bloggang.com mainmenu search
วันที่ 10-14 เมษายน 2552 ณ ลานกิจกรรม ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ได้จัดกิจกรรมสืบสานตำนานสงกรานต์ 4 ภาค และได้นำเสนอภาพถ่ายในช่วงการเปิดงานวันที่ 10 เมษายน 2552 ไปแล้ว แต่ก็เป็นภาพในส่วนของภาพนักแสดงที่ถ่ายภาพจากหลังเวที (ก่อนเริ่มการแสดง) //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=abird&month=04-2009&date=11&group=12&gblog=47

ยังมีภาพถ่ายในส่วนของภายหลังการเสร็จสิ้นพิธีเปิดไปแล้วอีก 3 การแสดงด้วยกัน นำมาให้ชมกันใน blog ชุดนี้
มาชมกันเลยก็แล้วกันครับ

ภาพถ่ายที่นำเสนอชุดนี้ ขอสอดแทรกเรื่องการถ่ายภาพงาน event ที่ตัวเองได้มีโอกาสถ่ายภาพบ่อยๆ มาให้อ่านกันเล่นๆ แต่ขอบอกไว้ก่อนว่าภาพกับเนื้อหาอาจจะไม่ได้สอดคล้องกันมากนัก เรียกว่าใครใคร่ชมแต่ภาพ ก็ชมภาพถ่ายก็แล้วกัน ส่วนใครใคร่อ่านเนื้อหาการถ่ายภาพ ก็อ่านกันไปสนุกๆ ตามนี้เลย


เนื้อหาขอเขียน 2 แนว แนวหนึ่งตั้งใจมาเขียนเรื่อง white balance ตามที่ k.SevenDaffodils ได้สอบถามไว้ใน blog ก่อนหน้านี้ และอีกแนวหนึ่งที่จะเขียนเกี่ยวกับการคัดเลือกภาพที่นำมาลงใน blog หรือ กระทู้ ตามที่น้าๆ มือโปรฯ ทางการถ่ายภาพเคยเล่าให้ฟัง

ขอเล่าเรื่องการคัดเลือกภาพก่อนก็แล้วกัน (ภาพที่เกี่ยวกับการแสดงในงาน event เท่านั้น)

ได้มีโอกาสตามไปถ่ายภาพร่วมกับน้าๆ ช่างภาพที่ตัวเองขอเรียกว่า "อาจารย์" ก็แล้วกัน โดยขอนำเสนอเรื่องการคัดเลือกภาพเพียงอย่างเดียว


คำถามที่คาใจในการคัดเลือกภาพ หลังจากที่นั่งถ่ายภาพ และแต่ละคนก็ถ่ายภาพในงาน event แบบนี้ นับร้อยๆ ภาพ หรือว่ามี mem เท่าไรก็ถ่ายกันจนหมดงานไปเลย
"อาจารย์ครับ อาจารย์ คัดเลือกภาพที่ถ่ายมาอย่างไรครับ"


"อาจารย์ ตอบว่า :-"
เลือกดู preview จากกล้องก่อน (ภายหลังการถ่ายจบงานนั้นแล้ว)


1. ดูภาพที่ถ่ายมา ถ้าหลับตาไม่เอา
2. ดูภาพที่ถ่ายมา ถ้าส่วนประกอบของตัวแบบ ขาดหายไป ไม่เอา
ขาดนิดขาดหน่อยก็ไม่เอา
3. ภาพถ่ายการแสดงรำฟ้อน ต้องจบด้วยท่ารำในแต่ละท่า
ให้ใช้หูฟังจังหวะกลอง ตัวแบบนางรำ ช่างฟ้อน จะจบท่าในการรำ การฟ้อน ตามจังหวะจบพร้อมกับกลอง


ฟ้งแล้วต้องบอกว่า จนป่านนี้ แค่ข้อ 1 กับ ข้อ 2 ถ้าไม่เอาภาพตามที่อาจารย์แนะนำมา สงสัยจะไม่เหลือภาพให้ดูให้ชมกันแน่ๆ เคยลองตัดทิ้งในคอมพิวเตอร์ดูแล้วเหมือนกัน เหลือภาพจากถ่ายนับร้อยๆ ภาพ เหลือไม่ถึง 20 ภาพ 5555
และถ้าเอาข้อ 3 อีกด้วย ....."ตายไปเลย" ไม่เหลือภาพมาให้เพื่อนๆ ชมกันแน่ๆ

สำหรับข้อ 3 นี้ ต้องบอกว่าอาจารย์เค้าจับจังหวะการถ่ายภาพดีมากๆ เลยครับ อ่อนช้อย สวยงดงามทุกภาพที่นำมาให้ชมกัน เรียกว่า มือกดชัตเตอร์ชั้นเทพแล้ว หู ยังต้องเป็นหูทิพย์อีกด้วย
ตัวอย่างที่อาจารย์เคยสอนไว้ เช่น จังหวะการตีกลอง เป็น
โป๊ะ โป๊ะ ชึ่ง..ชื่ง ชื่ง โป๊ะ
จังหวะโป๊ะ สุดท้ายก็กดชัตเตอร์ได้เลย
นางรำ-ช่างฟ้อนจะจบท่ารำในจังหวะนี้พอดี

และสำหรับตัวเองแล้ว น้อยครั้ง หรือเกือบจะไม่ได้ทำเลยก็ว่าได้ ที่จะใช้หูฟังและกดชัตเตอร์ได้ทันตามจังหวะการตีกลอง


เขียนให้อ่านกันเล่นๆ ในเรื่องการคัดเลือกภาพตามสไตล์ของปรมาจารย์ให้อ่านกันเล่นๆ แล้วลองดูจากภาพที่นำเสนอให้ชม 7 ภาพข้างบนนี้ ถ้าตัดไปอีกตามคำแนะนำของอาจารย์ ........จะเหลือกี่ภาพกันนี่ 5555

มาต่อกันด้วยเรื่องการปรับตั้ง white balance กันต่อเลยดีกว่า

จากปรมาจารย์คนเดิม ได้มีโอกาสถามคำถามเกี่ยวกับการตั้งค่า White Balance กับอาจารย์ว่า
"อาจารย์ครับ อาจารย์ตั้งค่า white balance อย่างไรครับ ในการถ่ายภาพ event ตอนกลางคืนแบบนี้ครับ"


อาจารย์ ตอบว่า
- งานที่ไม่มีไฟ follow มีแต่ไฟ spot light ให้ใช้ wb: แบบ tungsten light
- งานที่มีไฟส่อง follow ให้ใช้ wb: auto หรือ daylight ในบางงาน


หลังจากนั้นก็ได้ลองปรับตั้งตามที่อาจารย์แนะนำมา
แต่ก็ไม่ค่อยจะชอบใจในสีสันของกล้องตัวเอง(canon) (อาจารย์เค้าใช้ nikon ครับ)


ทำให้ตัวเองเลือกไม่ถูก และงงไปอยู่พักหนึ่งว่าจะปรับอะไรดี
สุดท้ายก็เลือกปรับไว้ที่ white balance แบบ auto อย่างเดียว
แล้วก็ไปปรับตั้งด้วย software ตกแต่งภาพในภายหลัง


จากภาพถ่ายของตัวเอง และส่วนหนึ่งของภาพที่ตัวเองไม่ชอบ ก็คือการได้ภาพที่มีโทนสีของแสงสีแดงติดมากับภาพ เจอทีไรก็มาลองเอาแสงสีแดงออกด้วย software ตกแต่งภาพทุกทีไป


ตรงนี้ต้องบอกไว้กันนิดหนึ่งก่อนว่า ที่เล่ามานั้น จากคำบอกเล่า และจำมาใช้ มาหัดลองใช้ถ่ายภาพด้วยตัวเอง แล้วก็เลือกแนวการถ่ายภาพที่ตัวเองชอบในสไตล์นี้ ส่วนจะถูกต้องตามหลักตามทฤษฎีหรือเปล่าค่อยว่ากันไปก็แล้วกันครับ


ขอนำข้อมูลเรื่อง White Balance มาให้อ่านกันด้วย และตัวเองก็จะเก็บไว้มาอ่านอ้างอิงสำหรับตัวเองในภายหน้าด้วย WB คือการตั้งค่าสมดุลย์แสงสีขาว ที่จะเป็นตัวกำหนดว่าแสงสีใดที่จะถูกบันทึกแล้วให้ออกมาเป็นสีขาว ค่า white balance นี้จะเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิสีของแสง Color Temperture ที่มีหน่วยเป็น Kelvin (K) ด้วย


ค่าอุณหภูมิสี อาจจะเคยได้ยิน หรือ ได้เห็นค่าอุณหภูมิของสีเป็น 3200K หรือ 5500K ซึ่งจะตรงกันกับค่าที่กำหนดไว้ Tungsten (3200K) และ Daylight (5500K)


ลองไปค้นจาก internet แล้วเจอที่น่าสนใจ คัดลอกในส่วนนี้มาให้อ่านกัน
(//voravit.multiply.com/reviews/item/2 - ขอขอบคุณไว้ด้วยครับ)

ไม้ขีดไฟ 1,700K
เทียนไข 1,850K
หลอดไฟทังสเตน 40 วัตต์ 2,650K
หลอดไฟทังสเตน 75 วัตต์ 2,820K
หลอดไฟทังสเตน 100 วัตต์ 2,900K
หลอดไฟทังสเตน 200 วัตต์ 2,980K
หลอดไฟทังสเตน 1000 วัตต์ 2,990K
หลอดไฟทังสเตน 3200K (ใช้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์) 3,200K
Studio tungsten lamp 3,350K
Photoflood lamp 3,400K
Daylight blue photoflood lamp 4,800K
Carbon arc lamp 5,000K
High-intensity sun arc lamp 5,500K
Xenon arc lamp 6,420K
แสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงขณะขึ้นหรือตก 2,000K
แสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงหลังจากขึ้น 1 ชั่วโมง 3,500K
แสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงในตอนสาย 4,300K
แสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงในตอนบ่าย 4,300K
แสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงทั่วไปในตอนเที่ยง 5,400K
แสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงในฤดูร้อน 5,800K
แสงจากท้องฟ้าทางด้านทิศเหนือ 6,000K
แสงจากดวงอาทิตย์ + แสงจากท้องฟ้า 6,500K
แสงจากท้องฟ้าเพียงอย่างเดียว 9,500K-30,000K


จากค่าต่างๆ ของอุณหภูมิสีที่แตกต่างกันนี้ ทำให้กล้อง digital ที่สามารถปรับค่า white balance ได้ ก็มีตัวเลือกให้ปรับกัน และสามารถเลือกปรับให้เป็นแบบอัตโนมัติ auto white balance


หรือค่าอื่นๆ เช่น Incandescent , Tungsten , Fluorescent , Daylight , Flash , Cloudy , Shade และแบบที่สามารถปรับตั้งค่าอุณหภูมิสีได้เลย ซึ่งก็อาจจำเป็นต้องใช้เครื่องวัดอุณหภูมิสีมาวัดกันเลย


ทั้งนี้การถ่ายภาพจะปรับตั้ง white balance ให้แก้ไขความสมดุลย์ของแสงสีขาวให้ถูกต้องเลย หรือจะปล่อยให้เป็นไปตามสภาพแสงในขณะนั้นๆ ก็อยู่ที่ว่าเราจะเลือกใช้แบบไหน


การที่กล้องมีตัวเลือกให้ปรับตั้ง white balance หลายรูปแบบนี้มาให้ ก็เป็นทางเลือกให้กับช่างภาพที่จะสร้างสรร ถ่ายทอดแสงสีมาสร้างภาพสวยให้ชื่นชมกัน


จบไว้กับภาพนี้ และเนื้อหาที่เขียนให้อ่านกันเล่นๆ พอดี
ขอขอบคุณนักแสดงนางรำ-ช่างฟ้อน (ภาคกลาง) ทุกๆ คนที่เป็นแบบให้ถ่ายภาพจากงาน กิจกรรมสืบสานตำนานสงกรานต์ 4 ภาค ณ ลานกิจกรรม ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ไว้ด้วยนะครับ

และขอบคุณทุกๆ ท่านเช่นเคยที่แวะมาชมภาพถ่ายใน blog ชุดนี้ด้วยครับ
Create Date :21 เมษายน 2552 Last Update :21 เมษายน 2552 23:40:04 น. Counter : Pageviews. Comments :18