Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
9 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 

วิธีถนอม..เมีย


เพื่อทะนุถนอมอายุการใช้งานเมียของท่านให้ยืนยาว
และเป็นการรักษาอายุของท่านเองด้วย

เราขอแนะนำข้อปฏิบัติ หลักสิบประการ เพื่อใช้และบำรุงรักษาเมียออโตเมติก
ดังต่อไปนี้


1. เมื่อเริ่มจะใช้งานเมียนั้น ควรอุ่นเครื่องก่อนทุกครั้ง
เพราะการใช้งานทันทีทันใด ในขณะที่น้ำมันเครื่องยังไม่ได้หล่อลื่น
ไปทั่วห้องเครื่องนั้น อาจทำให้ลูกสูบติด หัก หรืองอได้


2. ในตอนออกสตาร์ทใหม่ๆ อย่าเร่งเครื่องทันที
เพราะการเร่งเครื่องทันทีนั้น อาจทำให้ผู้ขับเกิดอาการอ่อนเพลีย
ขับได้ไม่นานอาการตอบสนองของเครื่องจะไม่ดี เครื่องกระตุก

นอกจากนั้นเครื่องอาจหงุดหงิด เกิดอาการสำลักน้ำมันได้ง่าย
และการเดินทางจะไม่ถึงที่หมาย


3. ในขณะติดไฟแดงนั้น ไม่ควรใช้งาน
แม้ในทางทฤษฎีแล้ว เครื่องบางเครื่องอาจเป็นช่วงเหมาะสมที่จะนำไปใช้งาน
แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ไม่ควรใช้งาน

เนื่องจากเครื่องอาจเกิดปัญหา ผุกร่อน คราบเขม่า น้ำมันจารบี
อีกทั้งยังอาจผลเสียต่อสุขภาพของผู้ขับขี่และเครื่องเช่นกัน

จังหวะไฟเขียว ก็ควรจะดูรอบเครื่องและอุณหภูมิด้วย
อย่าสุ่มสี่สุ่มห้า ใช้ไม่บันยะบันยัง อาจเกิดปัญหาอื่นตามมาได้

โดยเฉพาะในกรณีท่านที่ขับรถสปอร์ต ยืมเขามาขับ หรือลักลอบขับ
ยิ่งอันตรายมากสำหรับผู้ขับที่ยังไม่ได้มีรถส่วนตัวอย่างแท้จริง
ส่วนท่านที่ใช้รถครอบครัวกรณีนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ตกลงกันได้เสมอ


4. สำหรับรถและเครื่องที่มีอายุการใช้งานมานาน
การขับขี่อาจนุ่มนวล แต่รู้สึกว่าการตอบสนองไม่เร้าใจ

เนื่องจากเกิดความคุ้นชิน ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ท่านอาจเปลี่ยนแปลงวิธีขับ
เช่น รู้จักเข้าโค้งอย่างนุ่มนวล หรือในทางตรงกันข้าม เข้าโค้งรุนแรง
ขับถอยหลัง ขับออกด้านข้าง ขับขึ้นเขา ขับลงเขา ขับๆ หยุด ๆ ตื่นเต้น
และเครื่องยนต์ ก็จะตอบสนองดีขึ้น

หากท่านใช้วิธีขับแบบเดิม ทื่อๆ ไป ไม่มีความเร้าใจ
เครื่องและรถก็อาจอยากได้คนขับใหม่ด้วย เช่นกัน
อย่าได้คิดว่าเปลี่ยนรถจะง่ายกว่าฝ่ายเดียวนะ


5. สำหรับมือใหม่หัดขับนั้น ยิ่งควรทะนุถนอม
เพราะการขับอย่างรุนแรง ตะกรุมตะกรามนั้นอาจทำให้เครื่องยนต์เกิดความเข็ด
และไม่ให้ความร่วมมือในการเดินทางครั้งต่อไป

เนื่องจากอาจเกิดภาวะความเสียหายของห้องเครื่องได้ง่าย ควรค่อยเป็นค่อยไป
เมื่อใช้งานไปได้สักระยะหนึ่ง จึงควรเปลี่ยนแปลงวิธีการขับ
เป็นขับโลดโผน เสี่ยงตาย ขับควงสว่าน ขับลงน้ำ
ขับกลางสายฝน ขับหงายท้องก็แล้วแต่จะดัดแปลง


6. สำหรับผู้ใช้รถเก่า เมื่ออายุการใช้งานนานพอสมควร
หรืออายุเครื่องถึงสามสิบปี ควรนำเข้าศูนย์ เช็คช่วงล่าง และกันชนหน้าเสมอ
เพราะอาจเกิดสภาวะการผุกร่อน หรือการเปลี่ยน แปลงทางเคมี

ขอให้นำเข้าตรวจสภาพเป็นประจำเพื่อยืดอายุการใช้งาน
รักรถ ต้องหมั่นตรวจ โปรดจำไว้..

ส่วนการจะนำไปยกเครื่องใหม่ หรือไม่นั้น แล้วแต่จะตกลงกัน
ในความเป็นจริงผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า
เรื่องนี้สำคัญที่ใจ และฝีมือคนขับด้วยไม่ใช่โทษแต่เครื่องยนต์อย่างเดียว


7. ระหว่างการขับขี่
ไม่ว่ารถมีอายุการใช้งานอย่างใด ข้อควรระวังก็คือ ห้ามบ่นอย่างเด็ดขาดว่า
เครื่องไม่ฟิตเหมือนเดิม หรือว่ากำลังแรงม้าลดลง ขับไม่ตื่นเต้น
หรือชมว่า คันนู้น คันนี้ น่านั่งน่าขับ
เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตได้หรืออย่างเบาะ ๆ อาจเสียทรัพย์สิน

อุบัติเหตุในเรื่องดังกล่าว มีอัตราชายไทยเสียชีวิตสูงมาก
สังเกตุได้จากหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์รายวัน


8. เทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการขับขี่การใช้งานอย่างราบรื่นนั้น
อาจต้องหมั่นเปลี่ยนบรรยากาศการขับ เปลี่ยนสถานที่ขับขี่

อย่าเปลี่ยนคัน อันตรายมาก เตือนแล้ว!!

สำหรับท่านที่ใช้รถครอบครัว
ให้ดูแลลูกเต้าให้หลับเป็นที่เป็นทางให้เรียบร้อย
เพราะการขับขี่อาจหยุดชะงักลงได้ เนื่องจากเจอปัญหา
เด็กข้ามตัดหน้า เด็กเปิดประตูระหว่างขับ ไม่ข้ามทางม้าลาย
จนต้องอุทาน >>>" ลูกใครหว่า ?" เขิน เป็นที่สุด..

..อ้อ..ไม่ควรสูบบุหรี่ก่อน หรือระหว่างขับ
เนื่องจากกลิ่นบุหรี่จะทำให้รถเกิดความสกปรก เครื่องยนต์ตอบสนองไม่ดี
แปรงฟันเสียด้วย หากกินข้าวกินปลาเสร็จใหม่ๆ พักสักแป๊บก็ดี เดี๋ยวจุกแย่

ผู้ขับมือใหม่ หากตื่นเต้น ระหว่างขับ ให้ชลอความเร็ว ลดรอบเครื่องยนต์
คิดเรื่องอื่น ๆ สูดหายใจยาว ๆ การเดินทางจะได้นานขึ้น


9. ความรู้ทางด้านช่างเบื้องต้น
ระวังรักษา ท่อไอดี และไอเสีย และท่อเติมน้ำมัน ให้ทำงานดีเสมอ

การใช้งานอย่างสับสน ผิดท่อผิดทางนั้น อาจเกิดความตื่นเต้นในการขับขี่เป็นครั้งคราว แต่ทั้งนี้ อาจเกิดผลเสียแก่เครื่องยนต์ในระยะยาว

รักษาความสะอาด ทั้งหัวจ่ายน้ำมัน และท่อต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
หมั่นตรวจเครื่องยนต์และอื่น ๆ ชมได้ ห้ามติ โดยเฉพาะ กันชนเล็กไป นุ่มไป
เหลวไป หย่อนไป เครื่องหลวม เครื่องสั่น ไม่ฟิต เร่งไม่แรง แซงไม่พ้น
โปรดพึงสังวร ว่าเกิดจากการใช้งานอย่างไม่ถูกวิธีของท่าน หาใช่เกิดจากผู้ผลิต


10. ความปลอดภัย และวินัยจราจรเมาไม่ขับ
เนื่องจาก หากเมามากเกินไป แม้มีความเชื่อว่า จะทำให้ขับได้นานทรหดก็ตาม
แต่ก็จะสูญเสียทัศนวิศัย และความสามารถในการตอบสนองอื่นๆ
อาจเกิดการผิดที่ผิดทาง ลืมคาดเข็มขัดนิรภัย ขับผิดคัน
ล้วนแต่เป็นเหตุแห่งความเสี่ยงต่อชีวิตทั้งสิ้น

หมายเหตุ:สำหรับท่านที่ได้จ่ายเงินดาวน์มาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว
ได้จัดพิธีฉลองต่าง ๆ ในการได้รถมาใช้หลายปี และได้จ่ายเงินสดแก่ผู้ผลิตแล้วก็ตาม
หากยังมีข้อสงสัยว่าทำไมเงินผ่อนต่องวดของท่าน ยังคงไม่หมด
และดูเหมือนจะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ นั้นอย่าได้สงสัยเลย ก้มหน้าก้มตาทำงานไปเถิด
อย่าคิดมาก..มันเป็นกรรมของสัตว์โลก

..ให้คิดเสียว่า ได้รถคู่ใจ ขับขี่รู้ใจ คล่องแคล่ว เบื่อบ้าง เซ็งบ้าง
ก็ให้คิดความดีหนหลัง ตอนที่เห็นรถในโชว์รูมใหม่ๆ

จำความตื่นเต้น ในครั้งนั้นไว้ คิดถึงตอนได้มาเป็นเจ้าของ
และโปรดจำไว้ ในสมัยปัจจุบันมีโปรโมชั่นทดลองขับในรถรุ่นใหม่ๆ ก็ตาม
อย่าเผลอตัวไป..อันตราย. .คันเก่าเอาตาย...

เราเตือนท่านแล้วหวังว่าท่านจะได้ใช้ความรู้
เพื่อความปลอดภัย ในการเดินทางอย่างตลอดรอดฝั่ง....

ด้วยความปรารถนาดี


*********************************************




 

Create Date : 09 ตุลาคม 2550
3 comments
Last Update : 9 ตุลาคม 2550 9:13:06 น.
Counter : 560 Pageviews.

 

คอมเม้นท์ไม่ถูกเลย เพราะควรเป็นผู้ชายอ่านมากกว่า
ผู้หญิงอ่านแล้วประสาทเสีย เพราะคนใกล้ตัวมักทำไม่ได้ครึ่งนึงของที่เขียนมา จขบ.หละทำได้แค่ไหน รึ จะตอบว่า
พ้มยังเป็นโสดครับ เอ รึเป็นหญิง.....งงๆ....

 

โดย: แมงหวี่@93 (แมงหวี่@93 ) 9 ตุลาคม 2550 11:16:41 น.  

 

555 ตามประสพการณ์ รถ 10 ปี เจง ๆ

 

โดย: รถคันเก่า (sukdina ) 9 ตุลาคม 2550 11:30:56 น.  

 

กร๊ากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก

 

โดย: ตาอ้วนชวนคุย 9 ตุลาคม 2550 11:40:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


เจ้าการเวกเสียงหวาน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




สิ่งไหนยากกว่ากันระหว่าง
การหาคำตอบ
กับ
การพิสูจน์ว่าคำตอบ
ที่คนอื่นหามาได้นั้นถูกต้องหรือไม่
Friends' blogs
[Add เจ้าการเวกเสียงหวาน's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.