หากมีแต่เพียงท่วงท่าภายนอก ไร้ภายในชักนำ ก็เรียกได้เพียงว่า"รำมวย" ไม่สามารถเรียกว่า "มวยไท่เก็ก"
 
กันยายน 2549
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
30 กันยายน 2549

มวยไทเก๊กตระกูลหยาง สายอจ.หยางเส้าโหว

ไทจี๋วงแคบ สายอจ.หยางเส้าโหว

อย่างที่รู้กันว่า สายท่านหยางเส้าโหวนั้น
หายากมากๆเพราะท่านสอนศิษย์น้อย
ท่ารำของท่านนั้น ว่ากันว่า เป็นแบบเล็ก
หรือเรียกว่าวงแคบ
ซึ่งได้อิทธิพลมาจากท่านลุงของท่าน
คือท่านหยางปันโหว

อย่างไรก็ตามเท่าที่ทราบ ท่านเองก็สอนวงกว้างแบบท่านหยางเฉินฝู่ด้วย ท่ารำวงกว้างจะเป็นเหมือน
ท่ารำเพื่อปรับพื้นฐาน
ต้องฝึกวงกว้างจนกว่าจะมีฝีมือขั้นสูง
จึงจะได้เรียนท่ารำแบบเล็ก และแบบต่อสู้ต่อ
เมื่อท่านรับศิษย์น้อยอยู่แล้ว ก็เลยทำให้
สายของท่านหายากไปด้วย

พอดีผมไปเจอบทความที่เวปนี้ เป็นของฝรั่งที่ไปอยู่ในไต้หวัน เขาพบว่า มีศิษย์ท่านหนึ่ง
ของอจ.หยางเส้าโหว ท่านย้ายไปไต้หวัน ในปี 1941
และเผยแพร่ไทฉีวงแคบของอจ. หยางเส้าโหว อยู่ที่นั่น
ในรูปคือ อจ. Xiong Yang He ครับ



//chessman71.wordpress.com/2006/05/15/yang-shao-hous-taiji/


คลิปท่ารำโหลดได้ที่นี่ จะมีมากกว่าในลิงค์บทความ
อจ.ที่รำ ผมไม่ทราบชื่อ

//www.bone.idv.tw/Non_Travel/Martial-Art/Movie/Ye/av208-1.wmv

//www.bone.idv.tw/Non_Travel/Martial-Art/Movie/Ye/av208-2.wmv

//www.bone.idv.tw/Non_Travel/Martial-Art/Movie/Ye/av208-3.wmv

//www.bone.idv.tw/Non_Travel/Martial-Art/Movie/Ye/av208-4.wmv

//www.bone.idv.tw/Non_Travel/Martial-Art/Movie/Ye/av208-5.wmv

//www.bone.idv.tw/Non_Travel/Martial-Art/Movie/Ye/av208-6.wmv

//www.bone.idv.tw/Non_Travel/Martial-Art/Movie/Ye/av208-7.wmv

//www.bone.idv.tw/Non_Travel/Martial-Art/Movie/Ye/av208-8.wmv

อจ.เหลี่ยงจากเวปมวยภายใน กรุณาอธิบายไว้ว่า

ผมไม่รู้เรื่องของ อ.Xiong Yang He มากเท่าไหร่
และเพิ่งมาเห็นคลิปท่ารำนี้ครั้งแรก

ผมไม่แน่ในว่าคนรำสามารถรำออกมาด้วยบรรยากาศเดียวกับ อ. ของเค้าหรือไม่(เคยเจอฝรั่งรำมวยเร็วตระกูลอู๋ เป็นลูกศิษย์สาย อ.หม่าเจียงเปา แต่รำได้บรรยากาศแปลกมากๆ)

แต่ผมก็เคยเจอลักษณะการรำสาย อ.หยังเส้าโหวคล้ายๆยังงี้อยู่บ้าง เนื่องจากว่า อ.หยังเส้าโหวสอนมวยลูกศิษย์ทุกคนเป็นการส่วนตัว ลูกศิษย์ทุกคนจึงได้รายละเอียดที่ต่างกันออกไป ดังนั้นเราจึงเห็นว่า สาย อ.หยังเส้าโหวนี่มีหลายแบบมาก

อ.หยังเส้าโหวได้รับอิทธิพลจากลุง(ท่านหยางปันโหว)
ในแง่วงแคบ

ว่ากันว่า อ.หยังลู่ฉานในบั้นปลาย ได้นำชุดมวยของตระกูลทั้งหมด มาปรับปรุงร่วมกับ อ.หยังปันโหว เป็นมวยวงแคบชุดหนึ่ง

คือ ชุดมวยการใช้หรือ"ย่งเจี้ย" ที่รู้จักกัน
ซึ่งเป็นมวยไท่จี๋ในแบบตระกูลหยัง อย่างแท้จริง



คำว่าไท่จี๋ตระกูลหยังนั้น มาจาก "มวยไท่จี๋ +ตระกูลหยัง" คือในส่วนหลักมวย ท่าร่าง ทฤษฎี จะเป็นไท่จี๋โดยสมบูรณ์

แต่ในส่วน รูปแบบ การใช้ เทคนิคการต่อสู้ จะเป็นสไตส์ของตระกูล ซึ่ง"ย่งเจี้ย"ได้ตกผลึกจากแนวทางนี้ คือเป็นไท่จี๋ แต่แสดงหลักการใช้ของตระกูลเต็มที่

ซึ่งในสายตระกูลอื่นอาจจะไม่มี ดังเช่นหลักมือตะขอมี "โกวกว้าโต่วถาน" หลักฝ่ามือมี" เตี่ยนจีทุยอ้าน" เป็นต้นครับ ซึ่งเป็นหลักการใช้ทั้งสิ้น

(โกวกว้าโต่วถาน คำๆนี้มาจากภษาจีน โกว คือตะขอ
กว้า เป็นลักษณะของเวลาเอาตะขอเกี่ยว เช่นมือเรา
เป็นตะขอแล้วหมุน (นึกถึงท่าร่าง) นั้นคือการ "กว้า"

โต่วถาน คือแรงจิ้ง ที่เรียกว่าโตวถานจิ้ง แรงอัดแน่นแบบสริปง เป็นจุดเด่นสุดๆของสายหยาง ส่วนโต่วหรือการสั่น ถานคือเหมือนสปริง
คุณหน้าจออธิบาย)

ผมขอเพิ่มเติมสักนิดหน่อยในส่วนของสายหยางเฉิงฟู่

1. อาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่า แต่เดิมนั้นมวยที่สืบมาจากหยางลู่ชานยังคงเป็นคล้ายในสายหยางเส้าโหว
ในบางท่ามีการกระโดด

2. ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนการเคลื่อนไหว

3. แต่ทว่าน่ะครับ พอเริ่มฝึกท่าเดียวของมวยไท่จี๋วงกว้าง จะต้องหัดจมต่ำ มีการฝึกท่าเท้า กระโดด ผมเห็นอาจารย์ของผมสาธิตให้ดู

4. ในคลิปชายชุดม่วง มีลักษณะแม้จะพับไปพับมา
แต่ในสายหยางเฉิงฟู ก็มีครับ แต่เขาไม่สอน
หากจะสังเกตุดี อาจารย์ของผมเรียกลักษณะ
ตัวอ่อนแบบนั้นว่า "ย่งต้ง" หรือการเคลื่อนของหลัง
แบบตัวหนอน หากรวมเข้ากับการหายใจ
ก็จะเป็นลักษณะของฝึกข้างในในระดับหนึ่ง

หมายเหตุ คลิปชายชุดม่วง
คืออจ.ซิมปู้โหว พี่ชาย ของอจ.ซิมป้อฮวด ชุดเขียว
สายท่านอู๋ถูกหนานในอีกกระทู้

คลิปที่กล่าวถึงนั้น สามารถชมได้ที่ลิงค์นี้ครับ
//video.google.com/videoplay?docid=3980040736402159515&q=tai+chi&hl=en

ส่วนอีกคลิปอันนี้เป็นอจ.ซิมปู้โหว
สาธิตย่งเจี๊ยะเช่นเดียวกัน



ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าท่านเป็นใคร จนผมเอาคลิป
ไปโพสในยูทูป แล้วถึงมีศิษย์ท่านผ่านมาเห็น
สามารถดู ท่ารำในคลิปข้างบน
และคลิป อจ.ชุดเขียวประกอบได้เช่นเดียวกันครับ


5. แม้ท่าของชายชุดม่วงจะพับไปพับมา จะเห็นว่าเขาแยกลักษณะของ

- วงจรมือ แขน ไหล่ ขา
- การเทน้ำหนักชัดเจน
- การเคลื่อนของมือขา หลังเป็นลักษณะเหมือนละลอกคลื่นเล็กๆ มีลักษณะที่ชัดเจนมาก ครับ

โดย หน้าจอ


พื้นฐานของมวยไท่จี๋ อ.หยังเส้าโหว ไม่ได้รำเร็ว
แต่ท่าน อ.หยังเส้าโหว ได้รับอทธิพลจากย่งเจี้ย
ภายหลังยามท่านรำมวยจึงเร็วเองอย่างเป็นธรรมชาติ
คนที่รำมวยสายท่านบางคนจึงรำเร็ว บางคนก็รำช้า แล้วแต่ใครได้รับการถ่ายทอดช่วงไหน

ดังนั้นไท่จี๋แบบของท่านหยังเส้าโหวจริงๆ จะเป็นมวยของท่านเอง ซึ่งหลอมรวมหลักการจากย่งเจี้ย และแนวทางแบบวงกลางของตระกูลไว้ด้วยกัน
ซึ่งทำให้การรำมีความหลากหลายมาก

ไท่จี๋เฉวียนย่งเจี้ย แปลว่ามวยไท่จี๋ แบบชุดการ
ฝึกประยุกต์ใช้

ไท่จี๋เฉวียนเลี่ยนเจี้ย แปลว่า มวยไท่จี๋แบบชุดการฝึกฝน

ย่งเจี้ยนั้น เป็นที่รู้จักว่าเป็นแบบที่ถ่ายทอดโดยท่านหยังเส้าโหว แท้จริงชุดนี้นั้นไม่ใช่แบบชุดเล็ก
(เสี่ยวเจี้ย)ของท่าน

แต่ว่ากันว่าเป็นแบบที่ถ่ายทอดโดยตรงจาก
ท่านหยังลู่ฉาน ปู่ของท่านหยังเส้าโหว

(เคยเจอในเว็บฝรั่งเว็บนึงก็มีคัดจากหนังสือท่านอู๋ ถูหนานว่าท่านหยังเส้าโหวบอกโดย ตรงว่าชุดนี้เป็นแบบ
ท่านหยังลู่ฉานเองด้วย)




ตอนแรกท่านหยังเส้าโหวก็เรียนแบบกลางจาก
พ่อของท่าน คือท่านหยังเจี้ยนโหวเช่นเดียว
กับน้องชาย แต่ต่อมาได้รับอิทธิพลแบบชุดเล็กจากลุง
ต่อมาท่านจึงสอนแต่แบบย่งเจี้ย ส่วนน้องชายท่านสอนเลี่ยนเจี้ย และแก้เป็นแบบวงกว้าง


องค์ประกอบของการฝึก “มวยชุดเล็ก” ของหยางไท่จี๋ บทความนำมาโดยคุณหน้าจอ

ประกอบด้วย

การจม
การจม ต้องมีความสงบเย็น มีความนิ่ง ไม่เอียงเอน จิตใจของผู้ฝึกจะต้องลิ้มรส
ซึมซับถึงทุกรายละเอียดของการเคลื่อนไหว โดยที่จิตลิ้มรสการเคลื่อนไหวที่สงบนิ่ง จมนี้ โดยไม่ถูกรบกวน
เฝ้าดูการไหลลื่นของทุกอิริยาบถของร่างกาย ดูการที่ค่อยเปลี่ยนแปลงระหว่างหยิน-หยาง

บทสัมภาษณ์หลีเหลียน

หลีเหลียนครูมวยไท่จี๋ตระกูลอู๋
ได้ให้สัมภาษณ์ถึงมวยไท่จี๋ชุดเล็ก
หรือที่เรียกกันว่า Small Fame ในเรื่องนี้หลีเหลียนอธิบายว่าแท้จริงแล้วควรจะเรียกมวยชุดเล็ก (Small Fame)
นี้ว่า Applications Fame

หรือมวยประยุตต์ท่าการต่อสู้ เพราะมวยชุดเล็กนี้รวมเอา
“สาระแก่ของหัวใจและวิญญาณ (ในการต่อสู้)”
ของไท่จี๋เอาไว้ภายใต้การเคลื่อนไหวแคบ สั้น เร็ว
ก่อนที่จะเริ่มต้นหัดมวยชุดเล็ก จะต้องเริ่มต้องจากมวยชุดยาวมาตรฐาน (Practicing Fame)

การที่จะเข้าใจถึงลักษณะของมวยไท่จี๋ชุดเล็กจะต้องเข้าใจถึง ไท่จี๋กงฟูว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อาทิ

Beng : Tilt,
Zhuo : peck,
Na : Seize,
Pi: Split,
Peng : ward off
Lu : Deffect
Ji : Shove
An : Press
Cai : Grab
Lie : yank
Zhou: Elbow strike
Kao: Shoulder Strike
Heng : a shout when practicing
Ha : a shout when practicing
Hu : Breathe out
Xi : Breathe in
Dian : point
Ji : Beat
Tui : Push
Gou : Hook
Gua : Hang
Dou : Shake
Tan : Spring
Cuo : Scrub or issue power from the center of palm to tip of the finger
Zhe : break
Gun : Roll
Shuai : swing
Qiajin : Nip tendon
Qiemai : cut pulse
Bixue : Close accupoint
Duanqi : Stop qi
Lou : burst
Lingkong : พลังเย็นฉับพลัน

Hand Technique
Dian : Point
Ji : Hit
Tui : Push
An : Press
Gou : Hook
Diao : with the palms facing downward and the fingers facing forward, turn the palms outside,
taking
the wrist as the axis
Dou : shake
Tan : Spring

Foot Technique
Fen : Separate
Bai : Kick
Deng : kick with heel
Ta : tread
Cai : step on
Gou : hook
Diao : turn the heel in a circle inward, backward, and forward taking the ankle as axis.

The Footwork
gong : bow step
Ma : horse step
Xu : empty step
Ding : T-step
Chou : step back
Cha : back cross-step
Lianzhi : cross step
Jump

The Power technique
Zhuo : peck
Pi : split
Peng : bump
Cuo : scrubbing
Doulou : quiver
Likong : separation

Fighting techniques
Zhuajin : grasp the tendon
Naman : hold the pulse
Jiemo : cut the periosteum
Bixue : close the acupionts

- ก่อนที่จะเริ่มต้นฝึกมวยชุดเล็ก
ควรที่จะรู้จักแรง 4 แรงคือ

1. Zhao gong : Movement
2. Jing Gong : power
3. Song gong : relax
4. Qigong ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่ไร้รูป ตลอดทั้งร่างเหมือนโปร่งใส ว่างเปล่า หยางชี่และหยินชี่ไม่สับสน
และสามารถมีเปรียบก่อนการเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้

ขั้นแรก : ให้ฝึกรู้จักแรงทั้ง 4 ให้เคลื่อนไหวเป็นหนึ่งเดียวกัน ให้ไหลเวียนไปทั่วร่างอย่างสม่ำเสมอ

ขั้นสอง : ให้ชี่นำเลือดไหลเวียนไปตามเส้นปราณของร่างกาย

ขั้นสาม : ชี่และเลือดที่ไหลเวียนจะไปกระตุ้นจุดต่างๆที่ไหลผ่าน จากภายในสู่ภายนอกร่างกาย

ขั้นสี่ : ท้ายที่สุดทำให้ผู้ฝึกรู้สึกถึงความสง่างามของร่างกาย ร่างกายจะสงบ เยือกเย็น
ตลอดทั้งร่างเป็นหนึ่งเดียวกันมีความยืดหยุ่นเหมือนลูกบอลและมีความสดชื่น มีชีวิตชีวา


อจ.เหลียงได้อธิบายเพิ่มเติมว่า

ที่ว่าไปนั้นเป็นเคล็ดการใช้พลัง และท่ามือท่าเท้าท่าหมัดต่างๆ โดยเน่ยจิ้งนั้นยังเป็นพลังไท่จี๋
ส่วนการแสดงออกอาศัยเคล็ดดังที่กล่าวมาก่อนนี้

ดังคำโบราณที่ว่า "จิ้งมีรากที่เท้า.......แสดงออกที่มือ"
(ขอย่อเลยครับ)
คำว่าแสดงในย่งเจิ้ย คือแสดงจิ้งออกมา
ตามเคล็ดการใช้ต่างๆนั่นแหละครับ
ซึ่งเป็นเคล็ดภายในตระกูลหยังเอง

แต่เนื่องด้วยเคล็ดเหล่านี้ไม่ใช่เคล็ดสิบสามท่า
ของมวยไท่จี๋แต่เดิม แต่เป็นเคล็ดภายในตระกูล

ดังนั้นแม้ถ่ายทอดไท่จี๋ออกสู่วงกว้าง
แต่เคล็ดภายในตระกูลนั้นเค้าไม่ถ่ายทอดกันออกมาครับ

ไท่จี๋เฉวียนย่งเจี้ยมีกี่ท่า?

ก็มีทั้งหมดสามสิบเจ็ดท่าตามมาตรฐานตระกูลหยังเช่นเดียวกับเลี่ยนเจี้ย
(แต ่รำซ้ำไปมาก็ได้เจ็ดสิบห้าท่า)
แต่ไม่มีท่าบางท่าเช่น ภูผาอัดโสต และตีพยัคฆ์ซ้ายขวา

เนื่องจากท่าเหล่านี้ว่ากันว่าท่านหยังปันโหวคิดเพิ่มเติม
ในย่งเจี้ยที่ถ่ายทอดมาจากท่านหยังลู่ฉานโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงจึงไม่มีท ่าเหล่านี้

แต่มีท่าแบบเก่าหลายท่า เช่น เอร์อฉีเจี่ยว หรือเตะสองชั้น ท่าหมัดลอยชาย ท่ามังกรเล่นว่ายน้ำ
ท่าบุ้งกี๋ เหล่านี้ นอกจากนี้ยังมีท่าเตะเท้า
(ต่อมาเปลี่ยนเป็นท่าถีบเท้าอย่างเดียว)

ท่ากากบาทเรียงดอกบัวเดี่ยว
(ต่อมาเปลี่ยนเป็นท่าเท้ากากบาท)
ส่วนลำดับท่านั้นเหมือนกันต่างไปแค่บางส่วนเท่านั้น

ไท่จี๋เฉวียนย่งเจี้ยมีลักษณะท่วงท่าอย่างไร?

ท่วงท่าแม้ลำดับเหมือนกัน แต่ท่ารำแตกต่าง
เช่นในท่าแรกคือคว้าจับหางนกกระจอกมีข้อต่าง
คือไม่ใช่ เผิง หลูวี์ จี่ อ้าน แต่มีสี่ท่วงท่า
คือ ท่ามือช้อน(ชาจื่อโส่ว)
ท่าสามหมัดต่อเนื่อง(เหลียนซานฉุย)
ท่ากางเขนยกหาง(เชวี่ยฉีเหวย) ท่าหงส์กระดกหัวสามครั้ง(ฟ่งหวงซานเตี่ยนโถว) ดังนี้

และท่วงท่าส่วนใหญ่ถ่ายน้ำหนักเป็น 100/0
คือยืนเท้าชิดบนขาเดียวเป็นหลัก

การเคลื่อนไหวเน้นความคล่องว่องไว
ผู้ฝึกจึงต้องฝึกเลี่ยนเจี้ยมาอย่างดีแล้ว
จึงจะผ่อนคลายในย่งเจี้ยได้

ท่านหยังจึงสอนย่งเจี้ยแต่กับศิษย์ที่เรียนเลี่ยนเจี้ยมา
และมีฝีมือดีแล้ว เท่านั้น การเคลื่อนไหวทั้งหมด
แฝงพลังจิ้งที่ออกแบบสู่กระบวนการการใช้ ใน เจากง
หรือฝึกท่าใช้ นอกจากเรียนท่ายังต้องเรียนใช้ท่า
คือเค้าตีมาอย่างไร เรารับอย่างไร

เช่นท่าถีบเท้า ตอนยกมือกากบาท ยกเข่า
ให้ใช้มือป้องอก ยกเข่าเข้าโจมตี
แต่ถ้าระยะออกห่าง ให้ยืดมือออกควบคุม
เท้าถีบออกไป เป็นต้น

แล้วค่อยฝึกจิ้งกง คือพลัง นอกจากฝึก
จากท่าเดี่ยวยังต้องฝึกใช้จากท่วงท่า
เช่นจากข้างต้น ตอนมือกากบาทใช้แรงอย่างไร
ตอนยกเข่าใช้แรงอย่างไร และถีบใช้แรงอย่างไร

ต้องศึกษาความหมาย และฝึกจนเข้าใจ
ซึ่งจิ้งในย่งเจี้ยมีมากมาย
ไม่ใช่แค่ เผิง หลูวี์ จี่ อ้าน ไฉ่ เลี่ย โจ่ว เค่า
แต่ยังมีอีกมากมาย เช่น เตี่ยน(จุด) เปิง(ทลาย,งัด)
ทุย(ผลัก) พิ(ผ่า) จี(ฟาด) กว้า(เกี่ยว) โต่ว(สะบัด)ฯลฯ
แบ่งออกชัดเจนถึงหลักของฝ่ามือ ,ของหมัด ,ของขา ,ของเท้า ,ท่าก้าว เหล่านี้

แม้ตอนแรกท่านหยังเส้าโหวเองได้เรียนและ
สอนเลี่ยนเจี้ย เช่นน้องของท่าน แต่ต่อมานั้น
ท่าของเลี่ยนเจี้ยของท่านเอง
ก็ได้รับอิทธิพลจากย่งเจี้ยด้วย

จนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบวงแคบของท่านเองด้วย
(แต่ต่อมาท่านสอนแค่ย่งเจี้ ย)


ส่วนท่านหยังเฉิงฝู่สอนแบบวงกว้างที่ท่านปรับปรุงเอง
แต่อย่างไรก็ตาม ท่านหยังเฉิงฝู่ก็มีมวยอีกชุดคือไท่จี๋ฉางเฉวียน (มวยยาวไท่จี๋)

ซึ่งมีลักษณะคล้ายย่งเจี้ยนี้ไม่น้อย
ซึ่งท่านก็สอนให้แก่ศิษย์ในที่ฝีมือดีแล้วเท่านั้น
ส่วนเลี่ยนเจี้ยนั้นได้สอนเปิดเผยทั่วไป

ย่งเจี้ยนั้นได้รวมหัวใจแห่งการต่อสู้
และพลังจิ้งทั้งหมดในไท่จี๋เฉวียนไว้
มีการอธิบายอย่างชัดแจ้งถึงท่วงท่า ,
การใช้ และพลัง รสชาติของการรำการฝึกฝนนั้นลึกล้ำ
เป็นขั้นสูงของไท่จี๋เฉวียนทีเดียว

รายชื่อท่ารำไท่จี๋เฉวียนตระกูลหยาง

ชื่อท่าภาษาไทย ชื่อท่าภาษาจีน คำอ่านภาษาจีนกลาง

1.ท่าเริ่มไท่จี๋ 太極起勢 ไท่จี๋ฉีซื่อ
2.คว้าจับหางนกกระจอก 攬雀尾 หล่านเชี่ว์ยเหว่ย
3.แส้เดี่ยว 單鞭 ตานเปียน
4.ท่ายกมือขึ้น 提手上勢 ถีโส่วซ่างซื่อ
5.กระเรียนขาวกางปีก 白鶴亮翅 ไป๋เฮ่อเลี่ยงซื่อ
6.ปัดเข่าย่างก้าวซ้าย-ขวา 左右摟膝拗步 จั่วโย่วโลวซีเอ้าปู้
7.มือดีดพิณ 手揮琵琶 โส่วฮุยผีผ่า
8.ก้าวเท้ากำหมัดขวางฟาด 進步搬攔棰 จิ้นปู้ปานหลานฉุย
9.คล้ายเหมือนปิด 如封似閉 หยูร์เฟิงซื่อปี้
10.อุ้มพยัคฆ์กลับคืนเขา 抱虎歸山 เป้าหู่กุยซาน
11.คว้าหางนกกระจอกเอียง 斜攬雀尾 เสียหล่านเชี่ว์ยเหว่ย
12.กำหมัดมองใต้ศอก 肘底看棰 โจ๋วตี่ค่านฉุย
13.ถอยไล่ลิงซ้าย-ขวา 左右倒攆猴 จั่วโย่วเต้าเหนียนโหว
14.ท่าเหิรเฉียง 斜飛势 เสียเฟยซื่อ
15.ท่ายกมือขึ้น 提手上勢 ถีโส่วซ่างซื่อ
16.กระเรียนขาวกางปีก 白鶴亮翅 ไป๋เฮ่อเลี่ยงซื่อ
17.ปัดเข่าย่างก้าวซ้าย 左摟膝拗步 จั่วโลวซีเอ้าปู้
18.เข็มใต้สมุทร 海底針 ไหตี่เจิน
19.ภูเขาผ่านหลัง 山通臂 ซานทงเป้ย
20.เบี่ยงร่างชก 撇身棰 เพียเซินฉุย
21.ก้าวเท้ากำหมัดขวางฟาด 進步搬攔棰 จิ้นปู้ปานหลานฉุย
22.ก้าวเท้าคว้าหางนกกระจอก上步攬雀尾 ซ่างปู้หล่านเชี่ว์ยเหว่ย
23.แส้เดี่ยว 單鞭 ตานเปียน
24.มือเมฆ 雲手 หยุว์นโส่ว
25.แส้เดี่ยว 單鞭 ตานเปียน
26.ม้าชะเง้อขวา 右高探馬 โย่วเกาท่านหม่า
27.แยกเท้าขวา 右分腳 โย่วเฟินเจี่ยว
28.ม้าชะเง้อซ้าย 左高探馬 จั่วเกาท่านหม่า
29.แยกเท้าซ้าย 左分腳 จั่วเฟินเจี่ยว
30.หมุนตัวถีบเท้า 轉身蹬腳 จ่วนเซินเติงเจี่ยว
31.ก้าวเท้ากำหมัดกดต่ำ 進步栽棰 จิ้นปู้ไจฉุย
32.พลิกร่างเบี่ยงร่างชก 翻身撇身棰 ฟานเซินเพียเซินฉุย
33.เตะสองชั้น 二起腳 เออร์ฉีเจี่ยว
34.ท่าตีพยัคฆ์ซ้าย-ขวา 左右打虎 จั่วโย่วต๋าหู่
35.กลับตัวถีบเท้าขวา 回身右蹬腳 หุยเซินโย่วเติงเจี่ยว
36.ลมคู่อัดโสต 雙風貫耳 ซวงเฟิงก้วนเอ่อร์
37.เบี่ยงตัวเตะเท้า 披身踢脚 พีเซินทีเจี่ยว
38.หมุนตัวถีบเท้าขวา 轉身右蹬腳 จ่วนเซินโย่วเติงเจี่ยว
39.ก้าวเท้ากำหมัดขวางฟาด 進步搬攔棰 จิ้นปู้ปานหลานฉุย
40.คล้ายเหมือนปิด 如封似閉 หยูร์เฟิงซื่อปี้
41.อุ้มพยัคฆ์กลับคืนเขา 抱虎歸山 เป้าหู่กุยซาน
42.คว้าหางนกกระจอกเอียง 斜攬雀尾 เสียหล่านเชี่ว์ยเหว่ย
43.แส้เดี่ยวเอียง 斜單鞭 เสียตานเปียน
44.ม้าป่าแบ่งผม 野馬分鬃 เหยียหม่าเฟินจง
45.เทพีร้อยกระสวย 玉女穿梭 อวี้หนี่ชวนซัว
46.ก้าวคว้าหางนกกระจอก 上步攬雀尾 ซ่างปู้หล่านเชี่ว์ยเหว่ย
47.แส้เดี่ยว 單鞭 ตานเปียน
48.มือเมฆ 雲手 หยุว์นโส่ว
49.แส้เดี่ยว 單鞭 ตานเปียน
50.ท่าลง 下势 เสอเซินเซี่ยซื่อ
51.ไก่ทองยืนขาเดียวซ้าย-ขวา左右金雞獨立 จั่วโย่วจินจีตู๋ลี่
52.ถอยไล่ลิงซ้าย-ขวา 左右倒攆猴 จั่วโย่วเต้าเหนียนโหว
53.ท่าเหิรเฉียง 斜飛势 เสียเฟยซื่อ
54.ท่ายกมือขึ้น 提手上勢 ถีโส่วซ่างซื่อ
55.กระเรียนขาวกางปีก 白鶴亮翅 ไป๋เฮ่อเลี่ยงซื่อ
56.ปัดเข่าย่างก้าวซ้าย 左摟膝拗步 จั่วโลวซีเอ้าปู้
57.เข็มใต้สมุทร 海底針 ไหตี่เจิน
58.ภูเขาผ่านหลัง 山通臂 ซานทงเป้ย
59.สะบัดตัวฟาด 撇身棰 เพียเซินฉุย
60.ก้าวเท้ากำหมัดขวางฟาด 進步搬攔棰 จิ้นปู้ปานหลานฉุย
61.ก้าวเท้าคว้าหางนกระจอก進步攬雀尾 จิ้นปู้หล่านเชี่ว์ยเหว่ย
62.แส้เดี่ยว 單鞭 ตานเปียน
63.มือเมฆ 雲手 หยุว์นโส่ว
64.แส้เดี่ยว 單鞭 ตานเปียน
65.ม้าชะเง้อขวา 右高探馬 โย่วเกาท่านหม่า
66.ฝ่ามือตีหนา 扑面掌 ไปเสอถู่ซิ่น
67.กากบาทเรียงดอกบัวเดี่ยว十字單擺蓮 สือจื่อตานไป่เหลียน
68.ก้าวเท้ากำหมัดชกเป้า 進步指檔棰 จิ้นปู้จื่อตางฉุย
69.ก้าวเท้าคว้าหางนกกระจอก進步攬雀尾 จิ้นปู้หล่านเชี่ว์ยเหว่ย
70.แส้เดี่ยว 單鞭 ตานเปียน
71.เลื้อยลง 下势 เซี่ยซื่อ
72.ก้าวเท้าดาวเจ็ดดวง 上步七星 ซ่างปู้ชีซิง
73.ถอยหลังนั่งพยัคฆ์ 退步跨虎 ทุ่ยปู้คว่าหู่
74.กลับตัวเรียงดอกบัวคู่ 轉身雙擺蓮 จ่วนเซินซวงไป่เหลียน
75.น้าวเกาทัณฑ์ยิงพยัคฆ์ 彎弓射虎 วานกงเซ่อหู่
76.ก้าวเท้ากำหมัดขวางฟาด 進步搬攔棰 จิ้นปู้ปานหลานฉุย
77.คล้ายเหมือนปิด 如封似閉 หยูร์เฟิงซื่อปี้
78.มือกากบาทรวมไท่จี๋ 十字手合太極 สือจื่อโส่วเหอไท่จี๋

โดย อจ.เหลียง



บทความ เรียบเรียงจากคำตอบของหลายๆท่าน
ที่กระทู้นี้ครับ
//www.thaitaiji.com/board/index.php?action=vthread&forum=1&topic=429




Create Date : 30 กันยายน 2549
Last Update : 26 ตุลาคม 2549 18:54:07 น. 0 comments
Counter : 10876 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ramin&Indra
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ

มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน
มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋
เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก
หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ
สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ
รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่"
แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ"
หรือ "ไทคะ"อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น
บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้
เพื่อโฆษณาสรรพคุณ
โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย
หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย
แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น

มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล
ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้
และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ
ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต

บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ
ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์
ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้

จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน
ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ
หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ
มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง
ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน
สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง

แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย
รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก
ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ

ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่
ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน

ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ
** กำเนิดมวยไทเก๊ก
** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง
** คำสอนปรมาจารย์
** ตำนานยอดฝีมือครับ
** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย
** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน

แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน
ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ


บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล
จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง
ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้
ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย
ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ

อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
[Add Ramin&Indra's blog to your web]