Nonplay .. บันทึก ความเรียง เรื่องของ หนังสือ ศิลปะ ดนตรี กับข้าว ธรรมะ ฯลฯ

 
กรกฏาคม 2549
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
7 กรกฏาคม 2549
 

คุณค่าเพลงพระราชนิพนธ์

หน้าแรก ชายลังเล Webblog --> ดัชนี "แว่วเสียงดนตรี"



[30 มิถุนายน 2006]
เย็นวันหนึ่งที่ห้องสมุดมารวย ผมกำลังนั่งอ่านหนังสือ Mozart Effect For Children ที่เขียนโดย Don Campbell อยู่ ขณะอ่านหนังสือนั้น ก็แว่วเสียงเพลงพระราชนิพนธ์ “ยามเย็น” ออกมาจากลำโพงที่ติดตั้งไว้บนฝ้าเพดาน น่าชมเชยว่าเขาควบคุมระดับเสียงได้พอดี ไม่รบกวนสมาธิ แล้วเสียงที่ได้ยินก็ไม่ขี้เหร่จนเกินไป พูดได้ว่า หลับตาฟังเงียบๆ นี่พอได้จินตนาการทีเดียว นอกจากนี้ บทเพลงที่ผมฟังนั้น น่าจะถูกนำมาเรียบเรียงใหม่ให้มีลักษณะของเพลงคลาสสิกที่ใช้กีตาร์บรรเลง ฟังเสียงกีตาร์ใสๆ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย สบายใจจริงๆ

ห้วงระยะเวลาสามสี่เดือนที่ผ่านมา ผมได้ฟังเพลงพระราชนิพนธ์ที่ถูกศิลปินต่างๆนำไปตีความ และเรียบเรียงในแนวต่างๆ ค่อนข้างจะหลายเพลง หลักๆน่าจะเป็นแจ๊สและคลาสสิก สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ห้างสรรพสินค้า โรงแรมบางแห่ง นำเพลงพระราชนิพนธ์มาเปิดเคล้าคลอบรรยากาศทั้งวัน บางเพลงผมไม่เคยฟังมาก่อนด้วยซ้ำ แต่ฟังแล้วให้นึกว่า ถ้ามีโอกาส (และยังมีแผ่นขาย)จะต้องไปหาแผ่นซีดีเพลงนั้นมาไว้ฟังให้ได้ เพราะว่ามันไพเราะเหลือเกินครับ

จนกระทั่งในวันที่ผมฟังที่ห้องสมุดมารวยนั้นเอง ทำให้ผมตระหนักว่า นอกจากเพลงคลาสสิกที่ประพันธ์โดยคีตกวีดังๆ ที่มีผลการวิจัยมารองรับว่า ดนตรีเหล่านั้นมีคุณค่าต่อจิตใจมนุษย์ มี “อรรถประโยชน์” แห่งดนตรีแล้ว เพลงพระราชนิพนธ์นี้เองที่ทรงคุณค่าปานกัน ไม่ว่าเพลงพระราชนิพนธ์นั้นจะถูกนำไปเรียบเรียงใหม่เป็นแจ๊ซ หรือคลาสสิก (หึหึ ดูเหมือนผมชักเป็นพวกฟังเอาจริงเอาจังเกินไปนะ-ตอนหลังมีงานวิจัยเกี่ยวกับคุณค่าของดนตรีหลายชิ้น ผมก็ตามอ่านไปเรื่อยๆ มันมีผลกระทบต่อความคิดเหมือนกัน-- You are what you read )

เพลงพระราชนิพนธ์นำไปเรียบเรียงเป็นแจ๊ซหรือคลาสสิก?? นานมาแล้วที่ผมเคยเข้าใจว่า เพลงพระราชนิพนธ์ต้องเป็นแจ๊ซเท่านั้น เพราะในหลวงท่านทรงโปรดดนตรีแจ๊ซ แต่เร็วๆนี้ ผมได้อ่านนิตยสารเล่มหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ถ้ามองในมุมของศิลปิน ในหลวงท่านทรงเป็นศิลปินที่ลึกซึ้งทั้งแจ๊สและคลาสสิก ดูเหมือนว่าเพลงพระราชนิพนธ์ จะ “เปิดกว้าง” ต่อการตีความ ของศิลปินผู้บรรเลง ว่าจะตีความเป็นแจ๊ซหรือคลาสสิก .. ผมเคยฟังแบบไพเราะทั้งสองเวอร์ชัน ในเพลงเดียวกัน เช่น เพลง “ยามเย็น” เคยฟังแบบแจ๊ซ และเคยฟังแบบเปียโนคลาสสิก (แต่ผมไม่มีแผ่นซีดี)

พูดถึงในที่สุดแล้ว ถ้ามองในคุณค่าของงานดนตรี เพลงพระราชนิพนธ์ นั้น เป็นดนตรีที่ให้ความรื่นรมย์ในเบื้องต้น กล่อมเกลาหัวใจให้เกิดความละเมียดละมัย มีสุนทรียภาพ เป็นคุณค่าของดนตรีบริสุทธิ์ ศิลปะบริสุทธ์ แบบที่คีตกวีสมัยก่อนสร้างผลงาน ยิ่งผลงานเพลงพระราชนิพนธ์ได้รับการตีความ การบรรเลงโดยศิลปินระดับโลกมากเท่าไร ก็ยิ่งเหมือนเพชรที่ถูกเจียรนัยให้เห็นเหลี่ยมมุมที่วาววับจับตาเท่านั้น ไม่เชื่อลองหาผลงานที่บรรเลงโดยศิลปินระดับโลกมาฟังเถอะครับ บางเพลงฟังแล้วไปไหนไม่รอดเลย ตาย ตายกันตรงนั้น มันไพเราะเพราะพริ้งเหลือจะเอ่ย อย่างเพลงนี้

//www.supremeartist.org/thai/music/song/sound/falling6.html[

ผมได้มีโอกาสอ่านพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไม่น้อย ดูเหมือนว่าสิ่งหนึ่งที่ในหลวงทรงตระหนักและต้องการให้คนไทยทุกคนได้สัมผัสนั้นคือ “คุณค่าของดนตรี” แม้ว่าพระองค์จะไม่เคยบอกเลยว่า ต้องฟังเพลงพระราชนิพนธ์ แต่ที่สุด จากการฟังเพลงมานานพอสมควร ผมกลับตระหนักว่า นี่แหละคุณค่าของดนตรีที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง เพียงแต่ว่าต้องหาเวอร์ชันที่ชอบที่สุดไว้ฟังเท่านั้นเอง

ดูแล้ว ผมนี่อาจจะไม่ฉลาดนัก คือ กว่าจะลึกซึ้งถึงเพลงพระราชนิพนธ์ ก็ต้องใช้เวลาตั้งหลายปี (ในมุมของคนฟังเพลง) แต่ที่พูดนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าลึกซึ้งทั้งหมดนะครับ ผมเริ่มจะเข้าใจรสลึกล้ำของบทเพลงเท่านั้นเอง ก็เหมือนกับเพลงคลาสสิกอื่นๆ ที่การฟังผ่านหูอาจจะไม่ได้อะไร แต่พอฟังอย่างจริงจัง (Serious Listening) กลับพบว่า มันแฝงด้วยอะไรต่ออะไรมากมาย ฟังกี่รอบก็ไม่เบื่อ

ถ้าเป็นบทความแบบซีเรียส คงต้องทิ้งท้ายว่า - ในหลวงไม่เพียงแต่ทรงชี้ให้คนไทยเห็นถึงคุณค่าแห่งดนตรี แต่พระองค์ทรงพระราชทานดนตรีไว้ให้คนไทยได้ฟังกันไม่น้อยเลย.. และการฟังนั้น ก็มิใช่อื่นใด แต่เป็นไปเพื่อให้ได้ประโยชน์จากดนตรี—ซึ่งไม่สามารถจะหาจากอะไรมาทดแทนได้ .. เพลงพระราชนิพนธ์นั้นเป็นดนตรีบริสุทธิ์ (Art for art ‘s sake) ซึ่งเป็นอาหารของโสตประสาทและจินตนาการ ให้มนุษย์เห็นคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ คุณค่าของความเป็นคน ซึ่งเป็นผลสะท้อนจากการเสพย์งานศิลปะ –

จะว่าไปแล้ว การที่สถานที่สาธารณะต่างๆ พากันเปิดเพลงพระราชนิพนธ์นี้ก็ดีอย่างนะครับ ทำให้คนไทยได้คุ้นเคยกับเพลงพระราชนิพนธ์มากขึ้น ส่วนการจะส่งผลกระทบต่อจิตใจ หรือได้ประโยชน์จากดนตรีที่ฟังขนาดไหน นั้นเป็นรสนิยม เป็นเรื่องของแต่ละคน .. การเสพย์งานศิลปะก็เป็นเช่นนี้แหละครับ ทุกๆคนมีเสรีภาพในการเสพย์ ส่วนการตีความ ผลกระทบต่อชีวิต นั้นเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน




 

Create Date : 07 กรกฎาคม 2549
1 comments
Last Update : 19 กรกฎาคม 2549 8:15:39 น.
Counter : 762 Pageviews.

 
 
 
 
น่าจะเป็น แผ่นของ Hucky Eikerman : Music of H.M. The King of Thailand, Guitar ครับ
 
 

โดย: Genzo (Genzo ) วันที่: 2 สิงหาคม 2549 เวลา:0:24:10 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

ยามครับ
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ยามครับ's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com