร์แพร์ มาเป็นเรดาร์หมุนทางอิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งมีข้อได้เปรียบเรื่องสัญญาณส่วนเกิน(Sidelobes)ที่น้อยกว่า ทำให้ระบบRWR ของเครื่องบินตรวจจับได้ยาก (สัญญาณส่วนเกินนี้ทำให้RWRในเครื่องบินตรวจจับเรดาร์ได้แม้เรดาร์ไม่ได้ล็อคตัวเครื่องบิน –ผู้แปล) และทำให้การต่อต้านด้วยจรวดต่อต้านการแพร่คลื่นเรดาร์ ทำได้ยากขึ้น อีกทั้งทำให้การรบกวน(แจมมิ่ง)ทำได้ยากขึ้น(เนื่องจากสัญญาณส่วนเกินอาจทำให้ระบบแจมมิ่งของบ.รู้ค่าของความถี่คลื่นเรดาร์ขณะนั้นและปรับสัญญาณให้ตรงเพื่อรบกวน-ผู้แปล) ฉะนั้นการทำให้เรดาร์แฟลปลิดหมดสมรรถภาพไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ๆ
สิ่งที่ต่างจากเรดาร์แบบ Raytheon MPQ-53ที่เป็นเรดาร์ค้นหาเป้าแต่ เรดาร์แฟลปลิดเป็นเรดาร์ติดตามเป้าหมายและนำวิถีให้ลูกจรวดแบบ V-500/5V55โดยใช้ระบบคอมมานด์ลิงค์ซึ่งติดตั้งบนจานสายอากาศของเรดาร์โดยตรง โดยการนำวิถีจะใช้การแพร่คลื่นเรดาร์แบบพิเศษของตัวเรดาร์เองในการนำวิถีทำให้การใช้จานสายอากาศสำหรับควบคุมทิศทางลูกจรวดไม่จำเป็นอีกต่อไป
V-500/5V55 มีพิสัยยิง25ไมล์ สามารถยิงอากาศยานที่เพดานบินตั้งแต่80-80000ฟิต ลูกจรวดนำวิถีด้วยคอมมานด์ลิงค์ แบบเดียวกับSA-2และSA-3
หลังจากประจำการไม่นานก็มีรุ่นใหม่ออกมาโดยใช้ชื่อว่า S-300PT (P - PVO, T –Transportiruyemiy หรือแปลว่า S-300 สำหรับกองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ แบบเคลื่อนย้ายได้)
และในปี1978 ก็มีการออกรุ่นปรับปรุงชื่อ S-300PT-1 หรือนาโต้เรียกว่าSA-10A Grumble A










36D6/ST-68UM/5N59 Tin Shield (РАДИОЛОКАЦИОННАЯ СТАНЦИЯ)
เรดาร์ค้นหาและตรวจจับ แบบ 36D6/ST-68UM/5N59 ทินชิลด์
มีเรดาร์2แบบถูกนำเสนอเพื่อสนับสนุนระบบS-300PTโดยทั้งคู่มีความสามารถในการค้นหา/ตรวจจับ 360องศานั่นคือ เรดาร์3มิติ 36D6/ST-68UM/5N59 ทินชิลด์ ใช้ในการค้นหา/ตรวจจับเป้าหมายในเพดานบินสูง-กลาง ส่วนเรดาร์2มิติ 2D 76N6 แคลมเชล สำหรับเป้าหมายเพดานบินต่ำ/หน้าตัดเรดาร์ต่ำ


เรดาร์36D6/ST-68UM/5N59 เป็นเรดาร์แบบเคลื่อนย้ายได้ลากจูงโดยรถลากจูงแบบ KrAZ-255หรือ260 สามารถพับเก็บได้ภายใน1ชม.(แหม่คิดถึงเต็นท์งานวัด-ผู้แปล) หรือ2ชม.หากติดตั้งบนเสาสูงแบบพับเก็บได้ เรดาร์แบบทินชิลด์เป็นเรดาร์ที่ประกอบด้วยจานสะท้อนคลื่นทรงโค้งพาราโบลา และ ตัวส่งสัญญาณคลื่นเรดาร์ติดตั้งอยู่บนเสาค้ำยันคู่หน้าจานสะท้อนคลื่น ตัวส่งสัญญาณส่งสัญญาณด้วยการหมุนทางอิเล็คทรอนิคส์แบบขึ้น-ลง ครอบคลุมองศาการใช้งาน –20ถึง+30องศา และหมุนรอบตัวเชิงกลด้วยความเร็ว 5-10วินาที ต่อ1รอบการกวาด360องศา กำลังส่งของเรดาร์ประมาณ 1.2เมกกะวัตต์-350กิโลวัตต์ ทางผู้ผลิตรับรองว่าสามารถ ตรวจจับเป้าหมายขนาด 0.1ตร.ม. ที่บินเหนือพื้น300ฟีต ได้ที่ระยะ 24.8ไมล์ทะเล และหาเป้าหมายบินที่เพดานบินกลาง-สูงจะจับได้ที่94.5ไมล์ทะเล สามารถต่อต้านสัญญาณรบกวนได้ถึง 48dB ระบบสามารถติดตามเป้าหมายได้100เป้าพร้อมกัน ระบบพิสูจน์ฝ่ายนั้นติดตั้งบนตัวเรดาร์เรียบร้อย




LEMZ 76N6 Clam Shell (низковысотный обнаружитель)

เรดาร์เตือนภัยระดับต่ำล่วงหน้าแบบ 76N6 แคลมเชลล์
ญาติของทินชิลด์ , 76N6 Clam Shell เรดาร์เตือนภัยระดับต่ำล่วงหน้า เป็นเรดาร์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว แคลมเชลล์เป็นเรดาร์แพร่คลื่นแบบต่อเนื่อง จานสายอากาศของเรดาร์แยกจากกัน คั่นด้วยจงอยขนาดใหญ่ป้องกันสัญญาณรบกวนโดยรอบให้มากที่สุด ทำให้เรดาร์สามารถตรวจจับเป้าหมายที่มีหน้าตัดเรดาร์ขนาด 0.02ตารางเมตร ที่บินด้วยความเร็ว1400น็อต ด้วยความละเอียดของทิศทาง1องศา ความเร็ว9.3น็อต และระยะทางที่ความละเอียด2.15ไมล์ทะเล โดยมีค่าความผิดพลาดไม่เกิน 0.3องศา 4.7น็อต และ 1ไมล์ทะเล ตามลำดับ สามารถต่อต้านการรบกวนของชาฟฟ์ได้100dB รัศมีตรวจจับ 50ไมล์ สำหรับเป้าที่บิน 1500ฟีต และ รัศมีตรวจจับ 65ไมล์ทะเล สำหรับเป้าหมายที่บินสูง3000 ฟีต กำลังส่งของเรดาร์1.5กิโลวัตต์แบบต่อเนื่อง มีค่าMTBF(Mean Time Between Failures- เวลาโดยเฉลี่ยก่อนที่ระบบจะล้มเหลว) 100ชม. และ MTTR(Mean Time To Recovery-เวลาโดยเฉลี่ยที่จะกู้ระบบคืน) 1/2ชม.












เสาสำหรับติดตั้งเรดาร์แบบ40V6M ขณะกางออก





70N6 และ 40V6MD


คุณลักษณะที่สำคัญของระบบเอส-300พีที นั่นคือ การนำเสาสำหรับเรดาร์แบบพับเก็บได้ แบบ40V6, 40V6M และ 40V6MD ซึ่งถูกลากจูงโดยรถบรรทุกแบบ MAZ-543 เสาอากาศแบบ40V6Mซึ่งสูง 23.8ม.สามารถติดตั้งได้ทั้งเรดาร์แบบ แฟลปลิด ทินชิลด์ หรือ แคลมเชลล์ได้ เพื่อเพิ่มระยะขอบฟ้า ซึ่งไม่มีในเรดาร์ของทางฝั่งตะวันตก เสาทั้งหมดใช้เวลายก หรือเก็บ ภายใน1-2ชม. ซึ่งทำให้สามารถตรวจจับเครื่องบินที่บินต่ำได้ อย่าง FB-111A, B-52G/H และ B-1B หรือ AGM-86B ALCM
การที่รัสเซียมีเรดาร์ แฟลปลิด แคลมเชลล์ ทินชิลด์ ทำให้รัสเซียมีขีดความสามารถในการตรวจจับและติดตามเป้าหมายในทุกระดับความสูง และการที่มันเป็นระบบกึ่งอัตตาจร ทำให้มีการเร่งพัฒนาเครื่องบินแบบF-117A และ B-2A ซึ่งF-117 มีหน้าที่เป็นด่านหน้าในการทำลายระบบเรดาร์ของS-300P

5N63S Mobile Command Post
5N63S กองบัญชาการเคลื่อนที่

กองบัญชาการเคลื่อนที่ ติดตั้งบนรถบรรทุกแบบ8x8 MAZ-7910



54K6E Command Post



Create Date : 29 ธันวาคม 2550
Last Update : 30 ธันวาคม 2550 19:52:12 น. 3 comments
Counter : 1398 Pageviews.  

 
Blog เค็มได้ที่แล้วเหรอท่าน ถึงได้ฤกษ์ up เนี้ย


โดย: Skyman IP: 125.25.84.44 วันที่: 30 ธันวาคม 2550 เวลา:11:14:58 น.  

 
ทำไมเราไม่ได้เจิม ทำไมทำไม





โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 30 ธันวาคม 2550 เวลา:11:32:30 น.  

 
ชีวิตนี้ตรูจะได้ไปเที่ยวกะเค้ามั่งมั๊ยหว่า



ใครผูกขาไว้พี่ ไปสิ


โดย: นางน่อยน้อย วันที่: 30 ธันวาคม 2550 เวลา:11:33:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

icy_CMU
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ชีวิตนี้ตรูจะได้ไปเที่ยวกะเค้ามั่งมั๊ยหว่า
[Add icy_CMU's blog to your web]

MY VIP Friend