ปี54เน้นปล่อยบาทอ่อน
ปี54เน้นปล่อยบาทอ่อน ธปท.รับตั้งธง"อุ้ม"ส่งออก ปลุกจ้างงาน-กำลังซื้อในปท. พร้อมใช้ดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อ
วันที่ 26/1/2011 แนวหน้าโลกธุรกิจ

"หม่อมเต่า"เผยนโยบายธปท.ปี54 จะเริ่มดึงให้บาทอ่อนค่าลง เพื่อช่วยให้การส่งออกขยายตัว ประคองเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวต่อ ชี้ภาคส่งออกช่วยเรื่องการจ้างงาน ทำให้กำลังซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนแรงกดดันที่เกิดกับภาวะเงินเฟ้อ จะใช้นโยบายดกเบี้ยเป็นตัวควบคุม

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง การดำเนินนโยบายการเงิน ของธปท.ในปี 2554 ว่า จะพยายามดำเนินนโยบายเอื้อต่อการอ่อนค่าของเงินบาทมากว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยปรับวิธีในการเข้าลดความผันผวนหรือแทรกแซงค่าเงินบาท ในกรณีอ่อนค่าให้ช้าลงกว่าเดิม ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมา ธปท.กำหนดอัตราการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่จะเข้าแทรกแซงเท่ากันทั้งกรณีเงินบาทแข็งค่า และเงินบาทอ่อนค่า

"จากเดิมเราจะบาลานซ์การเข้าแทรกแซง 2 ข้างเท่ากัน เช่น หากบาทแข็งขึ้นเร็ว และแข็งค่าไปถึงระดับที่เรากำหนด ก็จะเข้าแทรกแซงเพื่อลดความผันผวนทันที หรือช่วงที่บาทอ่อนค่าเร็ว เราก็เข้าแทรกแซง เพื่อลดความผันผวนในที่อัตราที่กำหนด เท่ากัน แต่ในขณะนี้ ถ้าบาทแข็งเราอาจเข้าดูแลเร็ว แต่ถ้าบาทอ่อน อาจจะไม่เข้าหรือเข้าไปดูแลช้าลง เมื่อเห็นว่าเหมาะสม"

ม.ร.ว จัตุมงคลกล่าวต่อว่า ขณะนี้เริ่มเห็นค่าบาทอ่อนค่าลงแล้ว ซึ่งจะช่วยในเรื่องการส่งออกของประเทศได้ดีกว่าเงินบาทที่แข็งค่า เพราะเท่าที่พิจารณาความสามารถในการเติบโตของอุปสงค์ระหว่างภาคการส่งออกและภาคการใช้จ่ายในประเทศ กำลังซื้อของภาคการส่งออกมีมากกว่า การใช้จ่ายในประเทศที่มีกำลังซื้อจำกัด นอกจากนั้นการทำให้ภาคส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง ยังช่วยในเรื่องการจ้างงาน และรายได้ของลูกจ้างในประเทศด้วย ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้ต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า เงินบาทที่อ่อนค่าลง จะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากแรงกดดันด้านอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วในปีนี้ ซึ่งเหตุผลนี้เป็นเรื่องที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต้องดูแลให้สมดุล และธปท.ยังมีความจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยเพื่อกดให้เงินเฟ้อต่ำลง เพราะหากปล่อยให้เงินเฟ้อสูง เมื่อถึงที่สุดแล้ว เศรษฐกิจก็อาจมีปัญหา เหมือนอย่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม หรือประเทศอื่นๆ

"เงินเฟ้อที่จะเพิ่มสูงขึ้นต่อจากนี้ ไม่ว่าจะมาจากต้นทุนการผลิต หรือมาจากกำลังซื้อที่เพิ่มสูงขึ้น ก็ไม่ดีทั้งสองอย่าง ธปท.จึงจำเป็นที่จะต้องดึงเงินเฟ้อให้ต่ำลง ซึ่งทำให้อาจเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปอีก แต่ในระยะต่อไป อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ จะช่วยให้การขยายตัวของเศรษฐกิจกลับมาอยู่ในระดับสูง และมีความยั่งยืนได้มากกว่าอัตราเงินเฟ้อในระดับสูง" ม.ร.ว.จัตตุมงคลกล่าวอีกว่า ยังมีความเป็นห่วงด้านปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมือง เช่น การชุมนุมทางการเมืองที่มีอย่างต่อเนื่อง เพราะเห็นว่า เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงสำคัญของประเทศและเศรษฐกิจไทยในปีนี้ เพราะทุกฝ่ายต่างต้องการจะบรรลุความต้องการและอุดมการณ์ของตัวเองเป็นสำคัญมากกว่า



Create Date : 27 มกราคม 2554
Last Update : 27 มกราคม 2554 9:34:34 น.
Counter : 583 Pageviews.

1 comments
  
fyi
โดย: polbangkok@yahoo.com IP: 192.168.10.62, 119.42.75.3 วันที่: 27 มกราคม 2554 เวลา:12:50:46 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Depulis
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



มกราคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
26
29
30
31
 
 
All Blog