your enjoyable TENTarized knowledge :)
เข้าไปถามคำถามในเฟซบุคที่จะสะดวกตอบกว่านะ ^^
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
3 ตุลาคม 2552

เฉลย: ประชากรศาสตร์และระบบนิเวศ

เฉลยเรื่อง ประชากรศาสตร์และระบบนิเวศ

ตอนที่ 1
1. ผิด ผู้ผลิตกำลังสูงสุดบนโลกคือสาหร่ายในมหาสมุทรต่างหาก เพราะพื้นที่ 2 ใน 3 ของโลกคือน้ำ ซึ่งปกคลุมไปด้วยแพลงก์ตอนพืชจำนวนมหาศาล ผลผลิตจากการสังเคราะห์ด้วยแสงมีจำนวนมาก หมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศของเรา ข้อนี้ข้อสอบเอนท์ก็เคยออกนะ
2. ผิด หน่วยเป็น พลังงาน / พื้นที่ / เวลา เห็นว่าจุกจิกก็เป็นข้อสอบเอนท์เช่นกัน
3. ถูก เพราะ decomposer สร้างอาหารเองไม่ได้ (heterotroph = consumer + decomposer)
4. ถูก การย่อยสลายโดย decomposer เป็นการเปลี่ยนซากสิ่งมีชีวิต (อินทรีย์) เป็นแร่ธาตุ (อนินทรีย์) ส่วนการหายใจจะออกซิไดส์สารอาหาร (อินทรีย์)เป็น CO2 (อนินทรีย์) และได้พลังงานออกมา
5. ถูก พลังงานที่หมุนเวียนในระบบนิเวศ คือพลังงานจากอาหารที่สร้างมาจากผู้ผลิต และผู้ผลิตเกือบทั้งหมดสร้างอาหารโดยใช้พลังงานแสง
6. ผิด mychorrhiza เป็นเชื้อราที่รากสน ช่วยจัดการเรื่องแร่ธาตุต่างหาก
7. ถูก อันนี้เป็นข้อสอบ pat หรือ anet เนี่ยแหละ เลยต้องรู้หน่อย เพราะการทดลองหนึ่งใน textbook เขาพบว่าเพรียงหินสอง species จะแก่งแย่งพื้นที่อยู่บนก้อนหินก้อนเดียวกัน โดยมี niche คือความสูงของโขดหินจากระดับน้ำทะเลเหมือนๆกัน
8. ถูก อันนี้เคยเป็นทั้งข้อสอบเข้ามหาลัยและข้อสอบเข้าม.สี่นะ pH ของน้ำมักขึ้นกับปริมาณ CO2 ที่ละลายอยู่ เพราะสามารถกลายเป็นกรดคาร์บอนิกละลายอยู่ในน้ำได้ ในเวลากลางวัน CO2 จากการหายใจของสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำจะถูกเอาไปให้สาหร่ายสังเคราะห์ด้วยแสง แต่พอตกกลางคืน CO2 ก็สะสมมากขึ้นเรื่อยๆเพราะไม่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง ยิ่งใกล้รุ่งเท่าไหร่ น้ำจึงยิ่งเป็นกรดเพราะมี CO2 มากขึ้นเท่านั้น
9. ผิด COD > BOD ต่างหาก เพราะ COD คือปริมาณออกซิเจนที่สารเคมีใช้ออกซิไดส์สารอินทรีย์ในน้ำ ซึ่งสารเคมีนั้นสามารถออกซิไดส์สารอินทรีย์ได้ทั้งหมด จึงใช้ออกซิเจนมากกว่า แต่ BOD คือปริมาณออกซิเจนที่ aerobic bacteria ใช้สลายสารอินทรีย์ในน้ำ ซึ่งต้องมีค่าน้อยกว่า เพราะแบคทีเรียเหล่านั้นไม่สามารถสลายสารอินทรีย์ได้ทั้งหมด เลือกสลายเฉพาะที่สายพันธุ์ตัวเองทำได้เท่านั้น
10. ถูก พยาธิตัวตืดต้องการ มนุษย์ และ หมู (หรือวัว) เป็น host ที่เป็น vertebrate ส่วนพยาธิใบไม้ในตับ ต้องการ มนุษย์ และ ปลาน้ำจืด เป็น host ทีเป็น vertebrtae ส่วนหอยน้ำจืดเป็น invertebrate นะ
11. ผิด กำมะถันสามารถหมุนเวียนผ่านบรรยากาศได้ สารประกอบของกรดกำมะถันก็ทำให้ฝนกลายเป็นฝนกรดไง เคยเรียนตั้งแต่สมัยม.ต้นแล้วนะ
12. ถูก โยเกิร์ตรสธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์จากวัว จึงเขียนห่วงโซ่อาหารได้เป็น หญ้า > วัว > เรไร ข้อนี้เคยเป็นข้อสอบเอนท์นะ
13. ถูก ทั้ง CO2 , CFC และมีเทน ก็ทำให้เกิดปรากฎการณ์โลกร้อนได้โดยไปทำลายโอโซน

ตอนที่ 2
1. ฝอยทอง = กาฝาก เป็นปรสิตนะ
2. ฝอยลม = ไลเคนส์ ไปอิงอาศัยเฉยๆ
3. กล้วยไม้ ไปอิงอาศัยเฉยๆ
4. นกเอี้ยง ไปอิงอาศัยเฉยๆ
5. นกเอี้ยงเตือนภัยให้ควาย ส่วนควายก็มีเห็บและแมลงให้นกเอี้ยงกิน แยกจากกันได้
6. จุลินทรีย์ช่วยสร้างน้ำย่อยและสารต่างๆให้ควาย ส่วนจุลินทรีย์ได้ที่อยู่ แยกจากกันไม่ได้
7. แม่นกกาเหว่าได้ประโยชน์ ส่วนอีกาเสียประโยชน์ พวกนี้เราเรียกว่านกปรสิต หนังสือบางเล่มบอกว่าไม่ใช่ปรสิต อย่าไปเชื่อนะ ^^
8. bacteriophage = ไวรัสที่อาศัยแบคทีเรียเป็นโฮสต์
9. พยาธิตัวตืดเป็นปรสิตภายใน
10. เหาเป็นปรสิตภายนอกของคน
11. เหาฉลามเป็นปลาที่เกาะอยู่กับปลาฉลามเฉยๆ เพราะมันขี้เกียจมาก อาศัยปลาฉลามในการเดินทางไปนู่นนี่
12. ปลาฉลามไล่กินปลาการ์ตูนไง เหมือนในหนังเรื่องนีโม่ ^___^
13. ปลาการ์ตูนทำความสะอาด เก็บกินซากนู่นนี่ให้ดอกไม้ทะเล ส่วนดอกไม้ทะเลมีอาหารให้กินและช่วยป้องกันอันตราย แยกจากกันได้
14. ปูเสฉวนพาดอกไม้ทะเลเคลื่อนที่ไปไหนมาไหน ส่วนดอกไม้ทะเลก็ช่วยปูเสฉวนพรางตัวจากผู้ล่า แยกจากกันได้
15. ลูกสัตว์ต่างๆจะอาศัยในโพรงของฟองน้ำเฉยๆไม่ได้ทำอะไรให้
16. ปะการังหินปูนให้ที่อยู่และ CO2 แก่สาหร่าย ส่วน dinoflagellate (เรียก zooxanthellae) จะสร้างหินปูนและสร้างอาหารกับ O2 ให้ปะการัง แยกจากกันไม่ได้
17. ไฮดราได้อาหาร และออกซิเจนจาก chlorella (สาหร่ายสีเขียว) ส่วนสาหร่ายได้ที่อยู่และ CO2 จากไฮดรา แยกจากกันไม่ได้
18. ผีเสื้อช่วยผสมเกสรดอกไม้ ดอกไม้ก็ได้รับการสืบพันธุ์ แยกจากกันได้
19. มดดำป้องกันอันตรายให้เพลี้ย ส่วนเพลี้ยให้น้ำหวานกับมดดำ แยกจากกันได้
20. ปลาจิ้มฟันจระเข้ได้อาหารจากเศษอาหารในซอกฟันจระเข้ ส่วนจระเข้ก็ฟันสะอาด แยกจากกันได้
21. trichonympha จะย่อยกากไม้ให้ปลวก ส่วนปลวกจะให้ที่อยู่และกากไม้แก่มัน แยกจากกันไม่ได้
22. E. coli จะสร้างวิตามินต่างๆให้คน ส่วนคนก็จะให้ที่อยู่และอาหารแก่มัน แยกจากกันไม่ได้
23. rhizobium จะตรึงไนโตรเจนให้ถั่วสร้าง DNA และโปรตีน ส่วนถั่วก็จะให้ rhizobium อาศัยอยู่ในปมที่ราก แยกจากกันไม่ได้
24. mychorriza จะช่วยจัดการแร่ธาตุให้กับต้นสน ส่วนต้นสนจะให้ที่อยู่และอาหารแก่มัน แยกจากกันไม่ได้
25. ราจะให้ความชื้น CO22 และแร่ธาตุแก่สาหร่าย ส่วนสาหร่ายจะให้อาหารและ O2 แก่รา แยกจากกันไม่ได้
26. พืชกินแมลงจัดเป็นการล่าแบบหนึ่ง
27. สัตว์กินพืชจัดเป็นการล่าอย่างหนึ่ง
28. สัตว์กินสัตว์จัดเป็นการล่าอย่างหนึ่ง
29. สิงโตแก่งแย่งอาหารจากเสือ
30. ไม่เป็น interspecific (ระหว่างกลุ่มประชากร) แต่เป็น intraspecific (ภายในกลุ่มประชากร) คือเป็นความสัมพันธ์แบบการจัดลำดับภายในฝูง (social interaction)
31. สิงโตไม่ได้ไม่เสียประโยชน์ (0) เพราะกินอิ่มแล้ว แต่นกแร้งได้ประโยชน์ (+) คือได้อาหารกิน
32. ไม่จัดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ถือเป็นลักษณะการกินอาหารรูปแบบหนึ่งที่พบใน decomposer คือการย่อยนอกเซลล์โดยหลั่งน้ำย่อยออกมาย่อยซากอินทรีย์ที่มันอาศัยอยู่ เรียก saprophytism
33. เป็น antobiosis เพราะรา penicillium จะหลั่งสารปฏิชีวนะ penicillin ออกมายับยั้งการเจริญของแบคทีเรียบางชนิด
34. เพราะบัวกับผักตบจะแก่งแย่งแร่ธาตุ อาหาร และแสงแดดกันในบ่อน้ำหนึ่งๆ
35. ไม่เป็น interspecific (ระหว่างกลุ่มประชากร) แต่เป็น intraspecific (ภายในกลุ่มประชากร) คือเป็นความสัมพันธ์แบบการจัดลำดับภายในฝูง (social interaction)
36. ทั้งสองระแวดระวังภัยให้แก่กัน แยกจากกันได้

ตอนที่ 3
1. ข.
เคยเป็นข้อสอบเอนท์นะ (ข้อสอบเรื่องนี้ส่วนใหญ่จะค่อนข้างยากและละเอียด) พลังงาน 90% ระหว่างชั้นของห่วงโซ่อาหารจะสูญเสียไปในการหายใจมากที่สุด รองลงมาจะใช้ในการเจริญเติบโต และสืบพันธุ์ ส่วนอีก 10% จะถูกถ่ายทอดในห่วงโซ่อาหาร
2. ก.
ปรอทเป็นสารที่ย่อยไม่ได้ และจะถ่ายทอดแบบ biomagnification คือสะสมมากขึ้นเรื่อยๆในแต่ละระดับของห่วงโซ่อาหาร ผู้บริโภคยิ่งระดับท้ายๆยิ่งมีปริมาณปรอทสูง ข้อ ก. คือนกกินปลา เป็นผู้บริโภคลำดับหลังๆของป่าชายเลน
3. ค.
a) ถูก เพราะ decomposer อย่างฟังไจหรือแบคทีเรียจะไม่มีทางเดินอาหาร แต่นกแร้งมี
b) ผิด decomposer มีการย่อยนอกเซลล์ที่เรียก saprophytism ส่วนนกแร้งก็มีการย่อยนอกเซลล์คือหลั่งน้ำย่อยออกมาในกระเพาะและลำไส้ ก่อนจะดูดซึมผลิตภัณฑ์ที่เป็น monomer ไปใช้ประโยชน์
c) ถูก ผลิตภัณฑ์ของการย่อยของ decomposer อาจจะเป็นแร่ธาตุต่างๆ แต่การย่อยของนกแร้งจะไม่ได้สารอนินทรีย์ แต่จะได้สารอินทรีย์ขนาดเล็กๆคือ monomer ต่างๆทั้ง monosaccharide, amino acid, fatty acid และ glycerol
4. ง.
a) ถูก ยิ่งเป็น climax community สิ่งมีชีวิตยิ่งมีมากมายและสัมพันธ์อย่างสลับซับซ้อน มวลชีวภาพยิ่งสูงขึ้น
b) ถูก สายใยอาหารของ climax community จะยิ่งสมบูรณ์และกินกันไปกินกันมาอย่างซับซ้อนวุ่นวาน แสดงให้เห็นถึงสมดุลของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
c) ถูก สมดุลของสิ่งมีชีวิตจะมีมากขึ้น เพราะ food web สลับซับซ้อนขึ้น ซึ่งหัวลูกศรของ food web นั้นแสดงให้เห็นถึงการกินกัน นั่นคือภาวะล่าเหยื่อนั่นเอง (และความสัมพันธ์แบบ predation นั้นก็เป็นความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดสมดุลของกลุ่มสิ่งมีชีวิตด้วย ลองดูกราฟหน้า 211 สิ)
5. ง.
ก. ผิด พื้นที่ที่เคยทำไร่ แสดงว่ามีสิ่งมีชีวิตก่อนหน้านี้แล้ว แสดงว่าต้องเกิด secondary succession
ข. ผิด มอสและไลเคนส์ เป็นสิ่งมีชีวิตบุกเบิกสำหรับ primary succession แต่นี่เป็น secondary
ค. ผิด climax community ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอๆ แต่ยังอยู่ในสมดุล
ง. ถูก เพราะมวลชีวภาพ จำนวน species จำนวนสิ่งมีชีวิต สมดุลกลุ่มสิ่งมีชีวิต และการกินกันใน food web นั้น จะมีค่ามากขึ้นเรื่อยๆ
6. ก.
เป็นข้อสอบเอนท์ที่น่ารักดี 55
ก. ถูก เป็นห่วงโซ่อาหาร แสดงถึงปลากินมด และมดกิน(ซาก)ปลา
ข. ผิด มีแค่สองชนิดเป็นสายใยไม่ได้หรอกนะ
ค. ผิด มดกับปลาไม่ได้พึ่งพา (mutualism) กันเลย เป็นภาวะล่าเหยื่อ
ง. ผิด มดกับปลาไม่ได้อิงอาศัยกันเลย (commensalism) เป็นภาวะล่าเหยื่อ
7. ค.
ระบบนิเวศจะอยู่ไม่ได้ถ้าเกิดไม่มีการถ่ายทอดพลังงานและวัฏจักรสาร ส่วนการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะมีหรือไม่มีก็ได้ แล้วแต่ว่ามีการทำให้สิ่งมีชีวิตหายไปรึเปล่า
8. ข.
หนูนากับนกฮูกมีความสัมพันธ์แบบ predation เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดสมดุลของทั้งสองชนิด คือถ้าผู้ล่ามีมาก ก็จะแย่งกันทำให้เหยื่อน้อย และเมื่อเหยื่อน้อยจะทำให้ผู้ล่าขาดอาหารจึงลดน้อยลง เมื่อลดน้อยลงทำให้ไม่มีอะไรมากินเหยื่อเหยื่อเลยมาก และเมื่อเหยื่อมากก็ทำให้ผู้ล่ามากตามเพราะอาหารอุดมสมบูรณ์ เกิดกราฟขึ้นๆลงๆแบบข้อ ข.
9. ค.
กราฟที่ให้มาบอกว่า X เกิดการแข่งขันกับ Y
ก. ผิด ทั้งสองต่างคนต่างอยู่ได้เป็นปกติดี ไม่ได้ขึ้นต่อกันและกัน
ข. ผิด จากกราฟไม่ได้บอกชัดเจนว่าเป็น competition (เป็นองค์ความรู้ที่เราใส่เข้าไปเอง) และไม่มีตรงไหนบอกว่าเกี่ยวกับอาหาร X อาจจะปล่อยสารยับยั้งการเจริญของ Y, แย่งออกซิเจน ฯลฯ ก็ได้
ค. ถูก เป็นข้อสรุปที่ดีจากกราฟทั้งสาม เรามองเห็นด้วยตาเปล่าได้เลยว่า X กับ Y แยกกันเลี้ยงก็ปกติดี แต่พอเลี้ยงด้วยกันปรากฏว่า X อยู่ได้แต่ Y ลดลง แสดงว่าการเลี้ยง X ร่วมกับ Y ทำให้ Y เจริญเติบโตไม่ได้
ง. ผิด ไม่เกี่ยวเลย มั่วที่สุดในโลก -*-
10. ข.
ก. ไม่ใช่ เพราะเป็นการปรับด้านสัณฐาน (โครงสร้าง)
ข. ใช่ เพราะเป็นการปรับด้านสรีรวิทยา (การทำงานของระบบต่างๆ)
ค. ไม่ใช่ เพราะเป็นการปรับด้านสัณฐาน (โครงสร้าง) ถึงจะมีคำว่า สรีระ มาหลอกก็ตามนะ
11. ก.
จากหลอด 1 บอกเราว่า X ใช้ B เป็นอาหารโดยเปลี่ยนให้เป็น A
ส่วนหลอด 2 บอกเราว่า Y ใช้ A เป็นอาหารโดยเปลี่ยนให้เป็น C
ดังนั้นถ้าเลี้ยงไว้ด้วยกันในสาร B แล้ว X จะเปลี่ยน B ให้เป็น A ซึ่งเป็นอาหารของ Y
ดังนั้น X ไม่ได้ไม่เสียประโยชน์ ดำเนินชีวิตไปเรื่อยๆในแหล่งที่มีอาหารอยู่แล้ว (0)
ส่วน Y ได้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของ X เพราะอยู่ในที่ที่ไม่มีอาหาร (+)
จึงเป็นความสัมพันธ์แบบ commensalism (+ / 0)
12. ง.
มวลชีวภาพแบบหัวกลับเกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิตมีขนาดเล็กและมีชีวิตสั้น หมายความว่า ถึงจะมีมวลชีวภาพนิดเดียว แต่เดี๋ยวๆก็เกิดรุ่นใหม่ เดี๋ยวๆก็เกิดรุ่นใหม่ เป็นอาหารให้ผู้บริโภคลำดับถัดไปที่มีมวลชีวภาพมากกว่าได้เรื่อยๆ นั่นคือ แพลงก์ตอนสัตว์รุ่นหนึ่ง กินแพลงก์ตอนพืชหลายรุ่นเป็นอาหารนั่นเอง (โดยที่แพลงก์ตอนพืชแต่ละรุ่นมีมวลชีวภาพนิดเดียว และเดี๋ยวๆก็ผลิตรุ่นใหม่ๆออกมา)
ก. ผิด ไม่ใช่ข้อสรุปที่ดีที่สุดนะ มันบอกอะไรได้มากกว่านั้น ถ้าจะบอกว่าอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์คืออะไรเขียนแค่ห่วงโซ่อาหารก็พอแล้ว
ข. ผิด แพลงก์ตอนพืชขยายพันธุ์ได้เร็วกว่าต่างหาก ทำให้ประชากรมวลชีวภาพน้อยๆแต่มีหลายๆรุ่นสามารถเป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์ได้
ค. ผิด แพลงก์ตอนพืชหลายรุ่นเป็นอาหารให้แพลงก์ตอนสัตว์รุ่นหนึ่งต่างหาก
ง. ถูก
13. ก.
a = ammonification ทำโดย ammonifying organism ซึ่งเป็นผู้ย่อยสลาย (decomposer) อย่างเช่นฟังไจ หรือแบคทีเรีย
b = nitrification ทำโดย nitrifying bacteria ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบบสังเคราะห์เคมี (chemoautotroph)
c = nitrogen fixation ทำโดย nitrogen fixing bacteria อาจทำโดยผู้ผลิตแบบสังเคราะห์ด้วยแสง อย่างสาหร่าย Anabaena หรือ Oscilattoria หรือทำโดยแบคทีเรียที่ไม่ได้เป็นผู้ย่อยสลายอย่าง Rhizobium
d = denitrification ทำโดย denitrifying bacteria ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ไมได้เป็นผู้ย่อยสลาย
14. ง.
เพราะกระบวนการ a, b, c ต่างได้ผลิตภัณฑ์เป็นไนเตรท หรือแอมโนเนียม ซึ่งทั้งสองพืชสามารถดูดไปใช้สร้าง nucleotide และโปรตีนได้ แต่ผลิตภัณฑ์ของ d เป็นแก๊สไนโตรเจนอิสระ ซึ่งพืชใช้ไม่ได้
15. ข.
b ทำโดย nitrifying bacteria ซึ่งเป็นแบคทีเรียกลุ่มเดียวที่หลักสูตรม.ปลายสอนว่าเป็น chemoautotroph คือสร้างอาหารได้โดยอาศัยพลังงานจากปฏิกิริยาเคมี
16. ง.
ก. ถูกต้องอยู่นะ ถ้านกทะเลเพิ่มขึ้น สาหร่ายอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณ ปลา A B หรือ C ในระบบนิเวศนั้นๆ เค้าใช้คำว่าอาจจะไง
ข. ถูกต้องอยู่นะ เพราะสาหร่ายเป็นผู้ผลิต เป็นต้นตอของพลังงานศักย์เคมีในอาหารทั้งหมดของระบบนิเวศนี้ ถ้าเกิดสาหร่ายลดน้อยลง อาหารที่หมุนเวียนในระบบนิเวศก็ต้องลดลง ไม่ดีแน่ๆ
ค. ถูกต้องอยู่นะ เพราะ B เป็นอาหารของ A และ C ถ้าเกิด B ถูกจับมากๆโดยเฉพาะช่วงเวลาวางไข่ A และ C อาจสูญพันธุ์ได้ เพราะ B อาจเป็นอาหารหลักของปลาทั้งสองชนิด
ง. ถูกต้องน้อยที่สุดนะ เพราะนกทะเลเป็นตัวควบคุมสมดุลของระบบนิเวศที่ให้มา ถึงแม้จะเป็นผู้ล่าของปลาทั้งสามชนิด แต่อย่าลืมว่า predation เป็นความสัมพันธ์ที่เพิ่มความสมดุลให้ระบบนิเวศ ถ้านกหายไป ปลาทั้งสามก็มีมากขึ้น ทำให้เกิดการแก่งแย่งนู่นนี่กันในที่สุดน่ะสิ
17. ค.
ก. ถูก A เป็น exponential growth มี 2 ระยะ ส่วน B เป็น logistic growth มี 4 ระยะ ลองไปอ่านในหนังสือนะ
ข. ถูก นั่นคือคำจำกัดความของ K (carrying capacity)
ค. ผิด อันนี้ประยุกต์มาจาก anet เลยนะ เพราะถ้าเกิดเป็น exponential growth เนี่ย จะไม่มี environmental resistance เพราะมันคือปัจจัยจำกัดต่างๆ น้ำท่าอาหารอุดมสมบูรณ์สุดๆ จึงไม่มีอะไรเป็นตัวต้านทานสิ่งแวดล้อมเลย
แต่สำหรับค่า carrying capacity นั้นยังมีอยู่นะ เราต้องรู้ว่ามันคือความสามารถของสิ่งแวดล้อมที่รองรับประชากรได้มากที่สุดค่าหนึ่งๆเมื่อพิจารณาจากน้ำท่าอาหารที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ สำหรับการเจริญแบบ exponential นี้จะถือได้ว่าค่า carrying capacity เป็นอนันต์ ไม่ใช่ศูนย์ นั่นคือรองรับประชากรที่เพิ่มมากขึ้นได้เรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง เป็นภาวะในอุดมคติ
ง. ถูก ความชันของกราฟ ขนาดประชากร – เวลา ก็คืออัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราเกิด-ตาย การอพยพเข้า-ออก รูปแบบของการสืบพันธุ์ว่าได้ลูกทีละหนึ่งหรือหลายตัว ฯลฯ
18. ข.
A ไม่มีจริงๆ
B เป็นของมนุษย์, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มักตายตอนแก่ เพราะเด็กๆพ่อแม่เลี้ยงดู
C เป็นของนก ไฮดรา เต่า ไม่ว่าอายุเท่าไหร่โอกาสอยู่หรือตายก็เท่าๆกัน
D เป็นของ พืช ปลา หอย แมลง มักตายตอนเด็ก เพราะออกลูกทีละมากๆแล้วถูกผู้ล่าจับกิน (อย่างในกรณีของพืชก็มีเมล็ดจำนวนมาก แต่เหลืองอกนิดเดียว)
19. ข.
ก. ผิด เกิดจากสาหร่ายเติบโตมากมายผิดปกติ ในแหล่งน้ำหนึ่งๆ
ข. ถูก เพราะวัฏจักรน้ำเป็นการหมุนเวียนผ่านบรรยากาศ สามารถพัดพาก้อนเมฆให้ไปไกลๆได้
ค. ผิด เกิดขึ้นแค่ที่หนึ่งๆ
ง. ผิด เกิดขึ้นแค่ที่หนึ่งๆ
20. ง.
สิ่งที่ทำให้น้ำเน่าเสียเมื่อสาหร่ายเจริญมากผิดปกติเมื่อรับสารบางอย่าง (eutrophication) คือการเพิ่มจำนวนของอินทรียสาร (มีซากอินทรีย์อยู่มาก) ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง DO ต่ำ และ BOD สูง ลดความเข้มแสงที่ส่องผ่าน ทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนทำได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังเพิ่มปริมาณ anaerobic bacteria ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ทำให้น้ำมีกลิ่นเหม็น
21. ค.
ต้องหาระบบนิเวศที่มีน้ำขังที่พื้นดิน เพราะการที่น้ำขังทำให้ออกซิเจนในอากาศละลายลงไปในน้ำได้น้อยมาก ลองไปเปิดหนังสือสังคมศึกษาเรื่องภูมิศาสตร์ละกัน จะพบว่า นาข้าว ป่าชายเลน และป่าพรุ เป็นที่ที่มีน้ำขังเจิ่งนอง
ไร่ข้าว เป็นไร่ ยังแห้งๆอยู่ ป่าดิบชื้น น้ำก็ไม่ขัง แค่ชื้นๆ ..อ่อ ข้อนี้ก็ข้อสอบเอนท์นะ
22. ง.
เซลล์ของพืชที่มีแรงดันออสโมซิสสูงสุด เป็นการปรับตัวของพืชที่ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีแรงดันออสโมซิสสูง สิ่งแวดล้อมเข้มข้น ไม่งั้นน้ำอาจจะออกนอกร่างกายได้ นั่นคือต้นโกงกาง เพราะว่าอยู่ในน้ำกร่อย มีเกลือเยอะ ส่วนผักตบนั้นอยู่ในน้ำจืด
คงคล้ายๆกับการที่ invertebrate ชั้นต่ำอย่างแมงกะพรุนหรือดาวทะเล มีสารละลายในร่างกาย isotonic ต่อทะเลนั่นแหละ
23. ก.
ห่วงโซ่อาหารนอกจากแสดงถึงการกินแล้ว ยังแสดงถึงการถ่ายทอดพลังงานด้วย
D = ผู้ผลิต เพราะถ่ายทอดพลังงานเคมีในอาหารให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆ
A, C = ผู้บริโภคพืช เพราะกิน D
B = ผู้ย่อยสลาย เพราะเป็นขั้นสุดท้ายของห่วงโซ่อาหาร พลังงานในระบบนิเวศจะมาจบที่ผู้ย่อยสลายเสมอ (จริงๆจะเป็นผู้บริโภคสัตว์ก็ได้ แต่ถ้าคิดอย่างนั้นก็ทำข้อสอบเอนท์ข้อนี้ไม่ได้นะ)
B เป็นผู้ย่อยสลาย คือแบคทีเรียและฟังไจ อาจจะมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส (ฟังไจ) หรือไม่มี (แบคทีเรีย) ก็ได้ ส่วนการย่อยอาหารเป็นแบบนอกเซลล์ คือหลั่งน้ำย่อยออกมาย่อยซากอินทรีย์ เรียก saprophytism
24. ค.
II คือผู้ผลิต เพราะถ่ายทอดพลังงานไปให้สิ่งมีชีวิตตัวอื่นๆในรูปของพลังงานเคมีในอาหาร
I และ IV เป็นผู้บริโภคพืช เพราะกิน II
III เป็นผู้ย่อยสลาย เพราะเป็นขั้นสุดท้ายของห่วงโซ่อาหาร พลังงานในระบบนิเวศจะมาจบที่ผู้ย่อยสลายเสมอ
แก๊ส A คือออกซิเจน เพราะปล่อยออกมาจากผู้ผลิตไปหาสิ่งมีชีวิตอื่นๆใช้หายใจระดับเซลล์
แก๊ส B คือคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะปล่อยออกมาจากสิ่งมีชิวิตอื่นๆกลับมาให้ผู้ผลิตใช้สังเคราะห์ด้วยแสง
a) ถูก ออกซิเจนคือแก๊สที่ทำให้ไฟติด (ปฏิกิริยาการเผาไหม้หรือสันดาปใดๆ จึงต้องการออกซิเจนเสมอ) แต่ถ้าเป็นแก๊สไฮโดรเจนจะเป็นแก๊สที่ติดไฟนะ เคยเรียนตอนม.ต้นใช่ไหม
b) ถูก เพราะแก๊สเรือนกระจกอาจจะเป็น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน หรือ CFC ต่างๆก็ได้
c) ผิด ผู้ผลิต (II) สามารถสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ (B) ได้ เพราะพืชก็ต้องหายใจระดับเซลล์เหมือนกัน
25. ค.
ข้อนี้ก็เป็นข้อสอบเอนท์ที่ยากเหมือนกันนะ
a) ไม่เกี่ยว กระแสน้ำใต้ท้องทะเลลึก กับกระแสน้ำใต้ท้องทะเลธรรมดา ก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ และกระแสน้ำก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญกับสิ่งมีชีวิตต่างๆในทะเลมากมายนักนะ
b) เกี่ยว เพราะใต้ทะเลลึกมันต้องหนาวมากกก แสงแดดส่องไม่ถึง สัตว์ทะเลส่วนใหญ่เป็นสัตว์เลือดเย็น (โดยเฉพาะปลา) ซึ่งทนต่ออุณหภูมิต่างๆได้ในช่วงแคบ เพราะเลือดจะเปลี่ยนไปตามอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม หนาวมากไม่ได้ ร้อนมากไม่ได้ ใต้ทะเลเลยมีปลาอยู่น้อยชนิด
c) เกี่ยว เกี่ยวมากๆเลย เพราะใต้ทะเลลึกไม่มีแสง ทำให้ไม่มีสาหร่ายมากนัก จึงไม่มีออกซิเจนและอาหาร ออกซิเจนในน้ำปกติก็แทบไม่มีอยู่แล้ว ยิ่งไม่มีสาหร่ายเลยยิ่งมีน้อยมากๆเลยล่ะ
d) ไม่เกี่ยว ยิ่งใต้ทะเลลึกยิ่งมีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์นะ เพราะเกี่ยวข้องกับกระบวนการแปรสภาพต่างๆของเปลือกโลก โดยเฉพาะปากปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลเนี่ย มีแร่ธาตุอยู่เยอะมากๆ จนเขาคิดว่าเซลล์แรกของโลกเราเกิดที่บริเวณปากปล่องภูเขาไฟใต้ทะเลลึกเนี่ยแหละ
26. ก.
การย่อยสลายเกิดได้ดีในที่ๆชื้นๆและร้อนๆ ลองนึกถึงอากาศร้อนชื้นสิ มันทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีมากถูกไหม เพราะฉะนั้นในป่าดงดิบ ซึ่งเป็นป่าเขตร้อนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงอยู่ตลอดปี เลยทำให้มีการย่อยสลายได้ดีมาก
27. ง.
ก. ผิด ปัญหามลพิษแก้ไขใหม่ได้นะ มันไมได้รุนแรงเหมือนข้อ ง.
ข. ผิด ถ้าประชากรเพิ่มขึ้นแล้วมีการจัดการระบบนิเวศเชิงอนุรักษ์อย่างเหมาะสม ก็ไม่เป็นไร
ค. ผิด การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ต้องเผชิญเป็นปกติ
ง. ถูก การตัดไม้ทำลายป่า มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆด้าน ทั้งการหมุนเวียนสาร ปริมาณน้ำ ภาวะโลกร้อน ที่อยู่ของสัตว์ ห่วงโซ่อาหาร ฯลฯ เยอะแยะมากมาย (พี่คุ้นๆด้วยซ้ำว่าเรารู้จักคำว่าตัดไม้ทำลายป่าตอนประถมต้นๆด้วยซ้ำ ก่อนคำอื่นๆที่เหลือเสียอีก)
28. ค.
a) ผิด เพราะในภาวะปกติผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศจะหมายรวมถึงฟังไจและแบคทีเรียเท่านั้น
b) ถูก อย่างเช่นอะมีบา พารามีเซียม ราเมือก (ราเมือกเป็นผู้บริโภค แต่ราเฉยๆเป็นผู้ย่อยสลายนะ)
c) ถูก อย่างเช่นยูกลีนา หรือสาหร่ายต่างๆ สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้
29. ค.
a) ถูก หัวลูกศรแสดงถึงหมีแพนด้า ได้รับพลังงานจากใบไผ่ (ตามกฎ 10%)
b) ถูก ภาวะล่าเหยื่ออาจจะเป็นสัตว์กินสัตว์ สัตว์กินพืช หรือพืชกินแมลงก็ได้
c) ผิด การย่อยสลายทางชีวภาพ เป็นหน้าที่ของ decomposer ส่วนการย่อยอาหาร (digestion) ต่างหาก ที่เป็นหน้าที่ของ consumer เขียนเรื่องนี้เอาไว้ในหนังสือแล้ว เพราะข้อสอบเอนท์ก็เคยออกคำนี้เหมือนกันนะ
30. ง.
พีระมิดแสดงจำนวน ต้นลิ้นจี่ต้องมีอยู่ไม่กี่ต้น อาจจะต้นเดียวด้วยซ้ำไป แต่มีหนอนเกาะอยู่ปริมาณมากในแต่ละใบของต้นลิ้นจี่ และมีนกมากินหนอน โดยปริมาณนกมีน้อยกว่าหนอน ทำให้ได้รูป (c)
พิระมิดพลังงานต้องหัวตั้งเสมอโดยไม่มีข้อยกเว้น (a)


Create Date : 03 ตุลาคม 2552
Last Update : 21 ตุลาคม 2552 18:30:52 น. 16 comments
Counter : 26328 Pageviews.  

 
เรื่องนี้สุดยอดเลย
เพราะว่ารัยรู้ป่าวค่ะ
เรื่องนี้ทำใหแป้งสอบได้ไม่รู้ว่าเรื่องนี้ครูจะเอามาสอบ มีทุกข้อเลย


โดย: แป้ง IP: 192.168.212.133, 61.7.163.142 วันที่: 18 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:04:19 น.  

 
ดีนะคับหนังสือเล่มนี้นะ


โดย: ริท IP: 115.67.113.176 วันที่: 2 เมษายน 2553 เวลา:12:32:54 น.  

 
เนƒเธŠเนˆเธ”เธตเธกเธฒเธเน†
เธชเธฃเธธเธ›เนเธ•เนˆเธ›เธฃเธฐเน€เธ”เน‡เธ™เธชเธณเธ„เธฑเธ
เธชเธธเธ”เธขเธญเธ”เธˆเธฃเธดเธ‡เน†
เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธžเธตเนˆเธกเธฒเธเน†
เธ—เธตเนˆเนเธ•เนˆเธ‡เธซเธ™เธฑเธ‡เธชเธทเธญเธ”เธตเน†เธญเธขเนˆเธฒเธ‡เธ™เธตเน‰เธ‚เธถเน‰เธ™เธกเธฒ^^


โดย: oo IP: 125.25.24.158 วันที่: 21 เมษายน 2553 เวลา:11:40:37 น.  

 
เนƒเธŠเนˆเธ”เธตเธกเธฒเธเน†
เธชเธฃเธธเธ›เนเธ•เนˆเธ›เธฃเธฐเน€เธ”เน‡เธ™เธชเธณเธ„เธฑเธ
เธชเธธเธ”เธขเธญเธ”เธˆเธฃเธดเธ‡เน†
เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธžเธตเนˆเธกเธฒเธเน†
เธ—เธตเนˆเนเธ•เนˆเธ‡เธซเธ™เธฑเธ‡เธชเธทเธญเธ”เธตเน†เธญเธขเนˆเธฒเธ‡เธ™เธตเน‰เธ‚เธถเน‰เธ™เธกเธฒ^^


โดย: oo IP: 125.25.24.158 วันที่: 21 เมษายน 2553 เวลา:11:40:39 น.  

 
อยากจะก้มลงไปกราบ เก็ทแล้วอ่ะ ซึ้งๆ T T


โดย: >< IP: 115.87.1.177 วันที่: 28 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:09:03 น.  

 
ขอบคุณค่ะ

มากๆๆๆๆๆ

ทำให้ทำงานถูกหมดเลยยยยย

หนูมีหนังสือพี่เตนท์ด้วยน๊ะ
ดีมากๆเลยค่ะ



โดย: CHIROCHA IP: 110.49.11.100 วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:21:52:33 น.  

 
ข้อที่ 13 ตอนที่1
ปรากฏการณ์ฏโลกร้อน (global warming) เกิดได้จากการที่ CO2 ,CFC, CH4 ไปทำลายชั้นโอโซน

แปลกใจค่ะ ตรงที่ให้มันถูก
เพราะว่า global warming เกิด CO2 ,CH4 ก็จริง แต่มันไม่ได้ไปทำลายชั้นโอโซน

เมื่อก่อนนักวิทยาศาสตร์จงใจสร้างมันขึ้น ให้มันทำหน้าที่เสมือนเป็นแผ่บางๆ ห่อหุ้มโลกเหมือนๆกับสร้างห้องเรือนกระจก เพื่อการเพาะปลูก

ในส่วนของ CFC มันทำลายชั้นโอโซนจริง ดังนั้นมันควรจะเกิด ozone deletion มากกว่าที่จะเป็น global warming


โดย: ENV IP: 118.173.98.75 วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:17:36:47 น.  

 
พี่คะ กราฟอัตราการอยู่รอดของปู มันเหมือนของพวกปลา หอย หรือเหมือนไฮดรา เต่า คะ


โดย: mindy IP: 117.47.212.184 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2553 เวลา:19:11:29 น.  

 
พี่ครับ ตอนที่3 ข้อ28
ผมไปเจอในเว็ป//www.ceted.org/webbio/chapter01/index_l01_p33.php
บอกว่าราเมือกเป็นผู้ย่อยสลาย
วิกิพีเดียก็บอกว่าโพรทิสดำรงชีวิตด้วยการลายสารอินทรีย์ด้วย
-*-? อันไหนผิดครับ


โดย: เกรียน IP: 223.207.11.206 วันที่: 4 กรกฎาคม 2554 เวลา:23:11:25 น.  

 
ขอถามเรื่องเนื้อหาอ่ะคะ
อธิบาย principal host กับ
intermediate host หน่อยค่ะ


โดย: mint IP: 58.11.76.31 วันที่: 5 กันยายน 2554 เวลา:22:59:21 น.  

 
พี่ครับ ข้อ28 ตอน 3 ในหนังสือพี่ก็เขียนว่า ราเมือกเป็น decomposer นะครับ แต่ทำไมในเฉลยบอกว่า ราเมือกเป็น consumer ละครับ


โดย: boat IP: 115.87.110.126 วันที่: 21 พฤศจิกายน 2554 เวลา:11:42:57 น.  

 
ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ^^


โดย: O IP: 101.108.6.191 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2554 เวลา:19:34:24 น.  

 
ขอบคุณมากเลยค่ะ หนูเข้าใจหมดแล้ว :)


โดย: TFC IP: 27.55.3.45 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:0:15:12 น.  

 
ขอบคุนหนังสือดีๆจากพี่เต๊นมากครับบบบ


โดย: mookubphom IP: 171.5.251.46 วันที่: 15 กันยายน 2556 เวลา:5:44:07 น.  

 
ตอนที่ 3 ข้อ 3 ตัวเลือก a) ไส้เดือนไม่นับเป็น decomposer ที่มีทางเดินอาหารหรอครับ


โดย: Hill Wiphut IP: 49.228.57.163 วันที่: 7 มีนาคม 2564 เวลา:21:14:37 น.  

 
คุณ Hll Wiphut
ตามหลักการแล้ว สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงทะเล ฯลฯ จัดว่าเป็นผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ ไม่ใช่ผู้สลายสารอินทรีย์แต่อย่างใด เนื่องจากต้องดูดซึมสารอาหารจากภายในเท่านั้น (wikipedia)


โดย: ssr IP: 171.97.109.96 วันที่: 16 เมษายน 2565 เวลา:16:46:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

มิสเตอร์คัสตาร์ด
Location :
Igloo house Antarctica

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 240 คน [?]




เมลล์มาคุยกันได้นะครับ
tentaroro@yahoo.com :)

[Add มิสเตอร์คัสตาร์ด's blog to your web]