|
1. ก้าวแรกของมิตรภาพ
“พี่แอน”
บันทึกประสบการณ์ในช่วงเวลา 23 วัน เมื่อครั้งที่ได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นไปดูงานด้านสวัสดิการเด็ก (Child Welfare) ทำให้ได้เปิดหู เปิดตา ทั้งยังเปิดใจยอมรับเพื่อน จนเกิดเป็นมิตรภาพระหว่างเพื่อนคนไทยและต่างชาติ นอกจากนี้พี่แอนยังได้นำมาปรับใช้กับงานอาชีพด้านหนังสือเด็กด้วย
โครงการมิตรภาพเยาวชนอาเซียน-ญี่ปุ่น ที่กำลังจะพูดถึง จัดโดยองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency) หรือ JICA ดำเนินงานในนามของรัฐบาลญี่ปุ่น และสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ ซึ่งเปิดรับสมัครสอบคัดเลือกเยาวชนในกลุ่มสาขาต่าง ๆ ในแต่ละปี
พี่แอนอยู่ในกลุ่มสาขาสวัสดิการสังคม (เด็ก) ซึ่งมีจำนวน 23 คน เดินทางไปพร้อมกับเพื่อนกลุ่มสาขาการศึกษา (สายอาชีพ) 22 คน กิจกรรมของกลุ่มแรกคือ การฟังบรรยายและทัศนศึกษาสถานที่ที่เด็ก ๆ ไปหลังเลิกเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กทั้งเด็กปกติและเด็กพิการ ได้เห็นหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการบริหารงานเพื่อรองรับปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานที่พัฒนาศักยภาพของเด็กหลายแห่งที่เมืองเกียวโต การเข้าค่ายสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเยาวชนญี่ปุ่น การพักกับครอบครัวในท้องถิ่น และนอกเหนือจากตารางกิจกรรมคือ ได้ไปชมแหล่งเรียนรู้ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีอยู่มากและหลากหลาย
ก่อนเดินทางเริ่มต้น คณะเยาวชนต้องเข้าค่ายเพื่อปฐมนิเทศและเตรียมความพร้อม พวกเราได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ เช่น ความรู้เรื่องสวัสดิการสังคม สถานการณ์ปัจจุบันด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองไทย ความสัมพันธ์ไทย-อาเซียนและญี่ปุ่น เอกลักษณ์และวัฒนธรรมไทย ผลกระทบจากการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นโยบายเด็ก ปัญหาสถานการณ์ด้านเด็ก การใช้ชีวิตในญี่ปุ่น เรียนรู้สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น เรียนภาษาญี่ปุ่น และฝึกสำเนียงจากเจ้าของภาษา นอกจากนี้ยังต้องฝึกซ้อมการรำเพื่อเตรียมไปเผยแพร่ด้วย
ในงานเลี้ยงส่ง มีการแสดงของพวกเราที่จะไปเผยแพร่ที่ญี่ปุน ถือเป็นการซักซ้อมไปในตัว พวกเราสนุกสนานกับงานเลี้ยง พร้อม ๆ กับความรู้สึกตื่นเต้นกับวันข้างหน้า เพราะไม่รู้ว่าจะต้องเผชิญกับอะไรบ้าง
- “เข็มเยาวชนพระราชทาน” ที่เยาวชนได้รับมอบติดไว้ที่หน้าอก เป็นเครื่องเตือนใจให้ประพฤติดีงาม อย่างถูกต้องเหมาะสม
“เราไปในฐานะเยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการ ฐานะหนึ่งคือแสวงหาความรู้เฉพาะด้าน แล้วนำกลับมาพัฒนาประเทศ ต้องรู้เขา รู้เรา แล้วเปรียบเทียบนำสิ่งดี ๆ มา สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้คือ ฉันเป็นคนไทย จะชอบญี่ปุ่นไม่ว่า ขอให้รำลึกเสมอว่า เราเป็นคนไทย” คุณสมชาย เจริญอำนวยสุข ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน สท. ให้ข้อตระหนักแก่เยาวชนในวันปฐมนิเทศ
Create Date : 23 พฤษภาคม 2553 |
Last Update : 29 เมษายน 2565 1:05:34 น. |
|
1 comments
|
Counter : 1114 Pageviews. |
|
|
|
โดย: nuyza_za วันที่: 23 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:16:41 น. |
|
|
|
| |
|
|