"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
 
กันยายน 2552
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
14 กันยายน 2552
 
All Blogs
 
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน



พระประวัติ


พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาวาด ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2424 ขณะทรงพระเยาว์เริ่มศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

ปี พ.ศ. 2437 เสด็จไปทรงศึกษาต่อด้านโยธาธิการที่ โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ และทรงศึกษาต่อวิชาวิศวกรรมที่ ตรินีตี้คอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และวิชาทหารช่างที่ แชทแฮม

จากนั้นเสด็จศึกษาเพิ่มเติมในประเทศฝรั่งเศส ทรงศึกษาการทำทำนบและขุดคลอง ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเสด็จกลับมาทรงงานและศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนได้เป็นสมาชิก M.I.C.E. (Member of the Institution of Civil Engineer) (เทียบเท่า วิศวกรรมสถาน)

พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2447 ทรงรับราชการทหาร เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างพระองค์แรกในปี พ.ศ. 2451 และทรงดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลา 17 ปี

ทรงนำความรู้ในวิชาการทหารแผนใหม่ตามแบบอย่างประเทศตะวันตกมาปรับปรุงกิจการทหารช่าง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่ และกองทัพ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงลาออกจากราชการและเสด็จไปประทับ ณ ประเทศสิงคโปร์ พร้อมกับครอบครัวเมื่อ พ.ศ. 2476 กระทั่งวันที่ 14 กันยายน 2479 พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรได้สิ้นพระชนม์ที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ สิริพระชนมายุได้ 55 ปี


พระกรณียกิจ

ด้านการรถไฟไทย

การดำเนินกิจการรถไฟในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงให้ชาวต่างประเทศเป็นผู้ควบคุมการบริหารกิจการทั้งหมด กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ

ในปี พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมรถไฟหลวง" และให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง

และทรงบุกเบิกพัฒนากิจการต่างๆ ของกรมรถไฟหลวง ขยายเส้นทางเดินรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สายตะวันออกเฉียงเหนือทรงสร้างทางรถไฟจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี สายตะวันออกจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ และทรงนำรถจักรดีเซลเข้ามาใช้เป็นประเทศแรกในทวีปเอเชีย

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมกรมทางไปขึ้นกับกรมรถไฟหลวง โดยให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงรับผิดชอบงานสร้างถนนและสะพานทั่วประเทศ เช่น สะพานกษัตริย์ศึก เป็นสะพานลอยข้ามทางรถไฟแห่งแรก และสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง สะพานพุทธ สะพานพระราม 6

ในปี พ.ศ. 2464 ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงริเริ่มนำเอาเครื่องเจาะมาทำการเจาะสำรวจหาน้ำมันดิบ ในบริเวณที่มีผู้พบน้ำมันดิบไหลขึ้นมาบนผิวดินที่บ่อหลวง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงว่าจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันเข้ามาสำรวจทางธรณีวิทยา เพื่อค้นหาน้ำมันดิบและถ่านหินในประเทศไทย


ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร

พระองค์ทรงริเริ่มนำวิทยาการด้านการสื่อสารเข้ามาใช้การพัฒนาประเทศ ทรงตั้งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงทดลองขนาดเล็ก และสั่งเครื่องวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง ทรงเปิดการกิจการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2473 ใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท"

และถือว่าเป็นบุคคลแรกของสยาม ที่ต้องการให้ประเทศสยาม มีการส่ง เทเลวิชั่น หรือ วิทยุโทรทัศน์ขึ้นครั้งแรกในประเทศสยาม แต่ความคิดที่จะต้องการส่งแพร่ภาพโทรทัศน์ เมื่อขณะดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น ไม่ประสบความสำเร็จ

เนื่องจากสยามได้เปลื่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ทำให้การกำเนิดโทรทัศน์จึงล้มเลิกไปในระยะหนึ่ง (หากประสบความสำเร็จ ประเทศสยาม อาจเป็นประเทศแรกของเอเชีย ที่มีการส่งโทรทัศน์)

ด้านการสื่อสาร ทรงให้ความสำคัญการสื่อสาร โดยจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทั่วประเทศ ให้บริการรับส่งจดหมาย พัสดุ ไปรษณีย์ ธนาณัติ และโทรเลข รวมทั้งการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์และวิทยุโทรเลขภายในและภายนอกประเทศ

ด้านการคมนาคม ทรงสนพระทัยกิจการบิน โดยทรงทดลองขับเครื่องบินสาธิต จนได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นคนไทยคนแรกที่มีโอกาสขึ้นเครื่องบิน และทรงวางรากฐานกิจการการบินขึ้นในประเทศไทย และการจัดการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ จัดตั้งบริษัทเดินอากาศและเปิดเส้นทางพาณิชย์


ด้านอื่น ๆ

1 เมษายน พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคมเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน และให้ นายพลเอก กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และเป็นนายกสภาเผยแผ่พาณิชย์

21 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาราชการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงปฏิบัติราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีเป็นครั้งคราว


พระโอรส ธิดา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงเป็นต้นราชสกุล "ฉัตรชัย" ทรงมีพระโอรส พระธิดารวม 11 องค์ ประสูติจากพระชายา ดังนี้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล (11 มิถุนายน 2428 - 15 กุมภาพันธ์ 2506) พระธิดาในสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ อภิเษกสมรสเมื่อ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 มีพระโอรส 1 องค์ และ พระธิดา 3 องค์

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงมยุรฉัตร (7 มีนาคม 2449 - 11 สิงหาคม 2513) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์
หม่อมราชวงศ์ฉัตรโสภณ สวัสดิวัตน์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น หม่อมราชวงศ์พรรธนภณ) สมรสกับเจริญศรี ชัยมงคล, อรอนงค์ ษีติสาร, เบญจมาศ เหลืองไพบูลย์ และ ทิพวัลย์ มั่งคั่ง
หม่อมหลวงพรรธนฉัตร สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงหญิงฉัตราภา สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงหญิงสิริฉัตร สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงมาฆฉัตร สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงเทพฉัตร สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงร่มฉัตร สวัสดิวัตน์
พระองค์เจ้าหญิง

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร (12 สิงหาคม 2458 - 24 กรกฎาคม 2524) เษกสมรสกับ งามจิตต์ สารสาส

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลฉัตร (28 พฤษภาคม 2464 - ) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย สมรสกับ เอมอร บุษบงก์
หม่อมหลวงอภิชิต วุฒิชัย
หม่อมหลวงหญิงอาทิตรา วุฒิชัย
หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร วุฒิชัย สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงหญิงศศิภา สวัสดิวัตน์
หม่อมหลวงหญิงจันทราภา สวัสดิวัตน์

เจ้าหญิงลดาคำ ณ เชียงใหม่ (7 ธันวาคม 2439 - 15 มิถุนายน 2527) พระนัดดา (หลานปู่) ใน เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๘ มีพระธิดา 2 องค์

หม่อมเจ้าหญิงฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี (27 กุมภาพันธ์ 2463 - 21 พฤษภาคม 2539) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้ารวิพรรณไพโรจน์ รพีพัฒน์ พระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ภายหลังทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเษกสมรสกับ คุณณรงค์ วงศ์ทองศรี นักธุรกิจ
หม่อมราชวงศ์หญิงพัฒนฉัตร รพีพัฒน์
ฉัตรชัย วงศ์ทองศรี
ดนัยฉัตร วงศ์ทองศรี
ธนฉัตร วงศ์ทองศรี

หม่อมเจ้าหญิงภัทรลดา ดิศกุล (21 มีนาคม 2467 - 29 มีนาคม 2551) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล พระโอรสใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
หม่อมราชวงศ์หญิงรมณียฉัตร ดิศกุล สมรสกับ นริศ แก้วกิริยา
หม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล สมรสกับ นิภาพรรณ สิริถาพร
หม่อมหลวงหญิงอรดิศ ดิศกุล สมรสกับ วัฒนวงษ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
หม่อมหลวงหญิงศุภพรรณ ดิศกุล สมรสกับ อภิชาติ ลีนุตพงษ์
หม่อมหลวงณัฐสิทธิ์ ดิศกุล สมรสกับ จิรวรรณ เหลืองอมรเลิศ

หม่อมเพี้ยน สุรคุปต์ (1 กันยายน พ.ศ. 2442 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2481)

หม่อมเจ้าหญิงกาญจนฉัตร ฉัตรไชย (21 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2531) เษกสมรสกับ หม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ
หม่อมราชวงศ์อดิศรฉัตร ศุขสวัสดิ สมรสกับ สุชาดา จารุเสถียร
หม่อมหลวงบวรชัย ศุขสวัสดิ
หม่อมหลวงหญิงอุระมา ศุขสวัสดิ
หม่อมราชวงศ์หญิงอรฉัตร ศุขสวัสดิ สมรสกับ ประยอม ซองทอง
ปริย ซองทอง
ปรม ซองทอง
ปวร ซองทอง
หม่อมราชวงศ์หญิงประกายฉัตร ศุขสวัสดิ
หม่อมราชวงศ์ไชยฉัตร ศุขสวัสดิ

หม่อมเผือด พึ่งรักวงศ์ (พ.ศ. 2449 - มีนาคม พ.ศ. 2527)

หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรไชย (15 มิถุนายน พ.ศ. 2472 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536) เษกสมรสกับ รัชดา อิศรเสนา ณ อยุธยา และ หม่อมราชวงศ์หญิงเรืองรำไพ ชุมพล
หม่อมราชวงศ์รพิฉัตร ฉัตรไชย สมรสกับ มนวิภา ฉัตรไชย
หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรไชย

หม่อมบัวผัด อินทรสูต (5 เมษายน พ.ศ. 2454 - )

หม่อมเจ้าหญิงเฟื่องฉัตร ฉัตรไชย (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2547) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อเษกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์พิพัฒนดิศ ดิศกุล
หม่อมหลวงธีรฉัตร ดิศกุล (ภายหลังพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงรับเป็นโอรสบุญธรรม จึงเปลี่ยนนามสกุลเป็น หม่อมหลวงธีรฉัตร บุรฉัตร) สมรสกับ ยุวดี โกมารกุล ณ นคร และ ปราณี จันทร์เวียง
ชนิกานดา โกมารกุล ณ นคร (ใช้นามสกุลมารดา)
ยุพาพิน โกมารกุล ณ นคร (ใช้นามสกุลมารดา)
ธานีฉัตร บุรฉัตร
หม่อมหลวงพิพัฒนฉัตร ดิศกุล สมรสกับ เสาวนีย์ ธีราสถาพร
หม่อมหลวงพิชยฉัตร ดิศกุล
หม่อมหลวงหญิงฉัตรฏิปปีญา ดิศกุล

หม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรไชย (12 กันยายน พ.ศ. 2478 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2499)

หม่อมจำลอง ชลานุเคราะห์ (8 กันยายน พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2511)

หม่อมเจ้าหญิงหิรัญฉัตร ฉัตรไชย (20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 - ธันวาคม พ.ศ. 2541) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับ แอลเฟรด ฟิททิ่ง และ เบเวน เอ็ดเวิร์ดส ชาวอเมริกัน
ฉัตราภรณ์ คอร่า ฟิททิ่ง
ฉัตราภา ออรอร่า ฟิททิ่ง (ฉัตราภา ออรอร่า เอ็ดเวิร์ดส)
ปิติฉัตร เบเวอร์ลี เอ็ดเวิร์ดส
ภัทรฉัตร เบแวน เอ็ดเวิร์ดส

หม่อมเอื้อม อรุณทัต (พ.ศ. 2452 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)

หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรไชย (6 ตุลาคม พ.ศ. 2477 - ) เษกสมรสกับ จารุศรี รัตนวราหะ และมีหม่อม คือ มัณฑนา บุนนาค และ อรศรี ลีนะวัต
หม่อมราชวงศ์หญิงลักษมีฉัตร ฉัตรไชย สมรสกับ หม่อมหลวงปริญญากร วรวรรณ
หม่อมราชวงศ์หญิงกมลฉัตร ฉัตรไชย สมรสกับ พร้อมพงศ์ บุญพราหมณ์
หม่อมราชวงศ์หญิงธิดาฉัตร ฉัตรไชย สมรสกับ กุลิต จันทร์ตรี
หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรไชย
หม่อมราชวงศ์มณฑิรฉัตร ฉัตรไชย
หม่อมราชวงศ์หญิงเอื้อมทิพย์ ฉัตรไชย
หม่อมราชวงศ์ฉัตรทิพย์ ฉัตรไชย
หม่อมราชวงศ์หญิงเอิบทิพย์ ฉัตรไชย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
มหาจักรีบรมราชวงศ์ ( ม.จ.ก. )
นพรัตนราชวราภรณ์ ( น.ร. )
ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ ( ป.จ.ว. )
รามาธิบดี ชั้นเสนางคะบดี ( ร.ม.บ. )
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ( ม.ป.ช. )
มหาวชิรมงกุฏ ( ม.ว.ม. )
วชิรมาลา ( ว.ม.ล. )
วัลลภาภรณ์ ( ว.ภ.)
รัตนวราภรณ์ ( ร.ภ. )
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕ จ.ป.ร. ชั้นที่ ๒
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๖ ว.ป.ร. ชั้นที่ ๑
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๗ ป.ป.ร. ชั้นที่ ๑


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Create Date : 14 กันยายน 2552
Last Update : 15 กันยายน 2552 10:47:16 น. 0 comments
Counter : 3819 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.