Mr.Talon
<<
พฤษภาคม 2561
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
1 พฤษภาคม 2561

ท่องเที่ยวบ้านบาตร เสน่ห์ชุมชนโบราณ



ายลมพัดเย็นโดนใบหน้า อากาศไม่ร้อนมาก การนั่งรถโดยสารไม่มีแอร์ จึงไม่เป็นอุปสรรคในการเดินทางของผมในวันนี้ เพราะอากาศไม่ร้อนมาก พอที่จะใช้ความคิดได้ราบรื่นเพลินๆ ชิวๆ ในการเดินทางมา "ตะลอนตามอำเภอใจ" ย่านชุมชนบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ นะ
  โดย "บาตร" ถือเป็นภาชนะใส่อาหารสำหรับพระภิกษุสามเณร และเป็นของใช้อัฐบริขารของพระสงฆ์ ที่มีความสำคัญอย่างมาก ปัจจุบันมีการผลิตบาตรพระหลายรูปแบบ แต่บาตรที่มีลักษณะตรงตามหลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี 2 ชนิดคือ บาตรดินเผา และบาตรเหล็กรมดำ ซึ่งมีขนาด 7-11 นิ้ว โดยมีบัญญัติห้ามไม่ให้พระภิกษุใช้บาตรที่ทำจากโลหะหรือวัสดุที่มีมูลค่าสูง เช่น ทอง เงิน ทองเหลือง ทองแดง อัญมณี และแก้วผลึกต่างๆ แม้แต่บาตรที่ทำจากดีบุก สังกะสี หรือไม้ ก็ใช้ไม่ได้ ต่อมาจึงอนุโลมให้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลสได้ เพราะสะดวกในการดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย
สำหรับย่านชุมชนบ้านบาตร ที่ผมมีโอกาสมาเยือนครั้งนี้ บางประวัติบอกเล่าต่อๆ กันมาว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์จะให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางอาณาจักร ด้วยเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่มั่งคั่งสมบูรณ์ไม่แพ้กรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านที่อพยพมาจากกรุงเก่าและชาวบางกอกเดิมต่างก็ต้องปรับตัวให้ตนอยู่รอดมากที่สุด ดังนั้นชุมชนเดิมที่รวมกลุ่มเป็นหมู่บ้านแบบเฉพาะถิ่น อาทิ กลุ่มชาวนา กลุ่มพ่อค้า กลุ่มชาวจีน ชาวญวน หรือแม้แต่กลุ่มอาชีพเดิมก็ถูกรื้อฟื้นให้มีขึ้น เช่น ที่ถนนบำรุงเมืองหลังวัดสระเกศ ใกล้กับเมรุปูนมีซอยย่อยที่ตั้งใกล้กันอยู่ยาวทั่วทั้งถนน ในอดีตนั้นถนนแห่งนี้เคยเป็นแหล่งชุมชนคนทำกินที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านได้ตลอดทั้งปี
นอกจากนั้นยังมีคำบอกเล่าว่า ชาวกรุงศรีอยุธยาได้รวมกันมาอยู่ที่ตรอกบ้านบาตรจนกลายเป็นชุมชน ซึ่งผู้มีฐานะมักนิยมสร้างวัด ทำให้มีวัดในกรุงเทพฯ จำนวนมาก และในชุมชนแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านทำบาตรพระ และประกอบอาชีพนี้มานานกว่า 100 ปีแล้ว
ส่วนขั้นตอนการทำบาตร ประกอบด้วยการทำขอบบาตรซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของการทำบาตรพระ เนื่องจากขอบบาตรจะเป็นตัวกำหนดว่าบาตรใบนั้นจะมีขนาดและรูปทรงอย่างไร การประกอบกง ช่างจะตัดแผ่นเหล็กเป็นรูปกากบาท ซึ่งเรียกว่า "กง" จากนั้นจึงดัดงอขึ้นรูปแล้วนำมาติดกับขอบบาตรการแล่น คือการเชื่อมประสานรอยตะเข็บให้เหล็กเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้ผงทองแดงกับน้ำประสานทองทาให้ทั่วบาตรก่อน เพื่อให้น้ำประสานทองเชื่อมโลหะไม่ให้มีรูรั่ว สมัยโบราณใช้เตาแล่นแบบที่ใช้มือสูบลมเร่งไฟ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เครื่องเป่าลมไฟฟ้าแทน
ช่วงสุดท้ายของ "ตะลอนตามอำเภอใจ" นอกจากนี้ช่างจะต้องทำการลาย หรือการออกแบบรูปทรง เป็นการนำบาตรที่แล่นแล้วมาเคาะให้ได้รูปทรงที่ต้องการ จากนั้นต้องนำไป "ตีลาย" บนทั่งไม้ เพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ การสุม หรือระบมบาตร เพื่อป้องกันการเกิดสนิม โดยในสมัยก่อนจะใช้กำมะถันทา และการทำสี อันเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งทำให้บาตรเป็นสีต่างๆ อีกด้วย... !!!
                                                             นายตะลอน



Create Date : 01 พฤษภาคม 2561
Last Update : 1 พฤษภาคม 2561 10:42:49 น. 0 comments
Counter : 902 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ตะลอน ตามอำเภอใจ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add ตะลอน ตามอำเภอใจ's blog to your web]