"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
16 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์


จันทรวารวรสวัสดิ์ มานมนัสภิรมยา ที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ค่ะ


พระประวัติ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสพระองค์เดียวในจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กับ หม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก (นามเดิมคือ Cathrine Desniksky) ชาวรัสเซีย ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2450 เมื่อเวลา 23.58 น. ที่ห้องแดง ภายในวังปารุสกวัน

ถือเป็นบุคคลเดียวที่ถือกำเนิดบนตำหนักวังปารุสก์ เมื่อรู้ข่าวว่าพระนัดดาเกิด สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ ที่แต่เดิมเคยกริ้วในพระโอรสมาก่อน ก็ทรงตื่นเต้นและหายกริ้ว

รีบเสด็จมาทอดพระเนตร เอาพระทัยใส่ทั้งการจัดห้องหับ การดูแลเรื่องต่าง ๆ มีพิธีการทำขวัญเดือนตามธรรมเนียมโบราณ โดยคุณยายของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ คือ ท้าววนิดาพิจาริณี (เหม สุจริตกุล)

เมื่อแรกประสูติทรงมีพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้า สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ พระราชทานพระนามว่า "พงษ์จักร" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามใหม่ว่า "จุลจักรพงษ์" โดยเป็นการนำพระนามของทูลหม่อมปู่คือ จุลจอมเกล้าฯ มา ทั้งยังเป็นการล้อพระนามพระบิดา ไปในขณะเดียวกัน

ขณะทรงพระเยาว์
เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ทูลขอหม่อมหลวงชม นรินทรกุล ผู้ซึ่งเป็นข้าหลวงอยู่ในวังสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ มาตั้งแต่อายุ 11 ปี รับใช้พระโอรสธิดาทุกพระองค์ มาเป็นพี่เลี้ยงให้พระโอรส

ด้วยความเห่อพระนัดดา จึงยอมให้มาเป็นพี่เลี้ยงพระโอรสที่วังปารุสก์ ในวัยเยาว์จนถึงอายุ 3 ขวบ โอรสองค์น้อยมีสุขภาพอ่อนแอ ซึ่งขณะที่อายุ 2 ขวบป่วยเป็นโรคบิดอย่างรุนแรง แต่รอดพ้นมาได้

พระองค์นี้ได้นำความปลาบปลื้มปีติยินดีให้กับสมเด็จพระบรมราชินีนารถยิ่งนัก อันเนื่องมาแต่ ทรงพระเมตตาที่มิได้ทรงได้รับพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าดังที่ควรจะเป็น

จึงใคร่จะพระราชทาน ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก็ทรงจัดพระราชทานให้เป็นพิเศษเทียบเท่ากับสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแทบทุกประการ

ด้วยทรงห่วงใยที่หม่อมคัทรินที่มีเชื้อชาติยุโรป จะไม่สามารถอบรมฝึกฝนจริตมารยาทของพระโอรส ให้เข้ากับระเบียบแบบแผนเจ้านายตามพระราชประเพณีไทยได้ดี หากยังได้ดูแลใกล้ชิดขนาดบรรทมร่วมบนพระที่ด้วย

ถึงแม้ว่าทูลกระหม่อมปู่ (รัชกาลที่ 5) แม้จะไม่ทรงรับพระนัดดาองค์ใหม่เป็นหลานอย่างเปิดเผย แต่ในที่สุดก็ได้โปรดให้พระนัดดาเข้าเฝ้าในปี พ.ศ. 2453 ที่พระราชวังพญาไท เมื่อพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์อายุครบ 2 ขวบ พระองค์ก็ทรงเล่าให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ถึงพระนัดดาไว้ว่า

"วันนี้ฉันได้พบกับหลานชายของเธอ ดูน่ารักน่าเอ็นดูเหมือนพ่อ ฉันรู้สึกรักและหลงใหลคนนี้ตั้งแต่แรกเห็น เพราะถึงอย่างไรนี่ก็เป็นสายเลือดเชื้อไขของฉันเอง" และรับสั่งต่อด้วยถ้อยคำที่แฝงความรู้สึกโล่งพระทัยว่า "และไม่มีเค้าว่า มีเชื้อสายฝรั่งติดมาด้วยเลย"

ภายหลังรัชกาลที่ 5 สวรรคตในปี 2453 ได้ค้นพบหลักฐานจากการบันทึกของหม่อมเจ้าทิพย์รัตน์ประภา เทวกุล ที่ท่านหญิงเคยรับใช้ฉลองพระเดชพระคุณสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในพระบรมมหาราชวัง ทรงมีรับสั่งกับท่านหญิงว่า

"สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงกำลังโปรดตาหนู เสียดายที่มาด่วนสวรรคตไปเร็ว" ส่วนรัชกาลที่ 6 ทรงพระเมตตารักท่านหนู ถ้าจะใคร่สันนิษฐาน ทรงโปรดเพียงใดจะเห็นได้ในประกาศเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระยศขึ้นเป็นพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เมื่อปี พ.ศ. 2463

การศึกษา
ประมาณ พ.ศ. 2458 สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ องค์เสนาธิการทหารบกในขณะนั้น ได้ทรงมอบหมายให้พระสารสาสน์พลขันธ์ เป็นผู้สอนหนังสือในฐานะเป็นครูคนแรกแก่พระโอรสวัย 7 ขวบ ที่วังปารุสกวัน

โดยเดิมทีสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ มีพระประสงค์ให้พระนัดดาเข้าโรงเรียนราชินี แต่พระองค์จุลฯ ไม่ทรงยินยอม ต่อมาจากนั้นอีก 2 ปี คือ ใน พ.ศ. 2460 พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ก็ได้เสด็จเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ที่ถนนราชดำเนินนอก

ตามกฏของโรงเรียนนายร้อยประถม นักเรียนทุกคนต้องเข้าเป็นนักเรียนกินนอน แต่เนื่องจากหม่อมแม่เห็นว่า ยังเด็กเกินไป เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ก็ทรงอนุโลม ใช้เวลาเรียนที่โรงเรียนนายร้อยประถมอยู่ 4 ปี จนจบ

แต่หลังจากนั้นไม่นานพระองค์ก็พลัดพรากจากพระมารดาที่ไม่ได้เอ่ยคำร่ำลากันหลังจากการหย่าร้าง ต่อมาอีก 2-3 เดือน สมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ สมเด็จย่าก็มาสวรรคต ตามด้วยการทิวงคตของพระบิดาในอีก 8 เดือนต่อมา

หลังจากที่พระบิดาทิวงคต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทูลกระหม่อมลุง ทรงวางแผนการศึกษาให้พระนัดดาได้ศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ เมื่อพระชันษาครบ 13 ปี โดยต้องการให้พระองค์จุลฯ รู้จักปกครองดูแลตนเอง

โดยออกมาเรียนตามลำพังและอนุญาตให้แม่มาเยี่ยมพระโอรสได้เป็นครั้งคราวเมื่อหยุดเรียน โดยก่อนที่เสด็จไปเมืองนอก ทูลกระหม่อมลุงและอาเอียดน้อย (ร.7) ได้ทรงตกลงจะให้พระองค์จุลฯ ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ

พระองค์จุลฯ ออกเดินทางศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ โดยเดินทางด้ายรถไฟไปถึงปาดังเบซาร์ ข้ามแดนไปท่าเรือตรงเกาะปีนัง ข้ามเขตสยามเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2463 แล้วจึงเสด็จโดยเรือ

เมื่อถึงประเทศอังกฤษ ทรงได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวดจากครอบครัวของพระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) อัครราชทูตไทยประจำประเทศอังกฤษ โดยในระยะแรกทรงอยู่กับครูที่เมืองไบรตัน ห่างจากกรุงลอนดอน 86 กิโลเมตร เพื่อซึมซับภาษาอังกฤษโดยไม่ได้พบปะคนไทยเลยเป็นเวลา 6 เดือน

ต่อมาพระองค์จุลฯ ทรงสามารถสอบเข้าศึกษาต่อได้ที่โรงเรียนแฮร์โรว์เมื่อ พ.ศ. 2466 ถึงปี พ.ศ. 2470 จนเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่วิทยาลัยตรินิตี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ด้านประวัติศาสตร์ ทรงได้รับปริญญาตรี (B.A. เกียรตินิยม) เมื่อปี พ.ศ. 2473

และ ปริญญาโท (M.A. เกียรตินิยม) เมื่อปี พ.ศ. 2477 เมื่อครั้งยังเรียนอยู่ที่อังกฤษ ทรงได้รับเลือกเป็นสภานายกสามัคคีสมาคม จากนั้นทรงรับราชการเป็นนายทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงลอนดอน

ผู้จัดการคอกหนูขาว

พระองค์พีระ และรถแข่ง Romulus ที่มีชื่อเสียง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ที่เริ่มเข้าการแข่งขันรถแข่ง จนถึงปี 2482 เป็นเวลา 5 ปี ที่ พ. พีระ เข้าแข่งขันความเร็วทั้งหมด 68 ครั้ง ชนะเลิศ 20 ครั้ง ได้ที่สอง 14 ครั้ง และที่สาม 5 ครั้ง และยังเข้าการแข่งขันระดับนานาชาติอีกหลายครั้ง

ถือเป็นคนเอเชียคนเดียวที่เข้าทีมต่างประเทศซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักแข่งรถอาชีพ โดยพระองค์จุลฯ ทรงทำหน้าที่เป็นผู้จัดการคอกหนูขาวนี้นานเกือบ 8 ปี โดยเป็นผู้ออกทุนทรัพย์และอำนวยการในระหว่างการแข่ง

ด้วยความที่พระองค์จุลฯ มีนามเล่นว่า "หนู" พระองค์พีระฯ จึงเขียนรูปหนูสีขาวไว้ที่รถ ตั้งแต่นั้น จึงเรียกคณะแข่งรถนี้ว่า "คอกหนูขาว" (White Mouse) ทาสีฟ้าสดใสมีรถแข่งขันที่ชื่อ รอมิวลุส (Romulus) รีมุส (Remus) และ หนุมาน (Hanuman) สีฟ้าแบบนี้ ปัจจุบันเรียกว่า ฟ้าพีระ (Bira blue)

เริ่มจาก พระองค์จุลฯ ทรงประทับที่เดียวกับพระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์ พระโอรสในสมเด็จวังบูรพาฯ โดยพระองค์เจ้าอาภัสสรวงศ์แนะนำให้พระองค์จุลฯ รู้จักกับพระองค์พีระฯ และทำให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและต้องชะตากัน และด้วยความที่พระองค์จุลฯ กำพร้าจึงทรงรู้สึกเหมือนตนเป็นพี่ชายของพระองค์พีระฯ

ในขณะช่วงหยุดเรียน ฤดูร้อนปี 2474 พระองค์พีระฯ พระองค์จุล และพระองค์อาภัสฯ พักด้วยกันที่เมืองเบียริทซ์กับ มารดาและสามีใหม่ของมารดาพระองค์จุลฯ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สนุกสนาน พระองค์อาภัสฯ สอนพระองค์พีระฯ หัดขับรถ ก็ได้ฉายแววพรสวรรค์ทางด้านนี้ ทรงเรียนรู้การขับรู้ได้เร็วและโปรดการขับรถอย่างยิ่ง

และภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ภาวะการเงินของสำนักงานพระคลังข้างที่ อยู่ในฐานะลำบาก พระองค์จุลฯ จึงรับอุปการะพระองค์พีระฯ อย่างเต็มตัว พระองค์ทรงออกกำลังทรัพย์ในการแข่งขันรถ พระองค์จุลฯ ซื้อรถ อี.อาร์.เอ ประทานให้เป็นของขวัญวันเกิดพระองค์พีระฯ

โดยได้ประลองแข่งขันความเร็วครั้งแรกที่ดิเอปป์ ประเทศฝรั่งเศส เข้าเส้นชัยเป็นคนที่ 2 นับเป็นผลงานเกินความคาดหมาย และหลังจากนั้นก็ได้รับชัยชนะครั้งแรกที่โมนาโค พระองค์พีระฯ ได้ครองรางวัลดาราทอง สร้างความปลาบปลื้มให้กับชาวไทย หนังสือพิมพ์ในกรุงเทพฯ พากันพาดหัวหน้าหนึ่งกันเอิกเกริก

หลังจากจบฤดูแข่งขันรถในปี พ.ศ. 2480 พระองค์พีระฯ ได้ครอบรางวัลดาราทองอีกเป็นปีที่ 2 พระองค์จุลฯ พระองค์พีระฯ และนายพุ่ม สาคร พระสหายของเจ้าฟ้าฯ จักรพงษ์ฯ กลับประเทศไทย ได้รับการต้นรับจากคนไทยอย่างล้นหลาม ในฐานะวีรบุรุษที่นำชื่อเสียงเกียรติภูมิของประเทศไทยแพร่ขจายไปสู่โลกกว้าง


พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ

ในการลาออกจากราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 มีหนังสือเรื่อง แถลงการณ์เรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ มีเรื่องที่กล่าวถึงพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เจ้านายพระองค์ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์ต่อจากรัชกาลที่ 7

โดยพระองค์ตอบกลับว่า "จะไม่มีใครมาเชิญฉันหรอก และถึงจะมีคนมาเชิญจริง ๆ ฉันก็ยินดีรับไม่ได้เพราะได้ถูกตัดออกอย่างเด็ดขาดมานานแล้ว ถ้าจะรบเร้ากันจริง ๆ ซึ่งก็ไม่เชื่อว่า จะมีใครมารบเค้า ฉันต้องยืนยันให้มีประชามติ (plebiscite) กันเสียก่อน"

สิ้นพระชนม์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2506 ด้วยโรคมะเร็ง

ชีวิตส่วนพระองค์
ครอบครัว

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงพบ หม่อมเอลิสะเบธ (นามเดิมคือ Elisabeth Hunter) เมื่อครั้งไปเรียนศิลปะการวาดภาพ โดยพระองค์เจ้าพีระ ซึ่งโปรดสตรีร่วมห้องเรียนกับหม่อมเอลิสะเบธ จึงชวนพระองค์นัด เสด็จไปดินเนอร์กัน 4 คน จึงได้พบและหลงรักกัน แต่ขณะนั้นท่านตั้งพระทัยจะไม่รักสตรีต่างชาติ

เนื่องจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 7 รับสั่งมาทางจดหมายว่า อย่าทำตามที่ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ พระบิดาทรงทำ คือการแต่งงานกับสตรีต่างด้าว จนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงรู้สึกเป็นอิสระจากภาระหน้าที่ตามพระราชประเพณี จึงตัดสินพระทัยเสกสมรสกับหม่อมเอลิสะเบธ (Elisabeth Hunter) เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2481

หลังการเสกสมรสในปีเดียวกันทรงพาหม่อมเอลิสะเบธกลับประเทศไทยพร้อมกับพระองค์เจ้าพีระทรงนำหม่อมซีรีลกลับ โดยเสด็จทางเรือและขึ้นบกที่สิงคโปร์ และต่อรถไฟมายังหัวลำโพง การเสด็จกลับครั้งนี้นับเป็นข่าวใหญ่มาก ประชาชนต่างมารอรับเสด็จกันแน่นขนัด

เมื่อเสกสมรส พระองค์ทรงดำริที่จะไม่มีบุตร ในจดหมายฉบับหนึ่งที่เขียนถึงหม่อมเอลิสะเบธ ได้ตรัสไว้ว่า "ถ้าเผื่อเราแต่งงานกัน อย่ามีลูกกันเลย เพราะเด็กที่เกิดมาหลายเชื้อชาติ จะมีปัญหาตลอด" แต่ถึงกระนั้นหลังเสกสมรสเป็นเวลา 18 ปี หม่อมเอลิสะเบธจึงตั้งครรภ์หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ เมื่อหม่อมอายุ 41 ปี

ความสนพระทัย
ในระหว่างทรงศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ทรงโปรดการละคร โดยทรงแสดงประปรีชาสามารถด้านการละครในเวลาต่อมา ทั้งทรงนิพนธ์บทละครจำนวนหนึ่ง และยังทรงเข้าร่วมแสดงละครและนิพนธ์บทละครด้วยตัวพระองค์เอง

พระอัจฉริยภาพ
พระนิพนธ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงสนพระทัยในงานประพันธ์และประวัติศาสตร์ ทรงนิพนธ์หนังสือไว้ 13 เล่ม โดยเล่มที่สำคัญที่สุดคือ "เกิดวังปารุสก์", "เจ้าชีวิต" และ "ชุมนุมจุลจักรสาร"

ประวัติศาสตร์ที่แต่งเป็นภาษาอังกฤษ ได้แก่ Lords of Life (และต่อมาทรงแปลเป็นภาษาไทยใช้ชื่อว่า "เจ้าชีวิต" เรื่องราวของพระราชวงศ์จักรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 ของการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปี 2475 ซึ่งเป็นปีเปลี่ยนการปกครอง),

Wheels at Speed,Road Racing 1936,Road Star Hat Trick,Dick Seaman-Racing Motorist, Brought up in England,Blue and Yellow, The Education of the Enlightened Despots, The Twain Have Met, First-Class Ticket

ประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย ไตรภูมิพระร่วง,เจ้าชีวิต
สาขาประวัติศาสตร์ต่างประเทศได้แก่ เฟรเดริค มหาราชแห่งปรัสเซีย, คองเกรสแห่งเวียนนา, คัทรินมหาราชินี,คาวัวร์และกำเนิดอิตาลีอิสระ,ฮันนิบาล,เนลสัน

สาขาอัตชีวรรณา ได้แก่ เกิดวังปารุสก์ ซึ่งเป็นผลงานที่โดดเด่นมากที่สุด นิพนธ์ไว้ทั้งหมด 3 เล่ม

สาขาบทละคร ได้แก่ สุดหนทาง ตรวจราชการ

สารคดีปกิณกะ ได้แก่ ชุมนุมจุลจักรสาร ต้นรัชกาลเอลิซาเบธที่ 2 นวนิยาย ได้แก่ สามสาว, ดัดสันดานอิเหนา และสาวสวย-หญิงงาม

เรื่องแปล ได้แก่ วาระสุดท้ายของฮิตเลอร์
แข่งรถ ได้แก่ ดาราทอง ,ไทยชนะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
มหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.)
ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)

มหาประถมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
มหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1

อนุสรณ์และการรำลึกถึง
เนื่องในปีครบรอบ 100 ปี การประสูติของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ หม่อมราชวงศ์นริศรา จักรพงษ์ พระธิดา ร่วมกับลูกชาย จุลจักร จักรพงษ์ และภูวสวัสดิ์ จักรพงษ์ จัดนิทรรศกาล “100 ปี จุลจักรพงษ์” เปิดบ้านจักรพงษ์ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าไปเยี่ยมชมเป็นครั้งแรก

ทั้งนี้ยังจัดทำหนังสือที่ระลึกและดีวีดีภาพยนตร์เรื่อง “ภาพแห่งชีวิต จุลจักรพงษ์” ที่เป็นการรวมรวมข้อมูลพระองค์จุลฯ รวมภาพข่าว ภาพวาดโบราณต่าง ๆ ความยาวจำนวน 120 หน้า ประกอบด้วย 10 บท และในวันงานยังมีการฉายภาพยนตร์เก่า “ภาพแห่งชีวิต จุลจักรพงษ์” ที่นำฟิล์มต้นฉบับภาพยนตร์เก่าที่ถ่ายทำโดยพระองค์จุลฯ

สำหรับอาคารที่ตั้งตามพระนาม เช่น ตึกจุลจักรพงษ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ใช้เป็น สถานที่พยาบาลคนไข้ภายนอก สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2524 และตึกจุลจักรพงษ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งหลังศาลาพระเกี้ยว


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารสิริสวัสดิ์ โสมนัสสวัสดิ์สิริ ที่มาอ่านค่ะ


Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2552 17:14:57 น. 0 comments
Counter : 1603 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.