Bloggang.com : weblog for you and your gang
grassroot ยินดีต้อนรับทุกท่าน สู่ Blog ความคิดเสรี มิตรภาพ ความสุข และความงดงามของชีวิต
Group Blog
ความคิด-ความเห็น
ครั้งหนึ่งเคยเป็นกระทู้
กรณีศึกษา
บทกวี
งึม งำ พึม พำ
บันดาล ดล จน โดน ใจ
อยากให้loginคุณ จารึกไว้ตรงนี้.
5 5 5 5
แฟ้ม : เบื้องลึก บุคคล
เมษายน 2549
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
7 เมษายน 2549
แด่....ชัยชนะของผู้แพ้...และ...ความพ่ายแพ้ของผู้ชนะ...
กว่าจะถึง..2 เมษายน 2549..และทำไม...จึงมาถึง 2 เมษา จนได้
จดหมายเปิดผนึกถึง--กลุ่ม "ฅนผ่านฟ้า" รักษาประชาธิปไตยและทุกกระทู้ที่วิพากษ์สื่อ
แรงต้านจากอีกด้านของวิกฤติ.....จะทำให้วิกฤติยิ่งกว่า
"นายกพระราชทาน" เชิงกลยุทธ...
10 เหตุผลที่ทีกษิณไม่ลาออก
เหตุผลที่ไม่เอานายกพระราชทาน
เป้าหมายการคว่ำบาตรการเลือกตั้งของ ปชป.และพรรคร่วมฝ่ายค้าน
All Blogs
พลังประชาชนเพื่อการปฎิรูปสื่อ
ฝ่ายต้านนายกฯทักษิณต้องการสำแดงว่า มีคนต้านทักษิณ ทุกแห่งหน แต่...............
ยินดีต้อนรับ พรรคประชาธิปัตย์ ที่กลับเนื้อกลับตัว เข้าแข่งขันตามครรลอง!!!
ปรากฎการณ์ "โม่งชักใย" คือ "การปรากฎตัวของอำนาจที่ 4"
ทฤษฎีแรงจูงใจกับกรณี 2 พรรคใหญ่จ้างพรรคเล็ก
หลายคำถามเกี่ยวกับ ปฏิญญาฟินแลนด์
ยุทธศาสตร์คืนสู่อำนาจของประชาธิปัตย์ มีหลายภารกิจ หลายแนวรบ !
กกต. คือต้นเหตุที่ทำให้พรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมฝ่ายค้าน แพ้การเลือกตั้ง จริงหรือ ?
เข้าถึง-> กรอบความคิด นักวิชาการไทย
อำนาจตุลาการ คลี่คลายสถานการณ์สู่ความสมานฉันท์ หรือ ความร้าวลึก ! ?
ลัทธิพวกพ้อง...ลัทธิท้องถิ่น...มีฐานะครอบงำคนใต้ทั่วทั้งภาค !?
สื่อมวลชนไทยกับดุลยพินิจและวาระซ่อนเร้น
ว่าด้วย..... ความเป็นกลาง...และที่อยู่ของ....คนเป็นกลาง
อาการ วิกลจริตทางการเมือง ของคนไทย (จำนวนหนึ่ง)
จริตทางการเมืองของปัญญาชน ชนชั้นกลาง
ความถูกต้อง...ข้ออ้างและคำอธิบายของทุกพฤติกรรม
แด่....ชัยชนะของผู้แพ้...และ...ความพ่ายแพ้ของผู้ชนะ...
กว่าจะถึง..2 เมษายน 2549..และทำไม...จึงมาถึง 2 เมษา จนได้
จดหมายเปิดผนึกถึง--กลุ่ม "ฅนผ่านฟ้า" รักษาประชาธิปไตยและทุกกระทู้ที่วิพากษ์สื่อ
แรงต้านจากอีกด้านของวิกฤติ.....จะทำให้วิกฤติยิ่งกว่า
"นายกพระราชทาน" เชิงกลยุทธ...
10 เหตุผลที่ทีกษิณไม่ลาออก
เหตุผลที่ไม่เอานายกพระราชทาน
เป้าหมายการคว่ำบาตรการเลือกตั้งของ ปชป.และพรรคร่วมฝ่ายค้าน
เหตุผลที่ไม่เอานายกพระราชทาน
ไม่เอานายกฯพระราชทาน
คอลัมน์ ระดมสมอง
โดย ปิยบุตร แสงกนกกุล
ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการยุบสภา กลับกลายเป็นว่าเกิดเงื่อนตายขึ้นใหม่ที่น่าจะเป็นเงื่อนที่แก้ได้ยากกว่าเดิม เนื่อง จากพรรคร่วมฝ่ายค้านตกลงร่วมกันคว่ำบาตรการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้ด้วยการไม่ส่งผู้สมัคร ในขณะที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยืนยันชุมนุมต่อไปแบบไม่ชนะ ไม่เลิก โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้ทักษิณลาออกสถานเดียว แต่เราก็ไม่พบคำตอบว่าถ้าทักษิณลาออกตอนนี้แล้วจะทำอย่างไรต่อไป การเลือกตั้งจะดำเนินต่อไปหรือไม่ เมื่อฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัครลงแล้วจะทำเช่นไร
ด้วยสถานการณ์เช่นนี้ คนส่วนหนึ่งเริ่มหันไปหาแนวทางแบบ "ไทยๆ" ด้วยการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ดังเห็นได้จากแถลง การณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯฉบับที่สอง บทความของคุณจิตตนาถ ลิ้มทองกุล การปราศรัยของแกนนำบางคนเมื่อวันที่ 26 ก.พ. ข้อเสนอของ ส.ว.กลุ่มหนึ่ง ข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์ ตลอดจนนักวิชาการรัฐศาสตร์บางท่าน เช่น ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นต้น
ผู้เสนอแนวทางดังกล่าวเห็นว่าถึงคราวจำเป็นต้องมีนายกรัฐมนตรีพระราชทานเพื่อเป็น "คนกลาง" ในการปฏิรูปการเมืองรอบสอง (นายกรัฐมนตรีพระราชทานอาจจะเป็น "คนกลาง" ในความหมายที่ว่าไม่สังกัดพรรคการเมืองใดๆ แต่ในความหมายอย่างกว้างแล้ว ก็ไม่แน่เสมอไปที่นายกรัฐมนตรีพระราชทานจะเป็น "คนกลาง" จริงๆ) แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้มีนายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกที่ไม่ใช่ ส.ส. จึงเกิดความคิดที่จะให้มีนายกรัฐมนตรีพระราชทานผ่านทางช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า "ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
คนกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่า ขณะนี้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง ไม่มีทางออกตามรัฐธรรมนูญจึงควรใช้ช่องทางตามมาตรา 7 ที่เปิดช่องให้นำประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ได้ โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ในอดีตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ลงมาแก้วิกฤต 14 ตุลาและพฤษภาทมิฬ
ต่อการใช้ช่องทางตามมาตรา 7 นี้ มีข้อควรพิจารณา 2 ประเด็น
ประเด็นแรก ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขคืออะไร? เมื่อเกิดช่องว่างทางกฎหมายขึ้น ก็ต้องพิจารณาว่าอย่างไรจึงเป็นประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่จะนำมาบังคับใช้ได้ สิ่งใดจะถือเป็นประเพณีได้ต้องมีลักษณะสองประการ ประการแรก เป็นเรื่องที่เคยประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาทั้งๆ ที่กฎหมายมิได้บังคับ และ ประการที่สอง มีผลผูกพันให้องค์กรหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม
ตัวอย่างรูปธรรมของประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระบบกฎหมายไทย ก็เช่น กรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบในร่างกฎหมายใด หรือไม่พระราชทานร่างกฎหมายใดคืนมาภายใน 90 วัน รัฐสภาจะไม่นำร่างกฎหมายนั้นกลับมาพิจารณาเพื่อยืนยันใหม่ แต่กลับให้ร่างกฎหมายนั้นตกไปทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญมาตรา 94 อนุญาตให้รัฐสภามีอำนาจยืนยันร่างกฎหมายกลับไปใหม่ได้ หรือ กรณีที่ร่างกฎหมายสำคัญที่คณะรัฐมนตรีเสนอ หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว คณะรัฐมนตรีจะลาออกหรือยุบสภา เป็นต้น
ศาลรัฐธรรมนูญเคยนำประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ในคำวินิจฉัยที่ 6/2543 แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ได้อ้างมาตรา 7 โดยตรงแต่จากคำวินิจฉัยก็พออนุมานได้ว่าเป็นการนำประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ คดีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า "ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 68 บัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง...เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง...ประกอบกับที่ผ่านมาพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส และพระราชธิดา ไม่เคยใช้สิทธิเลือกตั้ง หากกำหนดให้พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมราชวงศ์ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์อยู่เป็นนิตย ทรงมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งย่อมจะก่อให้เกิดความขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกันกับหลักการเกี่ยวกับการดำรงอยู่เหนือการเมืองและความเป็นกลางทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว เพื่อรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ บทบัญญัติในมาตรา 68 จึงไม่ใช้กับพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท และพระบรมราชวงศ์"
พิจารณาจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว การร้องขอให้มีนายกรัฐมนตรีพระราช ทานจะมีศักดิ์ถึงขนาดเป็นประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้วหรือไม่ยังน่าสงสัยอยู่
สมควรกล่าวเพื่อเก็บไปคิดต่อด้วยว่า เป็นครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันใช้ถ้อยคำ "ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" จากเดิมที่บทบัญญัติทำนองเดียวกันนี้ได้ปรากฏในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2515 พ.ศ.2525 และ พ.ศ.2534 แต่ใช้ถ้อยคำเพียงว่า "ประเพณีการปกครองในระบอบประชา ธิปไตย" โดยปราศจากถ้อยคำ "อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ต่อท้าย
ประเด็นที่สอง จะใช้มาตรา 7 ได้เมื่อไร ? ด้วยเหตุที่ว่าผู้ร่างกฎหมายไม่อาจเขียนกฎหมายให้ครอบคลุมไปทุกกรณี จึงอาจมีกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ปรับใช้ เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย จำเป็นต้องมีบทบัญญัติที่เปิดช่องให้ใช้กฎเกณฑ์อื่นมาอุดช่องว่างทางกฎหมายที่เกิดขึ้น บทบัญญัติในมาตรา 7 นี้จึงมีเพื่อเป็นเครื่องมือในการอุดช่องว่างทางกฎหมาย เช่นเดียวกันกับทางกฎหมายแพ่ง เราก็พบบทบัญญัติลักษณะดังกล่าวใน ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสองซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป"
ประตูของมาตรา 7 จะเปิดออกก็ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้เสียก่อน แล้วจึงนำประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ได้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะหยิบยกประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาใช้ได้ในทุกโอกาส หากยังมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ปรับใช้ได้ ก็ต้องปรับใช้ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนั้น
กล่าวให้ถึงที่สุด มาตรา 7 ไม่ใช่บทบัญญัติที่นำมาใช้ได้โดยทั่วไป หากเป็นบทบัญญัติที่เป็นเครื่องมือในการใช้และการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญและ อุดช่องว่างทางกฎหมายรัฐธรรมนูญเท่านั้น การอ้างมาตรา 7 เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดก็ดี หรือเพื่องดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเพื่อประโยชน์หรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าก็ดี ย่อมไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
เมื่อพิจารณาสถานการณ์ในขณะนี้ หลังจากยุบสภาแล้ว รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งไปแต่ยังคงต้องรักษาการไปก่อนจนกว่าจะได้คณะรัฐมนตรีใหม่ เมื่อกระบวนการยังคงดำเนินไปได้ตามที่บท บัญญัติในรัฐธรรมนูญกำหนด นั่นก็หมายความว่ายังไม่ถือว่า "ไม่มีบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด" จึงไม่อาจ "วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
อย่างไรก็ตาม มีผู้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากการรักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ถึงทางตัน เพราะถ้านายกรัฐมนตรีรักษาการลาออกก็จะเกิดสุญญากาศ เมื่อรัฐธรรมนูญไม่มีมาตราใดกำหนดให้นายกรัฐ มนตรีรักษาการที่ลาออกต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อ จึงเข้าเงื่อนไขที่ต้องนำรัฐธรรมนูญมาตรา 7 มาใช้ ข้อเสนอดังกล่าวนับเป็นความพยายามอย่างสุดแรงกล้าเพื่อหาช่องว่างทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงยังไม่มีช่องว่างและยังไม่ถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญมาตรา 215 (2) กำหนดให้รัฐมนตรีพ้นไปทั้งคณะเมื่อมีการยุบสภา และวรรคสองบังคับให้คณะรัฐมน ตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อรักษาการ อีกนัยหนึ่งนายกรัฐ มนตรีและรัฐมนตรีทุกคนพ้นจากตำแหน่งไปแล้วนับแต่ยุบสภา ณ วันนี้ จึงไม่มีตำแหน่งให้พ้นอีก แต่ที่ยังต้องปฏิบัติหน้าที่อยู่เพราะรัฐธรรมนูญบังคับให้รักษาการไว้จนกว่าจะได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีตำแหน่งใด ให้นายกรัฐมนตรีลาออก ที่เรียกร้องให้ทักษิณลาออกจากนายกรัฐมนตรีรักษาการจึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ความจริงแล้วเป็นการเรียกร้องให้นายกรัฐมน ตรีไม่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีมากกว่า และหากทักษิณไม่ปฏิบัติหน้าที่ก็ต้องให้รักษาการรองนายกรัฐมนตรีขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนตามหลักกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
อาจกล่าวได้ว่าโดยตัวของมันเองแล้วกระบวนการตามมาตรา 7 เป็นวิธีการตามกรอบที่รัฐธรรมนูญให้กระทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด หากแต่กระบวน การพยายามหาทางให้เกิดกรณี "ไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ" เพื่อนำ "ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" มาใช้ตามมาตรา 7 ต่างหากที่เป็นวิธีการนอกกรอบรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ หากพิจารณาในแง่ระบอบการปกครอง นายกรัฐมนตรีพระราช ทานเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย หากความทรงจำไม่สั้นเกินไปนัก เราคงไม่ลืมเหตุการณ์พฤษภาทมิฬที่ไม่ต้องการให้ พล.อ.สุจินดาเป็นนายกรัฐมนตรีเช่นกัน หากความทรงจำยาวไปอีกนิด เราคงไม่ลืมเหตุการณ์ร้องขอให้ พล.อ.เปรมไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2531 ทั้งสองเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้ง เราไม่ปรารถนาให้ประเทศไทยมีสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบครึ่งใบอีกต่อไป ไฉน ณ วันนี้กลับมีเสียงเรียกร้องให้มีนายกรัฐมนตรีมาจากการพระราชทาน
การย้อนกลับไปสู่ "นายกฯพระราชทาน" เป็นการปลูกฝังนิสัยมักง่ายในระบอบประชาธิปไตย วันข้างหน้าหากเราประสบปัญหาทางการเมืองหรือไม่พอใจผู้ปกครองคนใด เราก็จะไม่แก้ปัญหาตามกฎหมายด้วยตนเอง หากเคยชินต่อการใช้สูตรสำเร็จอย่างนายกรัฐมนตรีพระราชทาน กรณีเรียกร้องเอานายกรัฐมนตรีพระราชทานเพื่อต้องการโค่นทักษิณ ไม่แน่ใจว่าเป็นการต่อสู้ให้ได้มาซึ่งเป้าหมายโดยไม่คำนึงถึงวิธีการหรือเป็นความไร้เดียงสาของผู้เรียกร้องกันแน่ ไม่น่าเชื่อว่าเพียงแค่ต้องการเด็ดหัวทักษิณ เราถึงขนาดยอมทำลายระบอบประชาธิปไตย
ยิ่งเห็นแกนนำของกลุ่มพันธมิตรฯบางคนเชิดชูแนวทางนี้ เช่นนี้แล้วจะเรียกตนเองว่ากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ "ประชาธิปไตย" ได้อีกหรือ ในเมื่อสิ่งที่มาแทนที่ทักษิณก็ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยกว่ากันเท่าไร หนำซ้ำอาจจะแย่กว่าด้วย เพราะอย่างหยาบที่สุดทักษิณก็มาจากการเลือกตั้ง แน่ละ ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การหย่อนบัตรเลือกตั้ง และการได้รับเลือกตั้งไม่ได้หมายความว่าจะอ้างเสียงของประชาชนไปประพฤติมิชอบได้ แต่ในระบอบประชาธิปไตย เราก็ไม่อาจปฏิเสธการเลือกตั้งได้
เมื่อแนวทางของกลุ่มต่อต้านทักษิณเป็นเช่นว่า ความยอกย้อนทางประวัติศาสตร์จึงปรากฏขึ้นให้เห็น ดังเช่น ณ พ.ศ.นี้ เรามีโอกาสได้ยินเพลงคนกับควาย เพลงแสงดาวแห่งศรัทธา เพลงถั่งโถมโหมแรงไฟ เพลงแองแตร์นาซิยงนาล บนเวทีที่จะเอานายกรัฐมนตรีพระราชทาน
ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน หนทางเดียวที่เราจะมีนายกรัฐมนตรีพระราชทานได้ คือ ต้องยกเลิกรัฐธรรมนูญมาตรา 201 ที่กำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.เสียก่อน ตราบใดที่มาตรานี้ยังใช้บังคับ นายกรัฐมนตรีก็มาจากคนนอกไม่ได้ หากต้องการยกเลิกหรือแก้ไขมาตราดังกล่าว ก็ต้องทำโดยรัฐธรรมนูญซึ่งมีหลักเกณฑ์และกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้อยู่แล้ว ดังนั้น ข้อเสนอของ ศ.ดร.ชัยอนันต์ที่ให้ถวายฎีกาเพื่อของดใช้รัฐธรรมนูญ หรือข้อเสนอให้มีนายกรัฐมนตรีพระราชทานโดยผ่านทางมาตรา 7 ย่อมไม่ต่างอะไรกับการหาวิธีฉีกรัฐธรรมนูญอย่างแยบยลโดยไม่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญจริงๆ นั่นเอง
ต้องไม่ลืมว่าเป้าหมายที่ดีต้องเกิดจากวิธีการที่ดี การโค่นระบอบสามานย์ ทุนสามานย์ ต้องไม่ใช้วิธีการที่สามานย์ รัฐประหารก็ดี การฉีกรัฐธรรมนูญก็ดี การงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราก็ดี การใช้สีข้างเข้าถูด้วยมาตรา 7 ก็ดี ล้วนแล้วแต่เป็นการเอาวิธีสีเทาไปปราบคนสีเทา
แล้วเพื่อโค่นคนคนเดียว เราถึงขนาดยอมถอยหลังเข้าคลองเลยหรือ
Create Date : 07 เมษายน 2549
Last Update : 7 เมษายน 2549 17:55:28 น.
10 comments
Counter : 617 Pageviews.
Share
Tweet
เห็นด้วยนะค่ะ
โดย:
oreocream
วันที่: 7 เมษายน 2549 เวลา:21:18:18 น.
โหวตให้
โดย: yutza IP: 58.147.14.222 วันที่: 7 เมษายน 2549 เวลา:23:27:19 น.
you are right , I fully support and vote for.
โดย: Cooljo IP: 60.49.81.44 วันที่: 8 เมษายน 2549 เวลา:11:10:37 น.
โดย: เกลียดไอ้คนแซ่ลิ้ม IP: 221.128.106.13 วันที่: 8 เมษายน 2549 เวลา:17:43:58 น.
รัฐธรรมนูญยังไม่ถึงทางตัน อย่าไปรบกวนพระองค์ท่านเลย
โดย: แจม IP: 124.121.148.218 วันที่: 8 เมษายน 2549 เวลา:19:33:35 น.
ระบอบประชาธิปตาย ยังมีอีกหลายแง่มุม
ร่วมถกประเด็นในปาฐกถาภาคพิศดารบานตะเกียงพร้อมไปกับ ด็อกเตอร์ดำรงเฮฮา ในหัวข้อ
"ประชาธิปตาย 4 ระบอบ ในเสียมก๊ก"
มีแห่งเดียวในโลกหล้า หามีโลกหน้าไม่
โดย:
ดำรงเฮฮา
วันที่: 10 เมษายน 2549 เวลา:0:17:36 น.
ในมาตรา ๗ ใช้คำว่า "ตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ผมว่าคนที่พยายามตีความให้มี "นายกพระราชทาน"ทั้งหลายนั้นแกล้งทำเป็นตีความตามเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่ออก เพราะเราต้องเอาประเพณีที่เป็นไปของนานาอารยประเทศที่ปกครองด้วยระบอบนี้มาเป็นบรรทัดฐานด้วยครับ ทั้งจากอังกฤษที่คุณมาร์คเองก็อุตส่าห์เรียนจบมาจนถึงขนาดอยากเป็นนักเรียนอ๊อกซฟอร์ดคนที่สองที่เป็นนายก
หลังคุณอานันท์ น่าจะพิจารณาด้วยว่าเขามีประเพณีอย่างไรที่ถูกต้องเป็นธรรม
จริง ๆ แล้ว นายกพระราชทานทั้งอาจารย์สัญญา และคุณอานันท์นั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตามรัฐธรรมนูญในขณะนั้นทั้งนั้น ไม่ใช่ดึงดันจะตีความเข้าข้างตัวเองว่า มาตรา ๗ หมายถึง "นายกพระราชทาน"อย่างที่นายมาร์คต้องการ ซึ่งขนาดหัวหน้าม้อบล้มล้างประชาธิปไตยสายที่ไม่ใช่จำลองสนธิยังไม่เอาด้วยเลย
ผมว่ามาร์คทำเป็นไม่รู้เรื่อง เพราะกิเลศส่วนตัวมากกว่า
โดย: Andy IP: 124.121.183.99 วันที่: 10 เมษายน 2549 เวลา:11:53:22 น.
ใบเสร็จยุบพรรคไทยรักไทย
เปิดผลสอบคดีจ้างนอมินีลงสมัครเลือกตั้ง 2 เมษาฯ-เปลี่ยนฐานข้อมูลสมาชิกพรรค ระบุหลักฐานโยงบิ๊กไทยรักไทย เจ้าหน้าที่"กกต."เผยสารภาพรับเงินพรรคชาติพัฒนาชาติไทย 3 หมื่นบาท แก้ทะเบียน
การสอบสวนในคดีที่พรรคประชาธิปัตย์ร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ปลอมแปลงแก้ไขทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองขนาดเล็กและมีผู้บริหารระดับสูงของพรรคไทยรักไทยให้เงินสนับสนุนพรรคเล็กหรือที่เรียกกันว่าพรรคนอมินีเพื่อลงเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อวันที่ 2 เมษายน แข่งกับพรรคไทยรักไทย
มีการสรุปโดยคณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงที่มีนายนาม ยิ้มแย้ม อดีตรองประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ระบุข้อมูลตรงกับที่มีการร้องเรียนโดยเจ้าหน้าที่ กกต.ยอมรับว่าได้รับเงินจากผู้บริหารพรรคชาติพัฒนาชาติไทย และพิเคราะห์เชื่อว่า พรรคเล็กๆ ได้รับเงินสนับสนุนจากพรรคไทยรักไทย
1.กรณีกล่าวหาว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของ กกต.ปลอมแปลงแก้ไขทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองในฐานข้อมูลนายทะเบียนพรรคการเมืองของ กกต. เพื่อส่งคนซึ่งไม่มีคุณสมบัติตามกฎหมายลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งต่างๆ มีผลสรุปว่า นาย อ.
เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ผู้รับผิดชอบการบันทึกข้อมูลทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองของฐานข้อมูลนายทะเบียนพรรคการเมืองให้การยอมรับว่า ได้รับเงินจากผู้บริหารระดับสูงจากพรรคพัฒนาชาติไทย 30,000 บาท เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานข้อมูลนายทะเบียนพรรคการเมือง
2.กรณีกล่าวหาว่า การกระทำของพนักงานเจ้าหน้าที่ของ กกต.ดังกล่าว เกิดจากการสมคบกันกับผู้บริหารระดับสูงของพรรคไทยรักไทยกับพรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคไทยรักไทยกับพรรคแผ่นดินไทย พิเคราะห์แล้วน่าเชื่อว่า พรรคพัฒนาชาติไทย และพรรคแผ่นดินไทยได้รับเงินสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงของพรรคไทยรักไทย เพื่อให้นำมาจัดส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549
ที่มา : //www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0107210449&day=2006/04/21
เย้หลักฐานสอบครบแล้ว...ยุบพรรคไทยรักไทยได้เลย.... ขอบคุณท่านประธานสอบข้อเท็จจริงครับ.....ที่ทำความจริงให้กระจ่างไปทั่วโลก.....ต้องรีบส่งข่าวนี้ให้เพื่อที่ต่างประเทศ...เพื่อที่จะได้ประจานพรรครัฐบาลไปทั่วโลกว่าเรามีรัฐบาลที่โกงชาติ แล้วยังลวงโลกอีกด้วย
โดย: zzz IP: 61.19.54.238 วันที่: 22 เมษายน 2549 เวลา:0:14:56 น.
คนทีเสนอ ขอนายกพระราชทานนั้นทำไมๆๆๆๆๆปัญญาอ่อนๆๆๆๆๆๆๆอะไรอย่างทีไม่เคยพบเห็นอยู่ในแฟ้มของหมอ(หมอปกตินะ)มาก่อน ไม่หน้ามาเกิดเป็นคนไทยเลยนะ คนกลุ่มนี้ แผ่นดินไทยทรุดต่ำลงทุกวัน เมื่อไหร่พวกเขาจะไปๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆซะแผ่นดินไทยจะได้สูงขึ้นๆๆๆๆๆๆๆๆๆแล้วอย่ากลับมาอีกนะ.ฮิฮิๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
โดย: แดน สนธยา IP: 84.31.23.213 วันที่: 25 กรกฎาคม 2549 เวลา:20:32:10 น.
เห็นด้วยครับ....เพราะยังไม่ถึงขนาดและปัจจัยสนับสนุนยังไม่เพียงพอ
โดย: นายภูมิพันธ์ คณาจันทร์ IP: 192.168.1.19, 58.10.65.82 วันที่: 2 ธันวาคม 2552 เวลา:20:46:40 น.
ชื่อ :
Comment :
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
grassroot
Location :
กรุงเทพ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [
?
]
หากเอาเวลาของจักรวาลเป็นตัวตั้ง แล้วเอาเวลาของชีวิตมนุษย์คนหนึ่งเป็นตัวเทียบ......ชีวิตคนเรานั้นแสนสั้นยิ่งนัก...สั้นยิ่งกว่าสายฟ้าแลบ....
Friends' blogs
grassroot
Without me
a_somjai
เอื้องอัยราวัณ
dont wanna no
Webmaster - BlogGang
[Add grassroot's blog to your web]
Links
Wikipedia
ทิศทางไทย
ข้อมูล แนวคิด เศรษฐกิจ สังคม
E-Text : History Of Idea
คนผ่านฟ้า
Reporter
BlogGang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.