กรุวัดอัมพวัน นครนายก


วัดอัมพวัน ต.บางอ้อ อ.บ้านนา จ.นครนายก วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ ซึ่งประวัติการสร้างนั้นรางเลือนมาก เท่าที่สอบถามดูก็น่าจะเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยายุคปลาย หรือต้นกรุงรัตน โกสินทร์ จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ที่ได้รับคำบอกเล่าต่อๆ กันมานั้นว่า แต่แรกมีเพียงศาลาเก่าและกุฏิอย่างละหลัง พระอุโบสถที่ปฏิสังขรณ์ในยุคของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูรฯ) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ที่บานประตูแกะสลักปี พ.ศ.ไว้ว่า พ.ศ.2466
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ท่านเป็นคนพื้นเพในแถบนี้ และที่วัดท่าทราย (ชาวบ้านเรียกว่า วัดโรงเจ้า) แถบวัดอัมพวันนี้จะมีหลักฐานปรากฏแน่ชัดคือ อนุสาวรีย์หม่อมเจ้าถึก โยมบิดาของท่าน ที่ด้านบนอนุสาวรีย์เป็นที่บรรจุอัฐิของหม่อมเจ้าถึก อิศรางกูรฯ ด้านล่างโดยรอบก็บรรจุอัฐิของตระกูลอิศรางกูรฯ รวมทั้งของ ม.ร.ว. จรัส น้องชายของท่านด้วย

จึงเป็นหลักฐานยืนยันพื้นเพของเจ้าประคุณสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ได้เป็นอย่างดี ที่วัดอัมพวันนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชท่านเคยเสด็จเรือไปประทับแรมอยู่หลายครั้ง และแม้แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ (ร.6) ท่านก็เคยเสด็จทางเรือไปประทับแรมด้วยเช่นกัน และยังได้พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ไว้เป็นหลักฐานทั้งสองพระองค์

พระเครื่องเนื้อผงที่แตกกรุออกมาจากองค์พระเจดีย์ของวัดอัมพวันกัน จากบันทึกคำบอกเล่าของคุณลุงพรหม งามอ่อนศรี อดีตผู้ใหญ่บ้าน ต.บางอ้อ บันทึกไว้ว่า เมื่อตอนที่ท่านอายุได้ 13 ปี วัดอัมพวันมีพระครูวิสุทธิ ธรรมธาดา (หลวงปู่จันทร์) เป็นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยหลวงตาเณร (ก่อนอุปสมบทมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงนา) พร้อมด้วย พระลูกวัดอีก 2 รูป และตัวคุณลุงพรหม ได้เดินทางเข้าบางกอกโดยเรือแจว เพื่อไปรับพระเนื้อผงที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จัดสร้างขึ้นที่วัดระฆังฯ ในครั้งแรกสมเด็จท่านตั้งใจว่าจะบรรจุไว้ที่วัดระฆังฯ

ต่อมาหลวงปู่จันทร์ได้พบเจ้าประคุณสมเด็จและแจ้งให้ทราบว่า ในขณะนั้นทางวัดอัมพวันดำริ จะก่อสร้างสถูปเจดีย์และปฏิสังขรณ์พระอุโบสถหลังเก่า จึงอยากจะหาวัตถุมงคล เข้าบรรจุในองค์พระเจดีย์ เพื่อเป็นการสืบอายุพระศาสนา สมเด็จท่านจึงได้เห็นเหมาะสมและได้มอบพระผงพิมพ์นี้มาให้หลวงปู่จันทร์นำไปบรรจุไว้ที่องค์พระเจดีย์วัดอัมพวัน



จากบันทึกคำบอกเล่าของคุณลุงพรหม งามอ่อนศรี อดีตผู้ใหญ่บ้าน ต.บางอ้อ บันทึกไว้ว่า เมื่อตอนที่ท่านอายุได้ 13 ปี วัดอัมพวันมีพระครูวิสุทธิ ธรรมธาดา (หลวงปู่จันทร์) เป็นเจ้าอาวาส พร้อมด้วยหลวงตาเณร (ก่อนอุปสมบทมีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงนา) พร้อมด้วย พระลูกวัดอีก 2 รูป และตัวคุณลุงพรหม ได้เดินทางเข้าบางกอกโดยเรือแจว เพื่อไปรับพระเนื้อผงที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จัดสร้างขึ้นที่วัดระฆังฯ ในครั้งแรกสมเด็จท่านตั้งใจว่าจะบรรจุไว้ที่วัดระฆังฯ

ต่อมาหลวงปู่จันทร์ได้พบเจ้าประคุณสมเด็จและแจ้งให้ทราบว่า ในขณะนั้นทางวัดอัมพวันดำริ จะก่อสร้างสถูปเจดีย์และปฏิสังขรณ์พระอุโบสถหลังเก่า จึงอยากจะหาวัตถุมงคล เข้าบรรจุในองค์พระเจดีย์ เพื่อเป็นการสืบอายุพระศาสนา สมเด็จท่านจึงได้เห็นเหมาะสมและได้มอบพระผงพิมพ์นี้มาให้หลวงปู่จันทร์นำไปบรรจุไว้ที่องค์พระเจดีย์วัดอัมพวัน


หลังจากที่องค์พระเจดีย์สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ม.ร.ว.จรัส อิศราง กูรฯ น้องชายของสมเด็จท่าน ซึ่งมีบ้านอยู่ใกล้วัด ได้ไปกราบนมัสการนิมนต์สมเด็จท่านมาเป็นประธานในการบรรจุ มีการสมโภชอยู่หลายวัน

พิธีใหญ่ มีพระเกจิหลายรูป ร่วมพิธี

สำหรับการแตกกรุของพระกรุนี้ ก็มีการแตกกรุมาหลายปีแล้ว ท่านเจ้าอาวาสขณะนั้นก็ได้แจกจ่ายให้แก่ชาวบ้าน และผู้ที่มีจิตศรัทธาสมทบทุนสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

พระพุทธลักษณะของพระเนื้อผงพิมพ์นี้เป็นรูปทรงสามเหลี่ยม มีองค์พระประทับนั่งปางสมาธิบนฐานเขียง พระที่ออกมาจากกรุมักจะมีคราบดินกรุ และคราบสีน้ำตาลจับอยู่บนองค์พระ ผิวพระมักจะยุ่ยๆ ฝ่อๆ พรุนๆ เนื่องจากอาจจะมีความชื้นจากน้ำท่วมก็เป็นได้ องค์สวยๆ นั้นค่อนข้างหายากสักหน่อย

สำหรับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) ท่านก็คือผู้ที่สร้างพระวัดระฆังหลังค้อน อันมีชื่อเสียงโด่งดังครับ 











Create Date : 22 มีนาคม 2561
Last Update : 22 มีนาคม 2561 20:40:53 น.
Counter : 2670 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

thaithinker
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



กตัญญู ขยัน ซื่อสัตย์
เป็นคุณธรรมพื้นฐาน ของการดำเนินชีวิต
ที่เราทุกคนเกิดมาเป็นคน
พึงรักษาไว้








JAVA counter clicks
มีนาคม 2561

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog