แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษา ตั้งอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ชอยอิสรภาพ15 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร
พิกัด : https://goo.gl/maps/EqPPuge8Ta1Cszjw8 



แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อยู่ในความดูแลของ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา



อยู่ภายในอาคาร 150 ปี มหาบุรุษรัตโนดม (ช่วง บุนนาค)



สืบเนื่องจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
อันเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและดำเนินงานด้านการทำนุบำรุง อนุรักษ์ ส่งเสริม
เผยแพร่ และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ทั้งยังเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ย่านฝั่งธนบุรี



ในแง่ประวัติศาสตร์ ศิลปะวัฒนธรรม และสังคม ประกอบกับปัจจุบัน
สำนักศิลปะและวัฒนธรรมมีฐานข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับย่านธนบุรีเป็นจำนวนมาก
จึงเล็งเห็นว่าควรดำเนินการจัดทำโครงการก่อสร้างและปรับปรุง “แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรี”



โดยยังเป็นการสนับสนุนให้องค์ความรู้เผยแพร่ออกไปในวงกว้างขึ้นสอดคล้องกับ
ยุทธศาสตร์ของชาติในด้านการสร้างเครือข่าย ทางวัฒนธรรม โดยบูรณาการกระบวนการ
ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้สอดประสานไปกับกิจกรรมการเรียนการสอน



และกระบวนการพัฒนาการศึกษาของบุคคลากรภายในมหาวิทยาลัย
ตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
              เนื้อหาของ ”แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีศึกษา” ถูกจัดแสดงเป็นห้องต่างๆ
จำนวน 10 ห้อง โดยเล่าเรื่องราวผ่านพัฒนาการของธนบุรี (Timeline)
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่



 ห้องที่ 1 : เปิดเมือง : เป็นภาพยนตร์สั้น เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเนื้อหาของพิพิธภัณฑ์
กรุงธนบุรีศึกษา ทั้งหมด 10 ห้อง ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าโทนเป็นผู้นำเข้าเรื่อง
และดำเนินเรื่องกับเพื่อนอีก 2 คน ใช้เวลา 6-8 นาที



ห้องที่ 2 : ครั้งเป็นทะเลปากอ่าว : พูดถึงพัฒนาการของพื้นที่ธนบุรีตั้งแต่ครั้ง
เป็นทะเลตมจนถึงการเกิดแผ่นดิน



 ห้องที่ 3 : ลัดเมืองบางกอก : กล่าวถึงการขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่สมัย
สมเด็จพระไชยราชาธิราช จนกลายมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายปัจจุบัน



ห้องที่ 4 : ฑณบุรีศรีมหาสมุทร หน้าด่านทางทะเล : เนื้อหาจะเน้นถึงความเป็นเมือง
หน้าด่านของธนบุรีทั้งในแง่ของความเป็นเมืองยุทธศาสตร์ทางด้านการเมือง
การปกครองและด้านการค้า รวมถึงเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้น อาทิ กบฎมักกะสัน



ห้องที่ 5 : ธนบุรี ราชธานีใหม่ใกล้ทะเล : เน้นเรื่องราวในช่วงกรุงธนบุรีเป็นราชธานี
(พ.ศ. 2310-2325) ความเป็นศูนย์กลางการเมือง การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม การค้า
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี



 ห้องที่ 6 : กรุงเทพฯ (ซ้อน)ทับ กรุงธนฯ : เนื้อหาในช่วงการสถาปนา
กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี(รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก)
เหตุผลการย้ายราชธานี แต่พื้นที่ฝั่งธนบุรีนั้นก็ยังเป็นพื้นที่ที่ยังคงความสำคัญ
เนื่องจากเป็นที่อยู่อาสัยของตระกูลขุนนางข้าราชการสำคัญๆอยู่



 ห้องที่ 7 : พระบรมธาตุแห่งพระนคร : กล่าวถึงคติไตรภูมิหรือความเป็นศูนย์กลางของ
จักรวาลที่ใช้ในการสร้างพระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม การประกาศความเป็น
จักพรรดิราชของรัชกาลที่ 3 รวมทั้ง



ห้องที่ 8 : ฅ คน ธนบุรี : เนื้อหาจะแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ของผู้คนในย่านฝั่งธนบุรี
ที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม



ห้องที่ 9 : บุนนาค ถิ่นฐานขุนนางสามแผ่นดิน : กล่าวถึงประวัติ คุณูปการ
ของบุคคลคนสำคัญๆ ในตระกูลบุนนาค อาทิ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินทั้ง 3 คน
ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์, สมเด็จเจ้าพระยามหาพิไชยญาติ
และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นต้น



ห้องที่ 10 : มรดกวัฒนธรรมและงานศิลป์ ณ ฝั่งธนฯ : แสดงให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรม
อาทิ วัดวาอาราม ศาสนสถาน อาหาร มหรสพต่างๆ ที่สะท้อนให้เห้นถึงความหลากหลาย
ทางวัฒนธรรมจากคนหลายกลุ่มชาติพันธุ์



 ในการจัดแสดงส่วนที่เป็นเนื้อหาตามห้องต่างๆ เพื่อไม่ให้ผู้เข้าชมเกิดความรู้สึก
เบื่อหน่ายกับข้อมูลที่เป็นตัวอักษรหรือเนื้อหาที่เคร่งเครียดจนเกินไปนั้น ทางคณะผู้จัดทำ
จึงได้ออกแบบให้มีสื่อโสตทัศนอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนต์สั้น



บทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านหรือเกมส์ต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมรู้สึกสนุก
ผ่อนคลาย นอกจากนี้การออกแบบทั้งเนื้อหาและพื้นที่เหมาะสำหรับกลุ่มบุคคล
ตั้งแต่เด็ก นักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป ชาวต่างชาติรวมทั้งผู้พิการทางด้านต่างๆ
ก็สามารถเข้าเยี่ยมชม เรียนรู้ แหล่งเรียนรู้กรุงธนบุรีได้เป็นอย่างดี



ใครที่อยากเข้าชม สามารถติดต่อได้ที่  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา หรือโทรสอบถามที่
เบอร์โทรศัพท์ 0-2473-7000 ต่อ 1500 หรือ 0-2466-6664 ในวันเวลาราชการ



หรือติดต่อ Facebook : สำนักศิลปะฯ มบส
https://www.facebook.com/culture.bsru 



ใครที่ยังไม่ได้เข้าไปอ่านบล๊อก พามาชม ร้านข้าวต้มสมพงษ์(เจ้าเก่า)
จังหวัดปทุมธานี
  
สามารถกดที่นี่ได้เลยครับ



ฝากกด like Facebook นายแว่นขยันเที่ยว : 
https://www.facebook.com/นายแว่นขยันเที่ยว-110467381183341



ฝากกดติดตาม YouTube กูรูเอมมี่ แชลแนล : 
https://www.youtube.com/channel/UCRYXqGydbgKYciPr2Kilw3g
ขอขอบคุณ อาจารย์เอมมี่ เทพนิมิตต์ โหราเวทย์ศรีธนญชัย



ขอบคุณที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้ผม
"นายแว่นขยันเที่ยว"



ขอบคุณเพลง : วอนพ่อตากสิน
ศิลปิน : รุ่ง สุริยา
Vote : ท่องเที่ยวไทย




Create Date : 22 สิงหาคม 2565
Last Update : 29 สิงหาคม 2565 9:49:17 น.
Counter : 1382 Pageviews.

2 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณปัญญา Dh, คุณnewyorknurse, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณเริงฤดีนะ, คุณปรศุราม, คุณThe Kop Civil, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณกิ่งฟ้า, คุณหอมกร

  

กราบะระเจ้าตากสินมหาราช
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 22 สิงหาคม 2565 เวลา:5:58:27 น.
  
ตกลง จขกท. ตัวจริงนี่คนใส่แว่นใช่มั๊ย อิอิ


โดย: หอมกร วันที่: 24 สิงหาคม 2565 เวลา:12:03:24 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นายแว่นขยันเที่ยว
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]



สิงหาคม 2565

 
2
4
6
7
9
11
13
14
16
18
20
21
23
25
27
28
30
 
 
All Blog