Group Blog
 
 
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
5 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 

ประวัติจ้าวอวิ๋น(จูล่ง)

จ้าวอวิ๋น (AD ?-229)


จ้าวอวิ๋น(เตียวหุน)มีชื่อทางการว่าจื่อหลง(จูล่ง) มีบ้านเกิดอยู่ที่อำเภอเจินติ่ง เมืองฉางซาน

แรกเริ่มเขารับใช้อยู่ในสังกัดกงซุนจั้น(กองซุนจ้าน) ครั้งกงซุนจั้นส่งหลิวเป้ย(เล่าปี่)กับเถียนไคไปสู้ศึกหยวนเส้า(อ้วนเสี้ยว) จ้าวอวิ๋นก็ได้เข้าร่วมในสงครามครั้งนั้นด้วยในบทบาทผู้บัญชาการทัพม้า

ครั้งหลิวเป้ยถูกกองทัพเฉาเชา(โจโฉ)ไล่ตามตีที่ฉางปัน(เตียงปัน) เมืองตานหยาง หลิวเป้ยละทิ้งครอบครัวหลบหนีลงสู่ใต้ จ้าวอวิ๋นได้คุ้มครองบุตรชายวัยทารกของหลิวเป้ยซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิองค์หลัง(หลิวฉาน-เล่าเสี้ยน)และกานฟูเหริน(กำฮูหยิน)ผู้เป็นมารดาทารกวัยเยาว์รอดพ้นจากภยันตรายแห่งศึกสงคราม ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นแม่ทัพบัญชากองพล

กาลต่อมาหลิวเป้ยเคลื่อนพลเข้าสู่รัฐสู่(จ๊ก) จ้าวอวิ๋นยังคงรักษาการณ์อยู่ที่มณฑลจิงโจว

เจี้ยนอันศกปีที่สิบเจ็ด หลิวเป้ยหันคมหอกเข้าโจมตีหลิวจาง(เล่าเจี้ยง)และได้ออกคำสั่งเรียกตัวจูเก๋อเลี่ยง(จูกัดเหลียง)มาช่วยราชการศึกที่แคว้นสู่ จูเก๋อเลี่ยงจึงนำจ้าวอวิ๋น จางเฟย(เตียวหุย)และเหล่าขุนพลเคลื่อนทัพเรือทวนน้ำโจมตีได้เมืองต่างๆตามรายทางเป็นอันมาก จ้าวอวิ๋นเคลื่อนพลจากเมืองเจียงโจวเข้าตีเมืองเจียงหยาง เตรียมการบุกประชิดนครเฉิงตู(เชงโต๋) เมื่อหลิวเป้ยตีนครเฉิงตูแตกก็ได้แต่งตั้งให้จ้าวอวิ๋นดำรงตำแหน่งขุนพลทะยานฟ้า

เจี้ยนซิง(ศักราชประจำรัชกาลของหลิวฉาน)ศกปีที่หนึ่ง จ้าวอวิ๋นได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทัพนครหลวงควบตำแหน่งจอมพลสยบแดนใต้ มีบรรดาศักดิ์เป็น “ยงฉางถิงโหว”

ช่วงแรกเริ่มผลัดแผ่นดินหลิวฉาน(เล่าเสี้ยน)เพิ่งขึ้นครองราชย์สืบต่อจากหลิวเป้ย นโยบายการเมืองระหว่างรัฐ(สู่-อู๋)ยังไม่มีความแน่นอน จ้าวอวิ๋นจึงได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งแม่ทัพพิทักษ์บูรพา นำทัพออกตั้งมั่น ณ เขตแดนปา

เจี้ยนซิงศกปีที่ห้า จ้าวอวิ๋นโยกย้ายมาประจำการที่เมืองฮั่นจง ปีถัดมาเขาได้เข้าร่วมยุทธการบุกภาคเหนือครั้งที่หนึ่งภายใต้การนำของจูเก๋อเลี่ยง(จูกัดเหลียง) กองทัพของจ้าวอวิ๋นและเติ้งจือ(เตงจี๋)ทำหน้าที่ป้องกันด่านจี้กู่ ภายหลังจากที่ยุทธการบุกภาคเหนือประสบความล้มเหลว จ้าวอวิ๋นถูกลดตำแหน่งเป็นแม่ทัพผู้บัญชาส่วนกลาง

จ้าวอวิ๋นเสียชีวิตจากโรคภัยในศักราชเจี้ยนซิงปีที่เจ็ด สิริอายุประมาณหกสิบเอ็ดปี ยุคสมัยที่หลิวเป้ยครองตำแหน่งจักรพรรดิ มีเพียงฝ่าเจิ้ง(หวดเจ้ง)เท่านั้นที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ย้อนหลัง(ภายหลังมรณกรรม) ในยุคของหลิวซ่านนั้น จูเก๋อเลี่ยง เจียงหวั่น(เจียวอ้วน)และเฟยอี้(บิฮุย)ได้อุทิศตนสร้างคุณประโยชน์แก่รัฐสู่เป็นอันมาก พวกเขาจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ย้อนหลังให้เป็นเกียรติและเพื่อให้ประชาชนระลึกถึงคุณงามความดีของพวกเขา ครอบครัวของผู้วายชนม์ยังได้รับพระราชทานรางวัลและได้รับการดูแลเลี้ยงดูอย่างดีจากราชสำนักเช่นเซี่ยโหวปา(แฮหัวป๋า)ผู้มาสวามิภักดิ์จากแดนไกลยังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ย้อนหลังภายหลังที่เขาสิ้นชีพ กวนอวี่(กวนอู) จางเฟย(เตียวหุย) หม่าเชา(ม้าเฉียว) ผังถ่ง(บังทอง) หวงจง(ฮองตง)และจ้าวอวิ๋นล้วนได้รับพระราชบรรดาศักดิ์ย้อนหลังในยุคสมัยของหลิวซ่านทั้งสิ้น เป็นการแสดงความให้เกียรติอย่างสูงต่อเหล่าแม่ทัพผู้วายชนม์ จ้าวอวิ๋นได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ย้อนหลังเป็น “ซุ่นผิงโหว” ในศักราชจิงเหยาปีที่สี่ จ้าวถงผู้บุตรเป็นผู้สืบบรรดาศักดิ์ประจำตระกูลได้รับการแต่งตั้งเป็นแม่ทัพพยัคฆ์ผยอง ประจำการอยู่ในกองทัพ บุตรชายคนรองจ้าวก่วงได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งนายกองประจำทัพและได้ติดตามเจียงเหว่ย(เกียงอุย)ไปในการศึกครั้งสุดท้าย แต่เสียชีวิตระหว่างศึกสงคราม




 

Create Date : 05 มิถุนายน 2553
4 comments
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2554 2:53:49 น.
Counter : 1366 Pageviews.

 

ซูฮกที่สุดเลยครับคน เตียวจิล่ง(Zhang Zhilong)

 

โดย: divinewayu IP: 58.9.156.224 7 กันยายน 2553 17:09:59 น.  

 

จูล่งแซ่จ้าวจ้า (Zhao)

 

โดย: ElClaSsicA 24 กันยายน 2553 5:28:48 น.  

 

ชอบมากเลยคนนี้ มีเกร็ดประวัติอะไร ที่คนไม่รู้เกี่ยวกับกับจูล่งมาเล่า ก็น่าจะดีนะคะ คนอ่านอยากอ่านคะ

 

โดย: 美云 IP: 115.87.208.42 12 เมษายน 2554 5:15:41 น.  

 

ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

เกี่ยวกับจูล่งผมขอชี้แจงว่าจากการอ่านประวัติศาสตร์ประกอบวรรณกรรม เทียบเคียงดูแล้วพบเรื่องที่ค่อนข้างแปลกหากเทียบกับขุนพลอื่นๆในสมัยสามก๊กด้วยกัน กล่าวคือวีรกรรมของจูล่งที่ปรากฎในวรรณกรรมสามก๊กแทบไม่แตกต่างกับที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้เท่าไรครับ หมายความว่าหลอกว้านจงผู้แต่งแทบไม่ต้องใช้จินตนาการเสริมแต่งจูล่งเหมือนกับที่แต่งเติมวีรกรรมให้ขุนพลอื่นๆของจ๊กก๊กครับ

ที่จริงผลงานของจูล่งที่ถูกบันทึกไว้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีมากกว่านี้ครับ แต่ต้นฉบับที่ผมแปลมีเพียงนี้เท่านั้น หลักๆจะเป็นเรื่องฝ่าทัพช่วยเล่าเสี้ยน ศึกฮั่นจง และสมรภูมิสุดท้ายของจูล่งคือรับหน้าที่เป็นแม่ทัพระวังหลังให้ทัพจ๊กกลับได้โดยปลอดภัย ซึ่งได้สร้างผลงานยอดเยี่ยมมากๆครับ

 

โดย: ElClaSsicA 13 เมษายน 2554 0:53:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ElClaSsicA
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ElClaSsicA's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.