your enjoyable TENTarized knowledge :)
เข้าไปถามคำถามในเฟซบุคที่จะสะดวกตอบกว่านะ ^^
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
3 ตุลาคม 2552

เฉลย: การหายใจระดับเซลล์

เฉลยเรื่อง การหายใจระดับเซลล์

ตอนที่ 1
1. ถูก pantothenic acid หรือวิตามินบี 5 เป็นวิตามินบีอย่างหนึ่งที่อยู่ใน coenzyme A
2. ผิด niacin อยู่ใน NAD+, NADP+ และ riboflavin อยู่ใน FAD ก็จริง แต่การสังเคราะห์ด้วยแสงมันไม่ได้ใช้ FAD ส่วนการหายใจระดับเซลล์ก็ไม่ได้ใช้ NADPH เลยนะ
3. ผิด substrate-level phosphorylation พบได้ทั้งใน glycolysis ที่ cytosol และ Krebs cycle ที่ matrix
4. ผิด ออกซิเจนรับ e- แสดงว่าเกิด reduction ต้องเปลี่ยนคำว่าออกซิไดส์เป็นรีดิวส์
5. ถูก อะตอมของออกซิเจนในน้ำตาลเมื่อหายใจระดับเซลล์จะถูกออกซิไดส์จนกลายเป็น CO2 หมด แล้วลำเลียงด้วยเลือดมาแลกเปลี่ยนกับถุงลม ออกไปกับลมหายใจออก
6. ถูก เพราะ O2 เป็นตัวกระตุ้นการเกิด Krebs cycle และการถ่ายทอดอิเล็กตรอน ถ้าเกิดอยู่ดีๆมันหายไป NADH และ FADH2 ที่สร้างขึ้นมาก็จะเปลี่ยนเป็น NAD+ และ FAD ไม่ได้ สารทั้งสองจึงลดลงเรื่อยๆ
7. ถูก เพราะ ATP ใน Krebs cycle เกิดจาก substrate-level phosphorylation จาก succinyl CoA (4C) เป็น succinate ปฏิกิริยาก่อนหน้าคือการออกซิไดส์ alpha-ketoglutarate (5C) เป็น succinyl CoA สรุปง่ายๆคือ 5C เป็น 4C เกิด ATP นั่นเอง
8. ถูก เพราะเมื่อไม่มีออกซิเจน ทำให้ NADH ไปต่อไม่ได้ การหมักแอลกอฮอล์จะนำ acetaldehyde มารับอิเล็กตรอน ส่วนการหมักกรดแลกติกจะนำ pyruvate มารับอิเล็กตรอนจาก NADH ทำหน้าที่แทนออกซิเจนที่หมดไป
9. ผิด กลีเซอรอลสามารถเปลี่ยนเป็น PGAL ซึ่งเป็นสารตัวกลางใน glycolysis ได้ก็จริง แต่กรดอะมิโนจะเปลี่ยนเป็น pyruvate ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ glycolysis และกรดไขมันจะเปลี่ยนเป็น acetyl CoA เข้า Krebs cycle
10. ถูก เพราะกลูโคส 6 C นั้น 1 ใน 3 จะถูกออกซิไดส์เป็น CO2 ที่การสร้าง acetyl CoA ส่วนอีก 2 ใน 3 จะถูกออกซิไดส์เป็น CO2 ที่ Krebs cycle
11. ผิด beta-oxidation จะได้ acetyl CoA และน้ำ แต่จะเสีย ATP ไปเทียบเท่า 2 โมเลกุล
12. ถูก แบคทีเรียเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายของ metabolism โดยบางพวกอยู่ได้ดีในที่ที่มีออกซิเจน (aerobic bacteria - หายใจแบบใช้ออกซิเจน) บางพวกอยู่ในที่ที่ไม่มีออกซิเจน (anaerobic bacteria – อาจจะหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจน หรือหมักทั้งแอลกอฮอล์ หรือกรดแลกติก) หรืออยู่ได้ดีทั้งที่มีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจน (facultative bacteria)
13. ถูก เมื่อยีสต์ไม่มีออกซิเจน การหายใจ (glycolysis) และการหมัก (fermentation) จะเกิดที่ cytosol
14. ถูก เพราะจุลินทรีย์พวกนี้ต่างก็ต้องมี glycolysis, Krebs cycle และ ETC เหมือน eukaryote มีการสร้าง ATP แบบ oxidative และ substrate-level เหมือนกัน (แต่ตำแหน่งต่างกันนะ เพราะพวกนี้ไม่มี mitochondria จึงเกิดขึ้นที่ mesosome แถมยังไม่มี shuttle system และปริมาณ ATP ที่ได้ก็ไม่ใช่ 36-38 ATP เหมือนของเราด้วย)
15. ผิด cellular respiration เป็นปฏิกิริยาคายพลังงานในรูป ATP แต่ phosphorylation เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน (ซึ่งต้องใช้ 7.3 kcal/mol ในการสร้างพันธะพลังงานสูง 1 พันธะ) อย่าง oxidative phosphorylation ก็ดูดพลังงานที่สะสมในรูปพลังงานศักย์ไฟฟ้าของโปรตอนที่ intermembrane space
16. ผิด NAD+ และ NADH มีการรับส่ง H+ และ e- ก็จริง แต่ cytochrome เป็นโปรตีนถ่ายทอด e- ที่ innermembrane จึงไม่รับส่ง H+
17. ถูก เอนไซม์ส่วนใหญ่ในวัฏจักรเครบส์จะละลายอยู่ใน matrix แต่ที่ฝังอยู่บน innermembrane ก็มีเหมือนกัน (มีตัวเดียว เปลี่ยน succinate เป็น fumarate ชื่อ succinate dehydrogenase)

ตอนที่ 2
1. ทั้งสี่เกิดขึ้นที่ cytosol (A) matrix (B) matrix (B) และ innermembrane (C) ตามลำดับ
2. ที่ที่สร้าง ATP คือ A (substrate-level ของ glycolysis), B (substrate-level ของ Krebs cycle) และ C (oxidative ของ ETC) //
ที่ที่สร้าง NADH คือ A (จาก glycolysis) B (จากการสร้าง acetyl CoA และ Krebs cycle) //
ที่ที่สร้าง CO2 คือ B (จากการสร้าง acetyl CoA และ Krebs cycle)
3. สมการที่ให้มาไม่ต้องไปสนใจ (ข้อสอบเอนท์ก็เคยให้มา) สนใจแต่สมการรวมธรรมด๊าธรรมดา C6H12O6 + 6O2 + 6H2O กลายเป็น 6CO2 + 12H2O เท่านั้น สรุปคือเกิดน้ำ 12 โมเลกุลต่อการสันดาปกลูโคส 1 โมเลกุล
4. NADH 2 โมเลกุลกลายเป็น ATP 2 x 3 = 6 โมเลกุล ส่วน FADH2 3 โมเลกุลกลายเป็น ATP 3 x 2 = 6 โมเลกุล ATP ทั้งหมด 6 + 6 = 12 โมเลกุลจะสร้างพลังงานได้ 12 x 7.3 = 87.6 kcal/mol
5. pyruvate 1 โมเลกุลจะผ่านการสร้าง acetyl CoA ได้ 1 NADH (= 3 ATP) และผ่าน Krebs cycle ได้ 3 NADH (= 9 ATP), 1 FADH2 (= 2 ATP) และ 1 ATP จาก substrate-level รวม ATP ทั้งหมดจะได้ 15 ATP ซึ่งต้องดูดพลังงานทั้งหมด 15 x 7.3 = 109.5 kcal/mol
** จริงๆจำไปใช้เลยก็ได้ว่า 1 pyruvate จะสร้างพลังงานได้ทั้งหมด 15 ATP ส่วนถ้าเป็น 1 acetyl CoA จะสร้างพลังงานได้ทั้งหมด 12 ATP นะครับ ใครเรียนชีวะระดับมหาลัยก็จะใช้ตัวเลขนี้
6. อันนี้เป็นข้อสอบเอนท์เมื่อนานมาแล้ว ในกล้ามเนื้อลายจะสร้าง ATP ได้ 2 ATP จากการหมักกรดแลกติก และสร้างได้ 36 ATP จากการหายใจแบบใช้ออกซิเจน (เพราะมี shuttle system แบบ FADH2 มารับ) เลยได้พลังงานคิดเป็น 2 / 36 x 100 = 5.55% เท่านั้น
7. อันนี้ง่ายนะ ลองเปิดหนังสือดูเองละกัน ^^
เอ้อน้องครับ ข้อ 7.3 ที่บอกว่า 1 รอบให้ตัดทิ้งเป็น "เมื่อเข้า Krebs cycle" เฉยๆละกันนะ -*-
8. acetyl CoA 1 โมเลกุล เมื่อเข้า Krebs cycle จะได้ 3 NADH (= 9 ATP จาก ETC) และ 1 FADH2 (= 2 ATP จาก ETC) รวมทั้งหมดเป็น 11 ATP
ถ้าเกิดมี acetyl CoA 3 โมเลกุล เลยสร้างได้ 33 ATP จาก ETC
ถ้าเกิดข้อนี้ตอบ 36 แปลว่าถูกหลอกแล้วนะ
โจทย์ถามว่า "จากการถ่ายทอดอิเล็กตรอน" ไงครับ (ไม่นับที่ได้จากการเปลี่ยน succinyl CoA เป็น succinate นะ)
9. อันนี้ก็เปิดหนังสือเรียนเองละกัน แต่ต้องจำให้ได้นะตรงไหนเกิดอะไรบ้าง

ตอนที่ 3
1. ก.
ข้อสอบใหม่สุดๆ ง่ายด้วย
a = acetyl CoA เพราะเกิดจากการออกซิไดส์ pyruvate และเป็นสารตั้งต้นของ Krebs cycle
b กับ c = acetaldehyde (2C) กับ ethanol (2C) ตามลำดับขั้นของการหมักแอลกอฮอล์
d = lactic acid ตามลำดับขั้นของการหมักกรดแลกติก
2. ข.
ยีสต์ไม่สังเคราะห์ด้วยแสง ดังนั้นการเอาไปตั้งไว้ในที่ๆแดดส่องถึงแปลว่าให้มันหายใจแบบใช้ออกซิเจน
a) ถูก สร้างอยู่แล้วจากการออกซิไดส์น้ำตาลให้เป็น CO2 ในการหายใจระดับเซลล์
b) ถูก ถึงจะไม่สังเคราะห์ด้วยแสงได้น้ำตาล แต่มันก็ต้องย่อยซูโครสด้วย sucrase (หรือ invertase ในยีสต์) ให้กลายเป็นสารตั้งต้นของการหายใจระดับเซลล์เสียก่อน
c) ผิด อยู่ในที่ที่มีออกซิเจนยีสต์จะไม่หมักแอลกอฮอล์
3. ง.
การหมักกรดแลกติก พบในเซลล์กล้ามเนื้อลายที่ทำงานหนัก แบคทีเรีย พยาธิตัวตืด
การหมักแอลกอฮอล์ พบในเซลล์พืชที่ขาดออกซิเจน (อย่างรากพืชในที่น้ำท่วมขัง) แบคทีเรีย ยีสต์
4. ก. หรือ ง. (โทษทีนะครับพี่คงจะพิมพ์ข้อ ง.ผิดไป)
ในการถ่ายทอดอิเล็กตรอน โปรตอนจะถูกปั๊มจาก matrix (C) ไป intermembrane space (B)
ที่ไหนมีโปรตอนมาก ยิ่งเป็นกรดมาก คือยิ่งมี pH น้อย
โปรตอน ณ B > A > C ดังนั้น pH C > A > B
5. ข.
เซลล์รากพืชในน้ำเน่าขัง จะหมักเอทานอล คือมี glycolysis ต่อด้วย fermentation ได้ 2 ATP สุทธิ
ส่วน anaerobic bacteria จะหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน คือมี glycolysis, Krebs cycle และ ETC โดยตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายเป็นสารอื่นๆ ได้ ATP สุทธิจำนวนต่างๆกันแล้วแต่ species ของแบคทีเรีย
ก. ผิด มีนะ
ข. ถูก เพราะแค่ glycolysis + fermentation
ค. ผิด มี substrate-level phosphorylation ใน glycolysis ไง
ง. ผิด ตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายของการหมักแอลกอฮอล์คือ acetaldehyde (สารอินทรีย์ ไม่ใช่ อนินทรีย์) รับอิเล็กตรอนจาก NADH
6. ข.
ก. ถูก เกิดที่ cytoplasm โดยใช้เอนไซม์เป็นสิบ
ข. ผิด เป็นการออกซิไดส์กลูโคส (hexose) เป็น pyruvate (กรด 3C)
ค. ถูก พลังงานเคมีในพันธะโคเวเลนต์ถูกเก็บใน ATP และ NADH
ง. ถูก ได้ 4 ATP แต่ใช้ไป 2 ATP จึงได้ ATP สุทธิ 2 ATP
7. ง.
เม็ดเลือดแดงของคนที่เจริญเต็มที่แล้วไม่มี mitochondria จึงไม่เกิดอะไรขึ้น
8. ง.
a), b) ถูก ออกซิเจนรับอิเล็กตรอนและโปรตอน กลายเป็นน้ำ
c) ถูก ออกซิเจนไม่ได้กระตุ้นการเติมหมู่ฟอสเฟตโดยตรงแต่อย่าลืมว่า ออกซิเจนเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด Krebs cycle และการถ่ายทอดอิเล็กตรอน ถ้าไม่มีออกซิเจนการเติมหมู่ฟอสเฟตให้ ADP ใน oxidative phosphorylation ก็ไม่เกิดขึ้น
9. ข.
ก. ถูก C อินทรีย์ 2 อะตอมใน acetyl CoA จะถูกออกซิไดส์เป็น C อนินทรีย์ในรูป CO2 จนหมดใน Krebs cycle
ข. ผิด การหายใจระดับเซลล์ไม่ได้ใช้ NADPH ซะหน่อย อันนั้นมันสำหรับสังเคราะห์ด้วยแสง
ค. ถูก เป็น concept ธรรมดาๆ
ง. ถูก มีการเติมอิเล็กตรอน (รีดิวซ์) FAD ให้เป็น FADH2 เมื่อเปลี่ยน succinate เป็น fumarate โดยเอนไซม์ succinate dehydrogenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ตัวเดียวของวัฏจักรที่อยู่บน innermembrane
10. ค.
การหมักใช้พลังงานในรูปอิเล็กตอนพลังงานสูงใน NADH ไปรีดิวซ์ acetaldehyde ในการหมักแอลกอฮอล์ หรือ pyruvate ในการหมักกรดแลกติก
ส่วน ATP เป็นสารพลังงานสูงก็จริงแต่เป็นผลพลอยได้จาก glycolysis ไม่ได้เป็นส่วนที่ใช้
11. ข.
มีในหนังสือทุกเล่มชัดเจน ตัวร่วมคือ acetyl CoA
12. ค.
ต้องจำว่ากรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงได้ 3 อย่างคือ 1) pyruvate 2) acetyl CoA 3) สารตัวกลางในวัฏจักรเครบส์
ส่วน PGAL จะได้มาจากกลีเซอรอล
13. ก.
ขอเปลี่ยนโจทย์ (พิมพ์ครั้งที่ 1-5) เป็น "ถ้าโปรตอนใน intermembrane space ลดลง จะมีผลต่อ"
ถ้าโปรตอนไหลออกมา จะส่งผลโดยตรงต่อกระบวนการที่ต้องใช้โปรตอน คือการสร้าง ATP จาก oxidative phosphorylatioin ส่วนกระบวนการก่อนหน้านั้น ทั้งการปั๊มโปรตอน การถ่ายทอดอิเล็กตรอน และการรีดิวซ์ออกซิเจนจนกลายเป็นน้ำ ยังคงปกติ คือถ่ายทอดไปเรื่อยๆสร้างน้ำไปเรื่อยๆไง แต่โปรตอนที่ปั๊มก็ถูกขังใน intermembrane space ไปเรื่อยๆเช่นกัน
14. ง.
a) ผิด เซลล์ตัวและสมองเป็นเซลล์ที่มี metabolism สูงต้องการพลังงานเท่าๆกัน mitochondria มีมากไม่ต่างกัน
b) ถูก ตับต้องใช้ SER กำจัดสารพิษและสร้าง steroid อย่าง cholesterol ส่วนเซลล์สมองไม่ต้องใช้เยอะขนาดนั้น
c) ผิด glycolysis ของเซลล์ไหนๆก็ได้ 2 NADH เหมือนกัน
d) ถูก หัวใจ ไต ตับ ได้ 38 ATP แต่สมอง กล้ามเนื้อลาย ได้ 36 ATP เพราะ shuttle system ที่ต่างกันทำให้มีปริมาณ NADH กับ FADH2 สำหรับสร้าง ATP จาก oxidative phosphorylation ต่างกัน
15. ก.
ATP ใน mitochondria สร้างโดย oxidative phosphorylation โดยการแพร่ของโปรตอนใน intermembrane space เข้าไปใน matrix
ถ้าการสร้าง ATP ถูกยับยั้ง โปรตอนก็จะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆใน intermembrane space ทำให้ใน matrix มีโปรตอนลดลงๆ ท้ายที่สุดคือ pH ของ matrix (ที่สูงขึ้นๆ) ต่างจาก pH ของ cytosol (ที่อยู่ปกติ) มากขึ้นเรื่อยๆ ข้อ ก.ถูก
ส่วนการเทอิเล็กตรอนของ NADH และ FADH2, การถ่ายทอดอิเล็กตรอน, การรีดิวซ์ O2 ยังคงเป็นปกติทุกอย่าง เพียงแต่ว่าโปรตอนที่ปั๊มเข้า intermembrane space นั้นก็จะสะสมมากขึ้นๆ
16. ข.
ยีสต์ปกติก็หายใจด้วยออกซิเจน ได้ ATP ออกมาเยอะแยะ แต่ถ้าไม่มีออกซิเจนถึงจะหมักได้ 2 ATP
ก. ผิด เมื่อมีออกซิเจนก็หายใจด้วยออกซิเจน
ข. ถูก เมื่อหมัก จะได้ 2 CO2, 2 ATP และ 2 ethanol
ค. ผิด เมื่อหมักจะมี NADH มาให้อิเล็กตรอนกับสารอินทรีย์ C 2 อะตอมที่ชื่อ acetaldehyde
ง. ผิด เอทิลแอลกอฮอล์ (เหล้า กินได้) ไม่ใช่เมทิลแอลกอฮอล์ (เอาไว้เช็ดแผล)
17. ค.
ก. ถูก เปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่าง ADP และ ATP
ข. ถูก เปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่าง NAD+ และ NADH
ค. ผิด ต้องถูกออกซิไดส์ไปเรื่อยๆ เปลี่ยนแปลงเป็น acetyl CoA และ CO2 โดยไม่เปลี่ยนกลับเป็นอะไรอีก
ง. ถูก เปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่างสารตัวกลางในวัฏจักรเครบส์ต่างๆ
18. ง.
มีสรุปให้ในหนังสือแล้ว
a) ถูก อย่างเช่น cytochrome ช่วยรับ – ส่งอิเล็กตรอน
b) ถูก อย่างเช่น ATP synthase สร้าง ATP
c) ถูก เป็นเอนไซม์ในวัฏจักรเครบส์ ได้แก่ succinate dehydrogenase
d) ถูก เป็น channel, receptor, carrier ควบคุมการผ่านเข้าออกสารต่างๆ
19. ก.
สมการที่ให้มาเป็นการหมักกรดแลกติก
ก. ถูก เพราะ pyruvate ดูดพลังงานในรูปอิเล็กตรอนพลังงานสูงใน NADH
ข. ผิด การหมักเกิดที่ cytosol
ค. ผิด ไม่เกี่ยวเลย มั่วมาก lactase เป็นน้ำย่อย lactose ที่อยู่ในลำไส้เล็ก
ง. ผิด NADH ไม่ใช่โปรตีน เป็น coenzyme ที่มีวิตามินบีเป็นส่วนประกอบ
20. ค.
อย่าลืมว่าสารพลังงานสูงในเซลล์ที่สำคัญมี 2 อย่าง 1) ATP เก็บพลังงานในรูปพันธะพลังงานสูง และ 2) ตัวรับอิเล็กตรอน อย่าง NADH, NADPH และ FADH2 ที่เก็บพลังงานในรูปอิเล็กตรอนพลังงานสูง
การสร้าง acetyl CoA เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน สังเกตจากได้สารพลังงานสูง (NADH) ออกมาทางด้านขวาของสมการที่ให้มา
การสร้าง NADH เป็นปฏิกิริยาดูดพลังงาน จากสมการ NAD+ + 2e- + H+ กลายเป็น NADH สังเกตได้ว่ามีอิเล็กตรอนพลังงานสูงอยู่ทางด้านซ้ายของปฏิกิริยา


Create Date : 03 ตุลาคม 2552
Last Update : 22 พฤษภาคม 2553 10:52:09 น. 38 comments
Counter : 34108 Pageviews.  

 
พี่ๆตอน1ข้อ4
ปฏิกิริยาริดักชัน ก็เป็นการออกซิไดส์ก้ถูกแล้วนี้
แล้วปฏิกิริยาออกซิเดชั่นก็เป็นการริดิวส์
หรือผมเข้าใจอะไรผิด ฮาๆ


โดย: foon IP: 119.31.126.141 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:11:45 น.  

 
พี่ๆตอนที่1ข้อ4
รีดักชันก็ต้องคู่กับการออกซิไดส์ไม่ใช่หรอครับ

หรือผมเข้าใจอะไรผิด


โดย: foon IP: 119.31.126.141 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:14:34 น.  

 
reduction คู่กับการออกซิไดส์ ถูกแล้วครับ
แต่ในประโยคที่ว่า "การออกซิไดส์ O2 ซึ่ง..."
มันไม่ใช่อะครับ ออกซิไดส์ในที่นี้ เป็นกริยา โดยที่มี O2 เป็นกรรมครับ
ออกซิไดส์ O2 แปลว่า ทำให้ O2 เกิด oxidation (สูญเสีย e-) ซึ่งผิดครับ
ในที่นี้ O2 (ตัวออกซิไดส์) ถูกรีดิวซ์ โดย cytochrome (ตัวรีดิวซ์)
คือมีการเคลื่อนของ e- จาก cyt ไป O2 ครับ
ที่ถูกคือ "การรีดิวซ์ O2 ซึ่งเป็นตัวรับ e- ตัวสุดท้าย ทำให้ได้น้ำเป็นผลิตภัณฑ์" ต่างหาก
เข้าใจไหมอะ ?...ลองฝึกพูดกับเพื่อนโดยคิดว่า ออกซิไดส์, รีดิวซ์ เป็นคำกริยาคำหนึ่งเหมือนกับ กิน นอน ไรงี้ดิ
จะขอยางลบเพื่อนก็แบบ ขอยางลบมารีดิวซ์เราหน่อยนะ ไรเงี้ย


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา:20:48:00 น.  

 
อ๋อๆ ครับๆพี่ขอบคุงครับ


โดย: foon IP: 110.49.123.249 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2552 เวลา:0:15:41 น.  

 
พี่เต็น ข้อ5 ตอนที่3อะค่ะ
งงที่ว่า anaerobic bact. มันหายใจแบบไม่ใช้ O2
มี glycolysis แล้วทำไมมีKrebs cycle และ ETC ด้วยอ่ะค่ะ ??

หนูนึกว่าไม่ใช้ O2แล้วจะไม่เข้า Krebs cycle อ่ะค่ะ
มันเกี่ยวกับ Proka/ Euka รึเปล่า ??


โดย: ;) IP: 118.172.63.148 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:14:31:20 น.  

 
NADH กับ NADPH
มันต่างกันยังไงอ่ะคะ

ในบทนี้เราเจอ NADH
ส่วน NADPH เจอบทสังเคราะห์แสง ??


โดย: ;) IP: 118.172.63.148 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:14:38:04 น.  

 
- ที่น้องกำลังเข้าใจว่า anaerobic แล้วจะไม่มี Krebs นั้นเข้าใจผิดครับ
anaerobic แปลว่าตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายไม่ใช่ O2
อาจจะเป็นการหมักก็ได้ คือ glycolysis แล้ว ferment
โดยถ้าเป็นหมักแอลกอฮอล์จะมี acetaldehyde เป็นตัวรับ e- ตัวสุดท้าย
หมักแลกติกจะเป็น pyruvate มารับ e- ครับ
ส่วนสำหรับแบคทีเรียก็ anaerobic ได้ โดย
glycolysis -> Krebs -> ETC โดยที่ตัวรับ e- ตัวสุดท้ายเป็นสารอนินทรีย์อื่นๆเช่นฟอสเฟต ไนเตรทอะ พอเข้าใจไหม?
- NADPH กับ NADPH ต่างกันที่โครงสร้างนิดเดียวเท่านั้นเอง
คุณสมบัติการรีดอกซ์คล้ายๆกัน แต่ใช้ในแต่ละปฏิกิริยาต่างกันนะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:16:21:54 น.  

 
อ่อ มันเปนอย่างงี้นี่เองงง
ขอบคุณค่าพี่เต็น


โดย: ;) IP: 118.172.63.148 วันที่: 4 ธันวาคม 2552 เวลา:21:59:14 น.  

 
พี่คะ หนูข้อถามข้อสอบหน่อยนะคะ
พี่ช่วยอธิบายหน่อยนะคะว่าต้องคิดยังไง
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ในคนที่ได้รับสารไซยาไนด์ การสลายมอลโตส 1 โมเลกุลโดยเซลล์ตับจะได้พลังงานที่อยู่ในรูป ATP ทั้งหมดกี่โมเลกุล
1. 4
2. 8
3. 38
4. 76



โดย: KW IP: 118.172.90.160 วันที่: 9 ธันวาคม 2552 เวลา:23:00:56 น.  

 
ไซยาไนด์เป็นสารพิษยับยั้งการถ่ายทอด e- ครับ
จริงๆจำไปเลยก็ดีเพราะเห็นในหลายๆข้อสอบแล้วนะ
พอถ่ายทอดไม่ได้เลยเหลือแต่ glycolysis + fermentation
maltose เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่
ก็คิดซะว่าเป็น glucose 2 โมเลกุล
ผ่าน glycolysis เลยได้ ATP ทั้งหมด 4 โมเลกุลอะ
(พี่ว่าน่าจะเป็นยังงี้นะ ^^")
พอเข้าใจไหม


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 10 ธันวาคม 2552 เวลา:10:59:35 น.  

 
เข้าใจแล้วค่ะ
ตอนแรกหนูก็คิดได้ 4 แบบพี่ค่ะ
แต่มันเฉลย 8 ค่ะ (หนูก็เลยงง)

ปล.หนังสือเล่มนี้รุ่นพี่หลายคนบอกว่าเฉลยผิดเยอะเหมือนกัน (เซ็งเลย - -*) หนูก็เลยไม่แน่ใจว่าเราผิด หรือเค้าผิด

ขอบคุณมากค่ะ


โดย: KW IP: 118.172.59.129 วันที่: 10 ธันวาคม 2552 เวลา:11:04:17 น.  

 
ถ้าถามว่าได้ ATP สุทธิเท่าไหร่ = ตอบ 4
ถ้าถามว่าได้ ATP เท่าไหร่ = ตอบ 8
อย่าลืมว่า 1 glycolysis ได้ 4 ATP แต่ใช้ไป 2 จึงเหลือสุทธิ 2
ถ้าโจทย์ที่น้องให้มาใช้คำว่า ATP ทั้งหมด -*-
น้องก็ไปตีความเองละกันนะ แหะๆ ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 10 ธันวาคม 2552 เวลา:11:53:26 น.  

 
พี่คะ ที่พี่บอกว่า "ไซยาไนด์เป็นสารพิษยับยั้งการถ่ายทอด e- ครับ
จริงๆจำไปเลยก็ดีเพราะเห็นในหลายๆข้อสอบแล้วนะ
พอถ่ายทอดไม่ได้เลยเหลือแต่ glycolysis + fermentation" อ่ะค่ะ ทำไมไม่เหลือเป็น glycolysis+สร้างAcetyl CoA+Kreb's cycle อ่ะคะพี่

ขอบคุณค่ะ


โดย: frozen IP: 117.47.20.35 วันที่: 16 ธันวาคม 2552 เวลา:20:30:47 น.  

 
เพราะกลไกทั้งสามสี่อย่างมันไม่ได้ตรงๆแบบ A -> B -> C -> D อะครับ
มันควบคุมซับซ้อน ซึ่งพี่ก็จำเหตุผลไม่ได้หรอก
แต่คือถ้าเกิดการถ่ายทอด e- มันหายไป มันจะล้มไปเป็นโดมิโน่ เป็นทอดๆอะ
แต่โดมิโนตัวสุดท้าย (glycolysis) มันจะล้มไม่ได้ เพราะไม่งั้นเซลล์ก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน
ในหนังสือพี่เลยบอกว่า O2 เป็นตัวกระตุ้นให้เกิด krebs และ ETC
เพราะเมื่อไม่มี O2 แล้วมันล้มเป็นทอดๆ เหลือ glycolysis เอาไว้ประกอบการ ferment อะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 16 ธันวาคม 2552 เวลา:20:57:50 น.  

 
แหล่มเลยพี่เต๊น
ขอบคุณค่ะ =)


โดย: frozen IP: 222.123.158.98 วันที่: 31 ธันวาคม 2552 เวลา:22:20:11 น.  

 
พี่เต๊นคะ
อยากถามตอนที่2ข้อที่7.3ค่ะ
โจทย์บอกว่า เข้า krebs cycle 1รอบ
แต่โจทย์หลักบอกว่า กลูโคส 1 โมเลกุล

หนูจำได้ว่าอาจาร์ยที่โรงเรียนบอกว่า
ถ้ากลูโคส 1 โมเลกุล ต้องเป็น krebs cycle 2 รอบ
ข้อนี้หนูเลยงงว่าจะตอบเป็น

2 1 3 1 (krebs cycle1รอบ) /// 4 2 6 2 (krebs cycle2รอบ)
คือพี่เฉลย 4 2 6 2

ถ้าเข้าใจผิดตรงไหนขออภัยด้วยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ


โดย: :)) IP: 58.11.64.161 วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:16:24:08 น.  

 
อ่า พี่เข้าใจที่น้องสงสัยและ
น้องเข้าใจถูกแล้ว และพี่เขียนขัดกันเองนี่เอง
พี่หมายถึง 2 รอบอะแหละครับ คือหมุน Krebs ด้วย 1 glucose อะนะ ^^"


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 2 มกราคม 2553 เวลา:21:43:11 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ พี่เต๊น


โดย: :)) IP: 58.8.187.202 วันที่: 4 มกราคม 2553 เวลา:18:38:49 น.  

 
อยากให้พี่สรุปว่าการเผากลูโคส 1 โมเลกุลต้องใช้O2กี่โมเลกุล ขอบคุณครับ


โดย: Cen IP: 202.149.25.241 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:23:11:02 น.  

 
1 กลูโคสใช้ 6 โมเลกุลออกซิเจนครับ (หน้า 61)


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:22:47:03 น.  

 
ขอรบกวนนิดนึงนะครับ เหมือยจะเข้าใจแต่ยัง งงๆ

5. ข.
เซลล์รากพืชในน้ำเน่าขัง จะหมักเอทานอล คือมี glycolysis ต่อด้วย fermentation ได้ 2 ATP สุทธิ
ส่วน anaerobic bacteria จะหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน คือมี glycolysis, Krebs cycle และ ETC โดยตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายเป็นสารอื่นๆ ได้ ATP สุทธิจำนวนต่างๆกันแล้วแต่ species ของแบคทีเรีย

===================================

จากหน้า 64 เท่าที่ผมสรุปได้ก็คือ
1.Pro Cell ถ้าขาด O จะมีขบวนการทุกอย่างเหมือนเดิมแต่เปลื่ยนตัวรับ e ตัวสุดท้ายเป็นตัวอื่น
2.Eu Cell ถ้าขาด O ขบวนการทุกอย่างจะล้มเหลือแค่ ไกลโคไลซีส+หมัก

ที่ผมเข้าใจนี่ถูกต้องไหมครับ


โดย: ดิน IP: 112.142.111.94 วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:17:40:57 น.  

 
อ้อแล้วอีกนิดนะครับ

ถ้าขาด O ไปแล้วจะทำให้ไม่เกิดการสร้าง CoA ด้วยไหมครับ

หรือหยุดไปเฉพาะ Kreb+ETC


โดย: ดิน IP: 222.123.54.215 วันที่: 12 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:58:56 น.  

 
# น้องดิน

- ขาด O2 แล้ว acetyl CoA ก็ไม่สร้างครับ เหลือแต่ glycolysis
- eukaryotic cell ขาด O2 แล้ว เหลือแค่ glycolysis กับหมัก เกือบถูกแล้วครับ
แต่เซลล์นั้นต้องมีคุณสมบัติในการ ferment ได้ด้วยนะครับ
เซลล์ร่างกายคนเราไม่ใช่ว่าทุกเซลล์จะหมักกรดแลกติกได้นะ
- prokaryotic cell นี่ค่อนข้างซับซ้อนครับ
เราต้องเข้าใจก่อนว่ามันมีแบบทั้งใช้ O2 (aerobic) และไม่มี O2 ก็อยู่ได้ (anaerobic) แบ่งเป็นสองพวกใหญ่ๆละกัน
1. พวก aerobic นี่ก็มี glycolysis/Krebs/ETC คล้ายๆเรา แต่ถ้าเกิดมันขาด O2 มันจะเกิด fermentation ครับ
แล้วแต่ species ว่าจะหมักได้อะไรดี product ของมันมีมากมายไม่ใช่แค่ ethanol หรือ lactic acid ครับ
2. พวก anaerobic นี่ก็มี glycolysis/Krebs/ETC แต่ต่างจากเราตรงที่ว่า
ตัวรับ e- ตัวสุดท้ายของมัน ไม่ใช่ O2 แต่เป็นสารอนินทรีย์ต่างๆครับ
ถ้าเกิดมันขาด O2 ...ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นนะ ทุกอย่างยังเหมือนเดิม
เพราะมัน"ไม่มี O2 ก็อยู่ได้" เหมือนที่พี่บอก
- ดังนั้นที่น้องบอกว่า Pro Cell ถ้าขาด O จะมีขบวนการทุกอย่างเหมือนเดิมแต่เปลื่ยนตัวรับ e ตัวสุดท้ายเป็นตัวอื่น
นั้นไม่ใช่ครับ น้องกำลังพูดถึง anerobic bacteria ซึ่งแม้ว่าจะมีหรือไม่มี O2 ก็ตาม ตัวรับ e- ตัวสุดท้ายก็เป็นตัวอื่นอยู่ดี

เข้าใจไหมนะ?

- เพิ่มเติม
คำว่าการหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic respiration) เป็นคำกว้างๆ อาจเหมือนรวมถึง fermentation หรือการหายใจโดยไม่ใช้ออกซิเจนของ anaerobic bacteria ก็ได้
เพราะ concept ของมันคือ มีตัวรับ e- ตัวสุดท้ายไม่ใช่ O2
- ยกตัวอย่าง หมัก ethanol ก็มี acetaldehyde มารับ e-
หมัก lactic acid ก็มี pyruvate มารับ e-
หรือของ anaerobic bacteria ก็มีสารอนินทรีย์ต่างๆ เช่นฟอสเฟต มารับ e-


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 17 พฤษภาคม 2553 เวลา:18:08:48 น.  

 
พี่เต๊นหนูสงสัยข้อ 13 ค่ะ
ถ้าโปรตอนไหลออกมานอกmitochondria
มันน่าจะส่งผลกระทบต่อการเกิดน้ำด้วยรึป่าวคะ
เพราะ ออกซิเจนเป็นตัวไปรับอิเลคตรอนกับโปรตอนตัวสุดท้าย แล้วกลายเป็นน้ำ รึป่าวคะ

ขอบคุนล่วงหน้าค่ะ :)


โดย: T IP: 58.11.83.6 วันที่: 18 พฤษภาคม 2553 เวลา:19:38:54 น.  

 
โอใช่น้อง พี่ไม่เคยคิดถึงจุดนี้เลย
อย่างที่น้องพูดถูกแล้ว
พี่คิดโจทย์ (หรือเอามาจากเอนท์จำไม่ได้และ) อยากให้จำนวนโปรตอนใน intermambrane space มันลดลงอะครับ
ขอบใจนะ


โดย: เต๊น (ตัวตุ่นตามัว ) วันที่: 22 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:46:10 น.  

 
พี่คร้า คือหนูจะสอบ หนูเครียดมาก ไม่เข้าใจโจทย์ข้อนี้
พี่ช่วยตอบหนูที เถอะคร้า สอบวัยจันทร์ ที่ 5

จากการสลาย สารอาหาร แบบไม่ใช้ O2 ผลลัพธ์ตัวสุดท้ายเป็นสาร 3c จำนวนทั้งหมด 60 โมเลกุล
1.ปฎิกิริยานี้ เกิดขึ้นบริเวณใด หรือสิ่งมีชีวิตใด
2. ใช้น้ำตาลกลูโคสไปทั้งหมดกี่โมเลกุล
3. ได้ CO2 ทั้งหมดกี่โมเลกุล
4เขียนสมการสรุป


โดย: พลอย IP: 180.180.221.249 วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:20:25:10 น.  

 
พี่คะ
ตอนที่ 2 ข้อ 2
ที่ถามว่าที่ใดเกิด CO2
ทำไมไม่ตอบ A กับ B อะคะ

มันน่าจะมี A ด้วยรึเปล่า
ตอน fermentation อ่ะค่ะ

เข้าใจถูกป่าวเอ่ย


โดย: :P IP: 58.8.126.22 วันที่: 31 กรกฎาคม 2553 เวลา:16:02:46 น.  

 
พี่เต๊นคะ
สงสัยข้อ 5 ค่ะ ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ
ที่หนูเข้าใจ คือ ทั้งพืชในน้ำเน่า และ anaerobic bact. ต่างก็มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนเพียงแต่ตัวรับตัวสุดท้ายต่างกัน คือ ในพืชจะเป็น acetaldehydeแต่ anaerobic bact. จะเป็นตัวอื่นๆ
แต่ข้อ ข. บอกว่า ไม่มีการถ่ยทอดอิเล็กตรอน

ขอบคุณคะ

ถ้าหนูเข้าใจอะไรผิด ชวยแก้ไขความเข้าใจด้วยนะคะ ^^


โดย: ปัน IP: 113.53.3.197 วันที่: 19 ตุลาคม 2553 เวลา:21:12:55 น.  

 

ตอนที่ 2 ข้อ 2

พี่ิคิดว่าเจ้าตัวไม่รวม A เพราะว่า มองเป็นภาพของการหายใจระดับเซลล์ที่ใช้ออกซิเจนอ่าค่ะ แต่ถ้าคิดลึกแบบน้องก็เป็นไปได้ แต่โจทย์น่าจะบอกละเอียดกว่านี้ ว่าเป็นในาสิ่งมีชีวิตอะไร แล้วเกิดในภาวะใด แต่นี่โจทย์วาดมาเลยว่ามีไมโทคอนเดรีย แสดงว่าไม่ต้องการให้คิดถึง Fermentation เท่าไรค่ะ


ตอนที่ 3 ข้อ 5

คือ ถ้าพืชอยู่ในน้ำเน่า น้ำเน่าคือน้ำทีมีค่า DO ต่ำมากๆ ซึ่งก็คือมีออกซิเจนละลายในน้ำน้อยมาก เนื่องจากเซลล์พืชปกติจะมีกระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจนเป็นตัวรับอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายใน ETC แต่นี่ไม่มีออกซิเจน เลยเลือกจะเกิด Fermentation แทน ซึ่งเกิดเฉพาะใน cytoplasm จึงไม่มีขั้นตอนของ ETC

ลองดูโจทย์ดีๆนะคะ โชคดีค่ะ


โดย: ตอบแทนค่ะ IP: 58.10.85.15 วันที่: 10 ธันวาคม 2553 เวลา:0:06:00 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน ติว


โดย: swkt (tewtor ) วันที่: 12 เมษายน 2554 เวลา:0:19:05 น.  

 
โจทย์อยู่ตงไหนข๊ะ ?


โดย: pp IP: 223.206.198.142 วันที่: 28 เมษายน 2554 เวลา:18:16:59 น.  

 
ขอถามถึงตอนที่1 ข้อ6 นะครับ
ถ้าเซลล์ขาด O2 โดยฉับพลัน มันจะเกิดการหมักได้รึป่าวครับ
แล้วถ้าเกิดการหมักนี่ จะถือว่า NAD+ ,FAD ไม่ได้ลดลงได้รึป่าวครับ


โดย: zk. IP: 58.8.54.59 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2554 เวลา:10:08:38 น.  

 
ขอถามขอ4ตอนที่3หน่อยครับ คืออยากทราบว่าสรุปโปรตอนเนี่ยมันเก็บไว้มากที่ไหนครับ ที่ intermemb หรือ matrixครับ
ผมมาดูเฉลยข้อ4กับ15แล้ว งงๆอะTT


โดย: bb IP: 125.27.204.175 วันที่: 19 ธันวาคม 2554 เวลา:22:00:32 น.  

 
อยากทราบว่า NADH และ FADH2 เป็นตัวเก็บ e- และ H+
รวมอยู่ด้วยกันหรอค่ะ แล้วเวลาขนส่งทำอย่างไรคะ


โดย: กิ๊ฟ IP: 125.24.38.16 วันที่: 18 มกราคม 2555 เวลา:18:08:13 น.  

 
ตอนที่ 2 ข้อ 8 ATPอีกตัวของ kelp's cycle หายไปไหนครับ


โดย: หมู IP: 182.53.53.228 วันที่: 22 มีนาคม 2555 เวลา:10:00:01 น.  

 
พี่คะข้อ 20 ตอนที่ 3 งงไม่เข้าใจว่าสรุปสารพลังงานสูงเนี่ยมี 2 อย่างใช่ป่ะคะ คือ
1. ATP
2. ตัวรับอิเล็กตรอนที่เข้าร่วมปฏิกริยานั่นก็คือ NAD+ FAD ไม่ใช่หรอคะ ทำไมถึงเขียนในเฉลยว่าเป็น NADH NADPH FADH2 ล่ะคะ มันเป็นตัวรีดิวซ์ไม่ใช่หรอคะ


โดย: bewt IP: 1.4.167.65 วันที่: 23 กรกฎาคม 2555 เวลา:16:51:15 น.  

 
ข้อ 15 ตอน 1
อย่าง oxidative phosphorylation ก็ดูดพลังงานที่สะสมในรูปพลังงานศักย์ไฟฟ้าของโปรตอนที่ intermembrane space

ไม่ใช่ดูดพลังงานศักย์จาก electron มาเพื่อปั๊มโปรตรอนออกไปหรอครับ :)


โดย: wongsathorn IP: 124.122.198.232 วันที่: 25 ธันวาคม 2556 เวลา:22:05:10 น.  

 
พี่เต๊นครับ ตอน2 ข้อ8 ที่บอกว่าต้องเข้า Krebs cycle แล้วได้ 3NADH ใช่ป่าวครับ แล้วเราไม่เอา NADH ของ pyruvate oxidation อีก 1 NADH มาด้วยเหรอครับ ช่วยอธิบายด้วยยพี่ ผมงง T^T จะตอบมั้ยเนี่ย555


โดย: เจ IP: 1.20.181.213 วันที่: 16 มีนาคม 2557 เวลา:18:46:38 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

มิสเตอร์คัสตาร์ด
Location :
Igloo house Antarctica

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 240 คน [?]




เมลล์มาคุยกันได้นะครับ
tentaroro@yahoo.com :)

[Add มิสเตอร์คัสตาร์ด's blog to your web]