กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
<<
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
19 กันยายน 2551

“ใคร” คือถุงเงินของ พรรคประชาธิปัตย์บ้าง


แต่จากข้อมูล สรุปยอดเงินบริจาค พรรคการเมือง
ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

ทำให้เห็นว่า “ใคร” คือถุงเงินของ พรรคประชาธิปัตย์บ้าง

ล่ำซำ สังขะทรัพย์ เทือกสุบรรณ แก้วทอง พร้อมพันธุ์ ฯลฯ
เหล่านี้คือ “ถุงเงิน” หลัก ๆ ให้กับพรรคประชาธิปัตย์

รายชื่อแรก เขาคือถุงเงิน (ตลอดกาล) ตัวจริงเสียงจริง

“โพธิพงษ์ ล่ำซำ”
เจ้าของธุรกิจเมืองไทยประกันชีวิต

ที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มาอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการทุ่มเงินบริจาคมากถึง 10 ล้านบาท ในเดือนกันยายน 2549
เดือนที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร (19 กันยายน) หัวเลี้ยวหัวต่อการเมืองไทย

โพธิพงษ์ คงรู้ว่าประชาธิปัตย์ต้องการใช้เงินมาใช้ในกิจกรรมทางการเมืองเพียงไร และปัจจุบันโพธิพงษ์ ยังนั่งเป็นกรรมการในสภาที่ปรึกษาพรรค
และยังเป็นหนึ่งในคณะทำงานด้าน เศรษฐกิจ ของพรรคประชาธิปัตย์

แม้เขามีท่าทีวางมืออยู่เบื้องหลังการเมือง แต่ก็ได้ส่งลูกสาว “นวลพรรณ ล่ำซำ” หนึ่งในผู้บริหารเมืองไทยประกันชีวิต และทำธุรกิจนำเข้าเสื้อผ้าและเครื่องหนัง แบรนด์ดังจากต่างประเทศ อาทิเช่น

แอร์เมส จากฝรั่งเศส , เอ็มโพลิโอ อาร์มานี จากฝรั่งเศส
ทอดส์ โรโด จากอิตาลี

เข้าสู่แวดวงการเมือง
โดยมีสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพี่เลี้ยง

ล่ำซำสายนี้ยังอาจจะเชื่อมโยงไปถึง “บัณฑูร ล่ำซำ”
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารกสิกรไทย หลานชาย ที่อยู่ "คนละขั้ว"
ความคิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีอย่างสุดโต่งก็ได้

แม้บัณฑูรจะไม่เคยแสดงท่าทีใดๆ กับพรรคประชาธิปัตย์
แต่ก็มีสายสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างบัณฑูร กับ “ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์”
แคนดิเดทตำแหน่งรัฐมนตรีสายประชาธิปัตย์ในสมัยหน้า

เพราะบัณฑูร คือ คนที่ชักชวนให้ปิยสวัสดิ์มานั่งเก้าอี้ประธานกรรมการบริษัท
จัดการกองทุนรวมกสิกรไทย เป็นแหล่งหลบเลียแผลใจในช่วงที่เขาลาออกจากตำแหน่งรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จากความเห็นที่ขัดแย้งด้าน โยบายพลังงาน กับรัฐบาลทักษิณ

ทั้งปิยสวัสดิ์เองก็เคยทำงาน “เข้าขา” กับประชาธิปัตย์เป็นอย่างดี
สมัยที่ทำงานเป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และภรรยาของเขา (อานิก วิเชียรเจริญ) ยังเข้าไปช่วยงานเป็นที่ปรึกษา
ฝ่ายวิชาการให้กับพรรคประชาธิปัตย์มาระยะหนึ่งแล้ว

จะว่าไปแล้ว ปิยสวัสดิ์ คือญาติห่าง ๆ ของบัณฑูร
เนื่องจากมารดาของบัณฑูร ม.ร.ว.สำอางวรรณ ล่ำซำ (เทวกุล)
และมารดาของปิยสวัสดิ์ ม.ร.ว.ปิ่มสาย อัมระนันทน์ สืบเชื้อสายต้นตระกูล
มาจากรัชกาลที่ 4 เช่นกัน

ถุงเงินที่มีบทบาทในพรรคประชาธิปัตย์อีกคน คือ

“เกียรติ สิทธีอมร”
ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์) พรรคประชาธิปัตย์ เขาถือเป็นนักธุรกิจที่
ประกาศตัวเองเข้ามาสวมเสื้อสูทนักการเมืองอย่างไม่ปิดบังอำพราง

ในฐานะหนึ่งในคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ และกลุ่มงานยุทธศาสตร์ของพรรค
เขายังทำตัวเป็น “กระบอกเสียง” ของพรรค ในการเปิดโปงประเด็น
ความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น
การแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
กรณีเครื่องตรวจจับระเบิด ซีทีเอ็กซ์ รวมไปถึงคดีประวัติศาสตร์
การซื้อขายหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น ฯลฯ

ปัจจุบัน เกียรติ ยังเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย และอดีตประธานหอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย ทำให้มีสายสัมพันธ์ ที่กว้างขวางกับนักธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

ในแง่ธุรกิจส่วนตัว ในเดือนตุลาคม 2549 เขาได้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผ่านบริษัทโปร เอ็น โฮลดิ้งส์ ในการลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ อย่างปราณบุรี และหัวหิน ด้วยทุนจดทะเบียนเบื้องต้นที่ 20 ล้านบาท

เกียรติ
ยังนั่งอยู่ในตำแหน่งประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัทโปร เอ็น คอนซัลแทนซ์ ดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการลงทุน ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้สายสัมพันธ์ค่อนข้างมาก ดูเหมือนจะเป็นงานถนัดของเขา

ไม่กล่าวถึงไม่ได้ สำหรับตระกูล

“เทือกสุบรรณ”

เพราะเป็นนามสกุลของเลขาธิการพรรค “สุเทพ เทือกสุบรรณ”
นอกจากเขาจะเป็นแฟนพันธุ์แท้ ที่อยู่กับพรรคประชาธิปัตย์มายาวนานแล้ว
ในอีกฟากหนึ่ง เขายังเป็นเจ้าของบริษัทศรีสุบรรณฟาร์ม ธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายใหญ่ ใน จ.นครศรีธรรมราช บริษัทดังกล่าว บริจาคเงินสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์อย่างเป็นกอบเป็นกำและต่อเนื่อง

จากการสรุปยอดเงินบริจาคพรรคการเมืองที่เผยแพร่โดย กกต.พบว่า
ตามข้อมูลที่สืบค้น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2548-เมษายน 2549 ศรีสุบรรณฟาร์มได้บริจาคเงินจำนวน 1 ล้านบาท ให้กับพรรคประชาธิปัตย์ทุกเดือน เว้นก็แต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550

ไม่นับการบริจาคเงินในชื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ทุกเดือน

นอกจากเงินส่วนตัวจากการประกอบธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว
ในฐานะเลขาธิการพรรค เชื่อแน่ว่ายังมีท่อน้ำเลี้ยงจากนักธุรกิจหลายคนที่
ไม่ประสงค์ออกนาม บริจาคเงินให้กับพรรคประชาธิปัตย์ผ่านมายังนายสุเทพ

เลือดใหม่ที่มาแรงของประชาธิปัตย์ คือ

“กรณ์ จาติกวณิช”

รองเลขาธิการพรรค ผู้ผ่านประสบการณ์ด้านตลาดเงิน ตลาดทุนมาพอตัว
ตำแหน่งสุดท้ายของเขา ก่อนจะผันมาเล่นการเมือง คือ

ซีอีโอ เจ.พี.มอร์แกน (ประเทศไทย)

ด้วยคุณสมบัติและทรัพย์สมบัติ ทำให้กรณ์มิใช่แค่หนึ่งใน “ทีมเศรษฐกิจ”
ที่สร้างจุดขายให้กับพรรค หรือเป็นผู้เกาะติดวิพากษ์นโยบายเศรษฐกิจ
ของรัฐบาลทักษิณ โดยเฉพาะการชำแหละการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป
ของกลุ่มตระกูลชินวัตร แต่เขาเป็นผู้บริจาคเงินรายหนักให้กับพรรครายหนึ่ง
โดยเมื่อเดือนกันยายน 2549 กรณ์บริจาคให้กับพรรค 5 ล้านบาท

ถึงแม้จะทิ้งบทบาทนักธุรกิจเป็นนักการเมืองเต็มตัว ทว่าศิษย์เก่าจากสำนักออกซ์ฟอร์ด ซึ่งกำลังจับจองบทบาทสำคัญในพรรค ก็มี “คอนเนคชั่น” ในแวดวงธุรกิจจากสายสัมพันธ์ของตระกูล อาทิเช่น

กลุ่มล็อกซเล่ย์

ของคุณหญิง ชัชนี จาติกวณิช ภรรยาของเกษม จาติกวณิช
ที่เป็นลุงของ กรณ์

ขณะที่ตระกูล “โสภณพนิช” กลุ่มทุนจากธนาคารกรุงเทพ

ยังอาจจะสอดแทรกเข้ามายังพรรคประชาธิปัตย์ได้ผ่าน คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ที่นั่งตำแหน่งกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ในปัจจุบันได้

เช่นเดียวกับ

“พรวุฒิ สารสิน” ผู้บริหารบริษัทไทยน้ำทิพย์
ที่ปรากฏชื่อเขาบริจาคเงินให้กับพรรคประชาธิปัตย์อยู่เป็นระยะๆ

“บุญชัย เบญจรงคกุล” อดีตผู้บริหารดีแทค

ที่ประกาศขายหุ้น
ตระกูลเบญจรงคกุล ทั้งหมดใน บริษัทยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ยูคอม ให้กับบริษัท ไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ จำกัด
ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย "เทเลนอร์" ถือเป็นกลุ่มทุนที่ใกล้ชิดกับพรรคประชาธิปัตย์ ผ่าน

“ประกอบ จีรกิติ” น้องเขย ปาร์ตี้ลิสต์อันดับที่ 39

“จิตติมา สังขะทรัพย์” ยังเป็นอีกหนึ่งตระกูลที่เป็นกลุ่มทุนของพรรคประชาธิปัตย์

ฐานที่เป็น ภรรยาอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ "บัญญัติ บรรทัดฐาน"
ที่ปัจจุบันบัญญัตินั่งอยู่ในตำแหน่ง กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์

นอกจากเป็นภรรยาอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว
จิตติมา ยังเป็นกรรมการ

บริษัทโรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม ผู้ผลิต นำเข้า และ
จัดจำหน่ายกระเบื้องเซรามิค ทั้งปูพื้นและบุผนัง ภายใต้เครื่องหมายการค้า
“RCI” “MODENA” และเครื่องหมายการค้าอื่น ๆ ที่บริษัทนำเข้าจากต่างประเทศ ทุนจดทะเบียน 314,285,710 บาท ในปี 2549 นี้มียอดขายรวม 1,644 ล้านบาท แบ่งเป็นยอดขายในประเทศ 1,606 ล้านบาท และส่งออก 38 ล้านบาท

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จิตติมายังติดอันดับผู้ถือหุ้น 20 อันดับแรก
ที่ 2,179,630 หุ้น สัดส่วนถือหุ้น 0.69% เธอยังเป็นกรรมการหรือผู้บริหารร่วมใน

บริษัท โรแยลเอเซียบริคแอนด์ไทล์ จำกัด,
บริษัท จ๊อบเมคเคลนิเคิล ซัพพลาย (1992) จำกัด,
บริษัท สังขะทรัพย์ จำกัด, บริษัท แมนน่า จำกัด และ
บริษัท บ้านสมถวิล จำกัด

“ไพฑูรย์ แก้วทอง” ปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 4 เจ้าของธุรกิจรับเหมา

อาทิเช่น
บริษัทสระหลวง ก่อสร้าง, บริษัทชาละวัน เทรดดิ้ง, บริษัท ก.นราพัฒน์ และ
“นิพนธ์ พร้อมพันธุ์ ปาร์ตี้ลิสต์ อันดับ 8 เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และ
โรงเลื่อย เช่น โรงเลื่อยจักรไทยพูนสิน บริษัทไทยประสิทธิ์ทำไม้ บริษัทชนาพันธ์ ก็เป็นแหล่งทุนของประชาธิปัตย์มานาน

นอกจากนี้ในคณะกรรมการและคณะทำงานชุดต่างๆ ในพรรคประชาธิปัตย์
ยังมีตระกูลเก่า-ใหม่ ที่เดินสู่ถนนธุรกิจ เช่น คณะทำงานด้านเศรษฐกิจ
ซึ่งปรากฏชื่อ ม.ล.อภิมงคล โสณกุล, ลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ, กันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ ส่วนในคณะกรรมการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ ปรากฏชื่อ นายแพทย์วัลลภ ไทยเหนือ, ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร, จุติ ไกรฤกษ์

ในคณะกรรมการบริหารพรรค ปรากฏชื่อ อัญชลี วานิช เทพบุตร,
พินิจ กาญจนชูศักดิ์, สุกิจ ก้องธรนินทร์, พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล และ
ในคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค ปรากฏชื่อ เล็ก นานา, อนันต์ อนันตกูล,
อาทิตย์ อุไรรัตน์, ธารินทร์ นิมมานเหมินท์, ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์

คนเหล่านี้ แม้จะไม่ใช่ทุนใหญ่ฉูดฉาด แต่ก็มี "ศักยภาพ"
ในการสนับสนุน กิจกรรมการขับเคลื่อนทางการเมืองของประชาธิปัตย์เช่นกัน

'สารสิน' กับบท 'ทุนการเมือง'

ในแวดวงธุรกิจเป็นที่รับรู้กันว่า ตระกูลสารสิน มีธุรกิจหลัก คือ ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตน้ำดำระดับโลกอย่างโค้ก แฟนต้า และสไปรท์ แต่ในแวดวงการเมือง สารสิน ก็มีบทบาทมาตลอด

ผู้ที่กระโจนเข้าสู่สนามการเมืองคนแรกตั้งแต่ปี 2516 คือ

"พงส์ สารสิน"
โดยเริ่มจากการเป็นสมาชิกนิติบัญญัติ ภายหลังได้ร่วมกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก่อตั้งพรรคกิจสังคม

แม้ว่าในช่วงแรกเขาจะไม่ได้นั่งตำแหน่งสำคัญภายในพรรค แต่ก็เป็นที่รู้กันว่า พงส์ เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนให้กับพรรค กระทั่งปี 2527 เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคและลงสนามเลือกตั้ง จนได้เป็น ส.ส.จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2519 และ 2531 โดยตำแหน่งสูงสุดทางการเมือง คือ รองนายกฯ สองสมัย

ครั้งแรกอยู่ในรัฐบาล พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ พ.ศ. 2529 และครั้งที่สอง
ร่วมรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พ.ศ. 2531 ในช่วงนั้น พงส์ ได้ลาออกจาก ตำแหน่งในบริษัทไทยน้ำทิพย์ โดยเปิดทางให้

"พรวุฒิ สารสิน"
ลูกชายคนเดียวที่จบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยบอสตัน เข้าสู่ถนนธุรกิจในไทยน้ำทิพย์แทน

เส้นทางของ พรวุฒิ เดินตามเฉกเช่น พงส์ ผู้เป็นพ่อ
โดยบนถนนสายธุรกิจ ปัจจุบันเขายังอยู่ในตำแหน่งรองประธานบริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด

ส่วนถนนการเมือง พรวุฒิ ยังเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ลำดับที่ 25 เมื่อปี 2544 และตำแหน่งทางการเมืองล่าสุดคือกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์และ ที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. พร้อมกับปรากฏชื่อเป็นผู้บริจาคเงินให้กับพรรคอย่างสม่ำเสมอ

สารสิน
สายนี้ จึงเป็นหนึ่งในทุนการเมืองที่เหนียวแน่นอยู่กับพรรคประชาธิปัตย์


ที่มา://www.bangkokbizweek.com/20070602/cover/index.php?news=column_23852333.html
.................................
















Create Date : 19 กันยายน 2551
Last Update : 19 กันยายน 2551 11:51:46 น. 0 comments
Counter : 3220 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]