Nonplay .. บันทึก ความเรียง เรื่องของ หนังสือ ศิลปะ ดนตรี กับข้าว ธรรมะ ฯลฯ

 
กรกฏาคม 2549
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 กรกฏาคม 2549
 

ดูซ้อมใหญ่กาชาดคอนเสิร์ตครั้งที่ 34 ได้ฟัง Piano Concerto No.3 สมใจ (2)

หน้าแรก ชายลังเล Webblog --> ดัชนี "แว่วเสียงดนตรี"



ย้อนกลับมาที่เปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 3 ของเบโธเฟ่นหน่อย อ่าน Piano Concerto No. 3 /5 เบโธเฟ่น ส่วนนี้ขอพูดถึงการแสดงสดวันนั้นมากกว่า

การแสดงซ้อมใหญ่ในวันที่ 17 ก็เหมือนกับการแสดงจริงทุกประการ เริ่มต้นเพลงแรก เป็นเพลงคลาสสิก 1 ท่อน ชื่อเพลง Diamond Jubilee หรือ มหามงคลพัชราภิเษกสมัย ซึ่งประพันธ์และอำนวยเพลงโดย พลเรือตรี หม่อมหลวง อัศนี ปราโมช เป็นเพลงที่ผสมผสานระหว่างความยิ่งใหญ่ อลังกาของซิมโฟนี รวมกับความอ่อนช้อยนุ่มนวลของท่วงทำนองแบบไทย ดนตรีจึงออกมาในรูปแบบของ Tone Poem คือ เป็นดนตรีในศตวรรษที่ 20 ที่มีลักษณะของดนตรีเล่าเรื่องราว จะให้ผมเล่าก็คงจะเดาใจผู้ประพันธ์ไม่ถูกว่าท่านสื่อหรือซ่อนอะไรไว้ในเสียงดนตรีนั้นบ้าง แต่ว่าถ้าให้มองเห็นภาพคือเป็นความยิ่งใหญ่ เต็มไปด้วยเรื่องราว ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องราวของการเฉลิมฉลองมหามงคล เอาเป็นว่าดนตรีชิ้นนี้ ถ้าหากนำไปประกอบกับวีดีทัศน์ที่ทำออกมาลงตัวแล้ว มันอาจจะเรียกน้ำตาแห่งความปลื้มปิติยินดีในสมัยการครองราชย์ 60 ปีทีเดียว นับได้ว่าผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ออกมาอย่างสมบูรณ์ มีทั้งตอนที่แสดงความยิ่งใหญ่ โดยการประโคมของวงออร์เคสตร้า


ภาพนาวาตรี พฤทธิธร สุมิตร ผู้เดี่ยวเปียโน และวงดุริยางค์ราชนาวี

หลังจากนั้นจึงถึงคราวของ piano concerto no.3 วงดุริยางค์ราชนาวีคราวนี้เป็นวงใหญ่เต็มวงทีเดียว เปียโนที่นำมาใช้แสดงนั้นเป็นเปียโนตัวใหญ่ Grand concert piano โดยมี นาวาตรี พฤทธิธร สุมิตร เป็นผู้เดี่ยวเปียโน และมี นาวาเอก ณรงค์ แสงบุศย์ เป็นวาทยกร

ด้วยความที่ได้ที่นั่งดี ถือเป็นโอกาสอันดีของผมที่จะได้ฟังอรรถรสของดนตรีในครั้งนี้ ออร์เคสตร้าเริ่มต้นนั้นบอกได้ว่า คงไม่ผิดหวังกับคอนแชร์โต้วันนี้แน่ แล้วก็เป็นไปตามคาดครับ เป็นหนึ่งในการชมการแสดงคอนเสิร์ตเพลงคลาสสิกสดๆของผมที่รู้สึกประทับใจเลยทีเดียว เมื่อเปียโนเริ่มมีบทบาทนั้น เสียงออกจะบางไปบ้าง แต่พอผ่านไปสัก 1-2 นาที ผมรู้สึกว่า เปียโนเสียงเข้ากันได้กับวงออร์เคสตร้า และวิธีการบรรเลงของผู้บรรเลงคือ นาวาตรี พฤทธิธร สุมิตร นั้น ผมดูไปก็นั่งนึกในใจว่า จบคอนแชร์โตบทนี้ คงได้ฟังเสียงปรบมืออันยาวนานแน่นอน (แม้ว่าจะเป็นการซ้อมใหญ่ แต่คนชมนั้นเต็มหอประชุมใหญ่ครับ)

ตอนปลายท่อนที่ 1 ไปจนถึงจบท่อนที่ 2 นั้น เบโธเฟ่นเขียนให้เปียโนได้แสดงบทบาทอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการพรมนิ้วระรัวให้เสียงพลิ้วสุดๆ ในจังหวะเร็ว หรือผ่อนจังหวะช้าๆ เนิบ แต่รายละเอียดชัดเจนทุกตัวโน๊ต ลักษณะการบรรเลงที่เต็มไปด้วยอารมณ์ที่เรียกดนตรีแบบเบโธเฟ่นว่า “คีตกวียุคโรแมนติก” นั้นมีครบในเพลงนี้ เสียงเปียโนที่ผมได้ยินในคืนนั้น เต็มไปด้วยอารมณ์ อีกทั้งผู้บรรเลงเองก็ปล่อยอารมณ์ไปกับการบรรเลงของตนเองให้ “อิน” กับการบรรเลงเปียโนอย่างเต็มที่

ผมสังเกตคนฟัง ตั้งแต่ปลายท่อนที่ 1 ไปจนจบท่อนที่ 2 นั้น เหมือนโดนสะกดด้วยเสียงเปียโน ให้นิ่งงันเลยทีเดียว ทั้งหอประชุมเงียบกริบ

ผลลัพธ์คือ เสียงปรบมือยาวนาน เมื่อคอนแชร์โต้บทนี้จบลง เป็นไปตามคาดการณ์ของผม ทำให้ผมรู้สึกชื่นชมกับวงดุริยางค์ราชนาวีจริงครับ คาดว่าคงฝึกซ้อมมามากพอสมควร ทั้งนี้คงต้องยกความดีให้กับวาทยกร เพราะกำกับวงได้ห้วงจังหวะดนตรีที่พอเหมาะพอดีเหลือเกินเหมือนจะให้ผู้ฟังได้ฟังกันอย่างเต็มที่เลยว่า เปียโนคอนแชร์โต้บทนี้นั้น มีความไพเราะอย่างไร ส่วนผู้แสดงเดี่ยวเปียโนนั้นก็นำคนฟังเข้าสู่อรรถรสของเบโธเฟ่นที่แท้จริง
หลังจากนั้นก็เป็นช่วงพักครึ่งแรก ก่อนจะเป็นการแสดงช่วงที่ 2 ซึ่งมีทั้ง เพลงพระราชนิพนธ์ เพลงร่วมสมัย เพลงของทหารเรือ ที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า ซึ่งก็ให้อรรถรสในการชมที่ดีครับ


Create Date : 18 กรกฎาคม 2549
Last Update : 20 กรกฎาคม 2549 9:56:46 น. 1 comments
Counter : 1079 Pageviews.  
 
 
 
 
ตึ่ง ตึง ตึ๊ง ตะดึง ตึง ตึง ตึ่งตึง ตึ่งตึง

จะเข้าใจมั้ยเนี่ย
 
 

โดย: Genzo (Genzo ) วันที่: 2 สิงหาคม 2549 เวลา:0:06:40 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ยามครับ
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ยามครับ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com