มันเริ่มมาจากที่ใครสักคน คัดลอกแนวคิดในหนังสือแนวข้อคิดชีวิตฝรั่ง เล่มหนึ่ง (หนังสือ และตัวอย่างคำสอนปรากฎท้ายบทความฉบับนี้) รวมไว้สามสิบหกข้อ แล้วตั้งชื่อว่า ๓๖ แผนที่ชีวิตพ่อ จากนั้นด้วยการใดไม่ปรากฏ ข้อความนั้นกลายเป็นอีเมล์ที่ฟอร์เวิร์ดโต้ตอบไปมา และเมื่อใครสักคนอุตริไปเติมชื่ออีเมล์เป็นว่า ๓๖ แผนที่ชีวิตพ่อหลวง เรื่องก็พลันบิดเบี้ยวแบบน่าใจหาย และล่าสุด ด้วยฝีมือของผู้ใดและเจตนาใดไม่ปรากฏก็กลายมาเป็น ๓๖ แผนที่ชีวิตพ่อหลวง พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นความบิดเบี้ยวดังกล่าวก็บานปลายออกไปทุกที ทางหนึ่ง ฟอร์เวิร์ดเมล์ดังกล่าว (ที่เติมความจนกลายเป็นพระราชดำรัสแล้ว) ถูกนำ ไปใช้เพื่อโฆษณาจูงใจของกิจการขายตรงแบบหาลูกข่ายหลายแห่ง ด้วยในข้อความดังกล่าว มีหลายข้อที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการนั้น เช่น คนไม่รักเงิน คือคนไม่รักชีวิต หรือ ดวงดาวอยู่สูง ถ้าอยากเก็บต้องหาบันไดสูงมาปีนป่าย ซึ่งเข้ากับแนวคิด ของธุรกิจที่มุ่งเน้นเงินเป็นใหญ่ หรือการตะกายขึ้นที่สูงด้วย วิธีการ บางอย่าง บางก็ถึงกับนำไปพิมพ์ลงในหนังสือของ หน่วยงาน ขององค์กรตนเองทางที่สอง มีผู้นำข้อความดังกล่าวไปพิมพ์เป็นโปสเตอร์ พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จย่าบ้าง กับสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ บ้าง จำหน่าย หรือเผยแพร่เพื่อการบูชาเยี่ยงวัตถุมงคล โปรดดูตัวอย่าง
ฉันบอกทุกคนไว้แบบนั้นเสมอ เพราะหลายต่อหลายครั้งที่ตรวจสอบก็จะพบว่ามีความจริงอยู่น้อยมากถึงมากที่สุด
แต่ไม่รู้ทำไมทุกคนถึงเชื่อฟอร์เวิร์ดเมล์กันนักหนา
เชื่อแล้วยังฟอร์เวิร์ดต่อๆไปอีกต่างหาก
กรณีศึกษา โจรนินจา กับ สองนาวิกโยธิน ก็น่าจะเป็นอะไรที่อธิบายได้ด้วยทฤษฎีฟอร์เวิร์ดเมล์
ถ้าเรายังเป็นคนหนึ่งที่เชื่อในฟอร์เวิร์ดเมล์และส่งมันต่อไปให้คนอื่น
เราก็เปรียบดั่งชาวบ้านระแงะ ตันหยงลิมอ เพียงแต่ช่องทางการสื่อสารได้เปลี่ยนรูปแบบไปเท่านั้นเอง