|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
 |
1 พฤศจิกายน 2549
|
|
|
|
XบทความพิเศษX ไทจี๋หย่งเจี๋ยตระกูลหยาง ตอนที่1
ผมแปลจาก "บทสัมภาษณ์ อจ. หลี่เหลียน ผู้สืบทอดรุ่นที่6 ของหย่งเจี๊ย หรือ ชุดการใช้งาน ของมวยไทจี๋" โดย จ้าว ลี่เฉิง
บทความนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก อจ. เหลียง เวปมวยภายใน ขอบคุณครับ
--------------------- บทนำ
นานมาแล้ว ในปักกิ่ง "ไทจี๋ ชุด หย่งเจี๊ย" หรือชุดการใช้งาน ได้ถูกเก็บเป็นความลับ ที่ไม่ถ่ายทอดให้คนทั่วไป
มากไปกว่านั้น มันยังเป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ว่า ทำไม อาจารย์ผู้มีชื่อเสียง ปรมาจารย์ไทจี๋ตระกูลหยาง ท่านหยางลู่ฉาน ถึงได้รับฉายาว่า "หยางอู๋ตี้" หรือหยางผู้ไร้พ่าย และ ทำไมท่านจึงดำรงตนเป็นผู้มีบทบาทโดดเด่น ในแวดวงยุทธจักรอยู่ได้ตลอดชีวิตของท่าน
 แม้ว่าในเมืองจีน จะมีหลายคนที่กล่าวว่า พวกเขาสามารถรำมวยชุดหย่งเจี๊ยนี้ได้ แต่ผมยังไม่เคยพบใคร ที่สามารถ อธิบายรายละเอียดของชุดมวย ประวัติศาสตร์ ลักษณะ และขั้นตอนการฝึก ได้อย่างชัดแจ้ง และถูกต้องเหมือน อจ.หลี่เหลี่ยน นอกจากนั้น ยังสามารถสาธิตให้ชมได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย
ผมเคยได้ยินว่าอจ.หลี่เหลียน ฝึกมวยชุดนี้มานานแล้ว อย่างไรก็ตาม อจ.ของเขาสั่งไว้ว่า "อย่าสอนคนอื่น หรือ รำมวยชุดนี้ในที่สาธารณะ ให้คนทั่วไปได้เห็นกันแพร่หลาย" ด้วยเหตุนี้ อจ.หลี่เหลียนจึงไม่เคยเข้าร่วมกับ กิจกรรม หรือการแข่งขัน และการแสดงวูซู ทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติ แม้แต่ในชุมชน กังฟูในปักกิ่งก็ตาม
ยิ่งไปกว่านั้น อจ.หลี่เหลียนผู้ซึ่งเป็น แพทย์ที่ไม่เคยถือตัว เขาไม่เคย สาธิตมวยชุดนี้ ให้คนนอกเห็น จนกระทั่งปี2001 และนั่นเพราะเพื่อน พยายามรบเร้า แล้วก็เป็นการแสดงเป็นการภายใน ในหมู่เพื่อนบางคนเท่านั้น
ตอนนี้ ผมจะได้แนะนำอจ.หลี่เหลียน ผู้สำเร็จ ไทจี๋ชุดเล็ก และเขียนหนังสือ "ชุดการใช้ ของมวยไทจี๋" ให้ผู้รักไทจี๋ ทั่วโลกให้รู้จัก
ประวัติอจ.หลี่เหลียน
 หลี่เหลียน ผู้สำเร็จวิชา ไทจี๋ชุดหย่งเจี๋ย จากประเทศจีน เริ่มต้นฝึกไทจี๋เมื่ออายุ 16ปี เขาได้เรียนมวย กระบี่ ผลักมือ รวมทั้งชุดการใช้ จากอาจารย์อู๋ถูหนาน ปรมจารย์ชื่อดังผู้เป็นที่รู้จักในระดับนาๆชาติ
ความจริงแล้วอาจารย์ของเขา คืออจ.หม่าหย่งชิง ซึ่งเป็นศิษย์ ของท่านอู๋ถูหนาน ดังนั้นอจ.อู๋ จึงเป็นอจ.ปู่ของอจ.หลี่เหลียน
อย่างไรก็ตามทักษะส่วนใหญ่ ของอจ.หลี่เหลียนได้รับการถ่ายทอด มาจากท่านอู๋ถูหนานโดยตรง แบบตัวต่อตัว
คลิป อจ.หม่าหยงชิง สาธิตหย่งเจี๊ยครับ
อจ.หลี่ได้รับความสนใจจากอจ.อู๋ เพราะความที่อจ.หลี่ ขยันหมั่นเพียร ฝึกหนัก มีจิตใจที่เมตตา รวมทั้งมีสติปัญญาที่ดี
อจ.หลี่กับอจ.อู๋มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก อจ.หลี่ฝึกหนักอยู่กับอจ.อู๋ถูหนานหลายปี คอยติดตามท่าน จนกระทั่งท่านอู๋เสียชีวิต ผลก็คือ อจ.หลี่ได้รับอิทธิพลจากอจ.อู๋อย่างลึกซึ้ง ในทุกวิชาที่อจ.อู๋สั่งสอน ทั้งความรู้ในด้านโบราณคดี ศิลปะไทจี๋ขั้นสูง และทัศนิคติอันงดงามต่อชีวิต
หลังอจ.อู๋ถูหนานเสียชีวิต อจ.หลี่ ซึ่งโดยทางการแล้ว ท่านเป็นศิษย์สาย อจ.หม่าหย่งชิง ซึ่งตอนนั้น ท่านหม่าเป็นผู้สืบทอดของท่านอู๋ถูหนานแล้ว อจ.หลี่จึงไปฝึกฝนเพิ่มเติมกับ อจ.หม่า เลยดูแปลกๆสักหน่อย ที่ตอนแรก อจ.หลี่ฝึกมวยกับอจ.ปู่ คืออจ.อู๋ถูหนาน ก่อนจะมาเรียนกับอจ.ตัวเองทีหลัง
ในปัจจุบัน อจ.หลี่ได้รับเชิญจากสถานีโทรทัศน์ฝรั่งเศษ ให้ไปสาธิต มวยไทจี๋ ดาบไทจี๋ และชุดการใช้บางส่วนสองครั้ง ซึ่งมีผู้ชมจำนวนมาก
กลุ่มศิษย์ที่สมาคมค้นคว้า กังฟู ไทจี๋ และ สมาคมอู๋ถูหนาน ไทจี๋ฉวน สาขาญี่ปุ่น ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นในปี1990 ได้เชิญอจ.หลี่เหลียนไปเยือนญี่ปุ่นสองครั้ง และท่านก็ได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาอวุโสของสมาคมทั้งสอง เพื่อช่วยในการริเริมเผยแพร่ ศิลปะ และกังฟูของไทจี๋
ดังนั้น อจ.หลี่จึงเขียนบทความ เกี่ยวกับชุดการใช้ และท่านอู๋ถูหนาน ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์ในนิยสาร จิงอู่ อู๋หุย และ อู๋ยี่ในญี่ปุ่น
อจ.หลี่เหลียนเกิดในตระกูลแพทย์แผนจีน พ่อของอจ.หลี่ ศาสตราจารย์หลี่เจียหมิง เป็นศิษย์ของ อจ.ชิ จินมอ ซึ่งเป็นหนึ่งใน4 แพทย์แผนโบราณของจีน ที่มีชื่อเสียงที่สุด ในปักกิ่งในช่วยปี 1940 -1960. ซึ่งพ่อของอจ.หลี่ กับอจ.ชิ สนิทสนมกันเหมือนพ่อกับลูก ทั้งสองล้วนมีชื่ออยู่ในทำเนียบแพทย์แผนโบราณ ที่มีชื่อเสียงที่สุดในปัจจุบันห้าร้อยคนของจีน ซึ่งจัดอันดับโดยรัฐบาล
ดังนั้นอจ.หลี่เหลียนจึงได้เรียน แพทย์แผนจีน มาตั้งแต่เด็ก จากพ่อของท่าน และจากแพทย์ ที่มีชื่อเสียงเช่น อจ.เจ้า หานหยู อจ.ต่ง เต๋อเหมา และอีกหลายท่าน
หลังจากนั้น ท่านได้เข้าเรียนใน มหาวิยาลังแพทย์แผนจีนปักกิ่ง และจบการศึกษาที่นั่น และปัจจุบัน ท่านเป็นดอกเตอร์ ทางด้านแพทย์แผนจีน
ซึ่งท่านได้รับเชิญไปบรรยายทั้งในและนอกประเทศ ผลงานของท่านได้รับความตีพิมพ์ และประสพความสำเร็จ และมีรายชื่ออยู่ใน ดิกชันนารี ของแพทย์ผู้มีชื่อเสียงของประเทศจีน ****************
ติดตามต่อตอนสองครับ เข้าเรื่องมวยเสียที ผมแปลเอง ยังทนกับการยืดของ ท่านผู้สัมภาษณ์ไม่ค่อยได้
อุอุอุ
Create Date : 01 พฤศจิกายน 2549 |
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2549 19:51:41 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1749 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
Ramin&Indra |
|
 |
|
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]

|
สำหรับท่าน ที่ไม่ยังไม่รู้จักมวยไท่จี๋นะครับ
มวยไทจี๋ หรือ ไทจี๋ฉวน มาจากคำว่า ฉวน แปลว่า มวย + กับ ไทจี๋ เป็นวิชา การต่อสู้ชนิดเดียวกับ ที่เราเรียกแบบแต๊จิ๊วว่ามวยไทเก๊ก หรือ ที่กลุ่มกายบริหารเพื่อสุขภาพ สมัยใหม่ เอาไปดัดแปลงแล้วเรียก ว่า ไทชิ รวมทั้งศัพท์ วัยรุ่นที่เรียกว่า "ทิชชี่" แถมยังมีแบบผสมโยคะ เอาไปเรียกว่า "โยชิ" หรือ "ไทคะ"อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม วิธีฝึกแบบสมัยใหม่นั้น บางครั้ง เป็นเพียงการยืมชื่อมาใช้ เพื่อโฆษณาสรรพคุณ โดยไม่ได้มีเนื้อหาสาระ เกี่ยวข้องกับมวยไทจี๋เลย หรือไม่ก็ เป็นการใช้คุณประโยชน์ของมวย แค่เพียงกระผีกริ้นของมันเท่านั้น
มวยไทจี๋มีคุณประโยชน์มากมายมหาศาล ในหลากหลายด้าน หากคุณได้ศึกษาจากผู้รู้ และ ฝึกฝนอย่างจริงจัง เป็นวิชา ที่คุณสามารถ ใช้เป็นวิชาประจำตัว เรียนรู้จากมันได้ไม่มีที่สิ้นสุดจนตลอดชีวิต
บล๊อกนี้ผมตั้งใจจะ รวบรวม ประวัติ และ ท่ามวยไทจี๋ของหลากแบบ หลายสายอาจารย์ ของมวยไทจี๋ตระกูลต่างๆเอาไว้ เผื่อผู้สนใจจะได้สามารถเปรียบเทียบได้
จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน ปัจจุบัน มวยไทจี๋แบ่งออกเป็นหลายแบบ หลากตระกูล ที่สำคัญๆก็คือ มวยไทจี๋ตระกูลเฉิน ตระกูลหยาง ตระกูลอู๋ ตระกูลอู่ ตระกูลซุน สายหมู่บ้านเจ้าเป่า สายบู๊ตึ๊ง แต่ละสาย ยังแตกแขนงออกไปอีกมากมาย รวมทั้ง สายแปลกๆ สาย ย่อยต่างๆอีก ผมจะพยายามรวบรวมมาให้ดูกันครับ
ยังทำไม่เสร็จนะครับ มีหลายหัวข้อยังว่างอยู่ ค่อยๆทำไปเรื่อยแล้วกัน
ตอนนี้ หัวข้อที่มีเนื้อหาอยู่ คือ ** กำเนิดมวยไทเก๊ก ** มวยไทเก๊กตระกูลหยาง ** คำสอนปรมาจารย์ ** ตำนานยอดฝีมือครับ ** ประวัติมวยไท่เก๊ก ทั้ง7สาย ** มวยไท่เก๊กตระกูลเฉิน
แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ครบถ้วน ยังคงอัพเดทเรื่อยๆครับ
บทความส่วนใหญ่ที่ผมเป็นคนแปล จะมีข้อผิดพลาดในเรื่องการออกเสียง ชื่อคน ชื่อสถานที่ภาษาจีน เพราะผมไม่รู้ ภาษาจีน และต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษเสีย ส่วนใหญ่ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้าครับ
อัพเดท สัปดาห์ละครั้งครับ
|
|
 |
|