ขอขอบคุณ คุณrutdy ที่ให้โลโก้มาเผยแพร่คร๊าบบ

<<
พฤษภาคม 2552
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 พฤษภาคม 2552
 

.. [JTEPA ]タイは国際的ゴミ捨て場か?: เมืองไทยบ้าน กระผม เป็นที่ทิ้ง ขยะพิษ ของ คุณ เหรอ ไอ้ยุ่น ..

ไม่มีใครรักคนไทย หากเราไม่เริ่มที่จะรักตัวเองก่อน


คำว่าตัวเองในที่นี้ หมายถึงคนไทยด้วยกัน
ในวันนี้ผมขอเอาเรื่องของ เจเทปป้า ซึ่งเป็นเรื่อง
ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน มาเล่าสู้กันฟังครับ

แน่นอนว่า เรื่องที่คุณจะได้อ่านต่อไปนี้ มีสาระกับสมอง
ของคุณมากว่าที่จะมาบ่นว่า ใครจะเป็นแชมป์ฟุตบอล
ที่ยุโรปหรือในอังกฤษแน่นอน

ดังนั้น หากคุณอยากรู้ผมอยากให้คุณค่อยๆใช้เวลาอ่านครับ

ญี่ปุ่น คือ ประเทศที่คนไทย(บางส่วน) กราบไหว้ ด้วยความคิดที่ว่า
มันคือเมืองสวรรค์ที่บอกว่า อะไรที่เป็นญี่ปุ่นมันคือ สุดยอด

ผมเอง ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายในฐานะมุมมองจากฝ่ายตรงข้าม(กับไทย)
และผมสามารถบอกได้เลยครับว่า .. เลิกที่จะเดินตามญี่ปุ่นเถอะ ..

ไทยนั้นเป็นประเทศที่ มีการลงทุนของญี่ปุ่น เป็นอันดับ 2 ของโลกครับ
แต่นับวันผมว่ามันจะขยายมากขึ้นๆ .. เพราะ อันดับ 1 อย่างจีน เริ่มมีการต่อต้าน
ญี่ปุ่นกันแล้ว ตั่งแต่ในอดีต อย่างไรก็ตามการเติบโตตรงนั้น เป็นเพราะ
ความหน้าเงิน ของคนเลวๆบางส่วน

ในไทยเราเอง เราทำลายประเทศจากการ กราบไหว้ญี่ปุ่นมานาน
ผมสามารถบอกคุณได้เลยครับว่า การที่โรงงานอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเลือก
ที่จะมาตั่งรกรากในไทยนั้น ปัจจัยหลัก ไม่มีเพราะค่าแรงที่ถูกกว่า หรือ
การที่ในประเทศญี่ปุ่น ไม่สามารถขยายการเจิญเติบโตทางธุรกิจได้แล้ว

เพราะในญี่ปุ่นเอง ยังมีพื้นที่อีกมากมายที่เป็นป่าเขาและธรรมชาติ

แต่ปัจจัยหลักคือ โรงงานอุตสาหกรรมนั้น ทำลายธรรมชาติ
ที่ญี่ปุ่นไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้

ผมอยากจริงๆให้คนไทยรู้ทัน พวกเค้า เพราะพวกญี่ปุ่นจะไปทันที
หากว่า สภาพแวดล้อมของประเทศไทยโดยทำลายหมดแล้ว และไม่สามารถ
สร้างประโยชน์ให้พวกเค้าได้อีก








คุณเชื่อผมเถอะครับว่า เมื่อเค้าไป คนไทยที่จะสามารถตามพวกเค้าไปด้วย
คือกลุ่มคนเพียงหยิบมือ ที่เป็นเลิศเหนือที่จะหาได้ทั่วไปในญี่ปุ่น และคนไทย
ส่วนมากอีกมากมายจะต้องทนทุกข์ กับสภาพแวดล้อมที่ถูกทำลาย


ไม่เพียงเท่านั้นครับ
ปัญหาใหญ่ของญี่ปุ่น ที่ญี่ปุ่นเป็นชาติที่กำลังกลายเป็นสังคมคนแก่
เพราะมีคนแก่อยู่มากกว่าครึ่ง ทำให้ญี่ปุ่นต้องการ ระบาย จำนวนประชากร
ผุ้สูงอายุของพวกเค้า และไทยคือแหล่งระบาย ที่ญี่ปุ่นกำลังจ้องตาเป็นมัน
ด้วย เงินที่เอามาแลก


ถึงวันนี้ ผมอยากแนะนำและเล่าเรื่องของ เจเทปป้า ให้กับเพื่อนสมาชิกหลายๆ
ท่านที่ยังไม่ทราบเรื่องนี้ครับ

ผมว่ามันอาจจะยากจนเกินไป หาจะเล่าอย่างละเอียด ว่ามันคืออะไร
แต่ฟังง่ายๆ คิดง่ายๆครับว่า
มันคือ สนธิสัญญา ที่ ญี่ปุ่นจะเอาขยะพิษเข้ามาทิ้งในไทยครับ

เป็นไงครับ เริ่มน่าสนใจแล้วใช่มั้ยล่ะ
ผมขอบอกก่อนนะครับ นี่คือเรื่องเมื่อ 2 ปีก่อน









เจเทปป้าไทย-ญี่ปุ่น รีบเซ็น-รีบเสี่ยง..ทำไม!
ข่าวสด 1 เม.ย. 50
รายงานพิเศษ

นับถอยหลังอีก 2 วัน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี จะจรดปากกาลงนามความร่วมมือเขตการค้าเสรี(เอฟทีเอ)ไทย-ญี่ปุ่นกับรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่าความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement-JTEPA-เจเทปป้า)

โดยพล.อ.สุรยุทธ์ จะบินไปประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 2-5 เม.ย. และมีกำหนดลงนามเจเทปป้าในวันที่ 3 เม.ย.

หลังจากลงนามร่วมกันจะนำร่างขึ้นเว็บไซต์ //www.mfa.go.th หากมีข้อคัดค้านสามารถดำเนินการได้ และคาดว่าข้อตกลงจะมีผลใช้จริงในเดือนก.ย.นี้



ในยุคมีโลกมีการแข่งขันเสรีมากขึ้น ต้องยอมรับว่า หากไทยปิดตัวเอง ไม่เปิดช่องสำหรับสู้ในเวทีโลก เราคงจะยืนอยู่ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของนานาประเทศได้ยาก

ที่ผ่านมาญี่ปุ่นลงทุนในประเทศจีนเป็นอันดับหนึ่งประมาณปีละ 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาคือไทย 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

หากมีการลงนามเจเทปป้า คงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะช่วยกระตุ้นการลงทุนและเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้มาก ที่สำคัญเป็นการสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย ให้ทัดเทียมกับประเทศอาเซียนทำเอฟทีเอกับญี่ปุ่นแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งอินโดนีเซีย บรูไน และเวียดนามที่อยู่ระหว่างการเจรจาเอฟทีเอกับญี่ปุ่น

นอกจากนี้ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับหลังความตกลงทันที อาทิ สินค้าที่ยกเลิกภาษีแน่นอนคือ ผักสด หน่อไม่แช่แข็ง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จะได้รับการลดภาษี 0 % 5-10 ปี เช่น ปลาทูน่า ไก่แปรรูป กุ้งแช่แข็ง เนื้อปลาสด ผักและผลไม้สด

นั่นเป็นข้อได้เปรียบของไทย ขณะเดียวกันข้อเสียเปรียบของไทยก็ย่อมต้องมีเป็นธรรมดา เช่นผลกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิตเหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่นด้วยต้นทุนต่ำลงจากการลดภาษีศุลกากรของไทย เป็นต้น

เพียงแต่ทำอย่างไรจะให้ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบนั้นสมน้ำสมเนื้อกัน

ส่วนประเด็นที่ยังมีข้อกังวลกันอยู่ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิบัตรจุลชีพ และขยะพิษหรือกากอุตสาหกรรม

แม้จะได้รับการชี้แจงจาก นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.)ว่า หากเป็นจุลชีพที่มีอยู่ในธรรมชาติการจะขอสิทธิบัตรย่อมทำไม่ได้ แต่หากจุลชีพดังกล่าวถูกนำไปพัฒนาหรือต่อยอดจนเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเฉพาะขึ้น สามารถจดสิทธิบัตรได้ ซึ่งเป็นไปตามกติกาสากล

ส่วนเรื่องขยะพิษ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.อุตสาหกรรม ระบุว่า เป็นรายการนำเข้าที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่แม้ไม่มีข้อตกลงเจเทปป้าก็ยังสามารถนำเข้ากากอุตสาหกรรมได้ เพียงแต่ข้อตกลงนี้จะเป็นเรื่องประโยชน์ทางภาษี จากเดิมบางรายจะเก็บภาษี 5% เมื่อทำข้อตกลง ภาษีเหลือ 0% แต่ไทยมีกฎหมายเป็นมาตรฐานในเรื่องนี้อยู่ หากเป็นขยะพิษที่มีปัญหาคงให้นำเข้ามาไม่ได้

แต่ประเด็นเหล่านี้ยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดมากนัก ยังถือเป็นความเสี่ยงที่อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งความเสี่ยงในด้านสาธารณสุข และการคุ้มครองการลงทุนของไทย

เมื่อ 6 เดือนก่อน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เคยยืนยันถึงเรื่องการลงนามเจเทปป้าว่า รัฐบาลจะพิจารณาอย่างรอบคอบ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ

ถามว่าวันนี้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ และรอบด้านแล้วหรือยัง?

นอกจากนี้ท่ามกลางสภาพบ้านเมืองยังไม่นิ่ง ปัญหาการเมืองภายในประเทศพร้อมระอุขึ้นเมื่อไรก็ได้ ทำให้มีข้อกังขาว่าจำเป็นแค่ไหนที่ต้องลงนามในช่วงนี้ และที่ผ่านมาสาระหรือรายละเอียดต่างๆ ยังไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะเท่าที่ควร ทั้งที่ข้อตกลงนี้จะมีผลกระทบต่อคนไทยทั้งประเทศ

แล้วจะด่วนลงนามไปเพื่ออะไร

หรือมีมูลเหตุจูงใจที่ทำให้ต้องร้อนรนลงนามอย่างนี้ โดยเฉพาะเริ่มมีการโยงใยว่าเรื่องนี้เกี่ยวพันกับการขอ(กระผม)้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (เจบิก) เพื่อนำมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่ไทยจะเริ่มเดินเครื่องสายสีแดงในปีนี้

หรือเพียงเพื่อต้องการเรียกความเชื่อมั่นให้รัฐบาลชั่วคราวชุดนี้

ในเมื่อเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน ก็น่าจะสรุปได้ตรงๆว่าห้วงเวลานี้ไม่มีความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวงที่จะลงนามเจเทปป้า

สู้รอให้มีรัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งมาดำเนินการน่าจะสวยกว่า

คำนวณคร่าวๆก็ทอดเวลาออกไปอีกไม่นานเท่าไร เพราะล่าสุดนายกรัฐมนตรี ระบุว่าการกำหนดวันเลือกตั้งที่มีการคิดกันคือวันที่ 16 ธ.ค. หรือ 23 ธ.ค.

ช่วงเวลานี้รัฐบาลสามารถเจรจาให้ได้ข้อตกลงที่ดีที่สุดสำหรับประเทศไทย

สำหรับเจเทปป้า เริ่มต้นการเจรจาในยุคพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ในเดือนก.พ.47 บรรลุความตกลงในหลักการเมื่อเดือนก.ย.48 กำหนดจะลงนามในวันที่ 3 เม.ย.49 แต่เกิดปัญหาความวุ่นวายในประเทศ เนื่องจากประชาชนไม่พอใจรัฐบาลบริหารประเทศไม่โปร่งใส ผู้นำรัฐบาลถูกกล่าวหาเรื่องหนีภาษีจากการขายหุ้น รวมทั้งความไม่พอใจต่อนโยบายการเปิดเสรีและแปรรูปประเทศ ทำให้เกิดการชุมนุมใหญ่ขับไล่รัฐบาล ในที่สุด พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประกาศยุบสภาในวันที่ 24 ก.พ.49 การลงนามเจเทปป้าจึงเลื่อนออกไปโดยไม่มีกำหนด

หลังเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.49 รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เข้ามาสานต่อเรื่องดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มี.ค.50 เห็นชอบให้ลงนามเจเทปป้า


//www.ftawatch.org/news/view.php?id=11009










รัฐสภาผ่านข้อตกลงAJCEP ห่วงขยะพิษทะลักเข้าไทย

ผู้จัดการรายวัน 7 ตุลาคม 2551 19:28 น.





เวลา 13.30 น.วานนี้ (6 ต.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ อาเซียน-ญี่ปุ่น (เอเจเซป) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ภายหลังจากคณะกรรมาธิการนำไปแก้ไขปรับปรุงใหม่ ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกรัฐสภาโดยเฉพาะส.ส.ฝ่ายค้าน และส.ว. ส่วนใหญ่แสดงความเป็นห่วงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพิษ โดยเฉพาะการไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายในประเทศ ที่จะมาดูแลเรื่องขยะและของเสียอันตราย และกฎหมายระหว่างประเทศมีความซับซ้อนไม่ชัดเจน อาจมีการใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย

นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา กล่าวว่า การทำข้อตกลงกับญี่ปุ่น ด้วยการยกเลิกภาษีหลายรายการ แม้ไทยจะได้ประโยชน์ในเรื่องการเติบโตของจีดีพี ร้อยละ 1.19 ขณะที่ญี่ปุ่น ได้ร้อยละ 0.07 ซึ่งดูเหมือนไทยจะได้ประโยชน์มาก แต่เป็นสมมุติฐานที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เนื่องจากประเทศผู้ผลิตในอาเซียนมีกำลังผลิตขนาดเล็กไม่มีอิทธิพลในการต่อรอง

นอกจากนี้ข้อตกลงยังไม่เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศด้วย ซึ่งทำให้ไทยไม่มีโอกาสได้พัฒนาแรงงานจากญี่ปุ่น อีกทั้งแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียนยังมีต้นทุนสูงและส่วนใหญ่เป็นสินค้าการเกษตร ทำให้เกิดความเสียเปรียบญี่ปุ่น

พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ ส.ส.**ส่วน พรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงกรณีปัญหาขยะมลพิษ โดยระบุว่าจากสถิติการนำเข้าสินค้าสารพิษอันตรายเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในปี 2543 มีจำนวน 47 ล้านตัน ต่อมาปี 2544 มีการนำเข้า 49.6 ล้านตัน เกรงว่าไทยจะเป็นที่รองรับการทิ้งขยะของญี่ปุ่น จึงขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะขณะนี้ตัวเลขคนไทยเป็นมะเร็งสูงมาก เพราะปัญหามลพิษจากสารพิษเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งจะเป็นการตายผ่อนส่ง

ด้านนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส.**ส่วน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า รัฐบาลชุด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้เซ็นสัญญากับญี่ปุ่น โดยสั่งกากขยะแบตเตอรรี่ คอมพิวเตอร์ มือถือ น้ำมันที่ใช้แล้ว มูลค่ารวมกันหลายแสนล้านบาท เข้ามาในประเทศ ไม่ทราบว่าสั่งเข้ามาทำไม ยังไม่รวมถึงสารกัมมันตภาพรังสี และสารเคมีอีกกว่าพันล้านบาท โดยตั้งแต่ไทยทำสัญญาเอฟทีเอกับญี่ปุ่น ทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะอันตรายของญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงที่สุด แล้วจะให้มีการอนุมัติอนุสัญญาฉบับนี้เพื่อเพิ่มขยะให้ประเทศอีก แสดงให้เห็นว่า กมธ.ไม่มีความรอบคอบ

น.ส.รสนา โตสิตระ(กระผม)ล ส.ว.กทม. อภิปรายว่าข้อตกลงทางการค้าที่ผ่าน ผลดีต่อเศรษฐกิจหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้น เป็นเพียงภาพลวงตาเพราะประเทศไทยขาดดุลญี่ปุ่นปี 50 ถึง 7,296 ล้านเหรียญ ดังนั้นการทำเอเจเซป ต้องพิจารณาให้รอบด้าน โดยเฉพาะผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ กมธ.ไม่ได้มีข้อเสนอในปัญหานี้อย่างจริงจัง ขณะที่มีการประชุมระดับทวิภาคี และลงนามเจเทปป้า แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ ก็ยังไม่ยอมลงนาม แล้วไทยมีเหตุผลอะไรไปรีบร้อนลงนาม การทำเช่นนี้เหมือนกับเป็นการเปิดทางให้ประเทศเป็นถังขยะโลก ดังนั้นขอให้ชะลอการทำเอเจเซปไว้ก่อน และพิจารณาให้รอบคอบ แต่ถ้าจะต้องลงนามจริงๆ ก็ขอให้มีเงื่อนไขต่อท้ายเกี่ยวกับมาตรการรองรับข้อตกลงการเคลื่อนย้ายวัตถุอันตราย และสารมีพิษ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์มือสอง ตนไม่อยากให้ประเทศได้ชื่อว่า ส่งออกอาหารมากที่สุดในโลก และเป็นที่ทิ้งขยะของโลก

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ในฐานะกรรมาธิการชี้แจง โดยยอมรับว่า ยังมีหลายประเด็นที่ไทยเสียเปรียบญี่ปุ่น แต่หากจะให้พิจารณารายละเอียดที่จะเป็นประเด็น คงต้องใช้เวลาศึกษานานเป็นปี ซึ่งมีปัญหาเวลาจำกัด ส่วนข้อกังวลเรื่องขยะสารพิษ นั้นจะมีการกำหนดอนุญาตให้นำเข้า 62 รายการ ที่จะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อน และจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ใช่ขยะที่ส่งมาฝังในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม หลังจากสมาชิกอภิปรายนานกว่า 2 ชั่วโมง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ เอเจเซป ด้วยคะแนน 432 ต่อ 31 งดออกเสียง 6 เสียง และเห็นชอบรายงานข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน 446 ต่อ 3 งดออกเสียง 8 ไม่ลงคะแนน 4 เสียง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นเป็นการพิจารณากรอบการเจรจาข้อตกลงชั่วคราว ไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหารที่ ครม.เป็นผู้เสนอ อย่างไรก็ดี นายชัย ชิดชอบ แจ้งว่า ขณะนี้ครม.ชุดใหม่ยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา จึงจะนำเรื่องนี้มาพิจารณาภายหลังรัฐบาลแถลงนโยบายเสร็จสิ้น และปิดประชุมเวลา 16.15 น.


//www.measwatch.org/autopage/show_page.php?t=20&s_id=1238&d_id=1238









เลียบวิภาวดี: เจเทปป้า (แนวหน้า)
Posted at May 02, 2007
แนวหน้า
วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2550


--------------------------------------------------------------------------------

เจเทปป้า (Jtepa) คือความตกลงทางหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ซึ่งมีผู้นำจอมโปร่งใสของเราไปเซ็นกับพี่ยุ่นเอาไว้เมื่อต้นเดือนที่แล้ว

วันนี้สัญญาดังกล่าวใกล้มีผลบังคับใช้ ติดขัดอยู่ที่สองฝ่ายกำลังแก้กฎหมายและระบียบที่ขัดข้องอย่างขะมักเขม้น

"เจเทปป้า" ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นนั้น ในเชิงการค้า ญี่ปุ่นได้เปรียบมหาศาล แต่พี่ไทยแทบไม่ได้อะไรเลย

สิ่งที่ญี่ปุ่นได้คือ สามารถนำเข้าเหล็ก น้ำตาลทราย ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และสินค้าเกษตรทุกชนิดเข้าไทยโดยไม่ต้องเสียภาษี

แน่ นอน คนไทยได้ขับรถยนต์ราคาที่ย่อมเยาจนต้องช็อก ราคามอเตอร์ไซค์ทำให้กุมารสยามปากยิ้มได้ไม่มีหุบ แผ่นเหล็กและเหล็กเส้นเข้าถล่มเมืองไทยจนวงการก่อสร้างได้เฮ แต่อุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยเจ๊งไม่เป็นสับปะรดขลุ่ย

สินค้าเกษตรทั้งหลายก็แย่งกันถล่มราคากับจีนในตลาดบ้านเรา น้ำตาลทรายที่จะเข้ามาก็จะทำให้ชาวไร่อ้อยน้ำตาเช็ดหัวเข่า

ภาย ใต้สัญญา "เจเทปป้า" พี่ยุ่นอนุญาตให้ไทยส่งกล้วยหอมและเนื้อสุกรไปญี่ปุ่นโดยไม่เสียภาษี ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นสินค้าโปรดของชาวอาทิตย์อุทัย ต่อไปนี้พวกเขาจะได้กินกล้วยหอมราคายอดถูก และเนื้อหมูแปรรูปในราคาต่ำเตี้ย

สินค้า อีกประเภทหนึ่งที่ญี่ปุ่นอนุญาตให้ไทยส่งไปขายในประเทศเขาได้คือ "ไวน์ผลไม้" ที่ตลาดเจ๊งบ๊งไปกว่าห้าปีแล้ว ส่วนไวน์องุ่นที่พี่ไทยพอจะมีฝีมืออยู่บ้าง "เอ็งอย่าทะลึ่งส่งเข้าประเทศข้าอย่างเด็ดขาด"

ดู สัญญา "เจทปป้า" แล้ว นึกไม่ออกว่านอกจากกล้วยหอมแล้วไทยจะเอาอะไรไปขายญี่ปุ่น ในขณะที่สินค้าจากญี่ปุ่นทุกชนิดจะเข้ามาถล่มบ้านเราโดยไม่เสียภาษีอย่าง มันมือ

น่าสงสารประเทศไทย ไปเซ็นสัญญากับประเทศไหนมีแต่ต้อง "เสียเปรียบ"

กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม



//www.mfa.go.th/jtepa/archives/news_3448.html











โดยส่วนตัวผม ไม่ได้สนใจมากว่า ไทยจะได้เปรียบเสียเปรียบอะไร
เกี่ยวกับ ด้านเศรฐกิจ และการเงิน เพราะประเด็นที่สำคัญกว่า นั่นคือ


เรื่องของขยะพิษ

//www.ne.jp/asahi/kagaku/pico/basel/ADB/Tara_jp.pdf#search='jtepa ごみ タイ'

นี่คือคำตอบของเรื่องนี้ครับ
และข้างล่าง คือแผนการเอาขยะพิษไปทิ้งที่ ฟิลิปปินของญี่ปุ่น

//www.enviroasia.info/news/news_detail.php3/J06111001J



















日本とフィリピンとの間に結ばれた経済連携協定にNGOが警告を発している

 日本とフィリピンとの間に結ばれた経済連携協定(JPEPA)に関し、外国人看護士を受け入れるか否かが注目されているが、問題点はそれのみではない。協定に盛り込まれている有害廃棄物の関税を撤廃する条項には、リサイクルという名目でごみを海外に輸出しようとする動きを加速させるような、大きな問題点が見受けられる。

 アメリカの有害廃棄物監視団体「バーゼル・アクション・ネットワーク(BAN)」は11月8日、JPEPAに関する報告書を発表し、同条項が、日本政府の廃棄物貿易の自由化をもくろむ意図的な戦略の一部であるとの懸念を表明した。

 現状では、168カ国が批准しているバーゼル条約(正式名称:有害廃棄物の国境を越える移動及びその処分の規制に関するバーゼル条約)によって、有害廃棄物の国際移動に関しては制限が設けられているが、今回の条項の内実は、「リサイクル推進という名目の下、廃棄物の貿易に対する障壁低減を促進する」もので、かつ「廃棄物貿易に対する障壁を排除するために、途上国のグローバル市場における“相対的優位性”を利用した二国間自由貿易協定である」とBANは指摘する。

 マニラにあるBANアジア太平洋事務局のリチャード・グティエレスは、「日本が、アジアの途上国と廃棄物の貿易自由化を達成する為に、JPEPAのような二国間自由貿易協定を利用しているという真相が、今やっと明かされようとしている。JPEPAによる廃棄物の貿易自由化構想は、フィリピンの持続可能性に対する脅威であるだけでなく、発展途上国を有害廃棄物の貿易によって不公平に押し付けられる環境汚染から守るためのバーゼル条約の目的や決定事項に対する直接的な攻撃である」と語る。

 日本政府のイニシアティブによって設立された(財)地球環境戦略研究機関の政策概要『国際リサイクル特区とアジア域内ネットワークの構築』の中でも、バーゼル条約に基づく廃棄物を輸出入する際に必須とする一連の手続きを、リサイクル可能な資源の国際貿易の障害と見なし、「バーゼル条約の面倒な手続き」を覆すための戦略として、二国間自由貿易協定が位置づけられている。

 BANでは、新しく発足したフィリピンのNGO連合、Magkaisa Junk JPEPA(JPEPAの発効を阻止する連合)と共に8日、フィリピンの上院議会へ、1)JPEPAから廃棄物貿易自由化を推進する条項を全面的に削除すること、2)日本とフィリピンのバーゼル条約修正条項(注)を早期に批准すること、など5項目の報告書を提出した。

 Magkaisa Junk JPEPAは、「JPEPAはフィリピンを『ごみ共和国』に変えてしまう可能性がある」と懸念しているが、そのような事態が起こらないようにしなければならない。

(注)バーゼル条約修正条項…1995年に国際社会の合意の下、決定した先進国から発展途上国への有害廃棄物輸出の全面的禁止条項




นี่คือ ดีเทลล์ของ Jpapa ที่ญี่ปุ่นทำกับฟิลิปปินโดยเป็นแบบเดียวกับไทยคือ มีจุดประสงค์ที่จะขนขยะพิษ ไปทิ้งในประเทส ด้อยพัฒนา




โดยส่วนตัวของผม ผมคิดเสมอว่าการรับเอาสิ่งดีๆ จากประเทศอื่นๆเข้ามา
เพื่อพัฒนาความคิด เป็นเรื่องที่ดี และผมได้อะไรมากมาย จากคำว่าญี่ปุ่น
อย่างน้อยที่สุด ผมก็ปลิ้มใจที่พวกเค้าคือตัวแทน เอเชียไปแข่งบอลโลก
ในปี 2010

แต่ยิ่งศึกษา ยิ่งได้คำว่า "อย่าไปโง่กว่าเค้า " กลับมาด้วย
ตอนนี้ประเทศอย่าง ไทยรวมทั้งฟิลิปปิน ต่างกระดิกนิ้วตามที่ญี่ปุ่นเสนอ
ลองไปดูที่ฟิลิปปินครับ รถเมย์เก่าๆญี่ปุ่นวิ่งกันเต็มไปหมด เพราะอะไร
นั่นคือขยะที่ยังสามารถวิ่งได้ของญี่ปุ่นครับ ด้วยสภาพพวกเค้าจะต้องทำลายทิ้ง
และกลายเป็นขยะ แต่การเอาไปขายให้ฟิลิปปิน เป็นการกำจัดขยะที่ได้เงิน
ของญี่ปุ่น มองในแง่ดี อาจเป็นการรีไซด์เคิล แต่ญี่ปุ่นนั้นได้กำไล
ทุกแง่ทุกมุม

โครงการนี้ก็ไม่ต่างกัน แต่มันโง่กว่า ฟิลิปปิน ด้วยที่เลือกที่จะเอาเงินจากเค้า
เพื่อให้ประเทศเป็นที่ทิ้งขยะพิษที่ญี่ปุ่นไม่สามารถทำลายได้....

ผมสงสารประเทศไทยครับ อยากเหลือเกินที่จะทำอะไรก็ตามที่สามารถช่วยประเทศ
ของเราได้ ..

ตอนนี้คนเก่งๆ ต่างเลือกที่จะย้ายออกไปทำงานและใช้ชีวิตที่ประเทศที่เจริญกว่า
และผมเชื่อเหลือเกินครับว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่เน่าเหม็น หากคน
ไม่คิดถึงประเทศ ก่อนที่จะคิดถึงตัวเอง








เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2549 กระทรวงการต่างประเทศได้ออกมายืนยันว่า "ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น" (หรือที่คุ้นกันในชื่อ FTA ไทย-ญี่ปุ่น) ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อลงนามในขณะนี้ มีข้อตกลงยกเว้นภาษีขยะพิษหลายชนิดจากญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้ญี่ปุ่นนำขยะพิษมาทิ้งในไทยได้อย่างถูกกฎหมาย

ปัจจุบันประเทศไทยเองกำลังประสบปัญหาอย่างมากกับการจัดการขยะพิษที่เกิดในประเทศ มีการลักลอบทิ้งขยะพิษเกิดขึ้นหลายกรณีและไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ และยังมีขยะพิษที่ต่างประเทศลักลอบนำมาทิ้งจำนวนมาก ดังเช่นที่เป็นข่าวเมื่อปี 2546 กรณีที่อังกฤษนำขยะพิษมาทิ้งที่ท่าเรือคลองเตย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ส่งขยะพิษมาไทยมากอยู่แล้ว โดยปี 2549 ญี่ปุ่นส่งมากว่า 442,553 ตัน ซึ่งคิดเป็นเกือบ 100% ของปริมาณนำเข้าทั้งหมดจาก 8 ประเทศ ลองคิดดูว่าหากมีการเปิดเสรีการค้าขยะพิษใน FTAไทย-ญี่ปุ่นแล้ว ขยะพิษเหล่านี้จะทะลักเข้ามาในไทยอีกกี่เท่าตัว

ไทยและญี่ปุ่นได้ลงนามในอนุสัญญาบาเซล ซึ่งบังคับใช้กฎหมายในระดับสากลเพื่อยับยั้งการส่งออกสารเคมีเป็นพิษจากประเทศอุตสาหกรรมไปยังประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตามทั้งสองประเทศยังไม่ให้สัตยาบันต่อข้อห้ามบาเซล ซึ่งเป็นบทแก้ไขในตัวอนุสัญญาที่ไม่อนุญาตแม้แต่การค้าขยะพิษที่แอบแฝงมาในรูปของการรีไซเคิล

คุณคือพลังสำคัญที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ประเทศไทยกลายเป็นถังขยะญี่ปุ่นได้



ร่วมเรียกร้องและแสดงความคิดเห็นได้ที่นี่


//202.44.55.51/petition_org/fta/







ไม่เข้าใจว่าถ้าเป็นขยะพิษ หรือของเสีย จะยกเว้นภาษีทำไม ที่จริงต้องเก็บภาษีให้หนักๆด้วยซ้ำไป เพราะต้องเป็นภาระในการกำจัดอีก มีค่าใช้จ่ายมหาศาล ถ้าให้นำเข้าต้องเก็บภาษี1,000,000 %ไปเลย แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการให้นำเข้าขยะอันตรายเป็นอย่างยิ่ง

wicha



การกระทำอย่างนี้ทำให้เห็นว่ารัฐบาลไทยเห็นแต่ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงนามในสนธิสัญญานี้ จึงทำให้มองข้ามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ ในปัจจุบันประเทศไทยได้รับผลกระทบจากไอเสียและมลพิษมากมาย เห็นได้ชัดจากอากาศที่อุณหภูมิมีอัตราสูงขึ้นทุกปี ดังนั้นท่านควรพิจารณาในกรณีนี้ด้วย

ธมลวรรณ เหลือจันทร์



ถ้าไม่นึกถึงใคร ก็นึกถึงลูกหลานคนไทยที่ต้องเสี่ยงกับสารอันตรายเหล่านี้เถอะค่ะ เงินทองใช้ไปก็หาใหม่ได้ แต่สุขภาพคนไทยมีแค่ชีวิตเดียวนะคะ


มัสลิน ดาวเรือง






อีกหลายๆคนครับ ที่มีความคิดดีๆ ลองคลิกไปดูครับ









กรุงเทพ, ประเทศไทย — อาสาสมัครกรีนพีซ บุกสถานทูตญี่ปุ่น พร้อมกางป้ายผ้ามีข้อความว่า “ประเทศไทยไม่ใช่ถังขยะของญี่ปุ่น” เพื่อประท้วงข้อตกลงยกเลิกภาษีขยะพิษจากญี่ปุ่นในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ซึ่งจะอนุญาตให้ญี่ปุ่นส่งขยะพิษเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นนำข้อตกลงยกเลิกภาษีขยะพิษทั้งหมดออกจาก JTEPA โดยเร็ว รวมทั้งเรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติปฏิเสธการให้สัตยาบันต่อ JTEPA

กิตติคุณ กิตติอร่าม ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ความตกลงนี้นับว่าเป็นการค้าขยะพิษที่เลวร้ายที่สุด เพราะจะเป็นการเปิดประตูให้ญี่ปุ่นนำขยะพิษมาทิ้งในประเทศไทย การ ส่งออกขยะอันตรายของญี่ปุ่นไม่ว่าจะส่งเพื่อมากำจัด หรือแอบแฝงมาในรูปของการรีไซเคิลเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ดังนั้นข้อตกลงที่เกี่ยวกับการยกเลิกขยะพิษที่ระบุใน JTEPA ต้องถูกนำออกไปให้หมด

เมื่อ เร็วๆนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ออกมายืนยันว่าในความตกลงการค้าเสรีดังกล่าว มีการยกเลิกภาษีนำเข้าขยะพิษจากประเทศญี่ปุ่นอยู่ด้วย ซึ่งขยะพิษเหล่านี้ ประกอบด้วย ขี้แร่และเถ้าอื่นๆ เถ้าและกากที่ได้จากการเผาขยะเทศบาล ขยะผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากอุตสาหกรรมเคมีหรือจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกัน ขยะเทศบาล ตะกอนจากน้ำเสียของเสียอื่นๆ

กิตติคุณ กล่าวว่า คณะเจรจาฯของไทยทำให้เห็นเหมือนกับว่า ประเทศไทยหมดหนทางในการต่อรองขยายการค้ากับญี่ปุ่น จนต้องเสนอให้ประเทศไทยเป็นถังขยะของญี่ปุ่น ซึ่งความตกลงที่ลำเอียงเช่นนี้ไร้ซึ่งศักดิ์ศรีและเหตุผล รัฐบาลต้องตรวจสอบแรงจูงใจของคณะเจรจาฯ ในการสร้างข้อตกลงที่ไร้ซึ่งความสำนึก ซึ่งจะเร่งให้วิกฤติขยะในประเทศที่ไม่สามารถจัดการได้ เลวร้ายลงไปอีก

ข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษแสดงให้เห็นว่า ในปี 2547 ประเทศไทยมีปริมาณของเสียอันตรายจากอุตสาหกรรม 1.405 ล้านตันซึ่งถูกส่งเข้ากำจัดเพียงร้อยละ 50 และของเสียอันตรายจากชุมชน 0.403 ล้านตันซึ่งซ:ซ:ววกววซส่วน ใหญ่มีการจัดการที่ไม่เหมาะสม ทำให้มีการลักลอบทิ้งขยะพิษเกิดขึ้นหลายกรณี นอกจากนี้ ประเทศไทยก็เป็นแหล่งทิ้งขยะจากประเทศพัฒนาแล้วรวมทั้งญี่ปุ่นอยู่แล้ว ข้อตกลงด้านขยะพิษใน JTEPA จะเร่งให้ปัญหาขยะพิษในประเทศไทยวิกฤตยิ่งกว่าเดิม

ประเทศ ไทยและญี่ปุ่นต่างก็เป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาบาเซล ซึ่งเกิดขึ้นจากความพยายามแก้ไขปัญหาการนำขยะพิษจากประเทศพัฒนาแล้วมาทิ้งใน ประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตามอนุสัญญาบาเซลก็ยังมีช่องโหว่อยู่ ที่อนุญาตให้สามารถนำเข้าขยะพิษเพื่อการรีไซเคิลได้ จึงได้มีการพยายามแก้ไขอนุสัญญาขึ้นมาเรียกว่า ข้อห้ามบาเซล ซึ่งไม่อนุญาตการส่งออกและนำเข้าขยะอันตรายแม้เพื่อการรีไซเคิล

กิตติคุณ กล่าวเสริมว่า ประเทศไทยต้องให้สัตยาบันต่อข้อห้ามบาเซล เพื่อป้องกันตนเองจากการพยายามทำให้การทิ้งขยะพิษในราชอาณาจักรไทย กลายเป็นสิ่งถูกต้องตามกฎหมาย ผ่านทางความตกลง JTEPA กรีนพีซเรียกร้องให้ญี่ปุ่นหันมาจัดการกับขยะพิษภายในประเทศตนเอง แทนการพยายามนำขยะพิษมาทิ้งยังประเทศกำลังพัฒนา



กรีนพีซเป็นองค์กรรณรงค์อิสระ เผชิญหน้าอย่างสร้างสรรค์และด้วยสันติวิธี เพื่อเปิดโปงปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลก และนำเสนอแนวทางแก้ไข ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่ออนาคตของสิ่งแวดล้อม และสันติภาพของ










****************








เซ็น JTEPA ส่อเค้าไม่รื่น เอ็นจีโอปลาดิบโดดร่วมวง เตือนไทยระวังเป็นแหล่งทิ้งขยะพิษแหล่งใหญ่ ซ้ำรอยเขตชนบทญี่ปุ่น เดินหน้าเตรียมถวายฎีกาในหลวง หวั่นกระทบความสัมพันธ์ ด้าน 11 องค์กรดีเดย์ 9 มี.ค.นัดหารือเตรียมเคลื่อนไหวชะลอลงนาม ขณะที่บัวแก้วเผยทำความเข้าใจกับญี่ปุ่นแล้วในสองประเด็นข้อกังวล พาณิชย์ตั้งท่าเตรียมจัดแมตชิ่งเอกชนไทย-ญี่ปุ่นใช้ประโยชน์JTEPA

จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันที่ 20 ก.พ.2550 ได้เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งให้ฝ่ายญี่ปุ่นทราบว่าฝ่ายไทยพร้อมที่จะลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) โดยให้ทั้งสองฝ่ายทำความเข้าใจใน 2 ประเด็นให้มีความชัดเจนเพื่อลดข้อกังวลของฝ่ายไทยคือเรื่องขยะของเสียอันตราย และสิทธิบัตรจุลชีพ หากได้ข้อสรุปแล้วให้แจ้ง ครม.รับทราบ ต่อมติดังกล่าวได้รับเสียงสนับสนุนจากภาคธุรกิจในวงกว้างเนื่องจากมองว่าจะเป็นประโยชน์ทางด้านการค้า การลงทุนของไทย ขณะที่อีกด้านหนึ่งได้รับเสียงคัดค้านจากภาคประชาชนที่มองว่า มติ ครม.รวบรัด เร่งรีบเกินไป และนำมาซึ่งความไม่รอบคอบของข้อตกลง โดยให้น้ำหนักกับผลกระทบด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และฐานทรัพยากรของไทย

นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ แกนนำกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน(เอฟทีเอ ว็อทช์) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้กระแสคัดค้านได้ขยายวงถึงต่างประเทศแล้ว โดยล่าสุดในการประชุมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ประเทศเคนยาช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา สมาชิกของกลุ่มเอฟทีเอ ว็อทช์ ซึ่งได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมด้วยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มโนมินเทิร์น (กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีเครือข่ายกว้างขวางในญี่ปุ่น) ทางกลุ่มโนมินเทิร์น ซึ่งได้ติดตามการเจรจา JTEPA มาโดยตลอด ระบุว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่โรงงานอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นจะส่งขยะพิษมากำจัด หรือส่งมาทิ้งในไทย เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในเขตชนบทของญี่ปุ่น เนื่องจากเวลานี้ขยะอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นมีจำนวนมหาศาล และมีโรงงานกำจัดไม่เพียงพอ

"ทางเอ็นจีโอของญี่ปุ่นเกรงว่าไทยจะเจอเหมือนที่เขาเคยพบมา ทั้งการผ่องถ่ายขยะพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมมาทิ้งในไทย การมาตั้งโรงงานรีไซเคิลขยะเพื่อประโยชน์ทางด้านธุรกิจ ต่อเรื่องดังกล่าวทางกลุ่มอนุรักษ์ของญี่ปุ่นยังได้เตรียมยื่นถวายฎีกาต่อในหลวงในเร็วๆ นี้ โดยนัยของจดหมายจะชี้ให้เห็นถึงปัญหาผลกระทบของข้อตกลงเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องขยะพิษ และยืนยันประชาชนชาวญี่ปุ่นไม่ปรารถนาที่จะส่งขยะมาทิ้งในประเทศเพื่อนบ้านเพราะเกรงจะเสียความสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาชน"
นายวิฑูรย์ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบร่างข้อตกลงพบยังมีข้อบกพร่องอีกมาก ในวันที่ 9 มี.ค.นี้ ทางกลุ่มจะหารือร่วมกับเครือข่ายองค์กรภาคประชาชนอีก 11 องค์กร เพื่อกำหนดท่าทีว่าจะเคลื่อนไหวคัดค้านการลงนามในเดือนเมษายนนี้อย่างไร และยังได้เตรียมหาทนายเพื่อยื่นเรื่องต่อศาลปกครองเพื่อมีคำสั่งให้รัฐบาลระงับการลงนามออกไปก่อน นอกจากนี้ทางกลุ่มได้เตรียมจัดพิมพ์หนังสือปกดำเพื่อเผยแพร่ร่างความตกลงพร้อมบทวิเคราะห์ผลกระทบในบริบทที่มีความบกพร่อง คาดว่าจะพิมพ์เป็นหลักหมื่นเล่ม ส่งให้กับคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สื่อมวลชน และเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน เพื่อให้รับทราบข้อเท็จจริงและมีการแก้ไขร่างข้อตกลงก่อนลงนาม

แหล่งข่าวจากสำนักงานเจรจา JTEPA กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการหารือเพื่อทำความเข้าใจในประเด็นเรื่องขยะของเสียอันตราย และสิทธิบัตรจุลชีพซึ่งเป็นข้อกังวลของฝ่ายไทยว่า ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ดร.วีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศได้นำคณะเดินทางไปญี่ปุ่น โดยได้หารือกับกรมเศรษฐกิจของญี่ปุ่นถึงข้อกังวลดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้ข้อสรุปที่เข้าใจตรงกัน โดยประเด็นเรื่องขยะของเสียอันตราย แม้ตามพันธกรณี กาก หรือของเสียจะปรากฏอยู่ในตารางลดภาษี แต่ไทยก็มีกฎหมายควบคุมการนำเข้าอยู่แล้ว และไม่มีข้อบทใดในข้อตกลงที่บังคับให้ไทยต้องยอมรับหรืออนุญาตหรือส่งเสริมให้ญี่ปุ่นส่งขยะเข้ามาทิ้งในไทย

ส่วนประเด็นสิทธิบัตรจุลชีพ ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า จุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติถือเป็นสิ่งต้องห้ามออกสิทธิบัตรภายใต้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522(มาตรา 9) ของไทย แต่ไทยไม่ปฏิเสธคำขอเพื่อพิจารณาว่าจะให้สิทธิบัตรแก่คำขอนั้นหรือไม่ ซึ่งการจะออกหรือไม่ออกสิทธิบัตรต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร

"ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันเหมือนที่เข้าใจกันตั้งแต่ต้น แต่ปัญหาคือจะทำให้ผู้ที่กังวลเข้าใจตรงกันได้หรือไม่ ผลการหารือครั้งนี้จะได้ทำรายงานเสนอครม.ให้รับทราบเพื่อพิจารณาดำเนินการอย่างไรต่อไป"

นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการโครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า ประเด็นขยะของเสียอันตรายในแง่ปฏิบัติแล้วไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง เพราะในข้อตกลงได้ห้ามไทยนำมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร(NTMs)มาใช้กีดกันการนำเข้าสินค้ากาก หรือของเสียอันตราย หากไทยจะใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นมาก(เซฟการ์ด)กับสินค้ากาก หรือของเสียจากญี่ปุ่นต้องมีการไต่สวนภายใต้คณะกรรมการ JTEPA เสียก่อน อีกทั้งนิยามความเสียหายกำหนดไว้แคบมาก โดยต้องเป็นความเสียหายต่อภาคธุรกิจภายใน ขณะที่ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เข้าข่ายความเสียหายรุนแรง ทำให้ไทยไม่สามารถใช้มาตรการเซฟการ์ดกับสินค้ากาก หรือของเสียจากญี่ปุ่นได้

"คณะเจรจาพยายามที่จะจำกัดปัญหาอยู่ใน 2 ประเด็นคือเรื่องขยะของเสียอันตราย และเรื่องสิทธิบัตรจุลชีพ แต่ที่จริงแล้วมีหลายเรื่องมากที่ยังเป็นช่องโหว่ที่อาจส่งผลกระทบต่อสังคมไทยในภายภาคหน้า ซึ่งเราจะทำการตรวจสอบเพื่อตีแผ่ให้สาธารณชนได้รับทราบต่อไป"

ม.ร.ว.จิยาคม กิติยากร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า หากรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้มีการลงนาม JTEPA แล้วทางสำนักงานมีแผนนำคณะนักธุรกิจจากญี่ปุ่นมาร่วมจัดสัมมนา และจับแมตชิ่ง(จับคู่)กับผู้ประกอบการในส่วนภูมิภาคของไทยเพื่อผนึกเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและใช้ประโยชน์จาก JTEPA โดยจะเริ่มจากภาคเหนือเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีสินค้าในพื้นที่ส่วนใหญ่ทำด้วยมือ และเป็นที่ต้องการของตลาดญี่ปุ่น


//www.ftadigest.com/fta/newsUpdate663.html



//www.thaifta.com/trade/garbage.pdf





โดยส่วนตัวของผม ผมคิดเสมอว่าการรับเอาสิ่งดีๆ จากประเทศอื่นๆเข้ามา
เพื่อพัฒนาความคิด เป็นเรื่องที่ดี และผมได้อะไรมากมาย จากคำว่าญี่ปุ่น
อย่างน้อยที่สุด ผมก็ปลิ้มใจที่พวกเค้าคือตัวแทน เอเชียไปแข่งบอลโลก
ในปี 2010

แต่ยิ่งศึกษา ยิ่งได้คำว่า "อย่าไปโง่กว่าเค้า " กลับมาด้วย
ตอนนี้ประเทศอย่าง ไทยรวมทั้งฟิลิปปิน ต่างกระดิกนิ้วตามที่ญี่ปุ่นเสนอ
ลองไปดูที่ฟิลิปปินครับ รถเมย์เก่าๆญี่ปุ่นวิ่งกันเต็มไปหมด เพราะอะไร
นั่นคือขยะที่ยังสามารถวิ่งได้ของญี่ปุ่นครับ ด้วยสภาพพวกเค้าจะต้องทำลายทิ้ง
และกลายเป็นขยะ แต่การเอาไปขายให้ฟิลิปปิน เป็นการกำจัดขยะที่ได้เงิน
ของญี่ปุ่น มองในแง่ดี อาจเป็นการรีไซด์เคิล แต่ญี่ปุ่นนั้นได้กำไล
ทุกแง่ทุกมุม

โครงการนี้ก็ไม่ต่างกัน แต่มันโง่กว่า ฟิลิปปิน ด้วยที่เลือกที่จะเอาเงินจากเค้า
เพื่อให้ประเทศเป็นที่ทิ้งขยะพิษที่ญี่ปุ่นไม่สามารถทำลายได้....

ผมสงสารประเทศไทยครับ อยากเหลือเกินที่จะทำอะไรก็ตามที่สามารถช่วยประเทศ
ของเราได้ ..

ตอนนี้คนเก่งๆ ต่างเลือกที่จะย้ายออกไปทำงานและใช้ชีวิตที่ประเทศที่เจริญกว่า
และผมเชื่อเหลือเกินครับว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่เน่าเหม็น หากคน
ไม่คิดถึงประเทศ ก่อนที่จะคิดถึงตัวเอง



Create Date : 18 พฤษภาคม 2552
Last Update : 18 พฤษภาคม 2552 15:59:33 น. 2 comments
Counter : 898 Pageviews.  
 
 
 
 
อ่านยังไม่จบเดี๋ยวแวะกลับมาอ่านต่อค่ะ ความรู้ ทั้งนั้น
 
 

โดย: เมื่อไหร่ใจก็รอ วันที่: 18 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:35:23 น.  

 
 
 
I don't know
that are u going
to believe me... the story I
told might sound impossible for u,
so I'm not going to tell it... but I just
want you to try it, to feel the same way I felt
and to reconize the miracal that is the Gift form
"GOD".. as he does done to my life and will also to you
if you welcome him in to yours
 
 

โดย: bb IP: 124.120.6.220 วันที่: 24 พฤษภาคม 2552 เวลา:0:31:37 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

Yupin
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สิ่งที่มนุษย์ควรมี นั่นคือ ศีล สมาธิ ปัญญา และ การมีสติ

ผมเชื่อว่า การที่คนเราละอายต่อการทำบาบ ละอายต่อการทำความผิด นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด ประเทศบ้านเมืองไมจำเป็นต้องมีกฏเกณฑ์ อะไรมากมายหากคนเราละอาย และเกรงกลัวต่อการทำบาบ เพราะนั่นทำให้คนเราเกรางกลัวที่จะทำมาจากในใจของตนเอง

การทุจริต โกงกินประเทศชาติ การขับรถโดยไม่สนใจกฏของสังคม และสิ่งต่างๆ สิ่งเลวๆที่เกิดขึ้นนั่นเพราะ คนเมื่อเชื่อในเรื่องบุญบาบ

เราไม่สามารถจะไปควรคุมคนอื่นได้ แต่เราสามารถควบคุมการการทำของตัวเราเองได้

ผมเชื่อว่าคนเราเกิดมาไม่นาน และการมีชีวิตอยู่ในโลก คือโอกาสของการได้กระทำความดี

ทำดี คิดดี คิดให้มีความสุข จิตใจผ่องใส่ นั่นคือสิ่งที่คนเราควรทำ


ผมว่าชีวิตเราอยู่ง่ายๆครับ

1.ไม่ฆ่าสัตว์
2.ไม่ลักทรัพย์
3.ไม่ประพฤติผิดในกาม(แย่งลูกเมียคนอื่น)
4.ไม่พูดปด
5.ไม่ดื่มสุรา

แค่นี้ชีวิตก็อย่สบายและมีสุขแล้ว ผมจะขอเพิ่มอะไรเข้าไปนิดนึงครับ นั่นคือ ลองคิดก่อนเราจะทำอะไรทุกๆอย่าง ว่า
กับสิ่งที่เรากำลังจะทำ ถ้าคนไทยทุกคนทำเหมือนเรา เมืองไทยเราจะเป็นอย่างไร ถ้าลองคิดดูแล้วว่า มันเป็นเรื่องดี จะนำพามาซึ่งความสุขแล้วล่ะก็ ทำไปเถอะ แต่ถ้ามันเป็นทางตรงกันข้าม อย่าทำเลย


บันฑิต บางคนบอกว่า มันคือ คำที่ใช้เรียกคนที่ร่ำเรียนจบ ปริญญาตรี
แต่ในความเป็นจริง ที่เรียก บัณฑิต ได้นั้น คนๆนั้น จะต้องมีความรู้
เพราะ บัณฑิตนั้น แปลว่า ผู้รู้

แล้วรู้อะไร..
รู้ว่าสิ่งใหนควร สิ่งใหนไม่ควร
สิ่งใหนถูก สิ่งใหนผิด
สิ่งใหนควรทำ สิ่งใหนไม่ควรทำ และ ควรทำเวลาใด
และที่สำคัญที่สุด บัณฑิตต้องรู้จักกาล รู้จักบุคคล รู้จักสถานที่


รู้จักกาล คือ รู้ว่าเวลาใหน ตอนใหน ควรทำอย่างไร วางตัวเช่นไร จึงจะเหมาะสม

รู้จักบุลคล คือ รู้ว่ากับบุลคลเช่นนี้ เราควรปฏิบัติตนกับเค้าอย่างไร ควรทำอย่างไร วางตัวเช่นไร จึงจะเหมาะสม

รู้จักสถานที่ คือ อยู่ ณ ที่แห่งนี้ เราควรทำอะไร ควรทำอย่างไร วางตัวเช่นไร จึงจะเหมาะสม

อะไรดี อะไรเลวง่ายๆ แค่ลองคิดดูว่า หากทุกคนทำแบบที่เรากำลังจะทำ มันจะเป็นอย่างไร ถ้าเกิดว่าหลังตาแล้วเห็นแต่ความวิบัติ นั่นล่ะ เค้าเรียกว่า สิ่งเลว แต่หากเห็นแต่ สิ่งดีสิ่งงาม นั่นล่ะ คือ สิ่งดีที่เรา ควรจะทำ


ทำเลว แม้ไม่มีคนเห็น มันก็เป็นสิ่งเลววันยังค่ำนั่นล่ะ

**********************************
Blue(11) ---> คนไทยที่รักในฟุตบอลของตัวเอง เพื่อกนาคตของพวกเราเอง
************************************
Red ---> คนไทยที่เป็นทาสบอลนอก
************************************
Yellow ball ---> โอกาสของไทย กับคำว่า "ฟุตบอลโลก"
************************************
Blue (17) ---> Mr.Chuwit !!!
************************************









S! Radio
เต้นรำระบำยอดหญ้า
เพลง สายเกินไป
ศิลปิน ริบบิ้น&ใหม่
อัลบั้ม เต้นรำระบำยอดหญ้า
ดูเนื้อเพลงคัดลอกโค้ดเพลงนี้
[Add Yupin's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com