your enjoyable TENTarized knowledge :)
เข้าไปถามคำถามในเฟซบุคที่จะสะดวกตอบกว่านะ ^^
<<
ตุลาคม 2552
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
3 ตุลาคม 2552

เฉลย: วิวัฒนาการ

เฉลยเรื่อง วิวัฒนาการ


ตอนที่ 1
1. ถูก natural selection เกิดจากประชากรมีความแปรผัน (genetic variation) และตัวที่มีลักษณะที่เหมาะสมในขณะนั้นก็ถูกสิ่งแวดล้อมคัดเลือกให้ถ่ายทอดลักษณะที่เหมาะสมให้ลูกหลาน
2. ถูก การคัดเลือกโดยมนุษย์ เช่น การผสมพันธุ์หมาให้เกิดสายพันธุ์ใหม่ๆ หรือการทดลองกะหล่ำของคาร์ปิเชงโก ทำให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมา คือมีความแปรผันเกิดขึ้น ตัวที่มีลักษณะดี เช่น หมาสายพันธุ์นี้น่ารักแข็งแรง ก็ย่อมมีโอกาสถ่ายทอดพันธุกรรมได้มากกว่าตัวที่ลักษณะไม่ดี เช่น หมาสายพันธุ์นี้น่าเกลียดและอ่อนแอ
3. ผิด ปีกนกและปีกค้างคาว เป็น homologous structure คือมีวิวัฒนาการมาจากรยางค์คู่หน้าของสัตว์สี่เท้าเหมือนกัน (แต่หน้าที่ต่างกัน) แต่หนามโป๊ยเซียนและหนามกระบองเพชร เป็น analogous structure เพราะมีจุดเกิดทางวิวัฒนาการต่างกัน (หนามโป๊ยเซียนมาจากต้น แต่หนามกระบองเพชรมาจากใบ) แต่มาทำหน้าที่เหมือนกัน
4. ถูก คัพภะคือเอมบริโอ เหมาะสำหรับศึกษาสัตว์ในกลุ่มใกล้เคียงกัน เช่นมนุษย์และเพรียงหัวหอมเป็น chordate ดังนั้นเอมบริโอของทั้งสองย่อมมีโครงสร้าง 4 อย่างอันเป็นเอกลักษณ์ของไฟลัม คือ 1) notochord 2) dorsal nerve cord 3) pharyngeal gill slit 4) muscular tail
5. ถูก เป็นคำจำกัดความของวิวัฒนาการระดับจุลภาคเลยล่ะ
6. ถูก นั่นเป็นกระบวนการที่กำเนิดความหลากหลายของนกฟินช์ บอกมาอย่างละเอียดเลย
7. ผิด ต้อง prophase I ต่างหาก ซึ่งเกิด crossing over และนอกจากนี้ในระยะ anaphase I ก็ยังก่อให้เกิดความหลากหลายของพันธุกรรมโดยกฏข้อที่ 2 ของเมนเดลด้วยนะ ว่าแต่ละโครโมโซมของ homologous chromosome จะเลือกเคลื่อนไปขั้วเซลล์ไหนดี
8. ถูก biological species เดียวกัน คือสิ่งมีชีวิตที่สืบพันธุ์แล้วได้ลูกที่ไม่เป็นหมัน และเกิด gene flow ระหว่างสองกลุ่มประชากรได้
9. ผิด คำพวกนี้ข้อสอบเอนท์ชอบออกนะ ความหลากหลายทางชีวภาพ เอาง่ายๆก็คือ ในที่หนึ่งมีระบบนิเวศหลากหลายมั้ย ในระบบนิเวศมีประชากรหลากหลายมั้ย ในประชากรมีความหลากหลายทางพันธุกรรม (ความแปรผัน) มั้ย ดังนั้นความแปรผันทางพันธุกรรมจึงเป็น subset ของ biodiversity นั่นเอง
extinction = การสูญพันธุ์ ย่อมทำให้ความหลากหลายลดลง แต่ไม่ได้ทำให้แปรผันเท่าไหร่ เพราะประชากรก็หายกันไปหมด ไม่ได้เลือกลักษณะใดลักษณะหนึ่งเก็บไว้
anagenesis = วิวัฒนาการสายตรง คือจาก A เกิด B ไม่ได้ทำให้ความหลากหลายมากขึ้น
cladogenesis = การแยกแขนง species คือจาก A เกิด C และ D ทำให้ความหลากหลายมากขึ้น
10. ถูก เพราะไม่ทำให้ความถี่อัลลีลในยีนพูลเปลี่ยนแปลงเลย ลูกที่เกิดมามีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนพ่อแม่เด๊ะๆ ถ้าเกิดไฮดราแตกหน่อไปเรื่อยๆ ล้านปีถัดมามันก็ยังเหมือนกับบรรพบุรุษนั่นเอง
11. ผิด mutation ของตัวหนึ่งๆในประชากรขนาดใหญ่ ไม่ได้ส่งผลมากมายขนาดนั้น อาจจะทำให้ความถี่อัลลีลในยีนพูลเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย แต่การคัดเลือกโดยธรรมชาติอีกต่อหนึ่งต่างหาก ว่าลักษณะที่เกิดการกลายนั้น ส่งผลดีหรือเปล่า ถ้าเกิดส่งผลดีก็จะคัดเลือกและทำให้ความถี่นั้นมากขึ้น หรือถ้าส่งผลไม่ดีก็จะคัดออกและทำให้ความถี่นั้นลดลง
12. ถูก sexual reproduction ก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรม ในระยะ prophase I มี crossing over และใน anaphase I มีการรวมกลุ่มของยีนอย่างอิสระ, genetic engineering หรือพันธุวิศวกรรมก็ทำให้เกิดความแปรผัน เพราะมีการสร้าง DNA ลูกผสม (recombinant DNA) ซึ่งทำให้โครงสร้างยีนพูลของแบคทีเรียเปลี่ยนแปลงไป เอายีนชาวบ้านเขามาใส่ในตัวเองก็ต้องแปรผันอยู่แล้วถูกไหม, mutation ก็ทำให้เกิดความแปรผัน คือมีประชากรปกติและประชากรมีกลายพันธุ์ อย่างเช่น คนแคระที่เป็นโรค achondroplasia กับคนปกติ เป็นต้น
13. ผิด ม้ากับลาผสมพันธุ์กันได้ เพราะเป็นสกุลเดียวกัน มีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน และรูปร่างโครโมโซมคล้ายกันมาก แต่หลังจากนั้นมีกลไกแยกกันทางการสืบพันธุ์ระยะหลัง zygote (postzygotic RIM) คือลูกผสมเป็นหมัน (hybrid infertility) เรียกว่าล่อ (ม้า + ลา = ล่อ เป็นหมัน)
14. ถูก ในบางครั้งการแบ่งเซลล์ผิดพลาดอาจทำให้ชุดของโครโมโซมเพิ่มขึ้นได้ เช่น ที่เหนี่ยวนำด้วยสาร colchicine หรือในการทดลองของคาร์ปิเชงโก คือจากกะหล่ำดอก 2n เป็นกะหล่ำพันธุ์ผสมสายพันธุ์ใหม่ 4n ซึ่งเป็น species ใหม่ ทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น
15. ถูก กฎทั้งสองข้อของเมนเดล โดยเฉพาะข้อ 2 นั้นทำให้เกิดความแปรผันของรุ่นลูก เพราะเซลล์สืบพันธุ์ที่สร้างขึ้นมาโดยมีกฏเมนเดลเป็นตัวควบคุมนั้นจะได้ไม่เหมือนกันเลย และความแปรผันก่อให้เกิดการคัดเลือกโดยธรรมชาติในที่สุด


ตอนที่ 2
1. ให้ความถี่อัลลีล A = p, อัลลีล a = q
ป่วยเป็นโรคนี้ (aa) 1 ใน 40,000 คน แสดงว่า q2 = 1/40,000
จะได้ q = 1/200 (ถอดรูทออกมา) และ p = 199/200 (เพราะ p + q = 1)
ความถี่ประชากรที่เป็นพาหะ (มีจีโนไทป์ Aa) มีค่า = 2pq = 2 (1/200)(199/200)
จำนวนประชากรที่เป็นพาหะ ก็นำความถี่ที่เป็นพาหะคูณกับประชากรทั้งหมด
2 (1/200)(199/200) x 40,000 = 398 คน

2. ให้ความถี่อัลลีล B = A, อัลลีล b = a
มีตัวผู้ BB 60 ตัว Bb 60 ตัว และตัวเมีย bb 80 ตัว
นับดูแล้วมีตัวบีทั้งหมด 400 ตัว แบ่งเป็นบีใหญ่ (อัลลีลเด่น – B) 180 ตัว และบีเล็ก (อัลลีลด้อย – b) 220 ตัว
A = 180/400 = 0.45, a = 220/400 = 0.55 ซึ่งบวกกันได้ 1 พอดี
ถ้าเกิด random mating แปลว่า อยู่ในสมดุลฮาร์ดีไวน์เบิร์กแล้ว นั่นคือไม่ว่าจะผ่านไปกี่ร้อยรุ่น ความถี่ B และ b ก็ต้องมีค่า 0.45 และ 0.55 อยู่เสมอด้วย
ดังนั้นโอกาสได้กระต่ายตาแดง (ไม่ว่าในรุ่นไหนๆ) = ความถี่จีโนไทป์ aa = q2 = (0.55)2 = 0.3025 = 30.25%
โอกาสได้กระต่ายตาดำพันธุ์ทาง (ไม่ว่าในรุ่นไหนๆ) = ความถี่จีโนไทป์ Aa = 2pq = 2 (0.45)(0.55) = 0.495 = 49.5%

3. ให้ความถี่อัลลีล A = p และความถี่อัลลีล a = q
ต้นสีแดง = x, ต้นสีขาว = y
จะได้ x – y = 300 ………..(1)
x + y + 160 = 500 ………(2)
แก้ทั้งสองสมการออกมา จะได้ x = 320, y = 20
นั่นคือมีต้นสีแดง (AA) 320 ต้น สีชมพู (Aa) 160 ต้น สีขาว (aa) 20 ต้น
นับดูแล้วมีตัวเอทั้งหมด 1000 ตัว แบ่งเป็นเอใหญ่ (อีลลีลเด่น – A) 800 ตัว และเอเล็ก (อัลลีลด้อย – a) 200 ตัว
A = 800/1000 = 0.8, a = 200/1000 = 0.2
A : a = 0.8 / 0.2 = 4 : 1

4. ให้ความถี่อัลลีล A = p และอัลลีล a = q
ป่วยเป็นโรค thalassemia (aa) 1% นั่นคือ q2 = 0.01
จะได้ q = 0.1 (ถอดรูทเอา) และ p = 0.9 (เพราะ p + q = 1)
โอกาสที่จะพบคนที่เป็นพาหะของโรค คือความถี่จีโนไทป์ Aa มีค่า 2pq = 2 (0.9)(0.1) = 0.18 หรือ 18%

5. ให้ความถี่อัลลีล IA = p , ความถี่อัลลีล IB = q และความถี่อัลลีล i = r
จะได้ p + q + r = 1
อัตราส่วนที่โจทย์ให้มาคือ p : q : r : ทั้งหมด = 2 : 3 : 15 : 20
แต่ทั้งหมดจริงๆต้องรวมเป็นหนึ่ง เราจึงต้องเปลี่ยนอัตราส่วนนี้ให้ทั้งหมดกลายเป็นหนึ่งด้วย (เอา 20 ไปหารตลอด) จะได้
p : q : r : ทั้งหมด = 0.1 : 0.15 : 0.75 : 1 นั่นคือ p, q และ r มีค่า 0.1, 0.15 และ 0.75 ตามลำดับ
คนหมู่เลือด AB จะมีจีโนไทป์ IAIB ได้ความถี่เป็น 2pq = 2 (0.1)(0.15) = 0.03
คนหมู่เลือด A จะมีจีโนไทป์ IAi และ IAIA ได้ความถี่เป็น 2pr + p2 = 2 (0.1)(0.75) + (0.1)2 = 0.16
ความถี่คนหมู่เลือด AB น้อยกว่าหมู่เลือด A อยู่ 0.16 – 0.03 = 0.13
คิดเป็น 0.13 x 500 คน = 65 คน

6. อันนี้เป็นข้อสอบเอนท์ ซึ่งวิธีการคิดไม่มีอยู่ในบทเรียนนะ (แย่จัง)
หลักการก็คือว่า ผู้หญิงมีโครโมโซม X สองแท่ง ส่วนผู้ชายมีโครโมโซม X แท่งเดียว
ความถี่ใดๆของอัลลีลที่อยู่บนโครโมโซม X ของผู้ชาย ให้คิดว่ามีค่าเท่ากับความถี่สำหรับผู้หญิงเลย
ยกตัวอย่างเช่น ถ้า XA ในผู้ชาย = 0.9 แล้ว ในผู้หญิงก็จะมี XA = 0.9 และ Xa = 0.1 ด้วย
ทั้งนี้เป็นเพราะผู้ชายมีโครโมโซม X แค่แท่งเดียวก็แสดงออกได้แล้ว เป็นเหตุผลที่อธิบายลำบากนะ -*- จำไปเลยละกัน
จากโจทย์ ผู้ชาย 1 ใน 100 คนมีจีโนไทป์ XcY แสดงว่าความถี่อัลลีล Xc ในผู้ชาย = 1/100 = 0.01 และ XC ในผู้ชาย = 0.99 (เพราะความถี่อัลลีล XC + Xc = 1)
ดังนั้นในผู้หญิงก็ต้องมีความถี่อัลลีล XC และ Xc มีค่า 0.99 และ 0.01 ตามลำดับด้วย
จะได้ผู้หญิงที่มีจีโนไทป์ homozygous recessive (XcXc) = 0.01x0.01 = 0.0001 นะครับ


ตอนที่ 3
1. ก.
ข้อสอบเอนท์
coevolution มักเกิดกับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ด้วยกัน (symbiosis = commensalism + mutualism + parasitism ตามความหมายของหลักสูตรเก่า) จึงมีวิวัฒนาการร่วมกันปรับตัวเข้าหากันไปเรื่อยๆ เช่น โพรโทซัวในลำไส้ปลวกกับปลวกเองก็มีการปรับตัวเข้าหากันหลายๆอย่าง หรือสาหร่ายกับเชื้อราในไลเคนส์ก็มีการปรับตัวเข้าหากันมานานแสนนาน
นอกจากนี้การล่าเหยื่อนั้นก็ทำให้ผู้ล่าและเหยื่อปรับตัวเข้าหากันด้วย ผู้ล่าก็จะมีเขี้ยวเล็บที่คมขึ้น มีพิษมากขึ้นเพื่อล่าเหยื่อให้ดีขึ้น ในขณะที่เหยื่อก็จะปรับตัวให้วิ่งหนีได้เร็วขึ้น พรางตัวได้แยบยลขึ้น ฯลฯ
แต่การแข่งขัน (competition) นั้นคิดยังไงๆก็ไม่ทำให้สิ่งมีชีวิตสองชนิดวิวัฒนาการและปรับตัวเข้าหากันได้ เพราะมันเสียทั้งสองฝ่าย มีแต่จะแย่ลงกับแย่ลง เผลอๆประชากรของทั้งคู่อาจหมดไปเรื่อยๆด้วยซ้ำนะ
2. ค.
ก. ถูก เขาเชื่อว่างูมัวแต่เลื้อยไปเลื้อยมา ขาก็เลยหายไป และโครงกระดูกงูนั้นจะมีบางส่วนที่คล้ายกระดูกขาอยู่นิดๆด้วย
ข. ถูก เพราะมนุษย์วิวัฒนาการแบบแยกแขนง species มาจากลิงไม่มีหาง (ape = ชะนี อุรังอุตัง กอริลลา ชิมแพนซี) ซึ่งวิวัฒนาการของสัตว์ในกลุ่มไพรเมทจะทำให้มีสมองที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะใช้คิดทำนู่นทำนี่มากขึ้น
ค. ผิด มันอธิบายได้ด้วยหลักการคัดเลือกโดยธรรมชาติต่างหาก แบคทีเรียตอนแรกก็มีทั้งพวกที่มียีนต้านและไม่มี แต่พอใช้ยาปฏีชีวนะมากขึ้นพวกที่มียีนต้านเลยอยู่รอดและถ่ายทอดความดื้อยาให้แก่รุ่นลูกหลาน
ง. ถูก เพราะไส้ติ่งของสัตว์กินพืชจะมีขนาดใหญ่เป็นห้องเอาไว้หมักกากอาหารจากพืชและบรรจุจุลินทรีย์มากมาย แต่เมื่อมนุษย์กินสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ เขาจึงเชื่อว่าไส้ติ่งจึงลดขนาดลงเพราะหน้าที่ลดลง
3. ค.
ANET นะ
ก. ถูก สิ่งมีชีวิตสามารถเพิ่มลูกหลานได้มากมายตามลำดับเรขาคณิตในภาวะอุดมคติ แต่ตามความจริงแล้วในประชากรแต่ละรุ่นจะคงที่ๆ (ไม่งั้นสิ่งมีชีวิตก็ต้องล้นโลกสิจริงไหม) เพราะมีปัจจัยจำกัดต่างๆเป็นตัวต้านทานสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอาหาร ซึ่งเพิ่มตามลำดับเลขคณิต
ข. ถูก สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีความแปรผันอยู่ก่อน (variation) ซึ่งปัจจัยจำกัดต่างๆ เช่น น้ำที่ไม่พอเพียง อาหารที่เพิ่มแบบเลขคณิต แสงแดดที่ส่องไม่ถึง ฯลฯ ต่างๆเหล่านี้จะทำให้สิ่งมีชีวิตต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด (struggling for survival) ท้ายสุดแล้วสิ่งมีชีวิตตัวที่มีลักษณะที่เหมาะสมจะถูกคัดเลือกเอาไว้
ค. ผิด ต้องคัดเลือกแล้วค่อยปรับตัว และการปรับตัวทางพันธุกรรมที่แย่ๆให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมนั้นก็ฟังดูแปลกๆ เพราะจริงๆพันธุกรรมที่แย่ๆจะต้องมีความถี่อัลลีลในยีนพูลลดลงๆไปเรื่อยๆ พันธุกรรมที่ดีที่ถูกคัดเลือกเอาไว้ต่างหากที่ต้องปรับตัวต่อไปให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
ง. ถูก การคัดเลือกโดยธรรมชาติตามปกติ ก็คัดเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับธรรมชาตินั้นๆ เช่น อยู่ในทะเลทราย ก็คัดเลือกกิ้งก่าสีน้ำตาลเอาไว้ สีเขียวหายไป แต่ลักษณะอื่นๆนั้นก็ยังต่างกัน เพราะกิ้งก่าสีน้ำตาลก็ไม่มีตัวไหนเหมือนกัน 100% ยังไงๆก็ต้องมีความสามารถในการอยู่รอดและสืบพันธุ์ต่างกันไปอยู่ดี เป็นผลให้การคัดเลือกธรรมชาติมีหน้าที่คัดเลือกลักษณะที่เหมาะสมต่อไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด เพราะวิวัฒนาการเกิดขึ้นอย่างช้าๆอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
4. ง.
ANET
ก. ผิด สิ่งมีชีวิตตัวไหนจะอยู่หรือจะตาย ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสุ่มนะ ไม่ใช่ว่า วันนี้เดี๋ยว A ตายดีกว่า วันต่อมาให้ B ตายดีกว่า แต่การอยู่รอดนั้นมีแบบแผนว่า สิ่งมีชีวิตตัวไหนมีลักษณะที่เหมาะสมธรรมชาติก็จะคัดเลือกเอาไว้ให้สืบพันธุ์ถ่ายทอดลักษณะนั้นต่อไปต่างหาก
ข. ผิด mutation ไม่จำเป็นต้องเกิดอัลลีลใหม่ อย่าง mutation ระดับยีนนั้นก็มีหลายตัวอย่างที่ได้โปรตีนตัวเดิม กรดอะมิโนตัวเดิมด้วยซ้ำไป และอีกอย่างคือถ้า mutation เกิดขึ้นกับเซลล์ร่างกาย ก็มักไม่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกนะ
ค. ผิด การคัดเลือกโดยธรรมชาติเป็นการคัดเลือกลักษณะที่เหมาะสม ลักษณะนั้นคือฟีโนไทป์ต่างหาก อย่างเช่นอัลลีล A คือสุขภาพดี และ a คืออ่อนแอมากมาย สิ่งแวดล้อมจะคัดเลือกลักษณะดีเอาไว้ (A_) และเอาลักษณะด้อยออกไป (aa) โดยธรรมชาตินั้นไม่รู้หรอกว่า A_ ที่คัดเลือกนั้น มีจีโนไทป์แบบ AA หรือ Aa คือขอแค่ฟีโนไทป์ดีก็พอแล้ว
.ง. ถูก เป็นคำจำกัดความของวิวัฒนาการระดับจุลภาค และเมื่อเกิดระดับจุลภาคแล้วก็ย่อมเกิดระดับมหภาคต่อไป
5. ก.
ANET อีกแล้ว จะเห็นว่าหลังๆเรื่องนี้จะออกโจทย์ยาวๆให้คิดนะ
ก. ถูก เป็นสิ่งที่สำคัญมากและเป็น concept ของทฤษฎีดาร์วินเลยล่ะ
ข. ผิด มันยังแปร่งๆอยู่นะ ตรงคำว่า สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นระหว่างที่สิ่งมีชีวิตนั้นมีชีวิตอยู่ นั่นตรงกับกฎของลาร์มาคเลยนะ (law of inheritance of acquired characteristics) เพราะคำว่าสิ่งดีๆเนี่ย มันไม่ได้เกิดขึ้นปุบปับในรุ่นเดียว แต่เป็นสิ่งที่ถูกคัดเลือกมาไว้แล้วอย่างยาวนาน เพื่อส่งให้รุ่นลูกหลานต่อไป การที่ยีราฟคอยาว ไม่ได้เกิดจากการที่มียีราฟตัวหนึ่งในฝูงที่มีแต่ตัวคอสั้น อยู่ดีๆมันก็คอยาวขึ้นมาซะงั้น แล้วถ่ายทอดลักษณะดีๆ (คอยาว) ที่เกิดระหว่างมันมีชีวิตนั้นให้ลูกหลานซะหน่อย
ค. ผิด ลักษณะใหม่ที่เกิดจาก mutation นั้น ไม่จำเป็นต้องคงอยู่ ถ้าเกิดมันไม่ดีก็จะถูกลบทิ้งไปจากยีนพูลไปเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมไปเสมอหรอกนะลักษณะกลายพันธุ์เนี่ย
ง. ผิด อะไรก็ไม่รู้ ลักษณะทุกอย่างของสิ่งมีชีวิตถูกกำหนดโดยยีน +/- สิ่งแวดล้อมทั้งนั้นแหละ การคัดเลือกคือคัดเลือกยีนที่แสดงออกลักษณะที่เหมาะสมเอาไว้ไง
6. ง.
ค้างคาวกับแมลงสายสัมพันธ์ห่างกันมาก ไม่ได้มีลักษณะทางฟอสซิล, คัพภะ (เอมบริโอ) หรือกายวิภาคร่วมกันเลย (แถมปีกยังเป็น analogous ต่อกัน คือเกิดจากวิวัฒนาการคนละจุดอีกต่างหาก) แต่สิ่งที่ร่วมกันคือ metabolism บางอย่างที่สงวนเอาไว้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด นั่นคือการหายใจระดับเซลล์, การถอดรหัสและแปรรหัส อะไรแบบนี้มากกว่า ซึ่งชีววิทยาระดับโมเลกุลสามารถเปรียบเทียบลำดับกรดอะมิโนที่พบในโปรตีนของค้างคาวและแมลงได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น cytochrome ที่เอาไว้ถ่ายทอดอิเล็กตรอนไง
7. ข.
a),b) ถูก ต้องแปรผัน ต่อสู้ดิ้นรน และคัดเลือก
c) ผิด ปรับตัว มาหลัง คัดเลือก
d) ผิด วิวัฒนาการเกิดจาก แปรผัน ต่อสู้ดิ้นรน คัดเลือก ปรับตัว แปรผัน ต่อสู้ดิ้นรน คัดเลือก ปรับตัว
แปรผัน ต่อสู้ดิ้นรน คัดเลือก ปรับตัว อย่างนี้ไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด
8. ค.
a) ถูก HWE เกิดเมื่อความถี่อัลลีลในยีนพูลไม่เปลี่ยนแปลง เป็นคำจำกัดความเลยนะ
b) ถูก ไม่ก่อให้เกิดวิวัฒนาการ เพราะความถี่อัลลีลในยีนพูลไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะผ่านไปกี่รุ่นๆ ทำให้ความถี่จีโนไทป์ในประชากร และความถี่ฟีโนไทป์นั้นไม่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
c) ผิด คำนวณได้ทั้งนั้นแหละ อย่าง sex-linked gene ก็โจทย์ในตอนที่ 2 ข้อ 6 ไง
9. ค.
ข้อนี้ต้องลองถอดรูท AA ออกมาได้ p ถอดรูท aa ออกมาได้ q แล้วดูว่า 2pq จะได้เท่ากับความถี่ Aa รึเปล่า
10. ข.
ก. ผิด ถ้าเกิด random genetic drift อย่าง bottleneck effect หรือ founder effect ก็ทำให้ความถี่อัลลีลเปลี่ยนแปลงสิ
ข. ถูก ถ้าเกิดประชากรจับคู่กับอย่างสุ่มก็ทำให้อยู่ใน HWE ได้ เพราะอัลลีลทุกตัวมีความสามารถถ่ายทอดได้เท่าๆกัน แต่ถ้าไม่จับคู่แบบสุ่ม อย่างเช่นม้าลายตัวเมียอาจจะไม่อยากผสมพันธุ์กับม้าลายตัวผู้ที่อ่อนแอ ความถี่อัลลีลอ่อนแอนั้นก็ต้องน้อยลงๆ คือไม่อยู่ใน HWE
ค. ผิด ถ้าเกิด mutation แล้วก็ทำให้ความถี่อัลลีลเปลี่ยนแปลงได้
ง. ผิด การคัดเลือกโดยธรรมชาติก็ทำให้ความถี่อัลลีลที่ไม่เหมาะสมลดลงไปเรื่อยๆไง
11. ข.
ก. ผิด เป็นนกคนละ species นะ เคยเป็น species เดียวกันแต่ถูกจับแยก แต่ละตัวก็ปรับตัวและแปรเป็น species ใหม่
ข. ถูก มีความแปรผันของจะงอยปาก มีการต่อสู้ดิ้นรนให้เข้ากับอาหารบนแต่ละเกาะ สุดท้ายธรรมชาติเลยคัดเลือกจะงอยที่เหมาะสมเอาไว้
ค. ผิด ปรับตัวด้านสัณฐานต่างหาก สรีรวิทยาคือการทำงานของร่างกาย
ง. ผิด การปรับตัวของจะงอยปากไม่ได้นำไปสู่กลไกแยกทางการสืบพันธุ์ เพราะนกฟินช์ไม่ได้ใช้จะงอยปากผสมพันธุ์นะ -*- กลไกแยกทางการสืบพันธุ์คือการที่มันถูกจับแยกไปในแต่ละเกาะต่างหาก ทำให้ยีนไม่ flow ถึงกัน ความแตกต่างของอัลลีลในยีนพูลต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดกลายเป็นนกคนละ species (พูดอีกนัยหนึ่งคือ มันมี prezygotic RIM แบบ ecological นั่นเอง)
12. ก.
เมื่อเทียบโดย X เป็นมนุษย์แล้ว จะพบว่าลำดับวิวัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลัง 4 ชนิดนี้ คือ C < A < B < X (มนุษย์) นั่นคือยิ่งลำดับกรดอะมิโนต่างกันมาก ยิ่งทำให้ห่างจากมนุษย์นั่นเอง
ก. ถูก C (ปลากัด) < A (กบ) < B (ไก่)
ข. ผิด A (ปลาปักเป้า) < C (จระเข้) < B (เป็ด)
ค. ผิด C (ปลาปากกลม) < B (จิ้งจก) < A (ม้า)
ง. ผิด A (ม้าน้ำ) < C (อึ่งอ่าง) < A (หมู)
13. ก.
ภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้ประชากรหายไปเยอะ ประชากรที่เหลือไม่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรเดิมได้ ความถี่อัลลีลในยีนพูลเปลี่ยนไป เรียกว่าปรากฏการณ์คอขวด (bottleneck effect)
14. ง.
ก. ผิด เพราะถ้าเป็น species เดียวกันก็ต้องสืบพันธุ์ได้ลูกที่ไม่เป็นหมันและแข็งแรง ตามความหมายของ biological species concept
ข. ผิด ไม่มี species ใหม่ใดๆเกิดขึ้น เพราะเกิดถึงรุ่น F2 ก็สืบพันธุ์ต่อไปไม่ได้แล้ว
ค. ผิด ต้องระยะหลัง zygote เพราะลูกอ่อนแอและหลานเป็นหมัน
ง. ถูก กระบวนการ RIM ระยะหลัง zygote แบบนี้เรียกว่า hybrid breakdown
postzygotic RIM = hybrid breakdown, hybrid infertility (ลูกเป็นหมัน) และ hybrid inviability (ลูกตาย)
15. ข.
ก. ผิด temporal = เวลาผสมพันธุ์ต่างกัน
ข. ถูก behavioral = พฤติกรรมผสมพันธุ์ต่างกัน หิ่งห้อยกระพรับแสงเป็นโค้ดลับเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ
ค. ผิด mechanical = อวัยวะสืบพันธุ์เข้ากันไม่ได้
ง. ผิด ecological = อยู่ในถิ่นที่อยู่ต่างกัน
16. ก.
จากตารางจะเห็นว่า ที่กรุงเทพมีสีขาวดำมากกว่า และที่ดอยอินทนนท์มีสีขาวมากกว่า (แต่ที่สองแห่งสุ่มเลือกประชากรมาไม่เท่ากัน)
ก. ถูก ถึงแม้จะไม่มีผลการสำรวจนี้ก็ถูก จะเห็นว่าผีเสื้อนี้ซึ่งเป็น species เดียวกันนั้น มีความแปรผัน (คือสีขาวและสีดำ) ซึ่งที่กรุงเทพนั้น จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ทำให้สีดำอยู่รอดได้มากกว่า และที่ดอยอินทนนท์ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ทำให้สีขาวอยู่รอดได้มากกว่า การอยู่รอดได้มากกว่านั้น เป็นเพราะธรรมชาติได้คัดเลือกเอาไว้ (แต่เรายังไม่รู้ตัวคัดเลือก หรือ selector ว่าเป็นความสูงจากระดับน้ำทะเล มลพิษในอากาศ ความเข้มแสง ปริมาณออกซิเจน ผู้ล่า ฯลฯ)
ข. ผิด เพราะปัจจัยทางกายภาพของกรุงเทพและดอยอินทนนท์ที่ต่างกันนั้น ไม่ได้มีแค่ความสูงจากระดับน้ำทะเล ยังมีตัวแปรอื่นๆอีกที่เราไม่ได้ควบคุม อาจจะเป็นปัจจัยอื่นก็ได้ เช่น มลพิษ ระดับออกซิเจน ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ อาหาร ฯลฯ
ค. ผิด ดูแต่ตารางที่บอกถึงปริมาณผีเสื้อชนิดเดียวกันสองสี บอกไม่ได้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพของกรุงเทพและดอยอินทนนท์หรอกนะ แค่บอกได้ว่า กรุงเทพมีสีดำมากกว่า ดอยอินทนนท์มีสีขาวมากกว่า ไม่ได้บอกว่า ดอยอินทนนท์มีระบบนิเวศหลากหลายรูปแบบมากกว่า (ecological diversity) มีสิ่งมีชีวิตมาก species กว่า (species diversity) หรือประชากรแต่ละกลุ่มมีความแปรผันมากมายกว่า (genetic diversity)
ง. ผิด เหมือนกับที่บอกในข้อ ก. คือเราไม่รู้ว่า ตัวคัดเลือกนั้นคืออะไร อาจจะเป็นผู้ล่าหรือไม่ก็ได้
17. ค.
ลองนึกถึงการทดลองของคาร์ปิเชงโกนะ
ก. ผิด gamete ของ A และ B สร้างขึ้นมาอย่างปกติ ซึ่งจริงๆมันไม่ควรจะรวมกันได้ด้วยซ้ำ แต่มันคล้ายกันมาก เพราะเป็นของกะหล่ำที่คล้ายๆกันอยู่ในสกุลเดียวกัน
ข. ผิด C ต้องเป็น 2n = 18 เพราะเกิดจาก gamete ของ A และ B ที่แบ่งแบบปกติ คือ n = 9
ค. ถูก gamete ปกติของ A B และ C เป็น n = 9 แต่ถ้า gamete ของ C แบ่งแบบไม่ปกติ (เช่นมี colchicine เป็นสารชักนำ) ถึงจะได้ 2n = 18 ซึ่งเมื่อผสมกันจึงได้ต้น D ออกมาเป็น 4n = 36
ง. ผิด ไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะต้องมีการเหนี่ยวนำให้ gamete ของ C แบ่งแบบผิดปกติได้ 2n ด้วย เพราะปกติจะได้ออกมาเป็น n
18. ง.
ข้อสอบเอนท์นะ ทั้งสองต้องอยู่ในสมดุล เพราะทั้งสองจะปรับตัวเข้าหากันเรื่อยๆ HIV กลายพันธุ์ง่ายก็จะดื้อยาและกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ส่วนมนุษย์ก็คิดหาวิธีกำจัดและถ่ายทอดภูมิคุ้มกันที่ดีให้รุ่นลูกไปเรื่อยๆ
19. ก.
ก. ผิด ต้องลดลงสิ เพราะสมอง (ส่วน) จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เศษส่วนลดลงเรื่อยๆ
ข. ถูก ลิงตอนแรกๆตัวผู้กับตัวเมียจะเท่ากัน แต่เมื่อพัฒนาแล้วตัวผู้จะตัวใหญ่ขึ้น เมื่อส่วนมากขึ้น เศษส่วนจึงลดลง
ค. ถูก ลิงตอนแรกมีหางและอยู่บนต้นไม้ ต่อมาจะไม่มีหางและอยู่บนดิน จนกระทั่งกลายเป็นมนุษย์ที่เดินสองขาตามองตรงไปข้างหน้า
ง. ถูก ยิ่งวิวัฒนาการสูงเท่าไหร่ มนุษย์ยิ่งมีพัฒนาการทางสังคมมากขึ้นเท่านั้น
20. ง.
ก. ถูก family Homonidae มีสองสกุล (จีนัส) คือ Australopithecus และ Homo
ข. ถูก หลักฐานใหม่ๆบอกว่าเป็น cladogenesis แต่หนังสือเก่าๆยังบอกว่าเป็น anagenesis อยู่นะ
ค. ถูก เพราะสกุลต่างๆของวงศ์ Homonidae ต่างใช้ชีวิตร่วมสมัยกันอย่างเหลือมล้ำกัน
ง. ผิด H. habilis เริ่มใช้มือได้ก็จริง แต่การใช้ไฟมีหลักฐานว่าเริ่มใน H. erectus ต่างหาก


Create Date : 03 ตุลาคม 2552
Last Update : 12 มกราคม 2553 14:31:35 น. 17 comments
Counter : 31401 Pageviews.  

 
พี่เต๊นค่ะ ถามข้อถูกผิดข้อ 7 นอกจาก prophase I กับกฎข้อ 2 ของเมนเดลแล้ว mutation เป็นกลไลหนึ่งหรือเปล่า ที่ทำให้เกิดการแปรผัน

แล้วความแปรผันทางพันธุกรรมกับความหลากหลายทางพันธุกรรมต่างกันยังไงคะ



โดย: MPC IP: 113.53.213.246 วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:8:57:00 น.  

 
แหะๆ

อ่านไม่ละเอียดเอง ได้คำตอบแล้วค่ะ


โดย: MPC IP: 113.53.213.246 วันที่: 5 มกราคม 2553 เวลา:9:11:26 น.  

 
ข้อสองตอนสอง 180มาจากไหนอะคะ


โดย: เฟิร์น IP: 183.89.243.25 วันที่: 1 กรกฎาคม 2553 เวลา:22:50:58 น.  

 
งง วิธีการอ่านตารางหน้า 297 อะ สอนหน่อยนะ


โดย: d IP: 114.128.44.51 วันที่: 7 สิงหาคม 2553 เวลา:20:26:13 น.  

 
ความแตกต่างระหว่างวิวัฒนาการระดับมหภาคกับวิวัฒนาการระดับจุลภาค


โดย: yupha IP: 110.49.193.120 วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:10:45:37 น.  

 
ชอบมากเลยตอนที่ 2ค่ะ
ออกในข้อสอบเภสัชศิลปากรด้วย
ฃอบคุณพี่เต๊นมากค่ะ
อ่านแล้วเข้าใจมากๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: ออย IP: 182.52.43.74 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:12:36 น.  

 
พี่ครับ เวลาคิด gene pool (ข้อ 2 ตอนที่ 2)
เราไม่ต้องคิดแยกของเพศผู้กับเมียหรอครับ
แบบ
ตัวผู้ได้ ตาดำพันธุ์แท้ ตาดำพันธุ์ทาง
B = 60/120 *[1/1] + 60/120 *[1/2] = 0.75
b = 60/120 *[1/2] = 0.25

ตัวเมียได้ b = 80/80 * [1/1] = 1.0
แล้วค่อยมาคิดโอกาสตัวผู้จับกับตัวเมียอีกที ทำไมถึงใช้ gene pool รวมได้เลยอ่ะครับ


โดย: Boi IP: 110.168.143.63 วันที่: 23 พฤษภาคม 2555 เวลา:20:22:31 น.  

 
ไม่เข้าใจตรงอัตนัยตอนที่2ที่ว่านับดูแล้วมีเอใหญ่เอเล็กกี่ตัวอะไรงี้อ่ะค่ะ มันคิดยังไงอ่าคะ


โดย: นัท IP: 124.120.149.74 วันที่: 1 กันยายน 2555 เวลา:15:27:48 น.  

 
ตารางห่าไรงง


โดย: กู IP: 110.168.171.218 วันที่: 29 ธันวาคม 2555 เวลา:14:14:34 น.  

 
แล้วโจทย์มันอยู่ไหนหละคับบ


โดย: เอิร์ธ IP: 125.27.34.238 วันที่: 10 ธันวาคม 2556 เวลา:20:54:43 น.  

 
หน้า 233 เรื่องวิวัฒนาการหายค่ะ กลายเป็นเรื่องสารชีวโมเลกุลเฉยเลย


โดย: แพร IP: 125.25.49.31 วันที่: 17 กันยายน 2558 เวลา:5:37:12 น.  

 
ข้อสอบมันอยู่ตรงไหนครับ


โดย: นนทวัมน์ IP: 124.122.34.101 วันที่: 17 กันยายน 2558 เวลา:19:39:41 น.  

 
ตอน 2 ข้อ 6

ถ้าเป็น sex-linked gene ต้องคิด gene pool แยกชาย-หญิง ใช่มั้ยคะ?


โดย: อภิญญา IP: 171.5.248.105 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา:22:17:05 น.  

 
Pgksrjgiohi hw hweokfjeq ojfe jfweiogwo gwoj wijf gdhgtrj575 y6u75tyhgf 5yu5regr


โดย: Ahsgdfloqifg IP: 188.165.201.164 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2559 เวลา:14:39:33 น.  

 
Xighefjeo orj wokwp dkow pwk wodj d hfdgfhgf 4756 5uhtyjur urt45


โดย: Xewrtyuoipye IP: 188.165.240.145 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2559 เวลา:6:13:22 น.  

 
Ugireojfe whfiwehfjwehwhfjehfwefhweh 777uiop fweh iwehf weiohf wieohf iwehf iweyu59tu328hfire iuwfodhqw934785 h3urh9wjfwgut h9wh9889wh98r h4wt93qrj29th2 rj2ghw9tfq.


โดย: Iopafeopt IP: 188.165.201.164 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2559 เวลา:17:17:56 น.  

 
We sell the sale of iPhones 7 directly from Apple warehouses unofficially for 30% of the market value. Always available and in large quantities:
1. New Apple iPhone 7 Plus 256 GB (Jet Black) (FACTORY UNLOCKED) International Version no warrants - $ 303
2. New Apple iPhone 7 Plus 256GB Factory Unlocked CDMA / GSM Smartphone - Black (Certified Refurbished) - $ 307
3. New Apple iPhone 7 PLUS (5.5-inch) A1661 128GB Unlocked Smartphone for GSM + CDMA Carriers - Rose Gold - $ 303
We work all over the world and only on an advance payment, we accept only bitcoin. Attention!!! We do not work with Russia and the CIS countries. When ordering from 10 pcs. The price is 20% of the market value. We have a priority in wholesale customers. If you do not trust us, or you do not like something, you pass by, we will not respond to stupid reports. To receive the details for payment, please write to the e-mail: apple@apple-cheap-iphone.xyz


โดย: Lutherintop IP: 185.175.158.223 วันที่: 14 กรกฎาคม 2560 เวลา:22:36:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

มิสเตอร์คัสตาร์ด
Location :
Igloo house Antarctica

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 240 คน [?]




เมลล์มาคุยกันได้นะครับ
tentaroro@yahoo.com :)

[Add มิสเตอร์คัสตาร์ด's blog to your web]