|
บ่อเกิดแห่งหนี้
บ่อเกิดแห่งหนี้ (SOURCE OF OBLIGATION)
หนี้, บุคคลสิทธิ,สิทธิเหนือบุคคลและ สิทธิเรียกร้องนั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน ซึ่งอธิบายได้ว่า หนี้เป็นความผูกพันในทางกฎหมายระหว่างบุคคลสองฝ่าย โดยฝ่ายหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้ และอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาแก่ลูกหนี้ ในทางกลับกัน ลูกหนี้ก็มีหน้าที่ชำระตามที่เจ้าหนี้เรียกร้อง ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้จึงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อาจเรียกได้ว่าเป็นบุคคลสิทธิระหว่างกัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า บุคคลสิทธิเป็นสิทธิที่ใช้ยันระหว่างคู่กรณี(เจ้าหนี้-ลูกหนี้)นั่นเอง แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่กระทำตามหน้าที่ในสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีอยู่นั้น การบังคับชำระหนี้นั้นจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาทางแพ่งโดยฟ้องคดีต่อศาลเท่านั้น
บ่อเกิดแห่งหนี้ บ่อเกิดแห่งหนี้ หรือมูลแห่งหนี้ มีหมายความว่า สิ่งที่ทำให้เกิดหนี้ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประการ ดังนี้
1.นิติกรรมสัญญาเป็นการกระทำของบุคคลโดยตั้งใจมุ่งหมายกระทำให้เกิดผลในทางกฎหมาย
นิติกรรม หมายถึงการกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัครมุ่งในการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวในสิทธิ ซึ่งนิติกรรมอาจมีได้ทั้งนิติกรรมฝ่ายเดียว เช่น พินัยกรรม และนิติกรรมสองฝ่าย เช่น สัญญา ก็ได้ สัญญา หมายถึงนิติกรรมสองฝ่ายหรือหลายฝ่ายที่เกิดจากการแสดงเจตนาเสนอสนองต้องตรงกันของบุคคลสองฝ่ายขึ้นไป มุ่งที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือระงับนิติสัมพันธ์ ฉะนั้นสัญญาก็คือนิติกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งหลักทั่วไปของนิติกรรมต้องนำมาใช้กับสัญญาด้วย เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เมื่อมีนิติสัมพันธ์กันย่อมก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ต่อกัน ซึ่งสิทธิหน้าที่เหล่านี้ย่อมแตกต่างกันไปตามลักษณะของนิติกรรมสัญญานั้น และเพื่อความสงบเรียบร้อยและความสงบสุขของสังคมโดยส่วนรวม กฎหมายจึงได้กำหนดสิทธิหน้าที่ของบุคคลที่ก่อนิติสัมพันธ์ดังกล่าวให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์นั้นโดยยุติธรรม
2.นิติเหตุ นิติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดผลในกฎหมาย ซึ่งเกิดขึ้นเองโดยอำนาจของกฎหมาย 2.1 ละเมิด คือบุคคลได้กระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิทธิเด็ดขาดของบุคคลหรือสิทธิเด็ดขาดอื่น ๆ 2.2 การจัดการงานนอกสั่ง คือการที่บุคคลหนึ่งเข้าไปจัดการงานแทนบุคคลอีกคนหนึ่งโดยที่ไม่ได้รับมอบหมายให้กระทำ หากจัดการดังกล่าวสมประโยชน์ผู้จัดก็มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายที่ตนได้ออกไปก่อนได้ แต่ถ้าขัดและทำให้เกิดความเสียหายก็ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 2.3 ลาภมิควรได้ คือการที่บุคคลหนึ่งได้รับทรัพย์สินจากบุคคลอื่นโดยไม่มีกฎหมายรองรับจึงต้องคืนให้แก่อีกฝ่าย 2.4 ประการอื่น ๆ เช่น ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร
Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2551 |
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2551 17:30:21 น. |
|
1 comments
|
Counter : 47256 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: jack IP: 113.53.244.116 วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:12:06:54 น. |
|
|
|
| |
|
|
Location :
[Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

|
NEWS UPDATED!! ** hanayolaw@gmail.com **
อ่านความรู้เกี่ยวกับสอบเข้าคณะนิติศาสตร์
คลิ๊ก .. http://tutorlawgroup.blogspot.com ครับ
ขอบคุณสำหรับ การติดตามและกำลังใจมากมายของทุกๆท่านครับ
หากมีข้อสงสัยหรือปัญหากฎหมาย
** อีเมลติดต่อผมได้โดยตรงครับ **
** hanayolaw@gmail.com ** หรือ ** hanayo_dona@hotmail.com **
** อยากรู้เรื่องอะไรเพิ่มเติมก็เมลมาถามได้นะครับ
** ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุดครับ...
|
|
|
|
|
|
|