Allegro con brio || cantanbile : มารู้จักศัพท์ดนตรีพื้นฐานไว้อ่านสนุกกันเต๊อะ
พอดีเรากำลังอ่านหนังสือวิชา music appreciation หรือ สังคีตนิยม เตรียมสอบปลายภาค คิดว่าน่าจะเอาความรู้มาแบ่งปันทุกคน โดยเฉพาะคนที่กำลังอ่านการ์ตูนเรื่อง Nodame Cantabile เพื่อประโยชน์ในการอ่านค่ะ โดยรวบรวมคำที่พบบ่อยๆไม่เฉพาะในการ์ตูน แต่รวมไปถึง การฟังเพลงจริงๆ

การรู้จักศัพท์ดนตรีไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้เรียนดนตรีเท่านั้น หากผู้ฟังก็มีความจำเป็นที่จะต้องทราบศัพท์จำนวนหนึ่งเพื่อให้รู้จักบทเพลง และฟังได้อย่างมีอรรถรสมากขึ้น หากไม่รู้ว่าเริ่มที่หนังสือเล่มไหนก็ขอแนะนำตำราวิชา สังคีตนิยม ของอาจารย์ ณรุทธ์ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ (อาจารย์เราเองเค่อะ) จะได้ข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีที่ศึกษาไม่ยาก เหมาะกับทุกคนค่ะ ไม่เรียนดนตรีก็เข้าใจได้ (เราใช้เล่มนี้กับอีกเล่นของKamien เป็นตำราปะกิดล้วน อยากได้เล่ม full edition สุดๆ ที่เรียนเป็นแค่ brief edition สลด....อยากรู้มากกว่านี้ง่ะ)

เอาล่ะๆ มารู้จักคำศัพท์พื้นฐานกันเลยเด้อ

คำแรกที่ควรจะหาใช่คำอื่นไกล คือคำว่า CANTABILE (คันตาบิเล่) แปลว่า In singing style หรือ ดุจขับขาน เป็นการบรรเลงเพลงราวกับจะร้องเพลง คนไม่คุ้นจะฟังลำบากนิดว่ามันต่างกับอันอื่นอย่างไร การเล่นแบบcantabile จะไหลไปเรื่อยๆ ฟังไปจะคล้ายๆการร้องเพลง โนดาเมะเธอเล่นเปียโนด้นแบบ Cantabile

จิอากิยังเรียกการเล่นของโนดาเมะว่าเป็น Capriccio คือโนดาเมะมักจะแต่งเพลงด้นสดๆที่จะเป็นไปตามอารมณ์ของเธอ เพลงมักจะร่าเริงยิปปี้ไฮย่าสไตล์เจ้าหล่อน ขนาด Pathetique ที่ควรจะสลด เศร้า โศก หล่อนเติมโน่นนี่ improvise อะไรใส่เข้าไปจนกลายเป็นบีโธเฟนเต้นยุกยิกกลางกองขยะไปเลย (สมเป็นเจ้าหล่อนจริง)....เอ่อ ท่อนที่เจ้าหล่อนเล่นน่ะมันควรเป็น grave (กราเว่) เล่นช้า โศก สิฟะ!

ต่อไปขอนำเสนอ Tempo คือ ความเร็วช้าของเพลง ระดับที่ต่างกันเล็กน้อยนั้นต้องอาศัยความคุ้นเคยแยกแยะ แต่ไม่มีการกำหนดตายตัวว่าความเร็วแค่นี้ๆต้องเล่นช้าเร็วแค่ไหน เป็นหน้าที่ของนักดนตรีที่ต้องตีความความหมายของเพลงแล้วเล่นในแบบที่คิดว่าตรงกับเจตนาผู้ประพันธ์ที่สุด เร็วนี่ จะเร็วแค่ไหน ต่างกับ เร็วมากในท่อนต่อไปแค่ไหน หากเป็นการเล่นแบบมีคอนดัคเตอร์ นี่คืองานหนักของคอนดัคเตอร์ซึ่งต้องพิจารณาความหมายและตีความออกมา จากนั้นก็ give direction ก็คือให้แนวทางการเล่นแก่นักดนตรี ให้เขาสื่อความต้องการออกมาให้ตรงที่สุด เห็นจิอากิหน้าเคร่งบ่อยๆ มีหนังสือกองรอบตัว นั่นน่ะเขากำลังศึกษาสกอร์ แล้วเขียนโน้ตไว้ว่า ตรงนี้จะต้องคอนดัคแบบไหน ให้เสียงอย่างไร ในหัวของวาทยากร ต้องมีภาพของเสียงเพลงตามที่ตีความอยู่แล้วงานต่อไปก็คือ ทำอย่างไรแสดงออกมาได้อย่างใจคิด

Tempo ได้แก่

Prestissimo As fast as possible เร็วโคตร โคตรเร็ว เร็วเท่าที่จะเล่น

Presto Very fast เร็วมาก

Vivace Lively เร็ว แบบมีชีวิตชีวา กระฉับกระเฉง

Allegro Fast เร็ว

Allegretto Fairly fast เร็วพอสมควร

Moderato Moderate speed กลางๆ

Andante Moderate, Slow at an easy pace ช้าๆ (เหมือนเดินทอดน่อง)

Adagio Slowly, leisurely ช้า และ สงบ (เดินจงกรม ราวๆนั้น)

Lento Slow ช้า

Largo Very low, broadly ช้ามาก

Grave Very Slow, Solemn ช้า โศก (แห่ศพ)

เพลงOpening Theme ของอนิเม ของเรื่องโนดาเมะนี้ ชื่อเพลง Allegro Cantabile บอกว่า เพลงนี้น่ะ เล่นเร็ว และเหมือนกันร้องเพลง (เสียงเปียโนสดใสมากๆเลย ลองหามาฟังนะคะ)

Accelerando หมายถึง เล่นให้ค่อยๆเร็วขึ้นๆ อันนี้จะพบในสกอร์ เจอนี้ปุ๊บก็ต้องดูแล้วว่า เร็วขึ้นในความเร็วที่เพิ่มทีละเท่าไหร่ แล้วเรื่อยไปถึงเร็วปรู้ด หรือแค่เปลี่ยนจากช้ามากมาเป็นธรรมดา ทอดระยะเพิ่มความเร็วแค่ไหน (ปวดหัวเนอะ) Ritornando หมายถึง เล่นให้ค่อยช้าลง ช้าลง ย่อว่า (rit.)

ต่อไปคือ Expression หรือ อารมณ์ของเพลง นักดนตรีต้องตีความหมายและแสดงออกมาด้วยเครื่องดนตรีในมือ

Agitato excited, agitated (ด้วยความตื่นเต้น)

Animato animated (เต็มไปด้วยชีวิตจิตใจและวิญญาณ)

Cantabile in singing style (ดุจขับขาน)

Con brio with vigor, spirit (ด้วยความมีพลัง หรือ ชีวิตจิตใจ)

Capriccio humorous (ขบขัน)

Dolce sweet and soft (ไพเราะอ่อนหวานและแผ่วเบา)

Gicoso playful, lively (สนุก ร่าเริง มีชีวิตชีวา ขบขัน)

Grandioso grand (ยิ่งใหญ่)

Maestoso majestic (สง่างาม)

Scherzando, scherzoso playful (สนุกร่าเริง)

Tranquillo tranquil (สงบ)

Vigoroso vigorous (มีพลัง)

Vivo lively (มีชีวิตชีวา)

ระดับความดัง-ค่อย หรือ dynamic

Fortissimo (ff) very loud

Forte (f) loud

Mezzo forte (mf) moderately loud

Mezzo piano (mp) moderately soft

Piano (p) soft

Pianissimo (pp) very soft

ถ้าบอกว่าให้ฟอร์เต้ ก็คือ ดังขึ้นอีก เปียโน ค่อยลง

ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับdynamic ยังมีคำว่า Crescendo...คำนี้มิได้หมายถึงชื่อโรงเรียนดนตรีที่สยามสแควร์นะคะ แต่โรงเรียนนั้นตั้งชื่อจากคำนี้ต่างหา แปลว่า....เล่นให้ดังขึ้นเรื่อยๆ ตรงกันข้ามกับ Decrescendo หรือ Diminuendo ที่แปลว่า ลดความดังลงเรื่อยๆๆ

ในสกอร์จะย่อ (cresx. / decresc หรือ dim,) บางครั้งจะใช้เครื่องหมาย < แทน การเพิ่มความดัง และ > แทนการลดความดัง (เล่นค่อยลง softer, softer) ตอนต่อไปขอเสนอ ศัพท์เกี่ยวกับบุคคลนะค้า อยากรู้ว่า Maestro คือหยัง ต่างจาก Conductor ตรงไหน ติดตามได้ค่า ขอทิ้งท้ายว่า ดนตรีคลาสสิค ไม่ต้องปีนบันไดก็ฟังได้อย่างสนุกค่า



Create Date : 01 ธันวาคม 2550
Last Update : 1 ธันวาคม 2550 10:38:27 น.
Counter : 3820 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kurika
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]







หนูเกาลัด...กระเสือกกระสนจนได้เรียนจุฬาฯ >> ตอนนี้จบทั้งตรีโท กำลังจะหนีร้อนไปพึ่งความหนาวเย็น ณ สกอตแลนด์ หลงใหลในเสียงดนตรีคลาสสิค กำลังอยู่ในโหมด Piano Apprentice!!

Soundtrack : Canon in D

status: จบโทหมาดๆ จากนิเทศจุฬาฯ กำลังจะลัดฟ้าหนีไปเรียนสกอตแลนด์ แดนมหัศจรรย์ (ที่ไม่มีพี่เบิร์ด)

Quote : 'จิ้นกระจาย วายกระเจิง'






ธันวาคม 2550

 
 
 
 
 
 
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31