ชุมชนร่างกฎหมายและให้ความเห็นทางกฎหมาย

<<
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 สิงหาคม 2551
 

Fight for Slim ตอน การมีพุงนั้นสำคัญไฉน

ความอ้วน” เป็นสาเหตุของสารพัดโรคยิ่งอ้วนมากก็ยิ่งมีโรคมาก ที่ผ่านมา

เรารู้จักแต่คำว่า “อ้วน” แต่ในระยะหลังเรามักจะพบผู้ที่มีลักษณะ “อ้วนลง

พุง” คือ ผู้ที่มีลักษณะสะโพกเล็ก ไหล่กว้าง และลงพุง ซึ่งลักษณะดังกล่าว

เป็นลักษณะอ้วนที่อันตรายที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าคนอ้วนสองคนที่มี

น้ำหนักตัวมากเท่ากัน คนอ้วนที่ลงพุงมากจะเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ

และหลอดเลือดได้มากกว่าคนอ้วนที่สะโพกใหญ่

“อ้วนลงพุง” เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมในบริเวณช่องท้องมากกว่าปกติ ใน

ขณะเดียวกันก็สะสมในอวัยวะที่สำคัญ และก่อให้เกิดอันตรายได้ง่ายด้วย

“โรคอ้วนลงพุง” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า เมตาบอลิคซินโดรม (Metabolic

Syndrome) จากการศึกษาในโรงพยาบาลรามาธิบดีโดยการวัดสัดส่วนของ

ร่างกายร่วมกับการตรวจผลเลือด พบว่า คนที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง

๒๓.๐-๒๔.๙ กิโลกรัม/เมตร๒ ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ท้วม หรือเริ่มอ้วน [ค่า

ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)/ส่วนสูง (เมตร)] จะมี

คนอ้วนลงพุงประมาณครึ่งหนึ่ง และครึ่งหนึ่งในคนจำนวนนี้จะมีผลเลือดผิด

ปกติ

หรืออาจกล่าวโดยคร่าวๆ ว่าคนที่ดูท้วมๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคอ้วนลงพุงได้ร้อย

ละ ๒๕ และเมื่อดัชนีมวลกายมากขึ้นไปอีก ก็จะมีโอกาสเป็นโรคอ้วนลงพุง

เพิ่มขึ้นอีก และอาจมากถึงประมาณร้อยละ ๕๐

ลงพุงแล้ว เมื่อไหร่จึงเป็นโรคอ้วนลงพุง

เมื่อพบเส้นรอบเอวมากกว่า ๙๐ เซนติเมตร หรือ ๓๖ นิ้วในผู้ชาย และเส้น

รอบเอวมากกว่า ๘๐ เซนติเมตร หรือ ๓๒ นิ้วในผู้หญิง พร้อมกับพบปัจจัย

เสี่ยงอื่นๆ อีกตั้งแต่ ๒ อย่างขึ้นไปใน ๔ อย่างต่อไปนี้ ก็จัดได้ว่าเป็น

“โรคอ้วนลงพุง” แล้ว

ปัจจัยเสี่ยง ๔ อย่าง ได้แก่

(๑) ความดันโลหิตตั้งแต่ ๑๓๐/๘๕ มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

(๒) ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า ๑๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร

(Triglyceride>150 mg/dL)

(๓) ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า ๑๐๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร (Fasting

Plasma Glucose>100 mg/dL)

(๔) ระดับโคเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด หรือ High Density Lipoprotein

(HDL-cholesterol) น้อยกว่า ๔๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้ชาย และน้อย

กว่า ๕๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร สำหรับผู้หญิง

สาเหตุของ “โรคอ้วนลงพุง” เกิดจากอะไร

แม้ว่ากรรมพันธุ์เป็นสาเหตุหนึ่งแต่จากการศึกษาพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่มัก

เกิดจากรูปแบบการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการบริโภคที่ชอบรับประทาน

อาหารมากเกินความจำเป็น โดยเฉพาะอาหารหวานมัน น้ำหวานในรูปต่างๆ

หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแม้เพียงการเคลื่อนไหวตามปกติที่ใช้เวลาใน

การเคลื่อนไหวนานๆ

นอกจากจะต้องแบกรับความทุกข์ที่เกิดจากความอ้วน เช่น ข้อกระดูกเสื่อม

การหายใจไม่อิ่ม ทำให้ง่วงซึม หายใจไม่เต็มปอดเหมือนคนอ้วนแบบอื่น

แล้ว คนที่เป็นโรคอ้วนลงพุงยังมีโอกาสสูงมากๆ ที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรค

หัวใจ ภาวะหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งรุนแรงถึงขั้นทำให้

เป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้มากกว่าคนอ้วนชนิดไม่ลงพุง

วิธีใดบ้างที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทา “โรคอ้วนลงพุง”

มีการศึกษาพบว่าการลดน้ำหนักตัวลงไปเพียง ๕-๑๐ เปอร์เซ็นต์จากน้ำหนัก

ที่เป็นอยู่ก็สามารถช่วยให้การทำงานต่างๆ ของร่างกายดีขึ้นได้ ลดโอกาส

เป็นเบาหวานได้เกือบครึ่ง ลดไขมัน และความดันโลหิตสูง ฯลฯ ซึ่งสามารถ

ทำได้โดย

- ออกกำลังกายบ้าง ประมาณวันละ ๓๐ นาทีขึ้นไป ๓ ครั้ง/ สัปดาห์ หรือทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างกระฉับกระเฉง หรือทำกิจกรรมเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องตามสมรรถภาพร่างกายของแต่ละคน

- จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่ม ไม่ให้เกินวันละ ๑ ส่วน เช่น ไม่ควรดื่มเกินวันละ ๑ แก้ว สำหรับผู้หญิง หรือ ๒ แก้ว สำหรับผู้ชาย และไม่ควรดื่มทุกวัน

- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารอย่างถูกต้องและจริงจัง เช่น ลดการทานอาหารมีกากใยน้อย เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว น้ำตาล น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มหวานๆ อีกหลายชนิด ลดการทานอาหารประเภททอดที่ต้องใช้น้ำมันมากๆ ควรเลือกทานอาหารประเภทนึ่ง ต้ม หรือย่าง

* เอกสารเผยแพร่ “อ้วนลงพุง กินอย่างไรให้เหมาะสม” โดย ศ.นพ. สุรัตน์ โคมินทร์ หน่วยโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี


Create Date : 18 สิงหาคม 2551
Last Update : 26 สิงหาคม 2551 14:59:42 น. 1 comments
Counter : 669 Pageviews.  
 
 
 
 
ใช้วิธีกินผักผลไม้ให้เท่ากับกินแป้ง ปรากฏว่านำหนักลงอย่างรวดเร็ว แต่พอประมาณนึงก็คงที่ อยากลดอีกง่ะ
 
 

โดย: ฟิตเน่ IP: 210.246.148.28 วันที่: 25 กันยายน 2552 เวลา:16:25:07 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

KMyoungelite
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]








[Add KMyoungelite's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com