Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 มิถุนายน 2549
 
All Blogs
 
นกจับแมลงคอแดง

นกจับแมลงคอแดง Ficedula parva (Taiga flycatcher) มีความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 13 เซ็นติเมตร มีขนคลุมลำตัวด้านบนสีเทาอมน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีค่อนข้างขาว สีสันรูปร่างคล้ายคลึงกับนกจับแมลงสีน้ำตาลอื่นๆ แต่มีจุดเด่นที่ใช้แยกออกจากนกจับแมลงอื่นๆคือขนคลุมหางซึ่งด้านบนเป็นสีดำสนิท มีขนหางคู่นอกสุดเป็นสีขาวเกือบครึ่งของขน ทำให้เวลามองไปแล้วเหมือนกับว่าสีขาวจากลำตัวด้านล่างจะยาวมาถึงครึ่งหนึ่งของหาง ในชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์ นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน แต่ในชุดขนฤดูผสมพันธุ์ นกตัวผู้จะมีขนใต้คอเป็นสีส้มปนแดงสดใส ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสามัญ







คู่มือดูนกภาษาอังกฤษทั้งสองฉบับที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยคือ A Guide to the Birds of Thailand โดยนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล และ Philip D. Round และ A Field Guide to the Birds of Thailand โดย Craig Robson ให้ชื่อสามัญของนกชนิดนี้ว่า Red-throated Flycatcher แต่ต่อมาพบว่าชนิดย่อยที่พบอพยพเข้ามาในประเทศไทยช่วงฤดูหนาวเป็นชนิดย่อยที่มีชื่อเรียกว่า Taiga Flycatcher สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทยจึงประกาศเปลี่ยนมาใช้ชื่อดังกล่าว








นกจับแมลงคอแดงที่พบในประเทศไทย เป็นนกที่อพยพนอกฤดูผสมพันธุ์มาในฤดูหนาว ตั้งแต่ราวเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป โดยในช่วงต้นฤดูอพยพ และปลายฤดูอพยพ จะเป็นช่วงเวลาที่นักดูนกจะได้เห็นคอสีแดงอมส้มของนกชนิดนี้ เพราะเมื่อเดินทางมาถึง แวะพักรับประทานอาหารสะสมพลังงานไม่นาน นกก็จะผลัดขนเป็นชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์ และเมื่อจะเดินทางกลับ นกจะผลัดขนอีกครั้งและเดินทางกลับไปในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน








ในช่วงที่อยู่ในเมืองไทย เราจะพบนกจับแมลงคอแดงได้ทั่วประเทศ ทั้งในพื้นที่เกษตรกรรม ป่าโปร่ง ชายป่า ป่าละเมาะ สวนสาธารณะ จนถึงระดับสูงประมาณ 2000 เมตรจากระดับน้ำทะเล นกจับแมลงคอแดงมีลักษณะเด่นคือชอบกระดกหางขึ้น ทำให้เห็นสีขาวใต้หางได้ชัดเจน นกจะบินไปจับแมลงแล้วบินกลับมาเกาะที่กิ่งเดิมและกระดกหาง อยู่อย่างนี้เป็นเวลานานๆ ถ้าเราได้เห็นนกชนิดนี้จับแมลงอยู่ก็เย็นใจได้เลยว่าเค้าจะอยู่ตรงนั้นให้ดูอีกนาน โดยปรกติแล้วเราจะพบนกชนิดนี้หากินอย่างโดดเดี่ยวตามกิ่งล่างของต้นไม้ใหญ่หรือตามกิ่งของไม้พุ่ม นกชนิดนี้มีเสียงไม่ไพเราะ คล้ายเสียงเลื่อนใบมีดคัตเตอร์เข้าออกเร็วๆ








ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกจับแมลงคอแดงจะทำรังวางไข่ในเขตสัตวศาสตร์พาเลียอาร์กติกโดยเฉพาะทางตะวันตกของเขตไปจนถึงตอนกลางของทวีปยุโรป และจะอพยพในช่วงฤดูหนาวไปยังอนุทวีปอินเดียยกเว้นตามเกาะชายฝั่ง ภาคใต้ของจีน หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุกประเทศเว้นคาบสมุทรมลายูและสิงคโปร์ แต่อาจพบในมาเลเซียขณะนกอพยพลงใต้ เป็นนกอพยพผ่านของกัมพูชาและภาคตะวันออกของตังเกี๋ย






ข้อมูลจาก //www.bird-home.com



Create Date : 07 มิถุนายน 2549
Last Update : 2 พฤษภาคม 2552 16:03:08 น. 9 comments
Counter : 4887 Pageviews.

 
โอ น่ารักตาแป๋ว
ช่วงนี้ผมงานยุ่งสุดๆ
ตกบล็อกนกน่ารักๆไปตั้งหลายตัวเลยครับ

เดี๋ยวต้องไปไล่คลิ๊กดูซักหน่อย


โดย: เซียวเปียกลี้ วันที่: 10 มิถุนายน 2549 เวลา:19:03:59 น.  

 
แป๋วแหววจริงใจมากค่ะ น่ารักจัง


โดย: ขวัญณิตา IP: 124.120.46.42 วันที่: 15 มิถุนายน 2549 เวลา:13:59:58 น.  

 
น่ารักดีครับ


โดย: เ ม ฆ ค รึ่ ง ฟ้ า วันที่: 17 มิถุนายน 2549 เวลา:0:35:36 น.  

 
น่ารักมากค่ะ ชอบดวงตากลม ดำขลับ นิ่งเป็นบ้าเลย ไม่เห็นแววขี้สงสัยเลยแฮะ!


โดย: Noklek IP: 58.181.178.237 วันที่: 16 กรกฎาคม 2549 เวลา:13:26:40 น.  

 
ไม่เยเห็นแบบจะ จะ สักที.....ต้องหาดู ตัวจริงอีกครั้งครับ


โดย: hanvut IP: 193.131.2.146 วันที่: 22 กรกฎาคม 2549 เวลา:7:16:37 น.  

 
น่ารักมากค่ะ


โดย: เดือน IP: 124.121.139.250 วันที่: 1 มกราคม 2550 เวลา:22:45:22 น.  

 
อ่านไม่ออก


โดย: 555+ IP: 125.27.77.89 วันที่: 6 กันยายน 2550 เวลา:16:20:10 น.  

 
ชอบมากเลยคับ สวยดี


โดย: jos นักอนุรักษ์ *--* IP: 125.26.239.173 วันที่: 4 ตุลาคม 2550 เวลา:14:00:35 น.  

 
นกก็สวยดีน่ะคับไม่เคยเเห็น


โดย: ganthanit IP: 58.9.237.94 วันที่: 2 มีนาคม 2554 เวลา:21:42:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.