เราคัดสรรบริษัทประกันคุณภาพเพื่อคุณ ด้วยทางเลือกที่เหมาะสมในราคาที่คุณพึงพอใจ
|
|||
ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันภัยต่าง ๆ
แผนประกันที่คัดสรรแล้ว คุ้มครองได้คุ้มค่า เบี้ยประกันไม่แพงครับ
[คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่หน้าเว็บหลักและดูข้อมูลเพิ่มเติม] 3 ปัญหาหลักในชีวิตของคนเรา และการประกันจะเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
3 ปัญหาหลักในชีวิตของคนเราคือ
- อายุยืนเกินไป (Live Too Long) - ตายเร็วเกินไป (Die Too Soon) - ทุพพลภาพ หรือตายทั้งเป็น (Living Death) (1) อายุยืนเกินไป ประกันชีวิตเป็นสินค้าของทุก ๆ คน แต่สำหรับคนทั่วไปมักไม่สนใจประกันชีวิต ประกันชีวิตนั้นแตกต่างจากประักันวินาศภัย ประกันชีวิตคือเงินสด ประกันชีวิตคือการเก็บเงิน ประกันชีวิตคือ เงินสดก้อนหนึ่งที่จะถูกส่งมอบในวันข้างหน้าให้กับตัวเราเอง หากเรายังอยู่ในวันครบสัญญา หรือหากจากไปก่อน คนในครอบครัวที่เราได้กำหนดไว้ก็จะเป็นผู้รับไปแทน ในปัจจุบันคนทำงานส่วนมาก จะเกษียณที่อายุ 60 ปี ถ้ามีฝีมือดีอาจจะได้รับการต่ออายุการทำงานต่อไปได้อีก 5-10 ปี ดังนั้นจะเห็นได้ว่าหลังจากที่เกษียณอายุไปแล้ว เราส่วนใหญ่จะต้องอยู่ไปอีกมากกว่า 15 ปีขึ้นไป และ 15 ปีที่ว่านี้เป็นการ "อยู่เพื่อใช้เงิน" ไม่ใช่อยู่เพื่อหาเงิน - แล้วตัวเราได้เตรียมพร้อมทางด้านเงินเกษียณไว้หรือยัง ? - แล้ววันนี้ตัวเรามีเงินในบัญชีเหลืออยู่เท่าไหร่ ? - แล้วถ้าเราวางแผนที่จะเกษียณเร็วกว่าปกติทั่วไป เงินที่เตรียมไว้ใช้หลังเกษียณ จะเพียงพอหรือไม่ ? ตัวอย่าง : คุณผู้หญิงวัยทำงาน อายุ 30 ปี วางแผนไว้ว่านอกจากฝากเงินกับธนาคารและลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ แล้ว ยังต้องการเงินก้อนพิเศษตอนเกษียณอายุ 60 ปี อีกอย่างน้อย 2 ล้านบาทจากแหล่งเงินออมอื่น ๆ ที่ไม่เสี่ยงเกินไปเช่นซื้อประกันชีวิต เพราะจะได้มีวินัยในการออมเงิน ได้ลดหย่อนภาษี และยังได้รับความคุ้มครองตลอดสัญญาอีกด้วย (ได้ประโยชน์สูงถึง 3 อย่าง) โดยหวังว่าเงินก้อนพิเศษ 2 ล้านนี้ จะได้นำมาใช้จ่ายหลังเกษียณประมาณเดือนละหมื่น ซึ่งจะใช้ยังชีพหลังเกษียณต่อได้อีกประมาณ 16 ปี เราจะวางแผนประกันกรณีนี้อย่างไรดี คำแนะนำ :: ดังนั้นการประกันชีวิตแบบเน้นสะสมทรัพย์ น่าจะช่วยได้ในกรณีนี้ โดยซื้อแบบประกันสะสมทรัพย์ในวงเงินทุนประกัน 1.2 ล้านบาท เมื่อครบกำหนดเกษียณอายุ มูลค่าเงินสดและผลตอบแทนจากกรมธรรม์จะทำให้เรามีเงิน 2 ล้านบาท คือเพิ่มขึ้น 66% ได้อย่างสบาย ๆ ไม่มีความเสี่ยง โดยจ่ายเบี้ยประกันปีละประมาณ 37,000 บาท (หรือเฉลี่ยเดือนละ 3,000 บาท หรือเฉลี่ยวันละ 100 บาท) โดยที่ยังได้ความคุ้มครองชีวิตอีก 1.2 ล้านบาทถึงเกษียณอายุ ไม่มีค่าใช้จ่าย เหมือนได้่ความคุ้มครองมาฟรี ๆ นอกจากนี้ทุกปีที่ชำระเบี้ยประกันชีวิต ยังได้ลดหย่อนภาษีอีกด้วย หากฐานภาษีอยู่ที่ปีละ 20% ก็จะได้เงินคืนภาษีกลับมาอีกปีละ 7,400 บาท (37,000 x 20%) เป็นผลตอบแทนสูงที่ได้เพิ่มอีก โดยไม่มีความเสี่ยงเลย บางคนก็ทำได้ บางคนก็ทำไม่ได้ บางคนบอกว่ามันมากเกินไป ก็ต้องถามตัวเองกลับว่ายังต้องการเงินเกษียณ 2 ล้านบาทอยู่หรือไม่ ยังต้องการเงินยังชีพเดือนละหมื่นหลังเกษียณต่อไปอีก 16 ปีหรือไม่ ถ้ายังไม่พร้อมที่จะเก็บเงินจำนวนนี้ ก็ลดเป้าหมายเงินเกษียณก้อนนี้ลงได้ คุณตัดสินใจเองได้เลย บางคนก็ไม่อยากลดรายได้ในอนาคตของตัวเอง มีวิธีแก้ไขที่ง่ายและรวดเร็วก็คือ เริ่มต้นบางส่วน ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย เช่น เริ่มเก็บออมสักครึ่งนึง คือวันละ 50 บาท ถ้าทำได้ ทุกอย่างก็ลงตัว แล้วในอนาคตเมื่อเข้ารูปเข้ารอย ก็ค่อยทยอยเพิ่มเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเกษียณที่วางแผนไว้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ คนที่เริ่มลงทุนหรือเก็บเงินช้า ผัดวันประกันพรุ่งอยู่เรื่อย จะต้องเก็บเงินมากกว่า และได้ผลลัพธ์น้อยกว่า คนที่เริ่มลงทุนหรือเก็บเงินเร็วและทำแบบจริงจัง เหมือนกับวลีที่เราได้ยินบ่อย ๆ ว่าออมก่อนรวยกว่านั่นเอง (2) ตายเร็วเกินไป เรื่องนี้เป็นจุดแข็งของการประกันชีวิต เราจะเริ่มต้นด้วยวิธีการหาทุนประกันที่จำเป็นสำหรับตัวเอง โดยการอนุรักษ์เงินต้น (Capital Conservation) ปกติแล้วเรามักคำนวณหาทุนประกันจากรายได้ของครอบครัว และภาระหนี้สินต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ครอบครัวที่มีหัวหน้าครอบครัวหารายได้คนเดียว ภรรยาเป็นแม่บ้าน มีบุตร 2 คน อายุ 5 ขวบและอายุ 3 ขวบ จะมีค่าใช้จ่ายในบ้านรวมกับทุนการศึกษาของลูกทั้ง 2 คน เป็นยอดเงินสักเท่าไหร่ ภายใน 20 ปี แต่ถ้าหัวหน้าครอบครัวต้องจากไปก่อนในวันนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับครอบครัวเขา ภรรยาซึ่งไม่เคยทำงานนอกบ้านมานานแล้วจะหางานได้อย่างไร ถ้าคุณเป็นหัวหน้าครอบครัว คุณต้องการรับประกันรายได้ของครอบครัวไว้ตลอดไปหรือไม่ ? วิธีอนุรักษ์เงินต้นก็คือ หาทุนประกันชีวิตที่มากพอ เมื่อหัวหน้าครอบครัวจากไป ก็นำเงินประกันชีวิตที่ได้รับ นำไปฝากธนาคาร/นำไปลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ แล้วใช้เฉพาะดอกผลที่ได้รับ โดยไม่แตะต้องเงินต้นเลย ครอบครัวก็จะมีเงินใช้ตลอดไป แนวคิดนี้ใช้ได้ดีกับครอบครัวที่ภรรยาไม่ได้ทำงาน และหัวหน้าครอบครัวที่มีกรมธรรม์อยู่บ้างแล้วแต่ไม่มาก หรือไม่เพียงพอ ซึ่งทุนประกันชีวิตที่น้อยเกินไปอาจถูกใช้หมดไปในเวลาอันรวดเร็ว แล้วครอบครัวคุณจะอยู่ต่อไปได้อย่างไร ? - เมื่อคุณแต่งงาน คุณได้สัญญาว่าจะดูแลภรรยาและลูกไปตลอดชีวิตหรือไม่ ? - ประกันชีวิตที่คุณมีอยู่ เพียงพอที่จะดูแลพวกเขาไปตลอดชีวิตหรือไม่ ? (3) ทุพพลภาพ หรือตายทั้งเป็น ถาม :: สินทรัพย์ที่มีค่าสูงสุดในตัวคุณคืออะไร ? ตอบ :: ก็คือความสามารถในการหารายได้ของตัวเรา ถามต่อ :: คุณเคยคิดไหมว่าตัวคุณมีค่าตัวสักเท่าไหร่ ? ตอบต่อ :: ?!? พวกเราเคยคำนวณมูลค่าของตัวเราเองบ้างหรือเปล่า ? สองมือและสมองของเรานี้ได้ทำเงินให้เรามาแล้วเท่าไหร่ และจะทำได้อีกเท่าไหร่ในวันข้างหน้า ? แล้วหากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพต่าง ๆ มาตัดรอนการหารายได้ของเราในวันนี้ แล้วเราจะมีค่าตัวเหลือเท่าไหร่ในวันข้างหน้า จะเพียงพอที่จะใช้ดูแลตัวเองต่อไป รวมถึงดูแลภรรยาและลูก ๆ ต่อไปได้หรือไม่ ? เราอาจใช้กรมธรรม์ประกันภัยโรคร้ายแรงและทุพพลภาพ โดยให้มีทุนประกันเท่ากับรายได้ีอย่างน้อย 6 ปี เพื่อจะได้มีเงินใช้ในการดำรงชีวิตเมื่อป่วยหรือพิการ บางคนอาจจะได้เตรียมไว้บ้างแล้ว แต่อยู่ในรูปของประกันสุขภาพที่จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่เพียงพอ เพราะยังต้องมีชีวิตอยู่อีกนาน และมีค่าใช้จ่ายสูง ยกตัวอย่างเช่น คนที่เป็นมะเร็งต่างรู้ดีว่า จะมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนเพียง 2 ทางเท่านั้น ทางแรกคือรักษาตัวจนหาย หรือในที่สุดก็ต้องจากไป แต่โชคร้ายที่คนเป็นมะเร็งส่วนมากมักจะตายหลังจากรักษาตัวอยู่ 3-5 ปี ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายมาก ดังนั้นการเตรียมความพร้อม ในขณะที่ร่างกายเรายังแข็งแรงและมีสุขภาพดี ก็คือซื้อประกันโรคมะเร็ง โรคร้่ายแรงและทุพพลภาพ ประกันอุบัิติเหตุแบบชดเชยรายได้ โดยให้ทุนประกันคุ้มครองเท่ากับรายได้ 6 ปี สรุปการประกันชีวิตแบบคุ้มครองความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ควรมีไว้ เพื่อแก้ 3 ปัญหาหลัก : 1. อายุยืนเกินไป (Live Too Long) - ประกันชีวิตแบบที่เน้นสะสมทรัพย์ (Endowment) - ประกันชีวิตแบบควบการลงทุน (Unit Link) 2. ตายเร็วเกินไป (Die Too Soon) - ประกันชีวิตที่เน้นความคุ้มครองชีวิตสูง (Life Plan) 3. ทุพพลภาพ หรือตายทั้งเป็น (Living Death) - ประกันภัยโรคมะเร็ง (Cancer Insurance) - ประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illness Rider) - ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident Insurance) - ค่าชดเชยรายวันเมื่อเข้าโรงพยาบาล (Hospital Cash) - ชดเชยรายได้จากทุพพลภาพ (Disability Income) - ประกันสุขภาพสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล (Health Insurance) รูปแบบพื้นฐานในการวางแผนการการเงิน
สิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้คือ มีคนล้มละลาย หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัวมากมาย เพราะไม่ได้วางแผนการเงิน แนวโน้มเช่นนี้ทำให้งานของตัวแทนประกันชีวิตมีความสำคัญมากขึ้น แม้เราจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในการลงทุน แต่เราสามารถเสนอแนวทางพื้นฐานของการลงทุนได้อย่างเข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
1. ออมเงินในธนาคาร (Bank Saving) ในฐานะที่ปรึกษาด้านประกันชีวิต เราวางตัวเป็นกลาง ที่พูดถึงเรื่องการฝากธนาคารก่อนเป็นขั้นตอนแรก เพราะถ้าเราตกงานสัก 3 เดือน บริษัทประกันไม่ได้จ่ายอะไรให้ แผนการเงินที่ดีจึงต้องมีความยืดหยุ่น โดยเตรียมเงินออมไว้อย่างน้อยเท่ากับรายได้ประมาณ 6 เดือน แต่ถ้าจะให้ดีต้องหนึ่งปีถึงหนึ่งปีครึ่ง โดยเฉพาะคนที่เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัย เริ่มทำงานใหม่ ๆ ต้องออมเงินในธนาคารก่อน 2. ประกันคุ้มครองต่าง ๆ (Guaranteed Protection) เป็นขั้นตอนที่สอง คือการคุ้มครองรายได้ของตนเองและครอบครัว ในกรณีทุพพลภาพหรือจากไปก่อน ถ้าถามว่าสินทรัพย์ที่มีค่าสูงสุดของเราคืออะไร ? สินทรัพย์ที่มีคุณค่าสูงสุดคือ ความสามารถในการหารายได้ของคนเรา ซึ่งควรจะได้รับการคุ้มครองให้แน่นอน 3. ออมเพื่อเกษียณอายุ (Retirement Saving) เมื่อมีความคุ้มครองรายได้เพียงพอแล้ว จึงจะวางแผนต่อไปถึงเงินออมที่ต้องการหลังเกษียณอายุ 4. การลงทุน (Investment) ถึงขั้นนี้เราก็พอจะรับความเสี่ยงได้บ้างแล้ว สามารถนำเงินบางส่วนไปลงทุนเพื่อให้งอกเงยขึ้น 5. การเก็งกำไร (Speculation) ขั้นนี้สำหรับคนที่ตระเตรียมเงินออม เงินฉุกเฉินรองรับไว้อย่างเพียงพอแล้ว แล้วยังรับความเสี่ยงในการลงทุนได้สูงขึ้น เช่นนำไปซื้อหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตสูง หรือวัตถุมีค่าต่าง ๆ บัญญัติ 10 ประการ เพื่ออนาคตทางการเงินที่สดใสของคุณและครอบครัว
คุณวางแผนการเงินเพื่ออนาคตหรือยัง ? ประเมินดูว่าคุณวางแผนได้ดีเพียงใด จากรายการต่อไปนี้
1. จัดทำงบประมาณรายเดือน 2. มีเงินสำรองฉุกเฉินเท่ากับรายได้ 6 เดือน 3. กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการเงินอย่างชัดเจน 4. รู้มูลค่าทรัพย์สินและหนี้สินของตนเอง 5. มีแผนที่ดีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการเงินของตัวเอง 6. ตัวเองและครอบครัว มีความคุ้มครองจากการประกันต่าง ๆ อย่างพอเพียง เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันโรคร้ายและประกันการสูญเสียรายได้ 7. รู้ว่าจะมีเงินเกษียณอายุจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ,ประกันสังคม เท่าไหร่เมื่อเกษียณอายุ 8. รู้ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ เมื่อเกษียณอายุ และเิริ่มเก็บเงินเพื่อกองทุนเกษียณอีกก้อนหนึ่ง 9. แบ่งเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนต่อ เพื่อให้เงินเติบโต 10. ทบทวนแผนการเงินอย่างสม่ำเสมอ หลักพื้นฐานในการลงทุน
- กำหนดวัตถุประสงค์ในการลงทุน และกรอบเวลาที่ลงทุน
- พิจารณาระดับความเสี่ยงที่คุณรับได้ และอัตราผลตอบแทนที่คุณต้องการ - กระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ให้เหมาะสม - พิจารณาการลงทุนที่หลากหลาย หาที่ปรึกษาการลงทุนมืออาชีพ - พิจารณาค่าธรรมเนียมของการลงทุนที่คุณเลือก - ติดตามตรวจสอบการลงทุนอย่างใกล้ชิด และทบทวนเป้าหมายในการลงทุนเป็นระยะ ๆ |
หมีพูหมูพี
Rss Feed ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?] บริการแผนประกันที่คุ้มค่า ติดต่อ : CHAIJIT@hotmail.com โทร. : 086-3914220 Web : http://CHAIJIT.blogspot.com Group Blog All Blog
|
||
Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved. |