Group Blog
 
 
ธันวาคม 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
20 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
สิ่งมีชีวิต10ชนิด ค้นพบใหม่ของโลก ประจำปี 2008





















“กิ้งกือ มังกรสีชมพู” สร้างชื่อให้ประเทศไทยด้วยการติดอันดับ 1 ใน 10 สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก แต่สิ่งมีชีวิตใหม่อีก 9 ชนิด ก็สร้างความตื่นเต้นฮือฮาให้แก่วงการวิทยาศาสตร์ไม่แพ้กัน ส่วนจะมีชนิดไหนบ้างและน่าตื่นเต้นมากน้อยเพียงใด ติดตามชมกันครับ

สถาบันไอไอเอสอี (International Institute for Species Exploration: IISE) มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตท (Arizona State University) สหรัฐอเมริกา จัดอันดับ 10 สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ และประกาศรายชื่อสิ่งมีชีวิตใหม่ทั้ง 10 ชนิดไปแล้วเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2551 ซึ่งมีกิ้งกือมังกรสีชมพู เป็นตัวแทนของประเทศไทย เข้าป้ายติดโผกับเขาด้วยในอันดับที่ 3

ส่วนอันดับอื่นๆ มีอะไรบ้างนั้นไปติดตามกันต่อได้เลยครับ..เริ่มจากอันดับที่ 10





อันดับ 10
ต้นมิชลินแมน (Michelin Man™ Plant)





พืชชนิดใหม่รูปร่างประหลาด มีข้อปล้องพองๆ มองดูคล้ายกับมิชลินแมน (Michelin Man™) ตัวการ์ตูนที่เป็นพรีเซนเตอร์ของยางมิชลิน เลยถูกตั้งชื่อให้ว่าต้นมิชลินแมน ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า เทคติคอร์เนีย ไบเบนดา (Tecticornia bibenda) พืชชนิดนี้ถูกค้นพบทางตะวันตกของประเทศออสเตรเลียร่วมกับพืชชนิดใหม่อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 298 ชนิด












อันดับ 9
ด้วงแรด (Rhinoceros beetle)


ด้วงแรดพันธุ์ปรกติเขาจะโง้งลง แต่พันธ์พบใหม่เขาโง้งขึ้น



ที่มาของชื่อด้วงแรดมาจากลักษณะของเขาที่โค้งงอเหนือศีรษะของด้วงที่มองดูคล้ายกับนอของแรด ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า เมกาซีราส ไบรอันซาลตินี (Megaceras briansaltini) พบในประเทศเปรู ซึ่งลักษณะโดดเด่นแปลกประหลาดของด้วงแรดนี้ยังไปคล้ายคลึงกับด้วงแรดสีฟ้า ในภาพยนตร์เรื่อง อะ บักส์ ไลฟ์ (A Bug’s Life) อีกด้วย












อันดับ 8
แมงกะพรุนกล่อง (box jellyfish)





แมงกะพรุนชนิดใหม่นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแมงกะพรุนอิรุคันจิ (irukandji jellyfish) เป็นแมงกะพรุนกล่องชนิดที่ 2 ของในสกุลมาโล (Malo) ซึ่งมีพิษรุนแรงมาก ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า มาโล คิงกิ (Malo kingi) โดยตั้งตามชื่อของโรเบิร์ต คิง (Robert King) นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่เสียชีวิตเนื่องจากถูกพิษของแมงกะพรุนชนิดนี้ ขณะเล่นน้ำทะเลอยู่ทางตอนเหนือของควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย การตายของคิงทำให้เกิดการตื่นตัวและหาวิธีการจัดการแมงกะพรุนชนิดดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยของประชาชน












อันดับ 7
เห็ดเซอโรโคมัส ซิลวูดเอนซิส





เซอโรโคมัส ซิลวูดเอนซิส (Xerocomus silwoodensis) เป็นเห็ดชนิดใหม่ที่พบอยู่ในซิลวูดแคมปัส (Silwood Campus) ในอิมพีเรียลคอลเลจ (Imperial College) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แต่ก็ยังพบในบริเวณอื่นของอังกฤษอีก 2 แห่ง รวมทั้งในสเปนและอิตาลีอีกอย่างละหนึ่งแห่ง การค้นพบนี้มีความหมายอย่างยิ่งต่อการศึกษาชนิดของพืชพรรณต่างๆ ในบริเวณนั้น และสถานภาพของเห็ดชนิดนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้างในปัจจุบัน












อันดับ 6
ค้างคาวผลไม้ (Mindoro stripe-faced fruit bat)





ค้างคาวผลไม้ชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า สไตลอคทีเนียม มินโดเรนซิส (Styloctenium mindorensis) พบบนเกาะมินโดโร (Mindoro) ประเทศฟิลิปปินส์แห่งเดียวเท่านั้น และเป็นค้างคาวชนิดที่ 2 ในสกุลสไตลอคทีเนียม โดยชนิดแรกนั้นพบอยู่บนเกาะสุลาเวสี อินโดนีเซีย ค้างคาวผลไม้ชนิดนี้จัดเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของค้างคาวลดน้อยลง และยังถูกล่าจากมนุษย์ แต่การค้นพบค้างคาวชนิดใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพฤติกรรมและการ กระจายพันธุ์ของค้างคาวบนเกาะมินโดโรเพื่อหาวิธีอนุรักษ์ต่อไป













อันดับ 5
งูไทปันชนิดใหม่ (Central Ranges Taipan)





หนึ่งในงูที่มีพิษร้ายมากที่สุดในโลก
งูชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ออกไซอุรานัส เทมโพราลิส (Oxyuranus temporalis) พบในประเทศออสเตรเลีย อาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในงูชนิดที่มีพิษรุนแรงที่สุดในโลก และเป็นญาติใกล้ชิดกับงูไทปันโพ้นทะเล (inland taipan) และงูไทปันชายฝั่ง (coastal taipan) ที่เป็นงูมีพิษร้ายแรงมากที่สุดอันดับ 1 และ 3 ของโลก ซึ่งการค้นพบงูชนิดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดประเภทสิ่งมีชีวิตที่ มีพิษรุนแรงเพื่อประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยที่ถูกพิษจากสัตว์เหล่านี้













อันดับ 4
กบหายากของศรีลังกา





กบชนิดนี้เป็นกบหายากที่พบในประเทศศรีลังกา ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า ฟิลอตัส ไมอา (Philautus maia) โดยก่อนหน้านี้เชื่อว่ากบดังกล่าวได้สูญพันธุ์ไปแล้วในปัจจุบัน แต่เมื่อมีการค้นพบกบชนิดนี้อีกครั้งจึงเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นและสำคัญ อย่างยิ่งต่อการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในประเทศศรีลังกา ซึ่งกบดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับตัวอย่างกบที่เก็บรักษาอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2403 และต่อมาไม่เคยมีใครพบเห็นอีกมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แล้ว จึงเป็นไปได้ที่จะไม่ค่อยมีใครรู้จัก












อันดับ 3
กิ้งกือมังกรสีชมพู (Shocking pink dragon millipede)





กิ้งกือมังกรสีชมพูมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า เดสโมไซเตส เพอร์พิวโรเซีย (Desmoxytes purpurosea) ลักษณะรูปร่างสวยงามแปลกประหลาด มีสีชมพูสดใสตลอดทั้งตัว มีหนามแหลมคล้ายมังกร และสามารถปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ออกมาป้องกันไม่ให้ศัตรูทำร้ายได้ พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก มีตัวอย่างจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเดนมาร์ก มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (Natural History Museum of Denmark, University of Copenhagen)













อันดับ 2
ฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ด (Duck-billed Dinosaur) อายุ 75 ล้านปี





ฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดนี้ถูกค้นพบโดยทีมนักบรรพชีวินวิทยาของพิพิธภัณฑ์แอลฟ์ (Alf Museum) ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกว่า ไกรโพซอรัส โมนูเมนท์เอนซิส (Gryposaurus monumentensis) นับได้ว่าเป็นฟอสซิลไดโนเสาร์ปากเป็ดที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ และคาดว่าน่าจะเป็นไดโนเสาร์ที่ขนาดใหญ่ที่สุดในแหล่งขุดข้นฟอสซิลบริเวณ ที่ราบทางตอนใต้ในรัฐยูทาห์ (Kaiparowits Plateau) เมื่อ 75 ล้านปีก่อน












อันดับ 1
ปลากระเบนไฟฟ้า (electric ray)





ปลากระเบนไฟฟ้าชนิดนี้เป็นสกุลใหม่และชนิดใหม่ในวงศ์นาร์คิดี (Narkidae) พบบริเวณชายฝั่งทางตะวันออกของประเทศแอฟริกาใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อิเล็กทรอลักซ์ แอดดิโซนิ (Electrolux addisoni) ซึ่งอิเล็กทรอลักซ์นั้นมาจากชื่อของเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนชื่อสามัญเรียกว่าออร์เนท สลีพเพอร์ เรย์ (Ornate sleeper ray) ด้วยลักษณะพิเศษที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้และชื่อเรียกที่น่ารักน่าขัน ทำให้มันขึ้นแท่นอันดับ 1 ของ 10 สุดยอดการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ในโลกประจำปี 2551 ซึ่งการค้นพบปลากระเบนไฟฟ้าชนิดนี้เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงความหลากหลายของปลา ในมหาสมุทรอินเดียตะวันตกได้ว่ามากน้อยเพียงใด























Create Date : 20 ธันวาคม 2551
Last Update : 20 ธันวาคม 2551 0:53:54 น. 6 comments
Counter : 5697 Pageviews.

 
ว้าว บล็อกนี้ไฮโซตื่นตาตื่นใจมั่กคับ
ลูกเพ่ วันหลังต้องมองหากิ้งกือสีช็อคกิ้งพิ้งค์นี่ดูมั่ง อิอิ เผื่อตีออกมาเป็นเลขท้ายได้มั่ง


โดย: Nagano วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:0:46:02 น.  

 


โดย: OFFBASS วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:4:52:58 น.  

 
เปิดโลกอีกแล้ว ขอบคุณค่ะฮันนี่ที่นำมาฝาก


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:7:30:48 น.  

 
ดีมากๆเลยค่ะ เข้าใจหามาอวดกันนะคะ
ค้างคาวน่ารัก


โดย: ลูกนางฟ้าลงมาเกิด วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:10:44:51 น.  

 
กิ้งกือมังกรสีชมพู

^
^
^


สีสวย
ถ้าได้เจอ สงสัยจังค่ะ
จะยังกลัวอยู่เหมือนเดิมไหม

ขอบคุณมากเลยค่ะ
ที่เอามาให้ชมกัน
เปิดโลกเพิ่มจริงๆ





โดย: d__d (มัชชาร ) วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:11:31:52 น.  

 
โห

พึ่งรู้นะครับ

ว่ามีกิ้งกืออย่างนี้อยู๋ด้วย

เดี๋ยวต้องมีคนเอาไปขายในตลาดมืดแน่นอน(ถ้าหาเจอ)


โดย: ศิรชัช IP: 180.180.9.218 วันที่: 2 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:33:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.