กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
18 สิงหาคม 2551

ประดาบ >>> ' รัฐธรรมนูญ กับ ศาล '

ประดาบ >>> 'รัฐธรรมนูญ กับ ศาล '

รัฐธรรมนูญ กับ ศาล
มีข้อพึงสังเกต ที่มิอาจจะข้ามไปได้ สำหรับสถานการณ์ของประเทศไทย ในกำมือตุลาการภิวัฒน์ ดังเช่นกรณีนี้...

1. รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 เขียนไว้ว่า...

บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายและสุขภาพ สถานะของบุคคล สถานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

2. วันที่ 31 กรกฎาคม 2551 ศาลอาญา อ่านคำพิพากษาลงโทษ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน ข้อหา ร่วมกันหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรโดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยอุบาย และร่วมกันแจ้งข้อความเท็จให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ โดยจงใจเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ว่า

“..จำเลยทั้งสามเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะกระทำผิดฐานให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี จำเลยที่ 2 เป็นภริยาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับผู้บริหารประเทศ จำเลยทั้งสามจึงนอกจากมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนเยี่ยงพลเมืองดีทั่ว ๆ ไปแล้ว ยังควรดำรงตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีสมฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย แต่จำเลยทั้งสามกลับร่วมกันกระทำการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่เป็นธรรมต่อสังคมและระบบภาษี ทั้ง ๆ ที่จำนวนค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระตามกฎหมายและจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนในที่สุดนั้นเทียบไม่ได้กับจำนวนทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 และครอบครัวมีอยู่ในขณะนั้น การที่จำเลยที่ 1 จะชำระภาษีอากรไปตามกฎหมายเช่นพลเมืองทุกคน จึงมิได้มีผลกระทบต่อฐานะของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสามจึงร้ายแรง

พิพากษาว่า จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (2) ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันโดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบายหรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จำคุกจำเลยทั้งสาม คนละ 2 ปี ฐานโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจ ร่วมกันแจ้งข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร จำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 1 ปี รวมจำคุกจำเลยที่ 1 และ ที่ 2 คนละ 3 ปี...”

ด้วยเหตุที่ ศาล เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และ ต้องปฏิบัติหน้าที่ อำนวยการความยุติธรรมแก่บุคคลทั่วไป ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ผมจึงมีเหตุที่จะต้องตั้งข้อพึงสังเกต ดังนี้....

1. นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร และ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน เป็นผู้กระทำความผิด ข้อหาร่วมกันหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยอุบาย และร่วมกันแจ้งข้อความเท็จให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ โดยจงใจเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร
ที่ศาลพิพากษาจำคุก โดยไม่รอลงอาญา และจัดเป็นการกระทำผิดร้ายแรง
เนื่องจาก คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นผู้มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม สูง

ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ชัดเจนว่า ไม่สามารถนำเหตุที่บุคคลมีสถานะทางเศรษฐ กิจและสังคม มาเป็นข้ออ้างในการเลือกปฏิบัติ ได้ แต่ศาลได้นำ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร มาเป็นเหตุแห่งการลงโทษ และกล่าวย้ำเหตุนี้ติดต่อกันถึง 5 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของคำพิพากษาของศาล ต่อกรณีนี้ อย่างชัดแจ้งและเปิดเผย


2. หากนำกรณีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปเปรียบเทียบกับ กรณีนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล ภริยาของนายจรัล ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฉ้อโกงที่ดินของบุคคลอื่น พึงต้องตั้งคำถามต่อศาลว่า เหตุใดนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล จึงได้รับความเมตตาจากศาล ให้ได้รับค่าชดเชยการพัฒนาที่ดิน เป็นเงิน 10 ล้านบาท จากเจ้าของที่ดิน ซึ่งถูกนางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล ฉ้อโกง และศาลก็พิพากษาว่านางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล มีความผิดข้อหาฉ้อโกง จริง ทั้งๆ ที่นางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล เป็นภริยานายจรัล ภักดีธนากุล ข้าราชการตุลาการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ สูง ซึ่งนอกจากมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนเยี่ยงพลเมืองดีทั่ว ๆ ไปแล้ว ยังควรดำรงตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีสมฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย แต่นางทีปสุรางค์ ภักดีธนากุล กลับร่วมกันกระทำการฉ้อโกงบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้มีพระคุณต่อตนเอง อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ไม่เป็นธรรมต่อสังคมและเจ้าของที่ดิน

3. หากนำกรณีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปเปรียบเทียบกับกรณีท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ ภริยา พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี บุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ครอบครองที่ดินเขายายเที่ยง สร้างบ้านพักตากอากาศ และจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่ยอมย้ายออก ไม่ยอมคืนที่ดินให้แก่รัฐ แต่กลับยักย้ายถ่ายเทที่ดินเขายายเที่ยงไปให้แก่บุตร ครอบครองต่อ ราวกับว่าเป็นที่ดินของตนเอง มิใช่ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐ ได้แจ้งแล้วว่าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีสิทธิครอบครองเป็นเจ้าของ และมีผู้แจ้งความดำเนินคดีต่อท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ และ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ไว้แล้ว กระบวนการยุติธรรม ทุกระดับชั้น ตั้งแต่ พนักงานสอบสวน พนักงานอัย การ และ ศาล จะใช้มาตรฐานเดียวกันกับกรณีคุณหญิงพจมาน ชินวัตร หรือไม่ เนื่องจากท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ เป็นภริยาแม่ทัพภาคที่ 2 ภริยาผู้บัญชาการทหารบก ภริยาองคมนตรี และ ภริยานายกรัฐมนตรี มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง สามารถซื้อที่ดินสร้างบ้านพักตากอากาศ ที่ใดก็ได้ และ การคืนที่ดินที่ครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้แก่รัฐ ก็มิได้กระทบต่อฐานะทางเศรษฐกิจของท่านผู้หญิงจิตราวดี แต่อย่างใด นอกจากนี้ ในขณะที่ครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาตินั้น เป็นเวลาเดียวกับที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยป้องกัน และปราบปรามการทำลายทรัพยากรป่าไม้ หรือ นปม. ในเขตพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ซึ่งครอบคลุมป่าสงวนแห่งชาติเขายายเที่ยง ด้วย จึงมิอาจจะอ้างได้ว่าไม่รู้ว่าพื้นที่ที่ครอบครอง เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ จงใจที่จะบุกรุกและครอบครองที่ดินเขายายเที่ยง ทั้งๆ ที่รู้แก่ใจว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ กล่าวได้ว่ามีเจตนาที่จะฉ้อโกงที่ดินของรัฐ อย่างชัดแจ้ง กรณีเช่นนี้ จึงต้องติดตามดูว่า พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และ ศาล จะตัดสินอย่างไร หลังจากที่ ป.ป.ช. ปฏิเสธที่จะตรวจสอบเรื่องนี้ ไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่ท่านผู้หญิงจิตราวดี จุลานนท์ กระทำความผิดตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ ไม่เป็นธรรมต่อสังคมและระบบการจัดการทรัพยากรป่าไม้ของชาติ และไม่ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของตนเอง

คำถามอันเกิดจากข้อสังเกต 3 ข้อ นี้

เป็นคำถามที่น่าจะทำให้ผู้ใช้อำนาจตุลาการ ที่มีความสุจริตใจ เที่ยงตรง ซึ่งอยู่นอกเครือข่ายตุลาการภิวัฒน์ ต้องกระอักกระอ่วนใจที่จะตอบ แต่หากไม่ตอบก็จะทำให้ข้อกล่าวหาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ได้รับความเชื่อถือ เห็นคล้อยตามจากประชาชนทั้งในประเทศ และชาวต่างชาติที่กำลังจับจ้องมาที่กระบวนการยุติธรรม และ ศาลของประเทศไทย อย่างไม่วางตา ด้วยความคลางแคลงสงสัย ว่าข้อกล่าวหาของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นความจริงเช่นนั้นหรือ?

การที่ศาลได้สร้างบรรทัดฐาน นำฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม มาเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิด และให้ถือว่าหากผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม สูง กระทำความผิด จะถือว่าเป็นการกระทำความผิดที่ร้ายแรง ไม่มีเหตุให้ต้องบรรเทาโทษ ต้องลงโทษเด็ดขาด ไม่รอการลงโทษ เพราะถือว่าไม่ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ของตนเอง เช่นนี้แล้ว ก็มิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ที่ศาลจะต้องใช้บรรทัดฐานที่สร้างขึ้นนี้ เป็นปัจจัยในการพิจารณาการกระทำความผิดของบุคคลอื่น ด้วย โดยเฉพาะผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม สูง

มิเช่นนั้นแล้ว ศาลก็คงไม่พ้นข้อกล่าวหา “เลือกปฏิบัติ” ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 ดังที่ผมได้ยกมากล่าวอ้างไว้ข้างต้น

………………………………………….

หมายเหตุ : กรณีพนักงานสอบสวน ให้ประกันตัวนายสนธิ ลิ้มทองกุล แต่ ไม่ให้ประกันตัว นางดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ “ดาร์ ตอปิโดร์” ทั้งๆ ที่ถูกกล่าวหาจากพนักงานสอบสวน ว่ากระทำความผิด ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เหมือนกัน และมีพฤติกรรมการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกัน ก็จัดว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เช่นเดียวกัน แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีใครแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานสอบสวน ที่กระทำการขัดรัฐธรรม นูญ

ปล. ผมไม่ได้หายไปไหน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังคงห่วงหาอาทรเพื่อนร่วมทางที่มีหัวใจดวงเดียวกันเสมอมา และพยายามค้นหาแนวทางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอยู่เสมอ ไม่ได้ละทิ้งภารกิจตามอุดมการณ์ ไม่ได้ทอดทิ้งเพื่อร่วมทาง และ ไม่ได้เล่นตัว จนต้องมีเสียงถามหา หากแต่ต้องการรักษาคำพูดที่ให้ไว้กับคนในครอบครัว “ชินวัตร” ว่า จะไม่มี Hi-thaksin และ ประดาบ อีกต่อไป

แต่เมื่อสถานการณ์การเมืองดำเนินมาไกลถึงเพียงนี้ การทำงานของผม ก็คงเป็นไปในฐานะนักสังเกตการณ์อิสระคนหนึ่ง มิใช่ในฐานะ Hi-thaksin ที่อาจจะนำความเดือดร้อนไปถึงครอบครัว “ชินวัตร” ดังเช่นที่กังวลกัน อีก

แล้วพบกันอย่างสม่ำเสมอ ที่นี่ ที่เดียว

เกือบลืม... ช่วยกันบริจาคเพื่อต่อลมหายใจแก่ ประชาไท ด้วยนะครับ

ประดาบ

แก้ไขเมื่อ 17 ส.ค. 51 16:10:57

จากคุณ : แมวน้ำแสนกล - [ 17 ส.ค. 51 15:38:16 A:72.167.166.175 X: ]


+++++++++++++++++

คดีที่ 1 เป็นคดีอาญา

คดีที่ 2 เป็นคดีแพ่ง

ส่วนกรณีที่ 3 ยังไม่เป็นคดี

สั้น ๆ ง่าย ๆ ชัดเจนดีนะครับ ว่าแพะชนแกะชัด ๆ

จากคุณ : Twin Goliath - [ 17 ส.ค. 51 20:33:57 A:202.91.19.205 X: ]

+++++++++++

ความเหมือนที่แตกต่าง....ปปช ทำหนังสือสอบถามราชเลขาธิการว่า ต้องเสนอโปรดเกล้าหรือไม่ กะ ทักษินทำหนังสือสอบถามกรมสรรพากร..

มีความไม่แน่ใจในการดำเนินการ ทั้งคู่

ผล......

ฝ่ายหนึ่ง...สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้

อีกฝ่าย...โดนสั่งติดคุก เพราะไม่เชื่อว่าต้องการถามจริง ๆ แค่ต้องสร้างหลังฐานเลี่ยงภาษี

ฮาจริงๆ .....

ขอไว้อาลัยแด่....ความยุติธรรม ณ.ประเทศไทย

จากคุณ : Roger Federer - [ 18 ส.ค. 51 11:06:33 A:124.120.1.94 X: ]

+++++++++++++

ความสำคัญของการมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งฯ...

ถ้าจำกันได้กรณีการสรรหา ผู้ว่า สตง. ที่เกิดปัญหาว่ากระบวนการสรรหานั้นมิชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการแต่งตั้ง สรรหา่ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่า สตง. แต่กระบวนการนั้นได้เสร็จสิ้นไปแล้ว จนมีการถวายรายชื่อเพื่อทรงมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าแต่งตั้ง มีผลให้ คุณหญิง จารุวรรณ เมณฑิกา เป็นผู้ว่า สตง. อย่างสมบูรณ์....

ผลจากตรงนั้น คำิวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่วินิจฉัยกระบวนการสรรหาว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงตัวคุณหญิง จารุวรรณ ออกจากตำแหน่งได้ เพื่อดำเนินการสรรหาใหม่ให้ถูกต้อง...แม้มีการพยายามที่จะสรรหาใหม่ แล้วเสนอรายชื่อขึ้นไปเพื่อทรงมีพระพบรมราชโอการโปรดเกล้าแต่งตั้งแทนการสรรหาเดิมที่มิชอบนั้น ก็ไม่สามารถทำได้ เหตุเพราะมีการประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งคุณหญิงจารุววรรณไปเรียบร้อยแล้ว และยังมีผลอยู่ตราบที่ใดที่ยังไม่มีการลาออก คุณหญิงก็ยังถือว่าเป็นผู้ ว่า สตง. ได้ต่อไป และเป็นมาจนถึงทุกวันนี้....นี่หล่ะครับ พระราชอำนาจใครก็ละเมิดไม่ได้ ความสำคัญอันสูงสุดต่อการเข้ารับตำแหน่งสำคัญของบ้านเมือง....ซึ่งตามกฎหมาย ประเพณีการปกครองของไทย ให้ถือเอาวันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งโปรดเกล้า นับเป็นวันเริ่มต้นทำงาน เข้ารับตำแหน่ง และรับเงินเเดือนต่างๆ....ของทุกตำแหน่งที่สำคัญของบ้านเมือง ตลอดจนข้าราชการระดับสูง...

แล้ว ปปช. ซึ่งทำหน้าที่อยู่นี้ ไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งตามกฎหมายลงมา แล้วยังอยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างไร .....จะอยู่ขัดพระราชอำนาจไปอีก 9 ปียังงี้ไหวเหรอครับ....กระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวก็เพราะคนนอกระบบกฎหมาย ไม่ว่า คตส. ปปช. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมต้นน้ำ...ซึ่งมีที่มาโดยไม่ถูกต้องและไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในการตรวจสอบที่เป็นกลางได้จริง....ที่สำคัญยิ่งคือไปสร้างความมัวหมองให้ระบบศาลเสื่อมศรัทธาไปด้วย เพราะคนนอกระบบกลุ่มนี้.......

จากคุณ : minimalist - [ 18 ส.ค. 51 12:09:27 A:124.121.226.111 X: ]


+++++++++++++++++

@@@ งัดมาตรา 301 บี้..หญิงเป็ด...เสร็จอีกแล้ววว

รธน.ชี้ชัดต้องสรรหาใหม่ในกำหนด 120 วัน
โผล่อีก! พบเงื่อนไขตาม รธน.50 ระบุชัด ต้องเลือกผู้ว่าการ สตง. คนใหม่ ภายใน 120 วันนับแต่มีประธานสภาฯ และผู้นำฝ่ายค้าน ที่จะต้องมาทำหน้าที่กรรมการสรรหา 7 คน ขณะที่ “จารุวรรณ เมณฑกา” ทำหน้าที่เกินเวลาร่วม 7 เดือนเข้าไปแล้ว ส่อเป็นผู้ว่าการหมดอายุ ไร้สถานภาพในการทำงานและไม่มีอำนาจตามกฎหมาย ระบุมีความแตกต่างกับตำแหน่ง ป.ป.ช. และ กกต. ที่มีการกำหนดวาระไว้ 7 ปี ตั้งข้อสงสัยเป็นไปได้หรือที่ “หญิงเป็ด” จะไม่รู้เงื่อนไขดังว่า นักกฎหมายชื่อดัง “คณิน บุญสุวรรณ” ออกโรงเตือนอย่าทำตัวมั่วนิ่ม ส่อจงใจกินเงินเดือนนับแสนที่มาจากภาษีประชาชน
ผลพวงจากการปฏิวัติรัฐประหารยังส่งผลกระทบต่อบ้านเมืองไม่เลิก หลังจากมีเหตุอันชวนให้เชื่อว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่ง ชาติ (ป.ป.ช.) ส่อมีที่มาไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นองค์กรเถื่อน ล่าสุดยังส่อว่า คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จะเป็นผู้ว่าการเถื่อนอีกคน เนื่องจากดำรงตำแหน่งโดยขัดต่อมาตรา 301 ในรัฐธรรมนูญ 2550
กรณีดังกล่าว นายคณิน บุญสุวรรณ นักกฎหมาย และอดีต สสร. กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญ 2550 บทเฉพาะกาล มาตรา 301 ระบุว่า “ให้ดำเนินการสรรหาคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎร และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรกตามบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และหากยังไม่มีประธานศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการเท่าที่มีอยู่
ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็น
ผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ได้มีการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา โดย นายยงยุทธ ติยะไพรัช ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 และเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อนับวันที่ผ่านมา หลังจากนายยงยุทธดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรโดยสมบูรณ์จนถึงวันนี้เป็น เวลา 206 วัน และหลังจากนายอภิสิทธิ์ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นผู้นำฝ่ายค้านแล้วเป็นเวลา 171 วัน
เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ได้ปฏิบัติหน้าที่เกิน 120 วัน ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 301 ว่าไว้จากวันที่มีการแต่งตั้งประธานสภาฯ และผู้นำฝ่ายค้าน เนื่องจากบุคคลทั้งสอง จะต้องเข้าร่วมเป็นกรรมการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนใหม่ 2 ใน 7 คน
อย่างไรก็ดี ตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ไม่ใช่ตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) หรือกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่มีวาระ 7 ปี หรือคุณหญิงจารุวรรณไม่ทราบกฎหมายนี้ หรือทราบแล้วแต่ทำเป็นนิ่งเฉย ตั้งใจจะมั่วนิ่มดำรงตำแหน่งนี้กินเงินเดือนจากภาษีประชาชนต่อไป
ทั้งนี้ กรณีดังกล่าว นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ได้เคยอ้างว่า เกินเวลาก็ไม่เป็นไร เพราะไม่มีสภาพบังคับเอาโทษอะไร และถือเป็นเหตุสุดวิสัย เพียงแต่ผู้รับผิดชอบอาจโดนตำหนิบ้าง ลักษณะคล้ายๆ กับการสรรหาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ป.ป.ท.) ที่สรรหาเกินเวลา ทั้งนี้แม้เกินเวลา แต่ก็ยังมีผู้ว่าการ สตง. คนเดิมซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่แทนประธาน คตง. และกรรมการ คตง. อยู่แล้ว ซึ่งงานก็เดินต่อไปได้

ที่มา: ประชาทรรศน์ออนไลน์ ๑๘ ส.ค. ๒๕๕๐















 

Create Date : 18 สิงหาคม 2551
0 comments
Last Update : 18 สิงหาคม 2551 15:13:06 น.
Counter : 802 Pageviews.


VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]