Group Blog
 
 
เมษายน 2559
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
22 เมษายน 2559
 
All Blogs
 
สงกรานต์จากอดีตสู่ปัจจุบัน : ประวัติและความเป็นมา



  ประวัติและความเป็นมา
สงกรานต์3
วันสงกรานต์เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ในสังคมและสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน  เช่น  ความกตัญญู  ความโอบอ้อมอารี  ความเอื้ออาทรต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมโดยใช้  น้ำ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นประเพณีหนึ่งที่เก่าแก่ของไทยที่ได้ยึดถือปฏิบัติมาแต่ครั้งโบราณ

สงกรานต์2 สงกรานต์

คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํ-กรานต” ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือย้ายขึ้น โดยมีนัยความหมายว่า การเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ นั้นเอง โดยเทศกาลสงกรานต์ นั้นเป็นประเพณีที่มีความเก่าแก่และคนไทยสืบทอดกันมาแต่โบราณคู่กับประเพณีตรุษจีนกันเลยทีเดียว จึงได้มีการรวมเรียกกันว่า “ประเพณีตรุษสงกรานต์” ซึ่งแปลว่าการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั้นเอง
วันมหาสงกรานต์
ในสมัยโบราณ คนไทยถือว่า วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งจะตรงในช่วงเดือน พฤศจิกายนหรือธันวาคม ให้เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าฤดูหนาว เป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการสังเกตธรรมชาติและฤดูการผลิต ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ กระทั่งในสมัยยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นวันสากล คือ วันที่ 1 มกราคม แต่ถึงอย่างไร คนโบราณก็ยังคงคุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยร่วมด้วย
สงกรานต์4
ในวันสงกรานต์ของประเทศไทยในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
สงกรานต์ภาคเหนือ (สงกรานต์ล้านนา) หรือ “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่
“วันสังขารล่อง” (13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
“วันเนา” หรือ “วันเน่า” (14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี
“วันพญาวัน” หรือ “วันเถลิงศก” (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย
“วันปากปี” (16 เม.ย.) ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆเพื่อขอขมาคารวะ
“วันปากเดือน” (17 เม.ย.) เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆ ออกไปจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา และ “วันปากวัน” (18 เม.ย.)
สงกรานต์ภาคอีสาน
นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า “บุญเดือนห้า” หรือ“ตรุษสงกรานต์” บางพื้นที่จะเรียกว่า “เนา” และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน
สงกรานต์ภาคใต้
ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์
          (13 เม.ย.) เป็น “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป
          ส่วน “วันว่าง” (14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป
         และวันสุดท้ายเป็น “วันรับเจ้าเมืองใหม่” (15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์
สงกรานต์ภาคกลาง
          เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวันมหาสงกรานต์
                               วันที่ 14 เมษายน เป็น “วันกลาง” หรือ “วันเนา” และ
                         วันที่ 15 เมษายน เป็นวันวันเถลิงศก ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทรายถือว่าเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่
ทั้งนี้  ตำนานเกี่ยวกับสงกรานต์ยังมีปรากฏในศิลาจารึกที่วัดพระเชตุพน ฯ โดยย่อว่า  เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี  ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้น ๆ นางสงกรานต์มีชื่อดังนี้
ทุงษเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์
โคราดเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันจันทร์
รากษสเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันอังคาร
มัณฑาเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันพุธ
กิริณีเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี
กิมิทาเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันศุกร์
มโหทรเทวี  เป็น  นางสงกรานต์ประจำวันเสาร์
นางสงกรานต์เป็นธิดาของท้าวมหาสงกรานต์หรือท้าวมหาพรหม  มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าวกบิลพรหมซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า  เนื่องจากท้าวกบิลพรหมแพ้พนันการตอบปัญหาแก่ธรรมบาลกุมารจึงต้องตัดเศียรของตนบูชาแก่ธรรมบาลกุมาร  ก่อนจะตัดเศียรท้าวกบิลพรหม ได้เรียกธิดาทั้ง  ๗  ซึ่งเป็นนางฟ้า  บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาให้เอาพานมารองรับ  เนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความร้ายทั้งปวง ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก  ถ้าโยนขึ้นไปบนอากาศฝนจะแล้ง  ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง  ธิดาทั้ง  ๗  จึงผลัดเปลี่ยนกันถือพานรองเศียรของ ท้าวกบิลพรหมไว้คนละ ๑  ปี
                 เมื่อถึงวันสงกรานต์  คนไทยสมัยก่อนสนใจที่จะรู้ชื่อนางสงกรานต์  พาหนะทรง   เพราะคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำฝนจากธรรมชาติ  คำทำนายต่าง ๆ เป็นการเตรียมพร้อม  ในการที่จะต้องเผชิญกับภาวะต่าง ๆ เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่  ผลิตผลและการทำมาหากินทั่วไป



Create Date : 22 เมษายน 2559
Last Update : 22 เมษายน 2559 6:02:51 น. 0 comments
Counter : 294 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 3081643
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 3081643's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.