Group Blog
 
 
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
ประวัติหม่าเชา(ม้าเฉียว)

หม่าเชา (AD ??? – 222)


หม่าเชา(ม้าเฉียว)มีชื่อเรียกทางการว่าเมิ่งฉี่ มีบ้านเกิดอยู่ที่อำเภอฝู่เฟิง เมืองเหมาหลิง บิดาของเขามีนามว่าหม่าเถิง(ม้าเท้ง)เคยร่วมมือกับเปียนจางและหานซุ่ย(หันซุย)ก่อกบฏแถบหัวเมืองตะวันตกในช่วงปลายรัชกาลฮั่นหลิงตี้(เลนเต้)

ชูผิงศก(ชื่อศักราชประจำรัชกาลของหลิงตี้)ปีที่สาม หม่าเถิงและหานซุ่ยนำคณะผู้ติดตามเข้าเฝ้าหลิงตี้ ณ เมืองฉางอาน ราชสำนักฮั่นโปรดอวยยศให้หานซุ่ยรับตำแหน่ง “เจินซีเจียงจวุน” (นายพลพิทักษ์ประจิม)ให้ประจำการอยู่เมืองจิงเฉิง ส่วนหม่าเถิงได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง “เจิ้งซีเจียงจวุน” (นายพลสยบประจิม) รักษาการณ์อยู่ที่ตวุนเม่ย

ต่อมาหม่าเถิงนำทัพเข้าตีนครฉางอันแต่ประสบความล้มเหลว จำต้องล่าถอยกลับไปสู่ดินแดนเหลียงโจว ผู้บัญชาการทัพนครหลวงมีนามว่าจงเหยารักษาการณ์เขตพื้นที่กวนจงส่งสาสน์ลับ ให้แก่หม่าเถิงและหานซุ่ยโดยรับปากว่าจะช่วยเหลือพวกเขา หม่าเถิงจึงมอบหมายให้หม่าเชาร่วมมือกับจงเหยานำทัพเข้าปราบกว๋อหยวนกับเกากานที่พื้นที่ผิงหยาง ในระหว่างการศึกแม่ทัพใต้บังคับบัญชาของหม่าเชานามผังเต๋อ(บังเต๊ก)สังหารกว๋อหยวนลงได้สำเร็จ แต่หม่าเถิงเกิดขัดแย้งกับหานซุ่ยจึงสั่งให้ถอนกำลังกลับเมืองของตน เขาจึงได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักในตำแหน่ง “นายพลพิทักษ์ราชสำนัก” ส่วนหม่าเชาได้รับแต่งตั้งตำแหน่งรองแม่ทัพพร้อมบรรดาศักดิ์ “ตูถิงโหว”

หม่าเชารวมรวบกองกำลังของตนกับหานซุ่ยเข้าด้วยกับ พร้อมกันนั้นก็เร่งทำสัญญาพันธมิตรกับหยางฉิว หลี่คัน เฉิงอี้และผู้นำกองกำลังอื่นๆแถบหัวเมืองตะวันตก จากนั้นเข้าจู่โจมท่าข้ามถง เฉาเชา(โจโฉ)ยืนทัพหน้าศึกเห็นหานซุ่ยกับหม่าเชายืนม้าอยู่หน้าทัพจึงเรียกร้องให้เจรจา หม่าเชาเชื่อมั่นในพลังยุทธของตนมากจึงวางแผนว่าจะบุกเดี่ยวจับตัวเฉาเชาโดยที่อีกฝ่ายไม่ทันระวัง แต่องครักษ์ของเฉาเชานามสวีจวู่(เคาทู)ถลึงตาจ้องเขม็ง หม่าเชาจึงไม่กล้าบุกฝ่าเข้าไปอย่างหักโหม การศึกครั้งนั้นเฉาเชาตกลงใจใช้แผนการของเจี่ยสวี่(กาเซี่ยง)โดยสร้างความแตกแยกระหว่างหม่าเชากับหานซุ่ยให้ต่างฝ่างต่างเกิดความหวาดระแวง ส่งผลให้ทัพพันธมิตรล่มสลายและพ่ายแพ้ในที่สุด

หม่าเชานำทัพที่แตกพ่ายล่าถอยจากการตามล่าของเฉาเชาจนถึงเมืองอานติ่ง จากนั้นรวบรวมกำลังทหารมุ่งเป้าปฏิบัติการช่วงชิงพื้นที่ทางภาคเหนือ หยางฝู่ได้อ้างถึงแถลงการณ์ของเฉาเชาที่ว่า “หม่าเชามีความแกล้วกล้าดั่งหลวี่ปู้(ลิโป้)กับหานซิ่น(ขุนพลคู่บารมีของ ฮั่นเกาจู่หลิวปัง) แต่มีความเหี้ยมโหดดุร้ายของชาวเผ่าเชียงโดยสายเลือด หากมันสามารถหนีรอดโดยที่ยังมีกำลังทหารเหลืออยู่ หัวเมืองต่างๆทางแถบหล่งซางคงต้องสูญสิ้นหมดเป็นแน่แท้” เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ หม่าเชานำกองทัพกลับมาโจมตีหัวเมืองต่างๆแถบพื้นที่หล่งซาง แม้ว่าหัวเมืองแถบนั้นจะไม่ได้นำกองทัพออกต้านทานการรุกรานของหม่าเชาก็ดี แต่หม่าเชายังคงสังหารเว่ยคังผู้ว่าราชการมณฑลเหลียงโจวแล้วตั้งมั่นอยู่ที่เมืองอี้

หม่าเชาแต่งตั้งตนเองเป็นแม่ทัพปราบประจิม รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการมณฑลปิงโจวควบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งภูมิภาคเหลียงโจว แต่แม่ทัพใต้บังคับบัญชาเก่าของเว่ยคังอาทิ หยางฝู่ เจียงอี้ เหลียงควน จ้าวชวีและอื่นๆได้สมคบคิดกันโค่นหม่าเชาลง หยางฝู่กับเจียงอี้ร่วมกันนำทัพขับไล่กองกำลังหม่าเชาออกจากเมืองหลู่ หม่าเชาได้นำทัพหวนเข้าโจมตีแต่ไม่สามารถเอาชัยทัพร่วมได้ เหลียงควนกับจ้าวชวีก็ปิดประตูเมืองอี้ทำให้ทัพหม่าเชาไม่สามารถกลับเข้าเมืองได้ ในสภาพที่กองทัพโดดเดี่ยวไม่มีที่พักพิง หม่าเชาจึงเข้าสวามิภักดิ์ต่อจางลู่ที่ฮั่นจง(ฮันต๋ง) แต่หม่าเชาเห็นว่าจางลู่ไม่มีคุณสมบัติพอที่จะเป็นใหญ่ได้จึงบังเกิดความผิดหวัง ช่วงเวลานั้นหลิวเป้ย(เล่าปี่)ล้อมเมืองเฉิงตูอยู่ เมื่อหม่าเชาทราบข่าวจึงเขียนจดหมายถึงหลิวเป้ยเพื่อขอสวามิภักดิ์

หลิวเป้ยให้ผู้ติดตามไปต้อนรับหม่าเชาและมอบหมายให้หม่าเชานำกองทัพเข้าร่วมการโอบล้อมเมืองเฉิงตู ผู้คนในเมืองเกิดความหวาดกลัวเป็นอย่างมาก หลิวจาง(เล่าเจี้ยง)จึงยอมจำนนต่อหลิวเป้ยในทันที หม่าเชาจึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ผิงซีเจียงจวุน” (ขุนพลพิทักษ์ประจิม) รักษาการณ์ที่พื้นที่จวี้ นับเป็นการแต่งตั้งที่ให้เกียรติต่อเขาอย่างสูงนับตั้งแต่ครั้งที่เขาเคยได้รับบรรดาศักดิ์ตูถิงโหวจากราชสำนักฮั่น เมื่อหลิวเป้ยสถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮั่นจงหวางก็ได้เลื่อนตำแหน่งให้หม่าเชาเป็นแม่ทัพกองพลซ้าย จางอู่ศกปีที่หนึ่งก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารม้า รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการมณฑลเหลียงโจว มีบรรดาศักดิ์เป็นหลี่เซียงโหว

ครั้งหนึ่งหลิวเป้ยได้กล่าวสุนทรพจน์ว่า “แม้คุณธรรมของข้าจะไม่แจ่มแจ้งแต่อย่างไรก็สืบเชื้อสายมาจากบรรพชนอันศักดิ์สิทธิ์ เฉาเชากับบุตรของมันควรถูกคนรุ่นหลังจดจำการกระทำอันชั่วร้ายและถูกก่นด่าประณาม ท่าน(หม่าเชา)มีชื่อเสียงกึกก้องทางภาคเหนือเป็นที่ยอมรับทั้งชาวฮั่นและชาวเผ่าเชียง ผู้คนต่างพร้อมใจกันติดตามท่านไปเป็นพันหลี่(ลี้)เพื่อปราบปรามทรราช ให้ท่านสั่งสอนไพร่พลของท่านให้รู้จักวัฒนธรรมของชาวฮั่น และการปูนบำเหน็จกับลงโทษจงกระทำให้แจ่มแจ้ง”

จางอู่ศกปีที่สอง หม่าเชามีอายุสี่สิบเจ็ดปี ก่อนวาระสุดท้ายของเขาจะมาถึงได้ขอร้องต่อหลิวเป้ยว่า “ข้าพระองค์เคยมีครอบครัวญาติพี่น้องกว่าสองร้อยคน แต่พวกเขาถูกเมิ่งเต๋อ(ชื่อทางการของเฉาเชา)สังหารจนหมดสิ้น เหลือแต่เพียงญาติผู้น้องของข้านามหม่าไต้(ม้าต้าย) เขาเป็นเลือดเนื้อเพียงหนึ่งเดียวที่จะสืบสายตระกูลของข้าพระองค์ต่อไปได้ ดังนั้นขอให้พระองค์โปรดเอ็นดูเกื้อกูลดูแลเขา ข้าพระองค์ก็จะจากไปอย่างไร้ความกังวล” หม่าเชาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ย้อนหลังเป็น “เอวี้ยเว่ยโหว” บุตรชายของเขานามหม่าเฉิงเป็นผู้สืบทอดบรรดาศักดิ์ หม่าไต้ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง “ผิงเป่ยเจียงจวุน” (แม่ทัพพิทักษ์อุดร) มีบรรดาศักดิ์เป็น “เฉินชังโหว” บุตรีของหม่าเชาเข้าพิธีสยุมพรกับอันผิงหวางหลิวลี่(เล่าลี)ในเวลาต่อมา


Create Date : 06 มิถุนายน 2553
Last Update : 10 กรกฎาคม 2553 4:05:10 น. 8 comments
Counter : 1367 Pageviews.

 
ขอบคุณครับ !


โดย: J4mesz IP: 124.121.197.22 วันที่: 2 กรกฎาคม 2553 เวลา:0:27:10 น.  

 
马超 字 孟起 หม่าเชา 字 เมิ่งฉี่ครับ


โดย: 三国演义 IP: 222.218.99.229 วันที่: 8 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:17:10 น.  

 
ไม่ทราบว่าพอมีท่านใดทราบว่าม้าเฉียวมีทายาทที่มาอยู่เมืองไทยในสมัยก่อนบ้างเพราะมีนามสกุล ม้าเฉียว ที่ภูเก็ต และ มะยะเฉี่ยว ที่นครศรี ซึ่งเป็นนามสกุลที่กลายมาไม่


โดย: ปรุฬห์ มะยะเฉี่ยว IP: 202.28.49.9 วันที่: 19 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:32:56 น.  

 
ไม่ทราบว่าพอมีท่านใดทราบว่าม้าเฉียวมีทายาทที่มาอยู่เมืองไทยในสมัยก่อนบ้างเพราะมีนามสกุล ม้าเฉียว ที่ภูเก็ต และ มะยะเฉี่ยว ที่นครศรี ซึ่งเป็นนามสกุลที่กลายมาไม่


โดย: ปรุฬห์ มะยะเฉี่ยว IP: 202.28.49.9 วันที่: 19 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:33:44 น.  

 
ผมคิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันนะครับ -*-

ม้าเฉียวแซ่หม่า ต่อให้เกี่ยวข้องจริงคงไม่ต้องยกมาแบบเต็มๆมั้งครับ


โดย: ElClaSsicA วันที่: 26 กรกฎาคม 2553 เวลา:3:48:17 น.  

 
แต่ มะยะเฉี่ยว นั้นพอไปปรึกษา อ ภาษาจีน บอกว่าคำว่า มะ มาจากตระกูลหม่า หรือถ้าแปลเป็นไทยแล้วแปลว่า ม้า แต่คำว่ายะเฉียว นั้น อ ว่า น่าจะเป็นบรรพบุรุษต้นๆๆคนจีนเขาจะเอาแซ่ไว้ก่อน พออาก๋งมาเมืองไทยได้พระราชทานนามสกุล ก็เลยเอา แซ่ไว้ก่อน คือ มะ เป็นจีนว่าตระกูลหม่าที่แปลว่าม้า งัย ผมก็สบสันใครพอทราบบ้างช่วยแนะนำหน่อยนะคับ


โดย: ปรุฬห์ มะยะเฉี่ยว IP: 202.28.51.72 วันที่: 23 สิงหาคม 2555 เวลา:14:58:16 น.  

 
หลังจากม้าเฉียวตายแล้วลูกหลานม้าเฉียวซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของจีนได้อพยพมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองไทยได้รับราชการเป็นคนใหญ่โตไม่น้อยครับ

//www.phuketcity.info/wizContent.asp?wizConID=318&txtmMenu_ID=7


โดย: mmm IP: 119.42.84.190 วันที่: 18 เมษายน 2556 เวลา:12:25:49 น.  

 
ภาคใต้ของของจีนนะมาขึ้นไทบแถวไหนคับ


โดย: ปรุฬห์ IP: 113.53.109.191 วันที่: 22 ธันวาคม 2558 เวลา:21:31:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ElClaSsicA
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ElClaSsicA's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.