|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
 |
1 พฤศจิกายน 2549
|
|
|
|
XบทความพิเศษX ไทจี๋หย่งเจี๊ย ตระกูลหยาง ตอนที่2
ผมแปลจาก "บทสัมภาษณ์ อจ. หลี่เหลียน ผู้สืบทอดรุ่นที่6 ของหย่งเจี๊ย หรือ ชุดการใช้งาน ของมวยไทจี๋" โดย จ้าว ลี่เฉิง
บทความนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก อจ. เหลียง เวปมวยภายใน ขอบคุณครับ
ผมจะเริ่มสัมภาษณ์อจ.หลี่เหลียนในตอนนี้ ต่อไปนี้คือบทสนทนาของเรา
จ้าว ลี่ชาง - ก่อนหน้านี้มีบทความหนังสือ เทป และวีดีโอมากมาย เกี่ยวกับ มวยไทจี๋แบบเล็ก ของตระกูลหยาง ถูกเผยแพร่ออกมา แต่น่าเศร้ามาก ที่ผมไม่เคยได้เจอคนที่ฝึกมันจริงๆ
บางคนบอกว่า มวยชุดนี้พัฒนาขึ้นโดยท่านหยางปันโหว แต่บางคนก็บอกว่า นั่นไม่ใช่ มวยไทเก๊กล้วนๆแต่มีส่วนผสม ของมวยยาว อยู่ด้วย บางคนก็บอกว่ามันเป็น มวยเร็วไทจี๋ มีความเห็นหลากหลายในเรื่องนี้ จนเป็นการยากที่จะคิดว่าใครถูก
นานมาแล้ว ผมเคยได้ยินว่าคุณเรียนมวย จากท่านอู๋ถูหนาน ผู้โด่งดัง และ มวยไทจี๋ แบบเล็กของคุณก็ยอดเยี่ยมมาก มันเป็นความจริงหรือเปล่า รบกวนคุณช่วยบอกพวกเราได้ไหมครับ ว่า คุณเรียนมวยชุดนี้มาได้อย่างไร ใครเป็นคนพัฒนามวยชุดนี้ขึ้นมา และมัน มีลักษณะเฉพาะอย่างไรบ้าง
ผู้แปล...ดูแก เกริ่นซะกว่าจะเข้าคำถามได้..
หลี่เหลียน - ผมเองก็เคยเห็นหนังสือ และวีดีโอ มวยไทจี๋แบบเล็กมาบ้างเหมือนกัน แต่ผมคิดว่า มันแตกต่างกันอย่างมาก จากแบบที่ผมฝึกมาจาก อจ.อู๋ถูหนาน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากท่านหยางเส้าโหวมาก
ผมโชคดีมาก ที่ได้เรียนกับท่านอู๋ถูหนาน ในช่วยปลายของปี 1960 ดังนั้นผมถึงเข้าใจ ถึงโฉมหน้าที่แท้จริงของมวยชุดนี้
มวบไทจี๋แบบเล็ก ความจริงแล้ว ควรจะเรียกว่า "ชุดการใช้ของมวยไทเก็ก" ถึงจะถูกต้องกว่า เพราะในความเป็นจริงแล้ว มวยชุดนี้ คือการสอนวิธีการใช้งานของมวยไทจี๋ให้เรานั่นเอง
บ่อยครั้ง ที่คนมักจะเข้าใจผิดว่า มวยชุดนี้ พัฒนาโดยท่านหยางปันโหว เลยเรียนมวยชุดนี้ว่า "ชุดรำ ท่านปันโหว" และอื่นๆ ซึ่งนั่นเป็นการเข้าใจผิด
แท้จริงแล้ว มวยชุดนี้ เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อน ที่ท่านหยางลู่ฉานมาถึงปักกิ่ง ยังมีบันทึกเกี่ยวกับมวยชุดนี้ อยู่ที่บ้าน ของ ท่านจาง เฟิงฉี ซึ่งเป็นเจ้าของร้านเถียนอี้ ผู้ผลิตซีอิ้วรายใหญ่ ซึ่งท่านหยางได้มาพัก และสอนมวยอยู่ที่นี่ ตอนที่ท่านมาเพิ่งมาถึงปักกิ่งใหม่ๆ

บันทึกนั้นเขียนไว้ว่า
"ไทจี๋กงฟู ประกอบไปด้วย Beng : Tilt, Zhuo : peck, Na : Seize, Pi: Split, Peng : ward off Lu : Deffect Ji : Shove An : Press Cai : Grab Lie : yank Zhou: Elbow strike Kao: Shoulder Strike Heng : a shout when practicing Ha : a shout when practicing Hu : Breathe out Xi : Breathe in Dian : point Ji : Beat Tui : Push Gou : Hook Gua : Hang Dou : Shake Tan : Spring Cuo : Scrub or issue power from the center of palm to tip of the finger Zhe : break Gun : Roll Shuai : swing Qiajin : Nip tendon Qiemai : cut pulse Bixue : Close accupoint Duanqi : Stop qi Lou : burst Lingkong : พลังทะยานฟ้า"
ผู้แปล-รายละเอียด ตอนที่ท่านหยางมาอยู่กับตระกูลจาง อ่านได้ในบทความของท่านอู๋ถูหนาน ในเวปไทจี๋ฉางชุนถังครับ
จ้าว - คุณรู้เรื่องบันทึกนี้ได้ยังไง..?
อจ.หลี่- อจ.อู๋ถูหนานเป็นคนบอกผมเอง สมัยก่อน ขณะที่ท่านสอนอยู่ใน โรงเรียนประถม ว่านอัน ที่เนินกลิ่นหอม ตอนท่านเพิ่งมาอยู่ปักกิ่งใหม่ๆ ท่านสนิทกับทายาทรุ่นต่อมาของ ท่านจางเฟิงฉีมาก
ดังนั้นท่านถึงได้รับ หนังสือ บทความของท่านจางมา บันทึกเล่มนี้ เขียนด้วยลายมือท่านจางเฟิงฉี และ ท่าฮั่วเต๋อฉาน ตอนที่พวกท่านเรียนมวยไทจี๋ จากท่านหยางลู่ฉาน
ในวันที่ 24 กรกฎาคม 1982 อจ.อู๋ ได้เล่าให้อจ.ของผม อจ.หม่าหยงชิงฟังว่า
"หลังจากออกจากหย่งเหนียนในเหอเป่ย มาถึงปักกิ่ง อจ.หยางได้รับเชิญให้ไปเป็นหัวหน้าหัวหน้าครูฝึกของค่ายเสินจี้ ครูฝึกทหารราชองค์รักษ์ในวัง และท่านได้รับฉายาว่า หยางอู๋ตี้"
"ในเวลานั้น มีอาจารย์กังฟูที่มีชื่อเสียงมากมาย สอนอยู่ที่นั่น อย่างเช่น อจ.ตงไห่ชวน ปรมาจารย์ ฝ่ามือแปดทิศ กว๋อหยุนเชิง อจ.มวยสิงอี้... หลิวซื่อจวิ้น แห่งอำเภอเสียง อจ.มวยตระกูลเยี่ย โจวต้าหุยและ ต้าเสียงจื่อ อจ.ซุยเจียว
"ทำไมอจ.หยางถึงได้รับเกียรติสูงส่งเช่นนี้ มันไม่ใช่เรื่อง่ายเลย สำหรับมวยไทจี๋ ที่จะได้รับ ความเชื่อถืออย่างมากในสภาวะการเช่นนั้น ที่ซึ่งมีอจ.มวย ชื่อดัง จากหลายสำนัก ที่แตกต่างกันมาอยู่รวมกันในค่าย"
"แม้อจ.หยางจะได้รับการสนับสนุน จากผู้มีตำแหน่งสูง แต่ฝีมือกังฟูของท่าน เป็นปัจจัยสำคัญมากกว่าอย่างอื่น เพราะท่านต้องรักษาหน้าเอาไว้ให้ได้ เมื่อมีอาจารย์มวยมากมาย มาขอท้าประลอง"อจ.อู๋กล่าว
"ฉันเรียนไทจี๋ฉวนจากอจ.อู๋เจี้ยนเฉวียนอยู่8ปี ตอนฉันยังเด็ก จากนั้นจึงได้เรียนกับ อจ.หยางเส้าโหวอีก4ปี อจ.หยางเส้าโหวนั้น ท่านได้รับการสั่งสอน จากท่านหยางปันโหว ซึ่งเป็นพี่ชายของท่านหยางเจี้ยนโหว ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูง ในยุคใหม่"

"อจ.หยางเส้าโหว เป็นคนมีบุคลิกแปลกประหลาด และเข้มงวดมากในการรับศิษย์ ถ้าท่านคิดว่า คนไหนดูไม่มีแวว ท่านจะไม่สอน
ดังนั้น ท่านจึงมีผู้สืบทอดวิชาไม่มากนัก อย่างเช่น - ท่านเถียนเส้าหลิน ท่านหยูจื้อซู่ ท่าน ต่งเหลินฟาง ท่านปาเหลินจื้อ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นหม่าเหลินจื้อ) และตัวฉัน"
"ทุกคนล้วนตายไปหมดแล้ว ยกเว้นฉัน ตอนนั้นฉันใช้ชื่อมองโกล คือ อู๋ ลา ปู้ ภายหลัง ท่านได้รับศิษย์อีกคนคือ หลิวซีเหอ ซึ่งเป็นผู้ปราชเปรื่อง ในวิชาช่างโลหะ ภายหลัง ได้เป็นผู้อำนวยกการแผนกช่างโลหะ ของมหาวิทยาลัง ชงชิง"
"ตอนที่ฉันเรียนมวยจากท่านหยางเส้าโหวนั้น ฉันได้ถามท่านถึง ข้อแตกต่าง หรือข้อขัดแย้ง ระหว่าง ท่านหยางลู่ฉาน ลูกชายทั้งสอง กับ อจ.ต่างๆ ในแวดวงยุทธจักร ในตอนที่ อจ.หยางลูฉาน เพิ่งมาถึงปักกิ่งใหม่ๆ ท่านหยางเส้าโหวกล่าวว่า "พวกเขา มากันไม่รู้จบสิ้น"ผู้แปล- หมายถึง มาขอท้าประลอง..
"อย่างไรก็ตาม ทำไมมวยไทจี๋ ซึ่งทั้งนุ่มนวลและเชื่องช้า ถึงได้ก่อร่างสร้างสำนักของตนขึ้นมาได้ ทั้งที่อยู่ท่ามกลาง สำนักมวยหลากลาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ เต็มไปด้วยพละกำลัง เคลื่อนไหวรวดเร็ว และโจมตีได้รุนแรงหนักหน่วง..? มันต้องมีเหตุผลที่เหมาะสม.."

"ฉันได้ถามอจ.หยางเส้าโหวถึงเรื่องนี้ ท่านบอกว่า มีชุดฝึกที่แตกต่างกันอยู่สองแบบในมวยไทจี๋ ชุดนึงนั้นได้ถ่ายทอดกันทั่วไปมาจนถึงเดี๋ยวนี้ อย่างหนึ่งนั้นคือคือ ชุดที่เราฝึก นั่นคือ แบบเล็ก มวยชุดนี้ ท่านหยางลู่ฉานผู้ซึ่งเข้าใจในจิตวิญญาณ ของมวยไทจี๋อย่างที่สุด ได้ใช้เวลาหลายปี ในการศึกษา และร้อยเรียงขึ้น ท่านเรียกมวยชุดนี้ว่า หย่งเจี๊ย หรือ มวยชุดการใช้งาน"
มวยชุดใช้งานหมายความว่า มันเป็นชุดที่ผสานวิธีการใช้งาน และหลักการอันซับซ้อนทั้งหมดเอาไว้ด้วยกัน
นั่นหมายความว่า ก่อนจะฝึกมวยชุดนี้ ควรจะฝึกจ้าวกง (การเคลื่อนไหว) จินกง (พลัง) ซงกง( การผ่อนคลาย) และ ชี่กงเสียก่อน และประสานทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียว เพาะชี่ให้ไหลเวียนไปทั่วร่างอย่างนุ่มนวลลื่นไหล จากนั้น จึงชักนำชี่ ให้นำพาเลือดไหลเวียน ไปตามเส้นเลือด ที่ส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆ จากนั้นชี่และเลือด จะไปกระตุ้นการทำงานของร่างกาย จากภายใน สู่ภายนอก
ผลก็คือ จะทำให้ผู้ฝึกอยู่ในสถานะ ที่คล่องแคล่ว หนักแน่นมั่นคง ราบรื่นปลอดโปร่ง และผ่อนคลาย ในทุกๆอิริยาบถ
ร่างกายทั้งหมดจะเบาคล่องและยืดหยุ่น ปราศจากการติดขัด ดังนั้นมันจึงเต็มไปด้วย ชีวิตชีวา และเปี่ยมไปด้วยพลัง
จ้าว - อะไรเป็นข้อแตกต่างระหว่าง มวยชุดการใช้ กับ มวยชุดอื่นทั่วๆไป.?
หลี่ - มวยไทจี๋ชุดการประยุกต์ใช้นี้ แตกต่างจากชุดฝึก หรือมวยช้า ท่วงท่าจะแคบ(สั้น) และเล็ก การเคลื่อนไหวรวดเร็ว ใช้พลังอย่างแผ่วเบา ละเอียดอย่างที่สุด ดังนั้นมวยชุดนี้ จึงมักจะถูกเรียกว่า มวยชุดเล็ก หรือ มวยเร็ว
อจ.อู๋ถูหนาน ท่านมันจะกล่าวอยู่บ่อยครั้ง รวมทั้งได้เขียนลงในบทความถึง คำพูดของอจ.หยางเส้าโหว ที่ท่านเล่าให้ฟังว่า
"ปู่ของฉัน (ท่านหยางลู่ฉาน) บอกว่า ต้องทั้งมี ตี้ (รากฐาน หรือ แก่นหลักวิชา) และ หย่ง (วิธีการ หรือ หน้าที่) รวมกันในมวยไทจี๋ นั่นจึงทำให้เกิดความแตกต่าง ระหว่างเพียงการยืดเหยียดแขนขาออก กับ พลังในการรับรู้สัมผัส และ การใช้ความรุนแรง กับ ความลื่นไหล สอดคล้องหนักแน่น"

"เราสามารถแยกความแตกต่างได้ไม่ยาก ระหว่างผู้ฝึกที่ได้รับความสำเร็จ แม้จะฝึกมาเหมือนกัน รำมวยชุดเดียวกัน ฝึกการต่อสู้ หรือ ฝึกการผลักมือมาเหมือนกัน"
มีความแตกต่างอย่างมาก ระหว่างแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น ความสามารถของคนนึงอาจจะสูง อีกคนอาจจะต่ำ บางคนมีกงฝูยอดเยี่ยม บางคนแย่ ระยะเวลาการฝึกฝน ฝึกยาวนานหรือ เพิ่งฝึกใหม่"
"อจ.ควรจะสอนศิษย์ให้เหมาะสมกับทัศนะคติ และความสามารถของศิษย์คนนั้น ใช้วิธีการสอนที่แตกต่างกันในแต่ละคน สำหรับคนทั่วไป ซึ่งต้องการฝึกมวยไทจี๋ เพื่อสุขภาพที่ดี และมีชีวิตยืนยาว แค่เพียงสอน "ชุดฝึก" (มวยช้า) ก็เพียงพอแล้ว
"สำหรับคนจำนวนน้อย ผู้ซึ่งมีร่างกายที่ดีกว่า เราสามารถสอน "ชุดการใช้"ให้ได้ อจ.มากมายในอดีต มักจะไม่สอน "ชุดการใช้" ให้กับใครมากนัก เพราะพวกท่านภูมิใจ ในความลึกลับ ของมวยไทจี๋"
ดังนั้น ท่านหยางลู่ฉาน จึงสอนให้แต่เพียงท่านหยางปันโหว และท่านหยางปันโหว จึงสอนให้แต่ท่านหยางเส้าโหว ท่านหยางเส้าโหว ก็มีผู้สืบทอดไม่กี่คน รวมทั้ง ท่าน อู๋ลาปู้ หรือท่าน อู๋ถูหนาน และแม้ว่าท่านอู๋ถูหนานจะมีศิษย์มากมาย แต่ก็มีน้อยมาก ที่จะได้รับถ่ายทอดทุกอย่างอย่างแท้จริง ท่านอู๋จะเลือก แต่เฉพาะคนซึ่งท่านรู้สึกว่า จะสามารถเปลี่ยนแปลงพัฒนาตัวเองได้อย่างแท้จริงเท่านั้น
****************** ต่อตอน 3 เลยครับ
Create Date : 01 พฤศจิกายน 2549 |
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2549 1:08:42 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1393 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
Ramin&Indra |
|
 |
|
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

|
สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ
มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋ เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่" แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ" หรือ "ไทคะ"อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้ เพื่อโฆษณาสรรพคุณ โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น
มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้ และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต
บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์ ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้
จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ
ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่ ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน
ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ ** กำเนิดมวยไทเก๊ก ** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง ** คำสอนปรมาจารย์ ** ตำนานยอดฝีมือครับ ** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย ** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน
แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ
บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้ ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ
อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
|
|
 |
|