bloggang.com mainmenu search
“โฆษกศาล” รู้ตัวแฮกเกอร์ถล่มเว็บไซต์ศาลยุติธรรม ย้ำเปลี่ยนคำพิพากษาไม่ได้ “โฆษกศาล” รู้ตัวแฮกเกอร์ถล่มเว็บไซต์ศาลยุติธรรม ย้ำเปลี่ยนคำพิพากษาไม่ได้
Matichon

สนับสนุนเนื้อหา

(13 ม.ค.) นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่หน้าเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรม ถูกบุกรุกจนไม่สามารถใช้งานได้ว่า จากการตรวจสอบการเชื่อมต่อโครงข่ายข้อมูลหน้าเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรมนั้นไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่เวลา 22.00 น. ของวันที่ 12 มกราคม ที่ผ่านมา

โดยครั้งแรกที่ตรวจสอบพบว่า หน้าเว็บเพจหน้าแรกของสำนักงานศาลยุติธรรม กลายเป็นพื้นสีดำ และมีรูปสัญลักษณ์คล้ายหน้ากากสีขาว พร้อมข้อความภาษาอังกฤษ เขียนว่า "BLINK HACKER GROUP" และ "Failed Law We Want Justice ! # Boycott Thailand"

และจากการสืบค้นพบว่า "BLINK HACKER GROUP" เชื่อมโยงกลุ่มที่ใช้ชื่อ Anonymous Myanmar Hacker ซึ่งเหตุดังกล่าวจนถึงวันนี้ (13 มกราคม) หน้าเว็บไวต์ของสำนักงานศาลยุติธรรม ยังไม่สามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติ แต่ก็เป็นเพียงการที่บุคคลภายนอกไม่สามารถใช้งานได้เท่านั้น แต่ระบบปฏิบัติงานภายในระหว่างสำนักงานศาลยุติธรรมกับหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องไม่ได้รับความเสียหายใดๆ

โดยระหว่างนี้เรายังเฝ้าระวังตรวจสอบหาช่องโหว่ที่จะป้องกันการบุกรุกทางคอมพิวเตอร์ต่อไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการแก้ไขให้มีการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารภายในได้

นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวอีกว่า สำหรับการตรวจสอบเพื่อหาผู้กระทำผิดนั้น ในส่วนของระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่เกิดเหตุสำนักงานศาลยุติธรรม ได้ประสานสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งเป็นองค์กรมหาชน โดยศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) ให้ตรวจสอบหาการบุกรุกและช่องโหว่ระบบเครือข่าย

ขณะที่การตรวจสอบรายละเอียด IP ADDRESS พบว่ามีประมาณ 10 IP ADDRESS ของผู้ที่เข้ามาบุกรุกระบบโครงข่ายหน้าเว็บไวต์ซึ่งอยู่ในต่างประเทศ แต่ยังไม่ขอระบุรายละเอียดในส่วนนี้

นายสืบพงษ์ โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวต่อว่า การกระทำดังกล่าว ที่ทำให้หน้าเว็บแรกของสำนักงานศาลยุติธรรมเสียหายครั้งนี้ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ซึ่งมีโทษตาม มาตรา 10 ฐานรบกวน ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์ ที่บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวน จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 12 ผู้ใดกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการใก้บริการสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะระวางโทษตั้งแต่3 - 15 ปี และปรับ 60,000 - 300,000 บาท โดยสำนักงานศาลยุติธรรม จะดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดต่อไปภายใต้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ

"ลักษณะข้อความของผู้บุกรุกทางคอมพิวเตอร์ที่ได้เขียนไว้ในหน้าเว็บเพจของสำนักงานศาลยุติธรรมนั้น ทำให้เห็นได้ว่าอาจเชื่อมโยงการพิพากษาคดีเกาะเต่า ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรม ขอเรียนว่า การกระทำที่เกิดขึ้นของผู้บุกรุกทางคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการพิจารณา และคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีเกาะเต่าได้ที่ศาลได้ดำเนินการตามบทบัญญัติกฎหมาย แต่ทางคดี คู่ความสามารถใช้สิทธิ์อุทธรณ์-ฎีกาได้ตามกฎหมายต่อไป" นายสืบพงษ์ กล่าว


//news.sanook.com/1930774/
Create Date :14 มกราคม 2559 Last Update :14 มกราคม 2559 8:14:11 น. Counter : 994 Pageviews. Comments :0