ชีวิตคือการเรียนรู้

<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 มกราคม 2554
 

คำถามที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ

“มิลินทปัญหา” เป็นเรื่องราวการถาม-ตอบในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยมีพระยามิลินท์เป็นผู้ถาม และมีพระนาคเสน ภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นผู้ตอบ เรื่องราวนี้เป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจทั้งจากชาวพุทธและที่ไม่ใช่มากมาย อย่างไรก็ตามมีอยู่ประเด็นหนึ่งในมิลินทปัญหาที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ก็มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยประเด็นนั่นก็คือ การถามตอบในหัวข้อเรื่อง “ฐปนียพยากรณปัญหา” ซึ่งชักนำไปสู่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีคิดแบบพุทธในอีกแง่หนึ่ง

ในหัวข้อนี้ พระยามิลินท์ได้ตรัสถามพระนาคเสนว่า เหตุใดพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้รู้แจ้งในสรรพสิ่งทั้วปวง และคอยชี้แนะแนวทางรวมถึงหลักธรรมให้กับบุคคลต่างๆ อย่างไม่หวงแหน จึงไม่ยอมตอบคำถามของพระเถรเจ้าผู้เป็นบุตรแห่งนางมาลังฆาพราหมณี นั่นเพราะพระพุทธเจ้าทรงตั้งใจปิดปัง หรือมีอคติกับผู้ถาม หรือว่าไม่รู้คำตอบกันแน่

พระนาคเสนก็ตอบกลับไปว่า พระพุทธศาสนานั้นแบ่งคำถามต่างๆ ออกเป็น 4 ประเภทคือ

1. เอกํสพฺยากรณียปัญหา คือปัญหาที่ถามถึงที่ควรจะแก้ได้โดยสะดวกและโดยตรง ไม่ยากเย็นอะไร เช่น ถามว่านามและรูปเที่ยงหรือไม่ สัญญา สังขาร วิญญาณเที่ยงหรือไม่ เป็นต้น
2. วิภชฺชพฺยากรณียปัญหา คือปัญหาที่ถามกลับลักษณะถ้อยคำ การตอบต้องหยิบแยกอธิบายเป็นส่วนๆ เช่น ถามว่าสิ่งที่ไม่เที่ยงได้แก่รูปเหรอ ได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณหรือ เป็นต้น
3. ปฏิปุจฉาพฺยากรณียปัญหา คือปัญหาที่ควรซักไซ้ไล่เลียงเสียก่อน แล้วจึงจะกล่าวแก้ เช่น ถามว่าบุคคลย่อมรู้แจ้งซึ่งอารมณ์ทั้งปวงด้วยจักขุ (ตา) หรือ เป็นต้น กล่าวคือเป็นคำถามที่มีความไม่ชัดเจน ผู้ตอบจึงต้องย้อนถามผู้ถามอีกครั้งเพื่อความชัดเจน ก่อนจะตอบ
4. ฐปนียปัญหา คือปัญหาที่ถามถึงเหตุภายนอกพระศานาอันหาประโยชน์มิได้ ไม่ควรจะกล่าวแก้ เช่น ถามว่าโลกเที่ยงหรือไม่ พระตถาคตมีอยู่หรือไม่ เป็นต้น

การที่พระพุทธเจ้าทรงไม่ตอบคำถามของพระเถระเจ้านั่นก็เพราะเป็น “ฐปนียปัญหา” เป็นคำถามที่ “ไม่ควรตอบ” ตอบไปก็ “ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์” ความข้อนี้ชวนให้นึกถึงหลักธรรมอีกข้อในพระพุทธศาสนาก็คือ “อจินไตย” ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับฐปนียปัญหาอยู่ไม่น้อย

เมื่อเทียบกับหลักธรรมอื่นๆ ในพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นเบญจศีล-เบญจธรรม อริยสัจ 4 อิทธิบาท 4 ทศพิธราชธรรม ฯลฯ อจินไตยดูจะเป็นหลักธรรมที่ไม่แพร่หลายมากนัก แต่ก็ถือว่ามีอิทธิพลต่อวิธีคิดของชาวพุทธอยู่ไม่น้อย ทั้งนี้อจินไตยนั้นหมายถึง “สิ่งที่ไม่ควรคิด” ที่ไม่ควรคิดก็เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์ คิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออก คิดไปก็รังแต่จะทำให้ฟุ้นซ่านและเป็นเหตุแห่งความบ้า ซึ่งมีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะดูจะขัดกับภาพของพระพุทธศาสนาที่ถูกอ้างว่าเป็นศาสนาที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์มากที่สุด

สำหรับสิ่งที่ถือเป็นอจินไตยนั้น พระพุทธศาสนาบัญญัติว่ามีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภทคือ

1. พุทธวิสัย คือวิสัยของพระพุทธเจ้า เช่น พระพุทธเจ้ามีจริงหรือไม่ พระพุทธเจ้าเกิดมาแล้วเดิน 7 ก้าวจริงหรือไม่ เป็นต้น
2. ฌานวิสัย คือวิสัยของบุคคลผู้ทรงฌาน เช่น ฌานเป็นอย่างไร ทำไมผู้ที่ได้ฌานถึงแสดอิทธิฤทธิ์ได้ เป็นต้น
3. กรรมวิสัย คือวิสัยของกฎแห่งกรรม เช่น กฎแห่งกรรมเกิดอย่างไร ทำไมต้องมีกฎแห่งกรรม เป็นต้น
4. โลกวิสัย คือวิสัยของการมีอยู่ของโลก เช่น ใครเป็นผู้สร้างโลก ชีวิตเกิดได้อย่างไร เวลาคืออะไร ความว่างเปล่าคืออะไร เป็นต้น

เรื่องเหล่านี้คิดไปก็ปวดหัว ไม่คิดก็ไม่เสียประโยชน์อะไร ซึ่งดูจะเป็นหลักการที่ตรงกันข้ามกับวิทยาศาสตร์รวมไปถึงอภิปรัชญา (ปรัชญาแขนงที่สนใจหาความจริงสูงสุดเกี่ยวกับโลกและจักรวาล) ที่พยายามแสวงหาความรู้ในเรื่องต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ในสิ่งที่เป็นอจินไตยก็ตาม ทั้งนี้เพราะทั้ง 2 สาขาวิชาเชื่อว่ามีความจริงแท้หนึ่งเดียวอยู่อยู่เหนือสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับโลกวิสัย ซึ่งดูจะเป็นเรื่องที่อภิปรัชญาให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เห็นได้จากที่มีนักอภิปรัชญาสมัยโบราณหลายคนพยายามค้นหาความจริงสูงสุดเกี่ยวกับสรรพสิ่ง เนื่องจากเห็นว่าหากสามารถรู้ถึงความจริงพื้นฐานสูงสุด ก็จะช่วยให้เข้าเรื่องต่างๆ ให้แจ่มแจ้งขึ้น อันจะนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่เป็นสุข

ด้วยเหตุนี้ในแวดวงอภิปรัชญาจึงมักได้ยินคำถามอจินไตยที่ว่า จักรวาลเกิดขึ้นได้อย่างไร พระเจ้ามีจริงหรือไม่ ถ้าพระเจ้ามีจริงอะไรเป็นผู้สร้างพระเจ้า ความคิดอะไร ทำไมเราต้องคิด ฯลฯ รวมสายปรัชญาการเมืองเองที่บางเรื่องก็อาจพิจารณาได้ว่าเป็นอจินไตยได้ด้วย เช่น โลกของแบบและรัฐอุดมคติของเพลโต แนวคิดเกี่ยวกับความสุข-ความยุติธรรมของแอริสโตเติ้ล ลักษณะมนุษย์ในสภาพธรรมชาติของสายสัญญาประชาคม ฯลฯ ทั้งนี้เพราะเป็นการคิดในเรื่องธรรมชาติพื้นฐานของสรรพสิ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่คิดเท่าไหร่ก็ไม่ออก สามารถถกเถียงกันได้อย่างไม่รู้จักจบสิ้น พระพุทธศาสนาจึงไม่ให้คิดเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้

อาจกล่าวได้ว่าสำหรับพระพุทธศาสนาแล้ว การรู้ว่าความจริงคืออะไรอาจไม่สำคัญเท่าประโยชน์ของความจริงนั้น ความจริงบางเรื่องถ้าคิด ถ้าค้นแล้วไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด โดยเฉพาะประโยชน์ในทางดับทุกข์ ก็ไม่ต้องไปเสียเวลาคิด หรือความจริงบางเรื่องหากรู้หากพูดแล้วมีแต่จะเป็นทุกข์ ก็ไม่ต้องพูด (การไม่พูดความจริงไม่ถือเป็นการโกหกตามศีลข้อที่ 4 ของพระพุทธศาสนา) แม้ว่าวิธีคิดของพระพุทธศาสนาจะเน้นความสำคัญของเหตุ-ผล แต่ก็เป็นเพียงทำให้เห็นทุกอย่างย่อมมีเหตุของการเกิด แต่ไม่ได้สนใจถึงขนาดค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุเริ่มแรกสุด เพราะเห็นว่าไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งเกินวิสัยที่จะรู้ได้ หากคิดไปก้รังแต่จะเป็นทุกข์เสียเปล่าๆ

คำถามก็คือการคงอยู่ของ “ฐปนียปัญหา” และ “อจินไตย” นั้นมีความเหมาะสมเพียงใด เรื่องบางเรื่องนั้นไม่ควรถาม ไม่ควรคิดจริงหรือ สำหรับคนที่ไม่เชื่อในเรื่องนี้แล้ว คำถามบางคำถามแม้คิดแล้วไม่ช่วยให้อิ่มท้อง ไม่ช่วยให้พ้นทุกข์ แต่อย่างน้อยการรู้เพิ่มขึ้นก็ดีกว่าการไม่รู้ไม่ใช่หรือ การไปกำหนดกะเกณฑ์ว่าเรื่องใดคิดได้ เรื่องใดคิดไม่ ก็เท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ และสุดท้ายแล้วก็จะส่งผลให้เกิดภาวะคับแคบทางความคิด อาจทำให้สูญเสียโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนก็เป็น

แต่ขณะเดียวกันเราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการคิดการถามเรื่องฐปนียปัญหาและอจินไตยในหลายๆ ครั้งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างไร ซ้ำร้ายยังอาจนำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งเนื่องจากคำตอบที่เห็นไม่ลงรอยนั้น เกิดเป็นทุกข์มากยิ่งขึ้นดั่งที่พระพุทธเจ้าว่าไว้ก็เป็นได้

ความจำเป็นของ “ฐปนียปัญหา” และ “อจินไตย” จึงยังเป็นเรื่องที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อไป แม้แต่นักคิดในพระพุทธศาสนาก็ยังเห็นไม่ลงรอยกัน โดยฝั่งมหายานนั้นเห็นต่างจากเถรวาทตรงที่เชื่อว่า การที่เราไม่ควรคิดไม่ควรถามเรื่องบางเรื่องนั่น ไม่ใช่เพราะเรื่องนั้นไม่มีประโยชน์ แต่เป็นเพราะคำตอบหรือความจริงของคำถามนั้นลึกซึ้งเกินกว่าความเข้าใจของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักปรัชญาเซนที่ว่า ความรู้จริงอยู่เหนือการสื่อสารด้วยถ้อยคำ ด้วยเหตุนี้การที่เราจะยังเชื่อในหลักธรรมข้อนี้หรือเปล่า เป็นเรื่องที่เราต้องต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง ต้องไม่ลืมว่าในพระพุทธศาสนายังมีหลักธรรมอีกข้อหนึ่งที่เรียกว่า “กาลามสูตร” ซึ่งสอนว่าอย่าเชื่ออะไร จนกว่าจะได้คิดไตร่ตรองด้วยตัวเองอย่างดีแล้ว การจะเชื่อใน “ฐปนียปัญหา” และ “อจินไตย” หรือไม่จึงไม่ใช่สิ่งที่ผิด สำคัญที่ว่าเราได้เริ่มไตร่ตรองเรื่องนี้หรือยัง


Create Date : 03 มกราคม 2554
Last Update : 3 มกราคม 2554 18:59:35 น. 4 comments
Counter : 5615 Pageviews.  
 
 
 
 
หากพระผู้สร้างดำอยู่จริงแล้วจะเกิดอะไรขึ้น แน่นอนว่าพระองค์ย่อมรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง และพระองค์ก็จะเปิดเผยตัวตนของพระองค์อย่างแน่นอน และสิ่งนั้นก็ได้เกิดขี้นแล้ว ของให้ตั้งใจรับฟังสิ่งที่ผมจะเปิดเผยต่อไปนี้
พระผู้สร้างนั้นอยู่ในเราทุกคนนี่เองแต่เราไม่รู้สึก เพระาพระองค์ดำรงอยู่เท่ากับความว่าง หรือเท่ากับศูนย์ เพระาการดำรงอยู่เท่ากับศูนย์นั้นพระองค์เป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ความว่างที่ชาวพุทธแสวงหานั้นก็คือพระเจ้านั่นเอง แล้วพระองค์สร้างโลกทุกยังไง คำตอบในเรื่องนี้ง่ายมาก ก็คือความรับนั่นเองที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์ สร้างยังไง ก็โดยผ่านเมล็ดของพระองค์ เมล็ดนั้นก็คือ โครงสร้างที่เป็นคู๋ ของบวกและลบ จุดเริ่มต้นคือโครงสร้างที่เป็นคู๋ แล้วก็แบ่งออกไปเรื่อยๆ เช่นแบ่งเป็นชายและหญิง ทำให้พวกเขามีแรงดึงดูดกันและกันโดยผ่านความรัก สรรพสิ่งดึงดูดกันโดยพลังงาน ที่เชื่อมต่อเข้ากับพลังงานเริ่มแรกที่นิรันดร์
พลังเริ่มนี้เป็นพลังที่ไม่รู้จบ พระผู้สร้าง สร้างทุกสิ่ง เพื่อมนุษย์ เพื่อที่มนุษย์จะเป็นแห่งความรัก แต่มนุษย์ได้สูญเสียคุณสมบัตินั้นไป มนุษย์จึงตกต่ำมาก ตกต่ำกว่าเทวดาที่เป็นผู้รับใช้ของพระผู้สร้าง ซึ่งในเริ่มแรกมนุษย์ควรจะเป็นบุตรสุดที่รัก แต่เพราะบาปที่ยิ่งใหญ่คือบาปทางเพศ ซึ่งเป็นบาปทางสายเลือด ทำให้มนุษย์สูญเสียสายเลือดเริ่มแรกไป เและสูญเสียพ่อแม่เริ่มแรกไป และยังขยายเผ่าพันธุ์แห่งบาปนี้ต่อๆไป นี่คือเหตุผลที่สำคัญที่สุด ที่พระศาสดาบอกให้เราต้องแยกออกจากความรัก เพราะความรักนั้นมีมลทินอยู่ เหตุผลที่พระศาสดาไม่ทรงตอบคำถามในเรื่องนี้ก็เพราะว่า มนุษย์นั้นในเวลานั้นยังอยู่ในฐานะผู้รับใช้ของผู้รับใช้ เพราะเทวดานั้นเป็นผู้รับใช้ แต่มนุษย์ต่ำกว่าเทวดา จากตำแหน่งที่ต่ำต่อยนั้นเราจึงไม่ได้รับอนุญาต ให้รับรู้เรื่องผู้สร้างโลกได้ แล้วคนในศาสนาอื่นที่เชื่อเรื่องพระเจ้าก็ไม่ได้รับอนุญาต ให้ติดต่อกับพระผู้สร้างได้ การที่พวกบอกว่าได้พบพระเจ้านั้นก็เป็นเพียงการทำงานของพวกเทพที่เป็นตัวแทนของพระผู้สร้างเท่านั้นเอง แต่พระเจ้าแห่งความรัก ก็ดำแผนงานของพระองค์อย่างยาวนาน เพื่อที่จะนำมนุษย์ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น โดยผ่านเทพเทวดา และบรรดาศาสดาทั้งหลาย แต่เมื่อถึงเวลาที่พระองค์กำหนดไว้และเงื่อนไขต่างๆเพียงพ่อ พระก็จะยกระดับการทำงานเพื่อช่วยบุตรสุดที่รักต่อไป และเวลานี้ก็ถึงเวลาที่พระผู้สร้างจะยกระดับของแผนงานของพระองค์ เราจะเห็นได้ว่าผู้คนกำลังต่อสู้กันทางความคิดอย่างมากมาย
 
 

โดย: สมนึก IP: 58.10.170.230 วันที่: 1 มีนาคม 2555 เวลา:1:08:43 น.  

 
 
 
กุญแจ ก็คือ ลักษณะพิเศษที่เป็นคู่ อนุภาค อะตอม โมเลกูน ล้วนมีโครงสร้างที่เป็นคู่ และมีปฏิกิริยาต่องกันโดยพลังงานปฐมภูมิสากล เป็นพลังนิรันดร์ที่มาจากผู้สร้าง และพระองค์สร้างทุกอย่างเพียงคู่เดียวเท่านั้น และทุกสิ่งที่พระองค์สร้างก็ขยายต่อไปโดยความสัมพันธ์ร่วมของปฏิกิริยาการให้และการรับ ทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้ต้องมาเป็นคู่ เช่น มีไขก็ต้องมีสเปิม มาเจาะไข และเมื่อไขได้แล้ว ก็มีกระบวนการต่อๆไป คือแบ่งทีละคู่ และทวีคูณไปเลื่อยๆ หลังจากนั้นก็ สร้างเป็นเซลล์ต่างๆที่ทำหน้าที่แตกต่างกับออกไป ทุกที่เกิดขึ้นล้วนมีกระบวนการรองรับไว้ล่วงหน้าแล้ว ทุกอย่างเป็นระบบและมีกฏเกณ ตามธรรฒชาติ และพระผู้สร้างก็เป็นผู้ออกแบบทั้งหมด มันไม่มีระไรเลยที่ไม่ได้มาจากเหตุนี้ นี่แหละที่เราพูดกันว่าเกิดแต่เหตุ พระผู้สร้างก็คือเหตุเริ่มแรก และเหตุสุดท้าย
แผนการของพระองค์ได้ดำเนินมาถึงจุดสุดยอดแล้ว ขอให้จงสดับรับฟัง เพราะความจริงนี้จะปลดปล่อยท่านจากวัฏสงสาร และนำสันติสุขมาสู่มวลมนุษยชาติอย่างถาวร
เพราะการที่เราได้รู้เรื่องนี้ก็เท่ากับว่า"งานที่พระผู้สร้างทำมาอย่างยาวนานนั้นจะเสร็จสมบูรณ์อยู่ที่มนุษย์บรรลุถึงหน้าที่ของตนในฐานะลูกที่กตัญญูต่อพ่อแม่ การรอคอยที่เจ็บปวดกำลังจะจบลงแล้ว สมนึก ยอดยิ่ง เว็บความจริง ดอทคอม kwamging เขียนแบบนี้
 
 

โดย: สมนึ IP: 58.10.170.230 วันที่: 1 มีนาคม 2555 เวลา:1:41:26 น.  

 
 
 
พุทธศาสนา ในความเข้าใจของข้าพเจ้า
นิกายที่ชาวไทยพุทธส่วนใหญ่นับถือ คือ นิกายเถรวาท ที่ยึดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ปรินิพพาน ไปแล้ว และยึดหลักนิพานเป็นอนัตตา แยกเป็นนิกายย่อยสองนิกายที่ยอมรับโดยทั่วไปคือ มหานิกาย กับ ธรรมยุตนิกาย
ศาสดา คือ พระพุทธเจ้า หรือ พระพุทธโคดม เจ้าชายสิทธัตถะ
มีพระธรรมเป็นหลักคำสั่งสอน มีคัมภีร์ พระไตรปิฏก หลักคำสอนคือ อริยสัจ 4
หลักปฏิบัติธรรม ทำจิตให้ผ่องใส ละเว้นความชั่ว กระทำแต่ความดี
และมีพระสงฆ์ เป็นผู้ดำเนินพิธีตามประเพณีวัฒนธรรม และมีพุทธบริษัท4 เป็นผู้สืบทอดและรักษาพระศาสนา
จุดมุ่งหมาย ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงโดยใช้ปัญญา สามารถที่จะอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง
จุดมุ่งหมายสูงสุดคือ การหลุดพ้นจากวัฎจักรการเวียนว่ายตายเกิด หรือ เรียกว่า นิพพาน

การปฏิบัติตนเพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็น ชาวพุทธที่ดี
1. สวดมนต์ มีสมาธิ รักษาศีล
2. ทำบุญตามประเพณีและเทศกาล ให้เหมาะสมตามควร
ความเชื่อตามกาลามสูตร มี๑๐ ประการ
กาลามสูตร เป็นหลักแห่งความเชื่อ ไม่ให้เชื่องมงาย โดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริง ถึงคุณโทษ หรือดี ไม่ดี ก่อนเชื่อ คือ อย่าเพิ่งเชื่อ...
ตามที่ฟังๆ กันมา, ตามที่ทำต่อๆ กันมา,ตามคำเล่าลือ,โดยอ้างตำรา,โดยนึกเดา,โดยคาดคะเนเอา, โดยนึกคิดตามแนวเหตุผล ,เพราะถูกกับทฤษฎีของตน ,เพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้,เพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
เมื่อใด ท่าน ทั้ง หลายพึงรู้ ด้วย ตนเองว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญธรรมเหล่านี้ ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
ปัจจุบัน ได้เกิดแนวคิด และหลักสูตรที่สอน ให้คนมีเหตุผล ไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียว กับคำสอนของพระพุทธองค์ เมื่อ ๒๕๐๐ ปีก่อนบรรจุ ไว้ใน กระบวนการเรียนรู้ใน ประเทศพัฒนา แล้ว เรียกว่า ”การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking)
ความเป็นพุทธ ที่ข้าพเจ้ามีความรู้สึกแปลกๆ สงสัย น่าจะมีใครตอบได้บ้าง
1. นิโรธสมาบัติของพระบางรูป(ทำทำไม ทำไมต้องทำ พระพุทธเจ้าไม่มีประวัติว่าทำ)
2. การสร้างวิหาร
3. นับถือศาสนาพุทธมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาแต่ไปกราบไหว้พระพุทธเจ้าองค์แรก ชื่อ องค์พระปฐม
4. นับถือตุ๊กแก
5. นับถือสัตว์ที่มีร่างกายผิดธรรมชาติ เช่น สองหัว ห้าข้า(ถ้าปกติมี4ขา)
6. ชอบบนบานสานกล่าว
7. ยึดถือโหวงเฮ้ง ฮวงจุ้ย
8. บางทีมีนิกายเพิ่มขึ้นมา เช่น สันติอโศก ธรรมกาย
9. นับถือแม่ชี มีแม่ชีลอยน้ำ มีแม่ชีระลึกชาติได้
10. ชอบติดตามหรือเสาะหาเกจิ หวังว่าจะได้บุญตามนั้น
11. โลภทางบุญ อยากได้บุญเยอะๆๆ
12. เลือกทำบุญกับพระอย่างเฉพาะเจาะจงแบบจริงจัง
13. เข้าใจว่าพระสงฆ์บางรูปที่ทำไม่ดีผิดทางโลกทางธรรมเกี่ยวพันธ์กับศาสนาคิดว่าจะทำให้ศาสนาเสื่อม
14. ผู้ที่ทำบุญ หรือถือศีลบ่อยๆ มักไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่มักจะมองผู้อื่นต่ำต้อยบุญน้อยกว่าตน
แล้วผมจะทำอย่างไรให้เข้าใจได้ทั้งหมด ที่ถูกผมควรนับถือสิ่งใดแบบไหน ปัญญาผมน้อยนิดขนาดนี้ จะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งใดควรหรือไม่ควรปฏิบัติ คิดถูกหรือคิดผิด วิธีไหนเชื่อได้ หรือไม่ควรเชื่อ พระเข้าสมาบัติจริงหรือไม่ ทำไมไม่พิสูจน์จะจะให้เห็นจริงจังให้เป็นวิทยาศาสตร์ ความสงสัยเป็น บาปหรือเปล่า ทุกอย่างใครจะตอบผมได้
มหาเถรสมาคม ผู้รู้มีหลักการ น่าจะมีแนวทางหรือหลักการให้ชาวพุทธ ได้ใช้ในทางปฏิบัติให้เหมือนๆกัน ว่า ควรต้องเป็นอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้ จึงจะถูกต้องตามแนวทางที่เป็นพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีของไทย
 
 

โดย: ผู้สงสัย IP: 223.204.236.55 วันที่: 11 มีนาคม 2555 เวลา:12:19:25 น.  

 
 
 
ความเชื่อเพี้ยนๆนึกว่าจะหมดไปกับการตายของซัน เมียง มูน แล้ว ยังมีคนมาโพสอยู่อีก
 
 

โดย: หนุมพเนจร IP: 124.122.29.108 วันที่: 20 ธันวาคม 2563 เวลา:10:57:22 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

เซียวเล้ง
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ตอนนี้ย้าย Blog หลักไปที่ zeawleng.wordpress.com แล้วนะครับ
[Add เซียวเล้ง's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com